เรอื่ งท่ี ๑๔/๒๕๖๔
วนั ท่ี ๒๒ เมษายน ๒๕๖๔
ระบบกลา่ วหาและระบบไต่สวนกับบทบาทของค่คู วามและศาล
ดร.ธนกฤต วรธนัชชากุล
เรอ่ื งระบบกล่าวหาและระบบไตส่ วนกบั บทบาทของคูค่ วามและศาลน้ี ประการแรกจะได้กลา่ วถึง
ระบบกล่าวหากับบทบาทของคู่ความและศาล และจากนั้นจะได้กล่าวถึงระบบไตส่ วนกับบทบาทของคูค่ วาม
และศาล เปน็ ประการต่อไป
๑. ระบบกล่าวหา (Accusatorial Procedure) กบั บทบาทของคู่ความและศาล
ในเรอ่ื งระบบกล่าวหา (Accusatorial Procedure) กบั บทบาทของคคู่ วามและศาลจะได้กล่าวถึง
ลกั ษณะของระบบกล่าวหาในเชิงโครงสรา้ ง และลกั ษณะสำคญั ของระบบกล่าวหาทีม่ ีผลต่อบทบาทของคคู่ วาม
และศาล
๑.๑ ลกั ษณะของระบบกล่าวหาในเชิงโครงสร้าง
ระบบวธิ ีพิจารณาคดีแบบกล่าวหาเปน็ ระบบวิธีพจิ ารณาคดที ีเ่ ปิดเผย (Public) ใชว้ าจา (Oral)
และมกี ารโต้แยง้ คัดคา้ น (Contradictory) ของคูค่ วามทง้ั ๒ ฝ่าย กล่าวคือ ระบบกลา่ วหา เป็นวธิ ีพิจารณาคดี
ทเี่ ปิดเผย ไมใ่ ชว้ ธิ ีพิจารณาคดแี บบลบั ทำให้ประชาชนทกุ คนสามารถเขา้ ร่วมฟังการพจิ ารณาคดีได้ ประชาชน
ทั่วไปสามารถพบเห็นโจทก์ จำเลย ผู้พิพากษาในห้องพิจารณาคดีได้ เปน็ วธิ พี ิจารณาคดที ่ใี ช้วาจา เพอื่ ใหท้ กุ คน
สามารถไดย้ ินและเขา้ ใจได้ โดยไม่มีความจำเป็นต้องใช้เอกสารแต่อยา่ งใด นอกจากน้ี ระบบกล่าวหายงั มีความ
เหมาะสมกับสภาพสังคมในยุคดั้งเดิม ซึง่ มีเพียงคนสว่ นน้อยเท่านั้นที่จะสามารถเขียนหนงั สือได้ และเป็นวิธี
พิจารณาคดีท่มี ีการโต้แยง้ คดั คา้ น (une procédure contradictoire) ระหวา่ งคู่ความในคดี การดำเนินคดีตอ้ ง
กระทำต่อหน้าคคู่ วามท้งั โจทก์และจำเลย และค่คู วามในคดีสามารถใช้สิทธิต่อสูโ้ ตแ้ ย้งไดเ้ สมอ๑
น.บ. (ธรรมศาสตร์) น.บ.ท. D.S.U. (PANTHÉON-ASSAS (PARIS II)) สาขากฎหมายแพ่ง, D.E.A. สาขากฎหมายเอกชน, DOCTORAT
EN DROIT PRIVÉ (NOUVEAU RÉGIME) STRASBOURG (เกียรตินิยมดีมาก) สาขากฎหมายเอกชน, ผู้อำนวยการสำนักงาน
ประสานงานกระบวนการยตุ ิธรรม สถาบนั นิติวัชร์ สำนกั งานอยั การสูงสดุ
๑ วรรณชัย บญุ บำรุง, ธนกฤต วรธนชั ชากลุ , สริ พิ นั ธ์ พลรบ, หลักและทฤษฎกี ฎหมายวธิ ีพิจารณาความแพ่ง เลม่ ๑, พมิ พ์
ครัง้ ท่ี ๒ (กรุงเทพมหานคร : สำนักพมิ พ์วิญญูชน, ๒๕๔๙), หน้า ๗๘.
๒
เดิมทีเดยี วผู้พิพากษาที่ตัดสนิ คดีในระบบกลา่ วหาไม่ใช่ผู้พิพากษาอาชีพที่เป็นองค์กรของรัฐ
แตเ่ ปน็ บุคคลธรรมดาท่ีคคู่ วามมอบอำนาจให้ทำหน้าทผ่ี ู้พิพากษา เพอื่ ชีข้ าดข้อขัดแย้งของคู่ความซ่ึงเป็นที่มา
ของคณะลกู ขุน
ระบบกล่าวหายังเป็นระบบที่วางหลักการให้คู่ความในคดีมีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน
อย่างไรก็ตาม หลักการนีอ้ าจไม่เป็นผล เมื่อคูค่ วามอีกฝ่ายหนึง่ อยู่ในสถานะทีเ่ หนือกวา่ อีกฝ่ายหนึง่ เนื่องจาก
ฐานะทางสงั คม อำนาจต่อรองทางเศรษฐกจิ หรือความร้ทู างดา้ นเทคนคิ เปน็ ต้น นอกจากน้ี ระบบกล่าวหาเปน็
ระบบที่มีการกำหนดรูปแบบของพยานหลักฐานเป็นจำนวนมาก (un grand formalisme des preuves)
ซ่ึงจะเห็นไดจ้ ากการกำหนดใหม้ รี ะบบพยานหลักฐานโดยกฎหมายไว้๒
นอกจากนี้ ระบบกล่าวหาในคดีอาญาเปน็ ระบบวิธพี จิ ารณาคดีทม่ี กี ารดำเนินคดีเพียงข้ันตอน
เดียว คือ ในชั้นพิจารณาพิพากษาคดเี ทา่ นั้น ผู้พิพากษาจะไมม่ ีบทบาทเชิงรุกและจะวางตัวเปน็ กลาง (passif
et neurte) โดยจะทำหน้าท่ีเป็นกรรมการตัดสินชี้ขาดข้อขัดแย้งภายใต้หลักเกณฑ์ที่คู่ความทั้ง ๒ ฝ่าย มีสิทธิ
เท่าเทียมกัน ผู้พิพากษาตัดสินคดีโดยใช้ดุลพินจิ พจิ ารณาจากพยานหลักฐานตามทีค่ ูค่ วามเสนอ โดยหน้าที่ใน
การแสวงหาข้อเทจ็ จริงและพยานหลักฐานเขา้ มาพิสูจน์ความจรงิ ในคดีเปน็ หนา้ ที่ของคู่ความ ซึ่งผู้พิพากษาจะไม่
เข้าไปยุ่งเกี่ยวในการแสวงหาพยานหลักฐานในคดี และไม่มีขั้นตอนที่ให้อำนาจศาลในการไต่สวนหา
พยานหลกั ฐานในคดี
๑.๒ ลักษณะสำคญั ของระบบกล่าวหาทีม่ ผี ลตอ่ บทบาทของคคู่ วามและศาล
ระบบกล่าวหาเป็นระบบวิธีพิจารณาคดีที่สอดคล้องกับหลักความประสงค์ของคู่ความ
(le principe dispositive หรอื The Principal of Party Disposition) ภายใต้ระบบกลา่ วหาขอบเขตของคดี
และเนื้อหาของคดีเป็นไปตามความประสงค์ของคู่ความ (nemo judex sine actore ; ne eat judex ultra
petita et allegata a partibus) คู่ความจะเปน็ ผ้กู ำหนดขอ้ เทจ็ จรงิ และเนอื้ หาแห่งคดี เป็นผู้กำหนดทิศทาง
และความเปน็ ไปของกระบวนพิจารณา
ระบบกล่าวหาจึงเป็นระบบวิธีพิจารณาคดีที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ของคู่ความในคดี คู่ความ
จะเป็นผูม้ ีบทบาทสำคัญในการริเริม่ คดี การดำเนินกระบวนพิจารณาคดี และในการแสวงหาพยานหลักฐาน
ผู้พิพากษาจะวางตัวในฐานะเป็นคนกลาง คอยควบคุมดูแลให้คู่ความทั้ง ๒ ฝ่ายปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ว่าด้วย
วิธีพิจารณาความที่กำหนดไว้ ศาลจะต้องถูกจำกัดกรอบให้พิจารณาเฉพาะสิง่ ที่คู่ความนำเสนอต่อศาลเท่านน้ั
ไม่มีอำนาจแสวงหาข้อเท็จจริงและพยานหลกั ฐานเพ่ิมเตมิ ด้วยตนเองได้๓
นอกจากน้ี ระบบกลา่ วหาเปน็ ระบบที่กำหนดระบบพยานหลักฐานโดยกฎหมาย (système de
preuves légales) ขึ้นมาใช้บังคบั ซ่ึงระบบพยานหลักฐานโดยกฎหมายนท้ี ำใหผ้ ู้พพิ ากษาถูกจำกดั อำนาจและ
บทบาทในการใชด้ ุลพินจิ พิจารณาพยานหลักฐานดว้ ยตนเอง
ระบบกล่าวหายังเป็นระบบวิธีพิจารณาคดีที่ต้องการคุ้มครองสิทธิของคู่ความในคดีให้ได้
อย่างมีประสทิ ธภิ าพ เนื่องจากคู่ความในคดีจะมบี ทบาทหลักในการริเริ่มคดี การดำเนินคดี และการแสวงหา
ขอ้ เทจ็ จรงิ ในคดี และมสี ิทธทิ จี่ ะโตแ้ ย้งตอ่ สคู้ ดีเชน่ เดียวกับผทู้ ีก่ ล่าวหาตน
ระบบกล่าวหาได้รับการยอมรับแต่ดั้งเดิมว่าเป็นระบบวิธีพิจารณาคดีที่คุ้มครองสิทธิของ
ผถู้ ูกดำเนินคดีอยา่ งมาก เน่ืองจากการพจิ ารณาคดีท่ีกระทำโดยเปิดเผย คคู่ วามในคดีสามารถโต้แย้งคัดค้านได้
และการทผ่ี ้พู พิ ากษาไมม่ บี ทบาทเชิงรุกในคดี ทำใหส้ ทิ ธิของคู่ความในคดไี ดร้ บั การคมุ้ ครอง
๒ Corinne RENAULT-BRAHINSKY, Procédure Pénale, 18e édition (Gualino, 2017-2018), p. 25.
๓ วรรณชยั บุญบำรงุ , ธนกฤต วรธนชั ชากลุ , สิริพันธ์ พลรบ, เรอื่ งเดิม, หน้า ๗๒ - ๗๘.
๓
การดำเนินกระบวนพิจารณาในระบบกล่าวหาจึงมีความแตกต่างจากระบบไตส่ วนเพราะใน
ระบบกล่าวหา คู่ความเป็นฝ่ายนำพยานหลักฐานเข้าสู่การพิจารณาคดีในศาล โดยที่ศาลไม่ได้เขา้ มามบี ทบาท
ในการคน้ หาพยานหลกั ฐานเพม่ิ เตมิ และซกั ถามพยานแตอ่ ย่างใด
นอกจากน้ี ระบบกลา่ วหาซง่ึ สอดคล้องกับหลกั ความประสงคข์ องค่คู วาม (le principe dispositif)
คู่ความจะเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในคดี โดยคู่ความมีสิทธิเลือกที่จะริเริ่มคดี กำหนดเนื้อหาของคดีตามท่ี
ตนต้องการ กำหนดแนวทางของการดำเนินคดี กำหนดพยานหลักฐานที่จะนำมาใช้ในคดี รวมทั้งมีสิทธิเลือก
ทจี่ ะงดหรอื ยุติการดำเนนิ คดี ดว้ ยการประนปี ระนอมยอมความ การถอนฟอ้ ง เป็นต้น ผูพ้ ิพากษาต้องถูกจำกัด
บทบาทภายใต้หลักความประสงค์ของคู่ความในเรื่องต่าง ๆ เช่น การกำหนดเหตุแห่งคำฟ้อง การกำหนด
ขอบเขตและประเดน็ ในคดี๔
สำหรับหลักความประสงค์ของคู่ความจะไมน่ ำไปใช้บังคับในคดีอาญาโดยเคร่งครัดเช่นเดียวกับ
ในคดีแพง่ เช่น ในคดีอาญานั้น การดำเนินคดีโดยอัยการไม่สามารถกระทำเช่นเดียวกับที่คู่ความที่เป็นเอกชน
กระทำในคดีแพ่งได้ อัยการในคดีอาญาไม่สามารถประนีประนอมยอมความ แสดงเจตจำนงสละสิทธิในการ
อุทธรณไ์ วล้ ว่ งหน้าตามหลักความประสงค์ของคคู่ วามเชน่ เดียวกับที่คู่ความในคดีแพง่ มสี ทิ ธิดำเนินการได้ และ
ในบางประเทศ การท่ผี เู้ สยี หายในคดอี าญาใชส้ ทิ ธิประนีประนอมยอมความหรือถอนฟ้องในคดีอาญาความผิด
ตอ่ แผ่นดนิ ไมท่ ำใหส้ ทิ ธิในการนำคดอี าญามาฟอ้ งของอัยการสิ้นสุดลงตามไปดว้ ย
๒. ระบบไตส่ วน (Inquisitorial Procedure) กบั บทบาทของคูค่ วามและศาล
ในเรื่องระบบไต่สวน (Inquisitorial Procedure) กับบทบาทของคู่ความและศาล จะได้กล่าวถงึ
ลกั ษณะของระบบไต่สวนในเชิงโครงสร้าง และลักษณะสำคญั ของระบบไต่สวนทมี่ ผี ลตอ่ บทบาทของคู่ความและศาล
๒.๑ ลักษณะของระบบไต่สวนในเชิงโครงสร้าง
ระบบไต่สวนนนั้ เกิดขนึ้ ภายหลงั ระบบกล่าวหา ลกั ษณะดงั้ เดมิ ของระบบไต่สวนนนั้ เปน็ ระบบ
วิธีพิจารณาคดีในกฎหมายโรมันและเป็นวิธีพิจารณาคดีที่ใช้ในศาลศาสนา (juridictions ecclésiastiques)
ซึ่งมีผู้นำในศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกเป็นผู้ชำระความ เป็นวิธีพิจารณาคดีแบบลับ ( secrète) ที่ใช้
เอกสาร (écrite) เป็นหลัก และไม่มีการโต้แย้งคัดค้าน (non contradictoire) ระหว่างคู่ความในคดีโดยการ
ดำเนินคดีในระบบไต่สวนจะแบ่งออกเป็นหลายขั้นตอน แตกต่างจากระบบกล่าวหาที่มีขั้นตอนเดียวตามที่ได้
กลา่ วไปแล้ว
ระบบไตส่ วน (Inquisitorial System ) ในคดีอาญาของยโุ รปนัน้ มลี ักษณะดง้ั เดมิ ทศ่ี าลมีบทบาท
ทั้งสอบสวนฟ้องรอ้ งและพจิ ารณาพพิ ากษาคดี โดยผ้ถู กู กล่าวหามฐี านะเป็นผถู้ ูกซักฟอกจากการไต่สวนของศาล
ซึ่งมีลักษณะเป็นกรรมในคดี (object) ซึ่งระบบไต่สวนแบบดั้งเดิมนี้มีข้อเสียคือเป็นการให้อำนาจขี้ขาดทั้ง
กระบวนการอยู่ในดุลพินิจของคนหรือองค์คณะเดียว โดยไม่มีการตรวจสอบหรือคานอำนาจหน้าที่ ดังนั้น
การพิจารณาคดจี ึงไมไ่ ด้เกิดจากความบรสิ ทุ ธิ์ใจ หรือเกิดอคตไิ ด้ง่าย และการทถ่ี ือวา่ จำเลยเปน็ กรรมในคดีและ
ถูกซักฟอก จำเลยจึงไม่มโี อกาสไดต้ อ่ สูค้ ดีและแกข้ ้อกล่าวหา อีกท้ังการค้นหาความจรงิ ของศาลอาจมีการข่มขู่
ทรมาน ให้จำเลยรบั สารภาพได้ จึงทำให้การค้นหาความจริงเกดิ ความผิดพลาดและไม่เปน็ ธรรมได้ ซึ่งอิทธิพล
ของกระบวนพิจารณานี้มาจากการชำระความของผู้นำในศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ซึ่งประเทศที่ใช้
ระบบน้ี คอื ฝร่งั เศส เยอรมัน และอิตาลี เปน็ ต้น๕
๔ เรื่องเดยี วกัน, หนา้ ๗๓ และ ๗๘.
๕ ณรงค์ ใจหาญ และคณะ, รายงานการศึกษาฉบบั สมบูรณ์ โครงการพฒั นาระบบการสอบสวนในคดที จุ ริตและประพฤติมิ
ชอบและคดีค้ามนษุ ย์ ให้เปน็ ไปในทิศทางเดียวกับระบบไต่สวนตามพระราชบัญญัติวธิ พี จิ ารณาคดที ุจริตและประพฤตมิ ิ
๔
ส่วนการดำเนินคดีในระบบกล่าวหา (Adversarial System) เป็นระบบทีแ่ ก้ไขปัญหาระบบ
ไต่สวนที่ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรม ที่รวมอำนาจในการสอบสวนฟ้องรอ้ งและการพิจารณาคดีอยู่ในองค์กร
เดยี วกัน และไม่เปิดโอกาสให้จำเลยตอ่ สู้คดีหรือแกข้ ้อกล่าวหาได้ ดังน้ัน ระบบกลา่ วหาจงึ แยกหนา้ ท่ีสอบสวน
และฟ้องรอ้ ง" ออกจากหนา้ ที่ใน "การพิจารณาพพิ ากษา" โดยให้องคก์ รท่ที ำหน้าที่ทั้งสองแยกต่างหากจากกัน
และยกฐานะของผู้ถกู กล่าวหาเป็น "ประธานในคดี" จึงไม่อยู่ในฐานะถูกซกั ฟอกหรือเปน็ กรรมในคดี แต่ถือวา่
เป็นคน และเป็นสว่ นหนึง่ ในการพจิ ารณาคดี มสี ิทธติ ่าง ๆ เพอ่ื เปิดโอกาสให้สามารถตอ่ สูค้ ดไี ดอ้ ย่างเต็มท่ี และ
ห้ามมิให้ดำเนินคดีอันมิชอบแก่ผู้ถูกกล่าวหา ซึ่งหมายถึงเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องให้ความเคารพต่อสิทธิอันเปน็
หลักประกันของผู้ถูกกล่าวหา ในการดำเนินคดขี องศาลนั้น ศาลจะดำเนินคดตี ่อเม่ือพนักงานอยั การฟอ้ งร้อง
ตอ่ ศาล และศาลจะมีคำพพิ ากษาหรอื ส่ังเกนิ กว่าที่ขอมาในฟอ้ งไมไ่ ด้๖
สำหรับระบบไต่สวนนั้นทำให้เกิดมีอัยการขึ้นมา โดยเห็นว่าการดำเนินคดีไม่ใช่เรื่องของ
เอกชนอีกต่อไป การกล่าวหาฟ้องร้องในคดไี มส่ ามารถที่จะพึ่งพงิ การริเริ่มจากเอกชนได้ ระบบไตส่ วนจึงเปน็
ระบบทเี่ ออื้ ประโยชนต์ ่อการพัฒนาการของศาลและกระบวนการยุตธิ รรม และทำให้ระบบคณะลกู ขนุ เสื่อมถอยไป๗
๒.๒ ลกั ษณะสำคญั ของระบบไตส่ วนทมี่ ีผลต่อบทบาทของศาลและคู่ความ
แต่เดิมมาการดำเนินคดีในระบบไต่สวนจะกระทำโดยผู้พิพากษาผู้กล่าวหา (juge accusateur)
ซึ่งได้รับมอบอำนาจที่สำคัญ ระบบไต่สวนจะใชใ้ นประเทศท่ีรฐั มีอำนาจมาก โดยคำนึงถึงประโยชน์ของสังคม
มาก่อนประโยชน์ส่วนตัวของบุคคล และไม่ต้องการคุ้มครองสิทธิของปัจเจกบุคคลมากจนเกินไป จนทำให้
ผู้กระทำผดิ ไมต่ ้องรบั โทษ
ระบบไต่สวนเปน็ ระบบวธิ พี จิ ารณาคดีทส่ี อดคลอ้ งกบั หลกั การไต่สวนโดยศาล (The Principal
of Judicial Investigation) โดยหลักการไต่สวนโดยศาลนี้ เป็นหลักที่ใช้กันมากในกฎหมายวิธีพิจารณา
ความอาญาและคดีปกครอง โดยมีเหตุผลว่าคดีอาญา คดีปกครอง ไม่ได้เป็นเรื่องผลประโยชน์ส่วนตัวของ
เอกชนแตเ่ พยี งอยา่ งเดยี ว แต่เปน็ เรือ่ งผลประโยชน์ของรฐั ดว้ ย ศาลจึงควรมอี ำนาจในการรวบรวมและแสวงหา
ข้อเทจ็ จริงและพยานหลกั ฐานในคดไี ดด้ ว้ ยตนเอง รวมทั้งมอี ำนาจคน้ หาสาระสำคญั (material) หรือความจรงิ
ในคดี (absolute truth) ดังนั้น ศาลจึงมีหน้าที่ต้องพิจารณาให้แน่ใจถึงข้อเท็จจริงที่คู่ความนำเสนอและ
ต้องพิจารณาถงึ ขอ้ เทจ็ จริงทคี่ ่คู วามมไิ ด้นำเสนอตอ่ ศาลด้วย
ระบบไต่สวนจึงเป็นระบบวิธีพิจารณาคดีทที่ ำให้ผูพ้ พิ ากษาไดร้ บั ความกระจ่างแจ้งในข้อเท็จจริง
ก่อนท่ีจะตัดสินคดี เป็นระบบวิธีพิจารณาคดีที่ผู้พิพากษามีบทบาทเชิงรุก และเป็นระบบวิธีพิจารณาคดีท่ี
ผู้พิพากษามบี ทบาทสำคญั ในการแสวงหาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานในคดี ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ของรฐั โดย
คำนงึ ถงึ ประโยชนข์ องรัฐมากกว่าประโยชนส์ ่วนตวั ของคู่ความ ซ่งึ อาจทำใหก้ ระทบสทิ ธิของค่คู วามบางประการ
เชน่ สิทธใิ นการโต้แยง้ คดั ค้านต่อสคู้ ดี (les droits de la défense) และผูพ้ ิพากษาในระบบไตส่ วนจะมีอำนาจ
ในการใช้ดลุ พนิ ิจพจิ ารณาพยานหลักฐานไดด้ ้วยตนเองมากกว่าผ้พู พิ ากษาในระบบกลา่ วหา
ชอบ พ.ศ. ๒๕๕๙ และพระราชบัญญัติวิธีพจิ ารณาคดีค้ามนษุ ย์ พ.ศ. ๒๕๕๙, (กรงุ เทพมหานคร : สำนักงานศูนย์วิจยั และให้
คำปรึกษาแหง่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และสำนักงานกิจการยตุ ธิ รรม, ๒๕๖๐), หน้า ๔๐.
๖ Corinne RENAULT-BRAHINSKY, p. 33-34.
๗Serge GUINCHARD, Jacques BUISSON, Procédure Pénale, 7e édition (LexisNexis, 2011), pp. 45-46; Corinne
RENAULT-BRAHINSKY, Op. cit., p.26.
๕
นอกจากนี้ ระบบไต่สวนยังเป็นระบบวิธีพิจารณาคดีที่ผู้พิพากษาในฐานะเป็นองค์กรของรัฐ
มีบทบาทในการควบคุมการดำเนินคดี และอำนวยความยุติธรรมในคดี ระบบไต่สวนจะมีลักษณะเฉพาะที่
การริเรมิ่ ตา่ ง ๆ ในคดจี ะเป็นการริเร่ิมโดยผูพ้ ิพากษา ไม่วา่ จะเปน็ การควบคุมการดำเนินกระบวนพิจารณาคดี
การแสวงหาข้อเท็จจรงิ และรวบรวมพยานหลกั ฐานตา่ ง ๆ เป็นตน้
การดำเนินคดีในระบบไต่สวนจะแบ่งออกเป็นหลายขั้นตอน โดยเฉพาะขั้นตอนการไต่สวน
หาข้อเท็จจริงในคดีโดยผู้พิพากษาเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญมาก โดยผู้พิพากษาจะเป็นผู้มีบทบาทสำคญั
และมอี ำนาจมากในการแสวงหาพยานหลกั ฐานด้วยตนเอง๘
ด้วยความที่ระบบไต่สวนคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวม “l’intérêt général” เป็นหลัก
จงึ ยอ่ มสง่ ผลโดยตรงให้คูค่ วามในคดมี ีความเทา่ เทียมกันมากกว่าในระบบกลา่ วหา แตก่ ารได้รับความเท่าเทียมกัน
ของคู่ความในคดใี นระบบไต่สวนนอ้ี าจนำมาซ่ึงผลกระทบตอ่ สิทธิของคคู่ วามในคดีได้ โดยการแสวงหาความจรงิ
ของศาลที่มีประสิทธิภาพในระบบไต่สวน อาจกระทบต่อสิทธิของคู่ความตามหลักโต้แย้งคัดค้านต่อสู้คดี
“le pincipe de la contradiction) และอาจจะทำใหก้ ารพิจารณาคดีไม่ได้เป็นการพิจารณาคดีโดยเปิดเผย
(la publicité des débats)๙
ในประเทศฝรั่งเศสทีใ่ ช้ระบบไต่สวนในการพจิ ารณาคดีอาญา ศาลในคดอี าญาแบง่ ได้ออกเป็น
ศาลไต่สวนและศาลตัดสินคดี โดยศาลไต่สวนจะมีผู้พิพากษาไต่สวน (le juge d’instruction) ทำหน้าท่ี
แสวงหาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานในคดี๑๐ แต่ไม่ใช่ว่าผู้พิพากษาไต่สวนต้องเขา้ ไปทำการไต่สวนความผดิ
อาญาที่เกิดขึน้ ไปเสียทุกคดี ต้องพิจารณาที่ความร้ายแรงของการกระทำความผิดด้วย โดยผู้พิพากษาไต่สวน
จะเขา้ ไปไตส่ วนคดีเฉพาะท่ีกฎหมายกำหนดไวเ้ ท่านนั้ หากเป็นความผดิ อกุ ฤษโทษ (crime) ผ้พู ิพากษาไต่สวน
ต้องเข้าไปไต่สวนคดีเสมอ เนื่องจากเป็นการกระทำความผิดที่ร้ายแรงและมีอัตราโทษที่สูง๑๑ นอกจากน้ี
ในการพิจารณาคดีอาญา ศาลจะเป็นผู้ซักถามจำเลย พยาน ผู้เช่ียวชาญ ผู้เสียหาย เพื่อไต่สวนหาความจริง
ในคดี หากเป็นการพิจารณาคดีในศาลอุกฤษโทษ (Cour d’assises) ซึ่งเป็นคดีที่มีอัตราโทษร้ายแรง
มีโทษจำคุกตั้งแต่ ๑๐ ปีขึ้นไป ศาลจะถามจำเลย ตามด้วยพยาน ผู้เชี่ยวชาญและผู้เสียหายตามลำดับ
โดยศาลเท่าน้ันทจ่ี ะมสี ทิ ธถิ าม
ประเทศเยอรมนเี ปน็ ประเทศท่ีใช้ระบบวธิ พี ิจารณาคดอี าญาแบบไตส่ วนเช่นกัน โดยหลังจาก
ที่มีการยืน่ คำฟ้องแลว้ ผู้พิพากษาจะเป็นผู้มบี ทบาทหลักในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีไมว่ ่าจะเป็นในชัน้
