พระราชกรณียกิจ
ของกษัตริย์ไทย
พระนารายณ์ พระบาท
มหาราช สมเด็จพระนั่ ง
เกล้าเจ้าอยู่ หัว
นายศิรชัช รอดพ่วง ม4/4 เลขที่ 21
พระราชกรณียกิจ
ของกษัตริย์ไทย
นายศิรชัช รอดพ่วง ม4/4 เลขที่ 21
คำนำ ก
หนังสือ E-Book เล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้ศึกษาผู้ที่สนใจ ได้
อ่านและศึกษาเกี่ยวกับพระราชกรณี ยกิจและมีความรู้ความ
เข้าใจมากขึ้น
ผู้จัดทำเห็นว่าพระราชกรณี ยกิจของพระมหากษัตริย์ไทย
มีความสำคัญเป็ นประวัติศาสตร์และทรงพระปรีชาสามารถ
ต่างๆ ทำให้มีประเทศไทยจนถึงทุกวันนี้ได้ ผู้จัดทำจึงได้
รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากแหล่งต่างๆ เพื่อให้ผู้ศึกษาที่
สนใจได้รับความรู้มากที่ สุ ด
สารบัญ ข
เรื่อง หน้า
คำนำ ก
สารบัญ ข
อาณาจักรกรุงศรีอยุธยา 1
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช 2
3
- พระราชกรณียกิจ 9
อาณาจักรรัตนโกสินทร์
พระบาทสมเด็จพระนั่ งเกล้าเจ้าอยู่ หัว 10
12
19
- พระราชกรณียกิจ
บรรณานุ กรม
อาณาจักรกรุง 1
ศรีอยุธยา
อาณาจักรอยุธยา เป็ นอาณาจักรของชนชาติไทยในลุ่ม
แม่น้ำเจ้าพระยาในช่วง พ.ศ. 1893 ถึง พ.ศ. 2310 มีกรุง
ศรีอยุธยาเป็ นศูนย์กลางอำนาจหรือราชธานี ทั้งยังมีความ
สัมพันธ์ทางการค้ากับหลายชาติ จนถือได้ว่าเป็ นศูนย์กลางการ
ค้าในระดับนานาชาติ เช่น จีน เวียดนาม อินเดีย ญี่ปุ่ น
เปอร์เซีย รวมทั้งชาติตะวันตก เช่น โปรตุเกส สเปน
เนเธอร์แลนด์ (ฮอลันดา) อังกฤษ และ ฝรั่งเศส ซึ่งในช่วง
เวลาหนึ่ งเคยสามารถขยายอาณาเขตประเทศราชถึง รัฐชาน
ของ พม่า อาณาจักรล้านนา มณฑลยูนนาน อาณาจักรล้าน
ช้าง อาณาจักรขอม และ คาบสมุทรมลายู ในปัจจุบัน
2
สมเด็จพระนารายณ์
มหาราช
พระราชประวัติ 3
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เสด็จพระราชสมภพเมื่อวัน
จันทร์ เดือนยี่ ปี วอก พ.ศ. 2175 (นับแบบปัจจุบัน พ.ศ. 2176)
เป็ นพระราชโอรสใน สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง กับพระ
ราชเทวีไม่ปรากฏพระนาม คำให้การชาวกรุงเก่า ระบุว่าพระ
ชนนี ของพระองค์ชื่อพระสุริยา ส่วน คำให้การขุนหลวงหาวัด
ระบุพระนามว่าพระอุบลเทวี และ หม่อมหลวงมานิ จ ชุมสาย
ระบุพระนามว่าพระนางศิริธิดา และมีพระขนิ ษฐาร่วม
พระมารดาคือ กรมหลวงโยธาทิพ (หรือพระราชกัลยาณี )
สมเด็ จพระนารายณ์มี ส่ วนสำคัญในการขึ้นครองราชย์ของ
สมเด็จพระศรีสุธรรมราชา โดยพระองค์ได้ร่วมมือกับสมเด็จ
พระศรีสุธรรมราชาในการชิงราชสมบัติจาก สมเด็จเจ้าฟ้าไชย
ซึ่งเป็ นพระเชษฐาของพระองค์ โดยหลังจากที่พระองค์ช่วย
สมเด็ จพระศรี สุ ธรรมราชาขึ้นครองราชสมบัติ ได้แล้วนั้น
สมเด็ จพระศรี สุ ธรรมราชาทรงแต่ งตั้งให้พระองค์ดำรง
ตำแหน่ ง พระมหาอุปราช และให้เสด็จไปประทับที่ พระราชวัง
บวรสถานมงคล หลังจากสมเด็จพระศรีสุธรรมราชาขึ้นครอง
ราชสมบัติได้ 2 เดือนเศษ พระองค์ทรงชิงราชสมบัติจากสมเด็จ
พระศรี สุ ธรรมราชา
