บทที่ 1 บทนำ 1.1 ที่มาและความสำคัญของปัญหา ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามมาตรฐานสากลที่กำหนดนั้น ย่อมต้องการ มี การสร้างระบบและกระบวนการเรียนการสอนที่เหมาะสม จัดเตรียมองค์ประกอบและสื่อต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้ง มีการวิจัยและพัฒนาให้ได้กระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธิ์ภาพ ย่อมนำความรู้ความเข้าใจหลักการที่ เหมาะสมกับวิชานี้มาให้เกิดเป็นกระบวนการเรียนการสอนที่ดีมีประสิทธิ์ภาพและเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ นำไปสู่ประสิทธิ์ภาพของการเรียนการสอนดังนี้ 1. ตัวป้อน ได้แก่ครูผู้สอน ผู้เรียน 2. กระบวนการดำเนินงาน ได้แก่ การดำเนินงานการเรียนการสอนประกอบกิจกรรมหลายชนิดได้แก่ การเตรียมความพร้อม การประเมินความรู้ของ ผู้เรียนก่อนสอน การให้ความรู้ใหม่ กิจกรรมเสริมทักษะโดยการทำงานกลุ่มแบบเพื่อนช่วยเพื่อน 3. การควบคุม ได้แก่ การควบคุมที่จะทำให้การเรียนการสอนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิ์ภาพ ได้แก่ การเสริมสร้างกำลังใจ ตรวจสอบความรู้ขณะกำลังเรียนเพื่อปรับปรุง และควบคุมคุณภาพการเรียนการสอน 4. ผลผลิต ได้แก่ ความรู้ ความสามารถที่เกิดขึ้นในตัวผู้เรียนให้เป็นไป ตามที่ตั้งใจ 5. ข้อมูลป้อนกลับได้จากการประเมินผลหลังจากเสร็จสิ้น การเรียนการสอนโดยดูจากผลผลิตที่ได้ถ้าไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ต้องปรับปรุงแก้ไข 2. ในการสอน รายวิชาอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรมเป็นการสอนผู้เรียนให้ได้รับความรู้ ความเข้าใจในเนื้อหา มีทักษะ ในการ มองเห็นคุณค่า เกิดความคิด มีทักษะ ส่งเสริม ให้แสวงหาความรู้โดย ให้ผู้เรียนได้ค้นหาความรู้ด้วนตนเอง ในปี การศึกษา 2564 ผู้วิจัยได้จัดทำวิจัยในชั้นเรียน โดยใช้ชุดสื่อการเรียนการสอนรายวิชาอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปีที่ 2 ภาควิชาอิเล็กทรอนิกส์ สามารถทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนดีขึ้น แต่ชุดสื่อการเรียนการสอนที่ดีควรมีคุณภาพ มีความน่าเชื่อถือด้วย ความจำเป็นที่ต้องทดสอบประสิทธิ์ภาพชุดการ สอนนั้น ชัยยงศ์ พรหมวงศ์ (2525 : 490) กล่าวว่า ในการผลิตระบบดำเนินงานทุกประเภทจำต้องมีการทดสอบ ระบบนั้น เพื่อเป็นการประกันว่ามีประสิทธิภาพจริงตามที่มุ่งหวัง การทดสอบประสิทธิภาพชุดการสอนมีความ จำเป็นด้วยเหตุผล หลายประการ 1. สำหรับหน่วยงานผลิตชุดการสอน เป็นการประกันคุณภาพของชุดการสอนว่า อยู่ในชั้นสูง 2. สำหรับผู้ใช้ ชุดการสอน ชุดการสอนจะทำหน้าที่สอนบางครั้งต้องช่วย บางครั้งต้องสอนแทนครู ดังนั้นก่อนนำชุดการสอน ไปใช้ ครูจึงควรมันใจว่าชุดการสอนนั้นมีประสิทธิภาพและทำให้ผู้เรียนรู้จริง 3. สำหรับ ผู้ผลิตชุดการสอน การทดสอบประสิทธิภาพจะทำให้ผู้ผลิตมั่นใจได้ว่า เนื้อหาสาระของชุดการสอนเหมาะสม
และง่ายต่อการเข้าใจอันจะช่วยให้ผู้ผลิตมีความชำนาญสูงขึ้นเป็นการประหยัดด้านแรงาน เวลา และงบประมาณ ในการ เตรียมต้นแบบ ผู้วิจัยเห็นว่า จึงควรนำชุดสื่อการเรียนการสอนมาพัฒนาให้มีประสิทธิภาพ เพื่อส่งเสริมให้ กระบวนการเรียนการสอนบรรลุตามวัตถุประสงค์ของรายวิชา อันจะส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาใน วิทยาลัยต่อไป 1.2 วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้วิธีจับคู่แบบเพื่อน ช่วยเพื่อน ในรายวิชาอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 ภาควิชาอิเล็กทรอนิกส์ 2. ศึกษาความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมแบบจับคู่เพื่อนช่วยเพื่อนเพื่อน ในรายวิชาอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรม ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 ภาควิชาอิเล็กทรอนิกส์ 1.3 กรอบแนวคิดการวิจัย 1.4 สมมติฐานของการวิจัย ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ในรายวิชาอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม ระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 ภาควิชาอิเล็กทรอนิกส์ วิธีการสอนแบบจับคู่เพื่อนช่วยเพื่อน ใน รายวิชาอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 ภาควิชาอิเล็กทรอนิกส์ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชา อิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม ระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 ภาควิชาอิเล็กทรอนิกส์
1.5 คำนิยามศัพท์เฉพาะ 1. เพื่อนช่วยเพื่อน หมายถึง รูปแบบการเรียนที่เน้นให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติงานเป็นคู่ โดยผู้เรียน มี ความสามารถที่แตกต่างกันเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพการเรียนรู้ของแต่ละคนสนับสนุนให้มีการช่วยเหลือ ซึ่ง กันและกันจนบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้วิธีการสอนแบบจับคู่เพื่อนช่วยเพื่อน ในรายวิชาอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรม ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 ภาควิชาอิเล็กทรอนิกส์ 2. การเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน หมายถึง กระบวนการเรียนรู้ที่ยึดหลักให้ผู้เรียนช่วยกัน เรียนรู้โดย พึ่งพากัน มีปฏิสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ใช้ทักษะทางสังคมในการทำงานร่วมกันมีสังคม ร่วมกันและมีการตรวจสอบ ผลการเรียนรู้เป็นรายบุคคล 3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง ความสามารถในทักษะปฏิบัติในรายวิชาอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม โดยใช้ชุดสื่อการเรียนการสอน
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารต่าง ๆ ตลอดจนผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องต่อไปนี้ 2.1. การเรียนรู้ด้วยตนเอง 1.1 ทฤษฎีการเรียนรู้ด้วยตนเอง สมคิด อิสระวัฒน์ (2541 : 35 - 38) ให้ความหมายการเรียนรู้ ของ ตนเองเป็นวิธีการไขว่คว้าหาความรู้อย่างหนึ่ง ที่ทำให้ผู้เรียนสามารถดำรงชีพอยู่ในสังคมได้อย่างมีคุณภาพ การ เรียนรู้ด้วยตนเองจะทำให้ผู้เรียนเป็นบุคคลซึ่งมีความกระหายใคร่รู้ทำให้บุคคลสามารถเรียนรู้เรื่องต่าง ๆ ซึ่งมีอยู่ได้ และจะดำเนินการศึกษาอย่างต่อเนื่อง โดยไม่ต้องมีใครบอก ตนเองจะเป็นผู้คิดริเริ่ม วางแผน การศึกษาไปจนจบ กระบวนการ เรียนรู้ การเรียนรู้ด้วยตนเองจึงเป็นเครื่องมือที่สำคัญสำหรับบุคคลในการ เรียนรู้ตลอดชีวิตการ เรียนรู้ด้วย ตนเองจึงเป็นการเรียนที่เกิดจากความสมัครใจของตนมิใช่การบังคับ จากความหมายการเรียนรู้ ด้วยตนเอง สรุป ได้ว่า การเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นกระบวนการที่ผู้เรียนมีเสรี ในการเลือกเรียนได้ตามความ สนใจความถนัดและความต้องการ โดยใช้ความรู้ความสามารถในการแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาตนเอง โดยผู้เรียน เป็นผู้ริเริ่ม กำหนดวางแผนเลือกแหล่งข้อมูล วิธีการ และประเมินผลตนเอง โดยอาจอาศัยแหล่งความรู้หรือการ ช่วยเหลือจากบุคคลอื่นประกอบการเรียนรู้หรือไม่ก็ได้ โนล์ (Knowles. 