ก า ร เ พ า ะ เ ลี้ ย ง เ นื้ อ เ ยื่ อ
(PLANT TISSUE CULTURE)
จัดทำโดย
นางสาว พิมพ์ผกา ศรีไกรไทย เลขที่ 13 6/1
นางสาว รัชฎาภรณ์ กังหัน เลขที่ 32 6/1
เสนอ
นางสาว กายทิพย์ แจ่มจันทร์
โรงเรียนส่วนบุญโญปถัมภ์ ลำพูน
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565
คำนำ
หนังสือ E-book เล่มนี้ จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของ
วิชา เกษตร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เพื่อให้ได้ศึกษาหาความรู้
ในเรื่อง การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ และ ได้ศึกษาอย่างเข้าใจเพื่อ
เป็นประโยชน์ในการเรียน
ผู้จัดทำหวังว่า หนังสือ E-book เล่มนี้ จะเป็นประโยชน์
กับผู้อ่าน หรือนักเรียน นักศึกษา ที่กำลังหาข้อมูลเรื่องนี้อยู่
หากมีข้อแนะนำหรือข้อผิดพลาดประการใดผู้จัดทำน้อมรับไว้
และขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย
ผู้จัดทำ
นางสาว พิมพ์ผกา ศรีไกรไทย
นางสาว รัชฎาภรณ์ กังหัน
สารบัญ
01
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
02
ประเภทของ
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
08
รูปแบบการเจริญเติบโต
และการพัฒนาของเนื้อเยื่อ
10
ขั้นตอนหลัก
ในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
สารบัญ
12
ห้องปฏิบัติการ
เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
14
อาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
18
วิธีการเตรียมอาหาร
เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
19
การเตรียมชิ้นส่วนพืชการ
ฟอกฆ่าเชื้อและการผ่าตัด
เนื้อเยื่อ
สารบัญ
23
การดูแลเนื้อเยื่อระหว่าง
การดูแลในขวด
25
ข้อดีของการเพาะเลี้ยง
เนื้อเยื่อ
26
ข้อเสียของการเพาะเลี้ยง
เนื้อเยื่อ
คือ การสร้างสายต้น โดยการนำส่วนพืชมาทำให้สะอาดปราศจาก
เชื้อโรค แล้ววางเลี้ยงบนอาหารวิทยาศาสตร์ ซึ่งประกอบด้วยแร่ธาตุ
น้ำตาล วิตามิน และสารควบคุมการเจริญเติบโตในสภาพปลอดเชื้อ
จุลินทรีย์ ภายใต้สภาพแวดล้อมที่สามารถควบคุมได้
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจัดเป็นพื้นฐานอันสำคัญของ
เทคโนโลยี เป็นการเอาสิ่งมีชีวิตหรือชิ้นส่วนของสิ่งมีชีวิตมา
ปรับปรุง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่มีประโยชน์เพิ่มขึ้น
เพื่อสร้างสายพันธุ์ใหม่ๆจำเป็นต้องใช้เทคนิคการเพาะเลี้ยง
เนื้อเยื่อเพื่อสายพันธุ์ใหม่ที่ได้สามารถมีชีวิตอยู่ได้ และ
เจริญเติบโตได้ดี
~1~
ประเภทของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
พืชประกอบไปด้วยอวัยวะต่างๆมากมาย
ซึ่งแต่ละอวัยวะประกอบด้วยเนื้อเยื่อ
หลายชนิด ประเภทของการเพาะเลี้ยง