พระราชกรณี ยกิ จ
สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเป็ นพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระ
ปรีชาสามารถอย่างยิ่ง ทรงสร้างความรุ่งเรือง และความยิ่ง
ใหญ่ให้แก่กรุงศรีอยุธยาเป็ นอย่างมาก โดยทรงยกทัพไปตีเมือง
เชียงใหม่ และหัวเมืองพม่าอีกหลายเมืองได้แก่ เมือง เมาะตะ
มะ สิเรียม ย่างกุ้ง หงสาวดี และมีกำลังสำคัญที่ทำให้สมเด็จ
พระนารายณ์นั้นสามารถยึดหัวเมืองของพม่าได้คือ เจ้าพระยา
โกษาธิบดี (เหล็ก)
การต่างประเทศ 4
ความสัมพันธ์ระหว่ างประเทศในสมัยสมเด็ จพระนารายณ์
รุ่งเรืองขึ้นมาอีกครั้ง โดยมีการติดต่อทั้งด้านการค้าและการ
ทูตกับประเทศต่าง ๆ เช่น จีน ญี่ปุ่ น อิหร่าน อังกฤษ และ
ฮอลันดา มีชาวต่างชาติเข้ามาในพระราชอาณาจักรเป็ นจำนวน
มาก ในจำนวนนี้รวมถึงเจ้าพระยาวิชเยนทร์ (คอนสแตนติน
ฟอลคอน) ชาวกรีกที่รับราชการตำแหน่ งสูงถึงที่สมุหนายก
ขณะเดียวกันยังโปรดเกล้าฯ ให้แต่งคณะทูตนำโดย เจ้าพระยา
โกษาธิบดี (ปาน) ไปเจริญสัมพันธไมตรีกับราชสำนักฝรั่งเศส ใน
รัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ถึง 4 ครั้งด้วยกัน ผู้ที่เขียนเกี่ยวกับ
กรุงศรีอยุธยา และสยามมากที่สุดในสมัยนี้ก็คือ ซีมง เดอ ลา ลู
แบร์
สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเป็ นพระมหากษัตริย์ผู้เป็ นที่
เลื่ องลื อพระเกี ยรติ ยศในพระราโชบายทางคบค้าสมาคมกับชาว
ต่างประเทศ รักษาเอกราชของชาติให้พ้นจากการเบียดเบียน
ของชาวต่ างชาติ และรับผลประโยชน์ทั้งทางวิ ทยาการและ
เศรษฐกิจที่ชนต่างชาตินำเข้ามา นอกจากนี้ ยังได้ทรงอุปถัมภ์
บำรุงกวีและงานด้านวรรณคดีอันเป็ นศิลปะที่รุ่งเรืองที่สุดในยุค
นั้น เมื่อสมเด็จพระนารายณ์เสด็จเถลิงถวัยราชสมบัติ ณ ราช
อาณาจักรศรีอยูธยาแล้ว ปัญหากิจการบ้านเมืองในรัชสมัยของ
พระองค์เป็ นไปในทางเกี่ยวข้องกับชาวต่างประเทศเป็ นส่วน
ใหญ่ ด้วยในขณะนั้น มีชาวต่างประเทศเข้ามาค้าขาย และอยู่ใน
ราชอาณาจักรไทยมากว่าที่เคยเป็ นมาในกาลก่อน ที่สำคัญมาก
คือ ชาวยุโรปซึ่งเป็ นชาติใหญ่มีกำลังทรัพย์ กำลังอาวุธ และ
ผู้คน ตลอดจน มีความเจริญรุ่งเรืองทางวิทยาการต่าง ๆ เหนื อ
กว่าชาวเอเซียมาก และชาวยุโรปเหล่านี้กำลังอยู่ในสมัยขยาย
การค้า ศาสนาคริสต์ และอำนาจทางการเมืองของพวกตนมาสู่
ดินแดนตะวันออก
ยกตัวอย่างเช่นในปี พ.ศ. 2230 (ค.ศ. 1687) ออกญาพระเสด็จ
สุเรนทราธิบดี พระยาพระคลัง และออกพระศรีพิพัทธ์รัตนราช
โกษาได้ลงนามในสนธิ สัญญาทางการค้ากับประเทศฝรั่ งเศส[
ในรัชสมัยของพระองค์นั้น ชาวฮอลันดา ได้กีดกันการเดิน 5
เรือค้าขายของไทย ครั้งหนึ่ งถึงกับส่งเรือรบมาปิ ดปากแม่น้ำ
เจ้าพระยา ขู่จะระดมยิงไทย จนไทยต้องผ่อนผันยอมทำสัญญา
ยกประโยชน์การค้าให้ตามที่ต้องการ แต่เพื่อป้องกันมิให้
ฮอลันดาข่มเหงไทยอีก สมเด็จพระนารายณ์จึงทรงสร้างเมือง
ลพบุรี ไว้เป็ นเมืองหลวงสำรอง อยู่เหนื อขึ้นไปจากกรุง
