รายงาน เรื่อง แนวโน้มการพัฒนาหลักสูตรในศตวรรษที่ 21 จัดทำโดย นางสาวศศิมา โฉมสุขขา รหัสนักศึกษา 6521110001 นักศึกษาชั้นปีที่ 2 หมู่เรียน D1 เสนอ ผศ.ดร. พัชรีภรณ์ บางเขียว รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาการพัฒนาหลักสูตร (1190201) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 สาขาวิชาคณิตศาสตร์ (ค.บ.) คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ก คำนำ รายงานเล่มนี้ จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของวิชาการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาแนวโน้มการ พัฒนาหลักสูตรในศตวรรษที่ ๒๑ เพื่อศึกษาหาความรู้ในเรื่องราว แนวโน้มการพัฒนาหลักสูตรใน ศตวรรษที่ 21 โดยได้ศึกษาผ่านแหล่งความรู้ต่าง ๆ อาทิเช่น หนังสือ รายงาน และแหล่งข้อมูลจาก แพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ โดยรายงานเล่มนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับแนวโน้มการพัฒนาหลักสูตรใน ศตวรรษที่ ๒๑ สภาพปัจจุบันของหลักสูตรไทย สภาพปัญหาหลักสูตรในประเทศไทย แนวโน้มการ พัฒนาหลักสูตรในศตวรรษที่ ๒๑ โดยแบ่งออกเป็น หลักสูตรปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐ หลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีพุทธศักราช ๒๕๕๑ (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช ๒๕๖๐ ) หลักสูตร ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) พุทธศักราช ๒๕๖๒ หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) พุทธศักราช ๒๕๖๓ หลักสูตรปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ พุทธศักราช ๒๕๖๒ และ หลักสูตรอุดมศึกษา (ภายใต้กรอบมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษา) ผู้จัดทำคาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่า รายงานเล่มนี้ จะมีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษา การพัฒนาหลักสูตร แนวโน้มการพัฒนาหลักสูตรในศตวรรษที่ ๒๑ เป็นอย่างยิ่ง ผู้จัดทำ นางสาวศศิมา โฉมสุขขา
ข สารบัญ คำนำ ........................................................................................................................................... ก สารบัญ ........................................................................................................................................ ข บทที่ ๑ สภาพปัจจุบันของหลักสูตรไทย ....................................................................................... ๑ หลักสูตรปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐.............................................................................................๑ หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า ๓ ปี..................................................................๒ หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยสำหรับเด็กอายุ๓ - ๖ ปี......................................................................๓ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีพุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560) .....................................................................................................................................................๖ หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) พุทธศักราช 2562......................................................๑๒ หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) พุทธศักราช 2563.............................................๑๕ หลักสูตรปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ พุทธศักราช 2562................................๑๘ หลักสูตรอุดมศึกษา (ภายใต้กรอบมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษา) ..................................................๒๐ บทสรุป ......................................................................................................................................๒๖ บทที่ 2 สภาพปัญหาหลักสูตรในประเทศไทย ............................................................................. ๒๘ หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ..........................................................................๒๘ หลักสูตรแกนแกนกลางการศึกษาชั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560) ......................................................................................................................................๒๘ หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) พุทธศักราช 2562......................................................๒๙ หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) พุทธศักราช 2563.............................................๒๙ หลักสูตรปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ พุทธศักราช 2562................................๓๐ หลักสูตรอุดมศึกษา (ภายใต้กรอบมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษา) .................................................๓๐ บทสรุป ......................................................................................................................................๓๑ บทที่ 3 แนวโน้มการพัฒนาหลักสูตรในศตวรรษที่ 21 ................................................................ ๓๒ ภาพรวมของศตวรรษที่ 21 กับแนวโน้มการพัฒนาหลักสูตร......................................................๓๒ แนวคิดการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21..................................................................................๓๖ การพัฒนาหลักสูตรในศตวรรษที่ 21 .........................................................................................๔๐ ข้อเสนอแนวทางการพัฒนาหลักสูตรในศตวรรษที่ 21 ...............................................................๔๑ บทสรุป ......................................................................................................................................๔๒ บทสรุป ........................................................................................................................ ๔๔ บรรณานุกรม ............................................................................................................... ๔๕
๑ บทที่ ๑ สภาพปัจจุบันของหลักสูตรไทย หลักสูตรปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ดำเนินการทบทวนหลักสูตรการศึกษา ปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๔๖ ให้มีความสอดคล้องและทันต่อการเปลี่ยนแปลงทุกด้าน เพื่อพัฒนาไปสู่ หลักสูตร การศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐ โดยนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาวิจัยและแผนแม่บท กฎหมายต่าง ๆ มาใช้ในการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยให้มีความเหมาะสมชัดเจนยิ่งขึ้น ทั้ง เป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพเด็กและกระบวนการนำหลักสูตรไปสู่การปฏิบัติในระดับเขตพื้นที่ การศึกษาและสถานศึกษา อย่างไรก็ตาม การจัดหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐ จะ ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่คาดหวังได้หากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งในระดับชาติชุมชน และ ครอบครัว เห็นคุณค่าของการศึกษาปฐมวัย มีความกระตือรือร้นที่จะเข้ามามีส่วนร่วมรับรู้และ สนับสนุนการจัดการศึกษา โดยร่วมกันทำงานอย่างต่อเนื่องเป็นระบบ ในการวางแผน ส่งเสริม สนับสนุน ตรวจสอบ ตลอดจนปรับปรุงแก้ไข เพื่อสิทธิที่เด็กทุกคน จะต้องได้รับจากการอบรมเลี้ยงดู และการศึกษาที่มีคุณภาพ ซึ่งสถานศึกษาที่มีคุณภาพและมาตรฐานนั้น จำเป็นจะต้องมีการนำ หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ลงสู่การปฏิบัติเพื่อสร้างรากฐาน คุณภาพชีวิตให้เด็ก ปฐมวัยพัฒนาไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์เกิดคุณค่าต่อตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม และ ประเทศชาติต่อไป โดยตัวหลักสูตรจะมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ วิสัยทัศน์ หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยมุงพัฒนาเด็กทุกคนใหไดรับการพัฒนาดานรางกาย อารมณ จิตใจ สังคม และสติปญญาอยางมีคุณภาพและตอเนื่อง ไดรับการจัดประสบการณการเรียนรูอยางมีความสุข และเหมาะสมตามวัย มีทักษะชีวิต และปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เปนคนดีมี วินัย และสํานึกความเปนไทย โดยความรวมมือระหวางสถานศึกษา พอแม ครอบครัว ชุมชน และ ทุกฝายที่เกี่ยวของกับการพัฒนาเด็ก หลักการ ๑. สงเสริมกระบวนการเรียนรูและพัฒนาการที่ครอบคลุมเด็กปฐมวัยทุกคน ๒. ยึดหลักการอบรมเลี้ยงดูและใหการศึกษาที่เนนเด็กเปนสําคัญ โดยคํานึงถึงความแตกตาง ระหวางบุคคลและวิถีชีวิตของเด็ก ตามบริบทของชุมชน สังคม และวัฒนธรรมไทย ๓. ยึดพัฒนาการและการพัฒนาเด็กโดยองครวม ผานการเลนอยางมีความหมาย และมี กิจกรรม ที่หลากหลาย ไดลงมือกระทําในสภาพแวดลอมที่เอื้อตอการเรียนรูเหมาะสมกับวัย และมี การพักผอนเพียงพอ ๔. จัดประสบการณการเรียนรูใหเด็กมีทักษะชีวิต และสามารถปฏิบัติตนตามหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง เปนคนดี มีวินัย และมีความสุข
๒ ๕. สรางความรูความเขาใจ และประสานความรวมมือในการพัฒนาเด็ก ระหวางสถานศึกษา กับพอแม ครอบครัว ชุมชน และทุกฝายที่เกี่ยวของกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า ๓ ปี หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า ๓ ปีจัดขึ้นสำหรับพ่อแม่ผู้เลี้ยงดูหรือผู้ที่ เกี่ยวข้อง กับการอบรมเลี้ยงดูและพัฒนาเด็ก เพื่อใช้เป็นแนวทางการอบรมเลี้ยงดูและส่งเสริม พัฒนาการและการเรียนรู้อย่างเหมาะสมกับเด็กเป็นรายบุคคล จุดหมาย หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า ๓ ปีมุ่งส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้าน ร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคม และสติปัญญา ที่เหมาะสมกับวัย ความสามารถ ความสนใจ และความ แตกต่างระหว่างบุคคลดังนี้ ๑. ร่างกายเจริญเติบโตตามวัยแข็งแรงและมีสุขภาพดี ๒.สุขภาพจิตดีและมีความสุข ๓. มีทักษะชีวิตและสร้างปฏิสัมพันธ์กับบุคคลรอบตัว และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ๔. มีทักษะการใช้ภาษาสื่อสาร และสนใจเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยสำหรับเด็กอายุต่ำกว่ำ ๓ ปีกำหนดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ดังนี้ ๑. พัฒนาการด้านร่างกาย -ร่างกายเจริญเติบโตตามวัยและมีสุขภาพดี -ใช้อวัยวะของร่างกายได้ประสานสัมพันธ์กัน ๒. พัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ -มีความสุขและแสดงออกทางอารมณ์ได้เหมาะสมกับวัย ๓. พัฒนาการด้านสังคม -รับรู้และสร้างปฏิสัมพันธ์กับบุคคลและสิ่งแวดล้อมรอบตัว -ช่วยเหลือตนเองได้เหมาะสมกับวัย ๔. พัฒนาการด้านสติปญญา -สื่อความหมายและใช้ภาษาได้เหมาะสมกับวัย -สนใจเรียนรู้สิ่งต่าง ๆรอบตัว การอบรมเลี้ยงดูและพัฒนาเด็ก ช่วงอายุแรกเกิด - ๒ ปี เน้นการอบรมเลี้ยงดูตามวิถีชีวิตประจำวัน และส่งเสริมพัฒนาการทุก ด้าน ได้แก่ด้านร่างกาย ส่งเสริมให้เด็กได้ใช้ร่างกายตามความสามารถ ด้านอารมณ์จิตใจ ส่งเสริมการ ตอบสนองความต้องการของเด็ก อย่างเหมาะสม ภายใต้สภาพแวดล้อมที่อบอุ่นและปลอดภัย ด้าน สังคม ส่งเสริมให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลใกล้ชิดและด้านสติปัญญา ส่งเสริมให้เด็กได้สังเกตสิ่งต่าง
๓ ๆ รอบตัว เพื่อสร้างความเข้าใจ และใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร ส่งเสริมการคิดและการแก้ปัญหาที่ เหมาะสมกับวัย ช่วงอายุ ๒ – ๓ ปี เน้นการจัดประสบการณ์ผ่านการเล่นตามธรรมชาติที่เหมาะสมกับวัยอย่าง เป็นองค์รวม ทั้งทางด้านร่างกายอารมณ์จิตใจสังคม และสติปัญญา โดยจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับ ความต้องการ ความสนใจ และความสามารถตามวัยของเด็ก ทั้งนี้เด็กในช่วงวัยนี้จะมีพัฒนาการ เพิ่มขึ้นมากกว่าในช่วงแรก เด็กมีการพึ่งพาตนเอง แสดงความเป็นตัวของตัวเอง จึงจำเป็นต้องคำนึงถึง สาระการเรียนรู้ที่ประกอบด้วย ประสบการณ์สำคัญและสาระที่ควรเรียนรู้ตลอดจนส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมเพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนรู้ในระดับที่สูงขึ้นไป หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย สำหรับเด็กอายุ ๓ - ๖ ปี หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย สำหรับเด็กอายุ๓ - ๖ ปีมุ่งให้เด็กมีพัฒนาการตามวัยเต็มตาม ศักยภาพ และมีความพร้อมในการเรียนรู้ต่อไป จึงกำหนดจุดหมายเพื่อให้เกิดกับเด็กเมื่อจบการศึกษา ระดับปฐมวัยดังนี้ ๑. ร่างกายเจริญเติบโตตามวัยแข็งแรงและมีสุขนิสัยที่ดี ๒.สุขภาพจิตดีมีสุนทรียภาพ มีคุณธรรม จริยธรรม และจิตใจที่ดีงาม ๓. มีทักษะชีวิตและปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีวินัย และอยู่ร่วมกับ ผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ๔. มีทักษะการคิด การใช้ภาษาสื่อสารและการแสวงหาความรู้ได้เหมาะสมกับวัย คุณลักษณะที่พึงประสงค หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย สำหรับเด็กอายุ๓ - ๖ ปีกำหนดมาตรฐานคุณลักษณะที่พึง ประสงค์จำนวน ๑๒ มาตรฐานประกอบด้วย ๑. พัฒนาการด้านร่างกาย ประกอบด้วย ๒ มาตรฐาน คือ มาตรฐานที่ ๑ ร่างกายเจริญเติบโตตามวัยและมีสุขนิสัยที่ดี มาตรฐานที่ ๒ กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กแข็งแรง ใช้ได้อย่างคล่องแคล่ว และ ประสานสัมพันธ์กัน ๒. พัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ประกอบด้วย ๓ มาตรฐาน คือ มาตรฐานที่ ๓ มีสุขภาพจิตดีและมีความสุข มาตรฐานที่ ๔ ชื่นชมและแสดงออกทางศิลปะดนตรีและการเคลื่อนไหว มาตรฐานที่ ๕ มีคุณธรรม จริยธรรม และมีจิตใจที่ดีงาม ๓. พัฒนาการด้านสังคม ประกอบด้วย ๓ มาตรฐาน คือ มาตรฐานที่ ๖ มีทักษะชีวิตและปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาตรฐานที่ ๗ รักธรรมชาติสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และความเป็นไทย มาตรฐานที่ ๘ อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของ สังคม ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ๔. พัฒนาการด้านสติปญญา ประกอบด้วย ๔ มาตรฐาน คือ
๔ มาตรฐานที่ ๙ ใช้ภาษาสื่อสารได้เหมาะสมกับวัย มาตรฐานที่ ๑๐ มีความสามารถในการคิดที่เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ มาตรฐานที่ ๑๑ มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ มาตรฐานที่ ๑๒ มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้และมีความสามารถในการแสวงหาความรู้ ได้เหมาะสมกับวัย การจัดเวลาเรียนและสาระการเรียนรู้ หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยสำหรับเด็กอายุ๓ - ๖ ปีกำหนดกรอบโครงสร้างเวลาในการจัด ประสบการณ์ให้กับเด็ก ๑ - ๓ ปีการศึกษา โดยประมาณ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอายุของเด็กที่เริ่มเข้า สถานศึกษาหรือสถานพัฒนา เด็กปฐมวัยเวลาเรียนสำหรับเด็กจะขึ้นอยู่กับสถานศึกษาแต่ละแห่ง โดย มีเวลาเรียนไม่น้อยกว่า ๑๘๐ วันต่อ ๑ ปีการศึกษา ในแต่ละวันจะใช้เวลาไม่น้อยกว่า ๕ ชั่วโมง โดย สามารถปรับให้เหมาะสมตามบริบทของสถานศึกษาและสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย และสาระการเรียนรู้ ประกอบด้วย ประสบการณ์สำคัญ และสาระที่ควรเรียนรู้ การจัดประสบการณ์ การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กอายุ๓ - ๖ ปีเป็นการจัดกิจกรรมในลักษณะการบูรณาการ ผ่านการเล่น การลงมือกระทำจากประสบการณ์ตรงอย่างหลากหลาย เกิดความรู้ทักษะ คุณธรรม จริยธรรม รวมทั้งเกิดการพัฒนาทั้งด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจสังคม และสติปัญญา ไม่จัดเปนรายวิชา โดยมีหลักการจัดประสบการณ์แนวทางการจัดประสบการณ์และการจัดกิจกรรมประจำวัน ดังนี้ ๑. หลักการจัดประสบการณ์ ๑.๑ จัดประสบการณ์การเล่นและการเรียนรู้อย่างหลากหลายเพื่อพัฒนาเด็กโดยองค์รวม อย่างสมดุลและต่อเนื่อง ๑.๒ เน้นเด็กเป็นสำคัญ สนองความต้องการ ความสนใจ ความแตกต่างระหว่างบุคคลและ บริบทของสังคมที่เด็กอาศัยอยู่ ๑.๓ จัดให้เด็กได้รับการพัฒนาโดยให้ความสำคัญกับกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาการของ เด็ก ๑.๔ จัดการประเมินพัฒนาการให้เป็นกระบวนการอย่างต่อเนื่อง และเป็นส่วนหนึ่งของการ จัดประสบการณ์พร้อมทั้งนำผลการประเมินมาพัฒนาเด็กอย่างต่อเนื่อง ๑.๕ ให้พ่อแม่ครอบครัวชุมชน และทุกฝายที่เกี่ยวข้อง มีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็ก ๒. แนวทางการจัดประสบการณ์ ๒.๑ จัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับจิตวิทยาพัฒนาการและการทำงานของสมอง ที่เหมาะ กับ อายุวุฒิภาวะและระดับพัฒนาการ เพื่อให้เด็กทุกคนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพ ๒.๒ จัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับแบบการเรียนรู้ของเด็ก เด็กได้ลงมือกระทำ เรียนรู้ผ่าน ประสาทสัมผัสทั้งห้า ได้เคลื่อนไหว สำรวจเล่น สังเกตสืบค้น ทดลองและคิดแก้ปัญหาด้วยตนเอง ๒.๓ จัดประสบการณ์แบบบูรณาการ โดยบูรณาการทั้งกิจกรรม ทักษะและสาระการเรียนรู้
