The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by กา ตูน น., 2023-01-18 02:58:28

ประวัติ

ประวัติ

พ ร ะ ย า ท ร ง สุ ร เ ด ช ก บ ฏ ก บ ฏ ๑ ๘ ศ พ


ส ม า ชิ ก ใ น ก ลุ่ ม นางสาวผลิตา สัมฤทธิ์ 6507000001009 นางสาวสุชาวลี แทนด้วง 6512421001366 นางสาวสุธาวัลย์ ชูมณี 6512421001368 นางสาวอินทร์ทิรา พันธ์เหลือง 6516209001151 นางสาวแพรวนภา มั่นยา 6516209001154 นายกษิดิ์เดช ภริงคาร 651 6209001063 เสนอ อาจารย์อายับ ซาดัดคาน วิชาการเมืองการปกครองและหลักรัฐธรรมนูญ(HPA0104) มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี


รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งในรายวิชาการเมืองการปกครองและหลัก รัฐธรรมนูญ(HPA0104)โดยจัดทำ ขึ้น เพื่อให้นักศึกษาหรือผู้อ่านได้ เข้าใจถึงเรื่องราวความเป็นมาของ กบฏพระยาทรงสุรเดช กบฏ18ศพ หวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานเล่มนี้จะเป็นประโยชน์แก่นักศึกษาหรือผู้อ่าน ทุกท่าน ในการนี้ขอขอบคุณ อาจารย์อายับ ซาดัดคาน อาจารย์ประจำ วิชา การเมืองการปกครองและหลักรัฐธรรมนูญ(HPA0104) ที่สนับสนุนให้ มีการทำ รายงานเล่มนี้มา ณ ที่แห่งนี้ คณะผู้จัดทำ คำ นำ


ส า ร บั ญ เรื่อง หน้า ประวัติ.........................................................................................1 สาเหตุการก่อกบฏ.....................................................................2-3 รายชื่อผู้ต้องหานักโทษ..............................................................4 การลงโทษ.................................................................................5 ที่ม ที่ าของชื่อกบฏ18ศพ...............................................................5 บั้น บั้ปลายชีวิต..............................................................................6 อ้างอิง.........................................................................................7


นายพันเอกพระยาทรงสุรเดชมีชื่อเดิมว่าเทพ พันธุมเสน เกิดเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ.2435 เป็นบุตรของนายร้อยโทไท้ พันธุมเสน กับนางพุก เมื่อบิดามารดาเสียชีวิตลงได้รับการอุปการะจาก นายพันตรีหลวงนฤสารสำ แดง (วัน พันธุมเสน) ผู้เป็นพี่ชายและเป็นอาจารย์โรงเรียนนายร้อยทหารบก พ.ศ.2447 เมื่อมีอายุได้ 12 ปีได้เข้าศึกษาที่โรงเรียนนายร้อยทหารบกจนถึงพ.ศ.2449 ได้สอบไล่ได้หลักสูตร นักเรียนนายร้อยออกเป็นนักเรียนนายร้อยสำ รองราชการ แต่พระยาทรงฯมีผลการเรียนที่ดีและอายุยังน้อยจึงได้ รับเลือกให้ไปศึกษาวิชาทหารที่ประเทศเยอรมนีพร้อมกับพระยาสุรเดชรณชิต (ชิต ยุวนะเตมีย์) เข้าศึกษาในวิชา ทหารช่าง เรียนสำ เร็จแล้วได้ออกเป็นนายสิบประจำ กรมทหารช่างที่ 4 เมืองมักเคเบอร์ก แล้วเข้าศึกษาใน โรงเรียนรบจนสำ เร็จเป็นร้อยตรีประจำ กองทหารในเมืองมักเคเบอร์ก จนถึง พ.ศ.2458 จึงเดินทางกลับ ประเทศไทย รวมเวลาที่อยู่ในเยอรมนีเกือบ 8 ปีเต็ม พระยาทรงสุรเดชได้รับการบรรจุให้เข้ารับราชการที่กรมทหารช่างที่ 1 รักษาพระองค์และเติบโตใน ตำ แหน่งราชการจนได้เป็นปลัดกรมทหารช่างที่ 1 รักษาพระองค์ ก่อนเลื่อนเป็นผู้บังคับกองพันที่ 2 ช่างรถไฟ กรมทหารบกช่างที่ 3 ในพ.ศ.2461 ได้รับมอบหมายให้สร้างทางรถไฟ 3 เส้นทางคือ 1.ทางรถไฟสายเหนือ จากอุโมงค์ขุนตานถึงเชียงใหม่ 2.ทางรถไฟสายตะวันออก จากแปดริ้วถึงอรัญประเทศ 3.ทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ จากสถานีโคราชถึงสถานีท่าช้าง พ.ศ.2467 ได้เลื่อนขึ้นเป็นผู้บังคับการกรมทหารบกช่างที่ 2 ก่อนจะย้ายมาเป็นอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิชาทหาร กรม ยุทธศึกษาทหารบกแล้วเข้าร่วมการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 พระยาทรงสุรเดช นายพันเอกพระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน) เป็น 1 ใน 4 ทหารเสือที่ร่วมก่อการเปลี่ยนแปลงการ ปกครอง พ.ศ. 2475 ได้รับการยกย่องว่าเป็นมันสมองของคณะราษฎรเพราะเป็นผู้วางแผนการยึดอำ นาจโดย การออกแผนลวงให้มาชุมนุมที่ลานพระบรมรูปทรงม้า เป็นผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร กรรมการราษฎร รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 ในภายหลังมีความขัดแย้งกับแกนนำ คนอื่นๆของคณะราษฎร เช่น พระยา พหลพลพยุหเสนา หลวงพิบูลสงคราม ทำ ให้ต้องเดินทางไปลี้ภัยในต่างประเทศจนถึงแก่อนิจกรรม ประวัติ 1


