The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นักรบ ระวังการณ์
ภาควิชาศึกษาศาสตร์

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by RCFCD @Siam U, 2021-09-19 22:31:43

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นักรบ ระวังการณ์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นักรบ ระวังการณ์
ภาควิชาศึกษาศาสตร์

ผู้ชว่ ยศาสตราจารย์ ดร. นักรบ ระวงั การณ์
ภาควิชาศึกษาศาสตร์

ฝากสตปิ ญั ญาไว้กบั แผ่นดิน

1. ความเชี่ยวชาญและแนวคิดในการทางาน
ตั้ ง แ ต่ จ บ มั ธ ย ม ศึ ก ษ า จ น ถึ ง ป ริ ญ ญ า เ อ ก แ ล ะ อ ยู่ ใ น
สายเลือดก็คือ “ศาสตร์ด้านการศึกษา” โดยเฉพาะเร่ือง
การออกแบบการจัดการเรียนรู้ จิตวิทยาการเรียนรู้
การจัดกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์และการบริหารการศึกษา
ซึ่งความร้ชู ุดนี้ไดน้ ามาประยกุ ต์ใช้ในการเป็นวทิ ยากรและ
พัฒนาหลกั สูตรใหก้ ับมหาวิทยาลยั ใน 5 หลกั สตู ร คอื
1. ปรญิ ญาตรี (ต่อเนื่อง) สาขาเลขานุการการแพทย์
2. ปรญิ ญาตรี (ต่อเนอื่ ง) สาขาเวชระเบยี น
3. ประกาศนียบตั รบัณฑิต สาขาการจัดการอบรม
4. ประกาศนียบัตรบณั ฑิต สาขาการสอน
วิทยาศาสตร์
5. ปรญิ ญาโท สาขาการศึกษาผใู้ หญแ่ ละการศึกษา

ต่อเนือ่ ง วิชาเอก การเป็นวิทยากร
นอกจากน้ันได้เขยี นหนังสอื ออกมา 8 เล่ม คอื
1. สงั คมวทิ ยาการแพทย์
2. ศลิ ปะการพดู
3. การจดั การอบรมและการเปน็ วทิ ยากร
4. หลักการของกลุ่มสมั พนั ธ์ : ประยุกตใ์ ช้ในการสอนและการอบรม
5. การพฒั นาทรพั ยากรมนุษย์
6. เทคนคิ การสรา้ งสัมพันธภาพในองคก์ ร
7. คลีนคิ วิจยั ด้านการจดั การการกฬี า
8. ถอดบทเรยี นกฬี าซีเกมส์

และไดผ้ ลติ บทเรยี นออนไลน์ออกมาอีก 2 เรอ่ื งคอื
1. เทคนิคการเปน็ วทิ ยากร
2. ทกั ษะการคิดพิชติ งานยคุ ดิจิทัล
และท่ีน่าเสียดายคือ การออกแบบรายวิชาการศึกษาทั่วไป ในระดับปริญญาตรี แต่ยังไม่ได้เปิดสอนอีก 2 รายวิชา คือ
“การออกแบบนวัตกรรมการออกกาลังกาย” กับรายวิชา “ทักษะการจัดการใช้ชีวิตในภาวะวิกฤต” และที่จัดทา
ไม่สาเรจ็ คือ รายวชิ า “เลน่ กอลฟ์ เพื่อธรุ กิจและสงั คม” ซง่ึ คิดวา่ หากมีผ้สู นใจก็พร้อมท่จี ะถา่ ยทอดองคค์ วามรูน้ ้ใี ห้

ส่วนประสบการณ์ด้านการทาวิจัยนั้น ท้ังลงมือทาเอง ควบคุมวิทยานิพนธ์และเป็นท่ีปรึกษาให้กับ
หน่วยงานจานวนมาก โดยเฉพาะวิจัยเชิงคุณภาพและวิจัยปฏิบัติการที่ทาอย่างต่อเน่ืองต้ั งแต่ระดับท้องถ่ิน
ระดับประเทศและระดบั อาเซียน ซ่ึงความรดู้ า้ นการวิจยั น้หี ากยงั มีพลังอยู่คงจะนามาเสนอในตอนต่อ ๆ ไป

แนวคดิ ในการทางาน ผมมหี ลักการอยู่ 3 ประเด็น คอื “งาน คน และตน” ดงั นี้
1. ไมเ่ กี่ยงงาน พร้อมเรียนรู้ ทาดว้ ยความอดทน ผลตอบแทนเป็นเรือ่ งรอง
2. ไม่ก่อศตั รู ดูแลครอบครวั ใหด้ ี มีมนุษยสัมพนั ธ์ ไม่เปน็ ผู้ค้าประกัน
3. มศี ีลธรรมประจาใจไว้เตือนตน ทาตนเป็นแบบอย่างท่ดี ี

1. “ไมเ่ กีย่ งงาน พร้อมเรยี นรู้ ทาดว้ ยความอดทน ผลตอบแทนเปน็ เรอ่ื งรอง”
จากประสบการณ์ท่ีผมศึกษาเล่าเรียนในระบบการศึกษามาทางด้านศึกษาศาสตร์ แต่พอถึงชีวิตจริง

บางครั้งเราก็ไม่มีโอกาสได้ใช้ความรู้ท่ีเรียนมาทั้งหมดในการเลือกสิ่งท่ีเรารักเราชอบและไม่ได้ทาในส่ิงที่เราอยากทา
เพราะฉะนัน้ เราจึงตอ้ งกาหนดแนวคิดทพี่ รอ้ มจะเรียนรโู้ ดยไมเ่ กีย่ งงอนและเกย่ี งงาน ใหค้ ิดเสมอวา่ “เม่ือเราไดเ้ รียนรสู้ ิง่

ใหม่หน่ึงอย่าง ก็ทาให้เราได้กาไรชีวิตเพิ่มมา
หน่ึงอย่างเช่นกัน” คิดได้ดังนี้เราก็จะมีความ
มุ่งมั่น อดทน อดกล้ันต่องานทุกงาน ที่ต้อง
เผชิญ แม้ว่ามันจะยากเย็นแสนเข็ญอย่างไร
หรือได้ค่าตอบแทนท่ีไม่คุ้มค่าเท่าไร เราก็
พรอ้ มทจ่ี ะเรยี นรตู้ ลอดเวลา

เด็ก ๆ ในเจนเนอเรช่ันใหม่ ๆ อาจ
ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดนี้ก็ได้เพราะพื้นฐาน
การเล้ียงดใู นยคุ น้เี ป็นทนุ นิยมเตม็ รปู แบบ ทา
ให้วิธีคิดของเขาอาจมองผลตอบแทนเป็น
หลัก ไม่จาเป็นต้องทางานหนักมากแต่ทาให้
ฉลาดมากข้ึน โดยบางคร้ังก็มากจนละเลย
คุณธรรมจริยธรรมท่ีสังคมควรดารงไว้ แต่อย่างไรก็ ตามโดยส่วนตัวท่ีผมเป็นคนในยุคท้าย ๆ ของเจนฯ เบบ้ีบูม ก็ได้ใช้
ความพยายามในการเลี้ยงดูบุตรหลานและอบรมลูกศิษย์ ให้นาแนวคิดที่กล่าวนี้ไปปรับใช้ในการดาเนินชีวิตและเป็น
เกราะป้องกันตนเอง ในยุคของการเปล่ียนแปลงท่รี วดเร็วจนยากจะคาดเดาได้
คาวา่ “ไม่เกย่ี งงาน” ในทศั นะของผมนัน้ ต้องเริ่มจากเปดิ ใจ ปรบั ทศั นคติใหพ้ ร้อมรบั สิ่งใหมแ่ บบเตม็ หวั ใจ
คาว่า “พร้อมเรียนรู้” หมายความว่าทาสมองให้เสมือนน้าทไ่ี ม่เต็มแก้ว กระหายท่ีจะแสวงหาแหล่งเรียนรู้
ทุกท่ี ทุกเวลาและทกุ โอกาส
คาว่า “ทาด้วยความอดทน” คือต้องเร่ิมจากความรักอย่างปราศจากเงื่อนไข ยอมทุ่มเทเพื่อทาสิ่งนั้นให้
สาเร็จอย่างมคี วามสขุ
คาว่า “ผลตอบแทนเป็นเร่ืองรอง” หมายถึงการมองเป้าหมายของงานเป็นหลักในเชิงคุณค่ามาก่อน แล้วจึง
ตามด้วยผลตอบแทนเชงิ มูลค่าเปน็ เรือ่ งรอง

และท่ีขอฝากทง้ิ ทา้ ยในตอนนี้ก็คือ “การทางานและการเรียนรใู้ นศตวรรษน้ี จาเป็นตอ้ งมีกัลยาณมิตรจากผูค้ นรอบดา้ น
มจี ิตวิญญาณในการทางานเปน็ ทีม จึงจะทาใหเ้ ราสร้างสรรค์งานใหมๆ่ ให้กับสังคมนี้ไวไ้ ด้”

แนวคิดในการทางาน เก่ียวกับ “การครองคน” ที่ว่า “ไม่ก่อศัตรู ดูแลครอบครัวให้ดี มีมนุษยสัมพันธ์ ไม่เป็น
ผู้ค้าประกัน”

ประเด็นแรกที่บอกว่า “ไม่ก่อศัตรู” เป็นหลักการและแนวปฏิบัติในการใช้ชีวิตท่ีผมพยายามเตือนตัวเอง
ตลอดเวลา แต่ก็ต้องบอกว่าไม่สามารถทาได้ท้ังร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะโดยวิถีชีวิตของมนุษย์ย่อมมีท้ังคนรักและคนชัง

ในส่วนคนรักนั้นก็ใช้วิธีคิดที่ว่า “เมื่อเราต้องการได้ความ
รักจากใคร เราก็ต้องเป็นผู้ให้ก่อน” ส่วนท่ีมีคนชังเราน้ัน
คงไม่สามารถไปบอกให้เขาเลิกชังเรา แต่เราสามารถ
วางใจเราไม่ให้ไปโกรธเกลียดและให้อภัยเขาได้ น่ันจึงจะ
ทาให้จิตใจเราเบาสบายอยู่ได้โดยปราศจากศัตรู