1975 : 14 - 15) กล่าวถึง ความสำคัญและประโยชน์ของการเรียนรู้ด้วยตนเองไว้ดังนี้ 1. บุคคลที่เรียนรู้ด้วยการริเริ่มของตนเองจะเรียนได้มากกว่า ดีกวามีจุดมุ่งหมาย มีความ ตั้งใจ และ แรงจูงใจในการเรียนสูงกว่า สามารถใช้ประโยชน์จากการเรียนรู้ได้ดีกว่า และยาวนานกว่าคนที่เรียน โดยเป็นเพียง ผู้รับ หรือรอการถ่ายทอดจากครู 2. การเรียนรู้ด้วยตนเองสอดคล้องกับการพัฒนาทางจิตวิทยาและกระบวนการทางธรรมชาติทำให้บุคคล มีทิศทางของการบรรลุวุฒิภาวะจากลักษณะหนึ่งไปสู่อีกลักษณะหนึ่ง เช่น เมื่อ เป็นทารกเป็นธรรมชาติที่ต้องพึ่งพิง ผู้อื่น ต้องการพ่อแม่ ปกป้องเลี้ยงดูและตัดสินใจแทน เมื่อเจริญวัยขึ้นมีพัฒนาการก็จะค่อย ๆ พัฒนาตนเองไปสู่ ความเป็นอิสระ จากความต้องการพึ่งผู้อื่นสู่ ความเป็นตัวของตัวเองสามารถชี้นำตนเองได้
3. การเรียนรู้ด้วยตนเองทำให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบ ซึ่งเป็นลักษณะที่สอดคล้องกับพัฒนาการ ใหม่ ๆ ทางการศึกษา หลักสูตร ห้องเรียนแบบเปิดศูนย์บริการวิชาการ การศึกษาอย่างอิสระ มหาวิทยาลัยเปิด ล้วนเน้นให้ ผู้เรียนรับผิดชอบการเรียนรู้ด้วยตนเอง 4. การเรียนรู้ด้วยการนำตนเองทำให้มนุษย์อยู่รอด เนื่องจากโลกมีความเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ เกิดขึ้นเสมอ ทำให้มีความจำเป็นที่มนุษย์จะต้องเป็นผู้เรียนรู้ด้วยตนเอง โดยค้นคว้าศึกษา องค์ความรู้อยู่ตลอดเวลา 1.2 ความแตกต่างของการเรียนรู้ด้วยตนเองกับการเรียนรู้จากครู ความแตกต่างของการเรียนรู้ด้วยตนเองกบการเรียนรู้จากครูในระบบโรงเรียนนั้นสามารถ เปรียบเทียบได้ ดังตารางต่อไปนี้ เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างการเรียนรู้จากครูและการเรียนรู้ด้วยตนเอง Teacher - directed Learning Self - directed Learning 1. ผู้เรียนมีบุคลิกภาพที่ขาดอิสรภาพ ครูต้อง ตัดสินใจว่า ควรเรียนอะไร อย่างไร 1. ผู้เรียนเป็นมนุษย์ที่เจริญเติบโตได้ตาม ความสามารถและศักยภาพ นำตนเองได้ตาม ต้องการ 2. ประสบการณ์ของผู้เรียนมีคุณค่าด้อยกว่าของ ครู 2. ผู้เรียนพร้อมที่จะเรียนสิ่งที่เกี่ยวข้องกับชีวิตที่ ต้องการพัฒนาหรือแก้ปัญหา จึงมีรูปแบบความ พร้อมที่แตกต่างกัน 3. ผู้เรียนพร้อมที่จะเรียนสิ่งที่แตกต่างในช่วงเวลา แห่งวุฒิภาวะที่ต่างกัน จึงต้องจัดให้เรียนรู้ สิ่ง เดียวกันในช่วงเวลาและวุฒิภาวะเดียว 3. ผู้เรียนพร้อมที่จะเรียนสิ่งที่เกี่ยวข้องกับชีวิตที่ ต้องการพัฒนาหรือแก้ปัญหา จึงมีรูปแบบความ พร้อมที่ต่างกัน 4. ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจจากรางวัลและการลงโทษ ภายนอก เช่น เกรด ปริญญาและความกลัวใน ความ ล้มเหลว 4. ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจจากแรงขับภายใน เช่น ความ ต้องการเคารพตนเอง ความปรารถนาในความสำเร็จ ความกระตือรือร้นที่จะก้าวหน้า 5. ผู้เข้าศึกษาโดยการชี้นำมุ่งให้เรียนวิชาต่าง ๆ จึง ต้องจัดเพื่อหาให้เรียน 5. ความยึดมั่นในการเรียนของตนคือภาระหรือเป็น ปัญหาที่ต้องใช้ประสบการณ์ในการแก้ปัญหาให้ สำเร็จ 6. ผู้เรียนได้รับแรงจูงใจในการเรียน โดยการ ตอบสนองกับรางวัล และการลงโทษภายนอก 6. เรียนรู้เพราะความต้องการภายใน เช่น ความ เชื่อถือตนเอง ความปรารถนาที่จะสำเร็จความ กระตือรือร้นที่จะก้าวหน้า ความพอใจในผลสำเร็จ