เนื้อเยื่อ แบ่งตามส่วนของพืชที่นำมา
ขยายพันธุ์ได้ 7 ประเภท ดังนี้
~2~
1 . ก า ร เ พ า ะ เ ลี้ ย ง คั พ ภ ะ ( E M B R Y O C U L T U R )
การเพาะเลี้ยงคัพภะ หมายถึง การนำเอาคัพภะ หรือต้น
อ่อนของพืชที่เพิ่งเริ่มพัฒนาที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติจากถุงรังไข่
ของพืชมาเพาะเลี้ยงบนอาหารสังเคราะห์ เพื่อให้เกิดเป็นแคลลัส
หรือเกิดเป็นต้นพืชโดยตรง รวมทั้งการชักนำให้เกิดคัพภะจาก
เซลล์หรืออวัยวะอื่น เช่น ใบเลี้ยง ช่อดอกอ่อน เมล็ดอ่อน ชักนำ
ให้เกิดแคลลัสแล้วพัฒนาเป็นคัพภะต่อไป การเพาะเลี้ยง คัพภะ
นำมาแก้ไขปัญหาอัตราความงอกของเมล็ดที่ต่ำในเมล็ดพืชบาง
ชนิด หรือในเมล็ดของพืชที่เกิดจากการผลิตข้ามชนิด หรือข้าม
สกุลที่ยากต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาในสภาพตามธรรมชาติ
รวมทั้งแก้ไขปัญหาการพักตัวที่ยาวนานของเมล็ดพืชบางชนิด
2 . ก า ร เ พ า ะ เ ลี้ ย ง อ วั ย ว ะ ( O R G A N C U L T U R )
การเพาะเลี้ยงส่วนต่างๆของอวัยวะพืชที่แยกออกมา เช่น
ยอด ข้อ ปล้อง ราก ใบ ดอก และผล ในสภาพปลอดเชื้อ วิธีการ
เพาะเลี้ยงแบบนี้ทำได้ง่ายและรวดเร็ว
~3~
3 . ก า ร เ พ า ะ เ ลี้ ย ง เ นื้ อ เ ยื่ อ เ จ ริ ญ
(MERISTEM CULTUR)
การเพาะเนื้อเยื่อเจริญ เป็นการตัดเอาเนื้อ
เยื่อดจริญที่ปลายยอดมาเลี้ยง เนื้อเยื่อเจริญมีขนาด
เล็ดมากต้องทำการผ่าตัดภายใต้กล้องจุลทรรศน์
เป็นการเพาะเลี้ยงเพื่อให้ได้ชิ้นส่วนที่ปลอดไวรัส
แล้วนำไปเพาะเลี้ยงเพิ่มปริมาณขายพันธุ์ต่อไป
4 . ก า ร เ พ า ะ เ ลี้ ย ง แ ค ล ลั ส
(CALLUS CULTUR)
แคลลัสเป็นเซลล์พื้นฐานที่อยู่รวมกันเป็น
กลุ่มยังไม่กำหนดทิศทางการเปลี่ยนแปลงหรือ
พัฒนาไปเป็นเนื้อเยื่อหรืออวัยวะเนื้อเยื่อพืชเกือบ
ทุกชนิดสามารถนำมาชักนำการสร้างแคลลัสได้
ซึ่งการขักนำการสร้างแคลลัสเริ่มต้นจากการคัดเลือก
เนื้อเยื่อพืชมาทำการเพาะเลี้ยงบนอาหารสังเคราะห์
ที่มีธาตุอาหารพืชร่วมกับสารควบคุมการเจริญ
เติบโตในระดับที่เหมาะสมเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
และนำมาใช้ประโยชน์หลายด้าน เช่น การขาย
พันธุ์เพื่อชักนำให้เกิดต้นพืชปริมาณมาก ใช้ใน
กระบวนการผลิตเซลล์ไร้ผนัง การผลิตสารเคมี
การผลิตพืชให้ต้านทานต่อโรคแมลงศัตรูพืช
และทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม รวมทั้ง
การใช้เป็นเนื้อเยื่อเป้าหมายในการเก็บรักษาเชื้อ
พันธุกรรม
~4~
5 . ก า ร ส กั ด โ ป ร โ ต พ ล า ส ต์
(PROTOPLAST CULTUR)
โปรโตพลาสต์ เป็นเซลล์ที่ปราศจากผนังเซลล์
เหลือ แต่เยื่อหุ้มเซลล์ ห่อหุ้มองค์ประกอบของเซลล์เอาไว้
สำหรับวิธีการกำจัดผนังเซลล์ที่ใช้อยู่มีด้วยกัน 2 วิธีคือวิธีกล