ประเด็นต่อมา เรื่องการดูแลครอบครัวให้ดี เป็นเรื่อง
ใหญ่มากสาหรับสุภาพบุรุษทั้งหลาย เพราะโดยบทบาท
หน้าที่ทางสงั คมของสังคมไทยก่อนหน้านี้ให้ผ้ชู ายต้องเป็น
หลักในการรับผิดชอบ ดังนั้นแนวทางที่สาคัญก็คือ (1)
การจัดการปัจจยั 4 ใหส้ มบูรณ์และเพิ่มปจั จัยท่ี 5 คือเรอื่ ง
ของ”เงิน”เข้าไปด้วย (2) การวางตนปฏิบัติตัวให้อยู่ใน
ธรรมนองครองธรรม ใช้สติในการดาเนนิ ชวี ติ (3) การดแู ล
บุ พ ก า รี แ ล ะ ค น ร อ บ ข้ า ง ทั้ ง ข อ ง เ ข า แ ล ะ ข อ ง เ ร า ใ ห้
เหมาะสม (4) การรักษาใจให้อยู่ในโหมด “รู้จักให้ รู้จักรับ ปรับอารมณ์ให้คิดอย่างมีความสุข” (5) ความสาเร็จของตัว
เราในทกุ ส่ิงมาจากกาลงั ใจของคนในครอบครัวสนับสนุน
เร่ืองของการมีมนุษยสัมพันธ์ คงไม่ต้องกล่าวถึงมากนักเพราะผมเช่ือว่า ทุกท่านคงจะรู้หมดแล้ว
ในแง่ทฤษฎี แต่ว่าจะยากตรงการปฏิบัติ เพราะเร่ืองของมนุษยสัมพันธ์เป็นเร่ือง “เล่นกับคน” และคนส่วนใหญ่ก็จะมี
กิเลสเป็นทนุ ทาใหค้ วามสัมพันธ์ของมนุษยม์ คี วามซบั ซ้อนยากจะเขา้ ใจ แตผ่ มคงฝากส่ิงท่ตี วั เองใชเ้ ป็นแนวทางอยู่ 2 ข้อ
ในการสร้างมนุษยสัมพันธ์น่ันก็คือ (1) ต้องเปิดใจ หมายถึงเปิดใจตัวเราก่อน แล้วหาทางเปิดใจคนท่ีเราจะคบหาด้วย
(2) ต้องเอาใจเขามาใส่ใจเรา หมายถึงต้องศึกษาเรียนรู้นิสัยใจคอของเขา เพ่ือเราจะได้ไม่ล่วงล้าความเป็นส่วนตัว
ของเขา และตอบสนองในสงิ่ ทีเ่ ขาตอ้ งการโดยตัวเรากต็ อ้ งสบายใจดว้ ย
สุดท้าย”ไม่เป็นผู้ค้าประกัน” ฟังดูแปลก ๆ ผมขออนุญาตขยายความเข้าใจในตอนนี้ว่า ผมเชื่อ
สานวนโบราณที่พ่อแม่ปู่ย่าตายายสอนมา “อยากเป็นเศรษฐีให้เป็นนายหน้า อยากเป็นขี้ข้าให้เป็นนายประกัน” เพราะ
จากประสบการณ์ท่ีได้พบเห็นมาก็ได้คาตอบเช่นนั้นจริง ๆ และผลต่อเน่ืองของการเป็นผู้ค้าประกันน้ียังส่งผลให้คนที่
สนิทสนมกันเลิกคบกันไปเลย หมายความรวมถึงการหยิบยืมเงินทองกันด้วย ซ่ึงประเด็นน้ีหลายๆท่านอาจม องว่า
เราแล้งน้าใจ แต่ผมอยากจะเสนอแนะทางออก 2 ทางคือ (1) การหยิบยืมหรือค้าประกันใดๆขอให้ใช้กฏหมายเป็น
เครื่องมือตั้งแต่แรก ก็จะช่วยให้ความสัมพันธ์ท่ีดียังคงอยู่ แต่ถ้าปฏิเสธเครื่องมือนี้ตั้งแต่แรกผมม่ันใจว่าจะ สูญท้ังเงิน
และเสียทั้งเพ่ือน อย่างแน่นอน (2) หากเป็นกรณีท่ีไม่มากเกินไปและเรายอมรับความเสี่ยงและความรับผิดชอบได้
ก็รบี ทาแบบไรเ้ งือ่ นไขไดเ้ ลยครับ ข้อนจี้ ะกลายเปน็ เสนห่ ์ในการสรา้ งสัมพันธ์ของตวั เราได้เช่นกนั ครับ

แนวคิดในการทางานส่วนที่กล่าวถึง “การครองตน” ท่ีว่า “มีศีลธรรมประจาใจไว้เตือนตน ทาตนเป็น
แบบอยา่ งทดี่ ”ี

ด้วยบทบาทหน้าที่ของการทางานเป็นครูมาตลอด 42 ปี ต้ังแต่ครูฝึกสอนอนุบาลและประถมโรงเรียน
วัดศิริพงษ์ธรรมนิมิต ครูนอกระบบสถานพินิจฯบ้านเมตตา ครูฝึกสอนมัธยมโรงเรียนเศรษฐบุตรบาเพ็ญ ครูอาชีวะ
โรงเรียนเทคโนโลยีหมู่บา้ นครูและอาจารย์มหาวิทยาลัยมหิดล ทาให้คาว่า “ศีลธรรม” เป็นข้อกาหนดในการปฎิบตั ิงาน
และการดาเนินชวี ิตมาโดยตลอด ศีลธรรมข้อใดบา้ งที่ได้นามาใช้ ก็ต้องบอกว่าไม่มีอะไรซับซ้อน แค่ “ความดี ไม่ประพฤติช่ัว
และทาจิตใจให้มีความสุข” ก็เพียงพอกับการใช้ชีวิตท่ีผ่านมา หลายคนคงคิดว่าหลักการน้ีพูดง่ายแต่ทายาก ซ่ึงผมก็
เห็นด้วยเพราะความช่ัวมันทาง่าย เผลอเม่ือไหร่กิเลสเข้าครอบงาทันที ดังน้ันเราต้องกากับมันด้วยสติแล้วใช้สติปัญญา
พิจารณาหม่ันสร้างความดีบ่อย ๆ จนกลายเป็น “พฤตินิสัย” พอถึงจุดน้ันเราก็จะควบคุมตัวเราได้ และบอกได้ว่า
ความดีน้ันทาได้ง่ายกว่าความชั่ว ส่วนการทาจิตใจให้มีความสุขนั้น ผมได้อธิบายวิธีการไว้ในบทเรียนที่ผมสอนท้ังใน
การสอนปกติและการสอนออนไลน์ เป็นหลักคิดง่าย ๆ กล่าวคือ “เมื่อท่านลืมตาต่ืนขึ้นมาในตอนเช้า ให้ท่านต้ังสตแิ ล้ว

ถามตัวเองว่า เราจะเลือกข้อใด ข้อ ก “สุข” ข้อ ข “ทุกข์”
ถ้าท่านเลือกข้อใดสิ่งน้ันจะกลายเป็นชะตากรรมของท่านและ
ผู้ที่เกี่ยวข้องในวันน้ันทันที” ดังนั้นหากเราเลือก ข้อ ก “สุข”
ได้ทกุ วันกจ็ ะทาใหเ้ รามีสติต้งั มนั่ อยูบ่ นศลี ธรรมอันดี

สาหรับการทาตนเป็นแบบอย่างท่ีดี ก็เป็นอีกบทบาทหน่ึง
ของการต้องทาหน้าท่ี “นาผู้อ่ืน” จากประสบการณ์ท่ีเป็น
วิทยากร เป็นท่ีปรึกษาและเป็นผู้บริหาร ต้องทาให้ผู้ตามเรา
เกดิ ความเช่อื ถือศรัทธาและปฏิบัตติ ามดว้ ยความเต็มใจ ดงั นั้น
ตัวเราเองก็จะต้องใช้หลักศีลธรรมในตอนต้นมาปฏิบัติ หากเรา
ไม่สามารถเป็นตัวอย่างที่ดีได้ เราก็จะไม่สามารถจูงใจให้ผู้อื่น
คล้อยตามเราได้ และผมจะย้ากับลูกศิษย์ลูกหาเป็นประจาว่า
การนาผู้อื่นนั้นขอให้ระลึกถึงบทกลอนเรื่อง “แม่ปูกับลูกปู”
ไว้คอยเตือนตัวเอง แนวคิดในการครองตนดังท่ีกล่าวมานี้
ไม่มอี ะไรท่ีซบั ซ้อนหรือยงุ่ ยากใด ๆ กับการใช้ชีวิต เพียงแต่ว่า
เราต้องมีความเช่ือม่ันและศรัทธาต่อหลักของศีลธรรมและ
น้อมนามาฝึกฝนและปฏิบตั ิ ซ่ึงผมม่ันใจว่าหากเรานามาใช้ได้
ชีวิตน้ีท่านจะอยู่กับตัวเองและอยู่ร่วมกับผู้อ่ืนได้อย่างมี
ความสขุ ตลอดไป

“สงิ่ ที่ภาคภมู ใิ จในชวี ิตการทางาน”
ก็ต้องบอกว่าตลอดชีวิตการรับราชการท่ีมหาวิทยาลัยมหิดลน้ัน ถือเป็นโชควาสนาของชีวิตท่ีได้ปฏิบัติ

หน้าท่ี “ตามรอยพระราชบิดา ที่ให้ยึดประโยชน์ของส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน” มหาวิทยาลัยได้มอบสิ่งดี ๆ
ในชีวิตมากมายท้ัง ทรัพย์สินเงินทอง ช่ือเสียงเกียรติยศ สติปัญญาและกัลยาณมิตรอย่างท่วมท้น ซ่ึงเป็นสมบัติติดตัว

