The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ประวัติศาสตร์ไทยสมัยรัตนโกสินทร์ พัฒนาการทางด้านเศรษฐกิจ

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by , 2022-03-10 03:01:12

พัฒนาการทางด้านเศรษฐกิจสมัยรัตนโกสินทร์

ประวัติศาสตร์ไทยสมัยรัตนโกสินทร์ พัฒนาการทางด้านเศรษฐกิจ

คำนำ

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เล่มนี้ จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นสื่อ
ประกอบการสอน ในรายวิชาประวัติศาสตร์ เพื่อให้ได้ศึกษา
ความรู้เรื่อง พัฒนาการของไทยสมัยรัตนโกสินทร์ในด้าน
ต่าง ๆ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓

หวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ฉบับนี้ จะเป็น
ประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของนักเรียนและการจัดการเรียน
การสอนสำหรับผู้สอนในกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และ
วัฒนธรรม

คณะผู้จัดทำ

สารบัญ หน้า

เรื่อง ๑

เศรษฐกิจสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ๕
(รัชกาลที่ ๑ - รัชกาลที่ ๓) ๑๔

เศรษฐกิจสมัยยุคปฏิรูปบ้านเมือง
(รัชกาลที่ ๔ - รัชกาลที่ ๖)

เศรษฐกิจสมัยยุคประชาธิปไตยจนถึงปัจจุบัน
(รัชกาลที่ ๗ - รัชกาลที่ ๑๐ )



เศรษฐกิจสมัยรัตนโกสิ นทร์ตอนต้น
(รัชกาลที่ ๑ - รัชกาลที่ ๓)

๑. การค้ากับต่างประเทศ

ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ไทยมีการค้าขายกับต่างประเทศดังนี้
๑.๑ การค้ากับประเทศในเอเชีย ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นการค้าขายส่วน

ใหญ่ทำกับจีน นอกจากนี้ ก็มีชวา สิงคโปร์และอินเดีย ในพระบาทสมเด็จพระพุทธ
ยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเป็นการค้าสำเภา มีทั้งสำเภาหลวงและสำเภาเอกชน ซึ่ง
เป็นการค้าที่สำคัญและทำรายได้ให้กับประเทศมาก สำเภาหลวงที่ปรากฏชื่อใน
สมัยรัชกาลที่ ๑ มีอยู่ ๒ ลำ คือ เรือหูสูงและเรือทรงพระราชสาสน์ เรือสำเภานี้
ลักษณะแบบจีน ต่อในเมืองไทยใช้ไม้อย่างดี ใช้ลูกเรือเป็นคนจีนทั้งหมด แต่ผู้คุม
เป็นคนไทยอยู่ในความดูแลของกรมท่าหรือพระคลังสิ นค้า

ในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เรือสำเภาทั้งไทยและ
จีนติดต่อกับค้าขายกันถึง ๑๔๐ ลำ สำเภาหลวงที่สำคัญมี เรือมาลาพระนคร และ
เรือเหราข้ามสมุทร สินค้าออกที่สำคัญได้แก่ ดีบุก งาช้าง ไม้ น้ำตาล พริกไทย
รังนก กระดูกสัตว์ หนั งสัตว์ กระวาน และครั่ง ส่วนสินค้าเข้าที่สำคัญ ได้แก่
เครื่องถ้วยชามสังคโลก ชา ไหม เงิน ปืน ดินปืน กระดาษ เครื่องแก้ว

นอกจากนี้ พระองค์ทรงเล็งเห็นความสำคัญและทรงสนั บสนุนให้กิจการด้าน
นี้ เจริญก้าวหน้ าออกไปโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ซึ่งมีพระ
ปรีชาสามารถเรื่องการค้ากับต่างประเทศเป็นผู้บังคับบัญชากรมท่า มีการต่อเรือ
กำปั่ น ๑๐ ลำ ลำแรกชื่อ อรสุมพล

ไทยมีการส่งเครื่องบรรณาการแลกเปลี่ยนกับจีนตลอดมา จนกระทั่งรัชกาล
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นว่า วิธีการนี้ จีนจะเข้าใจว่าไทย
ยอมอ่อนน้ อมและตกอยู่ภายใต้อำนาจของจีน จึงให้ยกเลิกเสีย

๑.๒ การค้ากับประเทศตะวันตก ตลอดเวลาที่ไทยติดต่อกับชาติตะวันตกนั้ น
คนไทยมีความรู้สึกไม่ไว้วางใจตลอดมา แม้ไทยจะยอมมีสัมพันธไมตรีทางการทูต
และการค้า แต่ไทยก็มีเจ้าหน้ าที่คอยเข้มงวด และดูแลอย่างใกล้ชิด ในสมัยรัชกาล
ที่ ๒ อังกฤษได้ส่งนายจอห์น ครอว์เฟิร์ด เป็นทูตเข้ามาเจรจาเรื่องการค้ากับไทย
พยายามให้ไทยยกเลิกการผูกขาดของพระคลังสินค้า ให้ไทยจัดระบบการเก็บภาษี
ขาเข้าและขาออกให้แน่ นอน แต่ไม่สำเร็จ



เศรษฐกิจสมัยรัตนโกสิ นทร์ตอนต้น
(รัชกาลที่ ๑ - รัชกาลที่ ๓)

๒. ภาษีอากร

รายได้ส่วนหนึ่ งของประเทศที่นำมาใช้สำหรับปรับปรุงประเทศ นอกจากการค้า
ขายแล้วยังได้จากการเรียกเก็บภาษีอากรจากประชาชน แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท

๒.๑ ภาษีอากรที่เก็บภายในประเทศ มี ๔ ชนิด คือ
- จังกอบ คือ การเรียกเก็บสินค้าของราษฎร โดยชักส่วนสินค้าที่ผ่านด่าน

ทั้งทางบกและทางน้ำ ในอัตรา ๑๐ หยิบ ๑ หรือ ๑ ส่วนต่อ ๑๐ ส่วน
- อากร คือ เงินหรือสิ่งของที่รัฐเรียกเก็บจากผลประโยชน์ ของราษฎรที่ได้

จากการประกอบอาชีพนอกจากอาชีพค้าขาย เช่น การทำนา เรียกว่า อากรค่านา
การทำสวน เรียกว่า อากรสวนใหญ่ หรือ พลากร หรือ สมพัตสร การจับสัตว์น้ำ
เรียกว่า อากรค่าน้ำ การเก็บไข่เต่าเก็บรังนก เรียกว่า อากรค่ารักษาเกาะ
นอกจากนี้ ยังมีการเก็บอากรบ่อนเบี้ย อากรสุรา อากรตลาด อากรเก็บของป่า
อากรขนอน ฯลฯ

- ส่วย คือ เงินหรือสิ่งของที่ไพร่หลวงนำมาให้แก่ทางราชการทดแทนการ
เข้าเดือน โดยได้มาจากผลิตผลตามธรรมชาติที่หาได้ภายในท้องถิ่น เช่น ดีบุก
พริกไทย มูลค้างคาว ไพร่หลวงนำมาให้แก่ทางราชการทดแทนการเข้าเดือน
เรียกว่า ไพร่ส่วย

