The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by สุกฤต เต็กสุวรรณ, 2022-09-15 11:19:14

กฎหมายอาญา

กฎหมายอาญา

นายสุกฤต เต็กสุวรรณ

รหัสนิสิต 641081362 กลุ่มs104
วิชาอาญา ภาคความผิด

อาญาภาคความผิด

ลักษณะ2 ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง
หมวด 1 ความผิดต่อเจ้าพนักงาน

ดูหมิ่น
-มาตรา136
-มาตรา198
แจ้งความเท็จ
-มาตรา137
-มาตรา172
ต่อสู้ขัดขวาง
-138
ให้สินบน
-มาตรา144
-มาตรา167
รับสินบน
-มาตรา149
-มาตรา201

คำนำ

วิชากฎหมายอาญาภาคความผิดเล่มนี้ได้จัดทําขึ้นมาโดย
สรุป เนื้อหาสาระเกี่ยวกับความผิดต่อเจ้าพนักงานจากตำรา
เรียนและแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือในปัจจุบันโดยเน้ นมาตรา
สําคัญและคำพิพากษาฎีกาทําให้หนังสือเล่มนี้มีเนื้ อหาที่
สมบูรณ์และตรงประเด็นการศึกษาจากหนังสือเล่มนี้

เนื่ องจากหนังสือเล่มนี้มีเนื้ อหาครอบคลุมเนื้ อหาเกี่ยวกับ
ความผิดต่อเจ้าพนักงานจึงเหมาะแก่การใช้อ่านเพื่อเตรียม
สอบในเนื้ อหาความผิดต่อเจ้าพนักงานใน
มาตรา136,มาตรา137,มาตรา138,มาตรา144,มาตรา149,
มาตรา167,มาตรา172,มาตรา198และมาตรา201
เหมาะสําหรับการอ่านเพื่อเน้ นเข้าใจภายในเวลาไม่นานและ
เหมาะสำหรับการอ่านทบทวนเนื้ อหาที่เรียนมาในห้องเรียน

ท้ายนี้ หวังว่าหนังสือเล่มนี้จะมีประโยชน์แก่นักศึกษา
ในการเตรียมตัวก่อนสอบไม่มากก็น้ อยหากหนังสือเล่มนี้มี
ข้อผิดพลาดประการใดทางผู้จัดทําต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย

นายสุกฤต เต็กสุวรรณ

กันยายน 2565

สารบัญ หน้ า

เรื่ อง

ลักษณะ2 ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง 1

ดูหมิ่นเจ้าพนักงานทั่วไป มาตรา136 2-4

ดูหมิ่นศาลหรือผู้พิพากษา มาตรา198 5-7

แจ้งความเท็จแก่เจ้าพนักงานทั่วไป มาตรา137 8-10

แจ้งความเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญา มาตรา172 11-14

ต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน มาตรา138 15-18

ให้สินบนเจ้าพนักงานทั่วไป มาตรา144 19-22

ให้สินบนเจ้าพนักงานในการยุติธรรม มาตรา167 23-25

เจ้าพนักงานทั่วไปเรียกรับสินบน มาตรา149 26-29

เจ้าพนักงานในการยุติธรรมเรียกรับสินบน มาตรา201 30-32

บรรณานุกรม 33

1
ลักษณะ2 ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง

หมวด1 ความผิดต่อเจ้าพนักงาน
ดูหมิ่น

-มาตรา136 ดูหมิ่นเจ้าพนักงาน

-มาตรา198 ดูหมิ่นศาลหรือผู้พิพากษา

แจ้งความเท็จ

-มาตรา 137 แจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน
-มาตรา 172 แจ้งความเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญา

ต่อสู้ขัดขวาง

-มาตรา 138 ต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน

ให้สินบน

-มาตรา 144 ให้สินบนเจ้าพนักงานทั่วไป
-มาตรา 167 ให้สินบนเจ้าพนักงานในการยุติธรรม

รับสินบน

-มาตรา 149 เจ้าพนักงานทั่วไปเรียกรับสินบน
-มาตรา201 เจ้าพนักงานในการยุติธรรมเรียกรับสินบน

2
ดูหมิ่น

ดูหมิ่นเจ้าพนักงานทั่วไป

มาตรา 136 ผู้ใดดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตาม
หน้ าที่ หรือเพราะได้กระทำการตามหน้ าที่ ต้องระวางโทษ…

การดูหมิ่น (Insult) หมายถึง การดูถูก เหยียดหยาม
ทำให้เสียหายเป็นที่เกลียดชัง สบประมาท หรือ ด่ากรณีคำ
หยาบคายไม่สุภาพ คำแดกดัน

องค์ประกอบของความผิด
องค์ประกอบภายนอก
1. ดูหมิ่น
2. เจ้าพนักงาน
3. ซึ่งกระทำการตามหน้ าที่ หรือเพราะได้กระทำการตามหน้ าที่

องค์ประกอบภายใน
เจตนาธรรมดาตามปอ.มาตรา 59 วรรคสอง

3
ดูหมิ่น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8422/2558
การที่จำเลยที่ 1 พูดจาให้ร้ายผู้เสียหายขณะปฏิบัติ