ตราบจนชีวิตจะหาไม่ สาหรับสิ่งที่
เ ป็ น ค ว า ม ภ า ค ภู มิ ใ จ ใ น ชี วิ ต ก า ร
ทางานมีอยู่ 3 เรือ่ งทค่ี วรจดจา คอื

ประการแรก “ได้ทางานบริการ
วิ ช า ก า ร แ ก่ สั ง ค ม ใ น น า ม ข อ ง
มหาวิทยาลั ย โดยไม่เคย ทาให้
มหาวิทยาลัยเสียชื่อเสียง” นับต้ังแต่
เมื่อผมบรรจุเข้ารับราชการปีแรก
( พ . ศ . 2533) ไ ด้ ท า ห น้ า ที่ ช่ ว ย
บริหารงานของ โครงการศูนย์
การศึกษาต่อเนื่อง ซ่ึงดูแลการจัด
หลักสูตรฝึกอบรม ปีละ 30-50
หลักสูตร มีผู้ผ่านการอบรมในระยะ
7 ปีต่อมาประมาณหลายพันคน
มีรายได้เข้ามหาวิทยาลัยหลายล้านบาท ภายหลังท่ีโครงการถูกยุบลงในปี 2540 ผมได้รับการติดต่อจากลูกศิษย์
ในหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจจานวนมากใหเ้ ป็นวทิ ยากรในหลักสูตรต่าง ๆ ทั้งด้านการพฒั นาองค์กร การพฒั นา
คุณภาพมาตรฐาน การยกระดับการบริการ การพัฒนาศักยภาพส่วนบุคคล การบริหารงานของผู้บริหารระดับต่าง ๆ
การบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยว ตลอดจนเป็นที่ปรึกษาด้านการวิจัยให้กับ
หน่วยงานหลายแห่ง บทบาทในการปฏิบัติหน้าท่ีด้านการบริการวิชาการแก่สังคม ก็คือ “ความรับผิดชอบต่อคุณภาพ
ของผลงานและชื่อเสียงของสถาบัน” เพราะทุกคร้ังที่เราปรากฎตัวต่อสังคมนั้น ทุกคนรับรู้ว่าเราคือ “อาจารย์ของ
มหาวิทยาลัยท่ีมีช่อื เสียงของประเทศไทย” ความตระหนักรู้ของตัวเราท่ีต้องพัฒนาตวั เองตลอดเวลา วางแผนเตรียมตัว
ซักซ้อมให้มีความพร้อมมากที่สุด ดารงตนอยู่ภายในกรอบของจริยธรรมวิชาชีพ คานึงถึงประโยชน์ของหน่วยงานที่
มอบหมายความรับผิดชอบและไว้วางใจให้กับเรา จนมาถึงช่วงเวลาท่ีเหลืออีกเล็กน้อยกับความเป็นอาจารย์
มหาวิทยาลัยมหิดล ผมก็ยังได้รับโอกาสจากหลายหน่วยงานให้บกุ เบิกงานใหม่ ๆ ในภาวะวกิ ฤตของสังคมและประเทศ
โดยเฉพาะงานที่ทามาท้ังชีวิตคือ “การจัดการอบรมและการเป็นวิทยากร”ซง่ึ เปล่ียนไปอยู่ในระบบออนไลน์ จึงไดท้ ุ่มเท
สติปัญญาและประสบการณ์ในการออกแบบหลักสูตร ออกแบบการเรียนรู้ พัฒนาส่ือการสอน ให้ออกมาตอบสนอง
ความตอ้ งการในการเรยี นรูข้ องคนไทยทยี่ งั ไม่คุน้ เคยกบั ระบบออนไลน์ดงั กล่าว

ประการที่ 2 “ได้ทาหน้าท่ีของความเปน็ ครู ด้วยจิตวญิ ญาณ”คาวา่ ดว้ ยจิตวิญญาณ คงจะดูไม่เกินเลย
ไปนะครับ เพราะผมเช่ือว่าในการปฏิบัติหน้าที่หรือลงมือทาอะไรก็ตาม หากเราทาโดยปราศจากจิตวิญญาณแล้วผล
ที่ออกมาเราอาจไม่รู้สึกถึงความภาคภูมิใจท่ีได้ทา โดยเฉพาะอาชีพครู ท่ีหลาย ๆ คนเปรียบเปรยว่าเป็นเสมือนเรือจ้าง

หรือเรือข้ามฟาก ที่ส่งลูกค้าถึงฝ่ังแล้วก็จบกัน
ประเด็นน้ีผมเถียงมาตลอดว่าไม่ใช่เช่นน้ัน
การทาหน้าท่ีของครู ต้องเสริมสร้างความรู้
ความเข้าใจและทักษะให้ศิษย์ ปรับเปลี่ยน
ทัศนคติและพฤติกรรมให้เป็นที่พึงประสงค์
ซึ่งการทาเช่นนั้นให้บรรลุเป้าหมายได้ไม่
สามารถใช้เวลาเท่าที่เซ็นชื่อลงเวลา แต่ต้อง
ขยายเวลาออกไปจนกว่าศิษย์นั้นจะเรียนรู้
อย่างเข้าใจ มีทัศนคตแิ ละพฤตกิ รรมตามที่ครู
คาดหวัง ดังนั้น อาชีพครูจึงต้อง “ทุ่มเท
เสียสละ อดทน ไม่เห็นแก่ตัวมุ่งประโยชน์แก่
ศิษย์” แต่ก็ต้องบริหารชีวิตตัวเองให้ได้ดีด้วย
จากการท่ีผมต้องรับหน้าที่ในฐานะครูและ
วิทยากรมาตลอดชีวิตการทางาน ก็ต้องบอก
ว่าเจอศิษย์ทุกรูปแบบตาม “จริตของมนุษย์”
ยากบ้างง่ายบ้างแล้วแต่พ้ืนฐานและบริบท
ของแต่ละคน เหมือนที่พระพุทธเจ้าได้ให้
แนวคิดเก่ียวกับ บัว 4 เหล่า ที่อธิบายว่า
คนเราน้ันมีการรับรู้และเรียนรู้ไดไ้ ม่เท่ากันใน
แต่ละเร่ือง ดังน้ันคนเป็นครูต้อง “เปิดใจ
ยอมรับความไม่เท่ากันและแตกต่าง ค้นหา
วิธีการที่เหมาะสมกับจริตแต่ละคนด้วย
สตปิ ัญญาอย่างเต็มกาลงั ความสามารถ” ท้ังน้ี
ค รู ก็ ต้ อ ง ใ ฝ่ ห า ค ว า ม รู้ แ ล ะ พั ฒ น า ตั ว เ อ ง
ตลอดเวลา ส่ิงสาคัญกับการอยู่ในอาชีพครูอย่างมีความสุขได้นั้นต้อง “สัญญากับตัวเองให้ได้ว่า เราพร้อมในความรัก
ต่อเพื่อนมนุษย์โดยปราศจากเง่ือนไข และรักในความเป็นครูอย่างปราศจากข้อกังขาใด ๆ” ซ่ึงหากมีใจเช่นน้ีแล้ว
ความมานะอุตสาหะและเพียรพยายามที่จะทาให้ศิษย์ทุกคนเป็นทั้ง “คนดีและคนเก่ง” ย่อมเป็นเส้นชัยของคุณครู
ทุกคนอย่างแน่นอน “จิตวิญญาณครู” ท่ีเป็น DNA ในตัวผมล้วนมาจากการได้เรียนรู้จากศิษย์แต่ละคนท่ีเป็น “ครู”
ให้เราเชน่ กัน ต้องขอขอบคุณศิษย์ทุกคนเช่นกันมา ณ โอกาสนี้ และการเรียนรู้ทุกบทเรียนท่ีผ่านเข้ามาในชีวิตล้วนแล้ว
ที่ต้องใช้สติและปัญญาในการกากับ เพื่อให้ได้ผลตามเป้าหมายและไม่ผิดศีลธรรมอันดีของสังคม เพราะอาชีพครูเป็น
วิชาชีพชั้นสูงท่ีได้รับเกียรติและยกย่องเชิดชูจากสังคม ดังน้ันการดารงตนของครูต้อง “ทบทวนตัวเองอยู่เสมอ
หม่ันฝกึ ฝนการมสี ตทิ ่จี ะยับยัง้ ช่ังใจไมไ่ ปตามกระแสของกเิ ลส และมองเหน็ คุณค่าในตวั เองดว้ ยความภาคภูมใิ จท่ีไดส้ ร้าง
คนให้เป็นคนทีม่ ีคุณค่าตอ่ ประเทศและสงั คมโลก” ในทสี่ ุด

ประการท่ี 3 “การฝากสติปัญญาไว้กับแผ่นดิน” ควรจะเป็นบทบาทที่เรายังมีศักยภาพทาต่อไปได้

โดยเฉพาะความรู้และประสบการณ์ภายในตนน้ี ยังมีอีกมากพอที่ควรจะถ่ายทอดสู่สังคมต่อไป ซึ่งความคิดความรู้สึก

ดังกล่าวข้างต้นน่าจะมาจาก “ความภาคภูมิใจท่ีได้มีโอกาสทางานด้วยความเสียสละให้มหาวิทยาลัย มหิดลในตาแหน่ง

บรหิ าร” คือ

(1) ช่วงของการเป็น รองผู้อานวยการฝ่ายการอบรม

โครงการการศึกษาต่อเน่ือง ได้รับโอกาสจากท่าน

ผู้อานวยการ(ศ.ดร.บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์) ให้อิสระใน

การทางานอย่างเตม็ ท่ี จึงไดท้ ่มุ เทเวลาท้งั หมดเพือ่ เรยี นรู้งาน

ด้านการบริหารจัดการการฝึกอบรมและการเป็นวิทยากรทั้ง

ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ แบบเล่นหมดหน้าตัก เพ่ือนามา

ตอ่ ยอดและคิดสรา้ งสรรค์งานใหม่ ๆ ตลอดเวลา “ก็ต้องบอก

วา่ ไม่เสียเปลา่ เพราะการทางานแบบมี passion นั้นจะส่งผล

ให้เกิด growth mindset ท้ังด้านสติปัญญาและการจัดการ

อารมณ์ได้อย่างยอดเย่ียม ซึ่งความเสียสละคร้ังน้ีมีผลต่อ

ศกั ยภาพของตวั เองเพมิ่ มากข้นึ ”

(2) ช่วงของการเป็น รองคณบดีฝ่ายกิจกรรมพิเศษ

คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ แม้จะอยู่ในตาแหน่งแต่

ก็ได้รับโอกาสอันดีจากท่านคณบดี (รองศาสตราจารย์ ดร.

