รายงาน เรื่อง นักจิตวิทยาทางการศึกษา "ซิกมันด์ ฟรอยด์" เสนอ ดร. รอง ปัญสังกา จัดท าโดย นางสาวรัตนา หล่าหมื่น รหัสนักศึกษา 6622610603 ห้องเรียนที่ 6 รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา EA105 จิตวิทยาส าหรับครู หลักสูตรประกาศนียบัตร สาขาวิชาชีพครู วิทยาลัยสันตพลอุดรธานี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566
ก ค าน า รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา EA105 จิตวิทยาส าหรับครู จัดท าขึ้นเพื่อน าเสนอข้อมูลเกี่ยว ชีวประวัติของ ซิกมันด์ ฟรอยด์เป็นเรื่องราวของแนวคิดที่ส าคัญ ทฤษฎีจิตวิทยา โครงสร้างของบุคลิกภาพ พัฒนาการในแต่ละช่วงวัย ไปจนถึงกลไกในการป้องกันตนเอง และสามารถน าไปพัฒนาหลักสูตรและบูรณา การในการเรียนการสอน ทั้งนี้ผู้จัดท าหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานเล่มนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่มาศึกษาเป็นอย่างดี หากมี ข้อเสนอแนะประการใด ผู้จัดท าขอรับไว้ด้วยความขอบพระคุณยิ่ง และขอขอบคุณ ดร. รอง ปัญสังกา เป็น อย่างสูง อาจารย์ประจ าวิชาจิตวิทยาส าหรับครู ที่ให้ความรู้แก่ศิษย์และแนวทางการศึกษา เพื่อน ๆ ทุกคนที่ให้ ความช่วยเหลือมาโดยตลอด ผู้จัดท าหวังว่ารายงานฉบับนี้จะให้ความรู้ และเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านทุก ๆ ท่าน และท าให้การท ารายงานส าเร็จลุล่วงไปด้วยดี หากผิดพลาดประการใด ขออภัย ณ ที่นี้ด้วย รัตนา หล่าหมื่น 10 กันยายน 2566
ข สารบัญ เรื่อง หน้า ค าน า ก สารบัญ ข สารบัญภาพ ค ชีวประวัติ 1 แนวคิดที่ส าคัญ 2 ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ 3 โครงสร้างของบุคลิกภาพ 4 พัฒนาการทางบุคลิกภาพ 5 กลไกในการป้องกันตัวเอง (Defense Mechanism) 8 บรรณานุกรม 11
ค สารบัญภาพ เรื่อง หน้า ภาพที่ 1 : ซิกมันด์ ฟรอยด์ 1 ภาพที่ 2 : ภูเขาน้ าแข็ง 2 ภาพที่ 3 : ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ 3 ภาพที่ 4 : โครงสร้างของบุคลิกภาพ 4 ภาพที่ 5 : พัฒนาการทางบุคลิกภาพ 5 ภาพที่ 6 : พัฒนาการทางบุคลิกภาพ 0 - 8 เดือน 5 ภาพที่ 7 : พัฒนาการทางบุคลิกภาพ 18 เดือน – 3 ปี 6 ภาพที่ 8 : พัฒนาการทางบุคลิกภาพ 3 – 5 ปี 6 ภาพที่ 9 : พัฒนาการทางบุคลิกภาพ 6-12 ปี 7 ภาพที่ 10 : พัฒนาการทางบุคลิกภาพ 12 – 18 ปี 7
1 นักจิตวิทยาทางการศึกษา “ซิกมันด์ ฟรอยด์” ชีวประวัติ ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) จิตแพทย์ชาวออสเตรีย เชื้อสายยิว เกิดเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ.2399 ในจักรวรรดิออสเตรียซึ่งปัจจุบันคือ สาธารณรัฐเช็ก และเสียชีวิตวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2482 รวมอายุ 83 ปีครอบครัวมีอาชีพขายขนสัตว์ มีฐานะปานกลางซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) สนใจด้านวิทยาศาสตร์มาตั้งแต่เด็ก เรียนจบจากมหาวิทยาลัยเวียนนาสาขาวิทยาศาสตร์ แล้วเรียนต่อ สาขาแพทยศาสตร์ จากนั้นได้ไปศึกษาต่อด้านโรคทางสมองและประสาทที่กรุงปารีสกับหมอผู้เชี่ยวชาญด้าน อัมพาต ที่นั่นเอง ฟรอยด์ได้ค้นพบว่าความจริงแล้วคนไข้บางรายป่วยเป็นอัมพาตเนื่องจากภาวะทางจิตใจ ไม่ใช่ร่างกาย ภาพที่ 1 : ซิกมันด์ ฟรอยด์ ที่มา : https://sites.google.com/a/s - khxng-f-rxy-d สืบค้นเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2566
2 แนวคิดที่ส าคัญ ฟรอยด์เชื่อว่าพฤติกรรมส่วนใหญ่ของมนุษย์มีแรงจูงใจมาจากจิตไร้ส านึก ซึ่งมักจะผลักดันออกมาใน รูปความฝัน การพูดพลั้งปาก หรืออาการผิดปกติทางด้านจิตใจในด้านต่างๆ เช่น โรคจิต โรคประสาท เป็น ต้น เขาเป็นบุคคลแรกที่ได้อธิบายทฤษฎีจิตวิเคราะห์ที่เกี่ยวกับบุคลิกภาพซึ่งมีความเชื่อเกี่ยวกับธรรมชาติของ มนุษย์ว่ามนุษย์เกิดมาพร้อมกับแรงขับทางสัญชาตญาณ (Instinctual drive) และแรงขับดังกล่าวเป็นพลังงาน ที่สามารถเปลี่ยนแปลงและเคลื่อนที่ได้อันเป็นความเชื่อที่ได้รับอิทธิพลจากความรู้ทางฟิสิกส์จึงท าให้เชื่อว่า จิตเป็นพลังงานรูปหนึ่ง ที่สามารถเปลี่ยนแปลงและไม่หยุดนิ่ง (Psycho-Dynamic) ภาพที่ 2 : ภูเขาน้ าแข็ง ที่มา : https://www.istockphoto.com/th สืบค้นเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2566 ในราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 ฟรอยด์ เป็นผู้ริเริ่มให้ความสนใจกับ จิตใต้ส านึก เขาเปรียบ เทียบว่า จิตใจมนุษย์ มีสภาพคล้าย ภูเขาน้ าแข็ง ที่ลอยอยู่ในมหาสมุทร มีส่วนที่อยู่เหนือผิวน้ า เป็นส่วนน้อย ยังมีส่วน อยู่ใต้ผิวน้ า เป็นส่วนใหญ่ ภาวะจิต ระดับที่มี ความส านึก ควบคุมอยู่เช่นเดียวกับ ส่วนของน้ าแข็งที่อยู่เหนือผิว น้ า ภาวะจิตระดับใต้ส านึก เหมือน ส่วนที่อยู่ใต้ผิวน้ า เป็นที่สะสมองค์ประกอบของจิตไว้มากมาย ฟรอยด์ อธิบายว่า จิตระดับใต้ส านึก นี้มีกลไกทางจิต หลายประเภท ด้วยกัน เช่น แรงจูงใจ, อารมณ์ที่ถูกเก็บกด, ความรู้สึกนึกคิด,ความฝัน, ความทรงจ า ฯลฯ พลังจิตใต้ส านึก มีอิทธิพลบ เหนือจิตส านึกกระตุ้น ให้ปฏิบัติ พฤติกรรม ประจ าวันทั่ว ๆ ไป, เป็นแรงจูงใจให้เกิดพฤติกรรมไร้เหตุผล และผิดปกติในลักษณะต่าง ๆ ฟรอยด์ ได้ใช้เวลาศึกษา เรื่องจิตใต้ส านึก อยู่ถึง ๔๐ ปี
3 ภาพที่ 3 : ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ ที่มา : https://www.kroobannok.com/ (Unconscious) สืบค้นเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2566 ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ได้วิเคราะห์จิตของมนุษย์ออกเป็น 3 ระดับดังนี้ 1. จิตส านึก (Conscious) เป็นจิตระดับที่มนุษย์เราแสดงออกยามเมื่อรู้ตัว มีสติตลอดเวลา รู้ว่าตนเองเป็นใคร