๕ ๒.๔ จัดประสบการณ์ให้เด็กได้คิดริเริ่ม วางแผน ตัดสินใจลงมือกระทำและนำเสนอความคิด โดยผู้สอนหรือผู้จัดประสบการณ์เป็นผู้สนับสนุนอำนวยความสะดวก และเรียนรู้ร่วมกับเด็ก ๒.๕ จัดประสบการณ์ให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กอื่นกับผู้ใหญ่ ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อ การเรียนรู้ในบรรยากาศที่อบอุ่น มีความสุข และเรียนรู้การทำกิจกรรมแบบร่วมมือในลักษณะต่าง ๆ กัน ๒.๖ จัดประสบการณ์ให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสื่อและแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลายและอยู่ใน วิถีชีวิตของเด็กสอดคล้องกับบริบท สังคม และวัฒนธรรมที่แวดล้อมเด็ก ๒.๗ จัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมลักษณะนิสัยที่ดีและทักษะการใช้ชีวิตประจำวัน ตามแนวทาง หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตลอดจนสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม และการมีวินัย ให้เป็นส่วน หนึ่งของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ๒.๘ จัดประสบการณ์ทั้งในลักษณะที่มีการวางแผนไว้ล่วงหน้าและแผนที่เกิดขึ้นในสภาพจริง โดยไม่ได้คาดการณ์ไว ๒.๙ จัดทำสารนิทัศน์ด้วยการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก เป็น รายบุคคล นำมาไตร่ตรองและใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเด็กและการวิจัยในชั้นเรียน ๒.๑๐ จัดประสบการณ์โดยให้พ่อแม่ครอบครัว และชุมชนมีส่วนร่วม ทั้งการวางแผน การ สนับสนุน สื่อแหล่งเรียนรู้การเข้าร่วมกิจกรรม และการประเมินพัฒนาการ ๓. การจัดกิจกรรมประจำวัน กิจกรรมสำหรับเด็กอายุ๓ - ๖ ปีสามารถนำมาจัดเป็นกิจกรรมประจำวันได้หลายรูปแบบ เป็นการช่วยให้ผู้สอนหรือผู้จัดประสบการณ์ทราบว่า แต่ละวันจะทำกิจกรรมอะไร เมื่อใด และอย่างไร โดยมีหลักการจัดกิจกรรมประจำวันและขอบข่ายของกิจกรรมประจำวัน ดังนี้ ๓.๑ หลักการจัดกิจกรรมประจำวัน กำหนดระยะเวลาในการจัดกิจกรรมแต่ละกิจกรรมให้ เหมาะสมกับวัยของเด็กในแต่ละวัน กิจกรรมที่เด็กมีอิสระเลือกเล่นเสรีกิจกรรมควรมีความสมดุล ระหว่างกิจกรรมในห้องและนอกห้องกิจกรรมที่ใช้กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็ก กิจกรรมที่เป็น รายบุคคล กลุ่มย่อย และกลุ่มใหญ่กิจกรรมที่เด็กเป็นผู้ริเริ่ม และผู้สอนหรือผู้จัดประสบการณ์เป็นผู้ ริเริ่ม และกิจกรรมที่ใช้กำลังและไม่ใช้กำลัง จัดให้ครบทุกประเภท ทั้งนี้กิจกรรมที่ต้องออกกำลังกาย ควรจัดสลับกับกิจกรรมที่ไม่ต้องออกกำลังมากนัก เพื่อเด็กจะได้ไม่เหนื่อย เกินไป ที่สำคัญผู้สอนต้อง คำนึงถึงกำรจัดกิจกรรม ให้ครอบคลุมพัฒนาการทุกด้าน การปลูกฝังให้เด็ก มีความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง และผู้อื่น มีความเชื่อมั่น กล้าแสดงออก มีวินัย รับผิดชอบ ซื่อสัตย์ประหยัด เมตตากรุณา เอื้อเฟอ แบ่งปัน มีมารยาท และปฏิบัติตนตามวัฒนธรรมไทยและศาสนาที่นับถือ โดยจัดกิจกรรมต่าง ๆผ่าน การเล่น ให้เด็กได้มีโอกาสตัดสินใจเลือก ได้รับการตอบสนองตามความต้องการ ได้ฝกปฏิบัติโดย สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมอย่างต่อเนื่อง การพัฒนาสังคมนิสัย การพัฒนาภาษา การส่งเสริม จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ การประเมินพัฒนาการ การประเมินพัฒนาการควรยึดหลักดังนี้ ๑. วางแผนการประเมินพัฒนาการอย่างเป็นระบบ
๖ ๒. ประเมินพัฒนาการเด็กครบทุกด้าน ๓. ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นรายบุคคลอย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่องตลอดปี ๔. ประเมินพัฒนาการตามสภาพจริงจากกิจกรรมประจำวัน ด้วยเครื่องมือและวิธีการที่ หลากหลายไม่ควรใช้แบบทดสอบ ๕. สรุปผลการประเมิน จัดทำข้อมูลและนำผลการประเมินไปใช้พัฒนาเด็ก สำหรับวิธีการ ประเมินที่เหมาะสมและควรใช้กับเด็กอายุ ๓ - ๖ ปีได้แก่การสังเกต การบันทึก พฤติกรรม การ สนทนากับเด็กการสัมภาษณ์การวิเคราะห์ข้อมูลจากผลงานเด็กที่เก็บอย่างมีระบบ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีพุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560) กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔ ให้เป็น หลักสูตรแกนกลางของประเทศ โดยกำหนดจุดหมาย และมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมายและ กรอบทิศทางในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีขีด ความสามารถในการแข่งขันในเวทีระดับโลก พร้อมกันนี้ได้ปรับกระบวนการพัฒนาหลักสูตรให้มีความ สอดคล้องกับเจตนารมณ์แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ ที่มุ่งเน้นการกระจายอำนาจทางการศึกษาให้ท้องถิ่นและสถานศึกษาได้มี บทบาทและมีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตร เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพ และความต้องการของ ท้องถิ่น วิสัยทัศน์ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็น มนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้คุณธรรม มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็น พลโลก ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มี ความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้ง เจตคติ ที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพและการศึกษา ตลอดชีวิต โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่า ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนา ตนเองได้เต็มตามศักยภาพ หลักการ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีหลักการที่สำคัญ ดังนี้ ๑. เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพของชาติ มีจุดหมายและมาตรฐานการ เรียนรู้เป็นเป้าหมายสำหรับพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีความรู้ ทักษะ เจตคติ และคุณธรรมบน พื้นฐานของความเป็นไทยควบคู่กับความเป็นสากล ๒. เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อปวงชน ที่ประชาชนทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาอย่างเสมอ ภาค และมีคุณภาพ ๓. เป็นหลักสูตรการศึกษาที่สนองการกระจายอำนาจ ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่น
๗ ๔. เป็นหลักสูตรการศึกษาที่มีโครงสร้างยืดหยุ่นทั้งด้านสาระการเรียนรู้ เวลาและการจัดการ เรียนรู้ ๕. เป็นหลักสูตรการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ๖. เป็นหลักสูตรการศึกษาสำหรับการศึกษาในระบบ นอกระบบและตาม อัธยาศัย ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย สามารถเทียบโอนผลการเรียนรู้ และประสบการณ์ จุดหมาย หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดีมีปัญญา มีความสุข มี ศักยภาพในการศึกษาต่อ และประกอบอาชีพ จึงกำหนดเป็นจุดหมายเพื่อให้เกิดกับผู้เรียน เมื่อจบ การศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังนี้ ๑. มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นคุณค่าของตนเอง มีวินัยและปฏิบัติ ตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง ๒. มีความรู้ ความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยีและมี ทักษะชีวิต ๓. มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีสุขนิสัย และรักการออกกำลังกาย ๔. มีความรักชาติ มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ยึดมั่นในวิถีชีวิตและการ ปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ๕. มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม มีจิตสาธารณะที่มุ่งทำประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามในสังคม และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข คุณลักษณะอันพึงประสงค์ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อ ให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุขในฐานะเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ดังนี้ ๑. รักชาติศาสน์ กษัตริย์ ๒. ซื่อสัตย์สุจริต ๓. มีวินัย ๔. ใฝ่เรียนรู้ ๕. อยู่อย่างพอเพียง ๖. มุ่งมั่นในการทำงาน ๗. รักความเป็นไทย ๘. มีจิตสาธารณะ นอกจากนี้ สถานศึกษาสามารถกำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์เพิ่มเติมให้สอดคล้องตามบริบทและ จุดเน้นของตนเอง
๘ มาตรฐานการเรียนรู้ การพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความสมดุล ต้องคำนึงถึงหลักพัฒนาการทางสมองและพหุปัญญา หลัก สูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงกำหนดให้ผู้เรียนเรียนรู้ ๘ กลุ่มสาระการเรียนรู้ ดังนี้ภาษาไทย คณิตศาสตร์วิทยาศาสตร์สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สุขศึกษาและพลศึกษา ศิลปะ การงานอาชีพและเทคโนโลยีภาษาต่างประเทศ สาระการเรียนรู้ (กระทรวงศึกษาธิการ, 2563) กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน แบ่งเป็น ๓ ลักษณะ ดังนี้ ๑. กิจกรรมแนะแนว เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้รู้จักตนเอง รู้รักษ์สิ่งแวดล้อม สามารถคิดตัดสินใจ คิดแก้ปัญหา กำหนดเป้าหมาย วางแผนชีวิตทั้งด้านการเรียน และอาชีพ สามารถ ปรับตนได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ยังช่วยให้ครูรู้จักและเข้าใจผู้เรียน ทั้งยังเป็นกิจกรรมที่ช่วยเหลือ และให้คำปรึกษาแก่ผู้ปกครองในการมีส่วนร่วมพัฒนาผู้เรียน
๙ ๒. กิจกรรมนักเรียน เป็นกิจกรรมที่มุ่งพัฒนาความมีระเบียบวินัย ความเป็นผู้นำผู้ตามที่ดี ความรับผิดชอบ การทำงานร่วมกัน การรู้จักแก้ปัญหา การตัดสินใจที่เหมาะสม ความมีเหตุผล การ ช่วยเหลือแบ่งปันกัน เอื้ออาทร และสมานฉันท์โดยจัดให้สอดคล้องกับความสามารถ ความถนัด และ ความสนใจของผู้เรียน ให้ได้ปฏิบัติด้วยตนเองในทุกขั้นตอน ได้แก่ การศึกษาวิเคราะห์วางแผน ปฏิบัติ ตามแผน ประเมินและปรับปรุงการทำงาน เน้นการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม ตามความเหมาะสมและ สอดคล้องกับวุฒิภาวะของผู้เรียน บริบทของสถานศึกษาและท้องถิ่น ซึ่งประกอบด้วย ๒.๑ กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด ผู้บำเพ็ญประโยชน์ และนักศึกษาวิชาทหาร ๒.๒ กิจกรรมชุมนุม ชมรม ๓. กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม ชุมชน และท้องถิ่นตามความ สนใจในลักษณะอาสาสมัคร เพื่อแสดงถึงความรับผิดชอบ ความดีงาม ความเสียสละต่อสังคม มีจิต สาธารณะ เช่น กิจกรรมอาสาพัฒนาต่าง ๆ กิจกรรมสร้างสรรค์สังคม ขั้นสูง สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในการศึกษาต่อและการประกอบอาชีพ มุ่ง พัฒนาตนและประเทศตามบทบาทของตน สามารถเป็นผู้นำ และผู้ให้บริการชุมชนในด้านต่าง ๆ โครงสร้างเวลาเรียน การกำหนดโครงสร้างเวลาเรียนพื้นฐาน และเพิ่มเติม สถานศึกษาสามารถดำเนินการ ดังนี้ ระดับประถมศึกษา สามารถปรับเวลาเรียนพื้นฐานของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้ตามความ เหมาะสม ทั้งนี้ ต้องมีเวลาเรียนรวมตามที่กำหนดไว้ในโครงสร้างเวลาเรียนพื้นฐาน และผู้เรียนต้องมี คุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดที่กำหนด ระดับมัธยมศึกษา ต้องจัดโครงสร้างเวลาเรียนพื้นฐานให้เป็นไปตามที่กำหนดและสอดคล้องกับเกณฑ์ การจบหลักสูตร รายวิชาเพิ่มเติม หรือกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนให้พิจารณาถึงความสอดคล้องกับความพร้อม จุดเน้นของ สถานศึกษาและเกณฑ์การจบหลักสูตร เฉพาะระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๓ สถานศึกษาอาจจัดให้ เป็นเวลาสำหรับสาระ การเรียนรู้พื้นฐานในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยและกลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่กำหนดไว้ในชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ปีละ ๑๒๐ ชั่วโมง และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔-๖ จำนวน ๓๖๐ ชั่วโมงนั้น เป็นเวลาสำหรับปฏิบัติกิจกรรม แนะแนวกิจกรรมนักเรียน และกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ ในส่วนกิจกรรมเพื่อสังคม และสาธารณประโยชน์ให้สถานศึกษาจัดสรรเวลาให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติกิจกรรม ดังนี้ ระดับประถมศึกษา (ป.๑-๖) รวม ๖ ปี จำนวน ๖๐ ชั่วโมง ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.๑-๓) รวม ๓ ปี จำนวน ๔๕ ชั่วโมง ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.๔-๖) รวม ๓ ปี จำนวน ๖๐ ชั่วโมง
๑๐ การจัดการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้เป็นกระบวนการสำคัญในการนำหลักสูตรสู่การปฏิบัติ หลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นหลักสูตรที่มีมาตรฐานการเรียนรู้ สมรรถนะสำคัญและคุณลักษณะอันพึง ประสงค์ของผู้เรียน เป็นเป้าหมายสำหรับพัฒนาเด็กและเยาวชน ๑. หลักการจัดการเรียนรู้การจัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถตาม มาตรฐานการเรียนรู้ สมรรถนะสำคัญ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยยึดหลักว่า ผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด เชื่อว่าทุกคนมีความสามารถ เรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ยึดประโยชน์ที่เกิดกับผู้เรียน กระบวนการจัดการเรียนรู้ต้องส่งเสริมให้ ผู้เรียน สามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและ พัฒนาการทางสมอง เน้นให้ความสำคัญทั้งความรู้ และคุณธรรม ๒. กระบวนการเรียนรู้การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้เรียนจะต้องอาศัย กระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย เป็นเครื่องมือที่จะนำพาตนเองไปสู่เป้าหมายของหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้ที่จำเป็นสำหรับผู้เรียน อาทิ กระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการ กระบวนการสร้าง ความรู้กระบวนการคิด กระบวนการทางสังคม กระบวนการเผชิญสถานการณ์และแก้ปัญหา กระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง กระบวนการปฏิบัติ ลงมือทำจริง กระบวนการจัดการ กระบวนการวิจัย กระบวนการเรียนรู้การเรียนรู้ของตนเอง กระบวนการพัฒนาลักษณะนิสัย กระบวนการเหล่านี้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนควรได้รับการฝึกฝน พัฒนา เพราะจะสามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีบรรลุเป้าหมายของหลักสูตร ดังนั้น ผู้สอนจึง จำเป็นต้องศึกษาทำความเข้าใจในกระบวนการเรียนรู้ต่าง ๆ เพื่อให้สามารถเลือกใช้ในการจัด กระบวนการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ๓. การออกแบบการจัดการเรียนรู้ผู้สอนต้องศึกษาหลักสูตรสถานศึกษาให้เข้าใจถึงมาตรฐาน การเรียนรู้ตัวชี้วัด สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์และสาระการเรียนรู้ที่ เหมาะสมกับผู้เรียน แล้วจึงพิจารณาออกแบบการจัดการเรียนรู้โดยเลือกใช้วิธีสอนและเทคนิคการ สอน สื่อ/แหล่งเรียนรู้ การวัดและประเมินผล เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพและบรรลุตาม เป้าหมายที่กำหนด ๔. บทบาทของผู้สอนและผู้เรียน ผู้สอน ศึกษาวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล แล้วนำข้อมูลมาใช้ในการวางแผนการจัดการ เรียนรู้ ที่ท้าทายความสามารถของผู้เรียน กำหนดเป้าหมายที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน ด้านความรู้ และทักษะ กระบวนการ ที่เป็นความคิดรวบยอด หลักการ และความสัมพันธ์ รวมทั้งคุณลักษณะอัน พึงประสงค์ออกแบบการเรียนรู้และจัดการเรียนรู้ที่ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลและ พัฒนาการทางสมอง เพื่อนำผู้เรียนไปสู่เป้าหมาย จัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้และดูแลช่วยเหลือ ผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้จัดเตรียมและเลือกใช้สื่อให้เหมาะสมกับกิจกรรม นำภูมิปัญญา ท้องถิ่น เทคโนโลยีที่เหมาะสมมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน ประเมินความก้าวหน้าของ ผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย เหมาะสมกับธรรมชาติของวิชาและระดับพัฒนาการของ ผู้เรียน วิเคราะห์ผลการประเมินมาใช้ในการซ่อมเสริมและพัฒนาผู้เรียน รวมทั้งปรับปรุงการจัดการ เรียนการสอนของตนเอง