กบฏพระยาทรงสุรเดช เป็นเหตุการณ์ความวุ่นวายที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2481 อันเนื่องจาก ความขัดแย้งระหว่างตัวของ หลวงพิบูลสงคราม กับพระยาทรงสุรเดช ซึ่งก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 การสนับสนุนพระยามโนปกรณ์นิติธาดา กรณีกบฏบวรเดช และเหตุการณ์พยายามลอบสังหารหลวง พิบูลสงครามติดต่อกันหลายครั้งก่อนหน้านั้น ครั้งแรกเกิดขึ้นที่ท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2477 โดย นายพุ่ม ทับสายทอง ในขณะที่เป็นประธานพิธีการแข่งขันฟุตบอลนัดพิเศษ การลอบสังหารครั้งที่ 2 ที่บ้านพักของตนเอง ในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 โดย นายลี บุญตา คนรับใช้ที่ สนิท ขณะที่หลวงพิบูลสงครามกำ ลังจะแต่งกายไปร่วมงานเลี้ยง และวางยาพิษ 1 ครั้ง เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม ปี เดียวกัน ในขณะรับประทานอาหารกลางวันร่วมกับครอบครัว พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน) เป็นทั้งผู้รับผิดชอบด้านยุทธศาสตร์ทางการทหารและชักชวนพรรค พวกเข้าร่วมในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน) เห็นว่าลักษณะกองทัพไทยใน สมัยนั้นฝึกทหารให้เป็นเครื่องจักร ต้องทำ ตามคำ สั่งของผู้บังคับบัญชา เห็นดังนี้แล้วพระยาทรงสุรเดช (เทพ พัน ธุมเสน) จึงใช้วิธีเกลี้ยกล่อมชักชวนให้นายทหารชั้นผู้บังคับบัญชากองพันและผู้บังคับการกรมเข้าเป็นพรรคพวก โดยเริ่มแรกได้ปรารภถึงสถานการณ์บ้านเมืองโดยทั่ว ๆ ไป ต่อมาจึงได้ชี้ให้เห็นข้อดี ข้อเสีย โดยเปรียบเทียบกับ ในต่างประเทศ หลังจากดูท่าทีของพรรคพวกที่ไปชักชวนแล้วพระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน) จึงได้ถาม ความเห็นในการแก้ไขปัญหา และชักชวนเข้าร่วมในกลุ่มผู้ก่อการ ในด้านยุทธศาสตร์ทางการทหาร พระยาทรง สุรเดช (เทพ พันธุมเสน) ได้รับมอบหมายในการประชุมพบปะกันระหว่างหัวหน้าสายที่สำ คัญในปลายปี พ.ศ. 2474 ให้เป็นผู้วางแผนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เพื่อนำ มาเสนอต่อที่ประชุมในคราวต่อไป โดยแผนการ เปลี่ยนแปลงการปกครองแผนแรกที่พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน) เสนอต่อที่ประชุมคือคณะผู้ก่อการ “จำ ต้องได้องค์ประมุข-พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมาไว้เป็นองค์ประกันเสียก่อน! แล้วจากนั้นเรื่องอื่น ๆ ก็จะได้ดำ เนินการตามมาภายหลัง” โดยต้องใช้กำ ลังทหารบุกแบบสายฟ้าแลบเพื่อให้ได้องค์ประมุขและถวาย อารักขาแก่พระองค์ท่านไว้ไจนกว่าเหตุการณ์จะเรียบร้อยอย่างไรก็ดีพดีระยาฤทธิอัคเนย์ไย์ด้คัดค้านแผนการนี้ โดย ให้เหตุผลว่าหากคณะผู้ก่อการดำ เนินการตามแผนดังกล่าวจะต้องเกิดการนองเลือดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ต่อ มาพระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน) จึงได้เสนอแผนการยึดอำ นาจมาให้ที่ประชุมได้พิจารณาพร้อมกันถึง 3 แผน โดยที่ประชุมได้ลงมติเลือกแผนปฏิบัติการอันดับที่ 3 คือ ลวงเอากำ ลังทหารไปปราบกบฏ โดยชุมนุมที่ลาน พระบรมรูปแล้วอ่านประกาศเปลี่ยนแปลงการปกครองที่นั่น และกำ หนดให้กำ ลังอีกหน่วยทำ การเชิญเสด็จเจ้า ฟ้ากรมพระนครสวรรค์ฯ มาประทับยังพระที่นั่งอนันต์ฯ เพื่อเป็นองค์ประกันความปลอดภัยของคณะผู้ก่อการ สาเหตุข ตุ องการก่อ ก่ กบฏ 2


ภายหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้นพระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน) ได้รับการแต่ง ตั้งให้เป็นกรรมการราษฎร (รัฐมนตรี)รี โดยคณะผู้ก่อการฯ ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ พระราชทานรัฐธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทยฉบับถาวรฉบับแรก และพระยามโนปกรณ์นิติธาดา ได้รับตำ แหน่งนายกรัฐมนตรี พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน) ก็ได้เข้าร่วมรัฐบาลในตำ แหน่งรัฐมนตรีลอย อีกครั้งหนึ่ง ขณะดำ รงตำ แหน่งรัฐมนตรีลอยพระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน) ยังดำ รงตำ แหน่งข้าราชการ เป็นรองผู้บัญชาการทหารบก โดยมีพมีระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) เป็นผู้บัญชาการทหารบก ต่อมาพระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน) ได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในคณะกรรมการในการพิจารณาเค้าโครง การเศรษฐกิจที่ห ที่ ลวงประดิษฐ์มนูญธรรม (ปรีดี_พนมยงค์)ค์อย่างไรก็ตามคณะกรรมการไม่สามารถหาข้อยุติ ได้จึงได้เสนอเรื่องเข้าไปยังรัฐสภา รัฐบาลเกรงว่าจะเกิดความวุ่นวายและก่อความรุนแรงในรัฐสภา รัฐบาลจึง ให้มีการตรวจค้นอาวุธก่อนเข้าประชุม โดยผู้ที่ควบคุมการตรวจค้นคือพระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน) จากเหตุการณ์นี้ทำ ให้พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน) ถูกกล่าวหาว่าได้ใช้อำ นาจทางทหารเพื่อจะ ครอบงำ พลเรือน พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน) ได้ลาออกจากตำ แหน่งทางการเมืองและการทหารเมื่อ วันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2476 โดยเหตุผลด้านสุขภาพประกอบกับบ้านเมืองพ้นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อแล้ว เมื่อ ไม่มีตำ แหน่งผูกมัดในช่วงเวลาดังกล่าว พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน) และพระประศาสน์พิทยายุทธ (วัน ชูถิ่น) จึงได้ออกเดินทางไปต่างประเทศ ระหว่างนั้นได้เกิดเหตุการณ์ “กบฏบวรเดช” ขึ้นในประเทศไทย แม้ไม่ได้อยู่ในประเทศยังมีเสียงว่าพระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน) รู้เรื่องกบฏอยู่แล้ว เพราะเป็นเพื่อน สนิทกับพระยาศรีสิทธิสงคราม (ดิ่น ท่าราบ) พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน) ได้กลับเข้ารับราชการอีกครั้งในเดือนเมษายน พ.ศ. 2479 ใน ตำ แหน่งผู้อำ นวยการโรงเรียนรบ ที่จังหวัดเชียงใหม่ ในสมัยรัฐบาลของพระยาพหลฯ ต่อมาในวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2481 รัฐบาลภายใต้หลวงพิบูลสงคราม ได้มีคำ สั่งให้พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน) และ นายทหารอีก 2 นาย ออกจากราชการโดยไม่ได้รับเบี้ยหวัด พร้อมกันนี้ทางการยังได้จับกุมผู้ต้องหาจำ นวน 40 กว่านายในข้อหาเป็นกบฏ นักโทษเหล่านั้นถูกจำ คุกในเรือนจำ บางขวาง และ 18 นายถูกพิพากษา ประหารชีวิต เหตุการณ์ในครั้งนี้รู้จักกันในชื่อ “กบฏพระยาทรงสุรเดช” หรือ “กบฏ_18_ศพ” อย่างไรก็ตาม คำ พิพากษาดังกล่าวนั้นมาจากศาลพิเศษที่ห ที่ ลวงพิบูลสงครามตั้งขึ้นเพื่อพิจารณาคดีนี้โดยเฉพาะจึงไม่มีหลัก ฐานชัดเจนว่ากลุ่มคนเหล่านี้มีความผิดจริงหรือไม่ หากแต่หลวงพิบูลสงครามเชื่อว่ากลุ่มคนเหล่านั้นมีแนวคิด ต่อต้านตน เช่นนั้นแล้วพระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน) จึงตัดสินใจเดินทางออกนอกประเทศไปยังเขมร (ประเทศกัมพูชา) พร้อมกับ ร้อยเอก สำ รวจ กาญจนสิทธิ์ ผู้เป็นนายทหารคนสนิท โดยครอบครัวของพระยา ทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน) ได้ตามมาในภายหลัง พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน) ดำ รงชีพในพนมเปญ โดยการค้าขายและรับซ่อมจักรยาน จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2487 อัฐิของท่านจึงมีโอกาสได้กลับมายัง ประเทศไทย 3 2