โดยการสร้างบาดแผลหรือทำให้ผนังเซลล์เกิดการฉีกขาด
จากใบมีดที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้วทำให้เซลล์ที่เหลือหลุดออก
จากผนังเซลล์และวิธีย่อยด้วยเอนไซม์เนื้อเยื่อที่มีความ
เหมาะสมนำมาสกัดเซลล์ไร้ผนัง ได้แก่ เนื้อเยื่อที่มีอายุ
น้อยเช่นแคลลัสใบอ่อนรากอ่อนและละอองเกสรตัวผู้
ประโยชน์ของการเพาะเลี้ยงโปรโตพลาส ได้แก่ การนำ
มาใช้ในกระบวนการปรับปรุงพันธุ์และการสร้าง พืชพันธุ์
ใหม่จากพืชต่างสกุลโดยวิธีรวมโปรโตพลาสต์ รวมทั้งใช้
เป็นเนื้อเยื่อเป้าหมายในระบบการส่งถ่ายยีนพันธุกรรม
~5~
6 . ก า ร เ พ า ะ เ ลี้ ย ง อั บ เ ร ณู แ ล ะ ล ะ อ อ ง เ ร ณู
(ANRHER AND POLLEN CULTUR)
อับเรณูที่ยังเจริญไม่เต็มที่ หรือละอองเรณู ซึ่งผ่านการแบ่งตัวแบบ
ไมโอซิสมาแล้วสามารถนำมาเพาะเลี้ยงให้เกิดเป็นพืชต้นใหม่ได้ซึ่งต้นพืช
ที่ได้จะมีโครโมโซมเป็นแฮพลอยด์สามารถนำมาทำการเพิ่มจำนวน
โครโมโซมวิธีการนี้ทำให้เกิดพืชพันธุ์แท้
~6~
7 . ก า ร เ พ า ะ เ ลี้ ย ง เ ซ ล ล์ แ ข ว น ล อ ย
(CELL SUSPENSION CULTUR)
เซลล์แขวนลอยเป็นเซลล์เดี่ยว ๆ หรือกลุ่มเซลล์ขนาดเล็กที่ได้จากการเพาะ
เลี้ยงเนื้อเยื่อพืชในอาหารเหลวบนเครื่องหมุนเหวี่ยงอาหารเนื้อเยื่อที่เหมาะสมต่อการ
ชักนำให้เกิดเซลล์แขวนลอย ได้แก่ เนื้อเยื่อแคลลัสซึ่งเป็นกลุ่มเซลล์ที่มีการเกาะตัว
กันหลวม ๆ ง่ายต่อการกระจายออกเป็นเซลล์เดี่ยว ๆ การเพาะเลี้ยงเซลล์แขวนลอยถูก
นำมาใช้ศึกษาถึงกระบวนการเมแทบอลิซึมภายในเซลล์การศึกษาการทํางานของ
เอนไซม์และการแสดงออกของยีนตลอดจนเพื่อการผลิตเซลล์ไร้ผนังและคัพภะเพื่อนำ
ไปใช้ประโยชน์ต่อไป
ภ า พ ก า ร เ พ า ะ เ ลี้ ย ง เ ซ ล ล์ แ ข ว น ล อ ย
~7~
รูปแบบการเจริญเติบโต
และการพัฒนาของเนื้อเยื่อ
1.การเกิดแคลลัส (callus formation )
แคลลัสเป็นกลุ่มเซลล์พาเรนไคมาที่ยัง
ไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของเซลล์ไป
เป็นรากหรือลำต้น อาจจะอยู่กันหลวมๆ
หรือเกาะกันแน่นแคลลัสอาจเกิดจากจาก
เซลล์หรืออวัยวะอื่น เช่น ใบเลี้ยง ช่อดอกอ่อน
และเมล็ดอ่อน เป็นต้น
ภาพแคลลัสพัฒนาไปเป็นต้นพืช
~8~
2. การเกิดอวัยวะ หรือออร์แกโนจีเนซิส (organogenesis)
ออร์แกโนเจเนซิส คือ กระบวนการเปลี่ยนแปลงจนกระทั่งได้
เป็นอวัยวะหรือเป็นการพัฒนาเป็นพืชต้นใหม่โดยตรง โดยการสร้าง
ยอดหรือราก การเปลี่ยนแปลงเป็นอวัยวะต่างๆ เป็นผลของฮอร์โมน
ต่อกลุ่มของเซลล์อาจเป็นอิทธิพลของฮอร์โมนชนิดเดียว หรือหลาย
ชนิดก็ได้ เมื่อมีการผันแปรระหว่างฮอร์โมนออกซินและไซโทไคนิน
พบว่าโดยถ้าสัดส่วนของออกซินมากกว่าไซโตไคนินจะชักนำให้เกิด
รากในทางกลับกันถ้ามีไซโตไคนินมากกว่าออกซินจะพัฒนาไปเป็น