ไต่สวนมูลฟ้องหรือในชั้นพิจารณาพิพากษา โดยผู้พิพากษาเยอรมันนอกจากจะทำหน้าที่ซักถามพยานแล้ว
ยังทำหน้าทีใ่ นการหาแสวงหาพยานหลักฐานในคดีเพื่อนำไปสู่การลงโทษจำเลยหรือยกฟ้องโจทกด์ ้วย๑๒
สำหรับประเทศอังกฤษที่ใช้ระบบวิธีพิจารณาคดีแบบกล่าวหา คำพิพากษาของศาลอังกฤษ
วางบรรทดั ฐานเกีย่ วกับบทบาทของศาลไวว้ ่า ผู้พพิ ากษาไม่ควรซกั ถามพยาน (เนอื่ งจากการซกั ถามพยานถอื ว่า
เป็นวิธีการหนึง่ ในการแสวงหาพยานหลกั ฐานในคดี) โดยทนายความจะเป็นผู้แสดงบทบาทนี้เอง บทบาทศาล
ในคดีคอื การรับฟงั พยาน คอยควบคุมใหท้ นายความปฏิบตั ติ ามกฎเกณฑท์ ี่กฎหมายไดก้ ำหนดไว้ ตัดประเด็นท่ี
ไมเ่ กยี่ วขอ้ งออกไป ประมวลความคดิ ท้งั หมดใหไ้ ด้วา่ ความจริงอย่ทู ีใ่ ด
๘ วรรณชยั บุญบำรงุ , ธนกฤต วรธนชั ชากลุ , สิริพันธ์ พลรบ, เรอื่ งเดิม, หน้า ๗๓ และ ๗๔.
๙ณรงค์ ใจหาญ และคณะ, เร่ืองเดมิ , หนา้ ๗๙.
๑๐ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาฝรง่ั เศส มาตรา ๔๙ วรรคหน่ึง
๑๑ ประมวลกฎหมายวธิ ีพิจารณาความอาญาฝรง่ั เศส มาตรา ๗๙
๑๒ณรงค์ ใจหาญ และคณะ, เร่ืองเดิม, หน้า ๙๐.
๖
การซักถามพยานของศาลเท่ากับศาลลงไปร่วมอยู่ในสังเวียนแห่งการต่อสู้ และวิสัยทัศน์
ของศาลจะถูกปกคลุมไปด้วยผงฝุ่นแห่งความขัดแย้ง ศาลจะซักถามพยานก็เฉพาะเมื่อจำเป็นต้องทำ
เพอื่ ให้ประเด็นในคดที ค่ี ลมุ เครอื เกิดความชัดเจนขึ้นเทา่ นั้น ถา้ ศาลทำนอกเหนอื จากบทบาทดงั กลา่ ว ก็เท่ากับ
ไดถ้ อดเสือ้ คลุมศาลออกและสวมเสอื้ คลมุ ของทนายความแทน๑๓
ในความเป็นจริงแล้ว อาจกล่าวได้ว่า ไม่มีประเทศใดที่ใช้ระบบกล่าวหาหรือระบบไต่สวน
แต่เพยี งอยา่ งเดียว ในปัจจบุ นั น้ี ระบบวธิ พี ิจารณาคดที ่ีใชก้ ันอยูใ่ นประเทศตา่ ง ๆ เป็นระบบที่มกี ารผสมผสาน
กันของทั้งระบบกล่าวหาและระบบไต่สวน (la mixité des procédures) หากประเทศใดให้ความสำคัญ
กับสิทธิประโยชน์ส่วนตัวของคู่ความมากกว่าประโยชน์ส่วนรวมแล้ว บทบัญญัติกฎหมายของประเทศนั้น
ก็จะมแี นวโนม้ ให้สทิ ธิและบทบาทแกค่ ู่ความในการควบคมุ และกำหนดทศิ ทางในการดำเนินกระบวนพิจารณา
รวมทั้งพยานหลักฐานในคดีแบบระบบกล่าวหา แต่หากประเทศใดให้ความสำคัญประโยชน์ส่วนรวมมากกว่า
สิทธิประโยชน์สว่ นตัวของคู่ความแล้ว กจ็ ะบัญญตั ิกฎหมายใหอ้ ำนาจและบทบาทแก่ผูพ้ พิ ากษาในการแสวงหา
ขอ้ เทจ็ จริงและพยานหลักฐานและควบคมุ การดำเนินกระบวนพจิ ารณาไว้อย่างกวา้ งขวางแบบระบบไตส่ วน๑๔
ในประเทศทมี่ กี ารปกครองในระบอบประชาธปิ ไตย รฐั ซ่ึงปกครองโดยหลกั นิติรฐั ไม่ไดม้ คี วาม
ประสงค์ต้องการให้การดำเนินคดีเป็นเรื่องของเอกชนแต่เพียงอย่างเดียวหรือเป็นเรือ่ งของรฐั โดยผู้พิพากษา
แต่เพยี งอย่างเดยี ว
คดที ุกคดมี เี ร่ืองท้งั ของเอกชนและรฐั รวมกนั อยู่ ประโยชน์ส่วนรวมมีอย่เู สมอในคดีแพ่งท่ีเป็น
เรื่องของเอกชน เช่น การเคารพปฏิบัติตามกฎหมาย ความสงบเรียบร้อยในสังคม เช่นเดียวกับอาจมีเรื่อง
