การร้ร้ ร้ อ ร้ องเพลงพื้พื้ พื้ น พื้ นบ้บ้ บ้ า บ้ าน เพลงกล่ล่ ล่ อ ล่ อมเด็ด็ ด็ ก ด็ ก จัจั จั ด จั ดทำทำทำทำโดย นางสาวโบว์ว์ ว์ว์ สิสิสิ ง สิ งห์ห์ ห์ คำ ห์ คำคำคำ วิวิ วิชวิ าภาษาไทย ๖ ม.๕ โรงเรีรี รี ย รี ยนบ้บ้ บ้ า บ้ านปล่ล่ ล่ อ ล่ องเหลี่ลี่ ลี่ ย ลี่ ยม
บทที่ ๑๒ การร้องเพลงพื้นบ้าน : เพลงกล่อมเด็ก ความหมายของเพลงกล่อมเด็ก กล่อม หมายถึง ร้องเป็นทำ นองเพื่อเล้าโลมใจหรือให้เพลิน. (ราชบัณฑิตยสถาน ๒๕๔๒) เพลงกล่อมเด็ก หมายถึง เพลงร้องเพื่อให้เด็กเกิดความเพลิดเพลิน และนอนหลับ ไปด้วย ความอบอุ่นใจ (ประเทือง คล้ายสุบรรณ์, ๒๕๒๒) เพลงกล่อมเด็ก หมายถึง เพลงที่กล่อมให้เด็กนอนหลับสบาย เกิดความรู้สึกอบอุ่นใจ (ประภา ศรี สีหอำ ไพ และจารุณี กองพลพรหม, ๒๕๓๕) นอกจากนี้ ยังมีคำ ที่มีความหมายเดียวกัน ได้แก่ เพลงเห่กล่อม บทเห่กล่อม บทกล่อม ในที่นี้ จะใช้คำ ว่า เพลงกล่อมเด็ก หมายถึง เพลงที่ใช้ร้องให้เด็กฟัง เพื่อให้นอน หลับสบายและเกิดความ อบอุ่นใจ คำ ว่า เพลงกล่อมเด็กนี้ ภาคเหนือเรียกว่า อือ-อื้อ-จา-จา หรือ เพลงอื้อ ภาคอีสาน เรียกว่า สิก-จุง-จา, เพลงกล่อมลูก หรือเพลงนอนสาเต้อ ภาคใต้เรียกว่า เพลงซาน้อง, เพลงน้องนอน หรือเพลงร้องเรือ ตรงกับภาษาอังกฤษว่า lullaby หรือ cradle song ประเภทของเพลงกล่อมเด็ก เพลงกล่อมเด็ก แบ่งตามลักษณะเนื้อความอาจแบ่งได้ ๓ ประเภท (ธิดา โมกรัตน์ และวินัย ภู่ระหงส์, ๒๕๒๖) ดังนี้ ๑. เพลงกล่อม เป็นเพลงที่มีเนื้อความเป็นเชิงกล่อมให้เด็กเพลิดเพลินและหลับไป เช่น “ นอนไปเกิดแม่จะกล่อม นวลละม่อมแม่จะไกว ทองคำ าแม่อย่าร้องไห้ สายสุดใจเจ้าแม่เอย " ๒. เพลงปลอบ เป็นเพลงที่มีเนื้อร้องเป็นการปลอบมิให้เด็กอ้อนหรือร้องกวน เช่น " เจ้าเนื้ออ่อนเอย อ้อนแม่จะกินนม แม่จะอุ้มเจ้าออกชม กินนมแล้วนอนเปลเอย " ๓. เพลงซู่ เป็นเพลงที่มีเนื้อร้องเป็นเชิงขู่ให้เด็กกลัว จะได้หลับโดยเร็ว เช่น " อ้ายแมวหง่าวเอย ตัวมันยาวไม่น้อย เด็กนอนไม่หลับ มากินดับเสียหน่อยหนึ่งเถิด อ้ายแมวหง่าวเอย " “เพลงกล่อมเด็ก” ของประเทือง คล้ายสุบรรณ์ เกิดขึ้นพ.ศ ใด
ลักษณะคำ ประพันธ์ของเพลงกล่อมเด็ก เพลงกล่อมเด็กภาคกลางมีลักษณะคำ ประพันธ์หลายแบบ ดังนี้ ๑. บทที่มี ๓ วรรค เช่น " ผัดเจ้าล่อ ข้าวเหนียวสองห่อ ไม่พอกิน " หรือ "ใครใครเขาก็มากันหมด เจ้าดอกประดู่ชูรส ไม่เห็นมาเอย " ๒. บทที่มี ๔ วรรค เช่น " อ้ายแมวหง่าวเอย ไต่ราวลงมา คนนอนไม่หลับ กินดับเถิดวา " หรือ " นอนเสียเถิดเอย ขวัญเข้าเจ้าเกิดในดอกบัว เลี้ยงไว้หวังจะได้เพื่อนตัว ทูนหัวเจ้าคนเดียวเอย " ๓. บทที่มี ๕ วรรค เช่น “ เจ้าเนื้อละมุนเอย เนื้อเจ้าอุ่นเหมือนสำ ลี แม่มิให้ผู้ใดต้อง เนื้อเจ้าจะหมองศรี ทองดีเจ้าคนเดียวเอย ” หรือ " เจ้าเนื้อเย็นเอย แม่มิให้ไปเล่นที่หาดทราย ครั้นว่าน้ำ ขึ้นมา มันจะพาเจ้าลอยหาย แสนเสียดายเจ้าคนเดียวเอย " ๔. บทที่มี ๖ วรรค เช่น " นกขมิ้นเหลืองอ่อนเอย ค่ำ แล้วจะนอนที่ตรงไหน จะนอนไหนก็นอนได้ สุมทุมพุ่มไม้ก็เคยนอน ลมพระพายชายพัดมาอ่อนอ่อน เจ้าเคยจรมานอนรังเอย ๔. บทที่มีตั้งแต่ ๘ วรรคขึ้นไป เช่น " นกกระทุงเอย ทำ กันตุงตุงว่าจะไข่ สาวพ้อมให้ใบใหญ่ ว่าใส่ไข่นกกระทุง ด้วยไข่ของมันโต เท่าแดงไมบางละมุง ไข่หล่นดังผลุง แล้วนกกระทุงก็บินไปเอย "
