The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

รายงานผลการจัดกิจกรรมบ้านนักวิทย์ ระดับประถมศึกษา

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by masnee saai, 2023-07-16 10:13:23

รายงานผลการจัดกิจกรรมบ้านนักวิทย์

รายงานผลการจัดกิจกรรมบ้านนักวิทย์ ระดับประถมศึกษา

Keywords: รายงานผลการจัดกิจกรรมบ้านนักวิทย์ ระดับประถมศึกษา ปีการศึกษา 2565

คำนำ การเรียนรู้และการทดลองวิทยาศาสตร์ เป็นกระบวนการแสวงหาความรู้หรือการค้นคว้าหาคำตอบใน สิ่งที่นักเรียนอยากรู้หรือสงสัยด้วยวิธีการที่หลากหลาย เป็นการเรียนรู้ที่นักเรียน ได้เลือกศึกษาตามความสนใจ ของตนเองหรือเป็นกลุ่มตัดสินใจร่วมกัน นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อค้นหาคำตอบด้วยตนเอง และได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง นักเรียนมีความสนใจกระตือรือร้นในการร่วมกิจกรรมเป็นอย่างดี รู้จัก หน้าที่ของตนเอง มีความรับผิดชอบ ช่วยเหลือผู้อื่น มั่นใจในตนเอง กล้าพูดกล้าแสดงออก เกิดทักษะทาง วิทยาศาสตร์ มีความภาคภูมิใจในตนเองและผู้อื่น ขอขอบพระคุณนายอาหามะ สะอะ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านพร่อน ศึกษานิเทศก์สำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1 และคุณครูทุกท่านในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่ให้คำปรึกษา ให้ข้อแนะนำ ในการวางแผนการทำงานร่วมกัน ทำให้รายงานสรุปผลการจัดกิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ระดับประถมศึกษา สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ผู้จัดทำหวังว่า รายงานผลการจัดกิจกรรมของนักเรียนตามโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศ ไทย ระดับประถมศึกษา จะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่นำไปใช้ และพัฒนานักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ต่อไป จึงขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ นางสาวมาสนี สะอิ พนักงานราชการโรงเรียนบ้านพร่อน


สารบัญ เรื่อง หน้า กิจกรรมที่ 1 การทดสอบความรู้สึก 1 กิจกรรมที่ 2 ไม่เห็น ไม่ได้ยิน 5 กิจกรรมที่ 3 การได้รับกลิ่น 8 กิจกรรมที่ 4 การปรุงรส 1 1 กิจกรรมที่ 5 ความสูงของฉัน 1 4 กิจกรรมที่ 6 ลายนิ้วมือ 17 กิจกรรมที่ 7 โครงกระดูก 20 กิจกรรมที่ 8 มือยาง 23


รายงานผลการจัดกิจกรรม ปีการศึกษา ๒๕๖๕ โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ระดับประถมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1 โรงเรียนบ้านพร่อน อำเภอเมืองยะลา กิจกรรมที่ 1 ชื่อกิจกรรม การทดสอบความรู้สึก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ๑. วัตถุประสงค์ 1) สังเกตและเปรียบเทียบการรับความรู้สึกของผิวหนังบริเวณต่าง ๆ ที่ฝ่ามือและนิ้วมือ ๒. ขั้นตอนการจัดกิจกรรม 1) ให้นักเรียนจับคู่เพื่อทำกิจกรรมร่วมกัน 2) แต่ละคู่ร่วมกันตอบคำถามต่อไปนี้ 2.1) จะมีความรู้สึกอย่างไรเมื่อมีดินสอปลายแหลม 1 แท่ง มาจิ้มที่ฝ่ามือหรือนิ้วมือ 2.2) จะมีความรู้สึกอย่างไรเมื่อมีดินสอปลายแหลม 2 แท่ง ที่ถือไว้ชิดติดกันมาจิ้มที่ฝ่ามือ หรือนิ้วมือ 2.3) จะมีความรู้สึกอย่างไรเมื่อมีดินสอปลายแหลม 2 แท่ง ที่เว้นระยะห่างจากกันมาจิ้มที่ฝ่า มือหรือนิ้วมือ 3) แต่ละคู่ผลัดกันทำกิจกรรม ดังนี้ 3.1) ทำความเข้าใจถึงวิธีการต่าง ๆ ในการจิ้มดินสอ ดังนี้ - วิธีการที่ 1 ใช้ดินสอ 1 แท่ง - วิธีการที่ 2 ใช้ดินสอ 2 แท่ง ที่อยู่ชิดติดกัน - วิธีการที่ 3 ใช้ดินสอ 2 แท่ง ที่มีระยะห่าง.......เซนติเมตร (กำหนดระยะห่างเอง) 3.2) ร่วมกันกำหนดจุดที่จิ้มดินสอบนบริเวณต่าง ๆ ของฝ่ามือและนิ้วมือให้ตรงกันในแต่ละ วิธี 3.3) คนที่ถูกจิ้มด้วยดินสอต้องหลับตา เพื่อสังเกตและบอกความรู้สึกที่ถูกดินสอจิ้มในแต่ละ บริเวณบนฝ่ามือและนิ้วมือ และบอกว่าถูกดินสอจิ้มจำนวน 1 หรือ 2 แท่ง สิ่งที่ต้องควบคุมให้เหมือนกันขณะจิ้มดินสอ 1. ปลายแหลมของดินสอ 2. ตั้งแท่งดินสอให้ตรงขณะจิ้ม 3. บริเวณที่จิ้มบนฝ่ามือและนิ้วมือตามที่แต่ละคู่กำหนด 4. แรงที่ใช้จิ้ม


