The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

บันทึกบัณฑิตอาสาสมัคร

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by sakuna.mon, 2021-09-16 12:27:28

บันทึกบัณฑิตอาสาสมัคร

บันทึกบัณฑิตอาสาสมัคร

ปิ๊ กบ้านโปรเจค
ตามหาความหมายของบ้าน

กับคนกลับบ้าน



บันทึกบณั ฑิตอาสาสมัคร
ท่ไี ดเ้ รยี นร้ชู วี ิต ณ หมู่บ้านเล็กๆ ในจงั หวัดลาปาง

บ้านทีจ่ ากมา

ฉันโตพอจะรับรู้ว่าชุมชนไมไ่ ดม้ ีเพียงภาพสวยงามของทงุ่ ขา้ วเขยี ว สายลม
และท้องฟ้า เบ้ืองหลังรอยยิ้มของผู้ท่ีถูกเรียกว่าชาวบ้าน ยังมีน้าตา หน้ีสิน การถูก
เอารัดเอาเปรยี บ โครงสร้างอันบดิ เบยี้ วภายใจในผู้คนและค้าถามมากมายผลกั ให้
ฉนั เตรยี มตวั และเตรียมใจ เกบ็ กระเป๋าเดินทางอีกครงั้

ฉันตัดสินใจเป็นอาสาสมัครในวัยย่ีสิบสี่ ช่วงวัยท่ีเชื่อม่ันในก้าลังกายและ
ก้าลังใจ แม้จะเติบโตมาในยุคสมัยที่ใครต่างสนใจในการสร้างตัวตนของตนเอง
เพ่ือความอยู่รอด แต่เสี้ยวหนึ่งของชีวิต ฉันอยากตัดสินใจใช้เวลาสนใจผู้คนและ
โครงสรา้ งสังคม ภายใต้โครงการบณั ฑิตอาสาสมัครจากแนวคิดและปณิธานของ
อ.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ หากชีวิตฉันจะพอเป็นประโยชน์ต่อใครๆได้บ้าง นอกจาก
ความคิดฝันและแสวงหาอย่างอุดมคติ การใช้ชีวิตและลงมือท้า คือการพิสูจน์
ตัวเองท่ดี ที ส่ี ุด แมน้ ี่จะเป็นการโยกย้ายอกี ครั้ง แม้จะยงั ไม่รู้ว่าจะต้องไปอยทู่ ีไ่ หน
หากท่ีน่นั ชื่อว่าบ้านนอกหรอื ชนบท ฉนั ไมเ่ คยกลัวเลย

กอ่ นออกเดนิ ทาง

ก่อนถูกส่งไปเป็นอาสาสมัครในพ้ืนที่ชุมชน สามเดือนแรก ฉันและเพ่ือน
ร่วมรุ่นอีกเจ็ดคน ในนามบัณฑิตอาสาสมัคร เราเรียนทฤษฎีเกี่ยวกับงานพัฒนา
สังคม การเปลีย่ นแปลงของชนบท กระบวนการทา้ งานชมุ ชน ความหลากหลาย
ของวัฒนธรรม รวมท้ังบทเรียนเพื่อปรับการใช้ชีวิตให้พร้อมเป็นอาสาสมัคร
และลงไปทดลองใช้ชีวิตในชุมชน ตลอดสามเดือนในวิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย
อ๊ึงภากรณ์ เร่ืองเล่า เร่ืองราว ประสบการณ์จากคณาจารย์และรุ่นพี่ถูกถ่ายทอด
ใหห้ ัวใจเราพองโต นับวันรอทีจ่ ะได้ลงพื้นที่ แม้ไม่รู้ว่าเราแต่ละคนนนั้ จะไดไ้ ปใช้
ชีวิตเจด็ เดือนขา้ งหนา้ ทต่ี รงไหนของประเทศไทย

หมวกสามใบ กบั ภารกิจอาสาสมัคร

นอกจากหัวใจของอาสาสมัคร การเสียสละ การยอมรับความแตกต่าง
การไปใช้ชีวิตในชุมชนในนามบัณฑิตอาสาสมัคร เรายังมีภารกิจหลักที่คอยเป็น
เครื่องยา้ เตอื นไม่ใหไ้ หวเอนไปกับอปุ สรรค เป็นตัวก้าหนดบทบาทและการวางตัว
พวกเราเรียกว่าหมวกสามใบที่ต้องจ้าให้ข้ึนใจและสลับสวมให้ถูกเวลา หมวกใบ
ที่หน่ึง คือบทบาทลูกหลานชาวบ้านในชุมชน หมวกใบท่ีสอง คือผู้ประสานงาน
โครงการทร่ี บั มอบหมาย หมวกใบทส่ี าม คือสมาชกิ ในองคก์ รที่ลงไปปฏิบตั ิงาน
แม้ในตอนแรกเราต่างอยู่ในสภาวะกล้าๆกลัวๆเม่ือได้ยินภารกิจท่ีต้องลงไป
ปฏิบัติด้วยตัวคนเดียว แต่ก็ยังมีเร่ืองให้หัวเราะทั้งน้าตา เพราะพ่ีๆบัณฑิต
อาสาสมัครรุ่นก่อนๆท่ีผ่านการลงพ้ืนที่แล้ว มักเล่าให้ฟังว่าเมื่อลงไปอยู่ใน
หมู่บ้านจริงๆแล้ว ราวกับมีหมวกเปน็ พันใบท่ีต้องสวม มีหลายเร่ืองให้เราต้องท้า
และรบั ผิดชอบ เราตอ้ งมีสติและเลือกสวมให้เหมาะกับสถานการณ์ หมวกจะได้
ช่วยบังแดดรอ้ นมากกวา่ เป็นเครอ่ื งประดบั หรอื เปน็ ภาระท่ตี อ้ งสวมไว้



คนกลับบ้าน
ก่อนเวลาท่ีลงไปใช้ชีวิตสองสัปดาห์ พวกเราบัณฑิตอาสาสมัครก็ได้รู้พ้ืนท่ี

ปฏิบัติงานของตัวเอง น่ันเป็นเวลาไม่มากไม่น้อยเกินไปท่ีจะพอหาข้อมูลเพ่ือ
เตรียมตัวก่อนเดินทาง ฉันได้ขึ้นเหนือ พื้นท่ีบ้านนากว้าว(ก่ิว) ม.4 ต.บ้านกิ่ว
อ.แม่ทะ จ.ล้าปาง ปฏิบัติงานภายใต้โครงการ คนรุ่นใหม่ใส่ใจชุมชน องค์กร
ฮักกรีน (HugGreen) เป็นกลุ่มคนท้างานพัฒนาในบ้านเกิด หมู่บ้านที่ฉันจะไป
อยู่เมื่อค้นข้อมูลก็ได้รู้ว่ามีชอ่ื เสียงอยู่บ้าง มีบนั ทกึ ไว้ในส่อื ต่างๆ ท้ังบทสัมภาษณ์
และรายการโทรทัศน์ ภาพการท้างานกับชาวต่างชาติ ท้าให้ดูเป็นหมู่บ้านที่
พัฒนาไปไกลมากแล้ว ฉันแอบหว่ันใจเพราะอาจไม่ใช่ชนบทในภาพฝันที่เงียบ
สงบและมีชาวบ้านในภาพจ้า แต่เป็นชนบทที่มีคนกลับบ้านพร้อมกับความรู้ไป
พฒั นาหมูบ่ ้านแล้ว แตน่ ัน่ คงเปน็ โอกาสดที ฉี่ นั จะไดเ้ รยี นรงู้ านพัฒนาของคนกลับ
บ้าน หัวข้อที่ฉนั สนใจ

“pickbaanproject”

ป๊ิกบา้ นโปรเจ็ค โครงการชวี ิตของคนรุ่นใหมท่ ่ีกลับบ้าน
กลุ่มฮักกรีน (HugGreen) หรือองค์กรที่ลงมาปฏิบัติงาน เป็นกลุ่ม