ยอด การเชื่อมต่อระหว่างยอดและรากในการเกิดอวัยวะเป็นขบวนการ
ที่เป็นอิสระต่อกันรากอาจเกิดต่างบริเวณกับที่เกิดของยอดจึงอาจไม่
ติดต่อกันได้ยังมีปัจจัยอื่นๆที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเป็นยอดหรือเป็น
รากของพืชได้เช่นกัน เช่น ตำแหน่งของชิ้นพืชที่นำมาเพาะเลี้ยง
อายุและสภาพของต้นแม่ชนิดของพืชและอวัยวะตลอดจนสภาพการ
เพาะเลี้ยงอื่นๆ เช่น จำนวนครั้งในการถ่ายอาหาร แสง อุณหภูมิ
น้ำตาล และความเป็นกรด-ด่างของอาหารเพาะเลี้ยง เป็นต้น
3. การเกิดคัพภะ หรือเอ็มบริโอจีเนซิส
(embryogenesis )
คัพภะของพืชที่ขยายพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
คือ เอ็มบริออยด์เกิดจากเซลล์มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนา
เหมือนกับการพัฒนาของไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิแต่
เอ็มบริออยด์มีจุดกำเนิดจากเซลล์ร่างกาย หลังจากนั้นจะ
พัฒนาเป็นขั้นตอนต่างๆเป็นต้นกล้าซึ่งมียอดและรากติดต่อ
กัน จึงมีท่อน้ำท่ออาหารเชื่อมต่อกัน
~9~
ขั้นตอนหลักในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
ได้แบ่งขั้นตอนในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเป็น 3 ขั้นตอนหลัก ดังนี้
1. ขั้นตอนการเตรียมต้นแม่พันธุ์
(preparative stage)
การเพาะเลี้ยงต้้นแม่พันธุ์ที่ต้องการในสภาพ
แวดล้อมที่ค่อนข้างสะอาด เพื่อจะได้ต้นแม่พันธุ์ที่สะอาด
และสมบูรณ์เต็มที่
2. ขั้นตอนเริ่มต้น (initiation stage)
การเพาะเลี้ยงต้้นแม่พันธุ์ที่ต้องการในสภาพ
แวดล้อมที่ค่อนข้างสะอาด เพื่อจะได้ต้นแม่พันธุ์ที่สะอาด
และสมบูรณ์เต็มที่
3. ขั้นตอนการเพิ่มปริมาณ
(multiplication)
การนำชิ้นส่วนของพืชที่เตรียมความ
พร้อมในขั้นตอนการเตรียมต้นแม่พันธุ์
มาทำ การฟอกฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่ติดอยู่กับ
ผิวพืช แล้วทำการผ่าตัดเนื้อเยื่อในสภาพ
ปลอดเชื้อภายในตู้ ย้ายเนื้อเยื่อเลี้ยงบน
อาหารวิทยาศาสตร์ที่นึ่งฆ่าเชื้อแล้วจนได้ต้นพืชที่
ต้องการ
~10~
4. ขั้นตอนการชักนำให้เกิดราก 5. ขั้นตอนการเตรียมออกขวดและ
(root induction) การย้ายออกปลูก
ต้นกล้ามีปริมาณตามจำนวนที่ (Acclimatization)
ต้องการแล้วจะทำการชักนำให้ออกราก
และเลี้ยง จนเจริญเติบโตเป็นต้นกล้าที่ ต้นกล้าในขวดที่ทำการย้ายออกสู่
แข็งแรงสมบูรณ์ สภาพภายนอกขวดมักมีเปอร์เซ็นต์รอดต่ำ
เพราะถูกเลี้ยงในสภาพปลอดเชื้อ และถูก
เลี้ยงในสภาพที่แสงและอุณหภูมิค่อนข้าง
ต่ำกว่าสภาพภายนอกมาก ดังนั้นก่อนการ
การย้ายออกนอกขวดเพาะจึงต้องมีการเพิ่ม
ความเข้มแสงปรับอุณหภูมิ พอต้นกล้ามี
ความพร้อมแล้วก็ทำการย้ายออกนอกขวด
นำไปเลี้ยงในโรงเรือนต่อไป ตัวอย่าง