สุรีย์ กาญจนวงศ์) ให้ลาบางส่วนไปศึกษาต่อปริญญาเอก

จึงถือโอกาสนาความรู้มาพัฒนางานท้ังการเรียนการสอน

การวิจัย การบริการวิชาการและงานทานุบารุงศิลปวัฒนธรรมตามภารกิจ 4 ด้านของอาจารย์มหาวิทยาลัยอย่างครบถ้วน

และสร้างสรรค์เช่นกนั ครับการทางานและเรียนไปด้วยใน ชว่ งน้ันก็จัดว่าแสนสาหัส แต่ส่ิงท่ีทาให้ผา่ นชว่ งเวลาน้ันมาได้

อย่างราบร่ืนก็คือ “แนวคิดของการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่ส่งผลทาให้มีความกระตือรือร้น สนใจใฝ่รู้และมุมานะอดทน

จนมีอนาคตทส่ี ดใสมากข้ึน” (3) ชว่ งของการเป็น หัวหนา้ ภาควิชาศึกษาศาสตร์

เป็นเวลาท่ีต้องเสียสละสูงมาก เพราะเป็นช่วงเวลา

สูญญากาศของภาควชิ าท่ีเพ่ือนพีน่ ้องทุกคนตอ้ งการให้

ผมมาทาหน้าที่บริหารจัดการ นับเป็นการตัดสินใจท่ี

ยากลาบากพอสมควรเพราะกระทบกับแผนชีวิตที่วาง

ไว้ก่อนหน้าน้ี แตอ่ ย่างไรกต็ ามเมอื่ ตดั สนิ ใจแนว่ แนแ่ ล้ว

“เราก็ตอ้ งปรับทัศนคตใิ ห้เป็นเชิงบวก จัดการความคิด

ให้เป็นระบบ ปลุกเร้าผู้คนให้เข้ามามีส่วนร่วม จัดการ

องค์กรอย่างมีธรรมาภิบาลและเสียสละแรงกายแรงใจ

ให้กับส่วนรวมอย่างปราศจากเงื่อนไข” แม้การทางานในส่วนนี้จะไม่สมหวังดังต้ังใจ แต่ก็เกิดความภาคภูมิใจที่ได้ทา

หนา้ ท่ขี องตนเองโดยไมบ่ กพร่อง เพราะเรามั่นใจว่า “ไม่วา่ เราจะมหี ัวโขนใหเ้ ลน่ เปน็ ตวั อะไร ถ้าเรามใี จและใช้สติปัญญา

อย่างเต็มกาลังในการเล่นบทน้ัน สิ่งตอบแทนที่ได้รับจะมากด้วยคุณค่าและเกิดความภาคภมู ิใจทไ่ี ดท้ าใหผ้ ู้อ่นื มีความสุข

ร่วมไปกบั ตวั เราด้วย”

“ผลงานหรือรางวลั ทภี่ าคภมู ใิ จ”
ตลอดระยะเวลา 26 ปีในฐานะข้าราชการและอีก 5 ปีในฐานะพนักงานมหาวิทยาลัย ต้องสารภาพ

เลยครับว่า ความต้ังใจต้ังแต่แรกเข้ารับราชการน้ัน ไม่เคยคิดแข่งขันหรือประกวดอะไรกับใคร แต่ถ้าเปน็ รางวลั จากการ
ร่วมลงแข่งขันกีฬาก็พอจะมีอยู่บ้าง และที่ภาคภูมิใจสุดก็คงมีเพียงครั้งเดยี วเฉพาะท่ีเปน็ ตวั แทนมหาวิทยาลัยไปแข่งขัน
กอล์ฟ แล้วได้เหรียญทองในกีฬาบุคลากรอุดมศึกษา คร้ังที่ 36 ณ มหาวิทยาลัยพะเยา เม่ือปี 2560 สิ่งท่ีได้เรียนรู้จาก
ความสาเร็จในคร้ังน้ันก็คือ “การลงแข่งกีฬา ต้องตั้งความหวังที่เป็นไปได้มีโค้ชช่วยในการวางแผนและฝึกซ้อม มีการ

เตรียมร่างกายและจิตใจให้แข็งแกร่ง มีสติต้ังมั่นอยู่บนความไม่
ประมาท และใช้ความคิดท่ีเป็นบวกตลอดเวลา” ซ่ึงผมเชื่อมั่นว่า
องค์ความรู้จากประสบการณ์น้ีจะเป็นกุญแจดอกสาคัญสาหรับ
ไขสู่ชัยชนะทางการกีฬา ถ้าเป็นงานวิจัยและบริการวิชาการแก่
สังคมที่ภาคภูมิใจสุดก็มี 2 เร่ือง คือ (1) การจัดทา”มาตรฐาน
โฮมสเตย์ไทย” ข้ึนเป็นครั้งแรกและเป็นต้นแบบให้กับกระทรวง
การท่องเที่ยวฯ จนยกระดับสู่มาตรฐานอาเซียน และ (2) การจัดทา
มาตรฐานห้องประชุม สถานที่จัดนิทรรศการและสถานที่จัด
กิจกรรมพิเศษ (event) ให้กับสานักงานส่งเสริมการจัดประชุมฯ
(TCEB) จนขยายไปท่ัวประเทศและยกระดับสู่อาเซียน องค์ความรู้
สาคัญจากประสบการณ์ท่ีผ่านจากผลงาน 2 ชิ้นน้ีก็คือ “การคิด
พัฒนางานใหม่ ๆ จาเป็นต้องใช้จิตใจที่เปิดกว้าง ใช้ความพยายาม
ในการดั้นด้นแสวงหาความรู้ความเข้าใจที่แท้จริง ทาคนเดียวไม่ได้
ต้องมีทีมงานท่ีเข้มแข็งและรู้ใจกัน ไม่เกรงกลัวและอดทนอดกลั้น
ต่อปัญหาอุปสรรค ใช้หัวใจที่เป็นเด็กทางานให้สนุก แต่ใช้สติปัญญาแบบผู้ใหญ่ในการแก้ไขปัญหา” ส่วนที่เป็นความ
ภาคภูมิใจอย่างแท้จริงกับงานทั้งชีวิตก็คือ “ได้ทาหน้าท่ีอย่างสุดกาลังในการดูแลลกู ศิษย์มหดิ ลและนอกร้ัวมหดิ ลทุกคน
ท่ีอยู่ในความรับผิดชอบ ให้เป็น “คนดี มีคุณภาพและมีสานึกรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว องค์กร สังคมและ
ประเทศชาติ” ซ่ึงเวลามีใครมาถามว่าผลงานน้ีมีรางวัล
หรือเปล่า ผมก็ได้แต่ตอบแบบกวน ๆ ว่า “มีครับ แต่
เป็นรางวัลแด่คนช่างฝัน” นะครับ บทเพลง “รางวัลแด่
คนช่างฝัน” ของ คุณจรัล มโนเพ็ชร ศิลปินล้านนาท่ี
ท่านได้แต่งและร้องไวต้ ั้งแตป่ ี 2527 เป็นบทเพลงอมตะ
มาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งผมเองก็ได้นามาใช้เป็นบทเพลง
ประจาตัว เม่ือใดที่ได้ร้องเพลงนี้ก็จะเสมือนเป็นการให้
รางวัลให้กาลงั ใจตวั เองและบรรดาลูกศิษยล์ ูกหา เพราะ
ในเน้ือหาของบทเพลงที่ผมนามาตีความและเปรียบ
เปรยเองว่า “พันธะสัญญาระหว่างตัวเรากับศิษย์ทุกคน

ท่ีจะร่วมเดินทางตามฝันไปสู่เป้าหมายด้วยกัน โดยระหว่าง
ทางอาจต้องพบอุปสรรคขวากหนาม แต่เราก็จะไม่หว่ันไหว
จะไปด้วยความกล้าหาญอดทน ครูจะเป็นผู้ปลอบประโลม
และให้กาลังใจศิษย์จนถึงความสาเร็จที่วาดฝันไว้ น่ันจึงเป็น
รางวัลที่ควรคู่” น่ีแหละครับ ท่ีอยากจะบอกว่า “ผลงาน
หรือรางวัลที่ภาคภูมิใจในชีวิตการทางานท่ีแท้จริงในร้ัวของ
มหาวิทยาลัยมหิดลนั้น” เป็นรางวัลท่ีไม่ได้นับในเชิงมูลค่า
แต่มันคือ คุณค่าทางจิตใจ ในฐานะของครูอาจารย์ ท่ีไดเ้ ห็น
ศิษย์ทุกคนมีความเจริญก้าวหน้าในชีวิตการทางาน มีความสุข
สมหวังกับชีวิตครอบครัว และได้ช่วยกันสร้างสรรค์สังคม
ส่วนรวมใหด้ ตี ลอดไป

ความประทบั ใจ ที่มีต่อองคก์ ร
“มหาวิทยาลัยมหิดลให้ทุกอย่างในการสร้างทางชีวิต” ทางชีวิตก้าวแรกคือ “การสร้างเน้ือสร้างตัว” ทาให้มี