๑๑ ผู้เรียน กำหนดเป้าหมายวางแผน และรับผิดชอบการเรียนรู้ของตนเอง เสาะแสวงหาความรู้ เข้าถึงแหล่งการเรียนรู้วิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อความรู้ตั้งคำถาม คิดหาคำตอบหรือหาแนวทาง แก้ปัญหาด้วยวิธีการต่าง ๆลงมือปฏิบัติจริง สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง และนำความรู้ไประยุกต์ใช้ ในสถานการณ์ต่าง ๆ มีปฏิสัมพันธ์ ทำงาน ทำกิจกรรมร่วมกับกลุ่มและครูประเมินและพัฒนา กระบวนการเรียนรู้ของตนเองอย่างต่อเนื่อง การวัดและการประเมินผล การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ แบ่งออกเป็น ๔ ระดับ ได้แก่ ๑. การประเมินระดับชั้นเรียน เป็นการวัดและประเมินผลที่อยู่ในกระบวนการจัดการ เรียนรู้ผู้สอนดำเนินการเป็นปกติและสม่ำเสมอ ในการจัดการเรียนการสอน ใช้เทคนิคการประเมิน อย่างหลากหลาย เช่น การซักถาม การสังเกต การตรวจการบ้าน การประเมินโครงงาน การประเมิน ชิ้นงาน/ ภาระงาน แฟ้มสะสมงาน การใช้แบบทดสอบ ฯลฯ โดยผู้สอนเป็นผู้ประเมินเองหรือเปิด โอกาสให้ผู้เรียนประเมินตนเอง เพื่อนประเมินเพื่อน ผู้ปกครองร่วมประเมิน ในกรณีที่ไม่ผ่านตัวชี้วัด ให้มีการสอนซ่อมเสริม การประเมินระดับชั้นเรียนเป็นการตรวจสอบว่า ผู้เรียนมีพัฒนาการ ความก้าวหน้าในการเรียนรู้อันเป็นผลมาจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนหรือไม่ และมากน้อย เพียงใด มีสิ่งที่จะต้องได้รับการพัฒนาปรับปรุงและส่งเสริมในด้านใด นอกจากนี้ยังเป็นข้อมูลให้ผู้สอน ใช้ปรับปรุงการเรียนการสอนของตนด้วย ทั้งนี้โดยสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด ๒. การประเมินระดับสถานศึกษา เป็นการประเมินที่สถานศึกษาดำเนินการเพื่อตัดสินผล การเรียนของผู้เรียนเป็นรายปี/รายภาค ผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนคุณลักษณะอัน พึงประสงค์และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน นอกจากนี้เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการศึกษาของ สถานศึกษาว่าส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนตามเป้าหมายหรือไม่ ผู้เรียนมีจุดพัฒนาในด้านใด รวมทั้ง สามารถนำผลการเรียนของผู้เรียนในสถานศึกษาเปรียบเทียบกับเกณฑ์ระดับชาติ ผลการประเมิน ระดับสถานศึกษาจะเป็นข้อมูลและสารสนเทศเพื่อการปรับปรุงนโยบาย หลักสูตร โครงการ หรือ วิธีการจัดการเรียนการสอน ตลอดจนเพื่อการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาตาม แนวทางการประกันคุณภาพการศึกษาและการรายงานผลการจัดการศึกษาต่อคณะกรรมการ สถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง และชุมชน ๓. การประเมินระดับเขตพื้นที่การศึกษา เป็นการประเมินคุณภาพผู้เรียนในระดับเขตพื้นที่ การศึกษาตามมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อใช้เป็นข้อมูล พื้นฐานในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา ตามภาระความรับผิดชอบ สามารถ ดำเนินการโดยประเมินคุณภาพผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนด้วยข้อสอบมาตรฐานที่จัดทำและดำเนินการโดย เขตพื้นที่การศึกษา หรือด้วยความร่วมมือกับหน่วยงานต้นสังกัด ในการดำเนินการจัดสอบ นอกจากนี้ ยังได้จากการตรวจสอบทบทวนข้อมูลจากการประเมินระดับสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา ๔. การประเมินระดับชาติ เป็นการประเมินคุณภาพผู้เรียนในระดับชาติตามมาตรฐาน การเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน สถานศึกษาต้องจัดให้ผู้เรียนทุกคนที่เรียนใน ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ เข้า
๑๒ รับการประเมิน ผลจากการประเมินใช้เป็นข้อมูลในการเทียบเคียงคุณภาพการศึกษาในระดับต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้ในการวางแผนยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษา ตลอดจนเป็นข้อมูลสนับสนุน การ ตัดสินใจในระดับนโยบายของประเทศ หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) พุทธศักราช 2562 เป็นหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพหลังมัธยมศึกษาตอนต้นหรือเทียบเท่าด้านวิชาชีพ ที่สอดคล้อง กับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติแผนการศึกษาแห่งชาติเป็นไปตามกรอบ คุณวุฒิแห่งชาติมาตรฐานการศึกษาของชาติ และกรอบคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ เพื่อผลิตและ พัฒนากําลังคนระดับฝีมือให้มีสมรรถนะ มีคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ สามารถ ประกอบอาชีพได้ตรงตามความ ต้องการของสถานประกอบการและการประกอบอาชีพอิสระ การเรียนการสอน การเรียนการสอนตามหลักสูตรนี้ ผู้เรียนสามารถลงทะเบียนเรียนได้ทุกวิธีเรียนที่กําหนด และ นําผลการเรียนแต่ละวิธีมาประเมินผลร่วมกันได้ สามารถขอเทียบโอนผลการเรียน และขอเทียบโอน ความรู้และประสบการณ์ได้การจัดการเรียนการสอนเน้นการปฏิบัติจริง สามารถจัดการเรียนการ สอนได้หลากหลาย รูปแบบ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจในหลักการ วิธีการและการดําเนินงาน มีทักษะการปฏิบัติงานตาม แบบแผนในขอบเขตสําคัญและบริบทต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กันซึ่งส่วนใหญ่เป็น งานประจํา ให้คําแนะนําพื้นฐาน ที่ต้องใช้ในการตัดสินใจ วางแผนและแก้ไขปัญหาโดยไม่อยู่ภายใต้ การควบคุมในบางเรื่อง สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ทักษะทางวิชาชีพ เทคโนโลยีสารสนเทศและการ สื่อสารในการแก้ปัญหาและการปฏิบัติงานในบริบทใหม่ รวมทั้งรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่น ตลอดจนมีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณ วิชาชีพ เจตคติและกิจนิสัยที่เหมาะสมในการทํางาน การจัดการศึกษาและเวลาเรียน การจัดการศึกษาในระบบปกติใช้ระยะเวลา 3 ปีการศึกษา ดังนี้ ในปีการศึกษาหนึ่ง ๆ ให้ แบ่งภาคเรียนออกเป็น 2 ภาคเรียนปกติหรือระบบทวิภาค ภาคเรียนละ 18 สัปดาห์ รวมเวลาการ วัดผล โดยมีเวลาเรียนและจํานวนหน่วยกิตตามที่กําหนด และสถานศึกษา อาชีวศึกษาหรือสถาบัน อาจเปิดสอนภาคเรียนฤดูร้อนได้อีกตามที่เห็นสมควร การเรียนในระบบชั้นเรียน ให้สถานศึกษา อาชีวศึกษาหรือสถาบันเปิดทําการสอนไม่น้อยกว่า สัปดาห์ละ 5 วัน วันละไม่เกิน 7 ชั่วโมง โดย กําหนดให้จัดการเรียนการสอนคาบละ 60 นาที โครงสร้างหลักสูตร โครงสร้างของหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2562 แบ่งเป็น 3 หมวดวิชา และกิจกรรมเสริมหลักสูตร ดังนี้ ๑. หมวดวิชาสมรรถนะแกนกลาง ไม่น้อยกว่า 22 หน่วยกิต โดยมีกลุ่มวิชาภาษาไทย กลุ่ม วิชาภาษาต่างประเทศ กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์กลุ่มวิชาสังคมศึกษา กลุ่มวิชาสุข ศึกษาและพลศึกษา
๑๓ 2. หมวดวิชาสมรรถนะวิชาชีพ ไม่น้อยกว่า 71 หน่วยกิต โดยมีกลุ่มสมรรถนะวิชาชีพพื้นฐาน กลุ่มสมรรถนะวิชาชีพเฉพาะ กลุ่มสมรรถนะวิชาชีพเลือก ฝึกประสบการณ์สมรรถนะวิชาชีพ โครงงาน พัฒนาสมรรถนะวิชาชีพ 3. หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 10 หน่วยกิต 4. กิจกรรมเสริมหลักสูตร (2 ชั่วโมง/สัปดาห์) ไม่มีหน่วยกิต การฝึกประสบการณ์สมรรถนะวิชาชีพ การจัดฝึกประสบการณ์สมรรถนะวิชาชีพต้องดําเนินการ ดังนี้สถานศึกษาอาชีวศึกษาหรือ สถาบันต้องจัดให้มีการฝึกประสบการณ์สมรรถนะวิชาชีพ ในรูปของการฝึกงานในสถานประกอบการ แหล่งวิทยาการ รัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานของรัฐ ในภาคเรียนที่ 5 และหรือภาคเรียนที่ 6 โดยใช้เวลา รวมไม่น้อยกว่า 320 ชั่วโมง กําหนดให้มีค่าเท่ากับ 4 หน่วยกิต กรณีสถานศึกษาอาชีวศึกษาหรือ สถาบันต้องการเพิ่มพูนประสบการณ์สมรรถนะวิชาชีพ สามารถนํารายวิชาที่ตรงหรือสัมพันธ์กับ ลักษณะงานไปเรียนหรือฝึกในสถานประกอบการ รัฐวิสาหกิจหรือ หน่วยงานของรัฐในภาคเรียนที่จัด ฝึกประสบการณ์สมรรถนะวิชาชีพได้รวมไม่น้อยกว่า 1 ภาคเรียน การตัดสินผลการเรียนและให้ระดับ ผลการเรียน ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับรายวิชาอื่น การจัดแผนการเรียน เป็นการกําหนดรายวิชาตามโครงสร้างหลักสูตรที่จะดําเนินการเรียนการสอนในแต่ละภาค เรียน โดยจัดอัตราส่วนการเรียนรู้ภาคทฤษฎีต่อภาคปฏิบัติในหมวดวิชาสมรรถนะวิชาชีพ ประมาณ 20: 80 ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะหรือกระบวนการจัดการเรียนรู้ของแต่ละสาขาวิชา ซึ่งมีข้อเสนอแนะ ดังนี้ 1. จัดรายวิชาในแต่ละภาคเรียน โดยคํานึงถึงรายวิชาที่ต้องเรียนตามลําดับก่อน - หลังความ ง่าย - ยาก ของรายวิชา ความต่อเนื่องและเชื่อมโยงสัมพันธ์กันของรายวิชา รวมทั้งรายวิชาที่สามารถ บูรณาการ จัดการเรียนรู้ร่วมกันในลักษณะของงาน โครงงานและหรือชิ้นงานในแต่ละภาคเรียน 2. จัดให้ผู้เรียนเรียนรายวิชาบังคับในหมวดวิชาสมรรถนะแกนกลาง หมวดวิชาสมรรถนะ วิชาชีพ ในกลุ่มสมรรถนะวิชาชีพพื้นฐานและกลุ่มสมรรถนะวิชาชีพเฉพาะ และกิจกรรมเสริมหลักสูตร ให้ครบ ตามที่กําหนดในโครงสร้างหลักสูตร 3. จัดให้ผู้เรียนได้เลือกเรียนรายวิชาชีพเลือกและวิชาเลือกเสรี ตามความถนัด ความสนใจ เพื่อสนับสนุนการประกอบอาชีพหรือศึกษาต่อ 4. จัดรายวิชาทวิภาคี และรายวิชาที่นําไปเรียนและฝึกในสถานประกอบการ รัฐวิสาหกิจ หรื อหน่วยงานของรัฐ โดยประสานงานร่วมกับสถานประกอบการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของรัฐ เพื่อ พิจารณากําหนดรายวิชาหรือกลุ่มวิชาที่ตรงกับลักษณะงานของสถานประกอบการ รัฐวิสาหกิจ หรือ หน่วยงานของรัฐในภาคเรียนนั้น ๆ 5. จัดรายวิชาฝึกงานในภาคเรียนที่ 5 หรือ 6 ครั้งเดียว จํานวน 4 หน่วยกิต (เฉลี่ย 20 ชั่ว โมงต่อสัปดาห์ต่อภาคเรียน) หรือจัดให้ลงทะเบียนเรียนเป็น 2 ครั้ง คือ ภาคเรียนที่ 5 จํานวน 2
๑๔ หน่วยกิต และภาคเรียนที่ 6 จํานวน 2 หน่วยกิต (เฉลี่ย 10 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ต่อภาคเรียน) ตาม เงื่อนไขของหลักสูตรสาขาวิชานั้น ๆ 6. จัดรายวิชาโครงงานในภาคเรียนที่ 5 หรือ 6 ครั้งเดียวจํานวน 4 หน่วยกิต หรือจัดให้ ลงทะเบียน เรียนเป็น 2 ครั้งคือ ภาคเรียนที่ 5 และภาคเรียนที่ 6 รวม 4 หน่วยกิต ตามเงื่อนไขของ หลักสูตรสาขาวิชานั้น ๆ 7. จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรในแต่ละภาคเรียน ภาคเรียนละไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ 8. จัดจํานวนหน่วยกิตรวมในแต่ละภาคเรียน ไม่เกิน 22 หน่วยกิต สําหรับการเรียนแบบเต็ม เวลา และไม่เกิน 12 หน่วยกิต สําหรับการเรียนแบบไม่เต็มเวลา ส่วนภาคเรียนฤดูร้อนจัดได้ไม่เกิน 12 หน่วยกิต ทั้งนี้เวลาในการจัดการเรียนการสอนโดยเฉลี่ยไม่ควรเกิน 35 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หาก สถานศึกษาอาชีวศึกษาหรือสถาบันมีเหตุผลและความจําเป็นในการจัดหน่วยกิตและเวลาในการ จัดการเรียนการสอนแต่ละภาคเรียนที่แตกต่างไปจากเกณฑ์ข้างต้น อาจทําได้แต่ต้องไม่กระทบต่อ มาตรฐานและคุณภาพการศึกษา การศึกษาระบบทวิภาคี เป็นรูปแบบการจัดการศึกษาที่เกิดจากข้อตกลงร่วมกันระหว่างสถานศึกษาอาชีวศึกษาหรือ สถาบันกับสถานประกอบการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของรัฐ โดยผู้เรียนใช้เวลาส่วนหนึ่งใน สถานศึกษา อาชีวศึกษาหรือสถาบัน และเรียนภาคปฏิบัติในสถานประกอบการ รัฐวิสาหกิจ หรือ หน่วยงานของรัฐ ทั้งนี้ สถานศึกษาอาชีวศึกษาหรือสถาบันต้องดําเนินการดังนี้ 1. นํารายวิชาทวิภาคีในกลุ่มสมรรถะวิชาชีพเลือกรวมไม่น้อยกว่า 18 หน่วยกิต ไปร่วม กําหนด รายละเอียดของรายวิชากับสถานประกอบการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของรัฐที่ร่วมจัด การศึกษาระบบ ทวิภาคีได้แก่ จุดประสงค์รายวิชา สมรรถนะรายวิชา คําอธิบายรายวิชา เวลาที่ใช้ฝึก และจํานวนหน่วยกิต ให้สอดคล้องกับลักษณะงานของสถานประกอบการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงาน ของรัฐ รวมทั้งสมรรถนะวิชาชีพของสาขางาน ทั้งนี้การกําหนดจํานวนหน่วยกิตและจํานวนชั่วโมงที่ ใช้ฝึกอาชีพของแต่ละรายวิชาทวิภาคีให้เป็นไปตามที่หลักสูตรกําหนด และให้รายงานการพัฒนา รายวิชาดังกล่าวให้สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาทราบด้วย 2. จัดทําแผนฝึกอาชีพ พร้อมแนวการวัดและประเมินผลในแต่ละรายวิชา เพื่อนําไปใช้ในการ ฝึกอาชีพ และวัดและประเมินผลเป็นรายวิชา 3. จัดแผนการเรียนระบบทวิภาคีตามความพร้อมของสถานประกอบการ รัฐวิสาหกิจ หรือ หน่วยงานของรัฐที่จัดการศึกษาระบบทวิภาคีร่วมกัน โดยอาจนํารายวิชาอื่นที่สอดคล้องกับลักษณะ งานของสถานประกอบการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของรัฐนั้น ๆ ไปจัดร่วมด้วยก็ได้ การสําเร็จการศึกษาตามหลักสูตร 1. ประเมินผ่านรายวิชาในหมวดวิชาสมรรถนะแกนกลาง หมวดวิชาสมรรถนะวิชาชีพ และ หมวดวิชาเลือกเสรี ตามที่กําหนดไว้ในหลักสูตร 2. ได้จํานวนหน่วยกิตสะสมครบตามโครงสร้างของหลักสูตร
๑๕ 3. ได้ค่าระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.00 และผ่านเกณฑ์การประเมินมาตรฐาน วิชาชีพ 4. เข้าร่วมกิจกรรมและประเมินผ่านทุกภาคเรียน หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) พุทธศักราช 2563 เป็นการศึกษาที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะ ความรู้ ความสามารถ และสมรรถนะทาง วิชาชีพขั้นปานกลาง รวมทั้งความสามารถในการทำหน้าที่หัวหน้างานผู้ประกอบการและสร้างสรรค์ นวัตกรรม โดยผู้จบการศึกษาระดับ ปวช.หรือสายสามัญชั้น ม.6 สามารถเข้าศึกษาในระดับนี้ ใช้เวลา 2 ปี และเมื่อจบการศึกษาแล้วสามารถออกไปประกอบอาชีพหรือศึกษาต่อระดับปริญญาตรีสาย สามัญหรือปริญญาตรีสายปฏิบัติการและเทคโนโลยีหรือเทียบเท่า การเรียนการสอน การเรียนการสอนตามหลักสูตรนี้ ผู้เรียนสามารถลงทะเบียนเรียนได้ทุกวิธีเรียนที่กำหนด และ นำผลการเรียนแต่ละวิธีมาประเมินผลร่วมกันได้ สามารถขอเทียบโอนผลการเรียน และขอเทียบโอน ความรู้และประสบการณ์ได้การจัดการเรียนการสอนเน้นการปฏิบัติจริง สามารถจัดการเรียนการ สอนได้หลากหลายรูปแบบ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจในหลักการ วิธีการและการดำเนินงาน มีทักษะการปฏิบัติงานตามแบบแผน และปรับตัวได้ภายใต้ความเปลี่ยนแปลง สามารถบูรณาการและ ประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะทางวิชาการ ที่สัมพันธ์กับวิชาชีพ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในการตัดสินใจ วางแผน แก้ปัญหาบริหาร จัดการ ประสานงานและประเมินผลการดำเนินงานได้อย่าง เหมาะสม มีส่วนร่วมในการวางแผนและพัฒนา ริเริ่มสิ่งใหม่ มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ผู้อื่นและหมู่ คณะ รวมทั้งมีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ เจตคติและกิจนิสัยที่เหมาะสมในการทำงาน การจัดการศึกษาและเวลาเรียน การจัดการศึกษาในระบบปกติสำหรับผู้เข้าเรียนที่สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพ (ปวช.) หรือเทียบเท่าในประเภทวิชาและสาขาวิชาตามที่หลักสูตรกำหนด ใช้ระยะเวลา 2 ปี การศึกษา ส่วนผู้เข้าเรียนที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า และผู้เข้าเรียน ที่สำเร็จการศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือเทียบเท่าต่างประเภทวิชาและสาขาวิชา ที่กำหนด ใช้ระยะเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปีการศึกษา และเป็นไปตามเงื่อนไขที่หลักสูตรกำหนด ในปีการศึกษาหนึ่ง ๆ ให้แบ่งภาคเรียนออกเป็น 2 ภาคเรียนปกติหรือระบบทวิภาค ภาคเรียนละ 18 สัปดาห์ รวมเวลาการวัดผล โดยมีเวลาเรียนและจำนวนหน่วยกิตตามที่กำหนด และ สถานศึกษา อาชีวศึกษาหรือสถาบันอาจเปิดสอนภาคเรียนฤดูร้อนได้อีกตามที่เห็นสมควร การเรียนในระบบชั้น เรียน ให้สถานศึกษาอาชีวศึกษาหรือสถาบันเปิดทำการสอนไม่น้อยกว่า สัปดาห์ละ 5 วัน วันละไม่เกิน 7 ชั่วโมง โดยกำหนดให้จัดการเรียนการสอนคาบละ 60 นาที
๑๖ โครงสร้างหลักสูตร โครงสร้างของหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2563 แบ่งเป็น 3 หมวด วิชา และ กิจกรรมเสริมหลักสูตร ดังนี้ 1. หมวดวิชาสมรรถนะแกนกลาง ไม่น้อยกว่า 21 หน่วยกิต ได้แก่ กลุ่มวิชาภาษาไทย กลุ่ม วิชาภาษาต่างประเทศ กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์กลุ่มวิชา มนุษยศาสตร์ 2. หมวดวิชาสมรรถนะวิชาชีพ ไม่น้อยกว่า 56 หน่วยกิต ได้แก่ กลุ่มสมรรถนะวิชาชีพ พื้นฐาน กลุ่มสมรรถนะวิชาชีพเฉพาะ กลุ่มสมรรถนะวิชาชีพเลือก ฝึกประสบการณ์สมรรถนะวิชาชีพ โครงงานพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพ 3. หมวดวิชาเลือกเสรีไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต 4. กิจกรรมเสริมหลักสูตร (2 ชั่วโมง/สัปดาห์) ไม่มีหน่วยกิต การฝึกประสบการณ์สมรรถนะวิชาชีพ การจัดฝึกประสบการณ์สมรรถนะวิชาชีพต้องดำเนินการ ดังนี้สถานศึกษาอาชีวศึกษาหรือ สถาบันต้องจัดให้มีการฝึกประสบการณ์สมรรถนะวิชาชีพ ในรูปของการฝึกงานในสถานประกอบการ แหล่งวิทยาการ รัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานของรัฐ ในภาคเรียนที่ 3 และหรือ ภาคเรียนที่ 4 โดยใช้ เวลารวมไม่น้อยกว่า 320 ชั่วโมง กำหนดให้มีค่าเท่ากับ 4 หน่วยกิต กรณีสถานศึกษาอาชีวศึกษา หรือสถาบันต้องการเพิ่มพูนประสบการณ์สมรรถนะวิชาชีพ สามารถนำรายวิชาที่ตรงหรือสัมพันธ์กับ ลักษณะงานไปเรียนหรือฝึกในสถานประกอบการ รัฐวิสาหกิจหรือ หน่วยงานของรัฐในภาคเรียนที่จัด ฝึกประสบการณ์สมรรถนะวิชาชีพได้ รวมไม่น้อยกว่า 1 ภาคเรียน การตัดสินผลการเรียนและให้ระดับ ผลการเรียน ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับรายวิชาอื่น การจัดแผนการเรียน เป็นการกำหนดรายวิชาตาม โครงสร้างหลักสูตรที่จะดำเนินการเรียนการ สอนในแต่ละภาค เรียน โดยจัดอัตราส่วนการเรียนรู้ภาคทฤษฎีต่อภาคปฏิบัติในหมวดวิชาสมรรถนะวิชาชีพ ประมาณ 40 : 60 ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับลักษณะหรือกระบวนการจัดการเรียนรู้ของแต่ละสาขาวิชา ซึ่งมีข้อเสนอแนะ ดังนี้ 1. จัดรายวิชาในแต่ละภาคเรียน โดยคำนึงถึงรายวิชาที่ต้องเรียนตามลำดับก่อน - หลัง ความ ง่าย - ยาก ของรายวิชา ความต่อเนื่องและเชื่อมโยงสัมพันธ์กันของรายวิชา รวมทั้งรายวิชาที่สามารถ บูรณาการจัดการเรียนรู้ร่วมกันในลักษณะของโครงงานและหรือชิ้นงานในแต่ละภาคเรียน 2. จัดให้ผู้เรียนเรียนรายวิชาบังคับในหมวดวิชาสมรรถนะแกนกลาง หมวดวิชาสมรรถนะ วิชาชีพ ในกลุ่มสมรรถนะวิชาชีพพื้นฐานและกลุ่มสมรรถนะวิชาชีพเฉพาะ และกิจกรรมเสริมหลักสูตร ให้ครบตามที่กำหนดในโครงสร้างหลักสูตร การจัดรายวิชาในหมวดวิชาสมรรถนะแกนกลาง ควรจัด กระจายทุกภาคเรียน การจัดรายวิชาในกลุ่มสมรรถนะวิชาชีพพื้นฐาน โดยเฉพาะรายวิชาที่เป็น พื้นฐานของการเรียนวิชาชีพควรจัดให้เรียนในภาคเรียนที่ 1 การจัดรายวิชาในกลุ่มสมรรถนะวิชาชีพ เฉพาะ ควรจัดให้เรียนก่อนรายวิชาในกลุ่มสมรรถนะวิชาชีพเลือกและรายวิชาในหมวดวิชาเลือกเสรี
๑๗ 3. จัดให้ผู้เรียนได้เลือกเรียนรายวิชาในกลุ่มสมรรถนะวิชาชีพเลือกและหมวดวิชาเลือกเสรี ตามความถนัด ความสนใจ เพื่อสนับสนุนการประกอบอาชีพหรือศึกษาต่อ โดยคำนึงถึงความ สอดคล้องกับ มาตรฐานการศึกษาวิชาชีพด้านสมรรถนะวิชาชีพของสาขาวิชาและสาขางาน 4. จัดรายวิชาทวิภาคีที่นำไปเรียนและฝึกในสถานประกอบการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงาน ของรัฐ โดยประสานงานร่วมกับสถานประกอบการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของรัฐ เพื่อพิจารณา กำหนดภาคเรียนที่จัดฝึกอาชีพ รวมทั้งกำหนดรายวิชาหรือกลุ่มวิชาที่ตรงกับลักษณะงานของสถาน ประกอบการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของรัฐที่นำไปร่วมฝึกอาชีพในภาคเรียนนั้น ๆ 5. จัดรายวิชาฝึกงานในภาคเรียนที่ 3 หรือ 4 ครั้งเดียว จำนวน 4 หน่วยกิต 320 ชั่วโมง (เฉลี่ย 20 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์ต่อภาคเรียน) หรือ จัดให้ลงทะเบียนเรียนเป็น 2 ครั้ง คือ ภาคเรียนที่ 3 จำนวน 2 หน่วยกิต และ ภาคเรียนที่ 4 จำนวน 2 หน่วยกิต รายวิชาละ 160 ชั่วโมง (เฉลี่ย 10 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ต่อภาคเรียน) ตามเงื่อนไขของหลักสูตรสาขาวิชานั้น ๆ ในภาคเรียนที่จัดฝึกงานนี้ ให้ สถานศึกษาพิจารณากำหนดรายวิชาหรือกลุ่มวิชาที่ตรงกับลักษณะงานของสถานประกอบการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของรัฐ เพื่อนำไปเรียนและฝึกปฏิบัติในภาคเรียนที่ จัดฝึกงานด้วย การจัด ฝึกงานในภาคเรียนฤดูร้อนสามารถทำได้โดยพิจารณาระยะเวลาการฝึกให้ครบตามที่หลักสูตรกำหนด 6. จัดรายวิชาโครงงานในภาคเรียนที่ 3 หรือ 4 ครั้งเดียว จำนวน 4 หน่วยกิต (12 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์ต่อภาคเรียน) หรือ จัดให้ลงทะเบียนเรียนเป็น 2 ครั้ง คือ ภาคเรียนที่ 3 และภาคเรียนที่ 4 รวม 4 หน่วยกิต (6 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ต่อภาคเรียน) ตามเงื่อนไขของหลักสูตรสาขาวิชานั้น ๆ 7. จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรในแต่ละภาคเรียน ภาคเรียนละ ไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ 8. จัดจำนวนหน่วยกิตรวมในแต่ละภาคเรียน ไม่เกิน 22 หน่วยกิต สำหรับการเรียนแบบเต็ม เวลา และไม่เกิน 12 หน่วยกิด สำหรับการเรียนแบบไม่เต็มเวลา ส่วนภาคเรียนฤดูร้อนจัดได้ไม่เกิน 12 หน่วยกิต ทั้งนี้ เวลาในการจัดการเรียนการสอนในภาคเรียนปกติและภาคเรียนฤดูร้อนโดยเฉลี่ยไม่ ควรเกิน 35 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์ ส่วนการเรียนแบบไม่เต็มเวลาไม่ควรเกิน 25 ชั่วโมงต่อสัปดาห์หาก สถานศึกษาอาชีวศึกษาหรือสถาบันมีเหตุผลและความจำเป็นในการจัดหน่วยกิตและเวลา ในการ จัดการเรียนการสอนแต่ละภาคเรียนที่แตกต่างไปจากเกณฑ์ข้างต้น อาจทำได้แต่ต้องไม่กระทบต่อ มาตรฐานและคุณภาพการศึกษา การศึกษาระบบทวิภาคี สถานศึกษาอาชีวศึกษาหรือสถาบันต้องดำเนินการดังนี้ 1. นำรายวิชาทวิภาคีในกลุ่มสมรรถนะวิชาชีพเลือก รวมไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต ไปร่วม กำหนดรายละเอียดของรายวิชากับสถานประกอบการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของรัฐที่ร่วมจัด การศึกษาระบบทวิภาคีได้แก่ จุดประสงค์รายวิชา สมรรถนะรายวิชา คำอธิบายรายวิชา เวลาที่ใช้ฝึก และจำนวนหน่วยกิตให้สอดคล้องกับ ลักษณะงานของสถานประกอบการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงาน ของรัฐ รวมทั้งสมรรถนะวิชาชีพของสาขางาน ทั้งนี้ การกำหนดจำนวนหน่วยกิตและจำนวนชั่วโมงที่ ใช้ฝึกอาชีพของแต่ละรายวิชาทวิภาคีให้เป็นไปตามที่ หลักสูตรกำหนด และให้รายงานการพัฒนา รายวิชาดังกล่าวให้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาทราบด้วย
๑๘ 2. ร่วมจัดทำแผนฝึกอาชีพ พร้อมแนวการวัดและประเมินผลในแต่ละรายวิชากับสถาน ประกอบการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของรัฐที่ร่วมจัดการศึกษาระบบทวิภาคี เพื่อนำไปใช้ในการ ฝึกอาชีพ และดำเนินการวัดและประเมินผลเป็นรายวิชา 3. จัดแผนการเรียนระบบทวิภาคีตามความพร้อมของสถานประกอบการ รัฐวิสาหกิจ หรือ หน่วยงานของรัฐ ที่จัดการศึกษาระบบทวิภาคีร่วมกัน โดยอาจนำรายวิชาอื่นที่สอดคล้องกับลักษณะ งานของสถานประกอบการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของรัฐนั้น ๆ ไปจัดร่วมด้วยก็ได้ การสําเร็จการศึกษาตามหลักสูตร 1. ประเมินผ่านรายวิชาในหมวดวิชาสมรรถนะแกนกลาง หมวดวิชาสมรรถนะวิชาชีพ และ หมวดวิชาเลือกเสรี ตามที่กําหนดไว้ในหลักสูตร 2. ได้จํานวนหน่วยกิตสะสมครบตามโครงสร้างของหลักสูตร 3. ได้ค่าระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.00 และผ่านเกณฑ์การประเมินมาตรฐาน วิชาชีพ 4. เข้าร่วมกิจกรรมและประเมินผ่านทุกภาคเรียน หลักสูตรปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ พุทธศักราช 2562 เพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนในด้านวิชาชีพระดับ ฝีมือ ระดับเทคนิคและระดับเทคโนโลยี รวมทั้งเป็นการยกระดับการศึกษาวิชาชีพให้สูงขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน โดยนำความรู้ในทางทฤษฎีอันเป็นสากลและภูมิปัญญาไทยมาพัฒนาผู้รับการศึกษาให้มีความรู้ ความสามารถในทางปฏิบัติและมีสมรรถนะจนสามารถนำไปประกอบอาชีพในลักษณะผู้ปฏิบัติหรือผู้ ประกอบอาชีพโดยอิสระได้การจัดอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพ (มาตรา 9) ให้จัดตาม หลักสูตร ที่คณะกรรมการการอาชีวศึกษากำหนด ดังต่อไปนี้ 1.หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ 2.หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง 3.หลักสูตรปริญญาตรีสายเทคโนโลยี/ปฏิบัติการ 4. หลักสูตรเพื่ออาชีพ /ศึกษาต่อ/กลุ่มเฉพาะ การจัดการศึกษา การจัดการศึกษาในระบบและระบบทวิภาคใช้ระยะเวลา 2 ปีการศึกษา การจัดภาคเรียนให้ ใช้ระบบทวิภาค โดยกำหนดให้ 1 ปีการศึกษา แบ่งออกเป็น 2 ภาคเรียน และใน 1 ภาคเรียนปกติ มี ระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 18 สัปดาห์ สำหรับภาคเรียนฤดูร้อนให้กำหนดระยะเวลาและจำนวน หน่วยกิตให้มีสัดส่วนเทียบเคียงกันได้กับภาคเรียนปกติการจัดภาคเรียนระบบอื่นให้แสดง รายละเอียด เกี่ยวกับระบบการศึกษานั้นรวมทั้งการเทียบเคียงหน่วยกิตกับระบบทวิภาคไว้ในหลักสูตรให้ชัดเจน การคิดหน่วยกิตต่อภาคเรียน 1. รายวิชาทฤษฎีที่ใช้เวลาบรรยายหรืออภิปราย ไม่น้อยกว่า 18 ชั่วโมง เท่ากับ 1 หน่วยกิต
๑๙ 2. รายวิชาปฏิบัติที่ใช้เวลาในการทดลองหรือฝึกปฏิบัติในห้องปฏิบัติการ ไม่น้อยกว่า 36 ชั่วโมงเท่ากับ 1 หน่วยกิต 3.รายวิชาปฏิบัติที่ใช้เวลาในการฝึกปฏิบัติในโรงฝึกงานหรือภาคสนาม ไม่น้อยกว่า 54 ชั่วโมง เท่ากับ 1 หน่วยกิต 4. การฝึกอาชีพในการศึกษาระบบทวิภาคี ไม่น้อยกว่า 54 ชั่วโมง เท่ากับ 1 หน่วยกิต 5. การฝึกประสบการณ์ทักษะวิชาชีพในสถานประกอบการ ไม่น้อยกว่า 54 ชั่วโมง เท่ากับ 1 หน่วยกิต 6. การทำโครงการพัฒนาทักษะวิชาชีพ ไม่น้อยกว่า 54 ชั่วโมง เท่ากับ 2 หน่วยกิต จำนวน หน่วยกิต มีจำนวนหน่วยกิตรวมระหว่าง 72 - 87 หน่วยกิต โครงสร้างหลักสูตร 1. หมวดวิชาทักษะชีวิต ประกอบด้วยกลุ่มวิชาเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะในการปรับตัว และดำเนินชีวิตในสังคม สมัยใหม่เห็นคุณค่าของตนและการพัฒนาตนมีความใฝ่รู้แสวงหาและพัฒนา ความรู้ใหม่มีความสามารถในการใช้เหตุผลการคิดวิเคราะห์การแก้ปัญหาและการจัดการมีทักษะใน การสื่อสารการ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการทำงานร่วมกับผู้อื่นมีคุณธรรม จริยธรรม มนุษย์ สัมพันธ์ รวมถึงความ รับผิดชอบต่อตนเองและสังคมรวมไม่น้อยกว่า 15 หน่วยกิต การจัดวิชาใน หมวดวิชาทักษะชีวิต สามารถทำได้ในลักษณะเป็นรายวิชาหรือลักษณะบูรณาการให้ครอบคลุมกลุ่ม วิชาภาษาไทย กลุ่มวิชา ภาษาต่างประเทศ กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ กลุ่มวิชา สังคมศาสตร์ กลุ่มวิชา มนุษยศาสตร์ ในสัดส่วนที่เหมาะสมเพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ของหมวดวิชา ทักษะชีวิต 2. หมวดวิชาทักษะวิชาชีพ ประกอบด้วยกลุ่มวิชาที่พัฒนาผู้เรียนให้เกิดสมรรถนะวิชาชีพมี ความสามารถในการคิด วิเคราะห์วางแผนจัดการประเมินผลแก้ปัญหาควบคุมงานสอนงานและพัฒนา งานโดยบูรณาการ ความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานรวมทั้งประยุกต์สู่อาชีพ รวมไม่น้อยกว่า 51 หน่วยกิต ประกอบด้วย 4 กลุ่ม ดังนี้กลุ่มทักษะวิชาชีพเฉพาะ กลุ่มทักษะวิชาชีพเลือก ฝึก ประสบการณ์ทักษะวิชาชีพ โครงการพัฒนาทักษะวิชาชีพ ในการกำหนดให้เป็นสาขาวิชาใดสาขาวิชา หนึ่งต้องศึกษากลุ่มทักษะวิชาชีพเฉพาะใน สาขาวิชานั้นๆ รวมไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต นอกจากนี้ กำหนดให้มีโครงการพัฒนาทักษะวิชาชีพ จำนวน 5 หน่วยกิต ในกรณีที่จัดการศึกษาระบบทวิภาคี อาจยกเว้นการฝึกประสบการณ์ทักษะวิชาชีพได้ 3. หมวดวิชาเลือกเสรีประกอบด้วยวิชาที่กี่ยวกับทักษะชีวิตหรือทักษะวิชาชีพเพื่อเปิดโอกาส ให้ผู้เรียนเลือกเรียนตามความถนัดและความสนใจเพื่อการประกอบอาชีพหรือการศึกษาต่อรวมไม่ น้อยกว่า 6 หน่วยกิต การยกเว้นการเรียนรายวิชาในหมวดวิชาทักษะชีวิตหมวดวิชาทักษะวิชาชีพและ หมวดวิชา เลือกเรีสามารถทำได้โดยการเทียบโอนผลการเรียนหรือโดยการเทียบโอนความรู้และ ประสบการณ์เข้า สู่หน่วยกิตตามหลักสูตรตามหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติที่คณะกรรมการการ อาชีวศึกษากำหนด4
๒๐ การวัดผลและประเมินผลการเรียน และการสำเร็จการศึกษา 1. การวัดผลและประเมินผลการเรียนให้เป็นไปตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการ จัดการศึกษาและการประเมินผลการเรียนตามหลักสูตรปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ 2. การสำเร็จการศึกษาต้องได้จำนวนหน่วยกิตสะสมครบถ้วนตามโครงสร้างที่กำหนดไว้ใน หลักสูตรและได้คะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.00 จากระบบ 4 ระดับคะแนนและผ่านการประเมิน มาตรฐานวิชาชีพการให้ปริญญาตรีเกียรตินิยมให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการการอาชีวศึกษากำหนด หลักสูตรอุดมศึกษา (ภายใต้กรอบมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษา) ตามที่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 มาตรา 34 กำหนดให้คณะกรรมการการอุดมศึกษาจัดทำมาตรฐานการอุดมศึกษาที่สอดคล้องกับ ความต้องการตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและสอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาของ ชาติโดยคำนึงถึงความเป็นอิสระและความเป็นเลิศทางวิชาการของสถาบันอุดมศึกษา คณะกรรมการ การอุดมศึกษาจึงได้ดำเนินการจัดทำมาตรฐานการอุดมศึกษาเพื่อใช้เป็นกลไก ระดับกระทรวง ระดับ คณะกรรมการการอุดมศึกษา และระดับหน่วยงานเพื่อนำไปสู่การกำหนด นโยบายของ สถาบันอุดมศึกษาในการพัฒนาการอุดมศึกษาต่อไปอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 4 แห่ง พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 4546 รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงศึกษาธิการ โดยคำแนะนำของคณะกรรมการการอุดมศึกษาในคราวประชุมครั้งที่ 7/2549 เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2559 จึงประกาศมาตรฐานการอุดมศึกษาไว้ดังต่อไปนี้มาตรฐานการ อุดมศึกษาประกอบด้วย มาตรฐาน 3 ด้าน 12 ตัวบ่งชี้ ดังนี้ 1. มาตรฐานด้านคุณภาพบัณฑิต บัณฑิตระดับอุดมศึกษาเป็นผู้มีความรู้มีคุณธรรม จริยธรรม มีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองสามารถประยุกต์ใช้ความรู้เพื่อการดำรงชีวิตในสังคม ได้อย่างมีความสุขทั้งพาง ร่างกายและจิตใจมีความสำนึกและความรับผิดชอบในฐานะพลเมืองและพล โลก ตัวบ่งชี้ (1) บัณฑิตมีความรู้ ความเชี่ยวชาญในศาสตร์ของตนสามารถเรียนรู้สร้างและประยุกต์ใช้ ความรู้เพื่อพัฒนาตนเองสามารถปฏิบัติงานและสร้างงานเพื่อพัฒนาสังคมให้สามารถแข่งขันได้ใน ระดับสากล (2) บัณฑิตมีจิตสำนึกดำรงชีวิตและปฏิบัติหน้าที่ตามความรับผิดชอบโดยยึดหลักคุณธรรม จริยธรรม (3) บัณฑิตมีสุขภาพดีทั้งด้านร่างกายและจิตใจ มีการดูแล เอาใจใส่ รักษา สุขภาพของ ตนเอง อย่างถูกต้องเหมาะสม 2. มาตรฐานด้านการบริหารจัดการการอุดมศึกษา มีการบริหารจัดการการอุดมศึกษาตาม หลักธรรมาภิบาลและพันธกิจของการอุดมศึกษาอย่าง มีคุณภาพ ก. มาตรฐานด้านธรรมาภิบาลของการบริหารการอุดมศึกษามีการบริหารจัดการการ อุดมศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลโดยคำนึงถึงความหลากหลายและความเป็นอิสระทางวิชาการ
๒๑ ตัวบ่งชี้ (1) มีการบริหารจัดการบุคลากรที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมีความยืดหยุ่น สอดคล้อง กับความต้องการที่หลากหลายของประเภทสถาบันและสังคมเพื่อเพิ่มศักยภาพในการ ปฏิบัติงานอย่าง มีอิสระทางวิชาการ (2) มีการบริหารจัดการทรัพยากรและเทคนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มี ประสิทธิภาพและประสิทธิผลคล่องตัวโปร่งใสและตรวจสอบได้มีการจัดการศึกษาผ่านระบบและ วิธีการต่าง ๆ อย่างเหมาะสมและคุ้มค่าคุ้มทุนอย่างต่อเนื่อง ข. มาตรฐานด้านพันธกิจของการบริหารการอุดมศึกษาการดำเนินงานตามพันธกิจ ของการ อุดมศึกษาทั้ง 4 ด้าน อย่างมีดุลยภาพโดยมีการประสานความร่วมมือรวมพลังจากทุกภาค ส่วนของ ชุมชนและสังคมในการจัดการความรู้ ตัวบ่งชี้ (1) มีหลักสูตรและการเรียนการสอนที่ทันสมัยยืดหยุ่นสอดคล้องกับความต้องการที่ หลากหลายของประเภทสถาบันและสังคมโดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนแบบผู้เรียน เป็นสำคัญเน้นการเรียนรู้และการสร้างงานด้วยตนเองตามสภาพจริงใช้การวิจัยเป็นฐานมีการประเมิน และใช้ผลการประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียนและการบริหารจัดการหลักสูตรตลอดจนมีการบริหารกิจการ นิสิตนักศึกษาที่เหมาะสมสอดคล้องกับหลักสูตรและการเรียนการสอน (2) มีการวิจัยเพื่อสร้างและประยุกต์ใช้องค์ความรู้ใหม่ที่เป็นการขยายพรมแดน ความรู้และทรัพย์สินทางปัญญาที่เชื่อมโยงกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมตาม ศักยภาพ ของ ประเภทสถาบันมีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างประกาศตามที่มาตรา 34 แห่ง พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พศ. 2542 ซึ่งแก้ไข เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการศึกษา แห่งชาติ(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 กำหนดให้คณะกรรมการการอุดมศึกษาเสนอมาตรฐานการ อุดมศึกษาที่ สอดคล้องกับความต้องการของสังคมตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและ แผนการศึกษา แห่งชาติโดยคำนึงถึงความเป็นอิสระและความเป็นเลิศทางวิชาการของ สถาบันอุดมศึกษาระดับ ปริญญาตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งสถานศึกษาแต่ละแห่งและกฎหมายที่ เกี่ยวข้อง คณะกรรมการ การอุดมศึกษาจึงได้ดำเนินการจัดทำมาตรฐานสถาบันอุดมศึกษา เพื่อ นำไปสู่การพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาตามกลุ่มสถาบันที่มีปรัชญาวัตถุประสงค์และพันธกิจในการจัดตั้ง ที่แตกต่างกันเพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาสามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 8 และมาตรา 16 แห่ง พระราชบัญญัติระเบียบบริหาร ราชการ สถาบันอุดมศึกษาทั้งในและต่างประเทศเพื่อพัฒนาความสามารถในการแข่งขันได้ในระดับ นานาชาติ ของสังคมและประเทศชาติ (3) มีการให้บริการวิชาการที่ทันสมัยเหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการของสังคม ตาม ระดับความเชี่ยวชาญของประเภทสถาบันมีการประสานความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษา กับ ภาคธุรกิจอุตสาหกรรมทั้งในและต่างประเทศเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและความยั่งยืนของ สังคม และประเทศชาติ
๒๒ (4) มีการอนุรักษ์ ฟื้นฟู สืบสาน พัฒนา เผยแพร่ วัฒนธรรม ภูมิปัญญา ท้องถิ่น เพื่อ เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจและความภาคภูมิใจในความเป็นไทยมีการปรับใช้ศิลปะวัฒนธรรม ต่างประเทศอย่างเหมาะสมเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาสังคมและประเทศชาติ 3. มาตรฐานด้านการสร้างและพัฒนาสังคมฐานความรู้และสังคมแห่งการเรียนรู้ การแสวงหา การสร้างและจัดการความรู้ตามแนวทาง/หลักการอันนำไปสู่สังคมฐานความรู้ ตัวบ่งชี้ (1) มีการแสวงหา การสร้าง และการใช้ประโยชน์ความรู้ทั้งส่วนที่เป็นภูมิปัญญา ท้องถิ่น และเทศเพื่อเสริมสร้างสังคมฐานความรู้ (2) มีการบริหารจัดการความรู้อย่างเป็นระบบโดยใช้หลักการวิจัยแบบบูรณาการ หลักการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลักการสร้างเครือข่ายและหลักการประสานความร่วมมือรวมพลังอัน นำไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี โดยที่เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2548 ได้ประกาศใช้มาเป็นระยะเวลา หนึ่งแล้ว จึงมีความจำเป็นต้องมีการปรับปรุงเกณฑ์มาตรฐานดังกล่าวสำหรับการผลิตบัณฑิต ระดับอุดมศึกษาที่เหมาะสมกับพลวัตของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยมีเจตนารมณ์ให้ เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2554 รองรับการบริหารจัดการหลักสูตรที่มีลักษณะ ที่แตกต่างตามจุดเน้นของสาขาวิชาการ และวิชาชีพต่าง ๆ ตอบสนองการผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพ สอดคล้องกับกรอบมาตรฐาน คุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติตลาดแรงงานความก้าวหน้าของศาสตร์ และเทคโนโลยีรวมทั้งบริบททางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 6 และมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติ ระเบียบ บริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ โดยคำแนะนำ ของคณะกรรมการการอุดมศึกษา ในคราวประชุมครั้งที่ 8/2558 เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 จึงออกประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง "เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2558" ดังต่อไปนี้ 1. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ นี้เรียกว่า "เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2558 2. ให้ใช้ประกาศกระทรวงนี้สำหรับหลักสูตรระดับปริญญาตรีทุกสาขาวิชา ที่จะเปิดใหม่ และ หลักสูตรเก่าที่จะปรับปรุงใหม่ของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชนและให้ใช้บังคับตั้งแต่วัน ถัด จากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป 3. ให้ยกเลิก 3.1 ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง "เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับ ปริญญา ตรี พ.ศ. 2548 ลงวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 3.2 ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง "การจัดการศึกษา หลักสูตรระดับ ปริญญา ตรี(ต่อเนื่อง) ของสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2553 ลงวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2553
๒๓ 4. ในประกาศกระทรวงนี้ "อาจารย์ประจำ " หมายถึง บุคคลที่ดำรงตำแหน่งอาจารย์ ผู้ช่วย ศาสตราจารย์รอง ศาสตราจารย์และศาสตราจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาที่เปิดสอนหลักสูตรนั้นที่มี หน้าที่รับผิดชอบตาม พันธกิจของการอุดมศึกษาและปฏิบัติหน้าที่เต็มเวลา สำหรับอาจารย์ประจำที่สถาบันอุดมศึกษารับเข้าใหม่ตั้งแต่เกณฑ์มาตรฐานนี้เริ่มบังคับใช้ ต้องมีคะแนนทดสอบความสามารถภาษาอังกฤษได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการ การอุดมศึกษา เรื่อง มาตรฐานความสามารถภาษาอังกฤษของอาจารย์ประจำ "อาจารย์ประจำ หลักสูตร" หมายถึง อาจารย์ ประจำที่มีคุณวุฒิตรงหรือ สัมพันธ์กับสาขาวิชาของหลักสูตรที่เปิดสอน ซึ่งมีหน้าที่สอนและค้นคว้าวิจัยในสาขา วิชาดังกล่าว ทั้งนี้ สามารถเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรหลาย หลักสูตรได้ในเวลาเดียวกัน แต่ต้องเป็นหลักสูตร ที่อาจารย์ผู้นั้นมีคุณวุฒิตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชา ของหลักสูตร "อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร" หมายถึง อาจารย์ประจำหลักสูตรที่มี ภาระหน้าที่ใน การบริหารและพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน ตั้งแต่การ วางแผน การควบคุมคุณภาพ การ ติดตามประเมินผลและการพัฒนาหลักสูตร อาจารย์ผู้รับผิดชอบ หลักสูตร ต้องอยู่ประจำหลักสูตรนั้น ตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษา โดยจะเป็นอาจารย์ ผู้รับผิดชอบหลักสูตรเกินกว่า 1 หลักสูตรในเวลา เดียวกันไม่ได้ยกเว้น พหุวิทยาการ หรือสหวิทยาการ ให้เป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรได้ อีกหนึ่ง หลักสูตร และอาจารย์ ผู้รับผิดชอบหลักสูตรสามารถซ้ำได้ไม่เกิน 2 คน "อาจารย์พิเศษ" หมายถึง ผู้สอนที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำ 5. ปรัชญา และวัตถุประสงค์มุ่งให้การผลิตบัณฑิตมีความสัมพันธ์สอดคล้องกับแผนพัฒนา การศึกษาระดับ อุดมศึกษา ของชาติ ปรัชญาของการอุดมศึกษาปรัชญาของสถาบันอุดมศึกษา และ มาตรฐานวิชาการและวิชาชีพ ที่เป็นสากล ให้การผลิตบัณฑิตระดับอุดมศึกษาอยู่บนฐานความเชื่อว่า กำลังคนที่มีคุณภาพต้องเป็น บุคคลที่มีจิตสำนึกของความเป็นพลเมืองดีที่สร้างสรรค์ ประโยชน์ต่อ สังคมและมีศักยภาพในการพึ่งพา ตนเองบนฐานภูมิปัญญาไทย ภายใต้กรอบศีลธรรมจรรยาอันดีงาม เพื่อนำพาประเทศสู่การพัฒนาที่ ยั่งยืนและทัดเทียมมาตรฐานสากล ทั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อกำกับส่งเสริมกระบวนการผลิตบัณฑิตที่เน้นการพัฒนา ผู้เรียน ให้มี ลักษณะของความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์สามารถดำรงตนอยู่ในสังคมพหุวัฒนธรรม ภายใต้กระแส โลกา ภิวัตน์ ที่มีการสื่อสารแบบไร้พรมแดน มีศักยภาพในการเรียนรู้ตลอดชีวิตมีความสามารถในการ ปฏิบัติงานได้ตามกรอบ มาตรฐานและจรรยาบรรณที่กำหนด สามารถสร้างสรรค์งานที่เกิดประโยชน์ ต่อตนเองและสังคม ทั้งในระดับท้องถิ่นและสากล โดยแบ่ง หลักสูตรเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้ 5.1 หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ แบ่งเป็น 2 แบบ ได้แก่ 5.1.1 หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ ที่มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรอบรู้ทั้ง ภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ เน้นความรู้และทักษะด้าน วิชาการ สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ใน สถานการณ์จริงได้อย่างสร้างสรรค์ 5.1.2 หลักสูตรปริญญาตรีแบบก้าวหน้าทางวิชาการ ซึ่งเป็นหลักสูตรปริญญาตรี สำหรับ ผู้เรียนที่มีความสามารถพิเศษ มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถ ระดับสูง โดยใช้ หลักสูตรปกติที่เปิดสอนอยู่แล้ว ให้รองรับศักยภาพของผู้เรียน โดยกำหนดให้ผู้เรียนได้ศึกษาบาง รายวิชาในระดับบัณฑิตศึกษาที่เปีดสอนอยู่แล้ว และสนับสนุนให้ผู้เรียนได้ทำวิจัยที่ลุ่มลึกหาง 5.2 หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาชีพหรือปฏิบัติการ แบ่งเป็น 2 แบบ ได้แก่
๒๔ 5.2.1 หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาชีพหรือปฏิบัติการ ที่มุ่งผลิตบัณฑิต ให้มีความ รอบรู้ทั้ง ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เน้นความรู้ สมรรถนะและทักษะด้านวิชาชีพ ตามข้อกำหนดของ มาตรฐานวิชาชีพ หรือมีสมรรถณะและทักษะด้านการปฏิบัติเชิงเทคนิค ในศาสตร์สาขาวิชานั้น ๆ โดยผ่านการฝึกงานในสถานประกอบการ หรือสหกิจศึกษา ๆ หลักสูตรแบบนี้เท่านั้นที่ จัดหลักสูตร ปริญญาตรี (ต่อเนื่อง) ได้ เพราะมุ่งผลิตบัณฑิตที่มีทักษะการปฏิบัติการอยู่แล้ว ให้มีความรู้ด้าน วิชาการมากยิ่งขึ้น รวมทั้งได้รับการฝึกปฏิบัติขั้นสูงเพิ่มเติม หลักสูตรปริญญาตรี (ต่อเนื่อง) ถือเป็น ส่วนหนึ่งของหลักสูตรปริญญาตรี และจะต้องสะท้อนปรัชญาและเนื้อหาสาระของหลักสูตรปริญญาตรี นั้นโดยครบถ้วน และให้ระบุคำว่า "ต่อเนื่อง" ในวงเล็บต่อท้ายชื่อหลักสูตร 5.2.2 หลักสูตรปริญญาตรีแบบก้าวหน้าทางวิชาชีพหรือปฏิบัติการ ซึ่งเป็นหลักสูตร สำหรับ ผู้เรียนที่มีความสามารถพิเศษ มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ สมรรถนะทางวิชาชีพหรือ ปฏิบัติการขั้นสูง โดยใช้หลักสูตรปกติที่เปิดสอนอยู่แล้ว ให้รองรับศักยภาพของผู้เรียน โดยกำหนดให้ ผู้เรียนได้ศึกษาบางรายวิชาในระดับบัณฑิตศึกษาที่เปิดสอนอยู่แล้ว และทำวิจัยที่ลุ่มลึกหรือได้รับการ ฝึกปฏิบัติขั้นสูงในหน่วยงาน องค์กร หรือสถาน ประกอบการ หลักสูตรปริญญาตรีแบบก้าวหน้าทาง วิชาการหรือทางวิชาชีพ หรือปฏิบัติการ ต้องมีการเรียนรายวิชาระดับบัณฑิตศึกษาไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต 6. ระบบการจัดการศึกษา ใช้ระบบทวิภาคโดย 1 ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ภาค การศึกษาปกติ 1 ภาคการศึกษา ปกติมีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์สถาบันอุดมศึกษาที่ เปิดการศึกษาภาคฤดูร้อนให้กำหนดระยะเวลาและจำนวนหน่วยกิตโดย มีสัดส่วนเทียบเคียงกันได้กับ การศึกษาภาคปกติสถาบันอุดมศึกษาที่จัดการศึกษาในระบบไตรภาค หรือระบบจตุรภาค ให้ถือ แนวทางดังนี้ ระบบไตรภาค 1 ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 3 ภาคการศึกษาปกติ 1 ภาคการศึกษาปกติ มี ระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 12 สัปดาห์โดย 1 หน่วยกิตระบบไตรภาค เทียบได้กับ 12/15 หน่วยกตระบบทวิภาค หรือ 4 หน่วยกิตระบบทวิภาค เทียบได้กับ 5 หน่วยกิตระบบไตรภาค ระบบจตุรภาค 1 ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 4 ภาคการศึกษาปกติ ภาคการศึกษาปกติ มี ระยะเวลา ศึกษาไม่น้อยกว่า 10 สัปดาห์โดย 1 หน่วยกิตระบบจตุรภาค เทียบได้กับ 10/15 หน่วย กิต ระบบทวิภาค หรือ 2 หน่วยกิตระบบทวิภาค เทียบได้กับ 3 หน่วยกิตระบบจตุรภาค สถาบันอุดมศึกษาที่จัดการศึกษาระบบอื่นให้แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับระบบ การศึกษานั้นรวมทั้ง รายละเอียดการเทียบเคียงหน่วยกิตกับระบบทวิภาคไว้ใน หลักสูตรให้ชัดเจนด้วย 7. การคิดหน่วยกิต 7.1 รายวิชาภาคทฤษฎี ที่ใช้เวลาบรรยายหรืออภิปรายปัญหาไม่น้อยกว่า 15 ชั่วโมงต่อภาค การศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิตระบบทวิภาค 7.2 รายวิชาภาคปฏิบัติ ที่ใช้เวลาฝึกหรือทดลองไม่น้อยกว่า 30 ชั่วโมง ต่อภาค การศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิตระบบทวิภาค 7.3 การฝึกงานหรือการฝึกภาศสนาม ที่ใช้เวลาฝึกไม่น้อยกว่า 45 ชั่วโมง ต่อภาค การศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิตระบบทวิภาค
๒๕ 7.4 การทำโครงงานหรือกิจกรรมการเรียนอื่นใดตามที่ได้รับมอบหมาย ที่ใช้เวลาทำ โครงงาน หรือกิจกรรมนั้น ๆ ไม่น้อยกว่า 45 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิต ระบบบทวิภาค 8. จำนวนหน่วยกิตรวมและระยะเวลาการศึกษา 8.1 หลักสูตรปริญญาตรี ( 4 ปี) ให้มีจำนวนหน่วยกิตรวมไม่น้อยกว่า 120 หน่วย กิตใช้เวลา ศึกษาไม่เกิน 4 ปีการศึกษา สำหรับการลงทะเบียนเรียนเต็มเวลา และไม่เกิน 12 ปี การศึกษาสำหรับการ ลงทะเบียนเรียนไม่เต็มเวลา 8.2 หลักสูตรปริญญาตรี ( 5 ปี) ให้มีจำนวนหน่วยกิตรวมไม่น้อยกว่า 150 หน่วย กิตใช้เวลา ศึกษาไม่เกิน 10 ปีการศึกษา สำหรับการลงทะเบียนเรียนเต็ม เวลา และไม่เกิน 15 ปี การศึกษา สำหรับการ ลงทะเบียนเรียนไม่เต็มเวลา 8.3 หลักสูตรปริญญาตรี (ไม่น้อยกว่า 5 ปี) ให้มีจำนวนหน่วยกิตรวมไม่ น้อยกว่า 180ทหน่วยกิต ใช้เวลาศึกษาไม่เกิน 12 ปีการศึกษา สำหรับการลงทะเบียนเรียนเต็มเวลา และไม่ เกิน 18 ปีการศึกษา สำหรับการลงทะเบียนเรียนไม่เต็มเวลา 8.4 หลักสูตรปริญญาตรี (ต่อเนื่อง) ให้มีจำนวนหน่วยกิตรวมไม่น้อยกว่า 72 หน่วย กิต ใช้ เวลาศึกษาไม่เกิน 4 ปีการศึกษา สำหรับการลงทะเบียนเรียนเต็มเวลา และไม่เกิน 5 ปี การศึกษา สำหรับการ ลงทะเบียนเรียนไม่เต็มเวลา ทั้งนี้ให้นับเวลาศึกษาจากวันที่เปิดภาคการศึกษา แรกที่รับเข้าศึกษาในหลักสูตรนั้น 9. โครงสร้างหลักสูตร ประกอบด้วยหมวดวิชาศึกษาทั่วไป หมวดวิชาเฉพาะและหมวดวิชา เลือกเสรีโดยมีสัดส่วนจำนวนหน่วยกิตของแต่ละหมวดวิชา ดังนี้ 9.1 หมวดวิชาศึกษาทั่วไป หมายถึง หมวดวิชาที่เสริมสร้างความเป็นมนุษย์ ที่ สมบูรณ์ให้มี ความรอบรู้อย่างกว้างขวาง เข้าใจและเห็นคุณค่าของตนเอง ผู้อื่น สังคม ศิลปวัฒนธรรม และธรรมชาติ ใส่ใจ ต่อความเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่ง พัฒนา ตนเองอย่างต่อเนื่อง ดำเนินชีวิตอย่าง มีคุณธรรม พร้อมให้ความ ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ และเป็นพลเมืองที่มีคุณค่าของสังคมไทยและสังคม โลก สถาบันอุดมศึกษาอาจจัดวิชาศึกษาทั่วไปในลักษณะจำแนกเป็นรายวิชาหรือลักษณะบูรณา การ ใดๆ ก็ได้โดยผสมผสานเนื้อหาวิชาที่ครอบคลุมสาระของกลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ภาษา และกลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์กับคณิตศาสตร์ในสัดส่วนที่เหมาะสมเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของ หมวด วิชาศึกษาทั่วไป โดยให้ มีจำนวน หน่วยกิตรวมไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต อนึ่ง การจัดวิชาศึกษาทั่วไป สำหรับหลักสูตรปริญญาตรี (ต่อเนื่อง) อาจได้รับการยกเว้น รายวิชาที่ได้ ศึกษามาแล้วในระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือ ระดับอนุปริญญา ทั้งนี้ จำนวน หน่วยกิตของรายวิชาที่ ได้รับการ ยกเว้นดังกล่าว เมื่อนับรวมกับรายวิชาที่จะศึกษาเพิ่มเติมใน หลักสูตรปริญญาตรี (ต่อเนื่อง) ต้องไม่ น้อยกว่า 30 หน่วยกิต 9.2 หมวดวิชาเฉพาะ หมายถึง วิชาแกนวิชาเฉพาะด้านวิชาพื้นฐานวิชาชีพและ วิชาชีพที่มุ่งหมายให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจและปฏิบัติงานได้ โดยให้มีจำนวนหน่วยกิตรวม ดังนี้ 9.2.1 หลักสูตรปริญญาตรี ( 4 ปี) ทางวิชาการให้มีจำนวนหน่วยกิต หมวด วิชา เฉพาะรวมไม่น้อยกว่า 72 หน่วยกิต
๒๖ 9.2.2 หลักสูตรปริญญาตรี ( 4 ปี) ทางวิชาชีพหรือปฏิบัติการให้มีจำนวน หน่วยกิต หมวดวิชาเฉพาะรวมไม่น้อยกว่า 72 หน่วยกิต โดยต้องเรียนวิชา ทางปฏิบัติการตามที่ มาตรฐาน วิชาชีพ กำหนดหากไม่มีมาตรฐานวิชาชีพกำหนดต้องเรียน วิชาทางปฏิบัติการไม่น้อยกว่า 36 หน่วย กิตและทางทฤษฎีไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต หลักสูตร (ต่อเนื่อง) ให้มีจำนวนหน่วยกิต หมวดวิชาเฉพาะ รวมไม่น้อยกว่า 42 หน่วยกิต ในจำนวนนั้นต้องเป็นวิชาทางทฤษฎีไม่น้อยกว่า 14 หน่วยกิต 9.2.3หลักสูตรปริญญาตรี (5 ปี) ให้มีจำนวนหน่วยกิตหมวดวิชา เฉพาะ รวมไม่ น้อยกว่า 40 หน่วยกิต 9.2.4หลักสูตรปริญญาตรี (ไม่น้อยกว่า 5 ปี) ให้มีจำนวนหน่วยกิต หมวด วิชา เฉพาะรวมไม่น้อยกว่า 108 หน่วยกิต สถาบันอุดมศึกษาอาจจัดหมวดวิชาเฉพาะในลักษณะ วิชาเอก เดี่ยว วิชาเอกคู่ หรือวิชาเอกและวิชาโทก็ได้ โดยวิชาเอกต้องมีจำนวนหน่วยกิต ไม่น้อยกว่า 30 หน่วย กิต และวิชาโทต้องมี จำนวหน่วยกิตไม่น้อยกว่า 15 หน่วยกิต ในกรณี ที่จัดหลักสูตรแบบ วิชาเอกคู่ ต้องเพิ่มจำนวนหน่วยกิตของ วิชาเอกอีกไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต และให้มีจำนวนหน่วย กิตรวมไม่ น้อยกว่า 150 หน่วยกิต สำหรับหลักสูตรปริญญาตรีแบบก้าวหน้า ผู้เรียนต้องเรียนวิชา ระดับบัณฑิตศึกษาในหมวดวิชาเฉพาะไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต 9.3 หมวดวิชาเลือกเสรี หมายถึง วิชาที่มุ่งให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจตามที่ ตนเองถนัด หรือสนใจ โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเลือกเรียนรายวิชาใด ๆ ในหลักสูตรระดับปริญญาตรี โดยให้มีจำนวนหน่วย กิตรวมไม่น้อยกว่า 5 หน่วยกิต สถาบันอุดมศึกษาอาจยกเว้นหรือเทียบโอน หน่วยกิตรายวิชาในหมวด วิชาศึกษาทั่วไปหมวดวิชา เฉพาะและหมวดวิชาเลือกเสรีให้กับนักศึกษาที่มี ความรู้ความสามารถที่สามารถวัดมาตรฐานได้ทั้งนี้นักศึกษาต้องศึกษาให้ครบตามจำนวนหน่วยกิตที่ กำหนดไว้ในเกณฑ์มาตรฐาน หลักสูตร และเป็นไปตามหลักเกณฑ์การเทียบโอนผลการเรียนระดับ ปริญญาเข้าสู่การศึกษาในระบบ และแนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับการเทียบโอนของสำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษา 10. เกณฑ์การวัดผลและการสำเร็จการศึกษา ให้สถาบันอุดมศึกษากำหนด เกณฑ์การวัดผล เกณฑ์ขั้นต่ำของแต่ละรายวิชา และเกณฑ์การสำเร็จ การศึกษาตามหลักสูตร โดยต้องเรียนครบตาม จำนวนหน่วยกิตที่กำหนดไว้ในหลักสูตร และต้องได้ ระดับ คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 2.00 จากระบบ 4 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า จึงถือว่า เรียนจบหลักสูตรปริญญาตรี สถาบันอุดมศึกษาที่ใช้ระบบการ วัดผลและการสำเร็จการศึกษาที่แตกต่างจากนี้จะต้องกำหนดให้มีค่าเทียบเคียงกันได้ บทสรุป ปัจจุบันหลักสูตรไทยมีหลักสูตรที่สำคัญ 6 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีพุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560) หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) พุทธศักราช 2562 หลักสูตรประกาศนียบัตร วิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) พุทธศักราช 2563 หลักสูตรปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ พุทธศักราช 2562 และหลักสูตรอุดมศึกษา (ภายใต้กรอบมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษา) ซึ่งจะเห็นว่า
๒๗ แต่ละหลักสูตรจะมีกรอบแนวทางที่แตกต่างกัน มีเป้าหมายที่ต้องการให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาใน รูปแบบที่หลากหลายต่างกัน ดังนี้ หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มุงพัฒนาเด็กทุกคนใหไดรับการพัฒนาด้านร างกาย อารมณ จิตใจสังคม และสติปญญาอยางมีคุณภาพและตอเนื่อง ไดรับการจัดประสบการณการ เรียนรูอยางมีความสุข และเหมาะสมตามวัย มีทักษะชีวิต และปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง เปนคนดีมีวินัย และสํานึกความเปนไทย โดยความรวมมือระหวางสถานศึกษา พ่อ แม ครอบครัว ชุมชน และทุกฝายที่เกี่ยวของกับการพัฒนาเด็ก หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีพุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560) มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้คุณธรรม มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลก ยึดมั่นในการปกครองตาม ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้ง เจต คติ ที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็น สำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่า ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) พุทธศักราช 2562 มุ่งผลิตและพัฒนากําลังคน ระดับฝีมือให้มีสมรรถนะ มีคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ สามารถประกอบอาชีพได้ ตรงตามความ ต้องการของสถานประกอบการและการประกอบอาชีพอิสระ หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) พุทธศักราช 2563 ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ พัฒนาทักษะ ความรู้ ความสามารถ และสมรรถนะทางวิชาชีพขั้นปานกลาง รวมทั้งความสามารถใน การทำหน้าที่หัวหน้างานผู้ประกอบการและสร้างสรรค์นวัตกรรม เมื่อจบการศึกษาแล้วสามารถ ออกไปประกอบอาชีพหรือศึกษาต่อระดับปริญญาตรีสายสามัญหรือปริญญาตรีสายปฏิบัติการและ เทคโนโลยีหรือเทียบเท่า หลักสูตรปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ พุทธศักราช 2562 มุ่งผลิตและ พัฒนากำลังคนในด้านวิชาชีพระดับ ฝีมือ ระดับเทคนิคและระดับเทคโนโลยีรวมทั้งเป็นการยกระดับ การศึกษาวิชาชีพให้สูงขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน โดยนำความรู้ในทาง ทฤษฎีอันเป็นสากลและภูมิปัญญาไทยมาพัฒนาผู้รับการศึกษาให้มีความรู้ความสามารถในทางปฏิบัติ และมีสมรรถนะจนสามารถนำไปประกอบอาชีพในลักษณะผู้ปฏิบัติหรือผู้ประกอบอาชีพโดยอิสระได้ หลักสูตรอุดมศึกษา (ภายใต้กรอบมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษา) เน้นการผลิตบัณฑิต ระดับอุดมศึกษาที่เหมาะสมกับพลวัตของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว เพื่อให้บัณฑิตมีคุณภาพ สอดคล้องกับกรอบมาตรฐาน คุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติตลาดแรงงานความก้าวหน้าของศาสตร์ และเทคโนโลยีรวมทั้งบริบททางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น สภาพปัจจุบันหลักสูตรของไทยจะเน้นการตอบโจทย์ความต้องการของแต่ละหลักสูตร ว่าต้องการให้ผู้เรียนเป็นแบบไหน จึงต้องมีการกำหนดแนวทางที่ชัดเจนเพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมาย หลักสูตรนั้น ๆ ได้
๒๘ บทที่ 2 สภาพปัญหาหลักสูตรในประเทศไทย สภาพปัญหาของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 1. การไม่ได้ใช้ประโยชน์จากหลักสูตรอย่างเต็มที่ 2.แนวทางการปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้หลักสูตรยังขาดความเป็นเอกภาพ 3. การเรียนการสอนจะเน้นสอนเนื้อหาวิซาตามหลักสูตรมากกว่าการพัฒนาการเต็ก ทำให้ เต็กเกิดความเครียด 4. การไม่ได้ใช้ประโยชน์จากหลักสูตรอย่างเต็มที่ 5.แนวทางการปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้หลักสูตรยังขาดความเป็นเอกภาพ 6. ระบบการผลิตครูปฐมวัย จากค่านิยมของการเข้ารับราชการที่มีสวัสดิการที่ดีและมีความ มั่นคงในชีวิต เกิดความต้องการเพิ่มคุณวุฒิด้านการศึกษาของครูให้สูงขึ้น แต่ระบบการผลิตครูใน ปัจจุบันยังขาดกลไกใน การติดตามและประเมินคุณภาพ เช่น การเปิดรับครูปฐมวัยจำนวนมาก ทำให้ อัตราส่วน ระหว่างอาจารย์กับจำนวนนักศึกษาไม่สอดคล้องกันส่งผลต่อประสิทธิภาพในด้านการเรียน การสอน เนื่องจากกระบวนการพัฒนา ครูปฐมวัย ไม่สามารถทำได้ด้วยการบรรยายเท่านั้น แต่ จำเป็นต้องมีการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ โดยมีอาจารย์ที่เชี่ยวชาญ ด้านการศึกษาปฐมวัย มาดูแล อย่างใกล้ชิด 7. การขาดความรู้ความเข้าใจของผู้ปกครองในการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย เนื่องจาก ผู้ปกครอง ส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการที่ สำคัญตามช่วงวัยของเด็ก 8. การขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการจัดการศึกษาปฐมวัยของครู ผู้บริหารและ สถานศึกษา การขาดแคลนความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้อง เกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการด้าน สติปัญญาที่เหมาะสมกับวัย จึงทำให้ครูเน้นให้เด็กอ่านเขียนมากกว่าวัย และเน้นการสอนที่มีลักษณะ ให้เด็กท่องจำมากกว่าทักษะด้านการคิด การตัดสินใจ ในขณะที่ผู้บริหารสถานศึกษาบางส่วน บริหารงานเพื่อชื่อเสียงของโรงเรียนจึงเตรียมความพร้อมของเด็ก เพื่อการสอบแข่งขันมากกว่า การศึกษาเพื่อพัฒนาศักยภาพของเด็ก รวมถึงปัญหาสถานศึกษาไม่สามารถจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ อย่างเท่าเทียมและทั่วถึง จึงทำให้เกิดการเรียนเพื่อสอบเข้าโรงเรียนที่มีชื่อเสียงตั้งแต่ระดับอนุบาล 9. การเรียนการสอนจะเน้นสอนเนื้อหาวิชาตามหลักสูตรมากกว่าการพัฒนาการเด็ก ทำให้ เด็กเกิดความเครียด สภาพปัญหาของหลักสูตรแกนแกนกลางการศึกษาชั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับ ปรับปรุง พุทธศักราช 2560) 1. การจัดโครงสร้างหลักสูตรใหม่ทำให้ครูต้องสอนเนื้อหาหนักมากขึ้นและผู้เรียนต้องเรียน หนักมากขึ้น 2. ครูขาดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับตัวหลักสูตร
๒๙ 3. ครูไม่มีเวลาศึกษาทำความเข้าใจหลักสูตรก่อนสอน 4. ครูไม่สนใจจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 5. ครูไม่มีความรู้ ความเข้าใจในการวัดและประเมินผล 6. จำนวนครูที่สอนวิชาทักษะและความสามารถเฉพาะทางไม่เพียงพอ 7. ผู้บริหารมีความรู้ ความเข้าใจในหลักสูตรน้อย 8. ผู้บริหาร ไม่มีความรู้ ความสามารถในการนิเทศ 9. ผู้บริหาร ไม่สนับสนุนการใช้หลักสูตรของคณะครูเท่าที่ควร 10. ผู้บริหาร ไม่ประชาสัมพันธ์การใช้หลักสูตร ให้กว้างขวาง 11. สถานศึกษาจัดทำเองโดยไม่มีความชัดเจน มีจุดเน้นที่ไม่ตรงกัน 12. ครูไม่เปลี่ยนพฤติกรรมการสอน สภาพปัญหาหลักสูตรในประเทศไทยหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) พุทธศักราช 2562 1. ผู้เข้าเรียนในการอาชีวศึกษาไม่มีคุณภาพเท่าที่ควร หลักสูตรก่อนถึงระดับ ปวช. ระดับ มัธยมต้น หรือการศึกษาผู้ใหญ่เป็นการปูพื้นฐานความรู้ระตับต่ำ 2. ผู้เข้าเรียนในสายอาชีวศึกษาไม่มีคุณภาพเท่าที่ควร เช่น อ่าน สะกดคำไม่ได้ 3. ผู้เรียนขาดความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ เมื่อมาเรียนต่อในระดับอาชีวศึกษาจึงเกิด ปัญหา แม้ครูจะเตรียมการสอนดีอย่างไร ผู้เรียนไม่สามารถต่อยอดความรู้ได้ เพราะพื้นฐานความรู้ไม่ดี เพียงพอ 4. ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อปัญหาการบริหารหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ทวิศึกษา) เพื่อให้ได้ข้อมูลในการนำมาเป็นแนวทางในการปรับปรุงและการพัฒนาการบริหารหลักสูตร ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ทวิศึกษา) ต่อไป 5. เนื้อหาไม่สอดคล้องกับทักษะที่จำเป็นต่อการใช้ประกอบอาชีพ 6. ควรศึกษาสภาพและปัญหาการจัดครูให้เข้าสอนตรงตามวิชาเอก เพื่อเป็นข้อมูลในการ พัฒนาการเรียนการสอนให้มีคุณภาพ สภาพปัญหาหลักสูตรในประเทศไทยหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) พุทธศักราช 2563 1. ผู้เข้าเรียนในการอาชีวศึกษาไม่มีคุณภาพเท่าที่ควร หลักสูตรก่อนถึงระดับ ปวช. ระดับ มัธยมต้น หรือการศึกษาผู้ใหญ่เป็นการปูพื้นฐานความรู้ระตับต่ำ 2. ผู้เข้าเรียนในสายอาชีวศึกษาไม่มีคุณภาพเท่าที่ควร เช่น อ่าน สะกดคำไม่ได้ 3. ผู้เรียนขาดความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ เมื่อมาเรียนต่อในระดับอาชีวศึกษาจึงเกิด ปัญหา แม้ครูจะเตรียมการสอนดีอย่างไร ผู้เรียนไม่สามารถต่อยอดความรู้ได้ เพราะพื้นฐานความรู้ไม่ดี เพียงพอ 4. ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อปัญหาการบริหารหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ทวิศึกษา) เพื่อให้ได้ข้อมูลในการนำมาเป็นแนวทางในการปรับปรุงและการพัฒนาการบริหารหลักสูตร ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ทวิศึกษา) ต่อไป
๓๐ 5. เนื้อหาไม่สอดคล้องกับทักษะที่จำเป็นต่อการใช้ประกอบอาชีพ 6. ควรศึกษาสภาพและปัญหาการจัดครูให้เข้าสอนตรงตามวิชาเอก เพื่อเป็นข้อมูลในการ พัฒนาการเรียนการสอนให้มีคุณภาพ สภาพปัญหาหลักสูตรในประเทศไทยหลักสูตรปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ พุทธศักราช 2562 1. ผู้เข้าเรียนในการอาชีวศึกษาไม่มีคุณภาพเท่าที่ควร หลักสูตรก่อนถึงระดับ ปวช. ระดับ มัธยมต้น หรือการศึกษาผู้ใหญ่เป็นการปูพื้นฐานความรู้ระตับต่ำ 2. ผู้เข้าเรียนในสายอาชีวศึกษาไม่มีคุณภาพเท่าที่ควร เช่น อ่าน สะกดคำไม่ได้ 3. ผู้เรียนขาดความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ เมื่อมาเรียนต่อในระดับอาชีวศึกษาจึงเกิด ปัญหา แม้ครูจะเตรียมการสอนดีอย่างไร ผู้เรียนไม่สามารถต่อยอดความรู้ได้ เพราะพื้นฐานความรู้ไม่ดี เพียงพอ 4. ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อปัญหาการบริหารหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ทวิศึกษา) เพื่อให้ได้ข้อมูลในการนำมาเป็นแนวทางในการปรับปรุงและการพัฒนาการบริหารหลักสูตร ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ทวิศึกษา) ต่อไป 5. เนื้อหาไม่สอดคล้องกับทักษะที่จำเป็นต่อการใช้ประกอบอาชีพ 6. ควรศึกษาสภาพและปัญหาการจัดครูให้เข้าสอนตรงตามวิชาเอก เพื่อเป็นข้อมูลในการ พัฒนาการเรียนการสอนให้มีคุณภาพ สภาพปัญหาหลักสูตรในประเทศไทยหลักสูตรอุดมศึกษา (ภายใต้กรอบมาตรฐานคุณวุฒิ อุดมศึกษา) 1. ขาดแคลนอาจารย์ประจำที่มีคุณวุฒิและประสบการณ์โดยเฉพาะสาขาวิชาที่มีความ ต้องการมากทางด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และเกษตรกรรม 2. อุดมศึกษามุ่งความเป็นเลิศทางวิชาการ ละเลยคุณธรรม จริยธรรม การบริการวิชาการแก่ สังคม 3. มหาวิทยาลัยเลียนแบบต่างประเทศโดยไม่เข้าใจ หลักการและเป้าหมายที่แท้จริงของ หลักการที่เลียนแบบ 4. การเรียนการสอนยังเน้นทฤษฎีมากกว่าปฏิบัติเน้นความรู้มากกว่าการนำไปใช้จริง 5. การตื่นตัวทางการวิจัย มุ่งการกำหนดให้เลื่อนตำแหน่งทางวิชาการซึ่งเน้นการวิจัยมาก เกินไป จนทำให้ลดความสำคัญด้านการสอน 6. กลุ่มผู้บริหารอุดมศึกษามีลักษณะอนุรักษ์นิยมสูง 7. งบประมาณในการพัฒนาการศึกษาระดับนี้ก็ยังมีไม่เพียงพอ 8. สถาบันอุดมศึกษาปรับตัวไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะในเรื่องการสร้างและ พัฒนาคุณภาพมาตรฐานการเรียนการสอนและการวิจัย เปิดหลักสูตรตามความพอใจ โดยไม่คำนึงถึง คุณภาพและมาตรฐานการศึกษา ขาดการวางแผนพัฒนาสถาบันในระยะยาว รวมถึงคณะกรรมการ บริหารสถาบัน/สภาสถาบันอุดมศึกษาทั้งของรัฐและเอกชนหลายแห่งไม่มีการบริหารจัดการที่ดี
๓๑ 9. มหาวิทยาลัยไทยโดยภาพรวมยังมีจุดอ่อนเรื่องการบริหารจัดการเชิงคุณภาพ โดยเฉพาะ การเป็นมหาวิทยาลัยวิจัย ซึ่งจะสังเกตได้ว่ามหาวิทยาลัยที่ติตอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกล้วน เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยทั้งสิ้น บทสรุป สภาพปัญหาของการพัฒนาหลักสูตรประเทศไทย คือปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการพัฒนา หลักสูตร ที่เป็นปัญหาอันเกิดจากการร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมกันสร้างหลักสูตร และร่วมกันนำหลักสูตร ไปใช้ ได้แก่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหลักสูตรไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตน ขาดการ ประสานงานหน้าที่ที่ดีระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหลักสูตร ผู้บริหารระดับ ต่างๆ เห็นว่าหลักสูตรเป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยเฉพาะ ปัญหาการไม่เปลี่ยนแปลงการ เรียนการสอนของครูตามแนวทางของหลักสูตรปัญหาการเผยแพร่หลักสูตร การสื่อสารทำความเข้าใจ ในหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นใหม่ ผู้ใช้หลักสูตร ไม่เข้าใจเนื้อหาในหลักสูตร เท่าที่ควร จึงทำให้ผู้เรียนได้รับ ความรู้ไม่เพียงพอ อีกทั้งยังเป็นผลมาจาก การที่บุคลากรครูมีไม่เพียงพอ ทำให้ภาระหน้าที่ของครู เยอะ ครูสอนไม่ตรงเอกที่จบมา ครูไม่มีเวลา เตรียมตัวหรือจัดการ หาสื่อการเรียนรู้ที่แปลกใหม่มา สอน จึงทำให้เกิดปัญหาการใช้หลักสูตรใน ประเทศไทยที่ยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร
๓๒ บทที่ 3 แนวโน้มการพัฒนาหลักสูตรในศตวรรษที่ 21 ภาพรวมของศตวรรษที่ 21 กับแนวโน้มการพัฒนาหลักสูตร การศึกษา เป็นเครื่องมือพัฒนามนุษย์ให้สามารถอยู่ในสังคมโลกที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างมี ความสุข โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกระแสความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลให้เกิด การปฏิรูปทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ดังนั้นความสามารถในการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับ กระแสการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้นั้น “การพัฒนาหลักสูตร” นับเป็นกลไกสำคัญยิ่งที่จะนำไปสู่ ความสำเร็จในการพัฒนาการศึกษา ด้วยเหตุนี้นักปกครอง นักคิด รวมทั้งนักการศึกษาต่างได้แสดง ทรรศนะเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาหลักสูตรในศตวรรษที่ 21 ไว้อย่างน่าสนใจยิ่ง สมควรที่จะด้นำไป ปรับประยุกต์เป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรต่อไป แนวคิดหลักของศตวรรษที่ 21 1. มุมมองโลกในศตวรรษที่ 21 มี7 ลักษณะ คือ 1.1 โลกเทคโนโลยี (Technologicalization) บทบาทและความสำคัญของ เทคโนโลยีจะมีมากขึ้น คนจะอยู่กับเทคโนโลยีเป็นหลัก เทคโนโลยีจะเข้าไปมีส่วนในการทำงานของ มนุษย์อย่างมาก ชีวิตของคนจะเดินไปตามเส้นทางของเทคโนโลยีเป็นหลัก 1.2 เศรษฐกิจการค้า (Commercialization & Economy) การเติบโตทาง เทคโนโลยีจะทำให้เกิดผลผลิตทางเทคโนโลยีมากขึ้น อันจะนำไปสู่การค้าขายสินค้าเทคโนโลยี และใช้ เทคโนโลยีเพื่อการค้าขายด้วยกันไป 1.3 โลกาภิวัตน์กับเครือข่าย (Globalization and Network) รูปแบบโลกาภิวัตน์ จะเปลี่ยนเป็นโลกาภิวัตน์ใหม่ที่เป็นกระแสตะวันออก เป็นโลกาภิวัตน์ท้องถิ่นที่จับมือกันเองในกลุ่ม เดียวกัน จึงจ าเป็นต้องมีการสื่อความหมายใหม่ ๆ และร่วมมือกันมากขึ้น 1.4 สิ่งแวดล้อมและพลังงาน (Environment & Energy) ความสนใจและการ เรียนรู้ในสิ่งแวดล้อมจะมีมากขึ้นในศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมและการ พัฒนาต่าง ๆ 1.5 ความเป็นเมือง (Urbanization)ความเป็นเมืองจะเกิดขึ้นชัดเจน และก่อให้เกิด การซื้อขายสินค้า ธุรกิจการค้า การใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ จะตามมา ดังจะเห็นได้จากตัวอย่างร้านสะดวก ซื้อที่มีอยู่ทั่วไป 1.6 คนจะอายุยืนขึ้น (Ageing & Health) ความก้าวหน้าทางยาและความรู้เรื่อง การดูแลสุขภาพทำให้คนอายุยืนขึ้น สภาพที่ผู้สูงอายุมีมากขึ้นและอายุยืนยาวขึ้นตลอดเวลาจะปรากฏ ชัดเจนขึ้น คนรุ่นใหม่จะอยู่กับคนรุ่นเก่าอย่างไร จะเป็นปัญหาให้สังคมในอนาคตต้องคิดหาทางออกให้ ชัดเจนขึ้น 1.7 การอยู่กับตัวเอง (Individualization)สภาพสังคม การทำงานและเทคโนโลยี จะทำให้คนในสังคมอยู่กับตัวเองหรือมีลักษณะเฉพาะตนเองมากยิ่งขึ้น จากมุมมองโลกในศตวรรษที่
๓๓ 21 ดังกล่าวข้างต้น จะพบว่าผู้คนที่จะอยู่ในโลกใหม่ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นโลกแห่งการ เปลี่ยนแปลงในทุกด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศ จำเป็นต้องมีความรอบรู้ใน ศาสตร์หลายศาสตร์ ต้องมีความสามารถทั้งในด้านเป็นผู้ผลิตและผู้บริโภค มีความสามารถในการอยู่ ร่วมกับผู้อื่นด้วยการปรับตัวให้อยู่บนพื้นฐาน การเข้าใจตนเอง และรับรู้ถึงควาต่างทั้งแนวคิดและการ ปฏิบัติของบุคคลรอบข้าง สามารถเรียนรู้ที่จะอยู่ในสังคมโลกโดยรับผิดชอบร่วมกันต่อสิ่งแวดล้อมและ การใช้พลังงานร่วมกัน ตลอดจนมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีและสารสนเทศได้อย่างมี ประสิทธิภาพเพื่อความเจริญร่วมกันของทั้งตนเองและเครือข่ายของประชาคมโลก 2. มุมมองเกี่ยวกับทักษะในศตวรรษที่ 21 2.1 ทักษะทางด้านเทคโนโลยี (Computing and ICT Literacy) เป็นทักษะที่ เกี่ยวกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ ซึ่งผู้เรียนและคนในยุคศตวรรษที่ 21 จะต้องเรียนรู้และใช้ได้อย่างมี ประสิทธิภาพโดยเฉพาะทักษะเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร และการสื่อสารที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว กว้างขวาง 2.2 ความสนใจใคร่รู้และมีจินตนาการ (Curiosity and Imagination)ผู้เรียนใน อนาคตในโลกแห่งศตวรรษที่ 21 จะต้องสนใจใฝ่รู้ในสิ่งใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา และมีจินตนาการต่อไป จากความรู้ที่ได้รับ 2.3 การคิดวิจารณญาณและการแก้ปัญหา (Critical Thinking and Problem Solving) การวิเคราะห์ สังเคราะห์ สิ่งที่ได้ศึกษามาว่า อะไรดี ไม่ดี เหมาะสมหรือไม่ อะไรเป็นความ จริง อะไรเป็นความเข้าใจ โดยต้องให้ความสำคัญควบคู่ไปกับทักษะในการแก้ปัญหา 2.4 ความคิดสร้างสรรค์และพัฒนานวัตกรรม (Creating and Innovation) ด้วย ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างมากมายและรวดเร็วในศตวรรษที่ 21 การแก้ปัญหาหรือดำเนินการ ใด ๆจำเป็นอย่างยิ่งต้องใช้ความคิดใหม่ ๆ อย่างมาก 2.5 ทักษะในการสื่อสารและร่วมมือกัน (Communication and Collaboration) ยุคศตวรรษที่ 21 เป็นยุคของความร่วมมือ ยุคของเครือข่ายที่ผู้คนติดต่อถึงกันผ่านเทคโนโลยีและการ สื่อสารในรูปแบบใหม่ๆ 2.6 การคิดในเชิงธุรกิจและทักษะประกอบการ (Corporate andEntrepreneurial Spirit) ซึ่งเป็นทักษะในเชิงของการดำเนินงานทางธุรกิจและการค้า ที่นับว่ามีความสำคัญในลักษณะ ของโลกในยุคศตวรรษที่ 21 2.7 ทักษะการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมและการสนใจต่อโลก (Cross-Cultural & Awareness) เป็นทักษะที่สะท้อนของความเป็นโลกยุคใหม่ที่ผู้คนในสังคมโลกจ าเป็นต้องรู้จักคนอื่นๆ โดยเฉพาะในมุมมองของวัฒนธรรมอื่น ๆ โดยมีเป้าหมายเพื่อการอยู่ร่วมกันและเป้าหมายในเชิง เศรษฐกิจไปพร้อม ๆ กันด้วย จากมุมมองในด้านทักษะสำคัญของผู้คนในศตวรรษที่ 21 ดังกล่าวส่งผลให้เกิดความพยายาม ในการที่จะกำหนดทักษะที่พึงประสงค์ในเยาวชนไทยภายใต้บริบทของไทยเพื่อเป็นกรอบในการพัฒนา เยาวชนไทยให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ดังนี้ พิณสุดา สิริธรังศรี (2552: 124 - 135) ได้สรุปไว้ว่า จากแนวโน้มสภาพแวดล้อมที่กำลัง เปลี่ยนแปลงในปัจจุบันและอนาคตทั้งทางด้านสังคม เศรษฐกิจ ลักษณะของการผลิตและบริการ
๓๔ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม สิ่งแวดล้อม ประชากร และการเมืองการปกครอง ถ้าประเทศ ไทยต้องการดำรงอยู่ในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือสังคมในยุคโลกาภิวัตน์ ภาพอนาคตคนไทยควร มีลักษณะพึงประสงค์ ดังนี้ 1. ด้านร่างกาย มีสุขภาพดี และรู้จักรักษาสุขภาพให้แข็งแรงตามช่วงวัยและว่องไวในการ ทำงาน 2. ด้านจิตใจ มีสุขภาพจิตดี มีจิตใจเข็มแข็ง ไม่หวั่นไหวต่อวิกฤตการณ์ได้ง่าย ทั้งวิกฤตการณ์ ส่วนตนและสังคม 3. ด้านอารมณ์ มีอารมณ์ดี มั่นคงบนพื้นฐานของการขัดเกลาและยึดมั่นทางศาสนา มี ศีลธรรมคุณธรรมและจริยธรรม 4. ด้านสังคม สามารถปรับตัวและเข้ากับผู้อื่นได้ มีจิตสาธารณะและจิตอาสา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีน้ำใจ มีความสามัคคี เป็นคนดี มีอาชีพ และมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 5. ด้านความรู้ มีความรู้ในสาระวิชาและงานที่รับผิดชอบ มีความรู้เชิงสหวิทยาการ รู้ไกล รู้ กว้างรู้ลึกในสาขาวิชาที่ตนถนัด และใช้ความรู้ให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาตนและพัฒนางาน มีความ ใฝ่รู้รักการอ่าน รักการเรียนรู้ และแสวงหาความรู้อย่างต่อไปเนื่องตลอดชีวิต 6. ด้านทักษะและความสามารถ มีทักษะและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การสื่อสาร ได้หลายภาษา เพื่อเป็นช่องทางการแสวงหาและพัฒนาความรู้และอาชีพ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การทำงาน การจัดการทั้งด้านตนเองและความรู้ มีทักษะชีวิต มีความขยันหมั่นเพียร ซื่อสัตย์สุจริต มี วินัยอดทนและมุ่งมั่นในการทำงานให้ประสบผลสำเร็จ ประหยัด รู้จักกลั่นกรองและเลือกดำเนินชีวิตที่ ถูกต้องและเหมาะสม มีความสามารถในการแก้ปัญหาทั้งเฉพาะหน้าและระยะยาว 7. ด้านเจตคติและค่านิยม มีเจตคติและค่านิยมของการเป็นพลเมืองไทยและพลโลกที่ดี รัก ความเป็นประชาธิปไตย พร้อมเผชิญต่อการเปลี่ยนแปลง 8. ด้านความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีวิสัยทัศน์และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์มองการณ์ไกล และ ใช้ประโยชน์จากความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สร้างนวัตกรรมและนำไปสู่เป้าหมายอนาคตได้ วิจารณ์ พานิช (2557: 16-17) ได้กล่าวถึงทักษะในศตวรรษที่ 21 ว่าควรประกอบด้วย “ 3Rs + 8Cs + 2Ls ” โดยให้คำอธิบายไว้สรุปได้ว่า ทักษะการเรียน (Learning Skills) ต้องมี 3 องค์ประกอบคือ (1) Learning คือเรียนสิ่งใหม่ (2) Delearning หรือ Unlearning คือ การเลิกความ เชื่อในเรื่องเก่า และ (3) Relearning คือการเรียนสิ่งใหม่ นั่นคือต้องเปลี่ยนชุดความรู้เป็นโลกสมัยใหม่ เพราะมีความรู้เกิดขึ้นใหม่มากมาย นอกจากนี้ความรู้เดิมหลายส่วนผิดและไม่เหมาะสมความรู้ใหม่ เป็นสิ่งที่ดีกว่าสมบูรณ์กว่า ดังนั้นทักษะการเรียนรู้ต้องประกอบด้วย 3 ส่วนดังนี้ 1. ส่วนที่ 1 คือ “3Rs” ได้แก่ Reading คือ การอ่านออก (W)Riting คือ การเขียนได้ และ (A)Rithmatics คือ การคิดเลขเป็น โดยการเรียนรู้ตามแนวใหม่ต้องตีความเพิ่มเติม สรุปได้ว่า การอ่านออก หมายถึง ความสามารถอ่านได้ มีนิสัยรักการอ่าน อ่านแล้วเกิด สุนทรียะ เกิดความสุข จับใจความเป็น มีทักษะในการอ่านหลาย ๆ แบบ การเขียนได้ หมายถึง ความสามารถเขียนได้โดยสื่อความหมายได้ ย่อความเป็น รู้วิธีเขียนหลาย ๆ แบบตามวัตถุประสงค์ที่ แตกต่างกัน การคิดเลขได้ หมายถึง ความสามารถคิดเลขได้ และเรียนให้ได้ทักษะการคิดแบบ นามธรรม (Abstract thinking)
๓๕ 2. ส่วนที่ 2 คือ “8Cs” ได้แก่ Critical Thinking & Problem Solving คือ ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และ ทักษะในการแก้ปัญหา Creativity & Innovation คือ ทักษะด้านการสร้างสรรค์และนวัตกรรม Collaboration, Teamwork & Leadership คือ ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็น ทีมและภาวะผู้นำ Cross - cultural Understanding คือ ทักษะด้านความเข้าใจต่อวัฒนธรรมต่างกระบวน ทัศน์ Communication, Information & Media Literacy คือ ทักษะด้านการสื่อสารสนเทศ และ รู้เท่าทันสื่อ Computing & Media Literacy คือ ทักษะด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสาร Career & Learning Self-reliance คือ ทักษะอาชีพและทักษะการเรียนรู้ Change คือ ทักษะการเปลี่ยนแปลง 3. ส่วนที่ 3 คือ “2Ls” ได้แก่Learning Skills คือ ทักษะการเรียนรู้และ Leadership คือ ภาวะผู้นำ ดวงจิต สนิทกลาง และเปี่ยมพร ตังตระกูลไพศาล (2557: 48-49) ได้กล่าวถึง การพัฒนา ทักษะสู่ศตวรรษที่ 21 เพื่อให้เด็กไทยเติบโตเต็มศักยภาพ โดยหากต้องการให้เด็กไทยมีทักษะที่เท่า ทันโลก จะต้องสร้างและปลูกฝังวัฒนธรรมให้เด็กไทยอยู่ในวัฒนธรรมด้วยการมีทักษะที่พึงประสงค์ ต่อไปนี้ 1. มีเอกลักษณ์ คิดสร้างสรรค์ 2. ท้าทาย ขยันหมั่นเพียร 3. ประณีต 4. รอบคอบ มีระบบ 5. คิดวิเคราะห์ใคร่ครวญ 6. มีจิตสาธารณะ 7. ดีและเก่ง เมื่อพิจารณาจากแนวคิดหลักของศตวรรษที่ 21 ในมุมมองโลกในศตวรรษที่ 21 และมุมมอง ทักษะในศตวรรษที่ 21 แล้ว กล่าวได้ว่าในศตวรรษที่ 21 สังคมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมาย หลายด้าน การที่บุคคลจะดำรงชีวิตอยู่ในสังคมของศตวรรษที่ 21 อย่างมีความสุข จำเป็นต้องมี คุณลักษณะและทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ซึ่งสรุปได้ดังนี้ 1) มีความรอบรู้ในศาสตร์ต่าง ๆ อย่าง หลากหลาย 2) มีคุณลักษณะที่เอื้อต่อการดำรงตนในสังคม ได้แก่ คุณธรรมจริยธรรม กล้าหาญ ซื่อสัตย์ มั่งคง อดทน มีทักษะทางอารมณ์ และการปรับตัว 3) มีทักษะทางสังคม ได้แก่ ความสามารถ ในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น การทำงานเป็นทีม ความเป็นผู้นำ การเคารพและยอมรับในความแตกต่าง ความสามารถในการสื่อสารผ่านการพูดและการเรียน การตระหนักในความแตกต่างทางความคิดและ มุมมอง สามารถแก้ปัญหาความขัดแย้ง 4) ทักษะทางปัญญา ได้แก่ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ
๓๖ ความคิดสร้างสรรค์ ความคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์อย่างมีเหตุผล สามารถสร้างจินตนาการที่นำไปสู่ การปฏิบัติได้จริง และความสามารถสร้างผลผลิตและนวัตกรรม 5) ทักษะการเรียนรู้และพัฒนาตน ได้แก่ การเรียนรู้ในศาสตร์ต่าง ๆ และมีทักษะทาง ICT สามารถเรียนรู้ตลอดชีวิต สามารถเข้าถึงข้อมูล มีทักษะทางวิทยาศาสตร์ มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาตนเอง และมีทักษะการเรียนรู้จากภายในและ ประการสำคัญคือ ทักษะการสร้างความรู้ แนวคิดการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ดังได้กล่าวแล้วว่าในศตวรรษที่ 21 ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทุกด้าน การสร้าง ความสมดุลในการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมแห่งการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสม จำเป็นที่ต้องทำให้ บุคคลในสังคมมีความพร้อมรับกับการปรับเปลี่ยนดังกล่าว ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันว่า “การจัดการศึกษา” เป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความพร้อมให้แก่บุคคล ดังนั้น การจัดการศึกษาจึงนับเป็นเรื่องเร่งด่วน ของชาติที่ต้องให้ความสำคัญเป็นลำดับต้นของประเทศเพื่อเป็นการเตรียมประชาชนเพื่ออนาคตที่ ยั่งยืนต่อไป 1. ความคาดหวังของสังคมเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ศตวรรษที่ 21 เป็นยุคที่เต็มไปด้วยการแข่งขันอย่างไร้ขีดจำกัด ลักษณะการเจริญเติบโตและ การเปลี่ยนแปลงมีลักษณะที่เป็นการก้าวกระโดดในทุกด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านเทคโนโลยีและ ข้อมูลข่าวสาร จำเป็นที่ระบบการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ประชาชนมีสมรรถภาพสูงสุด ในการ ดำรงชีวิตซึ่งในเรื่องนี้นักการศึกษา จากห้องวิจัยทางการศึกษาเขตภาคกลางตอนเหนือและกลุ่มเมทิริ North Central โดยสมรรถภาพใน 4 ด้าน คือ 1.1 การรู้พื้นฐานในยุคดิจิตัล (Digital-age Literacy) 1.2 การคิดเชิงประดิษฐ์สร้างสรรค์ (Inventive Thinking) 1.3 การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ (Effective Communication) 1.4 ประสิทธิภาพการผลิตในระดับสูง (High Productivity) โดยมีรายละเอียดของสมรรถภาพ ดังนี้ 1.1 การรู้พื้นฐานในยุคดิจิตัล ควรจัดการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์และสาขาวิชาที่ เกี่ยวข้องกับพื้นฐานการดำรงชีวิตประจำวัน ได้แก่ 1.1.1 การรู้พื้นฐาน (Basic Literacy) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการใช้ภาษาในการสื่อสาร และมีความสามารถในการคิดคำนวณในระดับที่จำเป็นกับการดำรงชีวิต 1.1.2 การรู้ทางเศรษฐศาสตร์ (Economic Literacy) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการระบุ ปัญหาทางเศรษฐศาสตร์ รวมถึงการวิเคราะห์ผลกระทบของสภาพทางเศรษฐกิจและนโยบายของรัฐ และการประเมินผลดีผลเสีย 1.1.3 การรู้ด้านเทคโนโลยี (Technology Literacy) เป็นการเข้าใจว่าเทคโนโลยี คืออะไร และจะเอาไปใช้อย่างไรให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล 1.1.4 การรู้ด้านทัศนศิลป์ (Visual Literacy) เป็นความสามารถในการตีความ การ ใช้และการสร้างภาพวีดีทัศน์โดยใช้สื่อต่าง ๆ ในลักษณะที่เกี่ยวข้องกับการคิดขั้นสูง การตัดสินใจ การ สื่อสารและการเรียนรู้
๓๗ 1.1.5 การรู้สารสนเทศ (Information Literacy)คือ ความสามารถในการใช้ การ สังเคราะห์การประเมินข้อมูลที่ได้จาการใช้เทคโนโลยี 1.1.6 การรู้ด้านพหุวัฒนธรรม (Multicultural Literacy) เป็นความสามารถในการ เข้าใจเห็นคุณค่าของความเหมือน หรือความแตกต่างของประเพณี คุณค่า ความเชื่อ และวัฒนธรรม ของตนเองและของผู้อื่น 1.1.7 การรู้ความตระหนักเกี่ยวกับโลก (Global Awareness) เป็นความเข้าใจ การ มีปฏิสัมพันธ์ของส่วนต่าง ๆ ในสังคมของโลก 1.2 การคิดเชิงประดิษฐ์สร้างสรรค์ การคิดเชิงประดิษฐ์สร้างสรรค์เป็นความสามารถทางสติปัญญาในการใช้เทคโนโลยีใน สถานการณ์ที่ซับซ้อน และในการเข้าใจผลที่ตามมาจากการใช้เทคโนโลยีดังกล่าว ซึ่งเป็นทักษะชีวิตใน ยุคของเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งครอบคลุมความสามารถต่อไปนี้ 1.2.1 การปรับตัวและจัดการกับสิ่งที่ซับซ้อน (Adaptability and Managing Complexity) ซึ่งเป็นความสามารถในการปรับความคิด ทัศนคติ และพฤติกรรมให้เหมาะสมกับ สภาพแวดล้อมในปัจจุบัน และอนาคต รวมทั้งความสามารถในการจัดการกับเป้าหมายและข้อจำกัด ในด้านต่าง ๆ เช่น เวลา ทรัพยากร และระบบ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 1.2.2 การชี้นำตนเอง (Self-direction) เป็นความสามารถในการตั้งเป้าหมาย ที่ เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ การวางแผนเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ การจัดการกับเวลาและประเมิน คุณภาพของการเรียนรู้และผลผลิตที่เกิดขึ้น 1.2.3 ความกระหายใคร่รู้ (Curiosity) เป็นความปรารถนาที่อยากจะรู้หรือมีความ สนใจที่นำไปสู่การสืบเสาะหาความรู้ 1.2.4 ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) เป็นความสามารถในการสร้างสรรค์ สิ่งใหม่ ทั้งในระดับตนเองและสังคม 1.2.5 ความกล้าเสี่ยง (Risk-taking) เป็นความตั้งใจที่จะทำผิดพลาดสวนกระแส กับความคิดเห็นอื่น ๆ เพื่อจัดการกับปัญหาที่ไม่สามารถหาทางออกได้ ทำให้เกิดการเรียนรู้ การมีวุฒิ ภาวะ และทำให้เกิดความสำเร็จขึ้น 1.2.6 ความคิดขั้นสูงและการมีเหตุผล (Higher - order Thinking and Sound Reasoning) เกี่ยวข้องกับกระบวนการทางสติปัญญาในการวิเคราะห์ เปรียบเทียบ แปลความ ตีความ ประเมินค่า และสังเคราะห์ เพื่อนำไปใช้เกี่ยวกับการศึกษาและการแก้ปัญหา 1.3 การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในยุคนี้ไม่ได้หมายถึง ความสามารถในการสร้างความหมายโดย ใช้สื่อเครื่องมือและกระบวนการในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน (Interactive Communication) เท่านั้น แต่ยังครอบคลุมถึง 1.3.1 การทำงานเป็นกลุ่มและความร่วมมือ (Teaming and Collaboration) ซึ่ง เป็นความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นในการแก้ปัญหา สร้างสิ่งใหม่ๆ จนเกิดการเรียนรู้และมี ความชำนาญ
๓๘ 1.3.2 การมีมนุษย์สัมพันธ์ (Interpersonal Skills) เป็นความสามารถในการอ่าน และจัดการกับอารมณ์ แรงกระตุ้น และพฤติกรรมของตนเองและผู้อื่นในการมีปฏิสัมพันธ์และ ใน สถานการณ์ต่าง ๆ 1.3.3 ความรับผิดชอบส่วนตน (Personal Responsibility) เกี่ยวกับความรู้ที่ เกี่ยวข้องกับกฎหมายและประเด็นทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีและการประยุกต์ใช้ในชีวิตได้ อย่างสมดุล ซื่อสัตย์ และมีคุณภาพ 1.3.4 ความรับผิดชอบต่อสังคมและความเป็นพลเมืองดี (Social and Civic Responsibility) เกี่ยวกับความสามารถในการจัดการและใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และระบอบประชาธิปไตย 1.4 ประสิทธิภาพการผลิตในระดับสูง ประสิทธิภาพการผลิตในระดับสูงในยุคนี้เกี่ยวข้องกับความสำเร็จของแรงงาน ในด้านต่าง ๆ ต่อไปนี้ 1.4.1 การจัดลำดับ การวางแผน และการจัดการเพื่อผลลัพธ์ (Prioritizing, Planning and Managing for Results) ซึ่งเป็นความสามารถในการจัดการเพื่อบรรลุเป้าหมายของ โครงการหรือการแก้ปัญหาที่วางไว้ 1.4.2 การใช้เครื่องมือในโลกแห่งความจริงอย่างมีประสิทธิภาพ (Effective Use of Real-World Tools) ซึ่งเกี่ยวข้องกับความสามารถในการใช้เครื่องมือต่าง ๆ เพื่อการสื่อสาร การ ทำงานร่วมกัน การแก้ปัญหา เป็นต้น 1.4.3 ความสามารถในการผลิตงานที่มีคุณภาพสูง (Ability to Produce Relevant, High - Quality Products) เป็นความสามารถในการผลิตผลงานที่มีคุณภาพ ด้วย เครื่องมือ ในปัจจุบันที่ได้มาตรฐาน และสามารถนำไปใช้ได้จริง 2. กรอบความคิดเกี่ยวกับการจัดการศึกษาสำหรับศตวรรษที่ 21 องค์กรและนักการศึกษาได้ศึกษาลักษณะของสังคมในศตวรรษที่ 21 และได้เสนอกรอบ แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการศึกษาสำหรับศตวรรษที่ 21 ไว้ดังนี้ 2.1 กรอบความคิดแนวการจัดการศึกษาเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของภาคี แนวทางจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 มีดังนี้ 2.1.1 วิชาแกน โดยผู้เรียนต้องมีความรอบรู้และเรียนรู้จนมีความเชี่ยวชาญในวิชา แกนต่าง ๆ ได้แก่ ภาษาอังกฤษ การอ่าน ศิลปะการใช้ภาษา ศิลปะ คณิตศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ วิทยาศาสตร์ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และการปกครองและหน้าที่พลเมือง 2.1.2 แนวคิดสำคัญในศตวรรษที่ 21 แนวคิดสำคัญที่ส่งผลต่อความสำเร็จ ในการ ทำงาน และการอยู่ร่วมกันในศตวรรษที่ 21 ได้แก่ จิตสำนึกต่อโลก ความรู้พื้นฐาน ด้านการเงิน เศรษฐกิจ ธุรกิจ และการเป็นผู้ประกอบการ ความรู้พื้นฐานด้านพลเมือง ความรู้พื้นฐานด้านสุขภาพ ความรู้พื้นฐานด้านสิ่งแวดล้อม 2.1.3 ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม โดยผู้เรียนต้องได้รับการฝึกในด้านความคิด สร้างสรรค์ และนวัตกรรม ความคิดเชิงวิพากษ์และการแก้ไขปัญหา และการสื่อสารและ การทำงาน