หน้ าที่เข้าตรวจค้นร้านโดยใช้คำว่า "ปลัดส้นตีน" ซึ่งเป็นคำดู
หมิ่นเหยียดหยาม เป็นการกระทำความผิดฐานดูหมิ่นเจ้า
พนักงานซึ่งกระทำการตามหน้ าที่ ตาม ป.อ. มาตรา 136
สำเร็จแล้วกระทงหนึ่ง ส่วนการที่จำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่
2 ทำให้ผู้เสียหายเกิดความกลัวหรือความตกใจโดยการ
ขู่เข็ญขณะที่ผู้เสียหายเข้าตรวจภายในร้าน โดยจำเลยที่ 1
พูดขึ้นว่า ไปเอาปืนมายิงให้ตาย อย่าให้ออกไปได้ แล้ว
จำเลยที่ 2 วิ่งไปหยิบไม้เบสบอลมาตีผู้เสียหาย 1 ที จำเลย
ที่ 1 เอาไม้กวาดไล่ตีผู้เสียหาย เป็นการกระทำต่อเนื่องกัน
ไป โดยมีเจตนาเดียวกันคือทำร้ายผู้เสียหาย จึงเป็นการ
กระทำกรรมเดียวกับการร่วมกันใช้กำลังทำร้ายผู้อื่นโดยไม่
ถึงกับเป็ นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ

4
ดูหมิ่น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8016/2556
จำเลยกล่าวถ้อยคำว่า "ตำรวจแม่ง...ใช้ไม่ได้" เพราะรู้สึกว่า

เจ้าพนักงานตำรวจไม่ให้ความสำคัญต่อคำชี้แจงของตน ทำให้
จำเลยรู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม จึงกล่าวตำหนิการปฏิบัติ
หน้ าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจ อันเป็นเพียงคำกล่าวที่ไม่สุภาพ
และไม่สมควรเท่านั้น แต่ไม่ถึงขั้นมุ่งหมายที่จะด่า ดูถูก
เหยียบหยามหรือสบประมาทเจ้าพนักงานตำรวจแต่อย่างใด
จึงไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 136

5
ดูหมิ่น

ดูหมิ่นศาลหรือผู้พิพากษา

มาตรา 198 ผู้ใดดูหมิ่นศาลหรือผู้พิพากษาในการ
พิจารณาหรือพิพากษาคดี หรือกระทำการขัดขวางการ
พิจารณาหรือพิพากษาของศาล ต้องระวางโทษ

องค์ประกอบความผิด

ความผิดที่1

องค์ประกอบภายนอก
1.ผู้ใด
2.ดูหมิ่น
3.ศาลหรือผู้พิพากษา
4.ในการพิจารณาหรือพิพากษาคดี

องค์ประกอบภายใน
เจตนาธรรมดา ปอ.มาตรา59 วรรคสอง
ความผิดที่2
องค์ประกอบภายนอก

1.ผู้ใด
2.กระทำการขัดขวาง
3.การพิจารณาหรือพิพากษาคดี
องค์ประกอบภายนอก

เจตนาธรรมดา ปอ.มาตรา 59 วรรคสอง

6
ดูหมิ่น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19706/2555

จำเลยไม่ได้ยืนยันว่าโจทก์ร่วมทุจริต เพียงแต่สงสัยในพฤติการณ์ของ
โจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้พิพากษาในคดีที่จำเลยถูกผู้อื่นฟ้ องที่มีคำสั่งให้งดชี้สอง
สถานกับงดสืบพยานในคดีนั้น แม้ว่าเป็นอำนาจและดุลพินิจของโจทก์ร่วม
แต่ก็เป็นการใช้ดุลพินิจและอำนาจที่คลาดเคลื่อน เพราะหลังจากนั้นศาลฎีกา
ได้มีคำพิพากษาให้ยกคำพิพากษาของศาลชั้นต้นซึ่งโจทก์ร่วมเป็ นองค์คณะ
และย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นทำการสืบพยานโจทก์และจำเลย และที่
โจทก์ร่วมสั่งไม่รับอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงนั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ก็มีคำสั่งให้
รับอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงไว้แล้ว นอกจากนี้จำเลยยื่นอุทธรณ์เมื่อวันที่ 27
เมษายน 2554 เวลา 10.50 นาฬิกา แต่โจทก์ร่วมไม่ได้สั่งอุทธรณ์ในวันดัง
กล่าว ต่อมาโจทก์ร่วมสั่งรับอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยประทับ
ตรายางวันเดือนปี คือ เมษายน 2554 แต่มีการลบวันที่ซึ่งน่าจะเป็นวันที่ 27
และเขียนด้วยลายมือโจทก์ร่วมเป็นวันที่ 30 การที่จำเลยไปพบ ส. ซึ่งรับ
ราชการในตำแหน่งอธิบดีผู้พิพากษาภาค 7 ที่โจทก์ร่วมรับราชการอยู่ในเขต
อำนาจเพียงประสงค์จะให้ ส. ดูแลผู้พิพากษาในภาคให้มากกว่านี้ ไม่ได้ไป
พบในลักษณะที่ว่าจะให้ตั้งกรรมการสอบสวนโจทก์ร่วม แม้ตามบันทึกเรื่อง
ราวที่จำเลยมอบให้ ส. จะมีข้อความเกินเลยไปบ้าง แต่ก็มีลักษณะเป็นการ
ปรับทุกข์และระบายความทุกข์กับ ส. ที่ดูแลผู้พิพากษาภายในภาค 7 การก
ระทำของจำเลยจึงไม่เป็ นความผิดฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตาม
หน้ าที่หรือเพราะได้กระทำการตามหน้ าที่ และดูหมิ่นศาลหรือผู้พิพากษาใน
การพิจารณาหรือพิพากษาคดีตาม ป.อ. มาตรา 136 และ 198