ลูกหลานเกษตรกรท่ีกลับบ้านมาใช้ชีวิตและช่วยต่อยอดด้านการตลาด
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การท่องเที่ยวชุมชน ให้กับกลุ่มฮักน้าจาง กลุ่มเกษตร
อินทรีย์รุ่นพ่อแม่ พ่ีๆทุกคนในกลุ่ม แรกมารวมตัวกันท้างานในรูปแบบ
อาสาสมัคร ไม่มีเงินเดือนตอบแทนเหมือนพนักงานประจ้า มีเพียงใจรักและ
แนวคดิ ทีอ่ ยากแบง่ ปันสงิ่ ท่ีตนเองมใี หก้ ับคนรอบๆตัว เรม่ิ จากการเขา้ มาชว่ ยงาน
ด้านเอกสาร การท้ามาตรฐานเกษตรอินทรีย์ การประสานงาน เป็นตัวกลาง
เชื่อมระหว่างคนในชุมชนและคนนอกชุมชน พี่ๆในกลุ่มเรียกการใช้ชีวิตช่วงน้ีว่า
เป็นเสมือนโครงการชีวิตของคนรุ่นใหม่ที่กลับบ้าน ปิ๊ก ในภาษาถิ่นเหนือ
หมายถึง กลับ และ pick ในภาษาอังกฤษ หมายถึงการยกระดับ การเลือกสรร
Pickbaan project คอื โครงการชีวติ ของคนรุ่นใหม่ท่ีเลือกกลับมายกระดับบ้าน
เกิด มากกว่าการกลับมาอยู่บ้านแบบธรรมดา กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่เป็นลูกหลานตัว
จริง เคยเติบโตและอาศัยอยู่ในพ้ืนที่ เรียกได้ว่าเป็นจิ๊กซอว์ส้าคัญที่ช่วยต่อแล้ว
เติมเต็มงานพัฒนาชุมชน ความเข้าใจบริบทพื้นที่ซ่ึงเป็นหัวใจส้าคัญท่ีจะไม่สร้าง
งานที่ฉาบฉวยเพ่ือผลประโยชน์ช่ัวคราว หรือส่งผลกระทบด้านลบให้กับพ้ืนที่
ถือเป็นจุดเดน่ ย่งิ ของกลุม่ คนรนุ่ ใหมก่ ลบั บ้าน

From H to N Philosophy of “HUGGREEN”

“HUG ทไี่ มไ่ ด้แค่แปลว่า กอด และ GREEN ที่ไม่ได้แค่แปลว่า สเี ขยี ว”

ก่อนเรียนรู้สิ่งอ่ืนใดในองค์กร อย่างแรกเราต้องเข้าใจความหมายของชื่อ
ก่อน พี่โย ผู้ริเริ่มสร้างแนวคิดและพื้นที่กลุ่มฮักกรีน(HugGreen) เล่าว่าทุกๆ
ตัวอักษรก่อนประกอบเป็นช่ือ มีท่ีมาเก่ียวโยงกับแนวคิดงานพัฒนาทั้งหมด
HUGGREEN ไม่ใช่เพียงชื่อที่ต้ังขึ้นให้พ้องกับกลุ่มฮักน้าจาง กลุ่มเกษตรอินทรีย์
ในพื้นท่ีเพียงอย่างเดียว HUG ท่ีไม่ได้แค่แปลว่า กอด และ GREEN ท่ีไม่ได้แค่
แปลว่า สีเขียว มีอะไรซ่อนอยู่มากกว่าความหมายของการโอบกอดดูแลรักษา
สงิ่ แวดล้อมรอบตัว

จากตวั H ถงึ ตวั N มคี วามหมายที่ซอ่ นอยู่เพ่ือเป็นเปา้ หมายการด้าเนนิ
กิจกรรมของกลุ่ม ดงั น้ี

H – Happiness ส่งเสริมให้ผู้ที่สนใจในการเกษตรอินทรีย์ได้มีส่วนร่วม
กิจกรรมอย่างมีความสุข U – Understanding ช่วยสร้างความเข้าใจและให้ความรู้
แก่ผู้ท่ีสนใจในเร่ืองเกษตรอินทรีย์ G – Gender ส่งเสริมความเท่าเทียมในกลุ่ม
เกษตรกร G – Give ส่งเสริมให้เกิดสังคมการแบ่งปันในชุมชน R – Responsibility
ส่งเสริมให้ทุกคนเกิดความรู้สึกรับผิดชอบ ต่อตัวเอง สังคมและส่ิงแวดล้อมผ่าน
กิจกรรมท่ีทุกคนได้ท้าร่วมกัน E – Earth ส่งเสริมให้เกิดความตระหนักต่อปัญหา
สิ่งแวดล้อม รู้ถึงคุณค่า รวมถึงการอนุรักษ์ส่ิงแวดล้อมเพ่ือร่วมกันแก้ไขปัญหา
สิ่งแวดล้อม E – Engagement ส่งเสริมให้แต่ละภาคส่วนได้มีส่วนร่วม ผูกพันต่อ
ชุมชน และพร้อมจะร่วมกันพัฒนาสังคมให้ยั่งยืนร่วมกัน N – Network ให้
ความส้าคัญต่อการท้างานร่วมกับเครือข่ายต่างๆทั้งในและต่างประเทศเพื่อการ
พฒั นาท่ยี ่งั ยืน

