1 หนังสือเล่มเล็กเรื่องรำพระรามตามกวาง สำหรับอ่านเพิ่มเติมความรู้รายวิชานาฏศิลป์ไทย นักเรียนชั้นมัธยมปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ นางสาวสุภัสสร สิขิวัตน์ รหัสนักศึกษา 6411120018 หนังสือเล่มเล็กเรื่องรำพระลอตามไก่ เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษารายวิชารำเดี่ยว, รำคู่ สาขาวิชานาฏศิลป์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช 2566
ก คำนำ เอกสารฉบับนี้ จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสื่อประกอบการเรียนการสอนรำเดี่ยวรำคู่ ใน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตลอดจนถึงผู้ที่สนใจ ในการเรียนรู้เกี่ยวกับการรำรำเดี่ยวรำคู่ เนื้อหาสาระในเอกสารการเรียนรู้เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับการรำเดี่ยวรำคู่ ประกอบด้วย ประวัติความ เป็นมา บทร้อง การแต่งกาย องค์ประกอบของชุดการแต่งกาย ตลอดจนถึงการอธิบายท่ารำพร้อม ภาพประกอบ ขอขอบคุณผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธีรวัฒน์ ช่างสาน อาจารย์ประจำวิชาการรำเดี่ยวรำคู่ ที่ชี้แนะ การพัฒนาเอกสารจนสมบูรณ์เป็นสื่อที่ดีมีประโยชน์ และ ที่เสียสละเวลามาเป็นวิทยากรแนะนำการสอน รำเดี่ยวรำคู่ตามแบบฉบับ ขอบคุณเพื่อน ๆ น้อง ๆ สาขาวิชานาฏศิลป์ทุกคนที่เป็นกำลังใจในการพัฒนา สร้างผลสัมฤทธิ์ที่ดีของงานเอกสารครั้งนี้ จึงขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ นางสาวสุภัสสร สิขิวัตน์ 08./ มกราคม.//2566
ข สารบัญ หน้า คำนำ............................................................................................................................. ............ ก สารบัญ...................................................................................................................................... ข ข้อแนะนำ ………………………………………………………………………………………………………………………. ค จุดประสงค์ …………………………………………………………………………………………………………………….. 1 ประวัติ……………………………………………………………………………………………………………………………… 2 บทร้อง…………………………………………………………………………………………………………………………….. 3-4 การแต่งกาย……………………………………………………………………………………………………………………… 5-6 องค์ประกอบชุดการแต่งกาย………………………………………………………………………………………………. 6 ท่ารำพระรามตามกวาง……………………………………………………………………………………………………….. 7-27 สรุป…………………………………………………………………………………………………………………………………. 28 คำถามทบทวน………………………………………………………………………………………………………………….. 29 เรื่องประวัติการแสดง………………………………………………………………………………………………………. 29 เรื่ององค์ประกอบการแสดง……………………………………………………………………………………………… 30 เรื่องท่ารำ………………………………………………………………………………………………………………………. 31 แบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน…………………………………………………………………………………………. 32-33 บรรณานุกรม……………………………………………………………………………………………………………………. ก ภาคผนวก กระดาษคำตอบ…………………………………………………………………………………………………. ข ภาคผนวก ข. เกณฑ์การให้คะแนน………………………………………………………………………………………. ค การสอบร้องเพลง…………………………………………………………………………………………………………….. ง การสอบปฏิบัติท่ารำ…………………………………………………………………………………………………………. ง ภาคผนวก ค. ประวัติและประสบการณ์ผู่เรียน……………………………………………………………………….. จ