7
ดูหมิ่น

คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 1650/2514

จำเลยถูกฟ้ องคดีอาญาเรื่องหนึ่ง ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์
พิพากษาลงโทษจำเลย ขณะคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของ ศาลฎีกา
จำเลยได้ประพันธ์ พิมพ์ และนำออกโฆษณา ทำให้ แพร่หลายไปถึง
ประชาชนซึ่งเอกสารสิ่งพิมพ์ กล่าวถึงการก ระทำของผู้ทำการแทนใน
ตำแหน่งอธิบดีผู้พิพากษาศาล อุทธรณ์ว่าเป็นผู้จัดให้ผู้พิพากษาศาล
อุทธรณ์พิจารณาคดี และตัวผู้ทำการแทนฯ เองก็มีพฤติการณ์ให้การ
พิพากษาคดี ดังกล่าวเป็นไปโดยรวบรัดไม่ชอบด้วยหลักยุติธรรมและ
กล่าวถึงการกระทำของศาลอาญาศาลอุทธรณ์ และผู้ พิพากษาที่พิจารณา
พิพากษาคดีนั้นว่า "พิพากษาลงโทษ จําเลย โดยไม่คํานึงถึงหลัก
กฎหมาย หลักความยุติธรรม ประชาชนผู้ได้รับความเดือดร้อนจะวิ่งไป
ขอความยุติธรรม ต่อศาลให้สิ้นเปลืองเงินทองเพื่อประโยชน์อันใด..."
ดังนี้ เป็นข้อความที่เรียกได้ว่าจำเลยกล่าวในทำนองตำหนิศาล อาญา
ศาลอุทธรณ์ และผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะที่ท่าการ พิจารณาพิพากษา
คดีนั้น ไม่เป็นที่พึ่งของประชาชน นับว่า เป็นการกระทำที่แสดงต่อศาล
หรือผู้พิพากษาในการ พิจารณาคดีจึงเป็นถ้อยค่าดูหมิ่นศาลหรือผู้
พิพากษาตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 198เมื่อการกระทำของ
จำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมาย อาญามาตรา 198 แล้ว ย่อม
ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 136 อีก (อ้างฎีกาที่ 1456/2506)

8
แจ้งความเท็จ

แจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานทั่วไป

มาตรา 137 ผู้ใดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน
ซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหาย ต้องระวางโทษ

แจ้งข้อความ หมายถึง บอกข้อความให้ทราบ ซึ่งอาจเป็นการ
แจ้งด้วยวาจา แสดงกิริยาอาการ หรือทำเป็นลายลักษณ์อักษร
ก็ได้

ข้อความอันเป็ นเท็จ หมายถึง ข้อความที่แสดงออกมาไม่ตรง
กับความเป็ นจริง

องค์ประกอบความผิด
องค์ประกอบภายนอก
1.ผู้ใด
2.แจ้งข้อความอันเป็ นเท็จ
3.แก่เจ้าพนักงาน
4.ซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหาย
องค์ประกอบภายใน

เจตนาธรรมดา ปอ.มาตรา59 วรคคสอง

9
แจ้งความเท็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 981/2561
การที่จำเลยรู้ว่ามิได้เกิดเหตุลักทรัพย์รถกระบะ แต่กลับ

แจ้งแก่พนักงานสอบสวนว่ามีคนร้ายลักทรัพย์รถกระบะที่
จำเลย เช่าซื้อไป เพื่อจะนำเงินที่ได้รับจากบริษัทผู้รับประกัน
ภัยไปชำระค่างวดแก่ธนาคาร ก. ผู้ให้เช่าซื้อ การกระทำของ
จำเลยเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 173 อันเป็นบทบัญญัติ
เฉพาะแล้ว ไม่จำต้องปรับบทตามมาตรา 137 อันเป็น
บทบัญญัติว่าด้วยการแจ้งข้อความอันเป็ นเท็จแก่เจ้าพนักงาน
ทั่ว ๆ ไปอีก และเมื่อไม่เกิดมีความผิดอาญาฐานลักทรัพย์เกิด
ขึ้นในคดีนี้ จึงไม่เป็นความผิดตามมาตรา 172