2 3.4) คนที่จิ้มดินสอจิ้มดินสอลงบนบริเวณที่กำหนดของคนที่ถูกจิ้ม โดยใช้วิธีการที่ 1 2 หรือ 3 โดยไม่บอกว่าใช้วิธีการใดในการจิ้มดินสอในแต่ละครั้ง และช่วยบันทึกผลลงในแบบบันทึก กิจกรรม โดยเขียนจุดตามจำนวนดินสอที่ผู้ถูกจิ้มดินสอบอกว่าถูกจิ้มด้วยดินสอ 1 หรือ 2 แท่ง ในบริเวณต่าง ๆ 4) แต่ละคู่เปรียบเทียบผลการสังเกตจากการทำกิจกรรมและร่วมกันตอบคำถามต่อไปนี้ 4.1) ความรู้สึกจากการใช้ดินสอจิ้มแต่ละครั้งเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร 4.2) บริเวณใดที่รับความรู้สึกได้ดีกว่ากัน รู้ได้อย่างไร 4.3) จะทำอย่างไรให้คนอื่น ๆ รับรู้สัมผัสได้ว่าดินสอที่มาจิ้มมี 2 แท่ง 4.4)ในการจิ้มผิวหนังด้วยดินสอ 2 แท่ง ถ้าระยะห่างระหว่างดินสอมากขึ้น จะรู้สึกอย่างไร ใช้ข้อมูลใดมาสนับสนุนความคิด 5) นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายและสะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำกิจกรรมนี้ 6) ครูขยายความรู้เรื่องผิวหนังกับการรับความรู้สึก ๒.๑ วัสดุ อุปกรณ์ 1) แบบบันทึกกิจกรรมการทดสอบความรู้สึก จำนวน 1 ชุด/คน 2) ดินสอ จำนวน 1 แท่ง/คน 3.) ไม้บรรทัด จำนวน 1 อัน/คู่ ๒.๒ การทำกิจกรรม


3 ๒.๓ การนำเสนอผลงาน ๒.๔ ผลงานนักเรียน ๓. ผลการจัดกิจกรรม ๓.๑ ผลที่เกิดขึ้นตามวัตถุประสงค์ 1) สังเกตและเปรียบเทียบการรับความรู้สึกของผิวหนังบริเวณต่าง ๆ ที่ฝ่ามือและนิ้วมือได้ ๓.๒ การพัฒนาทักษะและกระบวนการของผู้เรียน 3.2.1 ด้านความรู้ 1) เข้าใจการใช้ประสาทสัมผัสในชีวิตประจำวัน เช่น การสัมผัส 2) เปรียบเทียบความแตกต่างของการตอบสนองตอสิ่งเร้าของฝามือและนิ้วมือ


4 3.2.2 ด้านทักษะ 1) ทักษะทางสังคม 1.1) รับฟังบุคคลอื่นและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน 1.2) ช่วยเหลือและให้ความเคารพซึ่งกันและกัน 2) ทักษะกระบวนการ 2.1) การสังเกตและอธิบายความแตกตางของการตอบสนองตอสิ่งเราของฝามือและนิ้วมือ 3) ทักษะส่วนบุคคล 3.1) วางแผนและดำเนินกิจกรรมด้วยตนเองอย่างอิสระ 3.2) เรียนรู้การทำงานให้สำเร็จด้วยความสามารถของตนเองโดยอาศัยความรู้ที่ได้มาจากการ ปฏิบัติด้วยตนเอง 3.2.3 ด้านเจตคติ 1) ความสนใจใฝ่รู้ 2) ความรับผิดชอบ 3.2.4 ด้านสมรรถนะ 1) ความสามารถในการคิด 2) ความสามารถในการสื่อสาร