รายชื่อผู้ต้ ผู้ อ ต้ งหานักโทษประหาร 1.นายลี บุญตา - คนรับใช้ในบ้านหลวงพิบูลสงคราม ที่เคยใช้ปืนไล่ยิงหลวงพิบูลสงคราม เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 2.นายพันโท พระสุวรรณชิต 3.นายร้อยโท ณเณร ตาละลักษณ์ 4.นายดาบ พวง พลนาวี 5.นายพลโท พระยาเทพหัสดิน 6.นายดาบ ผุดพันธ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา 7.นายร้อยโท เผ่าพงศ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา 8.นายร้อยตรี บุญมาก ฤทธิ์สิงห์ 9.นายทง ชาญช่างกล 10.นายพันเอก หลวงมหิทธิโยธี 11.นายพันโท พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร 12.นายพันเอก หลวงชำ นาญยุทธศิลป์ 13.นายร้อยเอก ขุนคลี่พลพฤนท์ 14.นายพันตำ รวจตรี ขุนนามนฤนาท 15.นายพันตรี หลวงไววิทยาศร 16.นายพันเอก พระสิทธิเรืองเดชพล 17.จ่านายสิบตำ รวจ แม้น เลิศนาวี 18.นายร้อยเอก จรัส สุนทรภักดี 19.นายร้อยโท แสง วัณณะศิริ 20.นายร้อยโท สัย เกษจินดา 21.นายร้อยโท เสริม พุ่มทรง ศาลพิเศษตัดสินปล่อยตัวพ้นข้อหาจำ นวน 7 คน จำ คุกตลอดชีวิตจำ นวน 25 คน โทษประหารชีวิต จำ นวน 21 คน แต่ให้เว้นการประหาร คงเหลือโทษจำ คุกตลอดชีวิต 3 คน เนื่องจากเคยประกอบคุณงาม ความดีให้กับประเทศชาติ คือ 1.นายพันโท พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร 2. นายพลโท พระยาเทพหัสดิน 3.นายพันเอก หลวงชำ นาญยุทธศิลป์ 4


นักโทษการเมืองหมดถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำ บางขวางโดยนักโทษประหารชีวิต ถูกทยอยนำ ตัวออกมา ประหารด้วยการยิงเป้าวันละ 4 คน จนครบจำ นวน 18 คน ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ กบฏ 18 ศพ จนถึงทุกวันนี้ ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าผู้ถูกลงโทษทั้งหมด มีผู้ใดกระทำ ผิดจริงหรือไม่ เพราะถูกตัดสินโดยศาลพิเศษ ที่บรรดาผู้ พิพากษาคือผู้ที่รัฐบาลแต่งตั้ง และไม่มีทนายจำ เลยตามหลักยุติธรรม กบฏพระยาทรงสุรเดช คือการกบฎที่ รัฐบาลประกาศว่าเป็นทั้งๆที่ไม่ได้มีเหตุการณ์ร้ายแรงอะไร นอกจากเหตุการณ์ที่เป็นข่าวเกิดกับหลวงพิบูล สงคราม3ครั้งดังกล่าวข้างต้น จึงมีความชัดเจนว่าอุบัติการนี้สร้างขึ้นเพื่อหาเรื่องกำ จัดบุคคลที่หลวงพิบูล สงครามเห็นว่าน่าจะเป็นศัตรูของตนเท่านั้น การลงโทษ ที่ม ที่ าของชื่อ กบฏ 18 ศพ นักโทษการเมืองทั้งหมดถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำ บางขวาง โดยนักโทษประหารชีวิต ถูกทยอยนำ ตัวออกมา ประหารด้วยการยิงเป้าวันละ 4 คน (วันสุดท้ายยิงเป้านักโทษ 6 คน) ในเวลาเช้ามืด ระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน-3 ธันวาคม พ.ศ. 2482 จนครบจำ นวน 18 คน ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ กบฏ 18 ศพ จนถึงทุกวันนี้ ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าผู้ถูกลงโทษทั้งหมด มีผู้ใดกระทำ ผิดจริงหรือไม่ เพราะถูกตัดสินโดยศาลพิเศษ ที่บรรดาผู้ พิพากษาคือผู้ที่รัฐบาลแต่งตั้ง และไม่มีทนายจำ เลยตามหลักยุติธรรม กบฏพระยาทรงสุรเดช คือการกบฏที่ รัฐบาลประกาศว่าเป็นทั้ง ๆ ที่ไม่ได้มีเหตุการณ์ 5


หลังจากมีความขัดแย้งกับสมาชิกระดับสูงในคณะราษฎรด้วยกันเองมาตลอด พระยาทรงสุรเดชก็ได้ เดินทางไปพำ นักที่ปที่ ระเทศศรีลังกาเป็นระยะเวลา 2 ปี จนกระทั่ง พ.ศ. 2481 เมื่อเห็นว่าสถานการณ์เหมาะ สมแล้วจึงเดินทางกลับประเทศ และเสนอต่อกระทรวงกลาโหมขอตั้งโรงเรียนรบขึ้นที่จั ที่ จังหวัดเชียงใหม่ สภา กลาโหมอนุมัติ จึงทำ นายทหารระดับหัวกะทิทั้งหมด 29 นายขึ้นไปเรียนที่นั่น แต่ทาง หลวงพิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีเกรงว่าจะเป็นการซ่องสุมผู้คนก่อการกบฏ จึงส่งหน่วยสอดแนมไปติดตามดูความเคลื่อนไหว เป็นระยะ เมื่อนักเรียนรุ่นแรกศึกษาจบแล้ว พระยาทรงสุรเดชได้นำ ลูกศิษย์ตระเวนดูงานทหารตามกรมกองต่าง ๆ แต่เมื่อถึงกรมทหารราชบุรี ได้ถูกยื่นซองขาวมีข้อความให้ออกจากราชการโดยไม่มีเบี้ยหวัดบำ นาญ พร้อม กับบีบบังคับให้เดินทางออกสู่ต่างประเทศ พระยาทรงสุรเดชพร้อมนายทหารคนสนิทเมื่อถูกกล่าวหาว่าเป็นกบฏ จึงถูกให้ออกจากราชการโดยไม่มีเบี้ย หวัดและถูกบีบให้เดินทางออกนอกประเทศ ไปพร้อมกับ ร้อยเอกสำ รวจ กาญจนสิทธิ์ นายทหารคนสนิท โดยถูกควบคุมตัวขึ้นรถไฟไปที่อำ ที่ อำเภออรัญประเทศ และเดินทางข้ามพรมแดนต่อไปยังประเทศกัมพูชาซึ่งใน ขณะนั้นเป็นดินแดนในอาณานิคมของประเทศฝรั่งเศส หลังจากที่ลี้ภัยอยู่ที่กัมพูชาได้ไม่นาน ทางการกัมพูชา ก็ไม่อนุญาตให้อยู่ จึงต้องเดินทางไปพำ นักอยู่ที่เมืองไซ่ง่อน โดยมีภริยาติดตามไปด้วย จากนั้นจึงได้รับ อนุญาตให้กลับมาที่พนมเปญอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งในระหว่างที่ยังพำ นักอยู่ที่เมืองไซง่อน พระยาทรงสุรเดชได้เขียน บันทึกไว้เล่มหนึ่ง ในปี พ.ศ. 2482 เกี่ยวกับเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครองทั้งหมด ตลอดจนความล้ม เหลวของผลในการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ซึ่งบันทึกเล่มนี้ต่อมาได้ถูกตีพิมพ์เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2513 ในชื่อ "บันทึกพระยาทรงสุรเดช" ชีวิตพระยาทรงสุรเดชที่กัมพูชา ไม่มีทรัพย์เงินทองเหลือติดตัวอยู่เลย ต้องหาเลี้ยงชีพด้วยการทำ ขนม กล้วยขายพร้อมกับภริยา ซึ่งต้องลงมือโม่แม่ ป้งด้วยตนเอง รวมทั้งรับจ้างซ่อมจักรยาน ซึ่งช่วงที่อยู่กัมพูชานั้น เมื่อเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพาขึ้น ในปี พ.ศ. 2484 เมื่อกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น ได้บุกเข้าประเทศไทย และบีบบังคับรัฐบาลขอใช้ประเทศไทยเป็นทางผ่านเพื่อที่จะบุกไปพม่า และอินเดีย พระยาทรงสุรเดชมีความคิดที่จะต่อต้านญี่ปุ่น โดยคิดว่าจะเดินข้ามพรมแดนไปประเทศไทยตามลำ พัง เนื่องจากอยู่ในที่ ๆ ห่างไกลข้อมูลข่าวสาร จึงไม่มีโอกาสได้ทราบว่าในประเทศไทยมีขมีบวนการต่อต้าน ญี่ปุ่นกำ เนิดขึ้นมาเหมือนกัน พระยาทรงสุรเดชจึงตกอยู่ในสภาพเสมือนว่าต่อต้านญี่ปุ่นอยู่คนเดียว และก็ไม่มี โอกาสได้ลงมือกระทำ จริง ต่อมา พระยาทรงสุรเดชสิ้นชีวิตอย่างกะทันหันทั้งที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงดี มากโดยตลอด เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2487 ที่ตำ หนักร้างแห่งหนึ่งในกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ซึ่ง แพทย์ชาวเยอรมันลงความเห็นว่า เสียชีวิตด้วยอาการโลหิตเป็นพิษ (แต่ก็มีข้อสงสัยว่าอาจเสียชีวิตเพราะถูก วางยาพิษ ทว่าเรื่องนี้ก็ไม่มีข้อพิสูจน์) บั้น บั้ปลายชีวิต 6


t h a i p o l i t i c h i s t o r y / ก บ ฏ พ ร ะ ย า ท ร ง สุ ร เ ด ช 2 9 ม ก ร า ค ม 2 4 8 1 / สื บ ค้ น เ มื่ อ วั น ที่ ( 1 7 / 0 1 / 6 5 ) / / จ า ก - t h a i p o l i t i c h i s t o r y ( g o o g l e . c o m ) อ้างอิง 7 Apirom (6 พฤษภาคม 2563)/พันเอก พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุม ธุ เสน).// สืบค้นเมื่อ มื่ วันที่17/01/65/จากhttp://wiki.kpi.ac.th/index.php?title= บุญบุ เกีย กี รติ การะเวกพันธุ์,ธุ์ด็อกเตอร์,พระยาทรงสุรเดช, เข้าถึง ถึ จาก :http://wiki.kpi.ac.th/index.php? เมื่อ มื่17 มกราคม 2566


Click to View FlipBook Version