ศรีอยุธยา และเตรียมสร้างป้อมปราการไว้คอยต่อต้านข้าศึก
เป็ นเหตุให้บาทหลวงชาวฝรั่งเศสที่มีความรู้ทางการช่าง และ
ต้องการเผยแผ่ศาสนาคริสต์ นิ กาย โรมันคาทอลิก ได้เข้ามา
อาสาสมัครรับใช้ราชการจัดกิจการเหล่านี้ ข้าราชการฝรั่งที่ทำ
ราชการมี ความดี ความชอบในการปรับปรุ งขยายการค้าของ
ไทยขณะนั้นคือ เจ้าพระยาวิชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน)
ซึ่ งกำลังมี ข้อขุ่ นเคื องใจกับบริ ษัทการค้าของอังกฤษที่ เคย
คบหาสมาคมกันมาก่อน เจ้าพระยาวิชเยนทร์ จึงดำเนิ นการเป็ น
คนกลาง สนับสนุ นทางไมตรีระหว่างสมเด็จพระนารายณ์กับ
ทางราชการฝรั่งเศส ซึ่งเป็ นรัชสมัยของ พระเจ้าหลุยส์ที่ 14
แห่ งฝรั่งเศส
ฝ่ ายสมเด็จพระนารายณ์กำลังมีพระทัยระแวงเกรงฮอลันดา
ยกมาย่ำยี และได้ทรงทราบถึงพระเดชานุ ภาพของพระเจ้า
หลุยส์ที่ 14 ในยุโรปมาแล้ว จึงเต็มพระทัยเจริญทางพระราช
ไมตรีกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ไว้ เพื่อให้ฮอลันดาเกรงขาม ด้วย
เหตุนี้ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ จึงได้มีการส่งทูตไปสู่พระ
ราชสำนักฝรั่งเศส และต้อนรับคณะทูตฝรั่งเศสอย่างเป็ นงาน
ใหญ่ถึงสองคราว แต่การคบหาสมาคมกับชาติมหาอำนาจคือ
ฝรั่งเศสในยุคนั้นก็มิใช่ว่าจะปลอดภัย ด้วยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 มี
พระราโชบายที่จะให้สมเด็จพระนารายณ์ และประชาชนชาว
ไทยรับนับถือคริสต์ศาสนา ซึ่งบาทหลวงฝรั่งเศสนำมาเผยแผ่
โดยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงส่งพระราชสาสน์มาทูลเชิญสมเด็จ
พระนารายณ์เข้ารับ นับถือคริสต์ศาสนาพร้อมทั้งเตรียม
บาทหลวงมาไว้คอยถวายศีลด้วย
6
แต่ สมเด็ จพระนารายณ์ได้ทรงใช้พระปรี ชาญาณตอบปฏิ เสธ
อย่างทะนุ ถนอมไมตรี ทรงขอบพระทัยพระเจ้าหลุยส์ที่มีพระทัย
รักใคร่พระองค์ถึงแสดงพระปรารถนาจะให้ร่วมศาสนาด้วย แต่
เนื่ องด้วยพระองค์ยังไม่เกิดศรัทธาในพระทัย ซึ่งก็อาจเป็ น
เพราะพระเป็ นเจ้าประสงค์ที่จะให้นับถือศาสนาคนละแบบ
คนละวิธี เช่นเดียวกับที่ทรงสร้างมนุ ษย์ให้ผิดแผกเชื้อชาติเผ่า
พันธุ์ หรือทรงสร้างสัตว์ให้มีหลายชนิ ดหลายประเภทก็ได้ หาก
พระเป็ นเจ้ามี พระประสงค์จะให้พระองค์ท่านเข้ารับนับถือ
ศาสนาตามแบบตามลัทธิ ที่ พระเจ้าหลุ ยส์ทรงนับถื อแล้ว
พระองค์ก็คงเกิดศรัทธาขึ้นในพระทัย และเมื่อนั้นแหละ
พระองค์ท่ านก็ ไม่ รังเกี ยจที่ จะทำพิ ธี รับศี ลร่ วมศาสนาเดี ยวกัน
นอกจากนี้พระองค์ยังทรงรับเอาวิ ทยาการสมัยใหม่ มาใช้
เช่น กล้องดูดาว และยุทโธปกรณ์บางประการ รวมทั้งยังมีการ
รับเทคโนโลยีการสร้างน้ำพุ จากชาวยุโรป และวางระบบท่อ
ประปาภายในพระราชวังอี กด้วย
7
แต่ สมเด็ จพระนารายณ์ได้ทรงใช้พระปรี ชาญาณตอบปฏิ เสธ
อย่างทะนุ ถนอมไมตรี ทรงขอบพระทัยพระเจ้าหลุยส์ที่มีพระทัย
รักใคร่พระองค์ถึงแสดงพระปรารถนาจะให้ร่วมศาสนาด้วย แต่