บ้านหลังแรกและหลังท่ี 2 ที่ 3 ตามมา ทาให้ได้ “เร่ิมต้นชีวิตครอบครัวท่ีสมบรู ณ์” ทาให้ได้ “ศึกษาต่อจนจบปริญญาเอก”
ทาให้มี “กัลยาณมิตรและเครือข่ายในการทางานมากมาย” ทาให้มี “ชื่อเสียงเกียรติยศเป็นที่ยอมรับในสังคม” สิ่งท่ีได้รับ
ทั้งหมดนี้ ในสานึกของคนคนหน่ึงต้องบอกว่า “ความกตัญญูกตเวที” เป็นส่ิงที่ต้องยึดมั่น แม้ในสังคมของเราวันน้ีจะมี
ดราม่าเก่ียวกับ “ความไม่รู้จักบุญคุณของแผ่นดินเกิด” ก็ตาม แต่ในฐานะของบุคคลท่ีเกิดบนผืนแผ่นดินนี้ ได้รับ
ประโยชน์จากแผ่นดินน้ี ก็ต้องบอกกับคนไทยทุกคนว่า “เราต้องมีสานึกที่ดีในการรักหวงแหนและตอบแทนให้กับ
แผ่นดินแม่ของเรา” อย่าทาให้เส่ือมเสียเพราะความไม่ดีเหล่าน้ันมันจะสะท้อนกลับมาที่ตัวเราเอง มหาวิทยาลัยมหิดล
มีช่ือเสียง เกียรติภูมิ ย่ิงใหญ่เกินกว่าตัวเรา เราเป็นเพียงกลไกหรือฟันเฟืองตัวเล็ก ๆ ที่จะต้องทาหน้าที่และมีความ
รับผิดชอบให้ดีที่สุด แม้ในการทางานท่ีมีปัญหาอุปสรรค มีสิ่งที่เราขัดใจไม่ชอบใจ ซ่ึงส่วนใหญ่ก็มาจากการกระทาของ

บุคคลท่ีเราไปเกี่ยวข้องด้วย ไม่เก่ียวกับความเป็น
ส ถ า บั น ท่ี พ ร ะ ม ห า ก ษั ต ริ ย์ ท ร ง พ ร ะ ร า ช ท า น
มหาวิทยาลัยแห่งนี้เพื่อช่วยดูแลสุขภาวะของคนไทย
ดังนั้น สิ่งท่ีผมและชาวมหิดลต้องจดจาให้ข้ึนใจ แม้จะ
เกษียณอายุราชการไปแล้วก็ตามคือ “ขอให้ถือ
ผลประโยชน์ส่วนตัวเป็นท่ีสองประโยชน์ของเพื่อน
มนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง ลาภทรัพย์และเกียรติยศจะตกมา
แก่ท่านเอง ถ้าท่านทรงธรรมะแห่งอาชีพไว้ให้บรสิ ุทธ์ิ”
มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นสถาบันอุดมศึกษาช้ันนาของ
ประเทศไทย มีเปา้ หมายทชี่ ดั เจนในการเป็น

ผู้นาทางการอุดมศึกษา ไม่ว่าจะเป็นด้านการผลิตบัณฑิต
การวิจัย การบริการวิชาการแก่สังคมและการทานุบารุง
ศิลปวัฒนธรรม ดังนั้น “อุดมการณ์ท่ียิ่งใหญ่” ได้ถูกส่งผ่าน
ให้เราต้องพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพภายในตนเองให้
สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ
ตลอดจนรักในศักดิ์ศรีของสถาบันแห่งนี้ตราบจนชีวิตหาไม่
ผมยังจดจาได้อย่างแม่นยามาโดยตลอดว่า เมื่อปี 2512 ที่
ในหลวงรชั กาลที่ 9 ทา่ นทรงพระราชทานนาม “มหดิ ล” และ
ขอให้ขยายเป็นมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์น้ัน ท่านได้มี
กระแสพระราชดารัสว่า “ถ้าจะเพิ่มคณะขึ้นใหม่ ควรมี
คณะสังคมศาสตรอ์ ยดู่ ว้ ย เพราะวชิ าในหมวดสงั คมศาสตร์น้ัน
แพทย์และผู้ที่ทางานทางสาธารณสุขควรจะรู้กัน” นั่นยิ่งทา
ให้เราต้องน้อมนามาหาวิธีการปฏิบัติเพ่ือให้บรรลุตาม
พระราชประสงค์น้ัน และได้ซึมซับเป็นอุดมการณ์ของการ
ทางานมาโดยตลอด ความประทับใจท่ีมตี ่อองคก์ รอันเป็นทร่ี ัก
น้ี เป็นความทรงจาดี ๆ ตลอดคร่ึงของชีวติ ทเ่ี รามอิ าจลืมเลอื น
ได้เลย จากวันนี้และวันที่เหลืออยู่ จะเก็บแต่ความรู้สึกดี ๆ และรักษาทุกส่ิงที่มหาวิทยาลัยมหิดลมอบให้น้ีใช้เกื้อกูล
ประโยชนใ์ ห้กับสงั คมและประเทศชาติ ต่อไป

ฝากขอ้ คิดใหก้ ับน้องๆ
สาหรับน้อง ๆ Generation Y (2523-2540) และ Generation Z (2540 ขึ้นไป) ซ่ึงตอนน้ีเป็นประชากร

ส่วนใหญ่ที่เป็นกาลงั หลักของมหาวทิ ยาลยั
1. ขอให้คดิ ถึงตัวเองก่อนโดยเฉพาะ 2 เรอื่ งนี้
1) ต้องสร้างนิสัยในการออมเงินและนิสัยในการออกกาลังกายให้เป็นหนึ่งเดียวกัน แล้วต้องทา

อย่างไร เอาเร่ืองออมเงินก่อนครับ น่ีเป็นวิธีการท่ีทาให้อาชีพราชการก็สามารถสร้างฐานะให้มั่นคงแบบท่ีผมเองใช้มา
ตลอดต้งั แต่เรม่ิ รบั ราชการครบั

(1) เก็บก่อน ที่เหลือค่อยใช้ (ควรเก็บแบบประจา อาทิ หุ้นสหกรณ์ กองทุนบาเหน็จบานาญ
ประกันชวี ติ แบบบานาญและบญั ชีเงินฝากประจา)

(2) เกบ็ ทันที ไมม่ ีคาว่ารอกอ่ น (เริ่มได้เรว็ เทา่ ไหร่ ถงึ เส้นชยั อยา่ งสบายใจ)
(3) อะไรไมส่ าคญั จาเปน็ อย่าซ้อื สะสม (คิดกอ่ นซือ้ ทบทวนหลาย ๆ รอบ)
(4) อย่าไปอยาก ตามคนอืน่ (จงพอใจในส่งิ ท่เี รามีเราเปน็ )
(5) ไปในที่ ทเ่ี สยี เงนิ ใหน้ ้อยลง (ไตร่ตรองและตดั สนิ ใจก่อนออกเดินทาง)
(6) หมั่นมองอนาคต ให้เหน็ ถงึ ปลายทางสุด ๆ (มองใหไ้ กล ไปให้ถงึ อยา่ งมสี ต)ิ
(7) หมั่นมองเงินเก็บ อย่างภาคภูมิใจและมีความสุข (ตรวจสอบยอดตามระยะ และแอบปลื้ม
กับตัวเอง)

2) ส่วนเรื่องนิสัยการออกกาลังกาย ลองใช้วิธีท่ีผมทาแล้วรู้สึกดีมากๆกับสุขภาพตัวเองครับ ไม่ต้อง
เขา้ ส่โู หมด “ทางานหนกั หาเงินมาทั้งชีวติ เพือ่ เอามาจา่ ยให้หมอหมด”

(1) ทาทนั ที ไมม่ คี าว่ารอ
(2) ตัง้ เปา้ ให้ง่าย ๆ แตท่ าได้ทกุ ทท่ี ุกเวลา
(3) หาวิธีการออกกาลังกาย ใหห้ ลากหลาย

กจิ กรรม
(4) กาหนดการออกกาลังกาย ใหเ้ ปน็ งาน

ประจาวัน
(5) คิดอย่างภาคภูมใิ จเสมอวา่ “เราก็ทาได้”
(6) คดิ เสมอวา่ เมื่อเราแกต่ ัวลง “เราไม่

ต้องพงึ่ พาใคร”
(7) ฝึกเสพติด “ความสุข” จากการออก

กาลังกาย
“ยิง่ เริ่มต้นไดเ้ ร็วเท่าไหร่ สขุ ภาพกายใจ
และเงนิ ทอง จะกลายเป็นสิ่งมคี า่ ตดิ ตัวตลอดเวลา”

2. แนวคิดที่ต้องอยู่กับผู้อื่น โดยแนวคิดที่จะกล่าวก็คือทางานร่วมกับใคร ขอให้ “เปิดใจ” “ลดอัตตา”
“ละอคต”ิ และ “คิดถึงเขาแต่ในด้านดี ๆ” ขอขยายความใหช้ ดั เจนทัง้ 4 ประการ ดงั น้ี

1) การเปิดใจ ช่วยให้เรา
ส่ือสารระหวา่ งเรากับเขาได้อย่างมีความสุข ถ้า
เราทาให้เขาเปิดใจเราก็จะสามารถเข้าไปน่ังใน
ใจเขา ขณะเดียวกันถ้าเราเปิดใจเราก็จะทาให้
เขาเข้ามาอย่ใู นใจเราได้ ผลลัพธ์ท่ไี ดค้ อื ทง้ั สอง
ฝ่ายต่างเข้าอกเข้าใจกันอย่างจริงใจ ประเด็นนี้
มีคาถามอยู่ว่า “แล้วเราจะทาอย่างไรให้เรา
และเขาเปิดใจ” คาตอบก็คือ “ลดอัตตา ละ
อคติของตัวเราและคิดถึงเขาพูดถึงเขาแต่ใน
ด้านทีด่ ี”

2) การลดอัตตา ช่วยให้เราไม่ยึดม่ันถือม่ัน ไม่มีตัวกูของกู ไม่ถือดีไม่อวดดี ไม่เอาตัวเองเป็น
ศูนย์กลางของจักรวาล ซึ่งข้อนี้ถ้าจะพัฒนาตัวเองก็ต้องอาศัยการเปิดใจให้กว้าง ยอมรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่าง
ใชค้ วามอดทนอดกล้ัน กล้ายอมรับความผิดพลาดของตวั เองและมองประโยชน์ของส่วนรวมเป็นท่ีต้งั โดยหากเราฝึกฝน
สิ่งทกี่ ลา่ วนไ้ี ด้ “เราก็จะอยู่รว่ ม ทางานร่วม ฝากชวี ติ รว่ มแบบ win-win” ไดอ้ ย่างแน่นอน

3) การละอคติ ช่วยให้เราไม่กลายเป็นคู่ขัดแย้งกับใคร ๆ ช่วยให้เราตัดสินผู้คนโดยไม่ลาเอียงและ
ทาให้เราปฏบิ ตั ิดีปฏิบตั ชิ อบกับผคู้ นท่ีเรารว่ มงานด้วย แตก่ ต็ ้องอธิบายว่าเรอ่ื งนเ้ี ป็นเรือ่ งทแ่ี ม้จะใช้ความพยายามในการ
ฝึกฝนก็ยังทาได้ยาก เหตุผลสาคัญก็มาจากกิเลสในใจเรา ท่ีมีทั้ง “ความรัก ความโลภ ความโกรธ ความหลงและความ
กลัว” ซึ่งส่งผลให้เราเกิดความลาเอียงเพราะรัก ลาเอียงเพราะไม่ชอบไม่ถูกชะตา ลาเอียงเพราะหลงว่ามันเป็นของ ๆ
เราและลาเอียงเพราะกลัวว่าจะต้องสูญเสียไป ดังน้ันจึงขอเสนอหนทางแห่งการละอคติโดยยึดเส้นทางธรรมมาปฏิบัติ
คือ ใช้ความเมตตากรุณา ฝึกการให้อภัยเป็นนิสัย พยายามวางใจให้เป็นกลางและฝึกการคิดของตัวเราให้ใช้เหตุผล
มากกว่าอารมณ์

4) การคิดถึงเขาแต่ในดา้ นดี ๆ จะช่วยเพิ่มเสนห่ ์ใหต้ ัวเราเป็นอย่างมาก ประสบการณ์นี้ ผมใชส้ อน
แทรกอยู่ในบทเรียนให้กับนักศึกษาและผู้เข้ารับการอบรมทุกหลักสูตร เพ่ือให้ทุกคนรู้รักและสามัคคีกันผมยกตัวอย่าง
เร่ืองนี้โดยถามทุกคนว่า “นับต้ังแต่วันนี้เป็นต้นไป ถ้าเราจะพูดถึงคนอ่ืน เราจะพูดถึงเขาเฉพาะในด้านที่ดีเท่าน้ัน
ห้ามนินทาว่าร้ายหรือพูดเรื่องไม่ดีของเขาโดยเด็ดขาด หากใครสามารถจะทาได้ให้รับปากกับผมเลย” ท่านคิดว่าจะมี
ใครสักคนไหมที่จะรับปากกบั ผม…แน่นอนครบั มนั เปน็ เรื่องยากมากๆ แต่หากทา่ นทาได้ ผมกเ็ ช่อื วา่ ชีวิตของท่านจะมีแต่
เพอื่ นพอ้ งทีด่ ีและจริงใจกับทา่ นอย่างทส่ี ดุ นัน่ แหละครบั ทีผ่ มเรียกวา่ เปน็ “เสนห่ ์ในการครองคน”

3. “อนาคตทางราชการ” ของนอ้ ง ๆ ทกุ คน
ขออนุญาตหยิบยกคาพูดของท่าน ดร.สุเมธ ตนั ตเิ วชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพฒั นา ท่ีท่านบรรยาย

ให้ความรู้และจิตสานึกกับข้าราชการในหลายโอกาสว่า “งานราชการเป็นงานท่ีต้องใช้ความอดทนสูง ดังน้ันข้าราชการ
ท่ีดีต้องมีความอดทน รับผิดชอบและมีวินัย” นั่นเป็นคาแนะนาที่ผมม่ันใจว่ามีข้าราชการจานวนมากนาไปปฏิบัติ และ
สามารถปรับตัวได้จนถึงเวลาเกษียณอายุราชการ เช่นเดียวกับผมที่ใช้คาแนะนาดังกล่าวมาปฏิบัติ นับต้ังแต่วันท่ี 17
กันยายน 2533 ซ่ึงเป็นวันบรรจุเข้าเป็นอาจารย์ ระดับ 4 ของคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

จนมาถึงวาระเกษียณในวนั ที่ 30 กันยายน 2564
และผมกม็ ั่นใจว่า “ความอดทน ความรับผดิ ชอบ
และความมีวินัย คือ หัวใจของการทางานใน
ฐานะข้าราชการอย่างแท้จริง แต่การที่เราจะ
สร้างนิสัยท้ัง 3 ประการน้ี ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ
เพราะส่ิงยั่วยุและกิเลสในใจท่ีเป็นฝ่ายท่ีไม่ดี มัน
จะโผล่มาได้ตลอดถ้าเราจะต่อสู้กับมันให้ชนะ
ผมจึงมีคาแนะนาต่อยอดดังนี้ครับ “เม่ือเรา
ยอมรับว่า งานราชการเป็นงานท่ีต้องใช้ความ
อดทนสูง ดังนั้นท่านจงหม่ันฝึกฝนการใช้ความคิดควบคู่ไปกับการจัดการอารมณ์อย่างสม่าเสมอ” ถ้าจะฝึกการใช้
ความคิด ผมมี 5 คาแนะนาแบบกระทดั รดั คอื

1) อ่านมาก ๆ ค้นคว้าเยอะ ๆ แลว้ จะได้ “ผลึกความคิด”
2) พูดคยุ รบั ฟงั แลกเปลี่ยนเรียนรู้ จะได้ “เปดิ ประตูความคิด”
3) จดบนั ทึกทกุ ส่งิ และเกบ็ ขอ้ มลู อย่างเปน็ ระบบ จะได้ “คลังความคิด”
4) คดิ และลองทาส่งิ ใหม่ ๆ อยู่เสมอเมอ่ื มีโอกาส จะได้ “ความคิดท่ี

ไมส่ ิน้ สดุ ”
5) สรา้ งการเรยี นรดู้ ้วยตัวเอง จะได้ “นิสัยการเรยี นรู้ตลอดชีวิต”

ส่วนการฝกึ การจดั การอารมณ์ ก็แนะนา 5 ขอ้ แบบย่อ ๆ เชน่ กันครับ
1) ต่นื ตอนเช้าใหเ้ ลือก “ความสขุ ” ทุกวัน จะได้ “สุขทาน” เผ่ือแผ่

แก่ผู้อื่น
2) ทบทวนและตกั เตือนตวั เองทกุ วนั จะได้ “ความรสู้ ึกตัว” เปน็ ของดีติดตัว
3) หม่ันผ่อนคลายตวั เอง ด้วยการเคลือ่ นไหวอิรยิ าบถและออกกาลังกาย จะได้ “ไม่เครยี ด” จนกลายเปน็ อาวุธร้ายใส่

ผอู้ ่ืน
4) เรยี นร้จู ักตวั เอง ในการยับย้งั ชง่ั ใจไมว่ ่าจะเป็น รกั โลภ โกรธและหลง จะได้ “ไมส่ ูญเสยี ภาพลกั ษณข์ องตวั เอง” และ

ลามไปถงึ วงศ์ตระกูล
5) ฝึกการทาความเข้าใจ ความคิดและอารมณ์ของผู้อื่น จะได้ “ความคิด อารมณ์และความรู้เท่าทันผู้อื่น” จนสามารถ

ชนะใจทุกคนได้
“การฝึกฝนตนเองด้วยความม่งุ ม่ันอย่างมีเป้าหมาย จนไปสชู่ ัยชนะได้นนั้ คอื สจั ธรรมทวี่ า่ ชยั ชนะทีย่ งิ่ ใหญค่ ือการ
เอาชนะใจตวั เอง”…สาธุ สาธุ สาธ…ุ

4. “การสร้างนิสยั ในการแบ่งปนั ”
“ทาไม…น้าตกจึงสวย เหตุผลเพราะ

“มันไม่เคยกักน้าไว้เอง” ฉันใดฉันน้ันครับ หากการ
แสวงหาทรัพย์สมบัติในวงจรชีวิตของเรา โดยเราไม่สร้าง
นิสัยของการแบ่งปัน มันก็จะสะสมกลายเป็นกิเลสความ
โลภความหลงล้นทะลักจนขาดความสวยงามของชีวิต
นี่ จึ งเป็น สิ่ งท่ี ผ ม จ ะแ บ่งปัน ค วาม รู้ ทั ศนคติและ
ประสบการณ์ เพื่อให้ท่านได้”ฝึกฝนนิสัยของการแบ่งปัน”
และจะเป็นอานิสงส์ให้ท่านพบแต่ส่ิงสวยงามเข้ามาในชีวิต
ทงั้ ภพนแ้ี ละภพหน้าโดยมแี นวทาง 4 ขอ้ ดงั นี้

1) จงพอใจในสิ่งท่ีมีและพอดีกับสิ่งที่เป็น เรียกว่า รู้จักกับความพอเพียง ไม่ต้องไปเทียบกับใคร
ไม่ต้องไปอวดใคร แต่ต้องทาความรู้จักกับตัวเองให้ถ่องแท้ แล้วกาหนดแผนชีวิตให้ดาเนินไปสู่เป้าหมายความสาเร็จ
ที่สมฐานะของตัวท่านเอง และสละสว่ นเกินของชีวิตออกไปเพอ่ื ใหจ้ ิตใจเบาสบายและเกดิ ปติ สิ ุข