เช่น การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อของกาแฟโร
บัสตา
~11~
ห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
1.ห้องเตรียมอาหาร (media preparation room)
ห้องเตรียมอาหารต้องมีเนื้อที่กว้างขวางพอที่จะปฏิบัติ
การได้อย่างสะดวก มีโต๊ะสำหรับปฏิบัติการตู้เย็นสำหรับ
เก็บสารละลายเข้มข้นหม้อนึ่งความดันสำหรับฆ่าเชื้อ
จุลินทรีย์ เครื่องชั่ง เครื่องวัดความเป็นกรดด่างเตาหลอม
อาหาร อ่างน้ำ ตู้เก็บสารเคมีและอุปกรณ์
~12~
2. ห้องย้ายเนื้อเยื่อ
(transferation or incubation room)
ห้องย้ายเนื้อเยื่อต้องสะอาดและปลอดเชื้อควรเป็นห้อง
ที่สร้างอย่างมิดชิด และให้ผู้คนเข้าออกน้อยที่สุดเท่าที่จำเป็น
เครื่องมือสำคัญที่มีในห้องนี้ คือ ตู้สำหรับถ่ายเนื้อเยื่อหรือ
ย้าย เนื้อเยื่อซึ่งเป็นตู้ที่มีอากาศถ่ายเทผ่านแผ่นกรองที่
สามารถกรองเชื้อจุลินทรีย์ไว้ได้ตลอดเวลาทำให้อากาศ
ภายในบริเวณตู้เป็นอากาศบริสุทธิ์ลดภาวะเสี่ยงต่อการปน
เปื้อนของจุลินทรีย์ในอากาศลง
3. ห้องเลี้ยงเนื้อเยื่อ (culture room)
ห้องเลี้ยงเนื้อเยื่อต้องปลอดเชื้ออุปกรณ์ที่
สำคัญในห้องนี้ ได้แก่ ชั้นวางขวด เนื้อเยื่อ เครื่อง
เขย่า ระบบให้แสงสว่างพร้อมเครื่องปิดเปิดไฟ
อัตโนมัติ และเครื่องปรับอากาศ โดยทั่วไปมักจะ
ปรับสภาพแวดล้อมภายในห้องให้มีอุณหภูมิ
ประมาณ 25 + 2 องศาเซลเซียส แสง 12 - 18
ชั่วโมงต่อวัน ความเข้มของแสง 300 - 10,000
~13~
อาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
อาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญยิ่งต่อความสำเร็จในการขยาย
พันธุ์พืช การพิจารณาคัดเลือกอาหารเพื่อให้เหมาะสมกับการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
แต่ละชนิดนั้นขึ้นอยู่กับชนิดของพืช และจุดประสงค์การผลิต
1. ประเภทอาหาร
อาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมี 2 ประเภท คือ อาหารแข็ง กับอาหาร เหลว อาหาร
แข็งใช้วุ้นในการปรับสารละลายอาหารให้มีสภาพเป็นของแข็ง ความเข้มข้นของวันที่
ใช้กันแพร่หลายและได้ผลดี คือ 0.8 เปอร์เซ็นต์ของปริมาตรอาหารทั้งหมด
ส่วนอาหารเหลวเนื้อเยื่อจะจมหรือแขวนลอยอยู่บนกระดาษกรองที่จุ่มในอาหารเหลว
ตลอดเวลาเนื้อเยื่อที่จมอยู่ในอาหารเหลวอาจถูกคนที่ความเร็ว 100 - 160 รอบต่อนาที
เพื่อช่วยในการหายใจของพืช
~14~
2. ส่วนประกอบของอาหาร
อาหารเลี้ยงเนื้อเยื่อมีอยู่ด้วยกันหลายสูตร เช่น
สูตรมูราชิกิและสกู๊ท สำหรับเพาะเลี้ยงพืชทั่วไปและ
สูตรวาซินและเว้นซ์เพาะเลี้ยงกล้วยไม้ เป็นต้น และ
มักมีชื่อเรียกตามผู้คิดค้นสูตรอาหารขึ้นมา ซึ่งผู้นำไป
ใช้อาจมีการดัดแปลงสูตรอาหารให้เหมาะสมกับงาน