เนื่ องด้วยพระองค์ยังไม่เกิดศรัทธาในพระทัย ซึ่งก็อาจเป็ น
เพราะพระเป็ นเจ้าประสงค์ที่จะให้นับถือศาสนาคนละแบบ
คนละวิธี เช่นเดียวกับที่ทรงสร้างมนุ ษย์ให้ผิดแผกเชื้อชาติเผ่า
พันธุ์ หรือทรงสร้างสัตว์ให้มีหลายชนิ ดหลายประเภทก็ได้ หาก
พระเป็ นเจ้ามี พระประสงค์จะให้พระองค์ท่านเข้ารับนับถือ
ศาสนาตามแบบตามลัทธิ ที่ พระเจ้าหลุ ยส์ทรงนับถื อแล้ว
พระองค์ก็คงเกิดศรัทธาขึ้นในพระทัย และเมื่อนั้นแหละ
พระองค์ท่ านก็ ไม่ รังเกี ยจที่ จะทำพิ ธี รับศี ลร่ วมศาสนาเดี ยวกัน
นอกจากนี้พระองค์ยังทรงรับเอาวิ ทยาการสมัยใหม่ มาใช้
เช่น กล้องดูดาว และยุทโธปกรณ์บางประการ รวมทั้งยังมีการ
รับเทคโนโลยีการสร้างน้ำพุ จากชาวยุโรป และวางระบบท่อ
ประปาภายในพระราชวังอี กด้วย
วรรณกรรมในรัชกาล
สมเด็ จพระนารายณ์มิ ใช่ เพี ยงทรงพระปรี ชาสามารถทาง
ด้านการทูตเท่านั้น หากทรงเป็ นกวีและทรงอุปถัมภ์กวีในยุค
ของพระองค์อย่างมากมาย กวีลือนามแห่ งรัชสมัยของพระองค์
ก็ได้แก่ พระโหราธิบดี หรือพระมหาราชครู ผู้ประพันธ์หนังสือ
จินดามณี ซึ่งเป็ นตำราเรียนภาษาไทยเล่มแรก และตอนหนึ่ ง
ของเรื่องสมุทรโฆษคำฉันท์ (อีกตอนหนึ่ งเป็ นพระราชนิ พนธ์
ของสมเด็จพระนารายณ์) กวีอีกผู้หนึ่ งคือ ศรีปราชญ์ ผู้เป็ น
ปฏิภาณกวี เป็ นบุตรของพระโหราธิบดี งานชิ้นสำคัญของศรี
ปราชญ์ คือ หนังสือกำศรวลศรีปราชญ์ และอนุ รุทรคำฉันท์
ด้วยพระปรีชาสามารถดังได้บรรยายมาแล้ว สมเด็จพระ
นารายณ์จึงได้รับการถวายพระเกียรติเป็ น มหาราช พระองค์
หนึ่ ง
วรรณกรรมที่ปรากฏหลักฐานว่าแต่งขึ้นในรัชกาลสมเด็จพระ 8
นารายณ์ เช่น
สมุทรโฆษคำฉันท์ ส่วนตอนต้นเชื่อกันว่าพระมหาราชครู
เป็ นผู้แต่งแต่ถึงแก่อนิ จกรรมเสียก่อน สมเด็จพระนารายณ์
จึงพระราชนิ พนธ์ต่อ โดยเริ่มที่ตอน พิศพระกุฎีอาศรม
สถานตระกาลกล ไปจนถึง ตนกูตายก็จะตายผู้เดียวใครจะ
แลดู โอ้แก้วกับตนกู ฤเห็น
คำฉันท์กล่อมช้าง (ของเก่า) เป็ นผลงานของขุนเทพกวี
สันนิ ษฐานว่าแต่งในคราวสมโภชขึ้นระวางเจ้าพระยาบรมค
เชนทรฉัททันต์ เมื่อ พ.ศ. 2216 เป็ นต้น
พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐ ไม่ทราบผู้
แต่ง แต่มีการระบุว่าเกิดจากการที่มีรับสั่งใน จ.ศ. 1042
(พ.ศ. 2223) ให้คัดจดหมายเหตุต่าง ๆ เข้าด้วยกัน
ทั้งยังส่งเสริมงานงานกวี ทำให้มีหนังสื่อเรื่องสำคัญ ๆ ในรัช
สมัยนี้เป็ นจำนวนไม่น้อย เช่น โคลงเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระ
นารายณ์มหาราช ของหลวงศรีมโหสถ หนังสือ จินดามณี ของ
พระโหราธิบดี (จัดเป็ นตำราเรียนเล่มแรกของประเทศไทย)
และ อนิ รุทธคำฉันท์ เป็ นต้น
อาณาจักร 9
รัตนโกสินทร์
อาณาจักรรัตนโกสินทร์ เป็ นราชอาณาจักรที่สี่ในยุค
ประวัติศาสตร์ของไทย เริ่มตั้งแต่การย้ายเมืองหลวงจากฝั่ ง
กรุงธนบุรี มายังกรุงเทพมหานคร ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกของ
แม่น้ำเจ้าพระยา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
มหาราช ปฐมกษัตริย์แห่ งราชวงศ์จักรี เสด็จขึ้นครองราช
สมบัติ เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2325
10
พระบาทสมเด็จพระ
นั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
11
พระราชประวัติ
พระบาทสมเด็จพระนั่ งเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็ นพระราชโอรสใน
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ประสูติแต่ สมเด็จ
พระศรีสุลาลัย เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันจันทร์ที่ 31 มีนาคม
พ.ศ. 2330 (นับแบบปัจจุบัน พ.ศ. 2331) ณ พระราชวังเดิม
ตรงกับรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
มหาราช ในขณะที่พระองค์ประสูตินั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธ
เลิ ศหล้านภาลัยดำรงพระอิ สริ ยยศที่ สมเด็ จพระเจ้าลู กยาเธอ
เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร พระองค์จึงมีสกุลยศชั้นหม่อมเจ้า
พระนามว่า หม่อมเจ้าชายทับ จนกระทั่ง สมเด็จพระบรมชนก
นาถได้รับอุปราชาภิเษกขึ้นเป็ น กรมพระราชวังบวรสถานมงคล
ในปี พ.ศ. 2349 พระองค์จึงมีพระอิสริยยศเป็ น พระเจ้าหลาน
เธอ พระองค์เจ้าชายทับ
เมื่อสมเด็จพระราชชนกได้เสด็จขึ้นครองราชย์เป็ นรัชกาลที่
2 ใน พ.ศ. 2352 พระองค์จึงได้เลื่อนฐานันดรศักดิ์ขึ้นเป็ น
พระองค์เจ้าชั้นเอก ออกพระนามว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์
เจ้าชายทับ จนปี พ.ศ. 2356 ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้
ทรงกรม เป็ น พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์
เมื่ อกรมหมื่ นเจษฎาบดิ นทร์เสด็ จเถลิ งถวัลย์ครองราชสมบัติ
แล้ว ทรงออกพระนามเต็มตามพระสุพรรณบัฏว่า "พระบาท
สมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพร
รดิราชาธิบดินทร์ ธรณิ นทราธิราช รัตนากาศภาสกรวงศ์ องค์
ปรมาธิเบศร์ ตรีภูวเนตรวรนายก ดิลกรัตนราชชาติอาชาวไสย
สมุทัยดโรมน สากลจักรวาลาธิเบนทร์ สุริเยนทราธิบดินทร์ หริ
หรินทราธาธิบดี ศรีสุวิบูลย คุณอถพิษฐ ฤทธิราเมศวร ธรรมิก
ราชาธิราช เดโชชัย พรหมเทพาดิเทพนฤบดินทร์ ภูมินทรปรมา
ธิเบศร โลกเชษฐวิสุทธิ มงกุฏประเทศคตา มหาพุทธางกูร บรม
บพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว" นับเป็ น "สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 6"
12
ต่ อมาพระบาทสมเด็ จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่ หัวได้เฉลิ มพระ
ปรมาภิไธยใหม่ เป็ น "พระบาทสมเด็จพระปรมาธิวรเสรฐ มหา
เจษฎาบดินทร สยามินทรวิโรดม บรมธรรมิกมหาราชาธิราช
บรมนารถบพิตร พระนั่ งเกล้าเจ้าอยู่หัว" ออกพระนามโดยย่อว่า
"พระบาทสมเด็จพระนั่ งเกล้าเจ้าอยู่หัว"
ในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2459 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า