ความต้องการความรู้เฉพาะด้าน และความใฝ่รู้ใฝ่ เรียน 2.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2.1 ความหมายของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนเป็นสิ่งที่ชี้ผลลัพธ์ของการจัดการศึกษา ซึ่งนอกจากจะเป็นเรื่อง การ พัฒนาความรู้ความสามารถทางสติปัญญาของผู้เรียนแล้ว ยังแสดงถึงคุณค่าของหลักสูตร การจัดกิจกรรม การเรียน การสอน ความรู้ความสามารถของครูผู้สอน และผู้บริหาร มีผู้กล่าวถึง ความหมายของผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนไว้ หลายท่าน ดังนี้ อัจฉรา สุขารมณ์ และอรพินทร์ ชูชม (2530 : 10) ได้กล่าวว่า ผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน หมายถึง ระดับความสำเร็จที่ได้รับจากการเรียนซึ่งได้ประเมินผลจากสองวิธี คือ (1) กระบวนการที่ได้จากแบบทดสอบ โดย ใช้แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยทั่วไป (2) กระบวนการที่ได้จากเกรดเฉลี่ยของสถาบันการศึกษาซึ่งต้อง อาศัยกรรมวิธีที่ซับซ้อนและช่วงเวลาที่ยาวนาน และ อุทุมพร จามรมาน (2535 : 38) อธิบายว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนเป็นการบอกความสามารถของผู้เรียน ในการวิเคราะห์ วิจารณ์ ความพยายามในการเรียน ทักษะใน การศึกษาเล่าเรียนและการปฏิบัติ มีการเข้าห้องเรียน มีความสนใจ และมีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพ จากคำจำกัดความ ดังกล่าวพอสรุปได้ว่า “ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน” หมายถึง ความรู้ความสามารถทางการเรียนในรายวิชารายวิชา อิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 ภาควิชาอิเล็กทรอนิกส์ของผู้เรียนทั้งในด้าน การศึกษาเล่าเรียนและการปฏิบัติ ซึ่งสามารถวัดด้วยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ 2.2 แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์(2548 : 231-241) ได้กล่าวถึง แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ที่สำคัญในการเรียน การ สอน ได้แก่ (1) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ตามแนวคิดของแอทคิทสัน อธิบายถึงในสถานการณ์หนึ่งผู้ที่มีแรงจูงใจใฝ่ สัมฤทธิ์จะมีความพยายามที่จะทำงานนั้นให้สำเร็จ โดยเปรียบเทียบกับมาตรฐาน ถ้าผลงานสูง 5 กว่าหรือเท่า เกณฑ์มาตรฐานก็ถือว่า ประสบผลสำเร็จตามความคิดเขา แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์จะขึ้นอยู่กับ 3 องค์ประกอบ คือ (1.1) ความคาดหวัง หมายถึง การคาดล่วงหน้าถึงผลการกระทำของตนคนที่มีแรงจูงใจใฝ่ สัมฤทธิ์สูง จะคาด ล่วงหน้าถึงความสำเร็จของงาน (1.2) สิ่งล่อใจ คือ ความพึงพอใจที่ได้รับจากการทำงาน (1.3) แรงจูงใจจากความ พึงพอใจในการแสวงหาความสุขและหลีกเลี่ยงความผิดหวัง คนเรากระทำการใดก็ย่อมหวังได้รับ ความสุขความ พอใจกับการกระทำ ต้องการความสำเร็จและกลัวความล้มเหลว (2) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของ แมคเคลแลนด์ กล่าวถึง แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์เป็นความต้องการที่จะทำงานให้ประสบความสำเร็จ ถือว่าเป็น แรงจูงใจที่สำคัญที่สุด
ของมนุษย์ และมีอิทธิพลต่อความสำเร็จของส่วนตัว และศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่าง แรงจูงใจใฝ่ สัมฤทธิ์กับ พื้นฐานทางวัฒนธรรมของสังคม และการอบรมเลี้ยงดู รวมทั้งผลของแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ที่มีต่อสังคมด้วย เขามี ความคิดว่าการอบรมเลี้ยงดูและวัฒนธรรมของสังคมที่เน้น ความสำเร็จ คือที่มา ของสังคมที่ประสบความสำเร็จ ทั้งนี้เพราะวัฒนธรรมในสังคมที่เห็นความสำเร็จ จะทำให้พ่อแม่อบรมเลี้ยงดูนักเรียน โดยเน้นความสำเร็จตามปี สถานของสังคม พ่อแม่จะพยายามฝึกให้เด็กช่วยตัวเอง ฝึกการ คิดแก้ปัญหา และให้การเสริมแรงพฤติกรรมที่มุ่ง ความสำเร็จในการเรียนและการทำงาน การอบรม เลี้ยงดูจะพัฒนา ให้เด็กเติบโตเป็นคนที่ต้องการความสำเร็จ มี แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ด้วย ดังนั้นจากแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับ ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ผู้วิจัยสามารถสรุปปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียน 4 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้าน นักเรียน ปัจจัยด้าน ครอบครัว ปัจจัยด้านครู และปัจจัยด้านสถานศึกษา 2.3 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง กัญณัฐฐ์ เอื้อภราดร (บทคัดย่อ : 2552) ได้ทำการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 และมัธยมศึกษาปีที่ 6 : กรณีศึกษาโรงเรียนพระแม่สกลสงเคราะห์ อำเภอ บาง บัวทอง จังหวัดนนทบุรี พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แตกต่างกัน คือ เพศ ความ คาดหวังในการศึกษาต่อต่างกัน อาชีพผู้ปกครอง ทัศนคติต่อตนเอง ทัศนคติต่อเนื้อหาวิชาที่เรียน ทัศนคติต่อวิธี สอน ทัศนคติต่อวิธีการทำงานของนักเรียน ทัศนคติต่อสภาพแวดล้อมของโรงเรียน การปรับตัวกับเพื่อน และการ ปรับตัวกับครอบครัว จันทร์เพ็ญ บำรุง (บทคัดย่อ : 2549) ได้พัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษ โดยใช้เทคนิคเพื่อนช่วย เพื่อน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านโคกตะเคียน อ.กาบเชิง จ.สุรินทร์ โดยใช้จุดหมายเพื่อ พัฒนาทักษะ การพูดภาษาอังกฤษโดยใช้เทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน นันทิการ นาคฉายา (บทคัดย่อ : 2554) การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนอนุปริญญา ศิลปะ ศาสตร์ สาขาวิชาการปกครองรุ่นที่ 1 2( 1/2554) สถานที่การศึกษาวิทยาลัยชุมชนระนอง รายวิชา การคิดการ ตันสินใจ ประจำภาคเรียนที่ 2/2554 โดยวิธีการจับคู่เพื่อนดูแลกัน อัญมณี อุสสาร (บทคัดย่อ : 2552) ได้ทำการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชา คอมพิวเตอร์ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เขตพื้นที่การศึกษาลำปาง เขต 2 พบว่า เพศ สถานภาพการอยู่ ร่วมกันของบิดามารดา จำนวนพี่น้อง เป็นปัจจัยที่ส่งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาคอมพิวเตอร์ในระดับชั้น มัธยมศึกษาตอนปลาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สำหรับความคิดเห็นของนักเรียนในด้านต่าง ๆ พบว่า
ระดับความคิดเห็นของนักเรียนในภาพรวม พบว่า ด้านผู้เรียนด้านผู้สอน และด้านอุปกรณ์และ สื่อการเรียน การสอนอยู่ระดับมาก บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย 3.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากร ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นผู้เรียน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 ภาควิชาอิเล็กทรอนิกส์ ในภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2564 จำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 10 คน 3.2 กลุ่มตัวอย่าง ผู้เรียน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 ภาควิชาอิเล็กทรอนิกส์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 10 คน โดยการสุ่มแบบเจาะจง 3.3 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1. แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน 2. ใบความรู้และใบงานที่เกี่ยวกับทักษะการประกอบวงจร 3. แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน 3.4 วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล 1. ระยะเวลาการทำวิจัย ในภาคเรียนที่ 2/2566 2. ผู้เรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน
3. ดำเนินการทำการสอนตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในแผนการสอน วัดและประเมินผลโดยใช้ใบงาน กิจกรรมและแบบทดสอบระหว่างเรียน 4. ผู้เรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน