The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

นางสาว มุนินทร์รัตน์ ศรีสังวาลย์ 116310509569-4

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

นางสาว มุนินทร์รัตน์ ศรีสังวาลย์ 116310509569-4

นางสาว มุนินทร์รัตน์ ศรีสังวาลย์ 116310509569-4

การบริหารจัดการสินค้าคงคลังด้วยการวิเคราะห์จัดกลุ่มแบบ เอบีซี และการหาปริมาณการสั่งซื้อ สินค้าที่เหมาะสม กรณีศึกษา: บริษัท เอลิท ทรานสปอร์ตเทชั่น Inventory management using ABC ANALYSIS theory using EOQ technique Case study: ELITE TRANSPORTATION Company. นางสาวมุนินทร์รัตน์ ศรีสังวาลย์ รหัสนักศึกษา 116310509569-4 รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต หลักสูตรการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน คณะบริหารธุรกิจ ปีการศึกษา 2566 ลิขสิทธิ์เป็นของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี


การบริหารจัดการสินค้าคงคลังด้วยการวิเคราะห์จัดกลุ่มแบบ เอบีซี และการหาปริมาณการสั่งซื้อ สินค้าที่เหมาะสม กรณีศึกษา: บริษัท เอลิท ทรานสปอร์ตเทชั่น Inventory management using ABC ANALYSIS theory using EOQ technique Case study: ELITE TRANSPORTATION Company. นางสาวมุนินทร์รัตน์ ศรีสังวาลย์ รหัสนักศึกษา 116310509569-4 รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต หลักสูตรการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน คณะบริหารธุรกิจ ปีการศึกษา 2566 ลิขสิทธิ์เป็นของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี


ชื่องานวิจัย การบริหารจัดการสินค้าคงคลังด้วยการวิเคราะห์จัดกลุ่มแบบ เอบีซี และการหา ปริมาณการสั่งซื้อสินค้าที่เหมาะสมกรณีศึกษา: บริษัทเอลิท ทรานสปอร์ตเทชั่น ชื่อนักศึกษา นางสาวมุนินทร์รัตน์ ศรีสังวาลย์ รหัสนักศึกษา 116310509569-4 ปริญญา บริหารธุรกิจบัณฑิต หลักสูตร การจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน ปีการศึกษา 2566 อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์.ดร. พุทธิวัต สิงห์ดง รายงายวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต โดยผ่านการพิจารณาจาก คณะกรรมการสอบการวิจัย ดังมีรายชื่อต่อไปนี้ อาจารย์ที่ปรึกษา .................................................………………… (ผู้ช่วยศาสตราจารย์.ดร. พุทธิวัต สิงห์ดง) รายงานวิจัยนี้ได้พิจารณาเห็นชอบโดย ประธานกรรมการ . .........................................………… (ผู้ช่วยศาสตราจารย์.ดร. โชติมา โชติกสเถียร) กรรมการ .....................................................………………………… (ดร. วรางกูร อิศรางกูร ณ อยุธยา) ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี


ก ชื่อเรื่อง การบริหารจัดการสินค้าคงคลังด้วยการวิเคราะห์จัดกลุ่มแบบ เอบีซี และการหา ปริมาณการสั่งซื้อสินค้าที่เหมาะสมกรณีศึกษา: บริษัทเอลิท ทรานสปอร์ตเทชั่น ผู้ทำวิจัย นางสาวมุนินทร์รัตน์ ศรีสังวาลย์ สาขาวิชา สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศและโลจิสติกส์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์.ดร. พุทธิวัต สิงห์ดง ปีการศึกษา 2566 บทคัดย่อ การวิจัยนี้เป็นการศึกษาการบริหารจัดการสินค้าคงคลังด้วยการวิเคราะห์จัดกลุ่มแบบ เอบีซีและการหา ปริมาณการสั่งซื้อสินค้าที่เหมาะสม กรณีศึกษา : บริษัทเอลิท ทรานสปอร์ตเทชั่น เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่เน้น ต้นทุนสินค้าคงคลัง วัตถุประสงค์คือ เพื่อศึกษาวิธีการสั่งซื้อที่เหมาะสม เพื่อลดต้นทุนการจัดเก็บสินค้าคงคลัง และ เพื่อค้นหาวิธีการจัดเก็บสินค้าคงคลังที่เหมาะสม เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์หัวหน้าคลังสินค้า หัวหน้าฝ่ายจัดซื้อ และพนักงานคลังสินค้า รวบรวมข้อมูล เอกสารที่เกี่ยวข้องกับสินค้าคงคลังภายในบริษัทกรณีศึกษา โดยทำการเก็บ รวมรวมข้อมูลการสั่งซื้อสินค้าคงคลังย้อนหลังเป็นเวลา 1 ปี ตั้งเดือนมกราคม – เดือนธันวาคม พ.ศ. 2565 งานวิจัยนี้ได้ประยุกต์ใช้การวิเคราะห์จัดกลุ่มแบบ เอบีซีเพื่อจำแนกความสำคัญของผลิตภัณฑ์จำนวน 65 รายการ โดยนำสินค้าเฉาะกลุ่ม A ซึ่งมีจำนวน 12 รายการ คิดเป็นร้อยละ 18.46 ของรายการสินค้าทั้งหมด โดยทำการ คำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์ความแปรปรวนมาประยุกต์ใช้ โดยมีเกณฑ์ว่า สินค้ารายการใดมีค่าสัมประสิทธิ์ความ แปรปรวน (VC) <0.20 แสดงว่า รูปแบบความต้องการสินค้ามีลักษณะคงที่ เหมาะกับเทคนิค EOQ ผลที่ได้คือ เมื่อ นำต้นทุนรวมของการสั่งซื้อสินค้าทั้งก่อนและหลังการประยุกต์ใช้เทคนิค EOQ มาเปรียบเทียบกัน พบว่าก่อนการ ประยุกต์ใช้เทคนิค EOQ มีต้นทุนรวมอยู่ที่ 31,298.69 บาท และหลังจากการประยุกต์ใช้เทคนิค EOQ มีต้นทุน รวมอยู่ที่ 9,302.67 บาท จากการประยุกต์ใช้เทคนิค EOQ นั้น ณ จุดการหาปริมาณการสั่งซื้อที่เหมาะสม(ต้นทุน การสั่งซื้อและต้นทุนการเก็บรักษา) ลดลง 21,996.02 บาท ซึ่งมีผลให้บริษัทกรณีศึกษามีต้นทุนการสั่งซื้อและการ จัดเก็บสินค้าคงคลังลดลง คำสำคัญ : สินค้าคงคลัง / ABC Classification Analysis / EOQ


ข Title Inventory management using ABC ANALYSIS theory using EOQ technique. Case study: ELITE TRANSPORTATION Company. Student Name MISS MUNINRAT SRISANGWAL Degree Bachelor of Business Administration Program Logistics and Supply Chain Management Academic Year 2023 Advisor Assistant Professor.Dr.Putthiwat Singhdong Abstract Research in this matter using ABC grouping and finding the ideal product order quantity. Study: Elite Transportation Company is a qualitative research that focuses on costs in business, namely Go to the study methods in the appropriate order to the subsection of the main section and Storage devices Custom supervision methods from the control panel Head of management Purchase control panel Server hardware Documents This will be required within the case study company by collecting additional order data for another year, to be held in January - June 2022. Researchers can examine the effectiveness of using A-clustering analysis. BC in the product section of 65 items by excluding group A products, which has 12 items, supporting notes 18.46 of the total product list by calculating the coefficient. Let's look at the criteria that any product With a coefficient of validity (VC) <0.20 <0.20, the organizer claims herbal products, that is, using the EOQ technique, the results are obtained before the total cost of the product order is taken into account. Before and after every time the EOQ technique is compared. Search before any EOQ technique has a total cost of 31,298.69 baht and after this the EOQ technique has a total cost of 9,302.67 baht from the normal EOQ technique at the point of finding the correct order quantity (purchase cost and cost of components) 21,996.02 baht, which will help the case study company to have lower purchasing and additional costs. Keywords: Inventory / ABC Classification Analysis / EOQ


ค กิตติกรรมประกาศ รายงานวิจัยนี้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี โดยได้รับความกรุณาและการช่วยเหลือเป็นอย่างดีจากบุคคลหลาย ฝ่ายด้วยกัน ผู้เขียนรายงานจึงขอกราบขอบพระคุณทุกท่านไว้ ณ โอกาสนี้ เริ่มจากท่านคณะอาจารย์ที่ปรึกษา ซึ่ง กรุณาเสียสละเวลาให้คำปรึกษาและแนะนำ รวมถึงการแก้ไขข้อบกพร่องเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ในการดำเนินการ ศึกษาจนปัญพิเศษฉบับนี้สมบูรณ์ ขอขอบพระคุณคณะผู้ปฏิบัติงานภายในองค์กรบริษัทที่ได้ให้ความรู้และข้อมูล ต่าง ๆ ที่ประกอบในการใช้วิจัยในครั้งนี้ ขอขอบคุณคณาจารย์หลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการโลจิสติกส์ และซัพพลายเชนทุกท่าน ที่ได้เสียสละเวลาในการเป็นคณะกรรมการสอบและตรวจสอบความถูกต้อง พร้อมทั้งให้ คำแนะนำต่าง ๆ เพื่อให้รายงานวิจัยนี้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น มุนินทร์รัตน์ ศรีสังวาลย์


ง สารบัญ หน้า บทคัดย่อ ก Abstract ข กิตติกรรมประกาศ ค สารบัญ ง สารบัญตาราง ก ฉ สารบัญตาราง ข ช สารบัญรูปภาพ ซ บทที่ 1 บทนำ 1 1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา 1 1.2 วัตถุประสงค์ 3 1.3 ขอบเขตของการวิจัย 3 1.4 แผนการดำเนินการวิจัย 4 1.5 นิยามศัพท์เฉพาะ 4 1.6 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 5 บทที่ 2 แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 6 2.1 ความหมายสินค้าคงคลัง 6 2.2 แนวคิดเกี่ยวกับการบริหารสินค้าคงคลัง 7 2.3 ต้นทุนเกี่ยวกับสินค้าคงคลัง 8


จ 2.4 ทฤษฎี ABC Analysis 9 2.5 ปริมาณการสั่งซื้อประหยัด (EOQ) 11 2.6 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 13 บทที่ 3 วิธีการดำเนินการ 15 3.1 รูปแบบการวิจัย 15 3.2 ประชากรกลุ่มตัวอย่าง 16 3.3 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 17 3.4 การเก็บรวบรวมข้อมูล 17 3.5 ขั้นตอนการดำเนินการวิจัย 18 3.6 การวิเคราะห์ข้อมูล 20 บทที่ 4 ผลการวิจัย 21 4.1 การแบ่งกลุ่มสินค้าโดยทฤษฎี ABC Analysis 21 4.2 คำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์ความแปรปรวน 27 4.3 ผลการวิเคราะห์ต้นทุนจากการประยุกต์ใช้ EOQ 30 บทที่ 5 สรุปผลและข้อเสนอแนะ 35 5.1 สรุปผลการวิจัย 35 5.2 อภิปรายผล 36 5.3 ข้อจำกัดของงานวิจัย 37 5.4 ข้อเสนอเสนอแนะ 37 บรรณานุกรม 38-39 ภาคผนวก ก 40


ฉ สารบัญตาราง ก ตารางที่ 1.1 แสดงแผนการดำเนินการวิจัย 1 ตารางที่ 2.1 การจำแนกกลุ่มสินค้าคงคลังตามการวิเคราะห์แบบเอบีซี (ABC Analysis) 10 ตารางที่ 4.1 แสดงการแบ่งประเภทจัดลำดับความสำคัญโดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎี 23 ABC Analysis กลุ่ม A ตารางที่ 4.2 แสดงการแบ่งประเภทจัดลำดับความสำคัญโดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎี 24 ABC Analysis กลุ่ม A (ต่อ) ตารางที่ 4.3 แสดงการแบ่งประเภทจัดลำดับความสำคัญโดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎี 24 ABC Analysis กลุ่ม B ตารางที่ 4.4 แสดงการแบ่งประเภทจัดลำดับความสำคัญโดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎี 25 ABC Analysis กลุ่ม C ตารางที่ 4.5 แสดงการแบ่งประเภทจัดลำดับความสำคัญโดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎี 26 ABC Analysis กลุ่ม C (ต่อ) ตารางที่ 4.6 แสดงผลการแบ่งประเภทจัดลำดับความสำคัญโดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎี 27 ABC Analysis ตารางที่ 4.7 ผลการคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์ความแปรปรวน 28 ของสินค้ากลุ่ม A จำนวน 12 รายการ ตารางที่ 4.8 ผลการคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์ความแปรปรวน 29 ของสินค้ากลุ่ม A จำนวน 12 รายการ (ต่อ) ตารางที่ 4.9 ผลการคำนวณต้นทุนรวมของสินค้าคงคลัง ก่อนการประยุกต์ใช้ EOQ 30