10
แจ้งความเท็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4017/2560
ขณะที่จำเลยที่ 1 ไปจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาททั้งสอง
แปลงเพื่อประกันหนี้เงินกู้ให้แก่จำเลยที่ 3 เมื่อวันที่ 5 ส.ค.
2556 คดีที่โจทก์ทั้งเจ็ดฟ้ อง ล. กับจำเลยที่ 1 ขอให้เพิกถอน
นิติกรรมการโอนที่ดินทั้งสองแปลงอยู่ในระหว่างฎีกายังไม่
ถึงที่สุดดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 แจ้งข้อความตามที่ปรากฏใน
โฉนดที่ดินทั้งสองแปลงต่อเจ้าพนักงานที่ดินผู้จดทะเบียน
จำนองในขณะนั้นว่า จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของที่ดินทั้งสอง
แปลง ซึ่งก็ตรงตามเอกสารที่แท้จริง จึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1
แจ้งข้อความตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏ ทั้งเจ้าพนักงานที่ดินผู้
จดทะเบียนจำนองไม่ได้สอบถามจำเลยที่ 1 ว่ามีคดีพิพาท
เกี่ยวกับที่ดินหรือไม่ และจำเลยที่ 1 มิได้หลอกลวงให้เจ้า
พนักงานที่ดินจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาททั้งสองแปลง
การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นความผิดตาม ป.อ.
มาตรา 137 และ 267

11
แจ้งความเท็จ
แจ้งความเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญา

มาตรา 172 ผู้ใดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับควาผิด
อาญา แก่พนักงานอัยการ ผู้ว่าคดี พนักงานสอบสวนหรือเจ้า
พนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญา ซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นหรือ
ประชาชนเสียหาย ต้องระวางโทษ

บทบัญญัติตามมาตรา 172 เป็นการแจ้งความเท็จเกี่ยว
กับความผิดอาญาโดยเฉพาะ หมายถึง การแจ้งข้อความที่
เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดีอาญาแก่ผู้กระทำความผิด เช่น
มีผู้มาลักทรัพย์ไปแต่กลับแจ้งว่าทำทรัพย์นั้นตกหายเอง
เห็นผู้มีกระทำความผิดในเวลากลางวัน แต่บอกว่าเห็นใน
เวลากลางคืน

12
แจ้งความเท็จ

องค์ประกอบความผิด

องค์ประกอบภายนอก

1.ผู้ใด
2.แจ้งข้อความอันเป็ นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญา
3.แก่เจ้าพนักอัยการ ผู้ว่าคดี หนักงานสอบสวนหรือเจ้า
พนักงานผู้มีอำนาจสอบสวนคดีอาญา
4.ซึ่งอาจทำให้ประชาชนหรือผู้อื่นเสียหาย

องค์ประกอบภายใน

เจตนาธรรมดา ปอ.มาตรา 59
วรรคสอง

13
แจ้งความเท็จ

คำพิพากษาฎีกาที่ 897/2507
จำเลยไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวน โดยเล่าเรื่องให้ฟัง
ตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่า จำเลยไม่เห็นคนยิง แต่เชื่อหรือ
เข้าใจว่า โจทก์เป็นผู้ยิง พนักงานสอบสวนได้สรุปข้อความ
ตามคำแจ้งความ แล้วให้ตำรวจบันทึกคำแจ้งความไว้ มีความ
ตอนหนึ่งว่าโจทก์ใช้ปืนพกยิง จำเลยเข้าใจว่า โจทก์มีเจตนา
จะยิงจำเลยให้ถึงแก่ความตาย จำเลยไปแจ้งความ โดยเล่า
เรื่องตามที่เกิดขึ้น ซึ่งมีเหตุการณ์ทำให้จำเลยเข้าใจเช่นนั้น
ได้ ข้อความที่บันทึกไว้นั้นก็เป็นข้อความที่พนักงานสอบสวน
บอกให้ตำรวจเขียน ไม่ใช่ถ้อยคำที่จำเลยแจ้งโดยแท้จริง ทั้ง
มีพฤติการณ์ต่อมาแสดงว่า จำเลยมิได้เจตนาแกล้งเอาความ
เท็จไปกล่าวหาโจทก์ การกระทำของจำเลยจึงยังไม่เป็นความ
ผิดฐานแจ้งความเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญา

14
แจ้งความเท็จ

คำพิพากษาฎีกาที่ 1017/2505
คดีที่โจทก์ฟ้ องว่า จำเลยบังอาจแจ้งความเท็จต่อเจ้าหน้ าที่
ตำรวจว่า โจทก์บุกรุกเข้าไปอยู่ในห้องของจำเลยนั้น แม้จำเลย
ผู้แจ้ง จะไม่ประสงค์ให้เจ้าพนักงานดำเนินคดีอาญาก็ตาม แต่ก็
เห็นเจตนาของจำเลยได้แล้วว่า ต้องการให้ตำรวจจับโจทก์ไป
เสียจากห้องที่อยู่ดังกล่าว ข้อเท็จจริงได้ความว่า เนื่องจากคำ
แจ้งความของจำเลย เจ้าหน้ าที่ตำรวจได้เรียกโจทก์ไป
สอบสวน เมื่อโจทก์นำสืบชั้นไต่สวนมูลฟ้ องได้เช่นนี้ ซึ่งถ้าเป็น
จริงโจทก์จะได้รับความเสียหาย ย่อมถือว่าคดีของโจทก์มีมูล
แล้ว

15
ต่อสู้ขัดขวาง
ต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน

มาตรา 138 ผู้ใดต่อสู้ หรือขัดขวางเจ้าพนักงานหรือผู้ซึ่ง
ต้องช่วยเจ้าพนักงานตามกฎหมายในการปฏิบัติการตาม
หน้ าที่ ต้องระวางโทษ
วรรคสอง ถ้าการต่อสู้หรือขัดขวางนั้น ได้กระทำโดยใช้กำลัง
ประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย ผู้กระทำต้อง
ระวางโทษ