5 กิจกรรมที่ 2 ชื่อกิจกรรม ไม่เห็นไม่ได้ยิน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ๑. วัตถุประสงค์ 1) สังเกตและอธิบายความสำคัญของตาและหู 2) ออกแบบวิธีการสื่อสารเมื่อตาและหูไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ๒. ขั้นตอนการจัดกิจกรรม รอบที่ 1 เกมปริศนาฮาเฮ 1) แต่ละกลุ่มเลือกผู้ใบ้ 1 คน ยืนหันหน้าไปทางหน้าของครู คนที่เหลือในกลุ่มเป็นผู้ทาย ให้ยืนหัน หลังให้ครู 2) ให้ผู้ใบ้ใบ้คำตามที่ครูเตรียมไว้โดยใช้วิธีการใดก็ได้ในการสื่อสาร แต่ห้ามส่งเสียง 3) กลุ่มใดทายถูกเป็นกลุ่มแรกจะเป็นผู้ชนะ รอบที่ 2 ปิดตาตีหม้อ 1) ให้แต่ละกลุ่มเลือกผู้ที่ถูกปิดตา 1 คน เพื่อเป็นคนตีหม้อ 2) นำหม้อไปวางให้ห่างจากผู้ตีหม้อ 3 เมตร โดยไม่บอกว่าวางที่ตำแหน่งใด 3) สมาชิกในกลุ่มช่วยกันบอกทิศทาง 4) กลุ่มใดตีหม้อได้ก่อนจะเป็นฝ่ายชนะ ๒.๑ วัสดุ อุปกรณ์ 1) ผ้าปิดตา จำนวน 1 ผืน/คน 2) ที่อุดหู จำนวน 1 คู่/คน 3) หม้อหรือภาชนะสำหรับเล่นเกมปิดตาตีหม้อ จำนวน 1 ใบ/กลุ่ม 4) ไม้ตีหม้อ จำนวน 1 อัน/กลุ่ม


6 ๒.๒ การทำกิจกรรม ๒.๓ การนำเสนอผลงาน


7 ๒.๔ ผลงานนักเรียน ๓. ผลการจัดกิจกรรม ๓.๑ ผลที่เกิดขึ้นตามวัตถุประสงค์ 1) สังเกตและอธิบายความสำคัญของตาและหูได้ 2) ออกแบบวิธีการสื่อสารเมื่อตาและหูไม่สามารถทำงานได้ตามปกติได้ ๓.๒ การพัฒนาทักษะและกระบวนการของผู้เรียน 3.2.1 ด้านความรู้ 1) เข้าใจการใช้ประสาทสัมผัสในชีวิตประจำวัน เช่น การมองเห็น การได้ยิน 3.2.2 ด้านทักษะทางสังคม 1) ทักษะทางสังคม 1.1) รับฟังบุคคลอื่นและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน 1.2) ช่วยเหลือและให้ความเคารพซึ่งกันและกัน 2) ทักษะกระบวนการ 2.1) การสังเกตและอธิบายความแตกต่างหน้าที่ของตาและหู 3) ทักษะส่วนบุคคล 3.1) เข้าใจและยอมรับเอกลักษณ์ของร่างกายแต่ละบุคคล 3.2) วางแผนและดำเนินกิจกรรมด้วยตนเองอย่างอิสระ 3.3) เรียนรู้การทำงานให้สำเร็จด้วยความสามารถของตนเองโดยอาศัยความรู้ที่ได้มาจากการ ปฏิบัติด้วยตนเอง 3.2.3 ด้านเจตคติ 1) ความสนใจใฝ่รู้/อยากรู้อยากเห็น 2) ความรับผิดชอบ 3.2.4 ด้านสมรรถนะ 1) ความสามารถในการคิด 2) ความสามารถในการสื่อสาร