ช สารบัญตาราง ข ตารางที่ 4.10 แสดงผลการประยุกต์ใช้เทคนิค EOQ 33 ตารางที่ 4.11 แสดงผลการเปรียบเทียบต้นทุนรวมก่อนและหลังการ 33 ประยุกต์ใช้ EOQ


ซ สารบัญรูปภาพ ภาพที่ 1.1 ต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศไทย (พันล้านบาท) 1 ภาพที่ 2.1 กราฟการจำแนกรายการสินค้าโดยการวิเคราะห์แบบเอบีซี (ABC Analysis) 10 ภาพที่ 2.2 ตัวแบบต้นทุน EOQ 12 ภาพที่ 3.1 แสดงขั้นตอนการดำเนินการวิจัย 16


1 บทที่1 บทนำ 1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา จากรายงานโลจิสติกส์ของประเทศไทยประจำปี 2564 สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ มีอัตราการใช้กำลังผลิและดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังเพิ่มขึ้นสะท้อนให้เห็นว่าผู้ประกอบการเพิ่มกำลังการ ผลิตและปริมาณสินค้าคงคลัง เพื่อตอบสนองเศรษฐกิจที่กลับมาฟื้นตัว ในปี พ.ศ.2564 ต้นทุนโลจิสติกส์ของ ประเทศไทยคาดว่ามีมูลค่าประมาณ 2,238.8 พันล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 13.8 ต่อ GDP โดยมีมูลค่าเพิ่ม ขึ้นจากปีก่อนหน้า ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศจากการผ่อนคลายมาตรการด้าน COVID-19 และ แรงขับเคลื่อนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว สัดส่วนของต้นทุนโลจิสติกส์ต่อ GDP ในปี 2565 มี แนวโน้มปรับตัวดีขึ้น แต่อย่างไรก็ตามยังคงต้องประเมินจากปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ อาทิ การระบาดระลอกใหม่ของ COVID-19 สายพันธุ์ใหม่ สถานการณ์ความขัดแข้งระหว่างรัสเซียและยูเครน การเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อในหลาย ประเทศทั่วโลก และปัจจัยอื่น ๆ อาทิ ราคาน้ำมันตลาดโลก และค่าระวางเรือที่อาจส่งผลกระทบโดยตรงต่อ ต้นทุนโลจิสติกส์ในอนาคต ภาพที่ 1 ต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศไทย (พันล้านบาท) ที่มา: กองยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ สคช.


2 ในปัจจุบันนี้หากกล่าวถึงคำว่า “โลจิสติกส์ (Logistics)” คนส่วนใหญ่ก็จะนึกถึงการขนส่งเพียงด้านเดียว เท่านั้น แต่ความหมายที่แท้จริงของคำว่า โลจิสติกส์ (Logistics) ไม่ใช่เพียงแค่การขนส่งเท่านั้น แต่โลจิสติกส์นั้น เป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานและแผนกต่างๆ ทั้งภายนอกและภายในองค์กร หากองค์กรใดมีการ จัดการด้านโลจิสติกส์ที่ดีก็จะสามารถเพิ่มความสามารถในการทำงานในด้านต่างๆ ได้ เช่น เพิ่มความสามารถใน การให้บริการลูกค้า การลดต้นทุน การขนย้าย รวบรวมการจัดซื้อ การจัดเก็บ และการบริการ รวมถึงข้อมูลให้ สามารถขับเคลื่อนได้ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ภายใต้สภาวะการแข่งขันและสภาพแวดล้อมทาง ธุรกิจที่แตกต่างกัน การจัดการระหว่างแผนกก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่ต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่ง กล่าวคือ แต่ละ องค์กรต้องมีการประชุมความคืบหน้าต่างๆ เพื่อคาดการณ์วางแผนการดำเนินงานต่าง ๆ ภายในองค์กร หากการ จัดการในส่วนนี้ไม่มีประสิทธิภาพก็จะส่งผลเสียหลายประการ เช่น การขาดแคลนสินค้า สินค้าล้นตลาด ส่งผลให้ ต้นทุนในการจัดเก็บสินค้าคงคลังสูงขึ้น และผลิตภัณฑ์เสียหายจากการเก็บรักษาระยะยาว ผู้วิจัยได้ตระหนักว่า ในการปฏิบัติงานนั้นผู้ปฏิบัติงานจำเป็นต้องเรียนรู้และได้รับประสบการณ์จากการ ทำงานอย่างแท้จริง ดังนั้นผู้วิจัยจึงเลือกที่จะเรียนรู้และได้รับประสบการณ์การทำงานจากบริษัท ELITE TRANSPORTATION ซึ่งประกอบกิจการเป็นผู้ให้บริการขนส่งงานศิลปะ แน่นอนว่าเมื่องานศิลปะจัดเป็นงานศิลปะ ชั้นสูงก็ต้องมีมูลค่าสูงเช่นกัน นอกจากนี้ยังมีความต้องการให้แสดงบ่อยขึ้นเช่นกัน โดยเฉพาะการขนส่งงานศิลปะ ต้องใช้ต้นทุนสูง จำเป็นต้องมีบรรจุภัณฑ์ที่ปลอดภัยในการทำงาน นอกจากนี้ยังเป็นงานที่ท้าทายในทางปฏิบัติ แม้แต่ผลงานชิ้นเอกสมัยโบราณก็มักจะมาพร้อมกับความเปราะบาง แบบจำลองที่มีความเสี่ยงสูงหากเคลื่อนไหว ปัจจัยเหล่านี้จะเพิ่มความกดดันมากยิ่งขึ้น เพราะผลงานเหล่านี้ถือเป็นงานศิลปะอันล้ำค่า ปัจจุบันธุรกิจต่างๆ สั่งซื้อ Packing Material ใช้ในการแพคผลงานศิลปะเพื่อรองรับการดำเนินงาน มีความสำคัญมาก เพราะถือเป็น สินค้าคงคลังที่ธุรกิจมีไว้เพื่อการดำเนินงานภายในองค์กรให้เป็นไปอย่างราบรื่น แต่หากมีสินค้าคงคลังมากเกินไป ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อธุรกิจในด้านต้นทุนการจัดเก็บ ดังนั้นในภาคธุรกิจจำเป็นต้องมีระบบการจัดการสินค้าคงคลังที่ดี เพื่อลดผลกระทบด้านลบที่จะตามมาในรูปของต้นทุน และลดพื้นที่ในการจัดเก็บสินค้าปริมาณมาก จากการศึกษา ระบบการจัดการโลจิสติกส์ของธุรกิจ พบว่า สินค้าคงคลังที่ใช้ในการบแพคผลงานศิลปะ มีการสั่งซื้อเข้ามาจำนวน มากกว่าที่ใช้จริง ซึ่งส่งผลให้มีค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บมากเกินไป ต้นทุนในการสั่งซื้อเพิ่มขึ้น พื้นที่จัดเก็บไม่เพียงพอ และไม่สามารถนำสินค้าที่เสื่อมคุณภาพกลับมาใช้ซ้ำได้ทั้งหมดในแต่ละรอบการสั่งซื้อ อีกทั้งไม่มีระบบการหยิบ สินค้าที่ดี ส่งผลให้สินค้าคงคลังได้รับความเสียหายและคุณภาพลดลงเนื่องจากเก็บไว้เป็นเวลานาน ดังนั้นจากข้อมูลปัญหาของบริษัทกรณีศึกษาข้างต้นนี้ ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะทำการศึกษา และค้นคว้ารูปแบบ การสั่งซื้อสินค้าที่เหมาะสมเพื่อปรับปรุงและปรับใช้เพื่อแก้ไขปัญหาข้างต้นได้อย่างเหมาะสม ผู้วิจัยตระหนักถึง ความสำคัญจึงสนใจที่จะศึกษาข้อมูลสินค้าคงคลังของบริษัทบริษัท ELITE TRANSPORTATION เพื่อจำแนกและ


3 จัดลำดับความสำคัญของสินค้าคงคลังโดยใช้ทฤษฎีการวิเคราะห์การจำแนกประเภท ABC Analysis และ คำนวณหาปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัด (EOQ) เพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจและบันทึกข้อมูลในโปรแกรม Microsoft Excel ผู้วิจัยหวังว่าผลการศึกษาวิจัยครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจ และช่วยลดต้นทุนการสั่งซื้อและ การจัดเก็บสินค้าคงคลังที่มากเกินไป เพื่อช่วยปรับปรุงการเบิกจ่ายอุปกรณ์และหวังว่าผลการศึกษาจะถูกนำมาใช้ เป็นแนวทางในการวางแผน และตัดสินใจสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ให้เหมาะสมและเหมาะสมกับธุรกิจ 1.2 วัตถุประสงค์ 1.2.1 เพื่อศึกษาวิธีการสั่งซื้อที่เหมาะสม 1.2.2 เพื่อลดต้นทุนในการจัดเก็บสินค้าคงคลัง 1.2.3 เพื่อหาวิธีการการจัดเก็บสินค้าคงคลังที่เหมาะสม 1.3 ขอบเขตของการวิจัย 1.3.1 ขอบเขตด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 1.3.1.1 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ สินค้าคงคลังของบริษัท Elite Transportation 1.3.1.2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือสินค้าคงคลังที่ได้จากการแบ่งประเภทจัดลำดับ ความสำคัญ ซึ่งมีจำนวนทั้งหมด 65 รายการ 1.3.3 ขอบเขตด้านเนื้อหา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อศึกษาผลที่ได้จากการนำวิธีการแบ่งประเภทจัดลำดับ ความสำคัญด้วยทฤษฎี ABC Analysis เทคนิค EOQ มาประยุกต์ใช้ โดยเปรียบเทียบต้นทุนสินค้าคงคลังก่อนและ หลังการนำทฤษฎี ABC Analysis เทคนิค EOQ มาประยุกต์ใช้


4 1.4 แผนการดำเนินการวิจัย ระยะเวลาในการทำการศึกษานี้มีระยะเวลาในการทำการศึกษา 4 เดือน ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2566 ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2566 ตารางที่ 1.1 แสดงแผนการดำเนินการวิจัย ขั้นตอนการดำเนินการ วิจัย ต.ค.2566 ส.ค.2566 ก.ย.2566 ต.ค.2566 1.ศึกษาและรวบรวม ข้อมูล 2. ก ำ ห น ด ข อ บ เขต งานวิจัย 3.วิเคราะห์ข้อมูล 4.ดำเนินการวิจัย 5.สรุปผลการวิเคราะห์ 6.สรุปผลการวิจัยและ ข้อเสนอแนะ 1.5 นิยามศัพท์เฉพาะ 1.5.1 โลจิสติกส์ (Logistics) เป็นระบบสำหรับบริหารจัดการการขนส่งสินค้า ข้อมูล และทรัพยากรอื่นๆ ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำตามความต้องการของผู้บริโภค โลจิสติกส์เกี่ยวข้องกับการผสมผสานระหว่างบริการข้อมูล การขนส่ง และสินค้าคงคลัง การจัดการวัตถุดิบ Packaging Logistics เป็นช่องทางในห่วงโซ่อุปทานที่เพิ่มมูลค่า ของการใช้เวลาและพื้นที่ 1.5.2 การจัดการคลังสินค้า ( Warehouse Management กระบวนการควบคุมและจัดระเบียบทุกอย่าง ภายในคลังสินค้าให้มีประสิทธิภาพ นับตั้งแต่การนำสินค้าเข้าคลังสินค้าไปจนถึงสินค้าที่ส่งออกจากคลังสินค้าเพื่อ จำหน่ายหรือบริโภค โดยจะรวมไปถึงการบริหารคลังสินค้าและสินค้าคงคลัง การบำรุงรักษาอุปกรณ์ต่างๆใน


5 คลังสินค้า, การจัดสต๊อกใหม่เข้าคลังสินค้า, การสั่งซื้อ, การบรรจุและการขนส่ง, การติดตาม และปรับปรุง ประสิทธิภาพคลังสินค้าโดยรวม 1.5.3 การจัดการสินค้าคงคลัง (Inventory Management) หมายถึง การจัดการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับ รายการสินค้าคงคลังตั้งแต่รวบรวม เก็บบันทึกรายการสินค้าเข้าและออก การควบคุมสินค้าคงคลังในปริมาณที่ เหมาะสม 1.5.4 สินค้าคงคลัง หมายถึง สินค้าและวัสดุที่จัดเก็บระหว่างกระบวนการผลิต ทั้งก่อนการผลิต ระหว่าง การผลิต และการผลิตสำเร็จรูปที่รอการขาย ในบางบริบทอาจหมายถึงเฉพาะสินค้าสำเร็จรูปเท่านั้น สินค้าคงคลัง ถือเป็นทรัพย์สินขององค์กรธุรกิจ และเพื่อป้องกันการหยุดชะงักในการดำเนินธุรกิจ จึงจำเป็นต้องมีการจัดการ สินค้าคงคลัง 1.5.5 ปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัด (Economic Order Quantity : EOQ) หมายถึง ปริมาณการสั่งซื้อ สินค้าที่เหมาะสม คุ้มค่า หรือประหยัดที่สุด เพื่อไม่ให้เกิดต้นทุนจมจากการสต็อกสินค้า 1.5.6 ABC Analysis หมายถึง จุดเริ่มต้นการจัดกลุ่มสินค้าตามมูลค่าการใช้งานให้อยู่ในกลุ่มสินค้าหลัก กลุ่มเดียว 3 กลุ่ม คือ กลุ่ม A มีประมาณ 15-20% ของรายการสินค้าทั้งหมด โดยส่วนใหญ่จะตรวจสอบสินค้า 75- 80% ก่อนจึงจะมีประสิทธิภาพ ควบคุม กลุ่ม B ถือหุ้น 30-40% ของภาคย่อยทั้งหมด แต่พิจารณาเพียง 15% ของ มูลค่าเท่านั้นที่ต้องควบคุมในระดับปานกลาง C ขั้นตอน 40-50% ของทั้งหมด, มากถึง 5-10% ของมูลค่าเพิ่มโดย ไม่มีการควบคุมเลย 1.6 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1.6.1 ทำให้ทราบถึงวิธีการ แนวทางและผลกระทบในการประยุกต์ใช้ทฤษฎี ABC Analysis เทคนิค EOQ ที่มีประสิทธิภาพในการบริหารสินค้าคงคลังและการจัดซื้อ 1.6.2 เป็นแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารสินค้าคงคลังและการจัดซื้อที่เหมาะสม


6 บทที่ 2 แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง งานวิจัยฉบับนี้เกี่ยวข้องกับการบริหารสินค้าคงคลังของ บริษัทElite Transportation จำกัด โดย การประยุกต์ใช้ทฤษฎี ABC Analysis เทคนิค EOQ โดยผู้วิจัยได้ทำการศึกษาค้นคว้าเอกสารแนวคิด ทฤษฎีและ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้ในการทำวิจัยดังนี้ 2.1 ความหมายสินค้าคงคลัง 2.2 แนวคิดการบริหารสินค้าคงคลัง 2.3 ต้นทุนเกี่ยวกับสินค้าสินค้าคงคลัง 2.3.1 ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษา 2.3.2 ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อหรือสั่งผลิต 2.4 ทฤษฎี ABC Analysis 2.5 ปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัด (EOQ) 2.6 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2.1 ความหมายสินค้าคงคลัง วิชิต หล่อจีระชุณห์กุล(2536, น.1) มีการให้คำอธิบายของสินค้าคงคลัง: “สินค้าคงคลังหมายถึงจำนวน สินค้าที่อยู่ภายใต้การดูแลขององค์กรและถูกเก็บไว้ในสภาพที่ไม่มีประสิทธิผล” นอกจากนี้ บุษบา พฤกษาพรรณ รัตน์ (2552, หน้า 106) อธิบายเกี่ยวกับสินค้าคงคลังว่าสินค้าคงคลังคือ ปริมาณของสินค้าที่จัดเก็บเพื่อรองรับ ความต้องการในอนาคต จะถูกจัดเก็บในรูปแบบต่างๆ แบ่งออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่ 1. วัตถุดิบ (Raw Materials) คือ สิ่งของต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในการผลิต อาจเป็นทั้ง วัตถุดิบ สินค้าสำเร็จรูป หรือ ชิ้นส่วนต่าง ๆ เช่น เหล็ก ไม้ เป็นต้น 2. ชิ้นส่วนประกอบ (Component) สิ่งของที่ซื้อมาหรือผลิตขึ้งเองเพื่อนำไปประกอบเป็นสินค้าสำเร็จรูป หรืออะไหล่


7 3. วัสดุสิ้นเปลือง (Supplies) คือ สิ่งที่ใช้แล้วหมดไปในกระบวนการผลิต แต่ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของสินค้า สำเร็จรูป แต่ช่วยให้การผลิตเป็นไปอย่างราบรื่น 4. งานระหว่างทำ (Work in Process) คือ สินค้าที่อยู่ระหว่างการผลิต แต่ยังผลิตไม่สมบูรณ์ระหว่างรอ ผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูป 5. สินค้าสำเร็จรูป (Finished Goods) คือ สินค้าที่ทำการผลิตหรือประกอบเสร็จสมบูรณ์แล้ว 2.2 แนวคิดการบริหารสินค้าคงคลัง สินค้าคงคลัง (Inventory) เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับธุรกิจ เพราะถือเป็นทรัพย์สินหมุนเวียนอย่างหนึ่งของ ธุรกิจ ซึ่งธุรกิจควรมีเพื่อให้ดำเนินกิจการได้อย่างราบรื่นต่อไป การมีสินค้าคงคลังมากเกินไปอาจส่งผลเสียต่อธุรกิจ ได้ ทั้งในด้านต้นทุนการจัดเก็บที่สูง สินค้าเสื่อมสภาพและหมดอายุ นอกจากนี้ยังสูญเสียโอกาสในการใช้เงินที่จม ทุนอยู่ในสินค้าคงคลังเพื่อหาประโยชน์หรือลงทุนในด้านอื่น ๆ ความหมายของสินค้าคงคลังมีการอธิบายไว้หลาย ประการดังนี้(ณัฐนันท์ นิรัชกุลโรจน์ และ สายชล ปิ่มมณี, 2563, น.15) การบริหารสินค้าคงคลัง (Inventory Management) หมายถึง การวางแผนและควบคุมสินค้าคงคลังเพื่อ รักษาปริมาณที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงจุดสั่งซื้อและปริมาณการสั่งซื้อที่เหมาะสมที่สุด เพื่อให้สามารถตอบสนอง ความต้องการของลูกค้า รวมถึงค่าใช้จ่ายสินค้าคงคลังรวมต่ำที่สุด (อมรศิริ ดิสสร, 2550, น.4) ส่วนปริมาณสินค้าที่ธุรกิจมีสำรองไว้ใช้ควบคุมการผลิตเพื่อเผยแพร่งานวิจัย เช่น อุปกรณ์สำนักงาน อะไหล่ วัตถุดิบ เป็นต้น ผลิตภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูป (ก่อเกียรติ วิริยะกิจพัฒนา และมาลัย ม่วงเทศ , 2551, น.61) สินค้าคงเหลือที่ทำซ้ำทุกประเภทจะถูกเก็บไว้เพื่อขายตามลักษณะของบันทึกทางธุรกิจของกิจการ ที่อยู่ใน ขั้นตอนการผลิตสินค้าสำเร็จรูปเพื่อจำหน่ายในรูปของวัตถุดิบหรือวัสดุที่มีวัตถุประสงค์เพื่อรองรับหรือให้บริการ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 2 ฉบับปรับปรุง (คณะกรรมการมาตราฐานการบัญชีระหว่างประเทศ, 2552 , น.7) สินค้าคงคลังจัดเป็นทรัพย์สินหมุนเวียนชนิดหนึ่ง ซึ่งธุรกิจต้องมีไว้เพื่อขายหรือผลิต ได้แก่ วัตถุดิบ งาน ระหว่างผลิต วัสดุซ่อมบำรุง สินค้าสำเร็จรูป แรงงาน เงินลงทุน รวมถึง เครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ (คำนาย อภิปรัชญาสกุล, 2556 , น.66)


8 2.3 ต้นทุนเกี่ยวกับสินค้าคงคลัง การมีสินค้าคงคลังรอการผลิตหรือขายต้องใช้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน วัตถุประสงค์หลักของการจัดการ สินค้าคงคลังคือการควบคุมสินค้าคงคลังให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม โดยมีต้นทุนรวมต่ำที่สุด ต้นทุนแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ 2.3.1 ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษา (Carrying Cost) เป็นค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บสินค้าที่กิจการรอการขายหรือผลิต ซึ่งจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่ กับจำนวนสินค้าคงคลัง หากมีสินค้าคงคลังมากเกินไป ต้นทุนการจัดเก็บก็จะสูง ค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บรวมถึง ค่าใช้จ่ายต่างๆ ดังนี้ 2.3.1.1 การประกันภัย คือ เบี้ยประกันสินค้าคงคลังที่บริษัทจ่ายให้กับบริษัทประกันภัย เพื่อรักษาและปกป้องสินค้าคงคลัง 2.3.1.2 ดอกเบี้ยและต้นทุนโอกาสที่เกิดจากการลงทุนในการจัดเก็บสินค้าเพื่อรอขาย หรือขาย โดยไม่ได้รับค่าตอบแทนใดๆ ส่งผลให้เงินทุนจมลงสู่สินค้าคงคลัง 2.3.1.3 ค่าใช้จ่ายเนื่องจากสินค้าล้าสมัย เกิดจากการเก็บสินค้าไว้เป็นเวลานานทำให้ คุณภาพของสินค้าเสื่อมลงหรือมูลค่าของสินค้าลดลง 2.3.1.4 ค่าใช้จ่ายเมื่อของเสีย สินค้าที่เก็บไว้จะเสื่อมสภาพหรือเน่าเสียง่าย 2.3.1.5 ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับสินค้าคงคลัง เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าเช่าโกดัง ค่า โทรศัพท์ ค่าพนักงานดูแลสินค้า เป็นต้น 2.3.2 ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อหรือสั่งผลิต (Ordering Cost or Set Up Cost) ต้นทุนเฉพาะของคำสั่งซื้อซึ่งจะต้องสั่งซื้อหรือสั่งซื้อขึ้นอยู่กับปริมาณการสั่งซื้อจะขึ้นอยู่ กับเสมอ 2.3.2.1 ต้นทุนการสั่งซื้อ ประกอบด้วยต้นทุนตั้งแต่เวลาที่มีการสั่งซื้อจนถึงการชำระเงิน ให้กับผู้ขาย เช่น ต้นทุนในการสร้างคำสั่งซื้อ ค่าใช้จ่ายในการพิจารณาผู้ขาย ค่าโทรศัพท์ ค่าจ้างพนักงาน ค่าใช้จ่าย ในการจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าที่สั่งซื้อ เป็นต้น