ต่อไปอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อประกอบไปด้วยธาตุ
อาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช ดังนี้
~15~
2.1. สารอนินทรีย์ ได้แก่ ธาตุอาหารที่พืชต้องการใน
ปริมาณมาก ได้แก่ คาร์บอน ไฮโดรเจน ไนโตรเจน
ออกซิเจน ฟอสฟอรัส โปแตสเซียม ซัลเฟอร์ แคลเซียม และ
แมกนีเซียม ส่วนธาตุอาหารที่พืชต้องการในปริมาณน้อยแต่ขาด
ไม่ได้ ได้แก่ เหล็ก คลอรีน แมงกานีส ทองแดง สังกะสี โบรอน
และ โมลิบดีนัม
2.2. สารประกอบอินทรีย์ (organic compounds) ได้แก่
สารประกอบอินทรีย์หลายชนิดที่เติมในอาหารเพาะเลี้ยง
โดยเฉพาะน้ำตาล มีความจำเป็นต่อการเจริญของพืชอย่างมาก
เนื่องจากเนื้อเยื่อพืชยังไม่มีการสังเคราะห์แสงในสภาพหลอด
แก้ว หรือมีการสังเคราะห์แสงในอัตราที่ต่ำน้ำตาลที่นิยมใช้ คือ
น้ำตาลซูโครส
2.3. วิตามิน พืชสามารถสังเคราะห์วิตามินที่
จำเป็นต่อการเจริญเติบโตได้ทุกชนิด แต่
เซลล์พืชที่เลี้ยงในสภาพหลอดแก้วต้องการ
วิตามินเพิ่ม วิตามินที่ใช้ เช่น วิตามินบี 1 วิตา
มินบี 5 วิตามินเอ็ม และวิตามินบี 2
~16~
2.4. กรดอะมิโน เช่น กลูตามีน แอสพาราจีน อะดีนีน
ไกลซีน
2.5. สารควบคุมการเจริญเติบโต ที่ใช้กันมาก คือ
ออกซิน เช่น ไอบีเอ ไอเอเอ เอ็นเอเอ และไซโตไคนิน
เช่น บีเอพี ไคเนติน และ ซีเอติน ส่วนจิบเบอเรลลินใช้ใน
บาง กรณี เช่น การเลียงปลายยอด
2.6. สารที่ได้จากธรรมชาติ สารที่ได้จากธรรมชาติ
เช่น น้ำมะพร้าว น้ำต้ม มันฝรั่ง น้ำคั้นมะเขือเทศ กล้วยหอม
บด
สารสกัดจากยีสต์ และสารสกัดจากมอลต์
2.7. ตัวทำให้สารแข็ง เนื้อเยื่อส่วนมากจะเลี้ยงใน
อาหารแข็ง ตัวทำให้สารแข็ง เช่น วุ้น และเจลไรด์ เจลไรด์
ช่วยทำช่วยให้ต้นพืชตั้งอยู่บนอาหารได้ สำหรับสูตร อาหารที่
ไม่ได้ใส่วุ้นต้องมีการเพิ่มอากาศให้ชิ้นส่วนได้สัมผัสอากาศ
อย่างเพียงพอ
2.8. น้ำ
~17~
วิธีการเตรียมอาหาร
เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
นิยมเตรียมเป็นสารอาหารเข้มข้นที่มีความเข้มข้นเป็นหลายๆ เท่า ของ
ความเข้มข้นที่ใช้จริง โดยมากมักให้มีความเข้มข้นเป็น 100 เท่า 200
เท่า หรือ 1,000 เท่า ของ ความเข้มข้นจริง โดยรวมสารเคมีชนิดที่ไม่มี
ปฏิกิริยาต่อกันไว้ด้วยกัน จากนั้นจึงนำสารอาหาร เข้มข้นแต่ละชนิดมา
รวมกัน และเติมสารอื่นให้ครบปรับปริมาตรให้ได้ตามสูตรอาหาร แล้ว
ปรับค่า ความเป็นกรด-ด่าง เติมผงวุ้นนำไปต้ม และบรรจุขวดนำอาหารที่
เตรียมได้ไปนึ่งฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ในหม้อนึ่งความดันไอน้ำที่อุณหภูมิ 121
องศาเซลเซียส ความดัน 15 ปอนด์ต่อตารางนิ้วเป็นเวลา 15 - 20 นาที
~18~
การเตรียมชิ้นส่วนพืช
การฟอกฆ่าเชื้อ
และการผ่าตัดเนื้อเยื่อ
1.