2) จงเรียนรู้และปฏิบตั ิในการใหโ้ ดยไมห่ วงั ผลตอบแทน ลองทบทวนตัวเองดูครับว่า ตัง้ แตส่ มัยเรา
ยังเป็นเด็ก เราเคยแบ่งของกิน ปันของเล่นให้กับเพื่อนๆ โดยไม่เคยขอให้เพ่ือนตอบแทน บ่อยคร้ังแค่ไหนถ้าจุดเร่ิมต้น
ของชวี ิตท่านเป็นเช่นน้ัน ก็สบายหายห่วงกับการสร้างนิสัยแบ่งปนั แตถ่ ้าสมัยน้ันเรามีต้นทุนเร่ืองนี้นอ้ ย ก็ยังไม่สายครบั
ท่ีจะเรม่ิ ต้นด้วยการคดิ และลงมอื ทาทนั ทไี ด้เลยครบั

3) แสวงหาโอกาสและจัดสรรเวลาเข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสาเพ่ือส่วนรวมให้มากขึ้น เพ่ือจะได้ฝึก
ตัวเราให้เห็นอกเห็นใจผู้อ่ืน เห็นความทุกข์ร้อนของผู้อื่นแล้วอยากให้ความช่วยเหลือ ซ่ึงทาบ่อยๆแล้ว “นิสัยของการ
แบ่งปัน” ก็จะค่อยๆก่อตัวข้ึนจนลดความเห็นแก่ตัวและมีความมีน้าใจเพิ่มมากขึ้น พอถึงจุดนี้เราจะรับรู้และสัมผัสกับ
“คณุ คา่ และความภาคภมู ิใจในตวั เอง”

4) จงระลึกเสมอว่า เมื่อเรามอบความร่วมมือร่วมใจ ความรู้รักสามัคคีและการให้อภัย มันจะ
กลายเป็นเสน่ห์ของตัวเราเอง สังคมมนุษย์ท่ีแท้น้ันต้องการการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ไม่ได้อยากให้เกิดความขัดแย้ง
แตกแยกหรือมุ่งอาฆาตมาดร้ายต่อกัน ดังนั้นหากเราทางานร่วมกับผู้อื่นด้วยการให้ความร่วมมือร่วมใจ รักสามัคคี
และเม่ือมีความไมเ่ ขา้ อกเข้าใจกพ็ ร้อมปรับความเขา้ ใจและให้อภัยได้ เราก็จะกลายเป็นทีร่ ักของทุกคน

ปจุ ฉา “ใครท่เี หน็ ตา่ งจากเรา…เราจะมองเขาเป็น มิตรหรือศตั รู?”
นี่จะเป็นคาถามสุดท้าย ในเร่ืองราวของ “5 คาแนะนา…จากพ่ีถึงน้อง” ผมต้ังคาถามนี้จากการถอดบทเรียน

จากการทาหน้าท่ีเป็นวิทยากรในหลักสูตรท่ีเก่ียวข้องกับ “การพัฒนาสมรรถนะบุคลากร” หลายหลักสูตรและ
หลายหน่วยงานราชการ โดยที่ผมได้ออกแบบการสารวจความคิดเห็นผ่าน Google form เพื่อประเมินสมรรถนะ
ผู้เขา้ รับการอบรม กอ่ นการเรยี น ซงึ่ ได้ ผลการศกึ ษาท่ีน่าสนใจและจะนามาขยายความในตอนที่ 14 น้ี กลา่ วคอื
ผเู้ ขา้ รับการอบรมส่วนใหญ่มีความคิดเห็นสอดคลอ้ งกันมาก ในประเดน็

1. ไมก่ ล้าทจี่ ะแสดงความคิดเหน็ ท่แี ตกต่าง ตอ่ ที่ประชมุ เมอื่ มโี อกาส
2. เม่ือมคี นท่ไี มเ่ หน็ ดว้ ยกับความคดิ เห็นของเรา ในทป่ี ระชมุ เราจะไม่อยากท่จี ะแสดงเหตผุ ลเพ่ือโต้แยง้
และความคิดเห็นชุดน้ีแหละครับ ท่ีส่งผลให้เกิดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ในองค์กรตามมา คือ การซุบซิบนินทากัน
และการสร้างขา่ วลอื ทาลายคนเห็นต่าง ซง่ึ เปน็ การบอ่ นทาลายความสงบสขุ และช่ือเสียงขององคก์ ร และรวมไปถงึ ทาให้
เกดิ อุปสรรคต่อการพัฒนาความคิดสรา้ งสรรคข์ องผู้คนในองค์กรตามมาอีกดว้ ย
ที่เกร่ินมาน้ี เก่ียวข้องอะไรกับคาถามท่ีว่า “ท่านมองคนท่ีเห็นต่างจากท่าน เป็นมิตรหรือศัตรู” หากท่าน
ตอบว่า “เห็นเป็นศัตรู” ละก็เข้าทางข้อมูลที่มาจากผลการสารวจในเบ้ืองต้นเลยละครับ และสามารถทานายได้เลยว่า
“องค์กรท่ีท่านทางานอยู่ จะตกอยู่ในภพภูมิช้ันนรกเลยก็ว่าได้” ไม่ต้องอธิบายต่อนะครับ เพราะแม้กระท่ังตัวท่านเอง
กจ็ ะกลายเปน็ “เหย่อื ” ของการถกู ตฉิ ินนนิ ทาและถูกทารา้ ยดว้ ยข่าวลอื ข่าวลวงต่าง ๆ

แต่หากคาตอบของท่านเป็นแบบ “เห็นเป็นมิตร” น่ันทานายได้เช่นกันว่า ท่านจะรู้สึกสนุกสนานและ
มีความสุขกับบรรยากาศของการรับฟังความคิดเห็นซ่ึงกันและกัน บนพ้ืนฐานของความแตกต่าง พร้อมที่จะหาเหตุผล
ท่ีดมี าโตแ้ ย้งกันอย่างสร้างสรรค์ น่ันจะช่วยเปล่ียนองค์กรของท่านเป็น “สวรรค์ช้นั ฟ้า” ได้เลยทีเดียว คนในองค์กรกจ็ ะ
มีพฤติกรรมการพูดจาประสาดอกไม้ ไม่ให้ร้ายเพื่อนร่วมงานและองค์กร ตลอดจนกล้าที่จะแสดงความคิดเหน็ ท่ีแตกตา่ ง
เพ่อื จุดประกายสู่การสรา้ งสรรค์นวตั กรรมในองคก์ รกันต่อไป

สาหรบั หลักคดิ ที่จะแนะนาในการ “มองความแตกต่างทัง้ หลาย ใหก้ ลายเปน็ มติ ร” นน้ั มีอยู่ 2 ประการคือ
(1) “แจกนั ทป่ี ระดบั ไปดว้ ยดอกไม้ หลากชนดิ และสสี ันนน้ั คอื ความสวยงาม”
การประดับตกแต่งแจกันดอกไม้เป็น
ศิลปะแขนงหนึ่ง ซึ่งสะท้อนให้เราได้
เ รี ย น รู้ ว่ า “ ผู้ ค น มี ค ว า ม แ ต ก ต่ า ง
หลากหลาย ร้อยพ่อพันแม่ แต่ละคนมีดี
ของตัวเอง แต่หากสามารถนามาอยู่
ร่วมกันได้อย่างจริงใจ น่ันย่อมกลายเป็น
ความงดงาม ที่มนุษย์ปรารถนา” แตก่ าร
ที่เราจะเป็นดอกไม้หนึ่งดอกในแจกัน
เราจะต้องปรับมุมมองของตัวเราให้เห็น
ถึ ง ค ว า ม ส ว ย ง า ม ใ น แ จ กั น น้ั น แ ล ะ
มองเห็นคุณค่าของดอกไม้ทุกดอกด้วย
เชน่ กนั
(2) “นกั รบท่ีชนะศกึ ไดอ้ ยา่ งเด็ดขาด คือ ความสามารถในการเปลย่ี นศัตรูใหก้ ลายมาเป็นมิตร”
นค่ี ือกลยุทธ์ของการตอ่ สทู้ ่ีเปลย่ี นจากการรบมาใช้การเจรจาเพอื่ เอาชนะใจฝา่ ยตรงขา้ ม ซึ่งก็ต้องอาศยั มมุ มองของความ
รักและความเมตตาท่ีมีต่อผู้อ่ืนอย่างปราศจากเง่ือนไข และต้องฝึกฝนตนเองให้มีความกล้าหาญและเชื่อมั่นในตนเอง
ในการพูดอยา่ งมีศิลปะเพื่อโน้มน้าวใจผ้อู ่ืนใหเ้ หน็ คล้อยตามความคดิ และความตอ้ งการของเรา
หลักคิดทั้งสองข้อนี้นาเสนอเป็นแนวทางให้ท่านปรับเปล่ียนทัศนคติจากด้านลบมาเป็นด้านบวก เพื่อให้
มองเพื่อนมนุษย์ทุกคนเป็นมิตร ซ่ึงก็จะช่วยเสริมตอ่ ให้ท่านมีกล้าหาญในการเปิดใจยอมรับความแตกต่างและเกิดความ
มั่นใจในการแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างอย่างมีเหตุมีผล หากปฏิบัติได้ดังน้ีก็เชื่อว่า “ท่านจะเป็นบุคลากรท่ีดีคนหน่ึง
ท่ีสามารถช่วยให้องค์กรที่ท่านสังกัดกลายเป็น สวรรค์บนดนิ และท่านจะไดใ้ ช้ชีวิตอยู่กับองค์กรท่ามกลางมิตรแท้ตลอด
อายงุ าน”

“อาลาชวี ติ ราชการ”
เพือ่ นพี่น้องตา่ งพดู เป็นเสียงเดยี วกันว่า…ถึงเวลาเกษยี ณจรงิ ๆ แลว้ รู้สกึ ใจหาย ทาไมมันเร็วจัง…ภาษาวิทยากร

วันละประโยคกล่าวว่า “งานเลี้ยงย่อมมีวันเลิกรา งานอบรมสัมมนาต้องเลิกให้เร็ว” ซ่ึงผู้ร่วมงานก็จะถูกอกถูกใจ
เพราะจะได้รีบกลับบ้าน รวมถงึ พวกเราเหลา่ วทิ ยากรก็เหมือนกันแหละครบั