- ฤชา คือ ค่าธรรมเนี ยมที่ทางราชการเรียกเก็บเฉพาะรายบุคคล เนื่ องจาก
ได้รับการบริการจากราชการ เช่น ออกโฉนดที่ดินให้

๒.๒ ภาษีอากรที่ได้จากภายนอกประเทศ
- ภาษีเบิกร่องหรือภาษีปากเรือ คือ ภาษีที่เก็บจากเรือสินค้าต่างประเทศ

โดยคิดจากขนาดความกว้างของปากเรือหรือยานพาหนะที่บรรทุกสิ นค้าเข้ามา
สมัยรัชกาลที่ ๑ คิดวาละ ๑๒ บาท ต่อมาเพิ่มเป็นวาละ ๒๐ บาท สมัยรัชกาลที่ ๒
คิดเป็นวาละ ๘๐ บาท สมัยรัชกาลที่ ๓ ถ้าเป็นเรือสินค้าที่ไม่ได้บรรทุกสินค้าเข้ามา
ขายคิดว่าละ ๑,๕๐๐ บาท ถ้าบรรทุกสินค้าคิดว่าละ ๑,๗๐๐ บาท

- ภาษีสินค้าออก รัฐเรียกเก็บตามประเภทของสินค้า เช่น ข้าวสารหาบละ ๑
สลึง น้ำตาลหาบละ ๒ สลึง พอถึงสมัยรัชกาลที่ ๓ รัฐเรียกเก็บภาษีขาออกต่าง ๆ
เพิ่มมากขึ้น ทำให้รัฐมีรายได้เพิ่มมากขึ้น เช่น เก็บภาษีพริกไทย ภาษีเกลือ ภาษี
ไม้แดง ภาษีน้ำมันมะพร้าว ภาษีฝ้าย ภาษีปอ ภาษีน้ำตาลทราย ฯลฯ



เศรษฐกิจสมัยรัตนโกสิ นทร์ตอนต้น
(รัชกาลที่ ๑ - รัชกาลที่ ๓)

๓. หน่วยงาน สินค้าผูกขาด สินค้าต้องห้าม

๓.๑ กรมพระคลังสินค้า ต่อมาเรียกว่า กรมท่า มีหน้ าที่ติดต่อกับต่างประเทศ
เก็บภาษีเข้าและภาษีออก ตรวจตราเรือสินค้าต่างประเทศ และเลือกซื้อสินค้าตาม
ที่ราชการต้องการ ซึ่งอยู่ในความดูแลของเสนาบดีกรมท่าหรือโกษาธิบดี โดยจะ
ส่งเจ้าหน้ าที่ลงไปตรวจเรือสินค้าก่อน เรียกว่า การเหยียบหัวตะเภา

๓.๒ สินค้าผูกขาด คือ สินค้าที่ทางราชการต้องการและคิดว่ามีอันตรายหาก
พ่อค้าจะทำการติดต่อซื้อขายกันโดยตรง ได้แก่ อาวุธ กระสุนปืน ดังนั้ นรัฐจึง
ผูกขาดการซื้อขายเสี ยเอง

๓.๓ สินค้าต้องห้าม คือ สินค้าที่หายากและมีราคาแพง ราษฎรต้องนำมาขาย
ให้ทางราชการ เพื่อทางราชการจะได้นำไปขายให้พ่อค้าต่างประเทศ จะได้เป็นการ
เพิ่มรายได้ให้แก่รัฐ สินค้าต้องห้าม ได้แก่ งาช้าง รังนก ฝาง กฤษณา ฯลฯ



เศรษฐกิจสมัยรัตนโกสิ นทร์ตอนต้น
(รัชกาลที่ ๑ - รัชกาลที่ ๓)

๔. เงินตรา

สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นยังคงใช้เงินพดด้วงเหมือนอยุธยา แต่ประทับตรา
แตกต่างกันออกไป แล้วแต่ตราประจำรัชกาลนั้ นๆ เช่น



รัชกาลที่ ๑ ประทับตราอุณาโลม

รัชกาลที่ ๒ ประทับตราครุฑกับจักร

รัชกาลที่ ๓ ประทับตราปราสาทกับจักร
ภาพจาก : http://www.krujaruwan.com/l04-02.html



เศรษฐกิจสมัยยุคปฏิรู ปบ้านเมือง
(รัชกาลที่ ๔ - รัชกาลที่ ๖)

สภาพการณ์ทางเศรษฐกิจในสมัยรัชกาลที่ ๔

โรงกระษาปณ์สิทธิการใน พ.ศ. ๒๔๐๕ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้โรงกระษาปณ์ผลิตเหรียญดีบุก เพื่อเป็นเครื่อง
แลกใช้แทนเบี้ยหอย และประกาศให้ใช้กะแปะอัฐ และโสฬสที่ทำขึ้นใหม่นี้ เมื่อวัน
ที่ ๒๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๐๕ เหรียญดีบุกนี้ ทำด้วยดีบุกดำผสมทองแดง ด้านหนึ่ งมี
ตราช้างในวงจักร อีกด้านหนึ่ งมีรูปพระมหามงกุฎกับฉัตร เหรียญดีบุกขนาดใหญ่
เรียกว่า “อัฐ” มีราคา ๘ อันต่อหนึ่ งเฟื้ อง สำหรับขนาดเล็กเรียกว่า “โสฬส” มี
ราคา ๑๖ อันต่อหนึ่ งเฟื้ อง เงินกระดาษหรือหมายเงินกระดาษหรือธนบัตร ซึ่ง
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น

ภาพจาก : http://www.krujaruwan.com/l04-02.html

สภาพเศรษฐกิจยุคปรับตัวเข้าสู่ ความทันสมัยตามแบบตะวันตก
(พ.ศ.๒๓๙๔-๒๔๗๕) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไทยได้
ตกลงทำสนธิสัญญาเบาริงกับอังกฤษในปี ๒๓๙๘ เป็นสนธิสัญญาทางพระราช
ไมตรีและการค้า ซึ่งส่งผลกระทบต่อประเทศไทยทั้งด้านบวกและด้านลบอย่าง
มากมาย ดังนี้

๑. สาระสำคัญของสนธิสัญญาเบาว์ริง

- อังกฤษมีสิทธิตั้งกงสุลคอยดูแลผลประโยชน์ และตั้งศาลกงสุลเพื่อชำระ
ความคนในบังคับของอังกฤษ

- ให้สิทธิการค้าเสรีแก่คนในบังคับอังกฤษทั่วทุกเมืองท่าของไทย และอาจจะ
เช่าซื้อกรรมสิทธิ์ที่ดินในประเทศไทยได้ภายในเขต ไมล์จากกำแพงเมือง ถ้าเข้ามา
อยู่ในเมืองไทยครบ ๑๐ ปี



เศรษฐกิจสมัยยุคปฏิรู ปบ้านเมือง
(รัชกาลที่ ๔ - รัชกาลที่ ๖)