ต้องการอะไร ก าลังท าอะไร อยู่ที่ไหน รู้สึกอย่างไร เมื่อแสดงพฤติกรรมก็จะแสดงออกไปอย่างรู้ตัว มีเหตุผล อยู่ในโลกของความเป็นจริง หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ จิตส านึกคือจิตระดับที่รู้ตัว และแสดงพฤติกรรมออกมาได้ โดยตรงตามที่ตนเองรับรู้ขณะนั้น 2. จิตกึ่งส านึก (Pre-Conscious) เป็นจิตที่แสดงออกมาในระดับที่ยังรู้ตัวอยู่เช่นกัน เพียงแต่ควบคุมไม่ให้แสดง พฤติกรรมออกมา เมื่อใดก็ตามที่ต้องการจะแสดงออกก็สามารถจะเปิดเผยได้โดยทันที เช่น แมรี่เกลียด น้องสาวตัวเอง แต่ไม่ต้องการให้พ่อกับแม่รู้จึงควบคุมพฤติกรรมให้เป็นปกติ ซึ่งแมรี่รับรู้จิตส่วนนี้อยู่ตลอดเวลา ว่าตนมีความรู้สึกอย่างไรกับน้องสาวตน ดังนั้นเมื่อใดก็ตามที่แมรี่ต้องการจะเปิดเผยความเกลียดที่มีอยู่ในใจ ของตนออกมาก็ย่อมท าได้ทันที สรุปได้ว่าจิตกึ่งส านึกคือ จิตระดับที่รู้ตัวแต่ไม่แสดงออกมา 3. จิตใต้ส านึก (Sub-Conscious) ฟรอยด์เชื่อว่าจิตระดับนี้เป็นระดับที่เก็บสะสมสิ่งต่าง ๆ ไว้มากมาย เก็บ ข้อมูลต่าง ๆ ไว้มากมาย ทั้งสัญชาตญาณของมนุษย์ เช่น ความต้องการทางเพศ ความก้าวร้าว ความกลัว ความเห็นแก่ตัว ทั้งประสบการณ์ต่าง ๆ ที่บุคคลได้รับมาตั้งแต่เกิดจนถึงปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดก็ตาม รวมถึงประสบการณ์ที่เป็นเรื่องที่เจ็บปวด ขมขื่น เศร้า หรือทุกข์ในอดีตที่บุคคลต้องการจะลืมไปจากความทรง จ า เช่น เกลียดพี่น้อง อกหัก โดนเพื่อนแกล้ง เป็นต้น ฟรอยด์เชื่อว่าความรู้สึกเป็นทุกข์เหล่านี้จะเกิดเป็น กระบวนการเก็บกดลงสู่จิตใต้ส านึก (Repression) ท าให้บุคคลไม่สามารถรับรู้หรือจ าความรู้สึกความรู้สึก ดังกล่าวได้ ซึ่งในความเป็นจริงประสบการณ์และความรู้สึกดังกล่าวนั้นยังคงมีตัวตนอยู่ในจิตใต้ส านึก ไม่ได้ หายไปไหน ซึ่งจะถูกแสดงออกมาเป็นพฤติกรรมติดตัวเมื่อโตขึ้น ซึ่งเจ้าตัวไม่สามารถที่จะอธิบายเหตุผลได้ ฟรอยด์เชื่อว่าตัวตนของบุคคล ๆ หนึ่งซึ่งจะพึงมีและพึงเป็นได้นั้นขึ้นอยู่กับจิตใต้ส านึก เนื่องจากจิตใต้ส านึก เป็นคลังข้อมูลนับล้าน ๆ ดังนั้นมันจึงเป็นตัวก าหนดว่าบุคคลคนนั้นจะเป็นคนเช่นไร เช่น ก้าวร้าว อ่อนโยน เข้มแข็ง อ่อนแอ กลัวหนู กลัวความสูง ชอบดอกไม้ เกลียดแมว ฯลฯ ในขณะที่จิตส านึกและจิตกึ่งส านึกเป็นจิตที่ถูกแสดงออกมาเมื่อบุคคลรู้ตัว จิตใต้ส านึกก็เป็นจิตที่ถูกแสดง ออกมาเมื่อบุคคลนั้น ๆ ไม่รู้ตัว หรือไม่มีสติรับรู้ได้ เช่น นอนหลับ นั่งสมาธิ หรือ ถูกสะกดจิต ในขณะที่การ
4 แสดงออกของจิตส านึกและจิตกึ่งส านึกเป็นการแสดงออกเมื่อยามเราตื่น เช่น เดิน กิน เข้าประชุม หรือ คุย โทรศัพท์ การแสดงออกของจิตใต้ส านึกจะฉายภาพออกมาในรูปแบบของความฝัน การละเมอ หรือ เผลอพูด ออกมาโดยไม่ได้ตั้งใจ เป็นต้น ภาพที่ 4 : โครงสร้างของบุคลิกภาพ ที่มา : http://www.blog.rmutt.ac.th/?p=3344 สืบค้นเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2566 โครงสร้างของบุคลิกภาพ (Structure of Personality) ฟรอยด์ เชื่อว่าโครงสร้างของบุคลิกภาพจะประกอบด้วย อิด (Id) อีโก้ (Ego) และซูเปอร์อีโก้ (Superego) โดยจะอธิบายเป็นข้อๆ ดังนี้ 1. อิด ( Id ) เป็นต้นก าเนิดของบุคลิกภาพ และเป็นส่วนที่ติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่เกิด Id ประกอบด้วยแรงขับทาง สัญชาตญาณ ( Instinct ) ที่กระตุ้นให้มนุษย์ตอบสนองความต้องการ ความสุข ความพอใจ ในขณะเดียวกันก็ จะท าหน้าที่ลดความเครียดที่เกิดขึ้น การท างานของ Id จึงเป็นไปตามหลักความพอใจ (Pleasure Principle) 2. อีโก้ ( Ego ) จะเป็นส่วนของบุคลิกภาพที่ท าหน้าที่ประสาน อิด และ ซูเปอร์อีโก้ ให้แสดงบุคลิกภาพออกมาเพื่อให้ เหมาะสมกับความเป็นจริง และขอบเขตที่สังคมก าหนดเป็นส่วนที่ทารกเริ่มรู้จักตนเองว่า ฉันเป็น ใคร Ego ขึ้นอยู่กับหลักแห่งความเป็นจริง(Reality Principle) ซึ่งมีการใช้เหตุผล มีการใช้สติปัญญา และการ รับรู้ที่เหมาะสม และอีโก้ (Ego) เป็นส่วนที่อยู่ในระดับจิตส านึกเป็นส่วนใหญ่
5 3. ซูเปอร์อีโก้(Superego) เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับศีลธรรมจรรยา บรรทัดฐานของสังคม ค่านิยม และขนบธรรมเนียมประเพณี ต่างๆ ซึ่งท าหน้าที่ผลักดันให้บุคคลประเมินพฤติกรรมต่างๆ ทีเกี่ยวข้องกับมโนธรรม จริยธรรมที่พัฒนามาจาก การอบรมเลี้ยงดู ภาพที่ 5 : พัฒนาการทางบุคลิกภาพ ที่มา : https://www.istockphoto.com/th สืบค้นเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2566 พัฒนาการทางบุคลิกภาพ ฟรอยด์ ได้อธิบายถึงการพัฒนาการทางบุคลิกภาพ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการทางเพศ (Stage of Psychosexual Development) จากความเชื่อเกี่ยวกับสัญชาตญาณทางเพศในเด็กทารกที่แสดงออกมาในรูป พลังของ ลิบิโด (Libido) และสามารถเคลื่อนที่ไปยังส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายและบริเวณที่พลังลิบิโดไป รวมอยู่เรียกว่า ที่ของความรู้สึกพึงพอใจ (Erogeneous Zone) เมื่อพลังลิบิโดไปอยู่ในส่วนใดก็จะก่อให้เกิด ความตึงเครียด (Tension) ฟรอยด์ แบ่งการพัฒนาบุคลิกภาพออกเป็น 5 ขั้น ได้แก่ 1. ขั้นปาก (Oral Stage) ภาพที่ 6 : พัฒนาการทางบุคลิกภาพ 0 - 8 เดือน ที่มา : https://www.istockphoto.com/th สืบค้นเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2566
6 เริ่มตั้งแต่แรกเกิดถึง 18 เดือน ในวัยนี้Erogenous Zone จะอยู่บริเวณปาก การได้รับการกระตุ้น หรือเร้าที่ปากจะท าให้เด็กเกิดความพึงพอใจ ท าให้เด็กตอบสนองความพึงพอใจของตนเองโดยการดูด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การดูดนมแม่จึงเป็นความสุขและความพึงพอใจของเขา ภาพที่ 7 : พัฒนาการทางบุคลิกภาพ 18 เดือน – 3 ปี ที่มา : https://www.istockphoto.com/th สืบค้นเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2566 2. ขั้นทวารหรือขั้นอวัยวะขับถ่าย (Anal Stage) เด็กจะมีอายุตั้งแต่ 18 เดือน - 3 ขวบ ในวัยนี้Erogenous Zone จะอยู่ที่บริเวณทวาร โดยที่เด็กจะมี ความพึงพอใจเมื่อมีสิ่งมากระตุ้น หรือเร้าบริเวณทวารในระยะนี้เด็กเริ่มเป็นตัวของตัวเอง เริ่มมีความพึงพอใจ กับความสามารถในการควบคุมอวัยวะของตนเอง โดยเฉพาะอวัยวะขับถ่าย กิจกรรมที่เด็กมีความสุขจะ เกี่ยวข้องกับการกลั้นอุจจาระ (Anal Retention) และการถ่ายอุจจาระ (Anal Expulsion) ความขัดแย้งที่มัก เกิดขึ้นในขั้นนี้คือ การฝึกหัดการขับถ่าย (Toilet) Training ดังนั้น ถ้าพ่อแม่เลี้ยงดูด้วยความเอาใจใส่ และฝึก การขับถ่ายให้เป็นไปอย่างเหมาะสม ภาพที่ 8 : พัฒนาการทางบุคลิกภาพ 3 – 5 ปี ที่มา : https://www.istockphoto.com/th สืบค้นเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2566
7 3. ขั้นอวัยวะเพศตอนต้น (Phallic Stage) เริ่มตั้งแต่ 3 - 5 ขวบ ในขั้นนี้Erogenous Zone จะอยู่ที่อวัยวะเพศ โดยที่เด็กเกิดความรู้สึกพึงพอใจ กับการจับต้องอวัยวะเพศ เพราะมีความพึงพอใจทางเพศอยู่ที่ตนเองในระยะแรก ถ้าเด็กมีเพศตรงข้ามกับพ่อ แม่เด็ก จะท าให้เด็กชายรักใคร่ และหวงแหนแม่จึงเกิดความรู้สึกอิจฉา เด็กหญิงจะรักใคร่และหวง แหนพ่อ จึง รู้สึกอิจฉาและเป็นศัตรูกับแม่ ภาพที่ 9 : พัฒนาการทางบุคลิกภาพ 6-12 ปี ที่มา : https://www.istockphoto.com/th สืบค้นเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2566 4. ขั้นแฝง (Latency Stage) เริ่มตั้งแต่ อายุ 6 – 12 ปี ในขั้นนี้Erogenous Zone จะไม่ปรากฏอยู่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย โดยเฉพาะ เสมือนขั้นแฝงของพลัง Libido เป็นระยะพักในเรื่องเพศ และจินตนาการทางเพศ ภาพที่ 10 : พัฒนาการทางบุคลิกภาพ 12 – 18 ปี ที่มา : https://www.istockphoto.com/th สืบค้นเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2566 5. ขั้นอวัยวะเพศตอนปลาย (Genital Stage) เริ่มจาก 12 ขวบเป็นต้นไป ในระยะนี้เด็กจะเข้าสู่วัยรุ่น ไปจนถึงวัยผู้ใหญ่และวัยชรา โดยมีErogonous Zone จะมาอยู่ที่อวัยวะเพศ (Genitel Area) เมื่อเด็กย่างเข้าสู่วัยรุ่นจะมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายทั้งหญิง
8 และชายต่างๆ กัน และมีพัฒนาการทางร่างกายมีความสามารถในการสืบพันธุ์กรรมมีการเปลี่ยนแปลงทาง อารมณ์ มีความต้องการทางเพศอย่างรุนแรง ต้องการเป็นตัวของตัวเอง ต้องการเป็นอิสระ กลไกในการป้องกันตัวเอง (Defense Mechanism) Sigmund Freud (1856-1939) บิดาแห่งทฤษฎีจิตวิเคราะห์ นักจิตวิทยาชาวออสเตรีย ผู้ที่สร้าง ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalytic Theory) ได้กล่าวว่า มนุษย์มิได้เป็นสัตว์ที่มีเหตุผล ดังเช่นที่พวกเขาเชื่อ หรืออยากเป็น หากแต่ความคิดของมนุษย์ถูกก าหนดโดยพลังแห่งจิตไร้ส านึกที่ซ่อนเร้น และหลุดรอดจากความ เข้าใจของมนุษย์ตลอดมาทุกยุคทุกสมัย". ฟรอยด์พบว่าการกระท า, ความคิด, ความเชื่อ, หรือเรื่องเกี่ยวกับ ตัวตนนั้นถูกก าหนดแสดงออกโดยจิตไร้ส านึก(unconscious), แรงขับ (drive) และความปรารถนา (desire) มนุษย์ขจัดประสบการณ์และความทรงจ าอันเจ็บปวดโดยการเก็บกดไว้ในจิตไร้ส านึก อันจะส่งผลต่อ การด าเนินชีวิตของเขา และก่อให้เกิดกลไกที่ท าหน้าที่เป็นเกราะป้องกันตัวเองที่เรียกว่า "Ego Defense Mechanism" ขึ้นมา ซึ่งฟรอยด์ได้แบ่งประเภทกลไกในการป้องกันตัวดังนี้ 1. การไม่ตัดสินใจเลือกข้างใดข้างหนึ่ง (Ambivalence) เป็นสภาวะที่ Ego ไม่ตัดสินใจเลือกข้างใด ข้างหนึ่งให้เด็ดขาดลงไป แต่อยู่ในสภาวะสองจิตสองใจ เอียงไปข้างนั้นทีข้างนี้ที มีลักษณะโลเล หลายใจนั่นเอง 2. ปฏิกิริยาการหลบหนี (Avoidance) เป็นปฏิกิริยาการหลบหนีจากวัตถุ ผู้คน หรือเหตุการณ์ที่ท า ให้ต้องเจ็บปวด เนื่องจากต้องข่มความรู้สึกที่พลังทางเพศและความก้าวร้าวอันแฝงอยู่ในจิตไร้ส านึกถูกระตุ้นให้ ส าแดงความปรารถนาออกมา 3. การหยุดนิ่งไม่เปลี่ยนแปลง (Fixation) เป็นสภาวะที่หยุดอยู่กับที่ไม่ยอมเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง ไปเพราะประสบการณ์อันเจ็บปวด (Trauma) เช่น เด็กที่เคยสูญเสียพ่อแม่ก็จะไม่สร้างความรักกับใครอีกเลย หากจะเกาะยึดอยู่กับความรู้สึกสูญเสียที่เกิดขึ้น 4. การเลียนแบบ (Identification) คือ การปรับตัวโดยการเลียนแบบพฤติกรรม ทัศนคติ ค่านิยม ของบุคคล หรือสิ่งของที่ตนชื่นชอบ โดยการพยายามปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและความรู้สึกทางจิตใจ เช่น การแสดงพฤติกรรมให้เหมือนกับบุคคลต้นแบบ ซึ่งอาจเป็นดารา นักแสดง หรือตัวละครต่างๆ โดยการ แต่งตัว แสดงลักษณะท่าทางเหมือนผู้ที่เลียนแบบ นอกจากนั้นก็มีความรู้สึกร่วมกับผู้ที่เราเลียนแบบด้วย 5. การกล่าวโทษผู้อื่นหรือการโยนความผิดให้แก่ผู้อื่น (Project) คือ การลดความวิตกกังวล โดย การย้ายหรือโยนความผิด ความไม่ดีงามของตนเอง หรือความรับผิดชอบจากผลของการกระท าของตนเอง หรือผลจากความคิดที่ไม่เหมาะสมของตนไปให้บุคคลอื่น เช่น ถ้าตนเองรู้สึกไม่ชอบใครที่ตนควรจะชอบ ก็อาจจะบอกว่าคนนั้นไม่ชอบตน “เป็นการไม่ยอมรับความผิดของตนนั่นเอง” ลักษณะนี้ ตรงกับสุภาษิตไทย ที่ว่า “ร าไม่ดีโทษปี่โทษกลอง” 6. การแสดงปฏิกิริยาตรงข้ามกับความปรารถนาที่แท้จริง (Reaction Formation) คือ การ แสดงออกในสิ่งที่ตรงข้ามกับที่ตนรู้สึก เพราะคิดว่าสังคมอาจยอมรับไม่ได้ โดยการทุ่มเทในการแสดง
9 พฤติกรรมตรงข้ามกับความรู้สึกของตนเอง ที่ตนเองคิดว่าเป็นสิ่งที่สังคมอาจจะไม่ยอมรับ เช่น แม่ที่ไม่รักลูกคน ใดคนหนึ่งอาจจะมีพฤติกรรมตรงข้าม โดยการแสดงความรักมากมายอย่างผิดปกติ 7. การเก็บกด (Repression) เป็นการเก็บความรู้สึกผิด ความคับข้องใจเอาไว้ในจิตใต้ส านึก จนกระทั่งลืม ซึ่งการเก็บกดนี้หากต้องเก็บความรู้สึกเอาไว้มากอาจท าให้เป็นโรคประสาทได้ 8. การขจัดความรู้สึก (Suppression) มีลักษณะคล้ายกับ Repression แต่เป็นกระบวนการขจัด ความรู้สึกดังกล่าวออกไปจากความคิด และเป็นกระบวนการที่เกิดอย่างที่ผู้กระท ามีความรู้ตัวและตั้งใจ ในขณะที่ Repression นั้นไม่รู้ตัว 9. การหาเหตุผลเข้าข้างตนเอง (Rationalization) คือการหาเหตุผล หาค าอธิบาย มาอ้างอิง มา ประกอบการกระท าของตนเพื่อให้เป็นที่ยอมรับของคนอื่น เป็นการปรับตัวโดยการหาเหตุผลเข้าข้างตนเอง โดยให้ค าอธิบายที่เป็นที่ยอมรับส าหรับคนอื่น การใช้วิธีการป้องกันตนเองแบบนี้คล้ายๆกับการ “แก้ตัว” นั่น คือบุคคลจะพยายามหาเหตุผล อ้างข้อมูลต่างๆ เพื่อสนับสนุน 9.1 แบบองุ่นเปรี้ยว (Sour Grape) เช่น นักเรียนอยากเรียนแพทยศาสตร์ แต่สอบเข้าไม่ได้ สอบได้วิศวกรรมศาสตร์ อาจจะบอกว่าเข้าแพทย์ไม่ได้ก็ดีแล้ว เพราะอาชีพแพทย์เป็นอาชีพที่สียสละ เสี่ยงภัย เหน็ดเหนื่อย ไม่มีเวลาของตนเอง เป็นวิศวกรดีกว่า เพราะเป็นอาชีพอิสระ มีรายได้มาก 9.2 มะนาวหวาน (Sweet Lemon) เช่น นักเรียนไม่อยากเรียนกฏหมาย พ่อแม่อยากให้ เรียน ก็เลยลองสอบเข้าคณะนิติศาสตร์แล้วสอบเข้าได้ พ่อแม่ดีใจ สนับสนุนจึงต้องเรียนวิชากฎหมาย เลยคิด ว่าเรียนกฏหมายก็ดี มีความรู้ เป็นอาชีพมีเกียรติ มีประโยชน์ต่อสังคม มีรายได้สูง และวันหนึ่งอาจจะได้เป็น รัฐมนตรีก็ได้ ใครจะรู้ 10. การชดเชยหรือการทดแทน (Substitution/Compensation) การชดเชยหรือการทดแทน ด้วยการหาทางออกในอันที่จะแสดงความต้องการของตน เช่น การต้องการระบายความก้าวร้าวก็หันไปเล่น กีฬาทดแทน หรือวิพากษ์วิจารณ์ศิลปะ เป็นการชดเชยในสิ่งที่สังคมยอมรับได้ 11. การถดถอย (Regression) คือการหนีกลับไปอยู่กับสภาพอดีตที่ตนเคยมีความสุข เป็นการแสดง พฤติกรรมถดถอยไปเป็นการหนีกลับไปอยู่ในสภาพอดีตที่เคยท าให้ตนมีความสุข เช่น ผู้ใหญ่เมื่อเผชิญหน้ากับ ความเจ็บปวดก็แสดงอาการกลับไปเป็นเด็กอีกครั้ง หรือเด็ก 2-3 ขวบ ที่ช่วยตนเองได้ มีน้องใหม่ เห็นแม่ให้ ความเอาใจใส่น้อง จึงมีความรู้สึกว่าแม่ไม่รักและไม่สนใจตนเท่ากับที่เคยได้รับ จะมีพฤติกรรมถดถอยไปอยู่ใน วัยทารก ที่ช่วยตนเองไม่ได้ ต้องให้แม่ท าให้ทุกอย่าง 12. การสร้างวิมานในอากาศ หรือการฝันกลางวัน (Fantasy / Day Dreaming) คือ การคิดฝัน หรือสร้างวิมานขึ้นเอง สร้างจินตนาการหรือมโนภาพเกี่ยวกับสิ่งที่ตนมีความต้องการแต่เป็นไปไม่ได้ ไม่
10 สามารถเป็นจริงได้ฉะนั้นจึงคิดฝันหรือสร้างวิมานในอากาศขึ้นเพื่อสนองความต้องการชั่วขณะหนึ่ง เช่น คน ไม่สวยก็นึกฝันว่าตนเองสวย เก่งเหมือนนางเอก มีพระเอกและผู้ชายมารัก มาให้เลือกมากมาย เป็นต้น 13. การแยกตัว (Isolation) คือ การแยกตัวให้พ้นจากสถานการณ์ที่น าความคับข้องใจมาให้ โดย การแยกตนออกไปอยู่ตามล าพัง เป็นอารมณ์ที่อยากอยู่เงียบๆคนเดียว ไม่อยากยุ่งเกี่ยวกับใครและไม่อยากให้ ใครมายุ่งด้วย 14. การแทนที่ (Displacement) คือ การระบายอารมณ์โกรธ หรือคับข้องใจต่อคนหรือสิ่งของที่ ไม่ได้เป็นต้นเหตุของความคับข้องใจ เช่น พนักงานที่ถูกเจ้านายดุ ด่าหรือท าให้คับข้องใจ เมื่อกลับมาบ้าน อาจจะมีพฤติกรรมก้าวร้าวต่อภรรยาและลูก หรือนักศึกษาที่โกรธครูแต่ท าอะไรไม่ได้ อาจจะเตะโต๊ะ หรือเก้าอี้ เพื่อเป็นการระบายอารมณ์ เป็นต้น ตรงกับสุภาษิตไทยที่ว่า “ตีวัวกระทบคราด” 15. การไม่ยอมรับความจริง (Denial of Reality) เป็นวิธีการที่บุคคลไม่ยอมรับรู้ ไม่ยอมเข้าใจ ไม่ ยอมเผชิญหน้ากับสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้นกับตนเอง เพราะเจ็บปวดกับความจริงที่เกิดขึ้นหรือเป็นอยู่ รับ ไม่ได้กับความจริงที่ท าให้ตนต้องสูญเสียหรือไม่ได้ในสิ่งที่ตนปรารถนา การปฏิเสธความเป็นจริงมากๆ ก็ท าให้ เป็นโรคประสาทได้ 16. การแสดงความก้าวร้าว (Aggression) เป็นการกระท าของบุคคลเมื่อถูกขัดขวางความคิด ความ ต้องการของตน ความต้องการเอาชน จึงแสดงอ านาจโดยการต่อสู้ ทางกาย วาจาด้วยความก้าวร้าวเพื่อท าลาย ผู้อื่นหรือท าร้ายผู้อื่นให้เจ็บปวด และยอมแพ้บุคคลนั้นในที่สุด กลไกในการป้องกันตัว (Defense Mechanism) จึงเป็นวิธีการปรับตัวในระดับจิตไร้ส านึก กลไก ในการป้องกันตัวมักจะเป็นสิ่งที่คนทั่วไปน าไปใช้ในชีวิตประจ าวันของบุคคลปกติทุกวัย ตั้งแต่อนุบาลจนถึงวัย ชรา เป็นวิธีการที่บุคคลใช้ในการปรับตัว เมื่อประสบปัญหาความคับข้องใจ การใช้กลไกป้องกันตัวจะช่วย ยืดเวลาในการแก้ปัญหา เพราะจะช่วยให้ผ่อนคลายความเครียด ความไม่สบายใจ ท าให้คิดหาเหตุผลหรือแก้ไข ปัญหาได้ในที่สุด
11 บรรณานุกรม ชีวประวัติซิกมันด์ ฟรอยด์. (ออนไลน์). เข้าถึงข้อมูลได้จาก : https://sites.google.com/a/srp.ac.th. 18 สิงหาคม 2566 แนวคิดที่ส าคัญซิกมันด์ ฟรอยด์. (ออนไลน์). เข้าถึงข้อมูลได้จาก : https://www.blockdit.com/posts/6239aa19c95eeaeb1f9c7154. 18 สิงหาคม 2566 ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์. (ออนไลน์). เข้าถึงข้อมูลได้จาก : https://thaihypnosis.com/ Sigmund-Freud. 18 สิงหาคม 2566 โครงสร้างของบุคลิกภาพของฟรอยด์. (ออนไลน์). เข้าถึงข้อมูลได้จาก : http://www.blog.rmutt.ac.th/?p=3344. 18 สิงหาคม 2566 พัฒนาการทางบุคลิกภาพของฟรอยด์. (ออนไลน์). เข้าถึงข้อมูลได้จาก : https://www.istockphoto.com/th. 18 สิงหาคม 2566 กลไกในการป้องกันตัว. (ออนไลน์). เข้าถึงข้อมูลได้จาก : https://www.sixfacetspress.netmechanisms. 18 สิงหาคม 2566