เจ้าอยู่ หัวมี พระบรมราชโองการให้เฉลิ มพระปรมาภิ ไธยอย่ าง
สังเขปว่า "พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาเจษฎาธิ
บดินทร์ พระนั่ งเกล้าเจ้าอยู่หัว" หรือ "พระบาทสมเด็จพระ
รามาธิบดีที่ 3"
เมื่อครั้งที่ทรงกำกับราชการ กรมท่า (ในสมัยรัชกาลที่ 2) ได้
ทรงแต่ง สำเภา บรรทุกสินค้าออกไปค้าขายในต่างประเทศมี
รายได้เพิ่มขึ้นในท้องพระคลังเป็ นอันมาก พระราชบิดาทรง
เรียกพระองค์ว่า "เจ้าสัว" เมื่อรัชกาลที่ 2 เสด็จสวรรคต มิได้
ตรัสมอบราชสมบัติแก่ผู้ใด ขุนนางและพระราชวงศ์ต่างมีความ
เห็นว่าพระองค์ (ขณะทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็ นกรมหมื่น
เจษฏาบดินทร์) ขณะนั้นมีพระชนมายุ 37 พรรษา ทรงรอบรู้
กิจการบ้านเมืองดี ทรงปราดเปรื่องในทาง กฎหมาย การค้า
และการปกครอง จึงพร้อมใจกันอัญเชิญครองราชย์เป็ นรัชกาล
ที่ 3
พระราชกรณี ยกิ จ
พระองค์ทรงปกครองประเทศด้วยพระปรีชาสามารถ ทรง
เสริมสร้างกำลังป้องกันราชอาณาจักร โปรดให้สร้างป้อม
ปราการตามปากแม่น้ำสำคัญ และหัวเมืองชายทะเล
13
ด้านความมั่นคง
พระองค์ได้ทรงป้องกันราชอาณาจักรด้วยการส่ งกองทัพไป
สกัดทัพของ เจ้าอนุ วงศ์ แห่ งเวียงจันทน์ ไม่ให้ยกทัพเข้ามาถึง
ชานพระนครและขัดขวางไม่ ให้เวี ยงจันทน์เข้าครอบครองหัว
เมืองอีสานของสยาม นอกจากนี้ พระองค์ทรงประสบความ
สำเร็จในการทำให้สยามกับ ญวน ยุติการสู้รบระหว่างกันเกี่ยว
กับเรื่อง เขมร โดยที่สยามไม่ได้เสียเปรียบญวนแต่อย่างใด
ด้านการคมนาคม
ในรัชสมัยของพระองค์ใช้ทางน้ำเป็ นสำคัญ ทั้งในการ
สงครามและการค้าขาย คลอง จึงมีความสำคัญ มากในการย่น
ระยะทางจากเมืองหนึ่ งไปอีกเมืองหนึ่ ง จึงโปรดฯให้มีการขุด
คลองขึ้น เช่น คลองบางขุนเทียน คลองบางขนาก และ
คลองหมาหอน
ด้านการทำนุ บำรุ งพระพุ ทธศาสนา
พระองค์ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก และได้ทรง
สร้างพระพุทธรูปมากมายเช่น พระประธานในอุโบสถ วัดสุทัศน
เทพวรารามราชวรมหาวิหาร วัดเฉลิมพระเกียรติ วัดปรินายก
และ วัดนางนอง ทรงสร้างวัดใหม่ขึ้น 3 วัด คือ วัดบวรนิ เวศ
ราชวรวิหาร วัดเทพธิดารามวรวิหาร และ วัดราชนัดดาราม
วรวิหาร ทรงบูรณปฏิสังขรณ์ วัดเก่าอีก 35 วัด เช่น วัดพระ
ศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งสร้างมาแต่รัชกาลที่ 1 วัดอรุณ
ราชวรารามราชวรมหาวิหาร วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร
เป็ นต้น
ด้านการศึกษา
ทรงทำนุ บำรุงและสนับสนุ นการศึกษา โปรดเกล้าฯ ให้
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิ ท แต่งตำรา
เรียนภาษาไทยขึ้นเล่มหนึ่ งคือ หนังสือจินดามณี โปรดเกล้าฯ ให้
ผู้รู้นำตำราต่าง ๆ มาจารึกลงในศิลาตามศาลารอบพุทธาวาสวัด
พระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร ปั้นตั้งไว้ตาม
เขามอและเขียนไว้ตามฝาผนังต่าง ๆ
14