ต่อสู้ หมายถึง ต่อต้านโดยจำนงให้เกิดผลต่อเนื้อตัว
ร่างกายของอีกฝ่ายหนึ่ง เช่น จับตัว ผลักออก ชกต่อย

ขัดขวาง หมายถึง ต่อต้านโดยจำนงให้อีกฝ่ายหนึ่งไม่สามารถ
ทำให้บรรลผลหรือเกิดความยากลำบากในการกระทำให้
บรรลุผล

จำแนกเป็ น2กรณี
1.ผู้กระทำผิดขัดขวางเอง
2.ผู้อื่ นเป็ นคนขัดขวาง

16
ต่อสู้ขัดขวาง

องค์ประกอบความผิด
องค์ประกอบภายนอก
1.ผู้ใด
2.ต่อสู้ขัดขวาง
3.บุคคลดังต่อไปนี้
เจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้ าที่หรือ
ผู้ซึ่งต้องช่วยเจ้าพนักงานตามกฎหมายในการปฏิบัติการ
ตามหน้ าที่

องค์ประกอบภายใน

เจตนาธรรมดา ปอ.มาตรา59 วรรคสอง

เหตุที่ทำให้รับโทษหนั กขึ้น
เหตุฉกรรจ์ตามวรรคสอง รับโทษหนักขึ้นถ้าการต่อสู้หรือขัด
ขวางนั้นได้กระทำโดยวิธีการดังต่อไปนี้

1.โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือ
2.โดยขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย

17
ต่อสู้ขัดขวาง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6875/2557
พ.ร.บ.การขุดดินและถมดิน พ.ศ.2543 มาตรา 30 เป็น
บทบัญญัติให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้ าที่ตามพระราชบัญญัติดัง
กล่าวเข้าไปในสถานที่ที่มีการขุดดินหรือถมดินเพียงเพื่อ
ตรวจสอบว่ามีการฝ่ าฝื นพระราชบัญญัตินี้หรือกฎกระทรวง
หรือข้อบัญญัติท้องถิ่นหรือประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัติ
นี้หรือไม่เท่านั้น กรณีหาจำต้องมีหมายค้นของศาลไม่ เมื่อผู้
เสียหายแสดงตนเป็นเจ้าพนักงานตาม พ.ร.บ.การขุดดินและ
ถมดิน พ.ศ.2543 และแจ้งว่ามีความประสงค์จะตรวจสอบ
ที่ดินตามที่มีการแจ้งว่ามีการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.การ
ขุดดินและถมดิน พ.ศ.2543 แต่จำเลยไม่ยอมให้เข้าไปใน
ที่ดินเพื่อตรวจสอบ การกระทำของจำเลยจึงมีเจตนาขัดขวาง
ผู้เสียหายอันเป็ นความผิดฐานขัดขวางเจ้าพนักงานในการ
ปฏิบัติหน้ าที่ตาม ป.อ. มาตรา 138 วรรคหนึ่ง

18
ต่อสู้ขัดขวาง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1240/2554
สิบตำรวจเอก ป. แจ้งข้อหาจำเลยว่า เล่นการพนันจับยี่กีโดย
เป็นคนเดินโพยฝ่ายเจ้ามือ จำเลยปฏิเสธ สิบตำรวจเอก ป. กับ
พวกรวม 5 คน จะเข้าจับกุม จำเลยไม่ยินยอมโดยสิบตำรวจ
เอก ป. มีรูปร่างใหญ่กว่าจำเลยมาก การที่จำเลยเดินหนีออก
นอกร้านก๋วยเตี๋ยวจนสิบตำรวจเอก ป. กับพวกต้องใช้กำลัง
ล็อกแขน กดหน้ าจำเลยกับพื้นระเบียงเพื่อใส่กุญแจมือจำเลย
ในลักษณะไขว้หลัง ขณะจำเลยดิ้นรนขัดขืนเพื่อให้พ้นจากการ
ถูกควบคุมตัวเพราะเห็นว่าตัวเองไม่ได้กระทำผิด ซึ่งแม้ในการ
ดิ้นรนของจำเลยจะเป็นเหตุให้มือของจำเลยไปโดนหน้ าอก
ของสิบตำรวจ ป. เกิดเป็นรอยถลอกขนาดเล็กก็ตาม แต่การก
ระทำดังกล่าว ก็ยังไม่ถึงขั้นที่จะเป็นการต่อสู้ขัดขวางเจ้า
พนักงานซึ่งกระทำการตามหน้ าที่ตาม ป.อ. มาตรา 138

19
ให้สินบน
ให้สินบนแก่เจ้าพนักงานทั่วไป

มาตรา 144 ผู้ใดให้ ขอให้หรือรับว่าจะให้ทรัพย์สิน หรือ
ประโยชน์อื่นใดแก่เจ้าพนักงาน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ
สมาชิกสภาจังหวัดหรือสมาชิกสภาเทศบาล เพื่อจูงใจให้กระทำ
การ ไม่กระทำการ หรือประวิงการกระทำอันมิชอบด้วยหน้ าที่
ต้องระวางโทษ