9 2.3.2.2 ต้นทุนการสั่งผลิต ประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายตั้งแต่การเตรียมการก่อนการผลิต เช่น ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการตั้งสายการผลิตหรือการติดตั้งเครื่องจักร ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการเตรียม เอกสาร ค่าแรงในการผลิต ค่าล่วงเวลา เป็นต้น 2.3.2.3 ค่าใช้จ่ายเมื่อสินค้าขาดแคลน (Shortage Cost) เกิดจากการที่ลูกค้าต้องการซื้อ สินค้าแต่ธุรกิจยังขาดสินค้า ทำให้ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ ธุรกิจจึงต้องผลิตสินค้านั้นต่อไป เพื่อป้องกันการสูญเสียโอกาสในการขาย 2.4 ทฤษฎี ABC Analysis มีหลายครั้งที่การควบคุมเพื่อประสิทธิภาพสูงสุดคือการวิเคราะห์ ABC จุดหนึ่งที่ความเป็นเหตุเป็นผลเป็น องค์ประกอบหลักของการวิเคราะห์ ABC การวิเคราะห์คือความต้องการสินค้าที่อิงมูลค่าซึ่งมีความสำคัญ... การใช้ หรือมูลค่าของเงิน (Use of money) กรรมการจะจัดประเภทสินค้าตามมูลค่าเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ Class A, Class B และ Class C ตาม ปริมาณและคุณค่าของความเป็นผู้นำถือเป็นพื้นฐาน เพื่อการควบคุมคุณภาพเพื่อควบคุม สินค้าจำนวนมากซึ่งบางครั้งขาดกลุ่มสินค้ามักเชื่อในการดูแลสินค้าและสินค้าบางอย่างก็ไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงคำ วิจารณ์ ABC เป็นส่วนสำคัญในการควบคุมเพื่อลดและประหยัดเวลาโดยไม่ต้องดูหมวด ABC (การวิเคราะห์ ABC) จาก Perato โดย Vilfredo Pareto นักเศรษฐศาสตร์ชาวอิตาลี ว่ากันว่า “สภาพอากาศมีน้อยและมักจะทำ ความ เข้มข้นไม่เกิน 20 ถึง 80 จึงทำให้กลุ่มเล็ก ๆ เราเห็นว่าเป็นกลุ่มใหญ่ของผลิตภัณฑ์ที่เหมือนกันเพียงเล็กน้อย เท่านั้น” (ณัฐปรียา ฉลาดแย้ม, 2551, น.32) การวิเคราะห์ ABC (ABC Analysis) ของสินค้าประเภทใด ๆ การจัดการดูแลและควบคุมการดูแลมี3 ระดับ คือ เอ บี และ ซีเพื่อควบคุมทิศทางที่ใช้ในการบริหารอย่างมีประสิทธิภาพ ในเวลาที่ใช้ไปและต้นทุนของ ผลิตภัณฑ์สามารถมองเห็นได้ชัดเจน เราสามารถควบคุมการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพและตัดสินใจเกี่ยวกับการ ควบคุมสินค้าได้อย่างถูกต้อง สินค้าคงคลังใดควรได้รับการควบคุมในระดับที่เหมาะสม แต่ Magee และ Boodman สามารถให้เหตุผลแก่ผู้ดูแลระบบโดยอาศัยการวิเคราะห์ ABC ดังนี้(นันทวรรณ สมศรี และ ศุภฤกษ์ เหล็กดี, 2560, น.35)


10 ตารางที่ 2.1 การจำแนกกลุ่มสินค้าคงคลังตามการวิเคราะห์แบบเอบีซี (ABC Analysis) กลุ่ม ร้อยละของมูลค่า สินค้าคงคลังทั้งหมด ร้อยละของปริมาณการใช้ สินค้าคงคลังทั้งหมด A 70-80 10-20 B 15-20 30-40 C 5-10 40-50 จากตารางที่ 2.1 การจำแนกประเภทสินค้าคงคลังออกเป็นกลุ่มตามการวิเคราะห์แบบเอบีซี (ABC Analysis) มี 3 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่ม A เป็นสินค้าที่มีมูลค่าสูงมากประมาณร้อยละ 70-80 ของมูลค่าสินค้าทั้งหมด (Total value) มี สินค้าคงเหลือประมาณร้อยละ 10-20 ที่ใช้ (Total items) กลุ่ม B เป็นสินค้าที่มีมูลค่าปานกลางประมาณร้อยละ 15-20 ของมูลค่าสินค้าทั้งหมด คิดเป็นประมาณ ร้อยละ 30-40 ของการใช้สินค้าคงคลังทั้งหมด กลุ่ม C เป็นสินค้ามูลค่าต่ำ คิดเป็นประมาณร้อยละ 5-10 ของมูลค่าสินค้าทั้งหมด คิดเป็นประมาณร้อยละ 40-50 ของการใช้สินค้าคงคลังทั้งหมด ภาพที่ 2.1 กราฟการจำแนกรายการสินค้าโดยการวิเคราะห์แบบเอบีซี (ABC Analysis) ที่มา :https://drpiyanan.com/2022/03/05/abc-analysis/


11 จากภาพที่ 2.1 เป็นกราฟที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างมูลค่าเปอร์เซ็นต์ของสินค้าคงคลัง และ เปอร์เซ็นต์ของการใช้สินค้าคงคลังทั้งหมด เมื่อพิจารณาจากกราฟในปีที่ 1 จะเห็นได้ว่าสินค้าคงคลังที่มีเปอร์เซ็นต์ การใช้สินค้าคงคลังต่ำแต่มีมูลค่าสูงคือกลุ่ม A ในทางตรงกันข้ามสินค้าคงคลังที่มีเปอร์เซ็นต์การใช้สินค้าคงคลังต่ำ คือกลุ่ม C ส่วนกลุ่ม B มีเปอร์เซ็นต์ ปริมาณการใช้สินค้าคงคลังจะอยู่ที่ประมาณเปอร์เซ็นต์ของมูลค่าสินค้าคงคลัง สำหรับขั้นตอนในการจำแนกกลุ่มสินค้าคงคลังตามการวิเคราะห์แบบเอบีซี (ABC Analysis) ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 รวบรวมข้อมูลสินค้าคงคลัง รายละเอียดคือจำนวนสินค้าคงคลังที่ใช้ในระหว่างปี และราคาต่อหน่วยของสินค้าคงคลังแต่ละรายการ ขั้นตอนที่ 2: คำนวณมูลค่าของสินค้าคงคลังแต่ละรายการที่หมุนเวียนในระหว่างปีนั้น โดยการ คูณจำนวนสินค้าคงคลังที่ใช้ในระหว่างปีด้วยราคาต่อหน่วยสินค้าคงคลัง ขั้นตอนที่ 3 จัดเรียงข้อมูลสินค้าคงคลังแต่ละรายการตามลำดับจากมากไปน้อยตามมูลค่าสินค้า คงคลังที่คำนวณในขั้นตอนที่ 2 ขั้นตอนที่ 4 คำนวณเปอร์เซ็นต์ของการใช้สินค้าคงคลังทั้งหมด และเปอร์เซ็นต์ของมูลค่าสินค้าคง คลังของแต่ละรายการที่จัดเรียงในขั้นตอนที่ 3 ขั้นตอนที่ 5 นำค่าที่ได้จากขั้นตอนที่ 4 และสร้างกราฟที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างเปอร์เซ็นต์ ของมูลค่าสินค้าคงคลัง และร้อยละของการใช้สินค้าคงคลังทั้งหมด เพื่อพิจารณาจัดเรียงความสำคัญของสินค้าออก เป็น 3 กลุ่ม คือ A, B และ C ตามเกณฑ์ Magee และ Boodman 2.5 ปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัด (EOQ) ปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัดที่สุดคือปริมาณที่ช่วยลดต้นทุนรวมของการถือครองสินค้าคงคลังและต้นทุน การสั่งซื้อให้เหลือน้อยที่สุด หากมีปริมาณการสั่งซื้อมาก จำนวนครั้งที่ต้องสั่งซื้อจะมีน้อย ต้นทุนการสั่งซื้อจึงต่ำ แต่จะมีค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บสูง ในทางกลับกันหากปริมาณการสั่งซื้อน้อยปริมาณการสั่งซื้อก็ต้องสูง ต้นทุนการ สั่งซื้อจึงสูง แต่จะมีต้นทุนการจัดเก็บต่ำ การค้นหาปริมาณการสั่งซื้อที่ดีที่สุดคือการค้นหาปริมาณการสั่งซื้อที่ทำให้ ต้นทุนสินค้าคงคลังและต้นทุนการสั่งซื้อสมดุล


12 ภาพที่ 2.2 ตัวแบบต้นทุน EOQ ที่มา : https://kamoltipple.blogspot.com/2012/03/3-stock-out-economic-order-quantity-eoq.html ปริมาณการสั่งซื้อแบบประหยัดอยู่ที่จุดตัดระหว่างเส้นโค้งของต้นทุนการถือครองสินค้าคงคลังและ ต้นทุนการสั่งซื้อ ปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัดที่สุดสามารถคำนวณได้จากสูตร = √ 2 โดย คือ ปริมาณสั่งซื้อที่ประหยัดที่สุด คือ ต้นทุนในการสั่งซื้อต่อครั้ง คือ ความต้องการต่อปี คือ ต้นทุนการเก็บรักษา ตัวแบบการสั่งซื้ออย่างประหยัด (EOQ) สร้างขึ้นภายใต้สมมติฐาน คือ 1. เป็นระบบวัสดุคงคลังของสินค้าประเภทเดียว 2. มีความต้องการแน่นอนและคงที่ตลอดช่วงเวลา 3. ไม่อนุญาตให้เกิดสินค้าขาดมือ


13 4. ช่วงเวลานำในการสั่งซื้อคงที่ 5. ได้รับสินค้าที่สั่งซื้อในคราวเดียวกัน ไม่มีการส่งสินค้าให้ภายหลัง 2.6 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จารุภา อุ่นจางวาง (2560) ศึกษาการตรวจสอบด้านต่างๆ ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ รวมถึงผลิตภัณฑ์ ข้อมูลการจัดการส่วนงาน หรือเทคโนโลยี ที่จะนำมาประกอบเป็นแกนหลักเพื่อให้สามารถทันต่อการแข่งขันและ ความต้องการของลูกค้าได้อย่างทันท่วงทีในปัจจุบันการดำเนินการจัดซื้อ การรับสินค้า การเบิกจ่ายสินค้าองค์กร และรักษายอดคงเหลือจากระบบจัดเก็บข้อมูล และส่งผลให้องค์กรของผู้ผลิตมีความอ่อนไหวอย่างมาก โดยที่การ ติดตามการทำงานของระบบไม่มีประสิทธิภาพบางประการ มีสาเหตุสินค้าซ้ำซาก มีมากเกินไป และต้นทุนสูง โดย ลดขั้นตอนการวิจัยข้อมูลบัญชีควบคุม (Stock card) คอมพิวเตอร์ไคลเอนต์ และระบบควบคุม สแกนบาร์โค้ด ใช้ เวลาจาก 3,325 นาที ลดลงเหลือ 995 นาที (70.08%) ลดลงอีกครั้งเหลือ 339,456 บาท/ปี วิจัยลดต้นทุนตั้งแต่ 2 เดือนแรกของระบบเพื่อดูสินค้า แบบเรียลไทม์พบว่าสามารถแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงทีสินค้าลดลง พลอยนภัส ภูดิสจุลเศรษฐ์ และ วรินทร์ วงษ์มณี (2564) การศึกษาการจัดการองค์ประกอบต่างๆ อย่าง ละเอียด โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการศึกษาและการวางแผน คำแนะนำในการรู้และการจัดการเป็นส่วนสำคัญ หลัก ประกอบด้วยการจัดองค์กรที่ดี การเรียนรู้ และการจัดเก็บข้อมูลในส่วนต่างๆ ผู้วิจัยสามารถวิเคราะห์ รายละเอียดเพิ่มเติมและแบ่งผลิตภัณฑ์ ABC ตามส่วนนี้ได้ ภูรินทร์ ปวงละคร (2562) ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์นี้มีไว้สำหรับการพัฒนาระบบข้อมูลการจัดการข้อมูลของ ห้างหุ้นส่วนจำกัดแม่สอดชานนท์ แนวคิดที่ใช้กับระบบสารสนเทศและซอฟต์แวร์จะพัฒนาระบบสารสนเทศตาม แนวคิด System Development Life Cycle (SDLC) ซึ่งปกติแล้วจะอยู่ในระบบสมัยใหม่ในปัจจุบัน ไม่ จำเป็นต้องชักชวนผู้ใช้ บางครั้งหน่วยงานอาจไม่สามารถตรวจสอบการใช้งานระบบได้ ตัวอย่างเช่น ไม่มีระบบการ จัดการข้อมูลที่ให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับผลการดำเนินงานของธุรกิจที่ไม่มีผลิตภัณฑ์ ตรวจสอบร้านค้า หลังจาก วิเคราะห์ระบบและพบปัญหาแล้ว จะต้องออกแบบวิธีการปรับปรุงระบบให้ทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น การ ตรวจสอบระบบที่ทำการสำรวจควรลดความซ้ำซ้อนเพื่อให้สามารถตรวจสอบข้อมูลได้ ตรวจสอบความสามารถใน การติดตามผลอย่างทันท่วงที จีรวัฒน์ นภาสุขวีระมงคล (2558) การวิจัยนี้ปรับปรุงและปรับปรุงการวางแผนการเคลมวัตถุดิบของ โรงงานแปรรูปแก้ว ซึ่งจะทำให้วัตถุดิบมีความเข้มข้นมากขึ้นในช่วงระยะเวลาหนึ่งซึ่งปริมาณเป็นไปตามความ ต้องการซึ่งสามารถควบคุมต้นทุนสินค้าและรักษาสินค้าคงคลังให้อยู่ในระดับสูงได้สาเหตุหลักมาจากการจัดการ