มีทั้งอักษรศาสตร์ แพทยศาสตร์ พุทธศาสนศึกษา โบราณคดี
ฯลฯ เพื่อเป็ นการเผยแพร่วิชาการสาขาต่าง ๆ จึงอาจกล่าวได้ว่า
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามเป็ นมหาวิทยาลัยแห่ งแรกของ
กรุ งสยาม
ด้านสังคมสงเคราะห์
พระองค์ทรงเอาพระทัยใส่ดูแลทุกข์สุขของราษฎร ด้วยมี
พระบรมราชวินิ จฉัยว่า ไม่ทรงสามารถจะบำบัดทุกข์ให้ราษฎร
ได้ หากไม่เสด็จออกนอกพระราชวัง เพราะราษฎรจะร้องถวาย
ฏีกาได้ต่อเมื่อพระคลังเวลาเสด็จออกนอกพระราชวังเท่านั้น จึง
โปรดให้นำกลองวินิ จฉัยเภรีออกตั้ง ณ ทิมดาบกรมวัง ใน
พระบรมมหาราชวัง เพื่อราษฎรผู้มีทุกข์จะได้ตีกลองร้องถวาย
ฎีกาไปทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย เพื่อให้มีการชำระความกัน
ต่อไป โดยพระองค์จะคอยซักถามอยู่เนื่ อง ๆ ทำให้ตุลาการ ผู้
ทำการพิพากษาไม่อาจพลิกแพลงคดีเป็ นอื่นได้
ในรัชสมัยของพระองค์ได้มี มิ ชชันนารี ชาวอเมริ กันและชาว
อังกฤษเดินทางเข้ามาเผยแพร่ศาสนาคริสต์เพิ่มมากขึ้น หนึ่ งใน
จำนวนนี้คือศาสนาจารย์ นายแพทย์แดน บีช บรัดเลย์ หรือที่คน
ไทยรู้จักกันดีในนาม "หมอบรัดเลย์" ได้เป็ นผู้ริเริ่มให้มีการ
ปลูกฝี ป้องกันไข้ทรพิษ และการฉี ดวัคซีนป้องกันอหิ วาตกโรค
และการทำผ่าตัดขึ้นเป็ นครั้งแรกในกรุงรัตนโกสินทร์ นอกจาก
นี้หมอบรัดเลย์ยังได้คิดตัวพิมพ์อักษรไทยขึ้น (ปี พ.ศ. 2379)
ทำให้มีการพิมพ์หนังสือภาษาไทยเป็ นครั้งแรกโดยพิมพ์คำสอน
ศาสนาคริสต์เป็ นภาษาไทย เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2379 ต่อ
มาปี พ.ศ. 2385 หมอบรัดเลย์พิมพ์ปฏิทินภาษาไทยขึ้นเป็ นครั้ง
แรก
ในด้านการหนังสือพิมพ์ฉบับแรกในสมัยรัชกาลที่ 3 หมอบ
รัดเลย์ได้ออกหนังสือพิมพ์แถลงข่าวรายปักษ์เป็ นภาษาไทย ชื่อ
บางกอกรีคอร์เดอร์ (Bangkok Recorder) มีเรื่องสารคดี ข่าว
ราชการ ข่าวการค้า ข่าวเบ็ดเตล็ด ฉบับแรกออกเมื่อวันที่ 4
กรกฎาคม พ.ศ. 2387
15
หนังสื อบทกลอนเล่ มแรกที่ พิ มพ์ขายและผู้เขี ยนได้รับค่ า
ลิขสิทธิ์คือ นิ ราศลอนดอน ของหม่อมราโชทัย (หม่อมราชวงศ์
กระต่าย อิศรางกูร) โดย หมอบรัดเลย์ ซื้อกรรมสิทธิ์ไปพิมพ์ใน
ราคา 400 บาท เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2404 และตีพิมพ์
จำหน่ ายครั้งแรกเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2404
ด้านการค้ากับต่างประเทศ
พระองค์ทรงสนับสนุ นส่งเสริมการค้าขายกับต่างประเทศ
ทั้งกับ ชาวเอเชีย และ ชาวยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้ากับ
จีนมาตั้งแต่เมื่อครั้งพระองค์ทรงดำรงพระอิสสริยศเป็ นกรม
หมื่นเจษฎาบดินทร์ ส่งผลให้ พระคลังสินค้า มีรายได้เพิ่มมาก
ขึ้น นอกจากนี้ มีการแต่งสำเภาทั้งของราชการ เจ้านาย ขุนนาง
ชั้นผู้ใหญ่ และพ่อค้าชาวจีนไปค้าขายยังเมืองจีนและประเทศ
ใกล้เคียง รวมถึงการเปิ ดค้าขายกับมหาอำนาจตะวันตกจนมี
การลงนามในสนธิสัญญาระหว่างกันคือ สนธิสัญญาเบอร์นี