8 กิจกรรมที่ 3 ชื่อกิจกรรม การได้รับกลิ่น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ๑. วัตถุประสงค์ 1) สังเกต ทดลอง และอธิบายการใช้ประสาทสัมผัสในการดมกลิ่น 2) สังเกตและบอกแหล่งที่มาของกลิ่น ๒. ขั้นตอนการจัดกิจกรรม 1) เทน้ำเปล่าในแก้วใสให้มีปริมาณเท่ากันจำนวน 6 ใบ 2) ตัดกระดาษเป็นรูปสี่เหลี่ยมจำนวน 6 แผ่น ให้มีขนาดที่สามารถปิดปากแก้วได้ 3) เทน้ำส้มสายชู ลงในแก้วใส แล้วใช้หลอดหยดดูดน้ำส้มสายชู 4) หยดน้ำส้มสายชูลงในแก้วแต่ละใบ ดังนี้ แก้วใบที่ 1 หยดน้ำส้มสายชู 1 หยด แก้วใบที่ 2 หยดน้ำส้มสายชู 2 หยด แก้วใบที่ 3 หยดน้ำส้มสายชู 4 หยด แก้วใบที่ 4 หยดน้ำส้มสายชู 8 หยด แก้วใบที่ 5 หยดน้ำส้มสายชู 16 หยด แก้วใบที่ 6 หยดน้ำส้มสายชู 32 หยด แล้วปิดฝา 5) ให้นักเรียนดมกลิ่นจากปริมาณน้ำส้มสายชูน้อยที่สุดไปมากที่สุดและดมกลิ่นจากปริมาณ น้ำส้มสายชูมากที่สุดไปน้อยที่สุด และบันทึกผล แล้วตอบว่าการได้รับกลิ่นของแต่ละคนเป็นอย่างไร เช่น - นักเรียนได้รับกลิ่นแบบไหนดีกว่าระหว่างดมกลิ่นจากปริมาณน้ำส้มสายชูน้อยที่สุดไปมาก ที่สุดและดมกลิ่นจากปริมาณน้ำส้มสายชูมากที่สุดไปน้อยที่สุด 6) ครูสลับแก้วโดยที่นักเรียนไม่รู้ แล้วให้นักเรียนดมกลิ่นแล้วตอบคำถาม - แก้วน้ำใบไหนมีกลิ่นแรงมากที่สุด แก้วน้ำใบไหนมีกลิ่นน้อยที่สุด ช่วยกันอภิปรายผลและ บันทึกผลการทดลอง 7) ให้นักเรียนทำการทดลองแบบเดิม แต่เปลี่ยนเป็นกลิ่นมะลิต่อ ๒.๑ วัสดุ อุปกรณ์ ๑) น้ำเปล่า จำนวน 1 ขวด/กลุ่ม ๒) แก้วน้ำ จำนวน 8 ใบ/กลุ่ม ๓) น้ำส้มสายชู จำนวน 1 ขวด 4) กลิ่นมะลิ จำนวน 1 ขวด 5) หลอดหยด จำนวน 2 อัน/กลุ่ม 6) กระดาษแข็ง จำนวน 1 แผ่น


9 ๒.๒ การทำกิจกรรม ๒.๓ การนำเสนอผลงาน ๒.4 ผลงานนักเรียน


10 ๓. ผลการจัดกิจกรรม ๓.๑ ผลที่เกิดขึ้นตามวัตถุประสงค์ 1) สังเกต ทดลอง และอธิบายการใช้ประสาทสัมผัสในการดมกลิ่นได้ 2) สังเกตและบอกแหล่งที่มาของกลิ่นได้ ๓.๒ การพัฒนาทักษะและกระบวนการของผู้เรียน 3.2.1 ด้านความรู้ 1) อธิบายการใช้ประสาทสัมผัสในการดมกลิ่นได้ 2) บอกแหล่งที่มาของกลิ่นได้ 3.2.2 ด้านทักษะ 1) ทักษะทางสังคม 1.1) รับฟังบุคคลอื่นและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน 1.2) ช่วยเหลือและให้ความเคารพซึ่งกันและกัน 2) ทักษะกระบวนการ 2.1) การทําความเขาใจและตั้งสมมติฐานการทดลอง และสงตอไปยังสมมติฐานการทดลอง อื่น ๆ 2.2) พยากรณการไดรับกลิ่นของแตละคน 2.3) การบันทึกผลการทํากิจกรรม 2.4) การทดลอง 2.5) การสะทอนความเขาใจเกี่ยวกับการรับกลิ่นของแตละคนมีความแตกตางกัน 3) ทักษะส่วนบุคคล 3.1) วางแผนและดําเนินกิจกรรมดวยตนเองอยางอิสระ 3.2) เรียนรูการทํางานใหสําเร็จดวยความสามารถของตนเองโดยอาศัยความรูที่ไดมาจากการ ปฏิบัติดวยตนเอง 3.2.3 ด้านเจตคติ 1) ความสนใจใฝ่รู้/อยากรู้อยากเห็น 2) ความรับผิดชอบ 3.2.4 ด้านสมรรถนะ 1) ความสามารถในการคิด 2) ความสามารถในการสื่อสาร


11 กิจกรรมที่ 4 ชื่อกิจกรรม การปรุงรส ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ๑. วัตถุประสงค์ 1) สังเกต ทดลอง และอธิบายวิธีการแกรสชาติ ๒. ขั้นตอนการจัดกิจกรรม 1) เตรียมน้ำซุป 1 ลิตร 2) เทเกลือ 1 ช้อนโต๊ะ ลงในน้ำซุป และคน 3) เทน้ำซุปปริมาณเท่ากัน ใส่แก้ว 3 ใบ 4) ให้แต่ละกลุ่ม เติมน้ำตาลลงในแก้วแต่ละใบในปริมาณต่างกัน 5) คนจนละลาย ชิมรสชาติ บันทึกและอภิปรายผล 6) เทน้ำซุปปริมาณเท่ากัน ใส่แก้ว 3 ใบ 7) ให้นักเรียนแก้รสชาติด้วยการเติมอย่างอื่นที่นอกเหนือจากน้ำตาล เช่น นม น้ำส้มสายชู ๒.๑ วัสดุ อุปกรณ์ ๑) น้ำเปล่า จำนวน 1 ขวด/กลุ่ม ๒) แก้วน้ำ จำนวน 8 ใบ/กลุ่ม ๓) น้ำส้มสายชู จำนวน 1 ขวด 4) กลิ่นมะลิ จำนวน 1 ขวด 5) หลอดหยด จำนวน 2 อัน/กลุ่ม 6) กระดาษแข็ง จำนวน 1 แผ่น ๒.๒ การทำกิจกรรม


12 ๒.๓ การนำเสนอผลงาน ๒.4 ผลงานนักเรียน


13 ๓. ผลการจัดกิจกรรม ๓.๑ ผลที่เกิดขึ้นตามวัตถุประสงค์ 1) อธิบายวิธีแก้รสชาติของน้ำซุปได้ ๓.๒ การพัฒนาทักษะและกระบวนการของผู้เรียน 3.2.1 ด้านความรู้ 1) อธิบายการใช้ประสาทสัมผัสในการชิมรสชาติ 2) เข้าใจวิธีแก้รสชาติของน้ำซุปได้ 3.2.2 ด้านทักษะ 1) ทักษะทางสังคม 1.1) รับฟังบุคคลอื่นและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน 1.2) ช่วยเหลือและให้ความเคารพซึ่งกันและกัน 2) ทักษะกระบวนการ 2.1) การทําความเขาใจและตั้งสมมติฐานการทดลอง และสงตอไปยังสมมติฐานการทดลอง อื่น ๆ เพื่อแก้ปัญหารสชาติเค็มเกินไป 2.2) การทดลอง 3) ทักษะส่วนบุคคล 3.1) วางแผนและดําเนินกิจกรรมดวยตนเองอยางอิสระ 3.2) เรียนรูการทํางานใหสําเร็จดวยความสามารถของตนเองโดยอาศัยความรูที่ไดมาจากการ ปฏิบัติดวยตนเอง 3.2.3 ด้านเจตคติ 1) ความสนใจใฝ่รู้/อยากรู้อยากเห็น 2) ความรับผิดชอบ 3.2.4 ด้านสมรรถนะ 1) ความสามารถในการคิด 2) ความสามารถในการสื่อสาร


14 กิจกรรมที่ 5 ชื่อกิจกรรม ความสูงของฉัน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ๑. วัตถุประสงค์ 1) วัดและเปรียบเทียบความยาวของเท้ากับความสูงของร่างกายตนเองโดยใช้หน่วยวัดที่ไม่ใช่หน่วย มาตรฐาน (เท้า) และหน่วยวัดมาตรฐาน ๒. ขั้นตอนการจัดกิจกรรม 1) ให้นักเรียนจับคู่เพื่อทำกิจกรรมร่วมกัน - ให้นักเรียนประมาณความสูงของตัวเองว่าสูงประมาณเท่าไร - ตั้งคำถามเพื่อกระตุ้นการเรียนรู้ เช่น นักเรียนมีวิธีการใดบ้างที่จะทราบความสูงของตัวเองโดยห้ามใช้ที่วัดส่วนสูงโดยตรง 2) เลือกนักเรียน 1 คน เพื่อมาเป็นนายแบบในการวัดส่วนสูง 3) ให้นายแบบใช้หน่วยวัดที่ไม่ใช่หน่วยมาตรฐาน คือ (เท้า) วัดกับขนาดความสูงของร่างกายตัวเอง 4) ให้นักเรียนลองใช้อวัยวะส่วนอื่นๆของร่างกาย วัดกับส่วนสูงของร่างกายแล้วบันทึกผล 5) ให้นักเรียนแต่ละคนสำรวจว่าอวัยวะส่วนใดในร่างกายที่มีขนาดเท่ากันบ้าง 6) นักเรียนแต่ละคนบันทึกผลการวัดความยาวของอวัยวะร่างกายตนเองและเปรียบเทียบว่าอวัยวะ ส่วนใดในร่างกายที่เท่ากันบ้าง ๒.๑ วัสดุ อุปกรณ์ ๑) กระดาษบรุ๊ฟ จำนวน 1 แผ่น/คู่ ๒) ไม้บรรทัด จำนวน 1 อัน/คู่ ๓) สายวัด จำนวน 1 สาย/คู่ 4) ดินสอ จำนวน 1 แท่ง/คน


15 ๒.2 การทำกิจกรรม ๒.๓ การนำเสนอผลงาน ๒.4 ผลงานนักเรียน


16 ๓. ผลการจัดกิจกรรม ๓.๑ ผลที่เกิดขึ้นตามวัตถุประสงค์ 1) อธิบายวิธีแก้รสชาติของน้ำซุปได้ ๓.๒ การพัฒนาทักษะและกระบวนการของผู้เรียน 3.2.1 ด้านความรู้ 1) การใช้ประสาทสัมผัสในการชิมรสชาติ 2) รู้วิธีแก้รสชาติของน้ำซุปได้ 3.2.2 ด้านทักษะ 1) ทักษะทางสังคม 1.1) รับฟังบุคคลอื่นและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน 1.2) ช่วยเหลือและให้ความเคารพซึ่งกันและกัน 2) ทักษะกระบวนการ 2.1) การทําความเขาใจและตั้งสมมติฐานการทดลอง และสงตอไปยังสมมติฐานการทดลอง อื่น ๆ เพื่อแก้ปัญหารสชาติเค็มเกินไป 2.2) การทดลอง 3) ทักษะส่วนบุคคล 3.1) วางแผนและดําเนินกิจกรรมดวยตนเองอยางอิสระ 3.2) เรียนรูการทํางานใหสําเร็จดวยความสามารถของตนเองโดยอาศัยความรูที่ไดมาจากการ ปฏิบัติดวยตนเอง 3.2.3 ด้านเจตคติ 1) ความสนใจใฝ่รู้/อยากรู้อยากเห็น 2) ความรับผิดชอบ 3.2.4 ด้านสมรรถนะ 1) ความสามารถในการคิด 2) ความสามารถในการสื่อสาร


17 กิจกรรมที่ 6 ชื่อกิจกรรม ลายนิ้วมือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ๑. วัตถุประสงค์ 1) สังเกต บอกลักษณะของลายนิ้วมือและเปรียบเทียบลายนิ้วมือของนิ้วต่าง ๆ ของตนเอง 2) สังเกต เปรียบเทียบและระบุความแตกต่างของลายนิ้วมือของตนเองกับเพื่อน 3) อภิปรายและลงข้อสรุปเกี่ยวกับลายนิ้วมือของแต่ละบุคคล ๒. ขั้นตอนการจัดกิจกรรม ๑) ให้นักเรียนสังเกตและบอกลักษณะผิวหนังบนปลายนิ้วหัวแม่มือข้างซ้ายของตนเอง ๒) ให้นักเรียนตั้งคำถามหรือสิ่งที่อยากรู้เกี่ยวกับลายนิ้วมือว่าจะมีวิธีหาคำตอบได้อย่างไร ๓) ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4 - 5 คน ทำบัตรประจำตัว โดยวิธีทำดังนี้ 3.1) กดนิ้วมือ 1 นิ้ว ลงบนหมึก โดยไม่กดแรงจนเกินไป 3.2) พิมพ์ลายนิ้วมือโดยวางนิ้วบนกระดาษเพียงครั้งเดียว ไม่ขยับนิ้วมือไปมาและไม่ออกแรง กดมากไป 3.3) ทำซ้ำจนครบทุกนิ้ว จากนั้นทำความสะอาดนิ้วมือ 4) ให้นักเรียนสังเกตภาพรูปแบบลายนิ้วมือ และเปรียบเทียบลายนิ้วมือของตนเองกับภาพที่สังเกต 5) ระบุรูปแบบลายนิ้วมือของตนเองลงในบัตรประจำตัว สังเกตและเปรียบเทียบลายนิ้วมือบนบัตร ประจำตัวของตนเองกับเพื่อนในกลุ่ม 6) สมาชิกแต่ละคนในกลุ่ม พิมพ์ลายนิ้วหัวแม่มือข้างซ้ายของตนเองบนกระดาษ แล้วนำมารวมกัน เพื่อทำภารกิจ นักสืบลายนิ้วมือ 7) แต่ละกลุ่มวางแผนเพื่อแบ่งบทบาทหน้าที่ทำภารกิจ “ค้นหาเจ้าของลายพิมพ์นิ้วมือบนกระดาษแต่ ละใบ”ให้เร็วที่สุด โดยมีรายละเอียดกิจกรรมดังนี้ 7.1) สลับกระดาษพิมพ์ลายนิ้วมือพร้อมบัตรประจำตัวของกลุ่มตนเองกับกลุ่มข้างกัน 7.2) ลงมือปฏิบัติภารกิจตามที่ได้วางแผนไว้ให้เร็วที่สุด (ครูกำหนดเวลาตามความเหมาะสม) 7.3) ส่งสัญญาณเมื่อปฏิบัติภารกิจสำเร็จ โดยชูมือขึ้นและร้อง “เฮ่” 8) ให้แต่ละกลุ่มบอกวิธีการอะไรบ้างที่ค้นหาเจ้าของลายพิมพ์นิ้วมือ 9) นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายผลและสรุปผล ลายนิ้วมือมีลักษณะอย่างไร ลายนิ้วมือมีรูปแบบ ใดบ้าง ลายนิ้วมือของแต่ละคนเหมือนหรือแตกต่างกัน 10) ครูขยายความรู้เรื่องการหาลายนิ้วมือสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการตามหาผู้กระทำผิดในคดี ต่าง ๆ ได้ ๒.๑ วัสดุ อุปกรณ์ ๑) หมึก จำนวน 1 ตลับ/กลุ่ม ๒) แบบบันทึกกิจกรรม “บัตรประจำตัว” จำนวน 1 แผ่น/คน ๓) กระดาษแผ่นเล็ก จำนวน 1 แผ่น/คน 4) ดินสอ จำนวน 1 แท่ง/คน 5) แว่นขยาย จำนวน 2-3 อัน/กลุ่ม


18 6) ตะกร้าสำหรับใส่กระดาษ จำนวน 1 ใบ/กลุ่ม 7) อุปกรณ์ทำความสะอาดหมึกบนนิ้วมือ (ตามความเหมาะสม) ๒.๒ การทำกิจกรรม ๒.๓ การนำเสนอผลงาน


19 ๒.๔ ผลงานนักเรียน ๓. ผลการจัดกิจกรรม ๓.๑ ผลที่เกิดขึ้นตามวัตถุประสงค์ 1) สังเกต บอกลักษณะของลายนิ้วมือและเปรียบเทียบลายนิ้วมือของนิ้วต่าง ๆ ของตนเองได้ 2) สังเกต เปรียบเทียบและระบุความแตกต่างของลายนิ้วมือของตนเองกับเพื่อนได้ 3) อภิปรายและลงข้อสรุปเกี่ยวกับลายนิ้วมือของแต่ละบุคคลได้ ๓.๒ การพัฒนาทักษะและกระบวนการของผู้เรียน 3.2.1 ด้านความรู้ 1) บอกลักษณะของลายนิ้วมือและเปรียบเทียบลายนิ้วมือของนิ้วต่าง ๆ ของตนเอง 2) เปรียบเทียบและระบุความแตกต่างของลายนิ้วมือของตนเองกับเพื่อนได้ 3.2.2 ด้านทักษะ 1) ทักษะทางสังคม 1.1) รับฟังบุคคลอื่นและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน 1.2) ช่วยเหลือและให้ความเคารพซึ่งกันและกัน 2) ทักษะกระบวนการ 2.1) การสังเกตและอธิบายความแตกต่างของลายนิ้วมือ 2.2) การจำแนกประเภทรูปแบบของลายนิ้วมือ 3) ทักษะส่วนบุคคล 3.1) เข้าใจและยอมรับเอกลักษณ์ของร่างกายแต่ละบุคคล 3.2) วางแผนและดำเนินกิจกรรมด้วยตนเองอย่างอิสระ 3.3) เรียนรู้การทำงานให้สำเร็จด้วยความสามารถของตนเองโดยอาศัยความรู้ที่ได้มาจากการ ปฏิบัติด้วยตนเอง 3.2.3 ด้านเจตคติ 1) ความสนใจใฝ่รู้/อยากรู้อยากเห็น 2) ความรับผิดชอบ 3.2.4 ด้านสมรรถนะ 1) ความสามารถในการคิด 2) ความสามารถในการสื่อสาร


20 กิจกรรมที่ 7 ชื่อกิจกรรม โครงกระดูก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ๑. วัตถุประสงค์ 1) สังเกต วัดความยาว และบอกรูปร่างของกระดูกแขนและมือมนุษย์ 2) สร้างแบบจำลองแขนและมือ และบอกความแตกต่างของกระดูกแขนและมือจริงกับแบบจำลองที่ สร้างขึ้น ๒. ขั้นตอนการจัดกิจกรรม 1) นักเรียนแบ่งกลุ่ม 2) ครูแจกวัสดุ อุปกรณ์ 3) ให้นักเรียนสังเกตอุปกรณ์ 4) ออกแบบโครงกระดูกแขนและมือจำลอง และบันทึกลงในแบบบันทึกกิจกรรม ๒.๑ วัสดุ อุปกรณ์ ๑) สายวัด/ไม้บรรทัด จำนวน 1 อัน/กลุ่ม ๒) รูปภาพโครงกระดูกมนุษย์/กระดูกแขน จำนวน 1 รูป/กลุ่ม ๓) กระดาษแข็ง จำนวน 1 แผ่น/กลุ่ม 4) ปากกาเคมี จำนวน 2 แท่ง/กลุ่ม 5) สี จำนวน 1 กล่อง/กลุ่ม 6) หมุดทองเหลือง จำนวน 1 กล่อง/กลุ่ม 7) กรรไกร จำนวน 1 เล่ม/กลุ่ม 8) ดินสอ จำนวน 5 แท่ง/กลุ่ม


21 ๒.๒ การทำกิจกรรม ๒.๓ การนำเสนอผลงาน ๒.๔ ผลงานนักเรียน


22 ๓. ผลการจัดกิจกรรม ๓.๑ ผลที่เกิดขึ้นตามวัตถุประสงค์ 1) วัดความยาว และบอกรูปร่างของกระดูกแขนและมือมนุษย์ได้ 2) สร้างแบบจำลองแขนและมือ และบอกความแตกต่างของกระดูกแขนและมือจริงกับแบบจำลองที่ สร้างขึ้นได้ ๓.๒ การพัฒนาทักษะและกระบวนการของผู้เรียน 3.2.1 ด้านความรู้ 1) บอกรูปร่างของกระดูกแขนและมือมนุษย์ 2) บอกความแตกต่างของกระดูกแขนและมือจริงกับแบบจำลองที่สร้างขึ้น 3) อธิบายส่วนประกอบของกระดูกแขนและมือ 3.2.2 ด้านทักษะ 1) ทักษะทางสังคม 1.1) รับฟังบุคคลอื่นและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน 1.2) ช่วยเหลือและให้ความเคารพซึ่งกันและกัน 2) ทักษะกระบวนการ 2.1) การสังเกตและอภิปราย ความแตกต่างของกระดูกแขนและมือจากแบบจำลองกับ กระดูกแขนและมือจริง 2.2) สร้างและใช้แบบจำลองอธิบายส่วนประกอบของกระดูกแขนและมือ 3) ทักษะส่วนบุคคล 3.1) วางแผนและดำเนินกิจกรรมด้วยตนเองอย่างอิสระ 3.2) เรียนรู้การทำงานให้สำเร็จด้วยความสามารถของตนเองโดยอาศัยความรู้ที่ได้มาจากการ ปฏิบัติด้วยตนเอง 3.2.3 ด้านเจตคติ 1) ความสนใจใฝ่รู้/อยากรู้อยากเห็น 2) ความรับผิดชอบ 3.2.4 ด้านสมรรถนะ 1) ความสามารถในการคิด 2) ความสามารถในการสื่อสาร


23 กิจกรรมที่ 8 ชื่อกิจกรรม มือยาง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ๑. วัตถุประสงค์ 1) สังเกตและอธิบายหน้าที่ของกระดูกมือของมนุษย์ 2) สร้างแบบจำลองและอธิบายความสัมพันธ์ของลักษณะและหน้าที่ของกระดูกมือ ๒. ขั้นตอนการจัดกิจกรรม 1) ครูให้นักเรียนดูภาพเอกซเรย์กระดูกมือ และอธิบายวิธีการทำกิจกรรม 2) ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม เพื่อสร้างแบบจำลองมือ 3) ให้แต่ละกลุ่มลงมือสร้างแบบจำลองมือให้เหมือนจริงมากที่สุด 4) บันทึกผลการทำกิจกรรม ๒.๑ วัสดุ อุปกรณ์ 1) ถุงมือยาง จำนวน 2 คู่/กลุ่ม 2) ทราย จำนวน 1 กิโลกรัม/กลุ่ม 3) หนังยาง จำนวน 5 ชิ้น/กลุ่ม 4) ปากกาเคมี จำนวน 2 แท่ง/กลุ่ม 5) สี จำนวน 1 กล่อง/กลุ่ม ๒.๒ การทำกิจกรรม 24


24 ๒.๓ การนำเสนอผลงาน ๒.๔ ผลงานนักเรียน ๓. ผลการจัดกิจกรรม ๓.๑ ผลที่เกิดขึ้นตามวัตถุประสงค์ 1) อธิบายหน้าที่ของกระดูกมือของมนุษย์ได้ 2) สร้างแบบจำลองและอธิบายความสัมพันธ์ของลักษณะและหน้าที่ของกระดูกมือได้


25 ๓.๒ การพัฒนาทักษะและกระบวนการของผู้เรียน 3.2.1 ด้านความรู้ 1) อธิบายหน้าที่ของกระดูกมือของมนุษย์ 2) อธิบายความสัมพันธ์ของลักษณะและหน้าที่ของกระดูกมือ 3.2.2 ด้านทักษะ 1) ทักษะทางสังคม 1.1) รับฟังบุคคลอื่นและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน 1.2) ช่วยเหลือและให้ความเคารพซึ่งกันและกัน 2) ทักษะกระบวนการ 2.1) การสังเกตและอธิบายความแตกต่างของมือจำลองกับมือจริง 2.2) การทำกิจกรรมโดยสร้างและใช้แบบจำลองการสะท้อนความเข้าใจเกี่ยวกับกิจกรรม 3) ทักษะส่วนบุคคล 3.1) วางแผนและดำเนินกิจกรรมด้วยตนเองอย่างอิสระ 3.2) เรียนรู้การทำงานให้สำเร็จด้วยความสามารถของตนเองโดยอาศัยความรู้ที่ได้มาจากการ ปฏิบัติด้วยตนเอง 3.2.3 ด้านเจตคติ 1) ความสนใจใฝ่รู้/อยากรู้อยากเห็น 2) ความรับผิดชอบ 3.2.4 ด้านสมรรถนะ 1) ความสามารถในการคิด 2) ความสามารถในการสื่อสาร


Click to View FlipBook Version