การเลือกชิ้นส่วนของพืชที่จะนำมาเพาะเลี้ยง
ชิ้นส่วนของจะสามารถพัฒนาไปเป็นต้นพืช
ได้หลังจากการขยายพันธุ์ด้วยวิธี เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
นั้น ขึ้นอยู่กับอายุหรือระยะของพืชที่นำมาเลี้ยงชิ้น
ส่วนพืชที่นำมาเลี้ยงควรเลือก ที่เป็นข้อปลายยอด
ตายอด ตาข้าง เนื่องจากจะสามารถชักนำยอดได้
จำนวนมาก
~19~
2. เทคนิคการฟอกเชื้อ
2.1. การทำความสะอาดเบื้องต้นการล้างทำความสะอาดชิ้น
ส่วนพืชด้วยน้ำสะอาด ซึ่งทางที่ดีควรใช้น้ำกลั่นล้างเอาสิ่ง
สกปรกฝุ่นละออง แมลง เศษดิน ออกให้หมด จากนั้นให้
นำมาล้างด้วยน้ำสะอาดที่ผสมสารซักฟอก (น้ำยาล้าง จาน
ไลปอน-เอฟ ประมาณ 1 หยด ต่อน้า 100 มล.) ประมาณ
5 นาที จากนั้นนำไปแช่ในน้ำซึ่งเปิดให้ ไหลช้าๆ อย่าง
ต่อเนื่อง ระยะเวลาแล้วแต่ความเหมาะสมต่อชิ้นส่วนพืช
2.2. แช่ชิ้นส่วนของพืชซึ่งมีโครงสร้างที่แข็ง
แรงในน้ำอุ่น การแช่ชิ้นส่วนพืชในน้ำอุ่น
อุณหภูมิประมาณ 55 องศาเซลเซียส นาน 30
นาที จะสามารถทำลายจุลินทรีย์จำพวก
แบคทีเรียบางชนิดได้ แต่วิธีการนี้มีข้อจำกัด
ตามชนิดของชิ้นส่วนพืชด้วย
~20~
2.3. ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดโรคพืช
ชิ้นส่วนพืชที่ทราบว่ามีเชื้อจุลินทรีย์ปนเปื้อนอยู่บริเวณผิวนอกมากเกินกว่าการใช้สารฆ่าเชื้อตาม
ปกติจะได้ผล สารละลายป้องกันกำจัดโรคพืชที่ใช้นั้นต้องมีความเข้มข้นสูงกว่าที่ฉลากแนะนา เนื่องจากชิ้น
ส่วนพืชจะสัมผัสสารละลายเหล่านี้เพียง 15-60 นาทีเท่านั้น สารเคมีป้องกันกาจัดโรคพืชที่นิยมนำมาใช้แช่
ชิ้นส่วนของพืชได้แก่ ยาปฏิชีวนะในกรณีที่ต้องการลดประชากรแบคทีเรียและแคปแทนในกรณีที่ต้องการ
ลดประชากรรา อย่างไรก็ตามควรหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีประเภทดูดซึม เนื่องจากอาจทำให้ชิ้นส่วนของ
พืชไม่สามารถเจริญเติบโตตามปกติได้
~21~
3. การผ่าตัดเนื้อเยื่อพืช
การตัดชิ้นส่วนของพืชที่จะนำมาเลี้ยง เริ่มจากต้องนำชิ้นส่วนพืชมาล้างน้ำให้สะอาด และตัด
ส่วนที่ไม่ต้องการใช้ออกให้มากที่สุด นำชิ้นส่วนพืชที่ล้างแล้วมาตัดให้มีขนาดพอประมาณ แล้วนำมา
ฟอกฆ่าเชื้อที่ผิวตามขั้นตอน จากนั้นจึงตัดเนื้อเยื่อออกเป็นชิ้นเล็กๆให้มีขนาดตามต้องการนำไปเลี้ยง
ในอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ขนาดและรูปร่างของเนื้อเยื่อที่นำมา เลี้ยงขึ้นอยู่กับลักษณะวัตถุประสงค์
และความพอใจของผู้ปฏิบัติงาน ถ้าตัดเนื้อเยื่อชิ้นใหญ่เนื้อเยื่อมีโอกาสรอดชีวิตสูงแต่ก็มีโอกาสปน
เปื้อนสูง ถ้าตัดเนื้อเยื่อชิ้นเล็กก็มีโอกาสรอดชีวิตต่ำแต่มีโอกาสปนเปื้อนน้อยก่อนนำเนื้อเยื่อที่ฟอกฆ่า
เชื้อแล้วลงในอาหารเลี้ยงเนื้อเยื่อควรเช็ดขวดอาหารเพื่อฆ่าเชื้อด้วยเอททิลแอลกอฮอล์ 70
เปอร์เซ็นต์ก่อนนำเข้าตู้ตัดเนื้อเยื่อ เมื่อจะย้ายเนื้อเยื่อลงขวดให้เปิดฝาและลนไฟที่คอขวดใช้ปากคีบ
ที่ลนไฟฆ่าเชื้อและทิ้งให้เย็นแล้วคีบเนื้อเยื่อใส่ขวดควรกดเนื้อเยื่อให้จมลงในอาหารเล็กน้อยแล้วจึง