ประโยชนส์ าธารณะ (l’intérêt public) เขา้ ไปเก่ียวข้องด้วยในคดีทมี่ ีอยั การเข้าไปเป็นคู่ความในคดี และเป็น
เร่ืองการอำนวยความยุติธรรมในคดี (l’administration de la justice) ซงึ่ เป็นการให้บริการสาธารณะ (un service
public) อย่างไรก็ตาม ประโยชนข์ องเอกชน (l’intérêt privé) ก็ไม่เคยหายไปจากคดอี าญา ซึ่งจะเห็นไดจ้ าก
การที่คู่ความที่เป็นผู้เสียหายมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายเข้ามาในคดีอาญา ( l’action civile) และกรณีที่มี
การตัดสินคดีอาญา คำพิพากษาของศาลในคดีอาญาก็ย่อมกระทบต่อประโยชน์ของบุคคลใดบุคคลหน่ึง
เปน็ การเฉพาะ Eduardo Couture ไดเ้ คยกลา่ วไว้ในงานเขียนว่า การดำเนนิ คดีเปรียบเสมือนการดำเนินการ
ที่อยู่บนทางแยกระหว่างกฎหมายมหาชนและกฎหมายเอกชน สำหรับคูค่ วามแล้ว การดำเนินคดีเหมือนเป็น
เครือ่ งมือในการอำนวยความพงึ พอใจให้แก่สทิ ธิต่าง ๆ ของเอกชน และสำหรับรฐั การดำเนินคดีเป็นรูปแบบหนึ่ง
ในการให้บรรลุถึงสิทธิที่ปัจเจกชนมีอยู่ รวมทั้งประโยชน์สาธารณะด้วย และหากประโยชน์ของสาธารณะ
มคี วามโดดเดน่ บทบาทของผพู้ ิพากษาก็ย่งิ มคี วามสำคญั มากย่ิงขนึ้
๑๓ วรรณชยั บุญบำรุง, ธนกฤต วรธนชั ชากุล, สริ ิพันธ์ พลรบ, เรื่องเดิม, หนา้ ๗๘.
๑๔ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๗๙.
๗
ประชาสัมพนั ธ์
เนื่องด้วยสำนักงานประสานงานกระบวนการยุติธรรม สถาบันนิติวัชร์ ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ส่วนหน่ึง
ในการเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมและขับเคลื่อนการบังคับใช้กฎหมาย
ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลและให้มีความถูกต้องเหมาะสมและเป็นธรรม มีความประสงค์จะรวบรวม
และเผยแพร่ผลงานทางวิชาการที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนากระบวนการยุติธรรม จึงขอประชาสัมพันธ์
เชิญชวนท่านที่สนใจส่งบทความทางวิชาการที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกบั กระบวนการยุติธรรม เพื่อเผยแพร่ลงใน
เอกสารเผยแพร่ขา่ วสารและความรู้ด้านกระบวนการยุติธรรม ผ่านทาง Facebook และเว็บไซต์ ของสถาบันนติ ิ
วัชร์ และเว็บไซต์ของสำนักงานอัยการสูงสุด รวมทั้งช่องทางออนไลน์อื่น ๆ และจะได้มีการจัดทำรวมเล่ม
เพอ่ื เผยแพรผ่ ลงานตอ่ ไปดว้ ย
โดยท่านที่สนใจสามารถส่งบทความที่มีเนื้อหาความยาวไม่เกิน ๕ หน้ากระดาษ A๔ ใช้ตัวอักษร
Thai Sarabun PSI ขนาด ๑๖ มาได้ที่ อีเมล์: [email protected]
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นางสาวเสฏฐา เธียรพิรากลุ อัยการประจำสำนักงานอยั การสูงสุด
และนายทรงกลด คุ้มวงศ์ดี นิติกรปฏิบัติการ สำนักงานประสานงานกระบวนการยุติธรรม สถาบันนิติวัชร์
โทร. ๐๒-๑๔๒-๒๑๖๒, ๐๒-๑๔๒-๓๑๒๙
สถาบนั นติ วิ ัชร์
“สรา้ งองค์ความรู้ เชอ่ื มประสาน ส่กู ารเปล่ียนแปลงในกระบวนการยตุ ธิ รรม”
สามารถดาวนโ์ หลดหรืออา่ นบทความเรอ่ื งนีไ้ ด้จาก QR Code ดา้ นบน