เห็นได้ว่าทุกความหมายที่ซ่อนอยู่ในตัวอักษร นอกจากจะเกี่ยวข้องกับ
การส่งเสริมงานเกษตรอินทรีย์ซงึ่ เป็นประเด็นพัฒนาหลักในพื้นที่ ยังเป็นแนวคิด
ทส่ี ามารถใชไ้ ดก้ บั ชวี ติ และการอยู่รว่ มกันในสังคม



ชวี ติ ใน “content”

วันแรกท่ีมาเป็นอาสาสมัคร มีเพียงหัวใจท่ีเปิดรับการเรียนรู้ จะว่าไปฉัน
เช่ือว่านี่เป็นชีวิตท่ีหลายคนใฝ่ฝัน การได้ท้างานในชุมชนเกษตรอินทรีย์ ตื่นเช้า
มาเห็นแปลงผักเขียวและงดงามทุกวันจากการดูแลของชาวบ้าน ฉันพักใน
บา้ นพักโฮมสเตย์ เปน็ บา้ นไมห้ ลังนอ้ ยที่สร้างข้ึนเป็นหลังแรกของพเี่ ลี้ยงในพ้ืนท่ี
ร่องรอยภายในบ้านท้าให้ฉันพอนึกภาพตามจากค้าบอกเล่าได้ว่า บ้านหลังนี้เคย
มีอาสาสมัครมาพักก่อนหน้าแล้วทั้งไทยและต่างชาติ พื้นที่ท้างานหลักของฉัน
เป็นร้านกาแฟเล็กๆในชุมชน ชื่อ café HugGreen งานหลักๆในช่วงแรกดูจะ
เป็นการท้าความรู้จักและเรียนรู้งานในคาเฟ่ เริ่มตั้งแต่การดูแลพ้ืนที่ ท้าความ
สะอาด จนไปถงึ การท้าเครื่องด่ืม นอกจากเมนูชาและกาแฟท่ีต้องเรียนรู้ ชมุ ชน
ยงั มเี ครื่องดื่มผักเชยี งดา ผลติ ภัณฑ์แปรรปู จากผกั พ้ืนบา้ นในหมู่บา้ น ซึง่ มีท้ังสตู ร
ด้ังเดมิ และปรงุ ผสมสมุนไพร ทค่ี ิดค้นจากการเรียนร้แู ละทดลองของคนในชมุ ชน

นอกจากน้ีบทบาทของบัณฑิตอาสาสมัครไม่เพียงแต่การท้างานในองค์กร
เม่ือมีเวลาว่าง ฉันใช้เวลาช่วงหนึ่งป่ันจักรยานไปในหมู่บ้าน เพื่อเข้าไปเรียนรู้วิถี
ชีวิต เข้าร่วมงานประเพณีต่างๆ ท้ัง งานบุญ งานขึ้นบ้านใหม่ พิธีสืบชะตา ฯ
ส่วนหนึ่งเพ่ือการเรียนรู้ และส่วนหน่ึงเป็นภารกิจมอบหมายในการบันทึกข้อมูล
ชุมชน

ในแต่ละวันดูจะเป็นชีวิตท่ีสุขสบาย ตื่นเช้ารับไอหมอก เดินไปเก็บผักมา
ทา้ อาหาร พักบ้านโฮมสเตย์ ใช้ชีวิตในพ้ืนทีค่ าเฟ่ แตช่ ีวิตดๆี ท่ีลงตวั แบบนี้ อาจกล่าว
ได้เช่นนั้นถ้าหากฉันมาในฐานะนักท่องเท่ียว หรืออาสาสมัครสุดสัปดาห์ แต่ใน
บทบาทบัณฑิตอาสาสมัคร เราต้องเตรียมพร้อมเสมอ ราวกับไม่มีวันเวลาหยุด
ตลอดระยะการปฏิบตั งิ าน





เราไม่ได้เดินทางมาเพ่ือเป็นผู้เสพเพียงอย่างเดียว การลงมาใช้ชีวิตใน
ชุมชนในฐานะอาสาสมัคร หลายส่ิงท่ีได้รับจากชุมชน ท้าให้เราไม่อาจเพิกเฉย
แม้แต่วินาที สิ่งที่ต้องเรียนรู้อื่นๆ เช่น การประสานงานกับหน่วยงานชุมชน
การดูแลเอกสารให้กับชาวบา้ น การเขยี นจดหมายตา่ งๆใหอ้ งคก์ ร เกบ็ ข้อมูลและ
ท้าโครงการร่วมกับเด็กและเยาวชน การรับและดูแลแขกที่เข้ามาพักและเรียนรู้
ในชุมชน จึงไม่ใช่ภาพงดงามทุกขณะ วันเวลาท้าให้เราได้เรียนรู้และเห็นความ
จริงมากขึ้น แต่ฉันไมเ่ คยรู้สึกว่าเสียเวลาเลยสกั วินาทีท่นี ี่ แม้ฉันต้องเตรียมพร้อม
และเพมิ่ ความรเู้ สมอเพอื่ การดา้ รงอยูใ่ นแต่ละวัน



เจด็ เดือนเหมือนฝัน

ก่อนออกเดินทาง ไม่มีใครรู้ว่าเจ็ดเดือนข้างหน้า ชีวิตจะเป็นอย่างไร
เจ็ดเดือนท่ีน่ีก็มีทั้งเสียงหัวเราะและหยาดน้าตา การลงมาอยู่ในชนบท ใช้ชีวิต
อาสาสมัคร ไมใ่ ชภ่ าพฝนั เมือ่ เราเดินทางมาถงึ วนั สดุ ทา้ ยท่ีครบก้าหนดปฏิบัติงาน
กว่าจะผ่านครึ่งแรกของช่วงเวลาลงพ้ืนท่ี ฉันได้แค่ขอบคุณทุกคนท่ีแม้ไม่ได้อยู่
ใกล้ๆแต่ยังคอยรับฟังและให้ก้าลังใจ บ้านท่ีฉันจากมา เพ่ือน พ่ี น้อง คณาจารย์
ที่มอบโอกาสและเครื่องมือในการใช้ชีวิต และท่ีส้าคัญท่ีสุดคงเป็นทุกชีวิตใน
พื้นท่ีปฏิบัติงาน ชาวบ้าน เด็กๆ พ่ีเล้ียงและพี่ๆในองค์กร ท่ีมอบโอกาสให้ฉันได้
เรียนรู้ ใช้ชีวิตและวันเวลาร่วมกัน มอบโอกาสให้ฉันได้ท้างาน เติบโต เป็นผู้รับ
และผู้ให้ เคยได้ยินมาว่าถ้าเรามีความสุข เวลาจะผ่านไปเร็ว เจ็ดเดือนท่ีน่ี
ท้ายทสี่ ดุ จึงเหมือนพรบิ ตาเดียว

อย่าพยายามตามหาความหมายของชีวติ จงใชช้ ีวิต

ในช่วงแรกฉันเป็นเช่นหนุ่มสาวนักแสวงหา ใช่รู้ว่าชีวิตจริงๆนั้นเป็นเช่นไร
ตดิ อยูใ่ นโลกความคดิ ตรรกะและระแวงระวัง สงั คมและแวดล้อมท่ีฉันเติบโตมา
บางคร้ังราวกับถกู บีบอัดและผลักไสตลอดเวลา ไม่อาจด้ารงอยู่ได้อย่างเบาสบาย
เราใฝ่ฝันและคาดหวังความส้าเร็จ อยากได้ มี เป็น เช่นคนอื่นอย่างเนรมิต
เมอ่ื ผดิ หวงั กล็ ม่ สลายอย่างงา่ ยดาย แหลกลาญเกนิ กอบกู้ อาจโทษสังคมบิดเบยี้ ว
ที่หล่อหลอม อาจโทษหัวใจท่ีไหวเอนของตนเอง วันหน่ึงในพื้นที่ปฏิบัติงาน
พี่เลี้ยงบอกฉันว่า “อย่าพยายามตามหาความหมายของชีวิต จงใช้ชีวิต”
แรกทีเดียวฉันไม่เข้าใจ ชีวิตที่ใช้ไปวันๆนั้นจะเรียนรู้ได้อย่างไร หากวันเวลาผ่าน
ไปอย่างไร้หลัก ปราศจากส่ิงเป็นเช่นคนอ่ืนๆเขาเป็น ต่อเมื่อฉันได้เรียนรู้ท่ีจะท้า
ตามหัวใจและใช้ชีวิต อยู่กับชาวบ้าน เรียนและเลียนเอาจากเขา ฉันจึงเข้าใจสิ่ง
หนึ่ง สิ่งซ่ึงเรียกว่า “ธรรมชาติ” ส่งิ ท่สี มควรให้ชีวิตได้เป็น ปล่อยใหไ้ ด้เปน็