ให้ หมายถึง มอบโดยส่งหรือยื่นให้เพราะถูกเรียก
ขอให้ หมายถึง ขอมอบให้โดยส่งหรือยื่นให้โดยไม่ได้ถูกเรียก
รับว่าจะให้ หมายถึง สัญญาว่าจะมอบให้ในอนาคตไม่ว่าจะถูก
เรียกหรือไม่ก็ตาม

ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด ก็เป็นไปตามที่อธิบายไว้ใน
มาตรา143 เช่น เงินค่าเคลียร์แรงงานต่างด้าวที่ให้แก่ตำรวจมิ
ให้ถูกดำเนินคดี

20
ให้สินบน

ประเด็นสำคัญของความผิดฐานให้สินบนแก่เจ้าพนักงานอยู่
ที่เจตนาพิเศษ คือ เพื่อจูงใจให้กระทำการ ไม่กระทำการ
หรือประวิงการกระทำ อันมิชอบด้วยหน้าที่ ซึ่งสามารถ
แบ่งแยกพิจารณาออกเป็น 3 ข้อ ดังนี้

1.เพื่อจูงใจให้กระทำการ เช่น ให้สินบนเพื่อขอให้ตำรวจ
เปลี่ยนข้อหาจากหนักเป็ นเบา
2.เพื่อจูงใจให้ไม่กระทำการ เช่น เมื่อถูกจับก็ให้สินบนเพื่อ
ไม่ให้ตำรวจจับกุม
3.เพื่อจูงใจให้ประวิงการกระทำ เช่น ให้สินบนเพื่อให้หน่วง
คดีเอาไว้จนหมดอายุความ

21
ให้สินบน

องค์ประกอบความผิด

องค์ประกอบภายนอก
1.ผู้ใด
2.กระทำการอย่างหนี่งอย่างใดดังต่อไปนี้
ให้
ขอให้ หรือ
รับว่าจะให้
3.ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่น
4.แก่เจ้าพนักงาน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ สมาชิกสภา
จังหวัด สมาชิกสภาเทศบาล

องค์ประกอบภายใน
1.เจตนาธรรมดา ปอ.มาตรา59 วรรคสอง
2.เจตนาพิเศษ เพื่อจูงใจให้กระทำการ ไม่กระทำการ หรือ
ประวิงการกระทำอันมิชอบด้วยหน้ าที่

22
ให้สินบน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1262/2547
การที่เจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมผู้กระทำผิดมีหน้ าที่ต้องเบิก
ความต่อศาลตามความสัจจริงในระหว่างเป็ นพยานในคดีที่ผู้
กระทำความผิดถูกฟ้ อง เป็นหน้ าที่อย่างเดียวกับประชาชน
ทั่วไปหาใช่เป็นหน้ าที่โดยตรงอันสืบเนื่องมาจากที่เป็นเจ้า
พนักงานผู้จับกุมผู้กระทำความผิดไม่ หน้ าที่ที่ต้องเบิกความ
ตามความสัจจริงจึงไม่เป็นการกระทำการในหน้ าที่ของเจ้า
พนักงานโดยเฉพาะ แม้จำเลยจะให้และรับว่าจะให้เงินแก่
ร้อยตำรวจโท ท. กับพวก เพื่อจูงใจเจ้าพนักงานดังกล่าวเบิก
ความผิดไปจากความจริง ก็ไม่เป็นความผิดตามประมวล
กฎหมายอาญา มาตรา 144

23
ให้สินบน
ให้สินบนเจ้าพนักงานในการยุติธรรม

มาตรา 167 ผู้ใดให้ ขอให้ หรือรับว่าจะให้ทรัพย์สินหรือ
ประโยชน์อื่นใด แก่เจ้าพนักงานในตำแหน่งตุลาการ
พนักงานอัยการ ผู้ว่าคดีหรือพนักงานสอบสวน เพื่อจูงใจให้
กระทำการ ไม่กระทำการหรือประวิงการกระทำใดอันมิ
ชอบด้วยหน้ าที่ ต้องระวางโทษ

เจ้าพนักงานในตำแหน่งตุลาการ หมายถึง เจ้าพนักงาน
ผู้มีอำนาจหน้ าที่ในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีต่างๆ ซึ่ง
ได้แก่ ผู้พิพากษา

พนักงานอัยการ หมายถึง ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง
เป็ นพนักงานอัยการ

ผู้ว่าคดี เดิมมีบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวง
และวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 5
แต่ต่อมาตำแหน่งนี้ถูกยกเลิกไป

พนักงานสอบสวน หมายถึง เจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายให้มี
อำนาจและหน้ าที่ทำการสอบสวน

24
ให้สินบน

องค์ประกอบความผิด

องค์ประกอบภายนอก ผู้ว่า
1.ผู้ใด
2.กระทำการอย่างหนี่งอย่างใดดังต่อไปนี้
ให้
ขอให้ หรือ
รับว่าจะให้
3.ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่น
4.แก่เจ้าพนักงานในตำแหน่งตุลาการ พนักงานอัยการ
คดีหรือพนักงานสอบสวน

องค์ประกอบภายใน หรือ
1.เจตนาธรรมดา ปอ.มาตรา59 วรรคสอง
2.เจตนาพิเศษ เพื่อจูงใจให้กระทำการ ไม่กระทำการ
ประวิงการกระทำอันมิชอบด้วยหน้ าที่

