The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

สำเนาของ สำเนาของ รายงาน เงินถุงแดง

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Ata Fig, 2024-01-31 07:26:23

สำเนาของ สำเนาของ รายงาน เงินถุงแดง

สำเนาของ สำเนาของ รายงาน เงินถุงแดง

รายงาน เรื่อง เงินถุงแดง เสนอ ครู นริศรา โอชาพงศ์ จัดทำ โดย เด็กชาย ภูนภัท นภภัทรพงศ์ รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาภาษาไทย ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ โรงเรียนอนุบาลบ้านบึง(อำ นาจคณูปถัมภ์)


คำ นำ รายงานเรื่องเงินถุงแดง เป็นส่วนหนึ่งของวิชา ภาษาไทย จัดทำ ขึ้นเพื่อศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับ เงินถุงแดง โดยผู้จัดทำ ได้รวบรวมเนื้อหา เกี่ยว กับเงินทุนแดงไว้อย่างหลากหลาย เช่นประวัติของเงินถุงแดง ผู้จัดทำ หวังว่าท่านที่ได้อ่านรายงานเล่มนี้จะได้รับความรู้เรื่อง เงินถุงแดง ไม่มากก็น้อย หากมีข้อ แนะนำ หากมีข้อแนะนำ หรือข้อผิดพลาดประการใดมีข้อผิดพลาดประการใด ผู้จัดทำ ผู้จัดทำ ขอน้อมรับไว้และขออภัย มา ณ โอกาสนี้ด้วย


สารบัญ เรื่อง หน้า คำ นำ 1 สารบัญ 2 ประวัติเงินถุงแดง บรรณานุกรม 3-7 8


ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์จักรี ทรงเก็บออมเงิน ส่วนพระองค์ไว้เป็นจำ นวนมาก โดยเก็บใส่ถุงผ้าสี แดงจึงเป็นที่มาของเงินถุงแดง เพื่อสำ รองไว้ สำ หรับใช้เวลาบ้านเมืองเกิดยุคเข็ญ เงินส่วนนี้ เป็นพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ที่รัชกาลที่ 3 ทรง เก็บไว้ตั้งแต่สมัยยังเป็นพระเจ้าลูกยาเธอกรม หมื่นเจษฎาบดินทร์ ทรงแต่งสำ เภาไปค้าขายกับ ต่างประเทศต่อเนื่องหลายปีทำ ให้มีกำ ไรมาก ครั้นเมื่อเสวยราชย์แล้วยังโปรดให้ขุนนางแต่งสำ เภา ค้าขายเรื่อยมา โดยรับสั่งว่า “เงินถุงแดง” ให้เก็บไว้ไถ่บ้านเมือง ที่รับสั่งเช่นนี้ดูราวกับทรง พยากรณ์ได้ว่าจะเกิด “วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112” ใน รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 กรณีพิพาทกับฝรั่งเศส ทางฝรั่งเศส เรียกร้องดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำ โขง พร้อมให้ ไทยชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน 2 ล้านฟรังก์และยัง ต้องวางเงินประกันอีก 3 ล้านฟรังก์ แม้จะรวมเงินแผ่นดินและเงินที่พระบรมวงศานุวงศ์ร่วมกัน บริจาคก็ยังไม่พอ ต้องนำ เงินถุงแดงของรัชกาลที่ 3 มาสมทบเป็นการไถ่บ้านเมืองด้วย ประวัติเงินถุงแดง


พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระอัจฉริยภาพทางด้านการค้ามาตั้งแต่ทรงพระยศ เป็นพระเจ้า ลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ในรัชสมัยรัชกาลที่ 2ทรงกำ กับกรมท่า ซึ่งมีหน้าที่ในด้านการค้า และการต่างประเทศ นอกจากจะทรงกำ กับดูแลสำ เภาหลวงแล้ว ยังทรงมีสำ เภาค้าส่วนพระองค์ เช่นเดียวกับพระบรมวงศานุวงศ์และขุนนางชั้นผู้ใหญ่หลายท่านที่ส่งสำ เภาไป ค้าขายกับต่างประเทศ เงินที่ได้กำ ไรมาจากสำ เภาค้า ส่วนพระองค์นี้ ทรงใส่ถุงผ้าสีแดงเก็บไว้ข้างพระแท่น บรรทม จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าพระคลังข้างที่ จนมี จำ นวนมากถึงกับต้องสร้างเป็นห้องเก็บไว้ วิธีการหารายได้ของพระองค์ท่าน คือ จัดแต่งเรือสำ เภานำ สินค้าไปค้าขายกับต่างประเทศ อย่างเช่นจีน อินเดียและประเทศแถบเปอร์เซีย มีการค้าขายทั้งสำ เภาหลวง และสำ เภาของส่วนพระองค์ โดยทรงนำ สินค้าของส่วน พระองค์ใส่เรือสำ เภาของส่วนพระองค์ค้าขายกับต่าง ประเทศ ซึ่งเงินที่ได้มาในส่วนของสำ เภาหลวงให้เข้า คลังหลวง ในส่วนสำ เภาของส่วนพระองค์ ได้ทรงแบ่ง ส่วนหนึ่งถวายรัชกาลที่ 2 เพื่อนำ เข้าพระคลังหลวง อีกส่วนหนึ่งทรงเก็บไว้เป็นเงินส่วนพระองค์ที่ทรงใส่ไว้ใน ถุงแดงข้างที่พระบรรทม เมื่อเงินเต็มถุงก็จะทรงนำ เข้าพระคลังหลวงไว้เป็นสมบัติแผ่นดินทั้งหมด และทรง ออมใหม่เพื่อพระราชทานเก็บเข้าพระคลังหลวงเป็น สมบัติแผ่นดินอีก ทั้ง ๆ ที่เป็นพระราชทรัพย์ส่วน พระองค์ และการที่ทรงใช้ถุงสีแดงใส่เงินนั้นอาจจะมา จากคติความเชื่อของชาวจีนที่ติดต่อค้าขายกับไทยมากในขณะนั้น ซึ่งจะนิยมนำ เงินใส่ซองสีแดงมอบให้ลูก หลานในเทศกาล หรืองานมงคลเพื่อความมั่งคั่งร่ำ รวยและมีโชคดี


จากวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 กรณีพิพาทไทยกับฝรั่งเศสนั้น ส่งผลให้ไทยต้องจ่ายค่าปรับแก่ฝรั่งเศสภายใน 48 ชั่วโมง มิ ฉะนั้นจะเสียดินแดนพื้นที่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำ โขง ซึ่งเหตุการณ์ วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436) เกิดขึ้นสมัยรัชกาลที่ 5 ถือได้ว่าเป็นหนึ่งเหตุการณ์ที่ไทยเกือบเสียเอกราชมากที่สุดเมื่อจักรวรรดินิยมฝรั่งเศส ได้ขยายอิทธิพลเข้ามาในเดือน กรกฎาคม ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436) เรือรบฝรั่งเศสได้ชัยชนะรุกผ่านเข้าปากแม่น้ำ เจ้าพระยาเทียบท่าอยู่หน้าสถานทูตฝรั่งเศสในพระนครได้สำ เร็จและได้หันปืนใหญ่น้อยบนเรือเข้าสู่พระบรมมหาราชวัง ทางฝรั่งเศสได้ยื่นคำ ขาดแก่รัฐบาลไทยโดยมีข้อเรียกร้องให้ไทยต้องจ่ายเงิน 3 ล้านฟรังก์ ให้ชำ ระเป็นเงิน เหรียญทันทีในการชดใช้ค่าเสียหายต่าง ๆ โดยกำ หนดภายใน48 ชั่วโมง มิฉะนั้นกองทัพเรือฝรั่งเศสจะปิดอ่าวไทยและสั่งทูตฝรั่งเศสออกจากไทย ซึ่งอาจทำ ให้ไทยตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสได้ ด้วยเหตุผลดังกล่าว เงินถุงแดงจึงถูกนำ มาใช้ สมทบเป็นค่าปรับที่ฝรั่งเศสเรียกร้อง โดยนำ ไปสมทบกับเงินในท้องพระคลังหลวงที่มีอยู่เพื่อนำ ไปเป็นค่าปรับสงครามแก่ ฝรั่งเศส ซึ่งยังไม่เพียงพอกับเงิน 3 ล้านฟรังก์ ทำ ให้เจ้านายชั้นพระบรมวงศานุวงศ์ ตลอดจนข้าราชการจึงช่วยกันถวายเงิน ทอง เครื่องประดับและของมีค่า ไปแลกเป็นเงินเหรียญรวบรวมใส่ถุงขนออกจากพระบรมมหาราชวัง กล่าวกันว่าเงินค่าปรับที่จ่ายให้ฝรั่งเศสนั้น เป็นเหรียญทองเม็กซิโกรวม ทั้งหมด 801,282 เหรียญ ซึ่ง 1 เหรียญเท่ากับ 3.2 ฟรังก์ น้ำ หนักของเงินเหรียญทั้งหมดรวมกันกว่า 23 ตัน ต้องขนกัน ตลอดวันบรรทุกใส่รถออกจากประตูต้นสนของพระบรม มหาราชวังไปลงเรือ ที่ท่าราชวรดิษฐ์ เพื่อให้ทันตามกำ หนดที่ ฝรั่งเศสยื่นคำ ขาดเนื่องจากมีเวลาจำ กัดเพียง 48 ชั่วโมง ผลจากล้อรถที่บรรทุกน้ำ หนักเงินเหรียญ 23 ตันนั้น ได้กดทับจนทำ ให้เกิดรอยสึกบนพื้นถนนเป็นทางทอดยาว


วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 นั้น ถือเป็นเหตุการณ์ที่ สร้างความเศร้าโศกเสียพระราชหฤทัยให้กับ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เป็นอย่างมาก เป็นเหตุให้ประชวรหนักจากการที่ ฝรั่งเศสเข้ามารุกรานแผ่นดิน จนท้อพระทัยอย่างหนัก ซึ่งเหตุการณ์ในครั้งนั้น ประเทศไทยได้ผ่าน พ้นวิกฤตมาได้ด้วยพระมหากรุณาธิคุณ ที่ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ได้พระราชทานเงินถุงแดงที่ทรงเก็บสะสมไว้เมื่อ ครั้ง ทำ การค้าสำ เภากับชาวต่างประเทศและ พระราชทานให้แก่แผ่นดิน สำ หรับใช้ในยามที่บ้านเมืองเกิดภาวะคับขัน นำ มาไถ่บ้านไถ่เมืองและ รักษาเอกราชของชาติไว้ให้รอดพ้นจากการตก เป็นอาณานิคมของชาติฝรั่งเศสไว้ได้


บรรณานุกรม แหล่งข้อมูลประวัติเงินถุงแดง ผู้เรียบเรียง : วรพงษ์ แพรม่วง, วิทยากร ปฏิบัติการ กลุ่มงานบริการ วิชาการ 2 สำ นักวิชาการ สำ นักงาน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร์ สำ นักวิชาการ:


Click to View FlipBook Version