14 ความต้องการวัสดุจำนวนมากในเรื่องนี้ซึ่งก็คือ ดำเนินการในเรื่อง การใช้วัตถุดิบสำหรับส่วนประกอบ และ วิเคราะห์รายงานกลุ่มฮาร์ดแวร์ที่สำคัญของฮาร์ดแวร์ที่สำคัญ และวิธีการตรวจสอบ ABC แล้วตรวจสอบข้อมูลการ ใช้วัตถุดิบในการวิจัยนี้ โดยไม่พิจารณาถึง 4 ประเภทใดเลย ได้แก่ วิธีการประมวลผลอิสระ วิธีค้นหาแบบเคลื่อนที่ แบบถ่วงน้ำหนัก วิธีปรับให้เรียบแบบเอกซ์โปเนนเชียล วิธีการแยกส่วนประกอบและเปรียบเทียบค่าพยากรณ์กับ ค่าเบี่ยงเบนเปอร์เซ็นต์เฉลี่ยสัมบูรณ์ ผลการวิจัยพบว่าปริมาณวัตถุดิบที่เหลืออยู่และต้นทุนรวมของวัสดุโลหะ จำเป็นต้องมีการวางแผนวัสดุแบบรวมศูนย์ และทิศทางสามารถลดลงได้ด้วยวัสดุจากวิธีส่วนประกอบ 49.86 ที่ ช่วยลดต้นทุนของบริษัทได้หลายแสนบาท นันทวรรณ สมศรี และ ศุภฤกษ์ เหล็กดี (2563) การศึกษา ABC - FSN เริ่มต้นที่ประสิทธิภาพของการ วิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์โลหะซึ่งบางครั้งพบทั้งหมด 48 รายการ ความแปรผันของประสิทธิภาพด้านต้นทุน <0.25 รูปแบบการใช้เสียง ความต้องการและเทคนิค ระดับเสียงที่เหมาะสม (EOQ) ) มีทั้งหมด 17 รายการ ค่า สัมประสิทธิ์การเปลี่ยนแปลงส่วนประกอบ >0.25 สะท้อนให้เห็นว่าปริมาณที่ต้องการไม่เป็นไปตามที่ต้องการ เหมาะสำหรับวิธีทางการเงิน - โดยการเปรียบเทียบต้นทุนผลิตภัณฑ์ในปัจจุบันและรุ่น จำลองขนาดการสั่งซื้อ (EOQ)


15 บทที่ 3 วิธีการดำเนินการศึกษา การศึกษาการบริหารสินค้าคงคลัง : กรณีศึกษา บริษัท Elite Transportation Services ผู้ทำ การศึกษาวิจัยเล่มนี้ได้อธิบายถึงวิธีการดำเนินการศึกษาวิจัยในขั้นตอนตามกระบวนการต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ 3.1 รูปแบบการวิจัย 3.2 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 3.3 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 3.4 การเก็บรวบรวมข้อมูล 3.5 ขั้นตอนการดำเนินการวิจัย 3.6 การวิเคราะห์ข้อมูล 3.1 รูปแบบการวิจัย งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยต่อเนื่องโดยเน้นการวิจัยที่มีคุณภาพและการวิจัยเนื้อหา ผู้วิจัยได้ศึกษา เอกสารวิจัยและสำรวจบริษัท ELITE TRANSPORTATION จะคำนึงถึงการศึกษาในรูปแบบต่างๆ จัดเรียง องค์ประกอบของส่วนต่างๆ และค้นหาปริมาณที่จำเป็นเพื่อใช้ในการจัดการบริหารต่างๆ


16 ภาพที่ 3.1 แสดงขั้นตอนการดำเนินการวิจัย 3.2 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 3.2.1 ขอบเขตด้านประชากรกลุ่มตัวอย่าง 3.2.1.1 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย : สินค้าคงคลังของบริษัท Elite Transportation 3.2.1.2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย: สินค้าคงคลังที่ได้จากการแบ่งประเภทจัดลำดับ ความสำคัญ ตามทฤษฎี ABC Analysis


17 3.3 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 3.3.1 ใช้การสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการกับหัวหน้าแผนกคลังสินค้า หัวหน้าฝ่ายจัดซื้อ และ พนักงานคลังสินค้าเพื่อทำการเก็บข้อมูล 3.3.2 นำทฤษฎี ABC Analysis มาใช้แบ่งประเภทลำดับความสำคัญของสินค้าคงคลัง 3.3.3 คำนวณต้นทุนของสินค้าคงคลังก่อนการประยุกต์ใช้ทฤษฎี EOQ 3.3.4 คำนวณหาปริมาณการสั่งซื้อที่เหมาะสมโดยการประยุกต์ใช้ EOQ 3.3.5 เก็บรวบรวมข้อมูล บันทึกข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม Microsoft Excel 3.4 การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลย้อนหลังคำสั่งซื้อสินค้าคงคลัง จำนวน 12 เดือน ระหว่างเดือน มกราคม-ธันวาคม พ.ศ. 2565 เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์และจัดการวางผังการจัดเก็บสินค้าคงคลังที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ข้อมูลที่จะใช้ในการศึกษาโดยแบ่งออกเป็นสองส่วนข้อมูลปฐมภูมิและข้อมูลทุติยภูมิ ดังมี รายละเอียดต่อไปนี้ 3.3.1 ข้อมูลปฐมภูมิ(Primary Data) การศึกษารวบรวมจากสถานการณ์และขั้นตอนพื้นฐานที่ ชัดเจนโดยการสังเกตองค์ประกอบของพนักงานคลังสินค้าและตรวจสอบหัวหน้าแผนกคลังสินค้า หัวหน้าแผนก จัดซื้ออู่ซ่อมรถ โดยองค์กรข้อมูลการตรวจสอบ ภายในระยะเวลา 1 ปี โดยพิจารณาจากจำนวนครั้งที่สั่ง จำนวน Order ต่อครั้ง (หน่วย) มูลค่าการใช้รวมของชิ้นส่วนแต่ละประเภท 3.3.2 ข้อมูลทุติยภูมิ(Secondary Data) ได้มาจากการศึกษาข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการ บทความเชิงทฤษฎี และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เป็นการศึกษาเพื่อนำข้อมูลจากการวิเคราะห์มาใช้อ้างอิงในการ ดำเนินงานด้านการศึกษาที่จะนำข้อมูลมาใช้อ้างอิงเพื่อให้ผลการศึกษามีความน่าเชื่อถือมากขึ้น


18 3.5 ขั้นตอนการดำเนินการวิจัย จากการศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลจากข้อมูลปฐมภูมิและข้อมูลทุติยภูมินั้น ผู้วิจัยได้นำข้อมูล มาวิเคราะห์ด้วยการนำรูปแบบการบริหารสินค้าคงคลังที่กำหนดไว้มาประยุกต์ใช้ ดังนี้ 3.5.1 แบ่งประเภทจัดลำดับความสำคัญของสินค้าคงคลังด้วยการประยุกต์ใช้ทฤษฎี ABC Analysis ออกเป็น 3 กลุ่ม คือ A, B และ C ตามลำดับ ในการวิเคราะห์ข้อมูลนั้นได้ใช้โปรแกรม Microsoft Excel เข้ามาช่วยประมวลผล โดยมีขั้นตอนดังนี้ 3.5.1.1 รวบรวมข้อมูลสินค้าคงคลังซึ่งประกอบด้วยจำนวนที่ใช้ต่อปี และหาราคาต่อหน่วยของ สินค้าคงคลังแต่ละชนิด 3.5.1.2 คำนวณหามูลค่าการใช้สินค้าคงคลังแต่ละชนิดที่หมุนเวียนรอบปี โดยนำปริมาณการใช้ สินค้าคงคลังชนิดนั้นคูณด้วยราคาของสินค้าคงคลังชนิดนั้น มูลค่าการใช้ต่อปี = ปริมาณการใช้ต่อปี x ราคาต่อหน่วย 3.5.1.3 เมื่อได้ข้อมูลการใช้ต่อปีของสินค้าคงคลังแต่ละชนิด จากการคำนวณด้วยโปรแกรม Microsoft Excel แล้ว นำข้อมูลสินค้าคงคลังแต่ละชนิดมาจัดเรียงตามมูลค่าการใช้จากกมากไปน้อย 3.5.1.4 คำนวณหาร้อยละของมูลค่าของสินค้าคงคลังแต่ละชนิด และคำนวณหาร้อยละสะสม ของมูลค่าสินค้าคงคลังแต่ละชนิดที่เรียงลำดับไว้ก่อนหน้า ซึ่งหาได้จาก ร้อยละของมูลค่าของสินค้าคงคลัง = (มูลค่าการใช้ต่อปีของสินค้าชนิดนั้น / มูลค่าการใช้รวมต่อปี) x 100 3.5.1.5 ร้อยละสะสมของมูลค่าของสินค้าคงคลัง หาได้จาก ร้อยละของมูลค่าสินค้าในลำดับก่อนหน้า + ร้อยละของมูลค่าสินค้าในลำดับถัดมา 3.5.1.6 นำร้อยละสะสมที่คำนวณได้จากข้อ 3.5.1.5 มาแบ่งประเภทจัดลำดับความสำคัญให้แต่ ละชนิดอยู่ในกลุ่ม A, B และ c ตามลำดับ 3.5.1.7 หลังจากนั้นนำสินค้าที่ได้จากการแบ่งประเภทจัดลำดับความสำคัญจำนวนทั้งหมด 24 รายการ มาวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์ความแปรปรวน


19 3.5.2 หาค่าสัมประสิทธิ์ความแปรปรวน เมื่อข้อมูลสินค้าคงคลังได้รับการคำนวณแล้ว ก็สามารถใช้เพื่อทดสอบความเหมาะสมของ แบบจำลองความต้องการโดยใช้เทคนิค EOQ กับกฎปีเตอร์สัน-ซิลเวอร์ สามารถใช้เทคนิค EOQ ได้ก็ต่อเมื่อความ ต้องการผลิตภัณฑ์สอดคล้องกัน เพื่อวัดว่าระดับความต้องการมีเสถียรภาพหรือไม่ Peterson and Rule (1997) เสนอวิธีการวัดความแปรปรวนของระดับความต้องการโดยการหาค่าสัมประสิทธิ์การเปลี่ยนแปลงของข้อมูลสินค้า คงคลังที่ใช้ในการวิจัย เพราะในการเลือกเทคนิคการจัดการสินค้าคงคลัง สิ่งสำคัญคือต้องทราบความแปรปรวน ของข้อมูลสินค้าคงคลังที่ใช้ในการวิจัย เพื่อเลือกเทคนิคที่เหมาะสมในการคำนวณปริมาณการสั่งซื้อที่เหมาะสม ใช้ ความต้องการผลิตภัณฑ์รายเดือนเพื่อคำนวณว่าข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลงมากน้อยเพียงใด หากค่าสัมประสิทธิ์การ เปลี่ยนแปลง (VC) < 0.20 แสดงว่าผลิตภัณฑ์มีรูปแบบอุปสงค์ที่มั่นคงและสม่ำเสมอ เหมาะสำหรับเทคนิค EOQ หากค่าสัมประสิทธิ์การเปลี่ยนแปลง (VC) > 0.20 แสดงว่าผลิตภัณฑ์มีรูปแบบอุปสงค์ ที่ไม่เสถียรและไม่สอดคล้อง กันจึงไม่เหมาะกับเทคนิค EOQ ซึ่งสามารถหาได้จาก (กิ่งกาญจน์ ผลิกะ และ นพปฎล สุวรรณทรัพย์, 2559) = ปริมาณความต้องการสินค้าในแต่ละช่วงระยะเวลา N = ช่วงระยะเวลาที่ทำการศึกษา 3.5.3 หาปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัดที่สุด (EOQ) EOQ = √ 2 Co = ต้นทุนในการสั่งซื้อต่อครั้ง (บาท/ครั้ง) Cc = ต้นทุนในการเก็บรักษา (บาท/หน่วย/ปี) D = ความต้องการสินค้าต่อปี


20 3.5.4 ผลลัพธ์จากการวิเคราะห์จะถูกเปรียบเทียบกับต้นทุนสินค้าคงคลังก่อนนำเทคนิคไปใช้ 3.6 การวิเคราะห์ข้อมูล 3.6.1 การแบ่งประเภทจัดลำดับความสำคัญของสินค้าคงคลังด้วยการประยุกต์ทฤษฎี ABC Analysis 3.6.2 นำประเภทสินค้าคงคลังที่ได้จากการแบ่งประเภทสินค้ามาคำนวณหาปริมาณการสั่งซื้อที่เหมาะสม โดยใช้โปรแกรม Microsoft Excel 3.6.3 คำนวณต้นทุนในการบริหารสินค้าคงคลัง ได้แก่ ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษา ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อ ในการวิเคราะห์การบริหารสินค้าคงคลังโดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎี ABC Analysis และเทคนิค EOQ เพื่อ เปรียบเทียบต้นทุนสินค้าคงคลังก่อนและหลังการประยุกต์ใช้ทฤษฎีดังกล่าว ว่าสามารถลดต้นทุนสินค้าคงคลังได้ หรือไม่