หรือ “ วัดเอ่ยวัดโบสถ์ มีต้นโตนดอยู่เจ็ดต้น เจ้าขุนทองไปปล้น ป่านฉะนี้ไม่เห็นมา คตข้าวออกใส่ห่อ จะต่อเรือออกไปหา เขาก็เล่าลือมา ว่าเจ้าขุนทองตายแล้ว ศพเจ้ายังทิ้งไว้ ไม่มีใครจะวี่แวว เหลือแต่กระดูกแก้ว เมียรักจะไปปลง ขุนศรีจะถือฉัตร ยกกระบัตรจะถือธง จะถือท้ายเรือหงส์ ไปปลงศพเจ้าพ่อนา หรือ “ กาเหว่าเอย ไข่ไว้ให้แม่กาฟัก แม่กาก็หลงรัก คิดว่าลูกในอุทร คาบเอาข้าวมาเผื่อ ไปคาบเอาเหยื่อมาป้อน ถนอมไว้ในรังนอน ซ่อนเหยื่อมาให้กิน ปีกเจ้ายังอ่อนคลอแคล ท้อแท้จะสอนบิน แม่กาพาไปกิน ที่ปากน้ำ พระคงคา ตีนเจ้าเหยียบสาหร่าย ปากก็ไซ้หาปลา กินกุ้งแลกินกั้ง กินหอยกระพังแมงดา กินแล้วก็โผมา จับที่ต้นหว้าโพธิ์ทอง ยังมีนายพราน เที่ยวเยี่ยมเยี่ยมมองมอง ยกปืนขึ้นส่อง จ้องเอาแม่กาดำ ตัวหนึ่งว่าจะต้ม อีกตัวหนึ่งนั้นว่าจะยำ กินนางแม่กาดำ ด่ำ วันนี้อุแม่นา " ถอดคำ ประพันธ์ บทที่มี ๘ วรรคขึ้นไป เลือกมา ๑ บท
ตัวอย่างเพลงกล่อมเด็กภาคต่างๆ ภาคเหนือ " หลับสองตา นอนจาเดอะเจ้า แถมสักบืดหนึ่งเล่า แม่เจ้าจะมา หลับอื่ออือจา " " นอนนอนจายเอ่อนอน นอนหลับตาอย่าไห้ นอนไหล้จั้งกนหลี " " อื่อจาๆ อื่อจาๆ ลับสองต๋า อีหล่าน้อยของแม่เหย ลับจื่นๆ ใจนา...ละเน้อ...ๆ อี่อ้ายเหย หมู่มึงออกออก ไซมันออก ยาวศอกยาววา ตัดไม้มาเป็นสองสามป้อง ไปดีดนมสาว บ่าเขือยาว ภาคอีสาน " นอนสาหล้า หลับตาอย่าลี่อยู่ เจ้าผู้ฮู้ นอนแล้วอย่าติง คึงกมเกี้ยง เฮียงหมอนสนุกยิ่ง " " นอนนอนสา หลับตานอน้อง เขามาขายของ แม่สิซื้อไปทาน เขามาขายอาน แม่สิซื้อให้เจ้า แมวโพงเป้า ตาเหลืองหม่าวหม่าว " " นอนสาเด้อหล่า หลับตาแม่สิกล่อม นอนอ้อมล้อม ในป่าอู่แพ แม่ไปไฮ่ บ่ได้มาหา แม่ไปนา หมกป่ามาป้อน แม่เลี้ยงหม่อน อยู่ในป่าสวนหม่อน นอนตะแคง อยู่กกไม้หนึ่ง ฟังเสียงเอิ้น กะไอ้บ่าวสีลา เปิ้นไปนา จับอึ่งมาเเล่ว จับอึ่งแล่ว เลี้ยงวัวเลี้ยงควาย ควายกูเสีย อีแม่กูด่า เต้นเปิ่งฟ้า อีน้องแจงแวงง แจงแวง เห็นควายกูบ่ เห็นบ่แท้. จักว่าตัวใด อื่อ..."
ภาตใต้ " ฮา...เอ้อ...ครือน้องเหอ ครือนางรจนา ทิ้งพวงมาลา เลือกเงาะทันใด ม้าวสามลรู้ พาลโกรธยกใหญ่ ขับรจนาทรามวัย ไปไว้ที่ปลายนา...เอ้อ...เหอ " " ฮา...เอ้อ...น้องนอน เหอ น้องนอนให้หลับดี แม่เซ้อทั้งสี มาช่วยพิทักษ์รักษา อาบน้ำ แล้วป้อนข้าว ทุกวันค่ำ เช้าทุกเวลา มาช่วยพิทักษ์รักษา กำ พร้าแม่คนเดียว...เอ้อ...เหอ " เพลงกล่อมเด็กแต่ละภาค แตกต่างกันอย่างไร
อ้างอิง ขอบคุณข้อมูลที่มาจาก http://old-book.ru.ac.th/ebook/t/TL216(49)/TL216(49)-12.pdf