- ยกเลิกการเก็บค่าระวางปากเรือ แต่กำหนดภาษีขาเข้าตามราคาสินค้าใน
อัตราร้อยละชัก ๓ ส่วนภาษีขาออกให้เก็บเพียงครั้งเดียว

- ไม่เก็บภาษีฝิ่ น แต่ต้องนำมาขายให้แก่เจ้าภาษีเท่านั้ น และถ้าเจ้าภาษีไม่ซื้อ
ต้องนำออกไป

- รัฐบาลไทยมีสิทธิห้ามส่งข้าว เกลือ และปลาออกนอกประเทศได้ โดยมี
เงื่อนไขว่าต้องแจ้งให้กงสุลทราบข่าวล่วงหน้ าเป็นเวลา ๑ เดือน

- ถ้าไทยทำสนธิสัญญายกประโยชน์ ให้ชาติหนึ่ งชาติใดในวันข้างหน้ า ซึ่งนอก
เหนื อจากที่อังกฤษได้รับในครั้งนี้ อังกฤษจะต้องได้รับในครั้งต่อ ๆ ไปด้วย

- เมื่อสัญญาพ้นกำหนด ๑๐ ปีแล้ว ฝ่ายไทย ฝ่ายอังกฤษ จะขอแก้ไข
เปลี่ยนแปลงสัญญาได้ โดยบอกให้คู่สัญญารู้ล่วงหน้ า ๑ ปี

ภายหลังจากที่ไทยได้ทำสนธิสัญญาเบาว์ริงกับอังกฤษใน พ.ศ.๒๓๙๘ ก็ได้มี
ประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคตะวันตกของโลก ส่งผู้แทนเข้ามาเจรจาเพื่อทำสนธิ
สัญญาทางพระราชไมตรีและการค้ากับไทย โดยยึดแบบอย่างที่ไทยได้ทำกับ
อังกฤษ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงต้อนรับและทรงยินดีที่
จะติดต่อมีความสัมพันธ์ทางการทูตและการค้ากับประเทศเหล่านั้ นเป็นอย่างดี
โดยทรงใช้ในสนธิสั ญญาเบาว์ริงเป็นแบบฉบับในการทำสนธิสั ญญาทางพระราช
ไมตรีและ การค้ากับประเทศอื่น ๆ ในเวลาต่อมา ได้มีการทำสัญญากับฝรั่งเศสใน
ปี ๒๓๙๙ / สหรัฐอเมริกาในปี ๒๓๙๙ / เดนมาร์กในปี ๒๔๐๑ / โปรตุเกสในปี
๒๔๐๑ / ฮอลันดาในปี ๒๔๐๓ / รัสเซียในปี ๒๔๑๒ ตามลำดับ

สภาพการณ์ทางเศรษฐกิจหลังเกิดสนธิสัญญาเบาว์ริง ผลจากการทำสนธิ
สัญญาเบาว์ริง ทำให้ระบบเศรษฐกิจของไทยเกิดการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมใน
หลายด้าน ดังต่อไปนี้

- ทำให้ไทยได้มีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศอย่างกว้างขวาง
- ก่อให้เกิดระบบการค้าเสรี และมีการเลิกการค้าแบบผูกขาดโดยพระคลัง
สินค้าในที่สุด ซึ่งเป็นผลดีต่อการส่งเสริมการค้าของไทยให้ขยายตัวออกไป



เศรษฐกิจสมัยยุคปฏิรู ปบ้านเมือง
(รัชกาลที่ ๔ - รัชกาลที่ ๖)

- เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในโครงสร้างสินค้าออกและสินค้าเข้า กล่าว
คือ สินค้าเข้าแต่เดิมประกอบด้วยสินค้าฟุ่มเฟือยเพื่อการบริโภคของชนชั้นสูง ได้
เปลี่ยนมาเป็นสินค้าหลายชนิ ดเพื่อการบริโภคของคนทั่วไป เช่น ผ้านุ่ ง ผ้าฝ้าย
เครื่องแก้ว ใบชา กระจก เป็นต้น ส่วนสินค้าออกในสมัยก่อน จะเป็นสินค้า
หลายๆ ชนิ ด ก็ได้เปลี่ยนมาเป็นสินค้าเพียงไม่กี่ชนิ ด เช่น ข้าว ไม้สัก ดีบุก
เป็นต้น

- การส่งออกข้าวได้ขยายตัวไปอย่างกว้างขวาง
- การลดหย่อนการเกณฑ์แรงงานตามระบบไพร่ลง เพื่อให้เกษตรกรได้ใช้
เวลาในการทำนามากขึ้น
- การผลิตเงินตราโดยเครื่องจักร รัชกาลที่ ๔ จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรง
กษาปณ์ขึ้น ในปี ๒๔๐๓ และสั่งซื้อเครื่องจักรสำหรับผลิตเงินเหรียญกษาปณ์เพื่อ
ใช้แทนเงินพดด้วง
- การส่งเสริมการทำนาของชาวนา ทรงส่งเสริมให้ขาวนาขยายเนื้ อที่ทำนาให้
เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งได้มีการลดหย่อนการเกณฑ์คนทำงานหลวงอันเป็นประเพณี
ดั้งเดิมลง งดเว้นการเกณฑ์แรงงานในฤดูทำนา เพื่อให้ราษฎรมีเวลาที่ใช้
ประกอบอาชีพทำนามากขึ้น
- การปรับปรุงภาษีอากร การ ทำสนธิสัญญาเบาว์ริงเป็นความสำเร็จที่นำไป
สู่การปฏิรูปครั้งใหญ่เกี่ยวกับกลไก การบริหารด้านการคลัง ซึ่งก่อให้เกิดการ
เปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับระบบภาษีอากรทั้งมวล พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่
หัวได้ทรงตั้งภาษีอากรขึ้นมาใหม่ ได้แก่ ภาษีสุกร ภาษีปลาสด ภาษีปลาทู ภาษี
ไหม ภาษีขี้ผึ้ง อากรมหรสพ ภาษีผัก ภาษีฝิ่ น เป็นต้น
นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการแก้ไขระบบการ
เก็บภาษีอากรบางอย่าง เพื่อให้เป็นไปตามความเหมาะสม คือ ลดอัตราการเก็บ
เงินอากรบางประเภท นอกจากนี้ ก็ยกเลิกและเปลี่ยนภาษีอากรบางอย่างที่ทำให้
ราษฎรเดือดร้อน เช่น ให้ยกเลิกภาษีเกวียน ภาษีเรือจ้าง และภาษีผัก ยกเลิกการ
ประมูลภาษีพลู ยกเลิกภาษีผลมะพร้าว แต่ให้เก็บภาษีน้ำมันมะพร้าวแทน เป็นต้น



เศรษฐกิจสมัยยุคปฏิรู ปบ้านเมือง
(รัชกาลที่ ๔ - รัชกาลที่ ๖)