21 บทที่ 4 ผลการวิจัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้การสัมภาษณ์ การสังเกต และการเก็บรวบรวมข้อมูล จากนั้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ทฤษฎี ABC Analysis เทคนิค EOQ เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมว่าสามารถลดต้นทุนสินค้าคง คลังได้หรือไม่ของบริษัท Elite Transport สามารถแบ่งได้ดังนี้ 4.1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการวิเคราะห์การจำแนกประเภท ABC ที่ใช้ ในการจัดหมวดหมู่และจัดลำดับความสำคัญของสินค้าคงคลัง 4.2 ผลการวิเคราะห์ต้นทุนจากการประยุกต์ใช้เทคนิค EOQ การใช้เทคนิคเหล่านี้ต้องทราบถึง ความแปรปรวนของข้อมูลก่อน ด้วยการหาค่าสัมประสิทธิ์ความแปรปรวน (VC) เพื่อให้ได้เทคนิคที่เหมาะสมกับ การหาปริมาณการสั่งซื้อที่เหมาะสมต่อไป โดยมีเกณฑ์ว่า สินค้ารายการใดมีค่าสัมประสิทธิ์ความแปรปรวน (VC) <0.20 แสดงว่า รูปแบบความต้องการสินค้ามีลักษณะคงที่ เหมาะกับเทคนิค EOQ แต่ถ้าสินค้ารายการใดมีค่า สัมประสิทธิ์ความแปรปรวน (VC) >0.20 แสดงว่า รูปแบบความต้องการสินค้าไม่คงที่ ไม่เหมาะกับเทคนิค EOQ 4.1 การแบ่งกลุ่มสินค้าโดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎี ABC Analysis ผู้วิจัยได้รวบรวมข้อมูลสินค้าคงคลังประเภทสต็อกขั้นต่ำจากบริษัท Elite Transportation เป็น บริษัทกรณีศึกษาเป็นระยะเวลา 1 ปี ตั้งแต่เดือนมกราคม-ธันวาคม 2565 ซึ่งเป็นข้อมูลในอดีตที่จะนำมาใช้ในการ วิจัยครั้งนี้ มีทั้งหมด 65 รายการ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการประยุกต์ใช้ทฤษฎี ABC Analysis สามารถจัดกลุ่มสินค้าตาม ตารางที่ 4.1,4.2 และ 4.3 ตามลำดับ ซึ่งในการแบ่งประเภทจัดลำดับความสำคัญของสินค้าผู้วิจัยนำรหัสสินค้า 25- 008-002 มาเป็นตัวอย่างในการประยุกต์ใช้ทฤษฎี ABC Analysis มีขั้นตอนในการคำนวณดังนี้


22 4.1.1 คำนวณหาปริมาณการใช้ของสินค้าแต่ละชนิด อัตราการใช้ 12 เดือน คือช่วงวันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ.2565 และมีราคาต่อหน่วย เท่ากับ 1,020 บาท อัตราการใช้ต่อปี = 98+102+85+109+96+84+92+57+61+41+28+27 = 880 หน่วยต่อปี 4.1.2 คำนวณหามูลค่าสินค้าแต่ละชนิดที่หมุนเวียนในรอบปี จากการคำนวณก่อนหน้า มีอัตราการใช้เท่ากับ 880 หน่วยต่อปี และมีราคาต่อหน่วยเท่ากับ 1,020 บาท มูลค่าการใช้ต่อปี= 880 x 1,020 = 897,600 บาท 4.1.3 จัดเรียงลำดับข้อมูลสินค้าแต่ละชนิดตามลำดับข้อมูลที่คำนวณได้ จากมากไปน้อย 4.1.4 คำนวณหาร้อยละและร้อยละสะสมของมูลค่าประเภทสินค้าแต่ละชนิด รหัสสินค้า 25-008-002 ที่ได้นำมาเป็นตัวอย่างในการคำนวณ คือ packing material มีมูลค่า การใช้ต่อปี เท่ากับ 897,600 บาท 4.1.4.1 การคำนวณหาร้อยละของมูลค่าสินค้า จากสูตร ร้อยละของมูลค่าสินค้า = มูลค่าการใช้ต่อปีของสินค้าชนิดนั้น x 100 มูลค่าการใช้รวมต่อปี = 897,600 x 100/ 3,164,168.90 = 28.37 4.1.4.2 การคำนวณหาร้อยละสะสมของมูลค่าสินค้า ร้อยละของมูลค่าสะสมสินค้ารหัส 25-008-002 ที่ได้จากการคำนวณข้างต้น เท่ากับร้อยละ 28.37 และรายการถัดมาคือรหัสสินค้า 25-008-041 เมื่อนำมาคำนวณหาร้อยละจากสูตรในข้อ 4.1.4.1 ได้ร้อยละ


23 เท่ากับ 10.68 และมีมูลค่าการใช้ต่อปีเท่ากับ 337,995 บาท ฉะนั้น นำมาคำนวณหาร้อยละสะสมของมูลค่าสินค้า จากสูตร ร้อยละสะสมของมูลค่าสินค้า = ร้อยละของมูลค่าสินค้าลำดับก่อนหน้า+ร้อยละของ มูลค่าสินค้าในลำดับถัดมา = 28.37 + 10.68 = 39.05 4.1.5 นำร้อยละที่คำนวณได้จากข้อ 4.1.4.2 มาแบ่งประเภทจัดลำดับความสำคัญของสินค้าแต่ ละชนิดให้อยู่ในกลุ่ม A, B และ C (ตารางที่ 4.1, 4.2 และ 4.3 ตามลำดับ) กลุ่ม A มีจำนวน 12 รายการ คิดเป็นร้อยละ 18.46 ของรายการสินค้าทั้งหมด โดยกลุ่ม A มี มูลค่าร้อยละ 79.95 ของมูลค่าสินค้าทั้งหมด จะแสดงผลในตารางที่ 4.1 ตารางที่ 4.1 แสดงการแบ่งประเภทจัดลำดับความสำคัญโดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎี ABC Analysis กลุ่ม A ลำดับ รหัสสินค้า มูลค่ารวม ร้อยละ ร้อยละสะสม 1 25-008-002 897,600 28.37 28.37 2 25-008-041 337,995 10.68 39.05 3 25-008-018 267,148 8.44 47.49 4 25-008-046 259,550 8.20 55.70 5 25-008-004 156,600 4.95 60.64 6 25-008-031 151,656 4.79 65.44 7 25-008-045 122,980 3.98 69.32 8 25-008-032 112,332 3.55 72.87 9 25-008-057 65,462 2.07 74.94


24 ตารางที่ 4.2 แสดงการแบ่งประเภทจัดลำดับความสำคัญโดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎี ABC Analysis กลุ่ม A (ต่อ) ลำดับ รหัสสินค้า มูลค่ารวม ร้อยละ ร้อยละสะสม 10 25-008-005 55,632 1.76 76.70 11 25-008-001 54,466 1.72 78.42 12 25-008-022 48,204 1.52 79.95 รวม 2,529,625 79.95 กลุ่ม B มีจำนวน 10 รายการ คิดเป็นร้อยละ 15.38 ของรายการสินค้าทั้งหมด โดยกลุ่ม B มีมูลค่าร้อยละ ของ มูลค่าสินค้าทั้งหมด 9.88 จะแสดงผลในตารางที่ 4.2 ตารางที่ 4.3 แสดงการแบ่งประเภทจัดลำดับความสำคัญโดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎี ABC Analysis กลุ่ม B ลำดับ รหัสสินค้า มูลค่ารวม ร้อยละ ร้อยละสะสม 1 25-008-017 43,239 1.37 81.31 2 25-008-006 39,872 1.26 82.57 3 25-008-049 37,365 1.18 83.75 4 25-008-028 35,977.50 1.14 84.89 5 25-008-012 35,485 1.12 86.01 6 25-008-020 29,325 0.93 86.94 7 25-008-033 24,957 0.79 87.73 8 25-008-052 24,360 0.77 88.50 9 25-008-013 22,792 0.72 89.22 10 25-008-008 19,272 0.61 89.83 รวม 312,644.50 9.88


25 กลุ่ม C มีจำนวน 43 รายการ คิดเป็นร้อยละ 66.15 ของรายการสินค้าทั้งหมด โดยกลุ่ม C มีมูลค่าร้อยละ 10.17 ของมูลค่าสินค้าทั้งหมด จะแสดงผลในตารางที่ 4.3 ตารางที่ 4.4 แสดงการแบ่งประเภทจัดลำดับความสำคัญโดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎี ABC Analysis กลุ่ม C ลำดับ รหัสสินค้า มูลค่ารวม ร้อยละ ร้อยละสะสม 1 25-008-056 18,618 0.59 90.42 2 25-008-044 17,682 0.56 90.97 3 25-008-047 16,605 0.52 91.50 4 25-008-003 15,390 0.49 91.99 5 25-008-035 14,700 0.46 92.45 6 25-008-038 14,455 0.46 92.91 7 25-008-034 14,396 0.45 93.36 8 25-008-060 14,329 0.45 93.81 9 25-008-048 11,808 0.37 94.19 10 25-008-010 11,227 0.35 94.54 11 25-008-043 11,227 0.35 94.89 12 25-008-065 10,858 0.34 95.24 13 25-008-036 9,675 0.31 95.54 14 25-008-042 9,476 0.30 95.84 15 25-008-023 9,450 0.30 96.14 16 25-008-007 8,800 0.28 96.42 17 25-008-053 8,772 0.28 96.70 18 25-008-050 7,739 0.24 96.94 19 25-008-027 7,425 0.23 97.17 20 25-008-029 6,095 0.19 97.37 21 25-008-063 6,026 0.19 97.56


26 ตารางที่ 4.5 แสดงการแบ่งประเภทจัดลำดับความสำคัญโดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎี ABC Analysis กลุ่ม C (ต่อ) ลำดับ รหัสสินค้า มูลค่ารวม ร้อยละ ร้อยละสะสม 22 25-008-040 5,805 0.18 97.74 23 25-008-021 5,670 0.18 97.92 24 25-008-011 5,265 0.17 98.09 25 25-008-016 5,180 0.16 98.25 26 25-008-030 4,544 0.14 98.39 27 25-008-064 4,399 0.14 98.53 28 25-008-055 4,002 0.13 98.66 29 25-008-025 3,959 0.13 98.78 30 25-008-059 3,876 0.12 98.91 31 25-008-014 3,556 0.11 99.02 32 25-008-051 3,552 0.11 99.13 33 25-008-061 3,472 0.11 99.24 34 25-008-019 3,444 0.11 99.35 35 25-008-026 3,335 0.11 99.46 36 25-008-037 2,994.90 0.09 99.55 37 25-008-009 2,838 0.09 99.64 38 25-008-015 2,800 0.09 99.73 39 25-008-024 2,625 0.08 99.81 40 25-008-054 2,030 0.06 99.88 41 25-008-039 1,380 0.04 99.92 42 25-008-058 1,291.50 0.04 99.96 43 25-008-062 1,270 0.04 100 รวม 321,899.40 10.17