ถา้ เรามีความสขุ เวลาจะผ่านไปเร็ว

บทเรียนส้าคัญจากการมาเป็นอาสาสมัคร ใช่เพียงแนวคิดทฤษฎีในการใช้
ชีวิตในชนบท ชุดความรู้ในการด้ารงชีวิตท่ีเกี่ยวข้องกับงานพัฒนา งานเป็นส่วน
หน่ึงของชีวิต และความรู้ตา่ งๆเป็นเพียงเคร่ืองมือให้ได้ใช้ชวี ิตอย่างสะดวกสบาย
และสนุกขึ้น แต่การได้ลงมาใช้ชีวิตในสถานที่ ที่ไม่อาจได้มีเวลาเตรียมตัวมา
ก่อน ผู้คนท่ีไม่รู้จัก การด้ารงอยู่และการสร้างสัมพันธ์ บนฐานความเป็นมนุษย์
ยอมรับความแตกต่างหลากหลาย การเรียนรู้ท่ีจะปรับตัว เปิดใจเห็นผู้คนอื่นๆ
มากกว่าตนเอง บทเรียนเหล่าน้ีเกิดขึ้นเพราะโอกาสท่ีได้เข้ามาเรียนรู้ การได้ใช้
ชีวิตจริงลดทอนภาพจ้าอุดมคติ ฉันเชื่อมั่นว่า ไม่ว่าวันเวลาจะผ่านไปนานเท่าไร
แต่ส้านึกอาสาสมัครจากช่วงหนึ่งที่เราได้ลงมาใช้ชีวิตในนามบัณฑิตอาสาสมัคร
จะอยู่ในใจของเราตลอด แม้ฉันอาจไม่ใช่อาสาสมัครที่สมบูรณ์พร้อมในทุก
ช่วงเวลา

และที่ส้าคัญการลงมาอยู่กับคนกลับบ้าน ท้าให้ฉันได้ค้นพบความหมาย
ของบ้านท่ีมากกว่าท่ีอยู่อาศัย ท่ีเกิดหรือเพียงที่เติบโต บ้านไม่ใช่เพียงสถานท่ี
เดิมที่เราจดจ้า คุ้นเคย หรือยึดติด แต่บ้านเป็นความรู้สึกและส้านึกในใจ
บางอย่างท่ีท้าให้เราอบอุ่นเมื่อได้ใช้ชีวิต และบ้านท่ีงดงามคงเป็นสิ่งท่ีเราต้อง
ชว่ ยกนั สรา้ ง เชน่ เดียวกนั กับ ครอบครัว ชมุ ชน สงั คม ที่เป็นหน่วยใหญ่ข้นึ ไป

เคยไดย้ ินมาว่าถา้ เรามีความสุข เวลาจะผ่านไปเร็ว มาถงึ ตรงน้ีฉันกย็ อมรับ
วา่ เวลาของการเป็นอาสาสมัครกว่าครึ่งปผี ่านไปเรว็ จริงๆ ในช่วงชีวิตหนึ่ง เราได้
คิดฝันถึงสิ่งใดบ้าง งานการใดจะมอบพลังให้เราหรือลดทอนพลังของเรา
อาจารย์ท่านหนึ่งกล่าวกับพวกเราเสมอว่า “ไม่มีส่ิงใดด้ามืด หรือขาวบริสุทธ์ิ
ล้วนแลว้ แตร่ ะคนปนกนั เปน็ สีเทา” การอยรู่ ่วมอยา่ งไม่ตัดสิน ยอมรับในความไม่
สมบูรณ์พร้อมท้ังตนเองและผู้อื่น เป็นสิ่งส้าคัญที่จะท้าให้เราสามารถอยู่ร่วมกัน
ได้ได้สังคม สมบัติส้าคัญของอาสาสมัคร อาจเพียงหัวใจความเป็นมนุษย์ ที่มี
ความรกั ความเข้าใจ ความเคารพในวถิ ีและตัวตนของผ้คู นอน่ื ๆ หากใช่ชดุ ความรู้
มากมายเพ่อื การเปลย่ี นแปลงยิ่งใหญ่ แต่ไรซ้ ่งึ ความเมตตาอาทร