สภาพการณ์ทางเศรษฐกิจในสมัยรัชกาลที่ ๕

ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ประเทศไทยเริ่มต้นพัฒนาทางเศรษฐกิจขึ้นไปอีกระดับ
หนึ่ ง เพราะเป็นผลมาจากการติดต่อกับต่างประเทศอย่างกว้างขวาง โดยปัจจัยที่
เป็นแรงผลักดันให้มีการปฏิรูปทางเศรษฐกิจ มีดังต่อไปนี้

๑. การปรับตัวเข้าสู่ความทันสมัยตามแบบตะวันตก

เพื่อให้รอดพ้นจากการคุกคามของชาติมหาอำนาจตะวันตกนั้ น จำเป็นต้อง
อาศัยเงินทุนเป็นจำนวนมหาศาล มิฉะนั้ นการปฏิรูปจะดำเนิ นต่อไปไม่ได้ ดังนั้ น
การปฏิรูปเศรษฐกิจเพื่อให้รัฐมีรายได้เพียงพอต่อการปฏิรูปแผ่นดิน ครั้งใหญ่จึง
มีความจำเป็นอย่างยิ่ง

๒. ปัญหาการคลังที่ล้าสมัย

ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประสบอยู่ในขณะเสด็จขึ้น
ครองราชย์ จำเป็นจะต้องได้รับการแก้ไขโดยเร็ว เพราะไม่สนองตอบต่อนโยบาย
ปฏิรูปแผ่นดินในทุกๆ ด้าน เพราะรัฐมีรายได้ไม่เพียงพอ เนื่ องจากระบบการคลัง
ขาดประสิทธิภาพ รายได้ของรัฐมีทางรั่วไหลมาก ด้วยเหตุนี้ พระบาทสมเด็จพระ
จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงปฏิรูปเศรษฐกิจ อย่างเร่งด่วน ดังนี้

๒.๑ การปฏิรูปการคลัง ระบบการคลังเดิมนั้ นไม่สามารถตรวจสอบและ
ควบคุมการจัดเก็บรายได้และการใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้ นพระบาท
สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงปฏิรูปการคลังดังต่อไปนี้

- ประกาศใช้ พ.ร.บ.กรมพระคลังมหาสมบัติ ใน พ.ศ.๒๔๑๘ โดยจุดมุ่งหมาย
เพื่อจัดระเบียบราชการในกรมพระคลังมหาสมบัติให้รัดกุมยิ่งขึ้น โดยกำหนดวิธี
การส่งเงิน รับเงิน ตรวจเงิน และการจัดลำดับตำแหน่ งข้าราชการรับผิดชอบงาน

ในระดับต่างๆ ตลอดจนกำหนดระเบียบ๑ปฏิบัติของเจ้าภาษีนายอากร และผู้

เกี่ยวข้องในการส่ งเงินต่อพระคลังมหาสมบัติ



เศรษฐกิจสมัยยุคปฏิรู ปบ้านเมือง
(รัชกาลที่ ๔ - รัชกาลที่ ๖)

- จัดตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ โดยมุ่งหมายจะให้เป็นสถานที่เก็บรวบรวมพระราช
ทรัพย์ ซึ่งขึ้นอยู่ตามท้องพระคลัง จึงเป็นก้าวแรกของการปฏิรูปทางด้านการคลัง
เพราะเป็นการเริ่มต้นรวมงานการเก็บภาษีอากรมาไว้ที่หอรัษฎากรพิพัฒน์ เพื่อให้
เก็บภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพของเจ้าพนั กงานและเจ้าภาษีนายอากร ตลอดจน
วางระบบป้องกันการทุจริตของเจ้าพนั กงาน เงินภาษีอากรทั้งหมดจะต้องถูกส่ง
ไปเก็บไว้ในท้องพระคลังทั้งหมด ก่อนที่จะแจกจ่ายให้กรมกองต่างๆ ใช้ในกิจการ
ของตน

ภาพจาก : https://bit.ly/362Z5dS

- โปรดให้จัดระเบียบการจัดทำงบประมาณขึ้น พระองค์ทรงเห็นความสำคัญ
ของการจัดทำงบประมาณ รายรับและรายจ่ายในการบริหารราชการแผ่นดินเพื่อ
ให้เกิดประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้ประกาศใช้พระ
ราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ เพราะแต่เดิมไม่มีการจัดทำงบประมาณรายรับราย
จ่ายล่วงหน้ า และต่อมาใน พ.ศ.๒๔๓๔ โปรดเกล้าฯ ให้จัดระเบียบการจัดทำงบ
ประมาณขึ้น เพื่อเป็นหลักในการจัดสรรเงินให้แก่กระทรวงต่างๆ ให้เป็นสัดส่วน
กัน การจัดระเบียบการจัดทำงบประมาณดังกล่าว ทำให้รัฐบาลสามารถจัดพิมพ์
งบประมาณรายรับรายจ่ายแผ่นดินขึ้นเป็นครั้งแรกใน พ.ศ.๒๔๔๔

๑๐

เศรษฐกิจสมัยยุคปฏิรู ปบ้านเมือง
(รัชกาลที่ ๔ - รัชกาลที่ ๖)

- โปรดให้แยกพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ในการจัดระเบียบการคลังและจัด
ทำงบประมาณในครั้งนี้ ได้มีการแยกรายจ่ายส่วนพระองค์ออกจากรายจ่ายของ
แผ่นดินหรือรายจ่ายเพื่อ สาธารณะ และใน พ.ศ.๒๔๔๑ ได้มีการแยกพระราชทรัพย์
ส่วนพระองค์ออกจากทรัพย์สินของแผ่นดิน แล้วมอบให้พระคลังข้างที่เป็นฝ่าย
บริหารพระราชทรัพย์ส่ วนพระองค์ต่อไป

๒.๒ การปฏิรูประบบเงินตรา เนื่ องจากการค้าได้ขยายตัวออกไปอย่างกว้าง
ขวาง รัชกาลที่ ๕ จึงทรงเห็นความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงระบบเงินตราให้เป็น
สื่อกลางในการซื้อขายที่ทันสมัย ดังเช่นที่ประเทศตะวันตกปฏิบัติกันอยู่ เพื่อเพิ่ม
ความคล่องตัวในการซื้อขายยิ่งขึ้น โดยมีการปฏิรูปเงินตราดังนี้

- โปรดเกล้าฯ ให้สร้างหน่ วยเงินที่เรียกว่า “สตางค์” ขึ้นใช้ โดยกำหนดให้
๑๐๐ สตางค์ เป็น ๑ บาท พร้อมทั้งผลิตเหรียญสตางค์ขึ้น ๔ ราคา คือ ๒๐ สตางค์
๑๐ สตางค์ ๕ สตางค์ และ ๒ ๑/๒ สตางค์ ใช้ปนกับเงินซีก เสี้ยว อัฐ ต่อมาใน
ปลายรัชกาล โปรดให้ยกเลิกเงินเฟื้ อง ซีก เสี้ยว อัฐ และโสฬส ซึ่งเป็นเงินตรา
แบบเดิม

- โปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติธนบัตร ร.ศ. ๑๒๑ และจัดตั้งกรมธนบัตร
ขึ้น เพื่อทำหน้ าที่ในการออกธนบัตรให้มีมาตรฐานมากยิ่งขึ้น

ภาพจาก : https://bit.ly/3I088cX

๑๑

เศรษฐกิจสมัยยุคปฏิรู ปบ้านเมือง
(รัชกาลที่ ๔ - รัชกาลที่ ๖)

จัดตั้ง “บุคลัภย์” (ฺBook Club)
ขึ้นก่อน เมื่อ วันที่ ๔ ตุลาคม ๒๔๗๗
และทดลองดำเนิ นกิจการภายใน
ประเทศเท่านั้ น ต่อมาเมื่อกิจการ
ดำเนิ นไปด้วยดี และได้รับความเชื่อ
ถือจากประชาชน

ภาพจาก : https://bit.ly/3MD4HMN

จึงได้เปลี่ยนจาก “บุคลัภย์” มา
ใช้ชื่อว่า แบงก์สยามกัมมาจล
มีนโยบายเช่นเดียวกับธนาคาร
ต่างประเทศ นั บเป็นธนาคาร
แห่งแรกของประเทศที่ตั้งขึ้นมา
ด้วยเงินทุนของคนไทย

ภาพจาก : https://bit.ly/3MD4HMN

ต่อมาธนาคารนี้ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น
“ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด”
ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในปัจจุบัน



ภาพจาก : https://bit.ly/3MD4HMN

๑๒

เศรษฐกิจสมัยยุคปฏิรู ปบ้านเมือง
(รัชกาลที่ ๔ - รัชกาลที่ ๖)

๒.๓ การปรับปรุงการคมนาคม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรง
ตระหนั กถึงความสำคัญเรื่องการคมนาคมของประเทศ ซึ่งกำลังอยู่ในยุคปรับตัว
เข้าสู่ความทันสมัย จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการปรับปรุงการ
คมนาคมให้เจริญก้าวหน้ าทั้งทางบกและทางน้ำ ที่สำคัญได้แก่ การขุดคลอง การ
สร้างถนน และการสร้างทางรถไฟ

การขุดคลอง ในสมัยรัชกาลที่ ๕ การขุดคลองมุ่งประโยชน์ ด้านเศรษฐกิจ
เป็นสำคัญ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดฯ ให้หน่ วยราชการ
และเอกชนขุดคลองขึ้นเป็นจำนวนมาก เพื่อเป็นเส้นทางคมนาคมระหว่างกรุงเทพ
กับจังหวัดข้างเคียง ซึ่งเป็นแหล่งผลิตข้าวที่สำคัญ และเป็นเส้นทางลำเลียงข้าว
ออกสู่ตลาดต่างประเทศ เช่น คลองดำเนิ นสะดวก คลองเปรมประชากร คลอง
นครเฟื่ องเขตร คลองประเวศบุรีรมย์ คลองทวีวัฒนา และคลองนราภิรมย์
การสร้างถนน ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ทรงเล็งเห็นประโยชน์ ของการสร้างถนนและ
สะพานว่า จะทำให้การเดินทางไปไหนมีระยะสั้นลง และจะทำให้เกิดร่มเงาจาก
ต้นไม้สองข้างถนน รวมทั้งทำให้บ้านเมืองงดงาม ถนนที่สร้างขึ้นในสมัยนี้ เช่น
ถนนเยาวราช ถนนจักรวรรดิ ถนนอนุวงศ์ ถนนบูรพา ถนนสามเสน ถนน
ราชดำเนิ น เป็นต้น

การสร้างทางรถไฟ ในด้านการสร้างทางรถไฟตามแบบตะวันตก มีการสร้าง
ทางรถไฟเชื่อมระหว่างกรุงเทพฯ กับหัวเมืองในส่วนภูมิภาคทั้งภาคเหนื อ ภาค
อีสาน และภาคใต้ ทางรถไฟที่สร้างขึ้น เช่น ทางรถไฟสายกรุงเทพ-นครราชสีมา
ทางรถไฟสายเหนื อ ทางรถไฟสายใต้ นอกจากนี้ ก็มีทางรถไฟสายกรุงเทพ-
สมุทรปราการ กรุงเทพ-พระพุทธบาท , กรุงเทพ-มหาชัย-ท่าจีน-แม่กลอง สาย
บางพระและสายแปดริ้ว เป็นต้น

ภาพจาก : หนั งสือ “กรุงเทพในอดีต” โดย เทพชู ทับทอง

๑๓
เศรษฐกิจสมัยยุคปฏิรู ปบ้านเมือง

(รัชกาลที่ ๔ - รัชกาลที่ ๖)

สภาพการณ์ทางเศรษฐกิจในสมัยรัชกาลที่ ๖

สภาพการณ์ทางเศรษฐกิจระหว่าง พ.ศ.๒๔๕๓-๒๔๗๕ พระบาทสมเด็จ
พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระราชดำริจัดตั้งสถาบันการ เงินขึ้นมา เพื่อ
ฝึกฝนให้ประชาชนของชาติเห็นถึงควสำคัญของการออมทรัพย์ จึงได้มีกิจการ
“ธนาคารออมสิน” เกิดขึ้น

ภาพจาก : https://bit.ly/3MD4HMN

มีการเปลี่ยนแปลงมาตราชั่ง ตวง วัด ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันตามแบบสากล
โดยนำเอาระบบของฝรั่งเศสมาใช้แทนมาตราการชั่ง ตวง วัดตามแบบเก่าของไทย

ปลายสมัยรัชกาลที่ ๖ ที่สถานการณ์การคลังของประเทศตกอยู่ในภาวะ
เสื่อมโทรมอย่างหนั ก เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครอง
ราชย์ใน ปี ๒๔๖๘ พระองค์จึงอยู่ในฐานะที่ต้องแก้ไขสถานการณ์ทางการคลัง
อย่างเร่งด่วน ดังนั้ นภายหลังพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแล้ว พระองค์จึงทรงตั้ง
พระทัยที่จะแก้ไขปัญหาการเงินของประเทศ ให้รายจ่ายรายรับเข้าสู่ดุลยภาพอย่าง
เร่งด่วน อย่างไรก็ตาม ในขณะที่รัฐบาลกำลังรอคอยเพื่อให้ภาวะเศรษฐกิจ
กระเตื้องขึ้นอยู่นั้ น ปรากฏว่าได้มีเหตุการณ์ซ้ำเติมสภาพอันผันผวนทางการเงิน
ของประเทศไทยให้เกิดภาวะวิกฤติมากขึ้นอีก คือ สภาพเศรษฐกิจของโลกที่เริ่ม
ตกต่ำมาเป็นลำดับ ตั้งแต่ ๒๔๗๒ อันเป็นผลสืบเนื่ องมาจากสงครามโลกครั้งที่ ๑
และกลับทรุดหนั กลงไปอีกในปี ๒๔๗๔ ประเทศไทยขณะนั้ นประสบกับภาวะ
“ข้าวยากหมากแพง” ประชาชนทั่วไปต่างพากันเดือดร้อนอย่างหนั ก ภาวะเงินฝืด
ทั่วประเทศ ทรงพยายามที่จะปรับปรุงทางด้านเศรษฐกิจให้ดีขึ้น แต่ขณะเดียวกัน
ก็มีปัญหาแทรกซ้อนเกิดขึ้น จนมีผลกระทบต่อโครงสร้างทางเศรษฐกิจโดยส่วน
รวม ปัจนกลายเป็นเงื่อนไขทีก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองในที่สุด