27 ตารางที่ 4.6 แสดงผลการแบ่งประเภทจัดลำดับความสำคัญโดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎี ABC Analysis กลุ่ม จำนวน รายการ ร้อยละของรายการ สินค้า ร้อยละของมูลค่า สินค้า มูลค่า(บาท) A 12 18.46 79.95 2,529,625 B 10 15.38 9.88 312,644.50 C 43 66.15 10.17 321,899.40 รวม 65 100 100 3,164,168.90 จากตารางที่ 4.6 แสดงผลที่ได้จากการแบ่งประเภทจัดดับความสำคัญโดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎี ABC Analysis ทำให้ได้สินค้ากลุ่ม A จำนวน 12 รายการ คิดเป็นร้อยละ 18.46 ของรายการสินค้าทั้งหมด มีมูลค่ารวม 2,529,625 บาท คิดเป็นร้อยละ 79.95 ของมูลค่าสินค้า สินค้ากลุ่ม B จำนวน 10 รายการ คิดเป็นร้อยละ 15.38 ของรายการสินค้าทั้งหมด มีมูลค่ารวมรวม 312,644.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 9.88 ของมูลค่าสินค้า และสินค้ากลุ่ม C จำนวน 43 รายการ คิดเป็นร้อยละ 66.15 ของรายการสินค้าทั้งหมด มีมูลค่ารวม 321,899.40 บาท คิดเป็น ร้อยละ 10.17 ของมูลค่าสินค้า 4.2 การคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์ความแปรปรวน เมื่อได้ผลลัพธ์จากการจำแนกประเภทและจัดลำดับความสำคัญโดยใช้ทฤษฎี ABC Analysis แล้ว ผู้วิจัยได้ นำรายการผลิตภัณฑ์เฉพาะในกลุ่ม A ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีมูลค่าสูงสุด และที่สำคัญที่สุด รวมทั้งหมด 12 รายการ มา คำนวณค่าสัมประสิทธิ์การแปรผัน (VC) ซึ่งมีสูตรการคำนวณและขั้นตอนการคำนวณดังนี้ ค่าสัมประสิทธิ์ความแปรปรวน (VC) หาได้จาก ช่วงระยะเวลาที่ทำการศึกษาคูณกับผลรวมของความ ต้องการแต่ละช่วงเวลายกกำลังสอง หารด้วยความต้องการแต่ละช่วงเวลาบวกกันแล้วยกกำลังสอง ลบด้วย 1


28 ตัวอย่างสินค้าที่นำมาคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์ความแปรปรวน คือรหัสสินค้า 25-008-002 ซึ่งมีความ ต้องการสินค้าดังนี้ เดือนมกราคม 98 หน่วย เดือนกุมภาพันธ์ 102 หน่วย เดือนมีนาคม 85 หน่วย เดือนเมษายน 109 หน่วย เดือนพฤษภาคม 96 หน่วย เดือนมิถุนายน 84 หน่วย เดือนกรกฎาคม 92 หน่วย เดือนสิงหาคม 57 หน่วย เดือนกันยายน 61 หน่วย เดือนตุลาคม 41 หน่วย เดือนพฤษจิกายน 28 หน่วย และเดือนธันวาคม 27 หน่วย VC = 12 x [(98) 2 + (102) 2 + (85) 2 + (109) 2 + (96) 2 + (84) 2 + (92) 2 + (57) 2 + (61) 2 + (41) 2 + (28) 2 + (27) 2] − 1 (98+102+85+109+96+84+92+57+61+41+28+27) 2 = 12 x 74,014 774,400 − 1 = 1.146 – 1 = 0.15 จากการนำรายการสินค้าเฉพาะกลุ่ม A จำนวน 12 รายการ มาคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์ความ แปรปรวน มีรายการที่มีค่าสัมประสิทธิ์ความแปรปรวน < 0.20 ทั้งหมด 7 รายการ แสดงว่ารูปแบบความต้องการ สินค้ามีลักษณะคงที่ สม่ำเสมอ จึงเหมาะสมกับเทคนิค EOQ (การหาปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัดที่สุด) และมี รายการที่มีค่าสัมประสิทธิ์ความแปรปรวน > 0.20 ทั้งหมด 5 รายการแสดงว่ารูปแบบความต้องการสินค้ามี ลักษณะไม่คงที่ ไม่สม่ำเสมอ จึงไม่เหมาะสมกับเทคนิค EOQ ตารางที่ 4.7 ผลการคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์ความแปรปรวนของสินค้ากลุ่ม A จำนวน 12 รายการ ลำดับที่ รหัสสินค้า ค่าสัมประสิทธิ์ความแปรปรวน 1 25-008-002 0.15 2 25-008-041 0.55 3 25-008-018 0.22 4 25-008-046 0.0139 5 25-008-004 0.0024 6 25-008-031 0.28 7 25-008-045 0.0023


29 ตารางที่ 4.8 ผลการคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์ความแปรปรวนของสินค้ากลุ่ม A จำนวน 12 รายการ (ต่อ) ลำดับที่ รหัสสินค้า ค่าสัมประสิทธิ์ความแปรปรวน 8 25-008-032 0.0015 9 25-008-057 0.0066 10 25-008-005 0.32 11 25-008-001 0.55 12 25-008-022 0.19 การคำนวณต้นทุนของสินค้าคงคลัง ก่อนการประยุกต์ใช้ทฤษฎี EOQ ต้นทุนการสั่งซื้อ = รอบการสั่งซื้อ x ต้นทุนการสั่งซื้อต่อครั้งต่อปี ต้นทุนการเก็บรักษา = ปริมาณสินค้าคงคลังเฉลี่ยต่อเดือน x ต้นทุนการเก็บรักษาต่อหน่วยต่อเดือน x 12 ต้นทุนรวม = ต้นทุนการสั่งซื้อ + ต้นทุนการเก็บรักษา หมายเหตุ : ข้อมูลปริมาณสินค้าคงคลังเฉลี่ยนั้นได้จากการสัมภาษณ์ผู้จัดการคลังสินค้า ซึ่งเป็นการเก็บ ข้อมูลคลังสินค้าประจำเดือนของบริษัทกรณีศึกษา จึงยกตัวอย่างรหัสสินค้า 25-008-002 มีจำนวนรอบ การสั่งซื้อ 9 ครั้งต่อปี มีปริมาณสินค้าคงคลังเฉลี่ย 12.75 หน่วย จะได้ต้นทุนการสั่งซื้อเท่ากับ 1,652.4 บาท ต้นทุนการเก็บรักษา เท่ากับ 12,484.8 บาท และมีต้นทุนรวม เท่ากับ 14,137.2 บาท


30 ตารางที่ 4.9 ผลการคำนวณต้นทุนรวมของสินค้าคงคลัง ก่อนการประยุกต์ใช้ทฤษฎี EOQ ลำดับที่ รหัสสินค้า ต้นทุนสินค้าคงคลังรวมก่อนการประยุกต์ใช้ EOQ 1 25-008-002 14,137.2 2 25-008-046 3,501.24 3 25-008-004 2,909.28 4 25-008-045 2,541 5 25-008-032 3,215.52 6 25-008-057 2,913.84 7 25-008-022 2,038.61 4.3 ผลการวิเคราะห์ต้นทุนจากการประยุกต์ใช้เทคนิค EOQ 4.3.1 การหาปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัดที่สุด (EOQ) ในการคำนวณปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัดที่สุด ระบบจะใช้ข้อมูลราคา ปริมาณความต้องการผลิตภัณฑ์ และต้นทุนที่เกี่ยวข้องจะถูกใช้ในการคำนวณ ต้นทุนการสั่งซื้อรวมทั้งค่าจัดส่งจะคำนวณที่ 18 เปอร์เซ็นต์ของราคา ขาย และต้นทุนการจัดเก็บจะคำนวณที่ 8 เปอร์เซ็นต์ของราคาขาย หมายเหตุ : ในงานวิจัยเล่มนี้ต้นทุนการสั่งซื้อจะคิดที่ร้อยละ 18 ของราคาขาย และต้นทุนการจัดเก็บรักษา คิดที่ร้อยละ 8 ของราคาขาย ซึ่งได้จากการสัมภาษณ์และประมาณการจากผู้จัดการคลังสินค้า จากการคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์ความแปรปรวน มีรายการสินค้า จำนวน 7 รายการ ที่มีความเหมาะสม กับการประยุกต์ใช้เทคนิค EOQ ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้นำรหัสสินค้า 25-008-002 ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์ความแปรปรวน (VC) เท่ากับ 0.15 มาเป็นตัวอย่างในการคำนวณ โดยมีสูตรและขั้นตอนการคำนวณดังนี้


31 1) คำนวณหาปริมาณความต้องการสินค้าต่อปี = ปริมาณความต้องการสินค้าแต่ละเดือนรวมกัน D = 98+102+85+109+96+84+92+57+61+41+28+27 = 880 หน่วยต่อปี คือรหัสสินค้า 25-008-002 ซึ่งมีความต้องการสินค้าดังนี้ เดือนมกราคม 98 หน่วย เดือนกุมภาพันธ์ 102 หน่วย เดือนมีนาคม 85 หน่วย เดือนเมษายน 109 หน่วย เดือนพฤษภาคม 96 หน่วย เดือนมิถุนายน 84 หน่วย เดือนกรกฎาคม 92 หน่วย เดือนสิงหาคม 57 หน่วย เดือนกันยายน 61 หน่วย เดือนตุลาคม 41 หน่วย เดือนพฤษจิกายน 28 หน่วย และเดือนธันวาคม 27 หน่วย 2) คำนวณหาขนาดการสั่งซื้อที่ประหยัด (EOQ) EOQ = √ 2 โดย Co = ต้นทุนการสั่งซื้อ (183.9 บาท) Cc = ต้นทุนการเก็บรักษา (81.6 บาท) D = ปริมาณความต้องการสินค้า (880 หน่วย) EOQ = √ 2 183.6 880 81.6 = 62.93 หน่วย จากผลการคำนวณที่ได้หมายความว่า ขนาดการส่งซื้อที่ประหยัดในการสั่งซื้อแต่ละครั้งเท่ากับ 62.93 หน่วย


32 3) คำนวณหาต้นทุนรวมต่ำที่สุด TC min = [ ] + [ 2 ] = (183.9 x 880) + (62.93 x 81.6) 62.93 2 = 2,571.62 + 2,567.54 = 5,139.16 บาท ปริมาณการสั่งซื้อแต่ละรายการ (Q) เท่ากับ 62.93 หน่วย ความต้องการสินค้าต่อปีเท่ากับ 880 หน่วย ค่า สั่งซื้อรวมค่าขนส่งเท่ากับ 183.9 บาท และค่าจัดเก็บเท่ากับ 81.6 บาท เมื่อนำค่าต่างๆ มาแทนลงในสูตรจะได้ ต้นทุนรวมต่ำสุดเท่ากับ 5,139.16 บาท 4) คำนวณหาจำนวนการสั่งซื้อต่อปี จาก จำนวนการสั่งซื้อต่อปี = D/EOQ = 880/62.93 = 13.92 ครั้งต่อปี จากการคำนวณหาจำนวนการสั่งซื้อต่อปีเท่ากับ 13.98 ครั้งต่อปี หมายความว่า จะต้องทำการสั่งซื้อสินค้า 17.88 ครั้งต่อปี ซึ่งสามารถประหยัดได้มากที่สุด 5) คำนวณหารอบเวลาการสั่งซื้อ จาก รอบเวลาการสั่งซื้อ = EOQ/D = 62.93/880 = 0.07 ปีต่อครั้ง


33 จากผลการคำนวณระยะเวลาสั่งซื้อจะเท่ากับ 0.07 หรือ 0.8 เดือนต่อครั้ง (0.07 x 12 = 0.8) หมายความ ว่าช่วงการสั่งซื้อที่จะประหยัดได้มากที่สุดคือช่วง 8 วัน ซึ่งควรสั่งครับ สินค้า 1 รอบ ซึ่งเป็นผลมาจากการ ประยุกต์ใช้เทคนิค EOQ กับสินค้าทั้ง 7 รายการ ดังแสดงในตารางที่ 4.10 ตารางที่ 4.10 แสดงผลจากการประยุกต์ใช้เทคนิค EOQ ลำดับ รหัสสินค้า ปริมาณความ ต้องการสินค้า ต่อปี ขนาดการ สั่งซื้อที่ ประหยัด (EOQ) ต้นทุนรวมต่ำ ที่สุด (TC min) จำนวนสั่งซื้อ ต่อครั้งต่อปี รอบเวลาการ สั่งซื้อต่อครั้ง ต่อปี 1 25-008-002 880 62.93 5,139.16 13.92 0.07 2 25-008-046 1,450 80.78 1,156.73 17.96 0.05 3 25-008-004 1,080 69.71 808.68 15.49 0.06 4 25-008-045 1,118 70.93 624.18 15.76 0.06 5 25-008-032 851 61.88 653.49 13.75 0.07 6 25-008-057 461 45.55 517.41 10.12 0.09 7 25-008-022 412 43.06 403.02 9.5 0.1 ตารางที่ 4.11 แสดงผลการเปรียบเทียบต้นทุนรวมก่อนและหลังการประยุกต์ใช้ EOQ ลำดับ รหัสสินค้า ต้นทุนรวม (TC) (ก่อน) ต้นทุนรวม (TC) (หลัง) 1 25-008-002 14,134.2 5,139.16 2 25-008-046 3,501.24 1,156.73 3 25-008-004 2,909.28 808.68 4 25-008-045 2,541 624.18