รดา วชั รพลชัย
บัณฑติ อาสาสมัครรนุ่ ท่ี 52

บา้ นนากว้าว (กว่ิ )

บ้านนากว้าว (กิ่ว) หมู่4 เป็นหนึ่งในหมู่บ้านของต.บ้านกิ่ว อ.แม่ทะ
จ.ล้าปาง เหตุท่ีชื่อนากว้าวเนื่องจากในอดีตมีต้นกว้าวเป็นจ้านวนมากเดิมที่ตั้ง
หมู่บ้านในปัจจุบันเรียกว่าบ้านค่าเนิ้ง เนื่องจากมีต้นมะค่าโน้มเอียง
และได้ขึ้นอยู่กับบ้านนากว้าวป่าตัน หมู่ 1 ภายหลังเมื่อย้ายมาอยู่ในการ
ปกครองของตา้ บลบ้านกิ่ว จึงได้ชื่อบ้านนากว้าว (ก่ิว)

กลมุ่ ฮักนาจาง

กลุ่มฮกั น้าจางริเร่ิมขึ้นเม่ือเดือนเมษายน พ.ศ.2551 โดยนางรุ่งสุรีย์ ชัยศร
ริเริ่มชักชวนเกษตรกร บ้านนากว้าว(กิ่ว) ม.4 ต.บ้านกิ่ว อ.แม่ทะ จ.ล้าปาง
จ้านวนหน่ึงไปศึกษาดูงานด้านเกษตรอินทรีย์ พลังงานทดแทน รวมท้ังการปลูก
และแปรรูปสมุนไพร เพ่ือใช้ทดแทนสารเคมีทางการเกษตรเม่ือไปศึกษาดูงาน
แล้วกลุ่มเกษตรกรได้เกิดแรงบันดาลใจในการพัฒนาตนเองและครอบครัว และ
เร่ิมปลูกพืชผักอินทรีย์ ไม่ใช้สารเคมีทางการเกษตร เพื่อลดสารเคมีตกค้างใน
พชื ผัก และสิ่งแวดลอ้ มภายใตแ้ นวทางเศรษฐกิจพอเพียง

ปัจจุบันมีสมาชิกเข้าร่วมกลุ่มกว่า 80 ครัวเรือน นอกเหนือจากการ
ด้าเนินงานด้านเกษตรอินทรีย์ยังได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ เช่น
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ล้าปาง ส้านักงานเกษตรจังหวดั ล้าปาง
ฯ ให้ยกระดับเป็นแหล่งเรียนรู้ แหล่งผลิต ขยายพันธ์ุ แปรรูปผลผลิตเกษตร
อินทรีย์โดยมผี กั เชยี งดาเปน็ พชื หลักของชมุ ชน

กลมุ่ ฮักกรนี (Hug Green)

กลุ่มฮักกรนี (Hug Green) เกิดจากการรวมตัวกนั ของคนรนุ่ ใหม่ ลกู หลาน
กลุ่มเกษตรกรฮักน้าจาง ที่หวนกลับคืนสู่บ้านเกิด ด้าเนินงานพัฒนา ต่อยอด
สนับสนุนชุมชน ด้วยรูปแบบอาสาสมัคร ท้ังด้านสิ่งแวดล้อม การเกษตร
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การตลาด การทอ่ งเท่ียวและวถิ ีวัฒนธรรม

ปัจจุบันจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชนฮักกรีน เม่ือวันที่ 16 มิถุนายน
พ.ศ.2563 โดยมี นางสาวพิกุล อินทะนะ เป็นประธานกลุ่มด้าเนินงานด้าน
การเกษตร การท่องเท่ียวชุมชน ผลิตและจ้าหน่ายสินค้าชุมชน ผ่านช่องทาง
ออนไลน์และหน้ารา้ น cafe' Hug Green

Volunteer community ชุมชนอาสาสมัคร

“เราเช่อื วา่ การทางานอาสาสมคั รสามารถสนบั สนนุ ชุมชนในหลายๆด้านได้”




Click to View FlipBook Version