๑๔

เศรษฐกิจสมัยยุคประชาธิปไตยจนถึงปัจจุบัน
(รัชกาลที่ ๗ - รัชกาลที่ ๑๐)

หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

คือการสร้างและพัฒนาชาติด้านเศรษฐกิจ ในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
พ.ศ. ๒๔๗๕ คณะราษฎรได้กำหนดนโยบายด้านเศรษฐกิจปรากฏใน หลัก ๖
ประการ โดยขั้นแรกรัฐมอบหมายให้หลวงประดิษฐ์ มนูธรรม
เป็นผู้ร่างเค้าโครงเศรษฐกิจ (สมุดปกเหลือง) ซึ่งมีใจความสำคัญว่า

๑. รัฐบาลจะบังคับซื้อที่ดินทางกสิกรรมของราษฎรทั้งหมดโดยจ่ายเงินเป็น
พันธบัตรรัฐบาล

๒. รัฐจะจัดการเศรษฐกิจทั้งหมดในรูปของระบบสหกรณ์
๓. บุคคลที่มีอายุระหว่าง ๑๘-๕๕ ปี จะเป็นข้าราชการทำงานให้รัฐตามความ
สามารถและคุณวุฒิของตน โดยได้รับเงินเดือนจากรัฐบาลหรือสหกรณ์ตามที่
กำหนดซึ่งเค้าโครงเศรษฐกิจดังกล่าวไม่เป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป รวมทั้ง
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เพราะเป็นนโยบายของระบอบคอมมิวนิ สต์
จึงล้มเลิกไปในที่สุด

เค้าโครงเศรษฐกิจ สมุดปกเหลืองและสมุดปกขาว
ภาพจาก : pridi.or.th

๑๕

เศรษฐกิจสมัยยุคประชาธิปไตยจนถึงปัจจุบัน
(รัชกาลที่ ๗ - รัชกาลที่ ๑๐)

ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

๑. ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำเริ่มก่อตัวช่วงปลายสมัยรัชกาลที่ ๖ เพราะใช้เงินใน
การปรับปรุงหน่ วยราชการและบำรุงศิลปวัฒนธรรมจำนวนมาก และมีรายรับลด
ลงเพราะเกิดปัญหาขัดแย้งในยุโรปจนนำไปสู่สงครามโลกครั้งที่ ๑

๒. สมัยรัชกาลที่ ๗ เศรษฐกิจยังไม่ฟื้ นตัวเพราะสินค้าไทยขายไม่ได้ เพราะต่าง
ชาติไม่มีการสั่ งซื้อ

๓. สมัยรัชกาลที่ ๗ เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ เกิดภาวะเงินเฟ้อทั่วโลก ซึ่ง
กระทบถึงประเทศไทยด้วย

การแก้ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำของรัชกาลที่ ๗
- ยุบเลิกหน่ วยราชการ
- ปลดข้าราชการออกบางส่วน
- ยอมลดรายจ่ายประจำปีของพระองค์ จาก ๙ ล้าน เหลือ ๖ ล้าน และ ๓

ล้านบาท ในที่สุดแต่ไม่สามารถแก้ปัญหาได้เพราะประเทศไทยขาดแคลนผู้ชำนาญ
การทางเศรษฐกิจและไม่มีแผนพัฒนาเศรษฐกิจ ความล้มเหลวในการแก้ไขปัญหา
เศรษฐกิจตกต่ำของรัชกาลที่ ๗ เป็นอีกสาเหตุหนึ่ งที่คณะราษฎรอ้างเป็นสาเหตุ
ในการปฏิวัติเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๗๕

เศรษฐกิจไทยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

หลังการเปลี่ยนแปลงปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ เศรษฐกิจไทยเริ่มกระเตื้องขึ้น สมัย
จอมพลแปลก พิบูลสงคราม (ป. พิบูลสงคราม) เป็นนายกรัฐมนตรี มีนโยบาย
สร้างชาติทางเศรษฐกิจ โดย
๑. กระตุ้นให้ประชาชนช่วยตัวเองในทางเศรษฐกิจ เช่น ทำสวนครัว เลี้ยงสัตว์ ทำ
อุตสาหกรรมในครัวเรือน
๒. โฆษณาคำขวัญ “ไทยทำ ไทยใช้ ไทยเจริญ” เพื่อกระตุ้นให้คนไทยใช้สินค้าไทย
และตื่นตัวในเรื่องชาตินิ ยม
๓. เริ่มใช้นโยบาย รัฐวิสาหกิจ ตั้งโรงงานอุตสาหกรรม จำนวนมากมาย
๔. สงวนอาชีพบางอย่างให้คนไทย เช่น ตัดผม
๕. ตั้งกระทรวงอุตสาหกรรม และตั้งพระราชบัญญัติคุ้มครองอุตสาหกรรมใน
ประเทศ

๑๖

เศรษฐกิจสมัยยุคประชาธิปไตยจนถึงปัจจุบัน
(รัชกาลที่ ๗ - รัชกาลที่ ๑๐)

เศรษฐกิจไทยระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒

ไทยประสบความเดือดร้อนทางเศรษฐกิจอย่างหนั กเพราะ
๑. การขนส่งหยุดชะงัก ทำให้ขาดแคลนสินค้า ยารักษาโรค น้ำมัน และสินค้า
ไทยขายไม่ได้
๒. ญี่ปุ่นบังคับให้ไทยขายสินค้าให้ในราคาถูก ลดค่าเงินบาท ๑ บาทเท่ากับ ๑
เยน ญี่ปุ่นพิมพ์ธนบัตรไทยเอง นำมาใช้ในประเทศไทย ทำให้ไทยเกิดภาวะ
เงินเฟ้ออย่างรุนแรง
๓. ไทยเกิดน้ำท่วมอย่างหนั ก ในเขตที่ราบภาคกลางทั้งหมด

บรรยากาศการขาดแคลนสินค้าในยามบ้านเมืองอยู่ในภาวะสงครามโลกครั้งที่ ๒
ภาพจาก : https://www.silpa-mag.com/history/article_11854

เศรษฐกิจไทยภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสั งคมแห่งชาติ

- แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ ๑ : ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๐๔-๒๕๐๙
เน้ นการลงทุนสร้างปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศ ได้แก่ การ