พ.ศ. 2369 และ 6 ปี ต่อมาก็ได้เปิ ดสัมพันธไมตรีกับ
สหรัฐอเมริกา และมีการทำสนธิสัญญาต่อกันใน พ.ศ. 2375 นับ
เป็ นสนธิสัญญาฉบับแรกที่สหรัฐอเมริกาทำกับประเทศทาง
ตะวันออก ส่งผลให้ไทยได้ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจอย่างมาก
ด้านศิลปกรรม
พระบาทสมเด็จพระนั่ งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้บูรณะ
ปฏิสงขรณ์พระปรางค์วัดอรุณราชวรารามจนแล้วเสร็จ และ
ทรงมีรับสั่งให้สร้างเรือสำเภาก่อด้วยอิฐใน วัดยานนาวา เพื่อให้
ประชาชนได้รู้ว่าเรือสำเภานั้นมีรูปร่างลักษณะอย่างไร เพราะ
ทรงเล็ งเห็ นว่ าภายหน้าจะไม่ มี การสร้างเรื อสำเภาอี กแล้ว
สำหรับวรรณกรรม พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้นักปราชญ์ราช
บัณฑิตจารึกวรรณคดีที่สำคัญ ๆ และวิชาแพทย์แผนโบราณลง
บนแผ่นศิลา แล้วติดไว้ตามศาลารายรอบพระอุโบสถ รอบพระ
มหาเจดีย์บริเวณวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เพื่อให้
ประชาชนได้ศึกษาหาความรู้
16
พระบรมฉายาลักษณ์สมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยทูต
ยุโรป
ตราพระราชลัญจกร
17
สมเด็ จพระนารายณ์มหาราชทอดพระเนตรจันทรุ ปราคาร่ วม
กับคณะทูต นักบวชคณะเยสุอิต และนักดาราศาสตร์ชาว
ฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2228 ณ พระที่นั่ งเย็น ทะเล
ชุบศร เมืองลพบุรี
ราชทูตสยามนำโดยโกษาปานเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ที่ ห้อง
กระจก พระราชวังแวร์ซาย ณ วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2229
(ค.ศ. 1686)
17
สมเด็ จพระนารายณ์มหาราชทอดพระเนตรจันทรุ ปราคาร่ วม
กับคณะทูต นักบวชคณะเยสุอิต และนักดาราศาสตร์ชาว
ฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2228 ณ พระที่นั่ งเย็น ทะเล
ชุบศร เมืองลพบุรี
ราชทูตสยามนำโดยโกษาปานเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ที่ ห้อง
กระจก พระราชวังแวร์ซาย ณ วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2229
(ค.ศ. 1686)
18
ตราพระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ 3 รูปปราสาท สอดคล้อง
กับพระนามเดิม "ทับ" ผูกตรานี้ขึ้นในวโรกาสกรุงรัตนโกสินทร์
ครบ 100 ปี
เรื อสำเภาจี นที่ วัดยานนาวา
บรรณานุกรม 19
วิกิพีเดีย สารานุ กรมเสรี. (2565). พระบาทสมเด็จพระนั่ งเกล้า
เจ้าอยู่หัว. สืบค้นเมื่อ 27 มกราคม 2565,/
จาก/shorturl.at/wEFT6
วิกิพีเดีย สารานุ กรมเสรี. (2565). สมเด็จพระนารายณ์มหาราช.
สืบค้นเมื่อ 27 มกราคม 2565,/จาก/shorturl.at/fkJOV
วิกิพีเดีย สารานุ กรมเสรี. (2565). อาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัย
สมบูรณาญาสิทธิราชย์). สืบค้นเมื่อ 27 มกราคม 2565,/
จาก/shorturl.at/aABF1
วิกิพีเดีย สารานุ กรมเสรี. (2565). อาณาจักรอยุธยา. สืบค้นเมื่อ
27 มกราคม 2565,/จาก/shorturl.at/fkJOV