25
ให้สินบน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3700/2529
ข้อความในจดหมายที่จำเลยเขียนถึง บ.พนักงาน

สอบสวน มีลักษณะขอร้องให้ บ.ช่วยเปรียบเทียบปรับผู้
ต้องหาให้คดีเสร็จเด็ดขาดไปในชั้นสถานีตำรวจโดยไม่ต้อง
ให้คดีถึงศาลเท่านั้น เพื่อทั้งฝ่ายผู้ต้องหาและฝ่ายเจ้า
พนักงานตำรวจจะได้ไม่เสียเวลาและเป็ นการประหยัด
เพราะจำเลยมีความเห็นว่าไม่ว่าจะชั้นศาลหรือชั้นสถานี
ตำรวจก็ถูกลงโทษปรับเหมือนกัน จึงไม่พอแปลความหมาย
ได้ว่าจำเลยขอให้หรือรับว่าจะให้เงินทรัพย์สินหรือประโยชน์
อื่นใดแก่ บ. เพื่อจูงใจไม่ให้ดำเนินคดีแก่ผู้ต้องหาดังกล่าว
อันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 144,
167

26
รับสินบน

เจ้าพนักงานทั่วไปเรียกรับสินบน

มาตรา 149 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน สมาชิกสภา
นิติบัญญัติแห่งรัฐ สมาชิกสภาจังหวัด หรือสมาชิกสภา
เทศบาล เรียก รับ หรือยอมจะรับทรัพย์สิน หรือประโยชน์
อื่นใดสำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ เพื่อกระทำการ
หรือไม่กระทำการอย่างใดในตำแหน่งไม่ว่าการนั้นจะชอบ
หรือมิชอบด้วยหน้ าที่ ต้องระวางโทษ

เรียก หมายถึง เรียกร้องเอาโดยมิได้เสนอให้ เช่น เรียก
เงินผู้ขับขี่รถยนต์ที่ฝ่ าไฟแดง
รับ หมายถึง รับมอบเอาไว้จากการเสนอให้ เช่น เมื่อผู้
ขับขี่ถูกตำรวจจับข้อหาฝ่าไฟแดง ก็เสนอให้เงินแก่ตำรวจ
แล้วตำรวจยอมรับ
ยอมจะรับ หมายถึง ตกลงรับเอาไว้ตามที่มีผู้เสนอให้ แม้
จะยังไม่ได้มาก็ตาม เช่น เมื่อผู้ขับขี่ถูกตำรวจจับข้อหาฝ่า
ไฟแดง ก็เสนอให้เงินตำรวจในวันรุ่งขึ้นและตำรวจยอมรับ
ตกลงรับ
ความผิดสำเร็จเมื่อเรียก รับ หรือยอมจะรับ เเม้ว่าเรียก
หรือยอมจะรับแล้วแต่ยังไม่ทันได้ทรัพย์สินนั้นมาก็ตาม

27
รับสินบน

ทรัพย์สินหรือประโยชน์ อื่ นใดสำหรับตนเองหรือผู้อื่ น
สิ่งที่เจ้าพนักงาน รับหรือยอมจะรับนั้น ได้แก่ ทรัพย์สิน หรือ
ประโยชน์อื่นใด ตามที่ได้อธิบายแล้ว ในมาตรา 148 โดยจะรับ
ไว้ด้วยตนเองหรือให้ผู้อื่นรับไว้ก็ได้

โดยมิชอบ หมายความว่า โดยไม่มีอำนาจที่จะเรียก รับ
หรือจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์นั้นได้ตามกฎหมาย กฎ
ข้อบังคับ

ไม่ว่าการนั้นจะชอบหรือมิชอบด้วยหน้าที่ แสดงให้เห็น
ถึงเจตนารมณ์ของมาตรา 149 ที่ไม่ประสงค์ให้เจ้าพนักงาน
รับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด

เพื่อกระทำการไม่กระทำการอย่างใดในตำแหน่ง หมายถึง
กระทำหรือไม่กระทำในขอบเขตตำแหน่งหน้ าที่ แต่จะได้มี
การกระทำการหรือไม่กระทำการในตำแหน่งตาเจตาพิเศษนั้น
หรือไม่ ไม่สำคัญ

28
รับสินบน

องค์ประกอบความผิด

องค์ประกอบภายนอก

1.ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ สมา
ชิกสภาจังหวัด สมาชิกสภาเทศบาล

2.เรียก รับ ยอมจะรับ
3.ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด
4.โดยมิชอบ
5.ไม่ว่าการนั้นจะชอบหรือมิชอบด้วยหน้ าที่

องค์ประกอบภายใน
เจตนาธรรมดา ปอ.มาตรา59 วรรคสอง
เจตนาพิเศษ เพื่อกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใดใน
ตำแหน่ง

29
รับสินบน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13650/2558
แม้ก่อนบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้าทำงานในเทศบาล