สร้างทางหลวงสายประธาน การพัฒนาเส้นทางรถไฟ การปรับปรุงการประปา
และการสร้าง เขื่อนเพื่อการชลประทานและการผลิตกระแสไฟฟ้าพลังน้ำ เช่น
เขื่อนภูมิพล และเขื่อนอุบลรัตน์ เป็นต้น ส่งเสริมการลงทุนของเอกชนในด้าน
อุตสาหกรรม และเน้ นการพัฒนาอุตสาหกรรม สินค้าสำเร็จรูป อีกทั้ง ส่งเสริม
การศึกษาขั้นอุดมศึกษาในส่วนภูมิภาค โดยการจัดตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ
มหาวิทยาลัยขอนแก่น

๑๗

เศรษฐกิจสมัยยุคประชาธิปไตยจนถึงปัจจุบัน
(รัชกาลที่ ๗ - รัชกาลที่ ๑๐)

- แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ ๒ : ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๑๐-๒๕๑๔
เป็นฉบับที่เน้ นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นเหมือนกับแผน

พัฒนาฯ ฉบับที่ ๑ ส่งเสริมการพัฒนาการผลิตด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม
โดยสนั บสนุนการลงทุนของชาวต่างประเทศ อีกทั้งมุ่งพัฒนากำลังคนเพื่อเป็น
พื้นฐานในการพัฒนาประเทศ โดยกระจายการศึกษาและการสาธารณสุขให้ทั่วถึง

- แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ ๓ : ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๑๕-๒๕๑๙
เน้ นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นเหมือนกับแผนพัฒนาฯ ฉบับที่

๑-๒ ส่งเสริมการวางแผนครอบครัวมากขึ้น โดยกำหนดให้การเพิ่มขึ้นของ
ประชากร เหลือร้อยละ ๒.๕ ต่อปี เนื่ องจากส่วนหนึ่ งของสาเหตุที่ทำให้เศรษฐกิจ
พัฒนาล่าช้ามาจากการเพิ่มขึ้นของประชากรอย่างรวดเร็วจนเกินไป มีการยก
ระดับการผลิตและรายได้ประชาชาติให้สูงขึ้น เน้ นการพัฒนาคนและเพิ่มการมี
งานทำ อีกทั้งรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยรักษาทุนสำรอง
ระหว่างประเทศให้มั่นคง

- แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ ๔ : ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๒๐-๒๕๒๔
เน้ นการฟื้ นฟูของสภาพเศรษฐกิจที่ตกต่ำ โดยขยายการผลิต การลงทุน

และเพิ่มการจ้างงานให้สูงขึ้น มุ่งสร้างความเป็นธรรมในสังคม เร่งกระจายรายได้
ให้ทั่วถึงและยกฐานะทางเศรษฐกิจของเกษตรกร ผู้ใช้แรงงาน และคนยากจน มี
การขยายระบบชลประทาน และการปฏิรูปที่ดิน จัดสรรแหล่งน้ำในประเทศ
อนุรักษ์ทะเลหลวง สำรวจและพัฒนาแหล่งพลังงานอ่าวไทย ปรับปรุงสภาพสิ่ง
แวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อให้เกิดประโยชน์ ทาง เศรษฐกิจสูงสุด

- แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ ๕ : ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๒๕-๒๕๒๙
ฟื้ นฟูฐานะทางเศรษฐกิจและการเงินของประเทศ ลดการขาดดุลการค้าและ

การขาดดุลงบประมาณ เร่งระดมเงินออม เน้ นโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ซึ่งผล
ประโยชน์ มิได้ตอบสนองชาวชนบทที่ยากจนโดยตรง ตลอดจนมิได้เน้ นให้
ประชาชนพึ่งตนเอง เริ่มขยาดเมืองหลักไปในภูมิภาคต่างๆ เริ่มโครงการพัฒนา
ชายฝั่ งทะเลตะวันออก และนำก๊าซหุงต้มจากอ่าวไทยมาใช้

๑๘

เศรษฐกิจสมัยยุคประชาธิปไตยจนถึงปัจจุบัน
(รัชกาลที่ ๗ - รัชกาลที่ ๑๐)

- แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ ๖ : ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๓๐-๒๕๓๔
เป้าหมายหลักคือเน้ นการพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพการบริหารทั้งใน

ภาครัฐและภาคเอกชนทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๖
แตกต่างจากแผนพัฒนาฯ ฉบับอื่นๆที่ผ่านมา คือการเปลี่ยนแนวทางและปรับ
ระบบการพัฒนาประเทศให้สามารถออกไปต่อสู้ แข่งขันในต่างประเทศได้อย่าง
จริงจัง เน้ นประสิทธิภาพของประเทศในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากยิ่ง
ขึ้น มีการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ลดปัญหาหนี้ สินของประเทศ และปรับ
โครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศให้เป็นประเทศอุตสาหกรรมมากขึ้น

*** เป็นฉบับที่ประสบความสำเร็จที่สุด และเศรษฐกิจพัฒนาขยายตัวมากที่สุดอีกด้วย ***

- แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ ๗ : ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๓๕-๒๕๓๙
เน้ นการสร้างความสมดุลเชิงปริมาณ คุณภาพ และความเป็นธรรมในสังคม

ซึ่งมีการให้ความสำคัญกับการสร้างความสมดุลของการพัฒนา ๓ มิติ นั่ นคือ การ
รักษาการขยายตัวทางเศรษฐกิจให้เหมาะสมและมีเสถียรภาพ การกระจายรายได้
และพัฒนาไปสู่ภูมิภาคและชนบทให้กว้างขวางยิ่งขึ้น และการเร่งพัฒนาทรัพยากร
มนุษย์ คุณภาพชีวิต สิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติ

- แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ ๘ : ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๔๐-๒๕๔๔
เน้ นการพัฒนาคนเป็นเป้าหมายหลัง มีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และ

คุณภาพชีวิตของคนไทย พัฒนาสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการ
พัฒนาที่ยั่งยืน มีการกระจายความเจริญไปยังส่วนภูมิภาค เน้ นกระบวนการมีส่วน
ร่วมในการทำแผนพัฒนาฯ ซึ่งจำทำให้ประชากรมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ
มากยิ่งขึ้น อีกทั้ง มีการสร้างสมรรถนะทางด้านเศรษฐกิจเพื่อสนั บสนุนการ
พัฒนาคน เกิดปัญหาผลเสียหายร้ายแรงของเศรษฐกิจแบบฟองสบู่

๑. ค่าของเงินบาทตกต่ำ แต่รัฐก็พยายามรักษาค่าเงินบาทสูงกว่าความเป็นจริง
๒. สมัยพลเอกเชาวลิต ยงใจยุทธ เงินคงคลังที่เคยมีสูงถึง ๔ หมื่นล้าน
ดอลลาร์สหรัฐร่อยหรอลงเพราะรัฐบาลนำไปพยุงค่าของเงินบาท จนเหลือเพียง
๘๐๐ ล้านดอลลาร์สหรัฐ จนทำให้ต่างประเทศไม่มั่นใจเศรษฐกิจไทย

๑๙

เศรษฐกิจสมัยยุคประชาธิปไตยจนถึงปัจจุบัน
(รัชกาลที่ ๗ - รัชกาลที่ ๑๐)