ปิดฝาตามเดิม
~22~
การดูแลเนื้อเยื่อระหว่าง
การดูแลในขวด
ความสะอาดเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
พืช ต้องมีการหมั่นตรวจดูขวดหรือภาชนะที่เลี้ยงเนื้อเยื่อพืช ถ้าพบว่า
มีเชื้อจุลินทรีย์เจริญขึ้นมาปะปนจะต้องรีบนำออกไปต้มฆ่าเชื้อและ
ล้างทันทีเพื่อไม่ให้เป็นที่สะสมเชื้อจุลินทรีย์ ซึ่งอาจจะแพร่และฟุ้ง
กระจายอยู่ภายในห้องได้เนื้อเยื่อพืชที่เลี้ยงควรมีการเปลี่ยนอาหาร
ใหม่ประมาณ 2 สัปดาห์ต่อครั้ง
~23~
การย้ายพืชออกจากขวด
เมื่อพืชเจริญเติบโตเป็นต้นที่สมบูรณ์แล้วจะทำการย้าย
พืชออกจากขวดเลี้ยงเนื้อเยื่อ เพื่อปลูกในกระถางควรใช้วัสดุ
ปลูกที่มีส่วนผสมของทรายผสมขุยมะพร้าว หรือทรายผสมถ่าน
แกลบ อัตราส่วน 1 : 1 สำหรับเลี้ยงต้นกล้าในระยะแรก
โดยใช้ปากคีบนำต้นออกจากขวดอย่างระมัดระวังอย่าให้ราก
ขาดหรือเสียหาย ล้างเศษวันที่ติดอยู่ที่บริเวณรากออกให้หมด
เพื่อไม่ให้เป็นอาหารของจุลินทรีย์นำต้นที่ล้างแล้วจุ่มด้วยยากัน
ราก่อนปลูกลงในภาชนะที่ใส่วัสดุปลูกไว้ในระยะแรกต้อง
ควบคุมสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม เช่น ความชื้น แสง
อุณหภูมิ หรือนำไปไว้ในกระบะพ่นหมอก เมื่อต้นเจริญ
เติบโตแข็งแรงแล้วจึงย้ายออกปลูกในสภาพปกติต่อไป
ขั้นตอนการผลิตต้นกล้วยจนกระทั่งย้ายพืชออกปลูก
~24~
ข้อดีของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
1.สามารถเพิ่มปริมาณพันธุพืชที่ต้องการ
ได้ในเวลาอันสั้น
2.ต้นกล้าที่ได้มีลักษณะสม่ำเสมอ
3.ต้นพืชที่ได้ปราศจากเชื้อราและ
แบคทีเรีย
4.ผลิตต้นกล้าได้ทั้งปีโดยไม่ต้องคำนึงถึง
สภาพดินฟ้าอากาศหรือฤดกูาลในการเพาะ
ปลูก จึงทำให้เกษตรกรมีรายไดต้ลอดปี
5.ช่วยในการขยายพันธ์ุพืชในพืชที่ขยาย
พันธุ์เองได้ยากในสภาพปกติใน
ธรรมชาติ
~25~
ข้อเสีย
ของการเพาะเลี้ยง
เนื้อเยื่อ
1.มีขั้นตอนและวิธีการที่ยุ่งยาก
2.ต้นทุนสูงกวา่การขยายพันธุ์พืชโดยวิธีอื่น
3.เสี่ยงต่อความเสียหายจากศัตรูพืช
เนื่องจากพืชต้นใหม่ที่ได้มาจำนวนมาก
และมีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนกัน
ทำให้การระบาดของโรคและแมลงศัตรู
พืชเกิดได้ง่าย
4.การแปรปรวนทางพันธุกรรมอาจเกิดขึ้น
ได้เนื่องจากการเพาะเลี้วยงในอาหาร
สังเคราะห์ซึ่งมีธาตอุาหารและฮอร์โมนอยู่
สูงต้นพืชอาจมีการแปรปรวนทาง
พันธุกรรมเกิดขึ้นได้
~26~
บรรณานุกรม
ธัญญา ทะพิงค์แก.(2554).หลักการขยายพันธุ์พืช [ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก
http://www.facagri.cmru.ac.th/research/subject_file/20
210629140015.pdf
(สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2565)
บทที่5 การฟอกเชื้อ [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก
http://www.facagri.cmru.ac.th/research/subject_file
/20200622102044.pdf
(สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2565)