๓๙ ร่วมกัน 2.1.4 ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี โดยผู้เรียนต้องได้รับความรู้พื้นฐาน ด้านสารสนเทศ ความรู้พื้นฐานด้านสื่อ และความรู้พื้นฐานทางเทคโนโลยีสารสนเทศฯและการสื่อสาร (ICT) 2.1.5 ทักษะชีวิตและการทำงาน โดยผู้เรียนได้ฝึกและเรียนรู้เกี่ยวกับความยืดหยุ่น และความสามารถในการปรับตัว ความคิดริเริ่มและการชี้นำตนเอง ทักษะทางสังคมและการเรียนรู้ ข้ามวัฒนธรรม การเพิ่มผลผลิตและความรู้รับผิด และความเป็นผู้นำและความรับผิดชอบ 2.1.6 ระบบสนับสนุนการศึกษาของศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย มาตรฐานและ การประเมิน การพัฒนาหลักสูตรและการสอน การพัฒนาทางวิชาชีพ และสภาพแวดล้อม การเรียนรู้ 2.2 กรอบแนวคิดเกี่ยวกับภาพการศึกษาไทยในอนาคต 2.3.1 มุ่งพัฒนาปัจเจกบุคคลให้มีความรู้ ทักษะ สติปัญญา ความฉลาดทางอารมณ์ การปรับตัวเพื่ออยู่ร่วมในสังคมได้อย่างมีความสุข มีทักษะชีวิต และมีภูมิคุ้มกัน ดำรงตน เป็นพลเมือง ไทยและพลโลกที่ดี 2.2.2 มุ่งเน้นการพัฒนามันสมองและสติปัญญาของมนุษย์ตั้งแต่ก่อนวัยเรียน จนกระทั่งถึงวัยผู้สูงอายุ เพื่อใช้ปัญญาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคน สร้างโอกาสและเพิ่มมูลค่าของ ชีวิต สังคมและประเทศชาติ 2.2.3 ส่งเสริมสุขภาพกาย สุขภาพจิต สุขภาพสมองและสติปัญญาควบคู่กับสภาวะ แห่งคุณธรรม จริยธรรม ที่มีความสมบูรณ์อย่างเป็นองค์รวม 2.2.4 ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการวิจัยอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ทุก เพศทุกวัย มีการใช้เทคโนโลยี นวัตกรรมเป็นเครื่องมือแสวงหาความรู้/การเรียนรู้ได้อย่างเท่ากัน 2.2.5 ส่งเสริมสิทธิ เสรีภาพ และความเป็นมนุษย์ที่สามารถดำรงชีวิตอยู่ในโลกของ การแข่งขันได้อย่างรู้เท่าทันและมีความสุข 2.2.6 ก่อให้เกิดความเข้าใจตนเอง เข้าใจผู้อื่น มีจิตอาสา จิตสาธารณะ ส่งเสริมการ ใช้ปัญญาอย่างมีเหตุผล ส่งเสริมความสามัคคีปรองดองในสังคม ขจัดความขัดแย้ง ทำให้คนมีความ เป็นมนุษย์และมีจิตใจสูง 2.2.7 ส่งเสริมความเป็นผู้มีคุณธรรม โดยมีหลักสูตร กระบวนการเรียนการสอน และการประเมินผลจะต้องเน้นทั้งความรู้และคุณธรรมควบคู่กันไปอย่างบูรณาการ 2.2.8 ส่งเสริมการอนุรักษ์และพัฒนาศิลปวัฒนธรรม ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ ผ่านกระบวนการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ ทั้งในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย 2.2.9 เป็นกลไกก่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้า และการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน 2.2.10 เปิดโอกาสให้คนทุกหมู่เหล่า ทุกเพศวัย ทุกเชื้อชาติ ทุกศาสนาได้ศึกษา ใน ทุกสถานที่ ทุกเวลา ทุกโอกาสอย่างเท่าเทียมและเป็นไปอย่างมีคุณภาพ เป็นการศึกษาที่เอื้อต่อคนทุก คนในสังคม 2.2.11 ส่งเสริมให้มีการใช้เทคโนโลยีในการแสวงหาความรู้อย่างทั่วถึง ผู้เรียนทุก เพศทุกวัยสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้ทุกเวลา ทุกที่ ทุกโอกาส รวดเร็ว ทันท่วงที ด้วยเทคโนโลยี ใหม่ ๆ ที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา
๔๐ 2.2.12 สถานศึกษามีการแข่งขันกันเชิงคุณภาพมากยิ่งขึ้นเพื่อรองรับความต้องการ การพัฒนาทางเศรษฐกิจ/สังคม ในยุคเศรษฐกิจสังคมฐานความรู้ 2.2.13 บทบาทการจัดการศึกษาของรัฐลดลงและบทบาทขององค์กรปกครอง ส่วน ท้องถิ่นและเอกชนเพิ่มมากขึ้น 2.2.14 กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมจะเข้ามามีส่วน ส่งเสริมการจัดการศึกษามากขึ้น เกิดการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ การพัฒนาสมองของมนุษย์ การ รักษามันสมองของผู้สูงวัยให้มีสุขภาพสมองยืนยาวด้วยกระบวนการทางการแพทย์ที่ทันสมัย 2.2.15 ผู้สูงวัยจะได้รับการเตรียมการด้วยการศึกษาตลอดชีวิตและการใช้ ประโยชน์จากสมอง ภูมิปัญญา และประสบการณ์ของผู้สูงวัยมาใช้สนับสนุนการศึกษาทั้งในรูปของ ผู้ทรงคุณวุฒิ ครูภูมิปัญญา และแหล่งเรียนรู้ที่เป็นทรัพยากรบุคคลอันมีค่าของชาติ 2.2.16 ครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา มีวิสัยทัศน์ ความรู้ คุณธรรม ทักษะ และเจตคติที่ดีต่อการศึกษา ผ่านกระบวนการเรียนรู้และประสบการณ์ในสาขาวิชาชีพอย่าง เชี่ยวชาญ มีความรักและศรัทธาในวิชาชีพ มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และประเทศชาติ เป็นผู้ ทันโลก ทันเหตุการณ์เป็นที่ยอมรับและศรัทธาของหน่วยงาน วงการวิชาชีพ และสังคม และมีสถาบัน ผลิตครูที่มีศาสตร์ของการผลิตดำเนินการอย่างเข้มข้น 2.2.17 ผู้เรียน มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง มีความรู้ และผ่านการขัดเกลาสติปัญญา ตามช่วงวัย มีภูมิคุ้มกันและความเข้มแข็งทางจิตใจและอารมณ์ มีทักษะการคิดวิเคราะห์ และเหตุผล เชิงวิทยาศาสตร์มีความสามารถในการสื่อสารได้หลายภาษา มีทักษะในการใช้เทคโนโลยีในการ แสวงหาความรู้ ใฝ่รู้ใฝ่เรียน มีความสามารถในการจัดการตนเองและแก้ปัญหาตนเองได้อย่างรู้เท่าทัน มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม และอยู่ในโลกยุคโลกาภิวัตน์ได้อย่างมีความสุข การพัฒนาหลักสูตรในศตวรรษที่ 21 1. ด้านการสร้างและปรับปรุงหลักสูตร จากแนวคิดของพระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) การสร้างและปรับปรุงหลักสูตร ควรคำนึงถึง การกำหนดกรอบของโครงสร้างเนื้อหาที่ครอบคลุมองค์ประกอบทางการศึกษา 3 ด้าน ที่เรียกว่า ไตรสิกขา ประกอบด้วยเนื้อหาทางด้านการปฏิบัติ(พฤติกรรม) ด้านคุณธรรมจริยธรรม (จิตใจ) และ ด้านสาระความรู้ (ปัญญา) ทั้งนี้ ควรเพิ่มจุดเน้นเนื้อหาสาระในเรื่องคุณลักษณะสำคัญ ๆ อาทิ ความ ใฝ่รู้ ความอดทน ความไม่ประมาท รวมทั้งความพอใจในสิ่งที่กระทำ โดยให้ผู้เรียนคำนึงถึงความ เจริญก้าวหน้าในส่วนรวมระดับโลกมิใช่คำนึงถึงประโยชน์ที่จะเกิดในระดับบุคคล จากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่วิเคราะห์จากพระราชดำรัสเกี่ยวกับการศึกษา เนื้อหาสาระการเรียนรู้ และ กระบวนการเรียนรู้ในการสร้างและปรับปรุงหลักสูตรและการกำหนดเนื้อหาสาระความรู้ ควร ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ความรู้ทางวิชาการ ทักษะการคิด และคุณธรรม โดยความรู้นั้น ๆ ประกอบด้วย ความรู้ทางวิชาการความรู้ปฏิบัติการ และความรู้คิดอ่านตามเหตุผล ความเป็นจริง ทั้งนี้สาระทั้ง 3 ส่วนจะต้องนำมาบูรณาการกัน และมีความสมดุลทั้งด้านทฤษฎีและการปฏิบัติ
๔๑ จากแนวคิดในการพัฒนาหลักสูตรในอนาคตของ ศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ในการพัฒนาหลักสูตร ควรมีจุดหมาย เนื้อหาสาระ และการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่มุ่งสร้าง คุณลักษณะอันพึงประสงค์ให้คนมีลักษณะ “คิดเป็น วิเคราะห์เป็น และ ประยุกต์ใช้เป็น” 2. ด้านการนำหลักสูตรไปใช้ จากแนวคิดของพระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) ในการนำหลักสูตรไปสู่การจัดการเรียนการ สอน ควรเน้นการสร้างความเข้าใจถึงการเรียนรู้โดยการปฏิบัติจริง ในสถานการณ์ที่หลากหลายทั้งที่ เอื้ออำนวยและไม่เอื้ออำนวย เพื่อสร้างพลเมืองที่มีความแข็งแกร่ง อดทน อีกทั้งการจัดกิจกรรมให้เกิด การแข่งขันในสังคมและในระดับโลกในยุคศตวรรษที่ 21 ที่มีเป้าหมายให้เกิดความดีงามแก่ชีวิต และ มีสันติสุขต่อส่วนรวม จากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่วิเคราะห์จากพระราชดำรัสเกี่ยวกับการศึกษา เนื้อหาสาระการเรียนรู้ และ กระบวนการเรียนรู้ในการนำหลักสูตรไปใช้ในการสอน การที่จะถ่ายทอดสาระความรู้ไปยังผู้เรียนนั้น ควรเน้นกระบวนการเรียนรู้ที่ก่อให้เกิดปัญญา กล่าวคือ เป็นการเรียนรู้ที่อาศัยการขบคิดพิจารณา การเรียนรู้จากการปฏิบัติฝึกฝนจนเกิดความชำนาญ โดยสามารถนำทฤษฎีมาดัดแปลงเพื่อใช้ในชีวิต จริงได้อย่างเหมาะสม จากแนวคิดในการพัฒนาหลักสูตรในอนาคตของ ศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ในด้านการนำหลักสูตรไปใช้ในการสอน ต้องบริหารจัดการให้หลักสูตรที่พัฒนาขึ้นนั้น เป็นหลักสูตรใน ลักษณะ “ปวงชน” กล่าวคือ ให้โอกาสและความเสมอภาคในการเข้ารับการศึกษา ได้ตาม ความสามารถและศักยภาพของแต่ละคน เพื่อนำความรู้ที่ได้รับไปพัฒนาตนและสังคม ข้อเสนอแนวทางการพัฒนาหลักสูตรในศตวรรษที่ 21 1. ในด้านการสร้าง และ/หรือการปรับปรุงหลักสูตร ในสภาวะของโลกยุคโลกาภิวัตน์ที่เป็นโลกไร้พรมแดน การแพร่ขยายองค์ความรู้จากจุดหนึ่ง ของโลก สามารถทะลุผ่านพรมแดนไปยังภูมิภาคอื่นของโลกได้อย่างรวดเร็ว อันเป็นผลมาจาก ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ หากพิจารณาบริบทของโลกในศตวรรษที่ 21 ในปัจจุบันอาจ คาดการณ์ได้ว่าหลักสูตรในอนาคตควรเป็น “หลักสูตรระยะสั้นและจบเร็ว เพื่อให้ผู้เรียนสามารถ เรียนรู้ได้มาก รวดเร็ว และลงทุนน้อย” โดยมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการสร้างและปรับปรุงหลักสูตร ดังนี้ 1.1 ปัจจัยพื้นฐานในการสร้างและปรับปรุงหลักสูตรและการนำหลักสูตรไปใช้ประกอบด้วย 1.1.1 บริบทโลก กล่าวคือ นักพัฒนาหลักสูตรและการสอนจะต้อง ทำความเข้าใจ ให้ถ่องแท้เกี่ยวกับบริบทหรือสิ่งแวดล้อมของโลกในศตวรรษที่ 21 เป็นเบื้องแรก เพื่อศึกษาว่ามีสิ่งใด ที่ต้องเรียนรู้และเติมเต็มในสิ่งที่ขาด โดยให้มีความเชื่อมโยงกับบริบทใหม่ของโลกในยุคศตวรรษที่ 21 ทั้งในด้านเนื้อหาสาระหลัก 9 วิชา ได้แก่ ภาษาอังกฤษและศิลปะการใช้ภาษา ภาษาสำคัญของโลก ศิลปะ คณิตศาสตร์เศรษฐศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และการปกครองและ หน้าที่พลเมือง รวมทั้งแนวคิดสำคัญ 5 ด้าน ได้แก่ จิตสำนึกต่อโลก ความรู้พื้นฐานด้านการเงิน เศรษฐกิจ ธุรกิจและการประกอบการ ความรู้พื้นฐาน ด้านพลเมือง ความรู้พื้นฐานด้านสุขภาพ และ ความรู้พื้นฐานด้านสิ่งแวดล้อม
๔๒ 1.1.2 แนวคิดพื้นฐานด้านการศึกษาของโลกตะวันตก และโลกตะวันออก กล่าวคือ นักพัฒนาหลักสูตรควรบูรณาการพื้นฐาน แนวคิดในการจัดการศึกษาของอารยธรรมตะวันตก กับ อารยธรรมตะวันออก ซึ่งควรอยู่ภายใต้ฐานคิด 5 ประการ คือ 1) ชีวิตคือการเรียนรู้ โดยมีจุดเน้นที่ การเรียนรู้ด้วยตนเอง อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต 2) การเรียนรู้แบบบูรณาการในลักษณะองค์รวมของ ความรู้3) การเรียนรู้มีลักษณะ “การเรียนรู้จากภายใน” ด้วยการควบคุมตนเอง ขัดเกลาตนเองและมี ทักษะในการตรวจสอบคุณธรรมของตนเองได้ตลอดเวลา 4) การกำหนดเป้าหมายของการศึกษา คือ อิสรภาพแห่งชีวิต โดยใช้ความรู้ในการปลดทุกข์ ในวิถีทางที่ถูกต้องและสร้างสรรค์5) การส่งเสริม แนวคิดในเชิงธรรมชาตินิยม ทั้งนี้มุ่งหวังให้ผู้เรียนที่เป็นผลผลิตของหลักสูตรและการสอนจะได้รับการ ขัดเกลาจิตใจให้อ่อนโยน มีแนวคิดร่วมกันในการสร้างสันติภาพ และสันติสุขในสังคมโลก 1.2 คุณลักษณะที่ต้องการเน้นให้เกิดในผู้เรียน เพื่อให้สอดรับกับบริบทของไทยและบริบทของโลกในศตวรรษที่ 21 อย่างผสมกลมกลืนกัน ทั้งในด้านอารยธรรมตะวันตกและตะวันออก อาจสรุปเป็นคุณลักษณะที่ต้องการเน้นให้เกิดในผู้เรียน ในภาพรวม คือ มุ่งให้ผู้เรียนมีความเป็นตัวของตัวเอง สามารถรับรู้ได้โดยไม่จำกัด ไม่ยืดติดกับทฤษฎี และมีเสรีภาพในการตัดสินใจ มีความสามารถในการสร้างความรอบรู้ด้วยตนเอง โดยบูรณาการกับ ประสบการณ์ตรงที่ได้รับ ทั้งนี้ผู้เรียนควรมีคุณลักษณะพื้นฐานแห่งการเรียนรู้ 5 ประการ คือ 1.2.1 เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง 1.2.2 เรียนรู้ได้มากและรวดเร็ว 1.2.3 เรียนรู้ด้วยรูปแบบที่หลากหลาย 1.2.4 เรียนรู้ได้ตลอดเวลาอย่างต่อเนื่อง 1.2.5 สามารถเข้าถึงบริการทางการศึกษาได้ง่ายและทั่วถึง 2. ในด้านการบริหารจัดการหลักสูตร การบริหารจัดการหลักสูตร ต้องใช้เทคโนโลยีเป็นฐานในการสร้างองค์ความรู้ การถ่ายทอด ความรู้ จัดเก็บความรู้ และสื่อสารความรู้ โดยคำนึงถึงความแตกต่างขององค์ความรู้ ทั้งในการจัด การศึกษาในระบบ นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย 3. ในด้านการประเมินหลักสูตร ดังที่กล่าวไว้แล้วว่า การศึกษาในอนาคตมุ่งเน้นการสร้างปัญญาด้วยตนเองเป็นสำคัญ แต่ อย่างไรก็ตามหลักสูตรที่พัฒนาขึ้น ควรมีความสมดุลระหว่างความเป็นท้องถิ่น และความเป็นสากล ดังนั้นกรอบแนวคิดในการประเมินหลักสูตรควรอยู่ภายใต้ขอบเขตการประเมิน 3 ด้าน คือ 3.1 การประเมินหลักสูตรในขอบเขตด้านความรู้ที่ได้รับ 3.2 การประเมินหลักสูตรในขอบเขตด้านทักษะที่เกิดขึ้น 3.3 การประเมินหลักสูตรในขอบเขตด้านคุณลักษณะเฉพาะ คุณลักษณะชีวิตที่ต้องการเน้น บทสรุป หลักสูตรเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาการศึกษา ในส่วนของการศึกษานั้น ควรวางแผนการ จัดการศึกษาไว้ล่วงหน้า โดยการวางแผนดังกล่าวอาศัยข้อมูลในปัจจุบันและการคาดการณ์แนวโน้มใน
๔๓ อนาคต ดังนั้นหากพิจารณาในมุมมองของศตวรรษที่ 21 ในการพัฒนาหลักสูตร จึงควรกำหนด แนวโน้มของหลักสูตรในช่วงศตวรรษที่ 21 ด้วย โดยพิจารณาถึงลักษณะและแนวโน้มความ เปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ในศตวรรษที่ 21 สำหรับแนวโน้มของหลักสูตรในศตวรรษที่ 21 นั้นอาจมี ลักษณะดังนี้ 1. ด้านการสร้างและ/หรือการปรับปรุงหลักสูตร ในส่วนของหลักสูตรควรมีลักษณะเป็น หลักสูตรระยะสั้น เอื้อให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้มาก รวดเร็ว และลงทุนน้อย ในการพัฒนาหลักสูตรดังกล่าว ต้องคำนึงถึงปัจจัยพื้นฐานด้านบริบทโลก แนวคิดพื้นฐานด้านการศึกษาของโลกตะวันตกและโลก ตะวันออก คุณลักษณะที่ต้องการเน้น รวมทั้งการกำหนดเนื้อหาสาระของหลักสูตรที่ควรเป็นลักษณะ สหวิทยาการ 2. การบริหารจัดการหลักสูตรด้วยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในศตวรรษที่ 21 เป็นฐาน 3. การประเมินหลักสูตรภายใต้ขอบเขต 3 ด้าน คือ ด้านความรู้ที่ได้รับ ด้านทักษะที่เกิดขึ้น และด้านคุณลักษณะชีวิตที่ต้องการเน้น
๔๔ บทสรุป ปัจจุบันหลักสูตรไทยมีหลักสูตรที่สำคัญ 6 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีพุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560) หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) พุทธศักราช 2562 หลักสูตรประกาศนียบัตร วิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) พุทธศักราช 2563 หลักสูตรปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ พุทธศักราช 2562 และหลักสูตรอุดมศึกษา (ภายใต้กรอบมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษา) ซึ่งจะเห็นว่า โดยสภาพปัจจุบัน หลักสูตรของไทยจะเน้นการตอบโจทย์ความต้องการของแต่ละหลักสูตร ว่าต้องการ ให้ผู้เรียนเป็นแบบไหน จึงต้องมีการกำหนดแนวทางที่ชัดเจนเพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายหลักสูตร นั้น ๆ ได้ เมื่อวิเคราะห์หลักสูตรแต่ละหลักสูตรกับสภาพจริงในปัจจุบัน พบว่า ปัญหาของการพัฒนา หลักสูตรประเทศไทย คือปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการพัฒนาหลักสูตร ที่เป็นปัญหาอันเกิดจากการ ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมกันสร้างหลักสูตร และร่วมกันนำหลักสูตรไปใช้ ได้แก่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ การพัฒนาหลักสูตรไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตน ขาดการประสานงานหน้าที่ที่ดีระหว่างหน่วยงาน ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหลักสูตร ผู้บริหารระดับต่างๆเห็นว่าหลักสูตรเป็นหน้าที่ของ หน่วยงานที่รับผิดชอบโดยเฉพาะ ปัญหาการไม่เปลี่ยนแปลงการเรียนการสอนของครูตามแนวทางของ หลักสูตรปัญหาการเผยแพร่หลักสูตร การสื่อสารทำความเข้าใจในหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นใหม่ ผู้ใช้ หลักสูตร ไม่เข้าใจเนื้อหาในหลักสูตร เท่าที่ควร จึงทำให้ผู้เรียนได้รับความรู้ไม่เพียงพอ อีกทั้งยังเป็น ผลมาจาก การที่บุคลากรครูมีไม่เพียงพอ ทำให้ภาระหน้าที่ของครูเยอะ ครูสอนไม่ตรงเอกที่จบมา ครู ไม่มีเวลา เตรียมตัวหรือจัดการ หาสื่อการเรียนรู้ที่แปลกใหม่มาสอน จึงทำให้เกิดปัญหาการใช้หลักสูตร ใน ประเทศไทยที่ยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ในอนาคต หลักสูตรจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาการศึกษา ในส่วนของการศึกษานั้น ควร วางแผนการจัดการศึกษาไว้ล่วงหน้า โดยการวางแผนดังกล่าวอาศัยข้อมูลในปัจจุบันและการ คาดการณ์แนวโน้มในอนาคต ดังนั้นหากพิจารณาในมุมมองของศตวรรษที่ 21 ในการพัฒนาหลักสูตร จึงควรกำหนดแนวโน้มของหลักสูตรในช่วงศตวรรษที่ 21 ด้วย โดยพิจารณาถึงลักษณะและแนวโน้ม ความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ในศตวรรษที่ 21 สำหรับแนวโน้มของหลักสูตรในศตวรรษที่ 21 นั้นอาจมี ลักษณะคือ 1) ด้านการสร้างและ/หรือการปรับปรุงหลักสูตร ในส่วนของหลักสูตรควรมีลักษณะเป็น หลักสูตรระยะสั้น เอื้อให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้มาก รวดเร็ว และลงทุนน้อย ในการพัฒนาหลักสูตรดังกล่าว ต้องคำนึงถึงปัจจัยพื้นฐานด้านบริบทโลก แนวคิดพื้นฐานด้านการศึกษาของโลกตะวันตกและโลก ตะวันออก คุณลักษณะที่ต้องการเน้น รวมทั้งการกำหนดเนื้อหาสาระของหลักสูตรที่ควรเป็นลักษณะ สหวิทยาการ 2) การบริหารจัดการหลักสูตรด้วยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในศตวรรษที่ 21 เป็น ฐาน 3) การประเมินหลักสูตรภายใต้ขอบเขต 3 ด้าน คือ ด้านความรู้ที่ได้รับ ด้านทักษะที่เกิดขึ้นและ ด้านคุณลักษณะชีวิตที่ต้องการเน้น
๔๕ บรรณานุกรม กระทรวงศึกษาธิการ. (4 กุมภาพันธ์ 2563). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดฯ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). เข้าถึงได้จาก โรงเรียนราษฎร์บำรุงศิลป์: https://www.rbss.ac.th/site/?page_id=4052 คณาจารย์ผู้สอนวิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. (2563). การ พัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพ: โรงพิมพ์ หจก.วรานนท์ เอ็นเตอร์ไพรส์. จุฑามาศ หวานขัน. (2565). แนวโน้มการพัฒนาหลักสูตรในศตวรรษที่ 21. พิมพา ประหยัด. (2561). การศึกษาไทยในปัจจุบัน. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 1-2. ระบบสำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ. (2563). หลักสูตร พ.ศ. 2563. เข้าถึงได้จาก สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ: https://bsq.vec.go.th/thth/%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0 %B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8% B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0 %B8%A2%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%A 7%E0%B8%B4%E0%B8%8A%E0%B8%B2% สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2562). หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2562. สํานักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐ สําหรับ เด็กอายุ ๓ - ๖ ปี. กรุงเทพมหานคร: การและมาตรฐานการศึกษา สํานักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.