มีการถอนการลงทุน ธุรกิจต่างๆ หยุดชะงัก โรงงานอุตสาหกรรมปิดกิจการ
หลายแห่ง ประชาชนตกงาน เกิดภาวะเงินเฟ้อสูงขึ้นเรื่อย ๆ จนรัฐบาลต้องปล่อย
ให้ค่าเงินบาทลอยตัวและขอความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ
(IMF) โดยขอกู้เงินมาช่วยพยุงภาวะเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ เรียกว่า “เศรษฐกิจยุค IMF”

๓. หลังจากพลเอกเชาวลิต ยงใจยุทธ ลาออก นายชวน หลีกภัย เข้ามารับหน้ าที่
แทน สามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้ในระดับหนึ่ ง แต่ไทยก็ยังเป็นหนี้ IMF และใช้
หนี้ ต่อไปใน ปี พ.ศ. ๒๕๔๒ เศรษฐกิจไทยเริ่มกระเตื้องขึ้นเล็กน้ อย

- แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ ๙ : ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๔๕-๒๕๔๙
เน้ นการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการพัฒนาและ

บริหารประเทศ ควบคู่ไปกับการพัฒนาที่ยึดคนเป็นศูนย์กลาง เพื่อพัฒนาสังคมที่
เข้มแข็ง วางรากฐานการพัฒนาประเทศให้เข้มเเข็งขึ้น สามารถพึ่งตนเองได้อย่างรู้
เท่าทันโลก แก้ปัญหาความยากจน โดยการเพิ่มศักยภาพและโอกาสให้คนไทย
สามรถพึ่งพาตนเองได้ อีกทั้งมีการใช้ดุลยภาพ ๓ ด้านอีกด้วย นั่ นคือ สังคม
คุณภาพ สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ และสังคมที่สมานฉันท์เอื้ออาทรต่อ
กัน

- แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๐ : ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๐-๒๕๔๔
เน้ นการพัฒนาให้อยู่ร่วมกันอย่างร่มเย็นเป็นสุข ภายใต้แนวทางการปฏิบัติ

ตนตามเศรษฐกิจพอเพียง โดยการพัฒนาให้คนมีคุณภาพพร้อมคุณธรรม เพิ่ม
ศักยภาพชุมชนให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ ส่งเสริมให้เศรษฐกิจมีคุณภาพ
เสถียรภาพ และเป็นธรรม ดำรงความหลากหลายทางชีวภาพและสร้างความ
มั่นคงของฐานทรัพยากรธรรมชาติและคุณภาพสิ่งแวดล้อม และ พัฒนาระบบ
บริหารจัดการประเทศให้เกิดธรรมาภิบาลภายใต้ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระ
มหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

๒๐

เศรษฐกิจสมัยยุคประชาธิปไตยจนถึงปัจจุบัน
(รัชกาลที่ ๗ - รัชกาลที่ ๑๐)

- แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑ : ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๕-๒๕๕๙
เน้ นการพัฒนาประเทศ ภายใต้วิสัยทัศ “ประเทศมีความมั่นคงเป็นธรรม และมี
ภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง” เป็นแผนพัฒนาฯที่สืบเนื่ องมาจากแผนพัฒนา
ฉบับที่ ๘-๑๐ นั่ นคือ ยังคงยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาและ
บริหารประเทศ ซึ่งควบคู่ไปกับการพัฒนาที่ยึดคนเป็นศูนย์กลาง สร้างความเป็น
ธรรม และเกิดความเสมอภาค ลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ สังคม และ
ภูมิคุ้มกันจากวิกฤตการณ์ เพื่อให้ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมอุดม
สมบูรณ์ อย่างยั่งยืน

- แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ พ.ศ.๒๕๖๐-๒๕๖๔
ได้น้ อมนำหลัก “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” มาเป็นปรัชญานำทางในการ

พัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่ องจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ ๙-๑๑
เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและช่วยให้สั งคมไทยสามารถยืดหยัดอยู่ได้อย่างมั่นคง
เกิดภูมิคุ้มกัน และมีการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างเหมาะสม ส่งผลให้การ
พัฒนาประเทศสู่ความสมดุลและยั่งยืน ในการจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๒ ครั้ง
นี้ ได้จัดทำบนพื้นฐานของยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ.๒๕๖๑-๒๕๘๐) ซึ่งเป็นแผน
แม่บทหลักของการพัฒนาประเทศ และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable
Development Goals : SDGs) รวมทั้งการปรับโครงสร้างประเทศไทยไปสู่
ประเทศไทย ๔.๐ ตลอดจนประเด็นการปฏิรูปประเทศ นอกจากนั้ นได้ให้ความ
สำคัญกับการมีส่ วนร่วมของภาคีการพัฒนาทุกภาคส่ วนทั้งในระดับกลุ่มอาชีพ
ระดับภาค และระดับประเทศในทุกขั้นตอนของแผนฯ อย่างกว้างขวางและต่อเนื่ อง
เพื่อร่วมกันกำหนดวิสัยทัศน์ และทิศทางการพัฒนาประเทศ รวมทั้งร่วมจัดทำราย
ละเอียดยุทธศาสตร์ของแผนฯ เพื่อมุ่งสู่ “ ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ”

จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจข้างต้นทั้งหมดนี้ เป็นแผนที่สร้างขึ้นมาเพื่อ
พัฒนาระบบเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งจะเห็นได้ว่าในทุก ๆ ฉบับ จะเป็นการแก้
ปัญหาของระบบเศรษฐกิจ ณ ขณะนั้ น และเป็นการแก้ปัญหาที่เกิดจากแผน
พัฒนาฯฉบับก่อนหน้ า ดังเช่น ปัญหาการเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจยังคงมีอยู่ ซึ่ง
สืบเนื่ องมาจากอดีตจนถึงปัจจุบัน

บ ร ร ณ า นุ ก ร ม

ชั้น: คะแนน:

ดนั ย ไชยโยธา. ประวัติศาสตร์ไทย : ยุคกรุงธนบุรีถึงกรุงรัตนโกสินทร์.
กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์, ๒๕๕๐

ศิริพร กรอบทอง, และสักกะ จารวิวัฒน์ . (๒๕๕๕). ประวัติศาสตร์ ๓.
กรุงเทพฯ : สำนั กพิมพ์เอมพันธ์ จำกัด.

ปิยนาถ บุนนาค . ประวัติศาสตร์ไทยสมัยใหม่ (ตั้งแต่การทำสนธิสัญญา
เบาว์ริง ถึงเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖). กรุงเทพฯ : โครงการเผยแพร่
ผลงานทางวิชาการ คณะอักษรศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๐

จารุวรรณ ปัททุม. ๒๕๖๓. “บทเรียนคอมพิวเตอร์ประวัติศาสตร์สมัย
รัตนโกสินทร์”. [ระบบออนไลน์ ]. (๓ มีนาคม ๒๕๖๕). แหล่งที่มา
https://bit.ly/35OSh3H.


Click to View FlipBook Version