ในงานเกษียณอายุราชการของมหาวิทยาลัยมหิดลปีน้ี ผมได้รับเกียรติจากคณะผู้จัดงาน ให้เป็นตัวแทน
บุคลากร สายงานวิชาการ กล่าวอาลา ดังนั้นในฐานะของวิทยากรและโค้ชด้านการพัฒนา การพูด จึงต้องวางแผน
และเตรียมตัวอย่างหนัก เพ่ือให้เกียรติกับผู้ร่วมงานและมหาวิทยาลัย จึงขอนาเสนอบทพูดที่กลั่นมาจากความรู้สึก
ลกึ ๆ ภายในจิตใจ และเพ่อื “ฝากสตปิ ญั ญาน้ไี วก้ ับแผน่ ดนิ ” ดังนี้ครบั

“คณะท่านผบู้ ริหารและทา่ นผู้มีเกียรติทุกท่าน”
ถึงแม้ว่าการจัดงานเกษียณ ประจาปี

พุทธศักราช 2564 จะถูกกล่าวขานว่าเป็นการ
จัดงานเกษียณทิพย์ เพราะไม่สามารถมาพบปะ
เจอกันบนโลกความจริงแต่เป็นโลกเสมือน ซึ่งก็
เป็นวิถีชีวิตใหม่ในยุควิกฤตโควิดท่ีต้องจารึกไว้
ให้จดจา แต่อย่างไรก็ตามผมและคณะผู้เกษียณ
ก็เชื่อม่ันว่าการจัดงานในคร้ังน้ีมาจากความรัก
ความผูกพันและความต้ังใจจริงของครอบครัว
ชาวมหิดล ซ่ึงพวกเราขอขอบคุณอย่างจริงใจไว้
ณ โอกาสน้ี

ตลอดระยะเวลาหลายสิบปีของพวกเราแต่ละคน นับเป็นช่วงเวลาดี ๆ ท่ีเราได้เข้ามาอยู่และได้เป็น
ส่วนหน่ึงของมหาวิทยาลัย ถือเป็นบุญวาสนาที่ได้มีโอกาสปฏิบัติงานเพ่ือสืบสานปณิธานของพระราชบิดาท่ีทาให้พวกเรา
มีจิตวิญญาณในการเสยี สละประโยชน์ส่วนตนเพอ่ื ประโยชนส์ ่วนรวม และจะตดิ ตัวพวกเราไปตลอดแม้จะเกษียณอายุราชการ
ไปแล้วก็ตาม และอีกสิ่งหนึ่งซ่ึงถือเป็นความโชคดอี ย่างยิ่งที่ไดม้ ีกัลยาณมติ รในการทางาน นับตัง้ แต่คณะผูบ้ รหิ ารในหลายยคุ
หลายสมัย กับคณาจารย์และบุคลากรท่ีเป็นเสมือนด่ังคนในครอบครัวเดียวกัน แม้พวกเราจะเกษียณไปแล้วก็ขอจดจาส่ิงดี
งามที่เกิดข้ึนในครอบครัวและในร้ัวของมหาวิทยาลัยแห่งน้ี และแน่ใจว่าการลาจากคร้ังน้ีจะเต็มเปี่ยมไปด้วยความ
ทรงจาที่งดงาม สิ่ง ๆ หนึ่งท่ีพวกเราคณะผู้เกษียณจะทาเพื่อเป็นการตอบแทนบุญคุณอันย่ิงใหญ่ของมหาวิทยาลัยก็คือ
“การฝากสติปัญญาไว้กับแผ่นดิน” ซึ่งท่านผู้มีเกียรติหลายท่านอาจจะคิดว่าเป็นไปได้ยากเพราะพวกเรานั้นชราด้วยวัย
แตต่ ้องขอบอกว่า “หัวใจและสติปญั ญามไิ ดช้ ราตามไปด้วย” ฉะน้ันหากมหาวทิ ยาลยั มีความปรารถนาที่จะใชส้ ติปัญญา
ของพวกเรา ผมมั่นใจว่าท่านผเู้ กษยี ณทกุ ท่าน จะทาด้วยความเต็มใจและยนิ ดีเป็นอย่างยง่ิ

นับจากวันที่ 30 กันยายนน้ีเป็นต้นไป พวกเราจะขอระลึกถึงครอบครัวมหิดลของเราเสมอ และจะคอย
เฝ้าดูความเจริญรุ่งเรืองของมหาวิทยาลัยพร้อมส่งกาลังใจให้พี่น้องของเรา มีพลังกายใจและสติปัญญาในการขับเคลื่อน
สถาบันให้มีช่ือเสียงในระดับโลกตามท่ีพวกเราได้ร่วมกันสร้างเป้าหมายน้ีไว้ และสุดท้ายนี้ในนามของคณะผู้เกษียณ
ขออานวยพรให้คณะท่านผู้บริหารและท่านผู้มีเกียรตทิ ุกท่านประสบแตค่ วามสุขความเจริญ มีสุขภาพกายสุขภาพใจท่ีดี
มคี วามมั่นคงก้าวหน้าในหน้าทกี่ ารงานและมชี วี ิตครอบครัวที่อบอนุ่ ตลอดไป

“อาจารย์มอี ะไร ที่อยากจะฝากถงึ องคก์ ร”

คาถามน้ผี มมคี าตอบเก็บอยู่ในใจ
มาหลายปี ถือเป็นของฝากจาก
ค น ที่ รั ก แ ล ะ ภั ก ดี ต่ อ อ ง ค์ ก ร
ดว้ ยความจริงใจครับ

ของฝากชิ้นแรกผมนามา
จากความคิดท่ีได้สมัยท่ีคณะฯ
ให้ผมลาไปศึกษาต่อปริญญาเอกท่ี
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ น่ันก็
คือ “Eat That Frog!” ของผู้แต่ง
Brian Tracy ท่านได้เปรียบเทียบ
เร่ืองของ “คน” กับ “งาน” ใน
หลายมิติ แต่ผมคงนาเสนอเพียง
ประเดน็ เดียวคอื …..“การจดั ลาดบั
ความสาคัญของงานให้เกิดประสิทธิภาพ” และไอ้เจ้า Frog ที่เราต้องกินมันซะ! ก็คือ“งานช้ินสาคัญ ท่ีจะต้องกินมัน
อย่างชาญฉลาด” หมายความว่า ทั้งผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน ในองค์กรต้องรู้ว่า…..เป้าหมายใด? ภารกิจใด? และปัญหา
ใด? ท่ีเราจาเป็นต้องจัดการเป็นเร่ืองเร่งด่วนท่ีสุด” ระบุเส้นตายและมีแผนการรองรับเพ่ือดาเนินการให้สาเร็จได้อย่างมี
ขั้นตอน ลงมือทาทันที โดยมีทัศนคติเชิงบวกเป็นแรงจูงใจในการขับเคลื่อน ดังนั้นเม่ือคณะสังคมฯ สังกัดอยู่ใน
มหาวิทยาลัยในกากับและมีความพยายามท่ีจะเป็นผู้นาทางความคิดของสังคม อย่างน้อยที่สุดก็ควรปรับเปล่ียน
mindset เพ่อื “กนิ กบตวั น้ันซะ! (Eat That Frog!)”

สาหรับของฝากชิ้นสุดท้าย ที่ผมได้จากการทางานวิทยากรในยุคของ Change Agent (ผู้นาการ
เปลี่ยนแปลงในองค์กร) น่ันก็คือ “Boiled Frog Theory” ของ Tichyand Sherman ซึ่งมีนักวิชาการและวิทยากร
หลายค่าย นาทฤษฎีน้ีมาถกแถลงและนามาเปรียบเทียบเพ่ือเป็นแนวคิดสาหรับปรับเปล่ียนการทางานในองค์กร
โดยทฤษฎีดังกล่าวได้จากผลการทดลองปฏิกิริยาการตอบสนองของกบ ท่ีนาไปใส่ในหม้อน้าเย็นท่ีตั้งบนเตาไฟที่ค่อย ๆ
ต้มให้น้าเดือด ปรากฎว่ากบไม่กระโดดออกจนน้าร้อนจัดก็สายเกินแก้แล้ว ดังนั้นผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานต้องรู้ว่า…..
สถานการณ์ปัจจุบันและอนาคต ของโลก ของสังคมและของลูกค้า มีความเปล่ียนแปลงตลอดเวลาโดยเฉพาะจาก
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และพฤติกรรมของผู้บริโภคก็มีความต้องการท่ีเปลี่ยนแปลงตลอด ความตระหนักรู้และ
ความตืน่ ตัวตอ่ การเปล่ยี นแปลงควรจะเปน็ “สมรรถนะ” ทส่ี าคัญย่ิงตอ่ การนาพาองคก์ รไปสทู่ างรอด เราตอ้ งเรยี นรแู้ ละ
พัฒนาองค์กรโดยอาศัยความร่วมมือร่วมใจและใส่ใจต่อส่วนรวมให้มากขึ้น รวมถึงการให้ความสาคัญกับลูกค้า นั่นก็คือ
ผู้เรียนท้ังในและนอกมหาวิทยาลยั โดยตอ้ งตระหนักและตอบสนองกับความต้องการและปัญหาของผู้เรียนให้มากยิ่งข้ึน
ดังน้ันหากคณะฯ จะต้องพึ่งพาตัวเองให้ได้ในอนาคตข้างหน้า ก็จาเป็นต้องสร้าง Growth Mindset ด้านการปรับตัว
เพอื่ ไมใ่ ห้กลายเปน็ “กบต้ม” ในทีส่ ุด

และฝากทิ้งท้ายไว้ว่า อย่าได้นาของฝาก 2 ชน้ิ มารวมกันเพ่ือสร้าง “ทฤษฎใี หม่” ให้กลายเป็น “จงต้มกบ
ใหส้ กุ กอ่ น แลว้ กจ็ งกินมันซะ!” นนั่ จะกลายเป็น “หายนะ” ขององคก์ รไดเ้ ลยละครับ

บันทึกจาก https://www.facebook.com/nugrob.raw


Click to View FlipBook Version