34 ตารางที่ 4.12 แสดงผลการเปรียบเทียบต้นทุนรวมก่อนและหลังการประยุกต์ใช้ EOQ (ต่อ) ลำดับ รหัสสินค้า ต้นทุนรวม (TC) (ก่อน) ต้นทุนรวม(TC) (หลัง) 5 25-008-032 3,215.52 653.49 6 25-008-057 2,913.84 517.41 7 25-008-022 2,038.61 403.02 รวม 31,298.69 9,302.67 จากตารางแสดงผลการเปรียบเทียบต้นทุนรวมก่อนการประยุกต์ใช้เทคนิค EOQ นั้นมีต้นทุนรวมอยู่ที 31,298.69 บาท และหลังจากประยุกต์ใช้เทคนิค EOQ มีต้นทุนรวมอยู่ที่ 9,302.67 บาท หลังการประยุกต์ใช้ เทคนิค EOQ นั้น ณ จุดการสั่งซื้อที่ประหยัดมีต้นทุนรวม (ต้นทุนการสั่งซื้อและต้นทุนการเก็บรักษา) ลดลง 21,996.02 บาท ซึ่งผลให้บริษัทมีต้นทุนการจัดเก็บที่ลดลงและปริมาณสินค้าคงคลังที่มากเกินไป


35 บทที่ 5 สรุปผลและข้อเสนอแนะ การวิจัยเกี่ยวกับการจัดการสินค้าคงคลัง ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับการจัดการสินค้าคงคลัง โดยอาศัยการสัมภาษณ์ผู้จัดการคลังสินค้า ผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อและพนักงานทำงานภายในคลังสินค้าของ Elite Transportation เพื่อค้นหาโซลูชันการสั่งซื้อที่เหมาะสมสำหรับบริษัทกรณีศึกษา และลดต้นทุนการจัดการสินค้า คงคลังให้เหลือน้อยที่สุด จากผลการวิเคราะห์ตามทฤษฎีและเทคนิคข้างต้น พบว่าสามารถลดต้นทุนรวมของสินค้า คงคลังได้ ผู้วิจัยได้แบ่งการนำเสนอออกเป็นประเด็นต่างๆ ดังนี้ 5.1 สรุปผลการวิจัย 5.2 การอภิปรายผล 5.3 ข้อจำกัดของงานวิจัย 5.4 ข้อเสนอแนะ 5.1 สรุปผลการวิจัย 5.1.1 การจัดหมวดหมู่และจัดลำดับความสำคัญของผลิตภัณฑ์โดยใช้ทฤษฎีการวิเคราะห์การจำแนก ประเภท ABC การวิจัยนี้ใช้ข้อมูลการสั่งซื้อเป็นระยะเวลา 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 มีจำนวนสินค้าใช้ในการวิจัยจำนวน 65 รายการ จากการจัดลำดับความสำคัญสามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่ม A มี 12 รายการ คิดเป็นร้อยละ 18.46 ของรายการสินค้าทั้งหมด มีมูลค่ารวม 2,529,625 บาท กลุ่ม B มี 10 รายการ คิดเป็นร้อยละ 15.38 ของรายการสินค้าทั้งหมด มีมูลค่ารวม 312,644.50 บาท และกลุ่ม C มี 43 รายการ คิดเป็นร้อยละ 66.15 ของรายการสินค้าทั้งหมด มีมูลค่ารวม 321,899.40 บาท มูลค่าการขายรวม 3,164,168.90 บาท มาใช้ในการวิจัยครั้งนี้จากข้อมูลที่ได้รับจากการสัมภาษณ์เป็นที่ทราบกันว่าในอดีตบริษัท กรณีศึกษาไม่เคยแบ่งสินค้าออกเป็นกลุ่มตามความสำคัญ ดังนั้นหากบริษัทกรณีศึกษานำทฤษฎีข้างต้นมา ประยุกต์ใช้กับการจัดการสินค้าคงคลังในปัจจุบัน จะทำให้การควบคุมสินค้าคงคลังมีประสิทธิภาพมากขึ้น และมี ต้นทุนสินค้าคงคลังลดลง


36 5.1.2 การหาปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัดที่สุด (EOQ) ในงานวิจัยนี้ต้นทุนการสั่งซื้อรวมค่าขนส่งมีค่าเท่ากับร้อยละ 18 ของราคาขายของราคาสินค้าแต่ ละรายการ ส่วนต้นทุนการเก็บรักษามีค่าเท่ากับร้อยละ 8 ของราคาขายสินค้าแต่ละรายการเช่นกัน และจากการนำ รายการสินค้าทั้งหมดจำนวน 12 รายการ มาคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์ความแปรปรวนของแต่ละรายการ พบว่ามี สินค้าจำนวน 7 รายการ ที่มีค่าสัมประสิทธิ์ความแปรปรวน (VC) < 0.20 แสดงว่า รูปแบบความต้องการสินค้ามี ลักษณะคงที่ สม่ำเสมอ จึงมีความเหมาะสมกับการประยุกต์ใช้เทคนิค EOQ 5.2 อภิปรายผล 5.2.1 การทดสอบความแปรปรวนด้วยกฎ Peterson-Silver ต้องใช้ข้อมูลปริมาณความต้องการสินค้าใน แต่ละช่วงเวลา รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณความต้องการสินค้าตลอดทั้งปี หากข้อมูลดังกล่าวเปลี่ยนแปลง ค่า สัมประสิทธิ์ความแปรปรวนก็จะเปลี่ยนไปด้วย ดังนั้นในการเลือกเทคนิคที่จะใช้กับสินค้าจึงต้องคำนึงถึงค่า สัมประสิทธิ์ความแปรปรวนด้วย หากค่าสัมประสิทธิ์ความแปรปรวน < 0.20 สามารถใช้เทคนิค EOQ ได้ หากค่า สัมประสิทธิ์ความแปรปรวน > 0.20 จะไม่สามารถใช้เทคนิค EOQ ได้เนื่องจากมีความต้องการไม่คงที่ 5.2.2 เทคนิค EOQ การคำนวณปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัด เพื่อให้ได้วิธีการสั่งซื้อที่ถูกต้อง และเพื่อให้ ได้ต้นทุนรวมที่ต่ำที่สุด การทดสอบค่าสัมประสิทธิ์ความแปรปรวน มีสินค้า 7 รายการที่สามารถประยุกต์ใช้เทคนิค EOQ ผลจากการสังเกตพบว่าต้นทุนรวมของเทคนิค EOQ มีต้นทุนลดลง 21,996.02 บาท จากการประยุกต์ใช้ เทคนิค EOQ ในการบริหารจัดการสินค้าคงคลังของบริษัทกรณีศึกษา พบว่า สินค้ากลุ่ม A มีจำนวน 12 รายการ คิดเป็นร้อยละ 18.46 สินค้ากลุ่ม B มีจำนวน 10 รายการ คิดเป็นร้อยละ 15.38 และสินค้ากลุ่ม C มีจำนวน 43 รายการ คิดเป็นร้อยละ 66.15 ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีของ รชต ขำบุญ (2549). ที่ได้กล่าวไว้ สินค้ากลุ่ม A มี จำนวนน้อยแต่มีมูลค่ามาก สินค้ากลุ่ม B เป็นกลุ่มที่มีจำนวนสินค้าปานกลาง และสินค้ากลุ่ม C เป็นกลุ่มสินค้าที่มี จำนวนมากแต่มีมูลค่าน้อย และจากการเปรียบเทียบต้นทุนก่อนและหลังการประยุกต์ใช้เทคนิค EOQ พบว่า ต้อง เป็นสินค้าที่มีความต้องการคงที่ ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ คำนาย อภิปรัชญาสกุล (2556). หลังการการ ประยุกต์ใช้เทคนิคดังกล่าวแล้วบริษัทกรณีศึกษามีต้นทุนการสั่งซื้อที่ลดลงจากเดิมเหลือ 21,996.02 บาท ซึ่ง สอดคล้องกับงานวิจัยของชัยยงค์ สุขศรีสมบูรณ์ (2559). ได้กล่าวไว้การประยุกต์ใช้เทคนิค EOQ ส่งผลให้บริษัทมี ต้นทุนสินค้าคงคลังลดลง จากการสั่งซื้อสินค้าคงคลังก่อนการประยุกต์


37 5.3 ข้อจำกัดของงานวิจัย 5.3.1 การวิจัย ต้นทุนการสั่งซื้อและต้นทุนการจัดเก็บนี้ได้มาจากการสัมภาษณ์และการประมาณ การ หากประมาณการต้นทุนไม่ถูกต้องเกินไป ผลลัพธ์จากการคำนวณปริมาณการสั่งซื้อที่เหมาะสมก็จะไม่ถูกต้อง เช่นกัน 5.3.2 การใช้เทคนิค EOQ อาจไม่เหมาะสมกับสินค้าที่มีความต้องการไม่ส่ำเสมอหรือใช้ได้กับทุก ธุรกิจ ดังนั้นหากธุรกิจอื่นจะนำไปใช้ก็ต้องคำนึงถึงความเป็นไปได้ที่จะนำไปใช้จริงในการจัดการสินค้าคงคลังใน ธุรกิจของตนเองด้วย 5.4 ข้อเสนอแนะ 5.4.1 ข้อเสนอแนะสำหรับผู้ประกอบการ 1. ควรเตรียมเอกสารในการเบิกจ่าย เพื่อให้ได้รับข้อมูลสินค้าคงคลังที่ชัดเจน และลด ข้อผิดพลาดเกี่ยวกับปริมาณสินค้าคงคลัง 2. ควรระบุสัญลักษณ์ คำแนะนำที่ควรใช้ร่วมกันไว้อย่างชัดเจนเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถสัง ได้ง่าย 5.4.2 ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป 1. เพิ่มระยะเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูลวิจัยเพื่อติดตามบริษัทกรณีศึกษา มีการนำแนว ปฏิบัติไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจเพื่อดูว่าสอดคล้องกับผลการวิจัยหรือไม่ 2. ในการวิจัยนี้เราเน้นเฉพาะสินค้าคงคลังกลุ่ม A ซึ่งมีมูลค่าสูงสุดและสำคัญที่สุด ดังนั้นจึง ไม่ได้วิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม B และกลุ่ม C เพื่อการวิจัยเพิ่มเติม ควรคำนึงถึงสินค้าคงคลังในกลุ่ม B และกลุ่ม C เพื่อการวิเคราะห์ เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการสินค้าคงคลัง 3. ในการวิจัยครั้งต่อไปควรใช้เทคนิคการพยากรณ์เพื่อวางแผนการสั่งซื้อสินค้าในอนาคตให้ เหมาะสมกับความต้องการสินค้าและเป็นแนวทางให้ผู้ประกอบการนำไปใช้ในการตัดสินใจ


38 บรรณานุกรม กิ่งกาญจน์ ผลิกะ และ นพปฎล สุวรรณทรัพย์. (2559). การบริหารสินค้าคงคลังโดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีABC Classification Analysis เทคนิค EOQ และวิธี Silver-Meal: กรณีศึกษา บริษัท XYZ. คณะ บริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต. กรานจณา เสนานุช (2558). การจัดการพัสดุคงคลังของโรงพยาบาลเลย จังหวัดเลย. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. คำนาย อภิปรัชญาสกุล (2556). การจัดการคลังสินค้าและการกระจายสินค้า. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: บริษัท โฟกัสมีเดีย แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด. ชฎาพร บำรุงสุข (2561). การวิเคราะห์ปริมาณการสั่งซื้อที่เหมาะสม กรณีศึกษาบริษัท อีอาร์ซี จำกัด. คณะ วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. สกล สังข์บุญลือ (2558). ระบบการบริหารสินค้าคงคลังของบริษัท โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน), Inventory Management system of Home Product Center Public Co.\., Ltd. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. อาธิตญา ฉวีวงษ์ และ พีระยุทธ คุ้มศักดิ์ (2562). การจัดการสินค้าคงคลังด้วย ABC Classification Analysis โดยใช้เทคนิค EOQ Model กรณีศึกษา บริษัท XYZ. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ. Chettha Chamnanlor and Phatchara Sriphrabu(2022). Economic Order-quantity Determination for Fuel Demand: A Case Study of a Freight Forwarder. Department of Nautical Science and Maritime Logistics, Faculty of International Maritime Studies, Kasetsart University


39 บรรณานุกรม (ต่อ) Charadyam N., Chusorn P., & Tongprasit Y. (2017). ABC ANALYSIS. Master of Science, Khon Kaen University. Uriwan Pornpraiphet (2018). Inventory Management in Jewelry Manufacturing Company. Master of Science (Industrial Management) Ching Mai University.


Click to View FlipBook Version