ตำบลหนองปล่อง จำเลยจะมิได้เกี่ยวข้องหรือมีอำนาจ
หน้ าที่ในการสอบคัดเลือก ควบคุมการสอบ การตรวจ
ข้อสอบ และการให้คะแนนก็ตาม แต่เมื่อจำเลยมีอำนาจ
ออกคำสั่งเกี่ยวกับการบรรจุและแต่งตั้งพนักงานเทศบาล
หรือการอื่นใดที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของเทศบาล
ทั้งนี้ตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น
พ.ศ.2542 มาตรา 23 วรรคท้าย ประกอบมาตรา 15 การ
ดำเนินการดังกล่าวข้างต้นจึงเป็ นส่วนหนึ่ งของการบรรจุ
และแต่งตั้งพนักงานเทศบาลซึ่งเป็นอำนาจหน้ าที่ของจำเลย
เมื่อจำเลยเรียกเงินและรับเงินจำนวน 330,000 บาท จาก
ป. เพื่อช่วยเหลือให้ น. บุตร ป. เข้าทำงานเป็นพนักงาน
เทศบาลตำบลหนองปล่อง จำเลยจึงเป็นเจ้าพนักงานผู้
มีหน้ าที่ออกคำสั่งเกี่ยวกับการบรรจุและแต่งตั้งพนักงาน
เทศบาลตำบลหนองปล่องเรียกและรับทรัพย์สินสำหรับ
ตนเองโดยมิชอบแล้วกระทำการในตำแหน่งเพื่อช่วยเหลือ
น. ให้เข้าทำงานเป็นพนักงานเทศบาลตำบลหนองปล่อง อัน
เป็นการกระทำอันมิชอบด้วยหน้ าที่ ครบองค์ประกอบของ
ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 149 แล้ว

30
รับสินบน
เจ้าพนักงานในการยุติธรรมเรียกรับสินบน

มาตรา 201 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงานในตำแหน่งตุลาการ
พนักงานอัยการ ผู้ว่าคดี หรือพนักงานสอบสวน เรียก รับ
หรือยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดสำหรับตนเอง
หรือผู้อื่นโดยมิชอบเพื่อกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใด
ในตำแหน่ง ไม่ว่าการนั้นจะชอบหรือมิชอบด้วยหน้ าที่ ต้อง
ระวางโทษ

เจ้าพนักงานในตำแหน่งตุลาการ หมายถึง เจ้าพนักงานผู้
มีอำนาจหน้ าที่ในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีต่างๆ ซึ่ง
ได้แก่ ผู้พิพากษา

พนักงานอัยการ หมายถึง ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรง
ตำแหน่งเป็ นพนักงานอัยการ

ผู้ว่าคดี เดิมมีบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวง
และวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 5
แต่ต่อมาตำแหน่งนี้ถูกยกเลิกไป

พนักงานสอบสวน หมายถึง เจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายให้มี
อำนาจและหน้ าที่ทำการสอบสวน

31
รับสินบน

องค์ประกอบความผิด

องค์ประกอบภายนอก

1.ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงานในตำแหน่งตุลาการ พนักงานอัยการ
ผู้ว่าคดี พนักงานสอบสวน
2.เรียก รับ ยอมจะรับ
3.ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด
4.โดยมิชอบ
5.ไม่ว่าการนั้นจะชอบหรือมิชอบด้วยหน้ าที่

องค์ประกอบภายใน
เจตนาธรรมดา ปอ.มาตรา59 วรรคสอง
เจตนาพิเศษ เพื่อกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใดใน
ตำแหน่ง

32
รับสินบน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 931/2532
จำเลยบอกให้ ล. ลงลายมือชื่อแทน ท. ได้ ล. จึงปลอม

ลายมือชื่อ ท. ลงในคำร้องขอประกัน แล้วจำเลยร่วมกับ
ล.ขอประกันตัว อ.ผู้ต้องหาในคดีอาญาโดยใช้โฉนดที่ดินของ
ท.เป็นหลักทรัพย์ เสนอต่อพันตำรวจตรี ช.จนพันตำรวจตรี
ช.อนุญาตให้ประกันตัว อ. ได้ การกระทำของจำเลยจึงเป็น
ความผิดฐานร่วมกันทำเอกสารปลอมกระทงหนึ่ง และฐานใช้
เอกสารปลอมอีกกระทงหนึ่ งและการที่จำเลยเป็ นพนักงาน
สอบสวนมีหน้ าที่เสนอความเห็นต่อผู้บังคับบัญชาเกี่ยวกับ
การอนุญาตให้ประกัน อ. ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าล. ปลอมลายมือชื่อ ท.
ผู้ขอประกัน จำเลยก็ยังเสนอความเห็นว่าควรให้ประกัน อ.
ทั้งจำเลยยังรับทรัพย์สินสำหรับตนเองโดยมิชอบเพื่อกระทำ
การให้ อ. ได้รับประกันตัวไป การกระทำของจำเลยจึงเป็น
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และ
มาตรา 201 ด้วย

33

บรรณานุกรม

ศาสตราจารย์ ดร. คณพล จันทน์หอม. คำอธิบายกฎหมาย
อาญาภาคความผิด1. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: วิญญูชน,
2565.

นพนภัสทนายความเชียงใหม่. 2562. คำพิพากษาที่
เกี่ยวข้องกับมาตราในหนังสือเล่มนี้.สืบค้น 14 กันยายน
2565.https://www.นพนภัสทนายความเชียงใหม่.com/
ประมวลกฎหมายอาญา%20มาตรา%20201.html


Click to View FlipBook Version