ค ข้อแนะนำก่อนใช้หนังสือเล่มเล็ก 1. นักเรียนต้องมีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง โดยต้องปฏิบัติตามคำสั่งของครูอย่างเคร่งครัด 2. เอกสารเรื่องรำเดียวรำคู่ เป็นเอกสารที่มีความสมบูรณ์ในเล่ม นักเรียนต้องทำความเข้าใจกับคำชี้แจง ตรวจสอบวัตถุประสงค์ตรวจสอบสาระสำคัญ ทำแบบฝึกหัดก่อนเรียน แล้วจึงศึกษาสาระในเล่มทั้งหมด อ่านสรุป และทำคำถามทบทวนที่มีในเล่มทุกครั้ง ทำแบบทดสอบหลังเรียนอย่างมีสมาธิและเข้าใจ 3. นักเรียนต้องอ่านหนังสือทุกหน้าเพื่อทำความเข้าใจ หากมีข้อสงสัยให้ถามครู 4. นักเรียนปฏิบัติตามกิจกรรมอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งแบบทดสอบก่อนเรียน/หลังเรียน นักเรียนจะต้องมีความซื่อสัตย์โดยจะต้องทำด้วยตนเองอย่างเคร่งครัด 5. เมื่อนักเรียนเรียนและทำกิจกรรมในเล่มเสร็จ จะต้องเก็บเอกสารประกอบการเรียนส่งครูเพื่อจะได้ บันทึกคะแนน 6. หากนักเรียนอ่านคำถามในกิจกรรมไม่เข้าใจจะต้องตรวจสอบกับคุณครูเท่านั้น โดยไม่ถามเพื่อน
1 สาระของหนังสือ 1. ประวัติชุดการแสดง 2. องค์ประกอบของชุดการแสดง 3. เครื่องแต่งกาย 4. ท่ารำเพลงนางตานีพลายบัว จุดประสงค์ 1. นักศึกษาบอกความหมายของบทร้องนางตานีพลายบัว ได้ถูกต้อง 2. นักศึกษาสามารถร้อง และเอื่อนเพลงนางตานีพลายบัว ได้ถูกต้อง 3. นักศึกษาบอกท่ารำนางตานีพลายบัว ได้ถูกต้อง 4. นักศึกษาปฏิบัติท่ารำนางตานีพลายบัว ได้ถูกต้อง สื่อการเรียนการสอน 1. คู่มือการใช้เอกสารประกอบการ 2. เอกสารประกอบการเรียน
2 พระรามตามกวาง ศิลปะการรำคู่อีกชุดหนึ่งที่มีความงดงาม ทั้งทางด้านบทเพลง ท่ารำ และองค์ประกอบศิลป์อื่น ๆ นั่นคือชุดพระรามตามกวาง เป็นการแสดงที่แทรกอยู่ในนาฏกรรมเรื่องใหญ่ของไทยคือโขนรามเกียรติ์ การแสดงชุดนี้จำเป็นต้องใช้ผู้แสดงที่มีทักษะทางการปฏิบัติท่ารำ เข้าใจจังหวะและทำนองเพลงอย่างดี ดังนั้นเพื่อความเข้าใจอย่างถูกต้องและสร้างประโยชน์ให้กับผู้เรียนควรศึกษาในองค์ประกอบคือ ประวัติชุด การแสดง องค์ประกอบของการแสดง โอกาสที่ใช้แสดง และอธิบายท่ารำพระรามตามกวาง สาระสำคัญ ที่จะนำเสนอมีดังต่อไปนี้ ประวัติชุดการแสดง เป็นตอนหนึ่งของการแสดงโขนชุดรามเกียรติ์ กล่าวถึง กวางทอง คือ มารีจพระยายักษ์เป็นลูก ของนางกากนาสูร ซึ่งรับพระราชบัญชาของทศกัณฐ์ แปลงกายเป็นกวางทอง มาล่อหลอกให้นางสีดาเกิด ความรักใคร่อยากได้ มารีศไม่อยากทำเพราะรู้ว่าพระรามคือนารายณ์อวตาร แม้ทูลทัดทานแต่ทศกัณฐ์ก็ไม่ ฟัง และประกาศว่า ดังนั้นมารีศจึงยอมทำตามทั้งที่รู้ว่าต้องไปตาย จึงได้ฝากฝังลูกเมียไว้กับทศกัณฐ์ วันรุ่งขึ้น ทศกัณฐ์ก็ดำเนินการตามแผนที่คิดไว้ ทศกัณฐ์และมารีศทรงรถแล้วขับข้ามสมุทรไปจน ใกล้อาศรมพระราม ที่แม่น้ำโคทาวารี จึงบอกให้มารีศแปลงเป็นกวางทองไปล่อพระราม นางสีดาเห็น กวางทองสวยงามก็อยากได้จึงให้พระรามไปตามจับกวางทองมาเลี้ยงไว้ที่ศาลา พระรามให้นางสีดากลับไป รออยู่ที่อาศรมแล้วตนรีบตามกวางไป เมื่อตามทันก็รู้ว่าเป็นกวางปลอมจึงแผลงศรสังหาร ก่อนตาย มารีศ ร้องเลียนเสียงพระรามเพื่อล่อพระลักษณ์ให้ออกมาช่วยพระลักษณ์แม้จะรู้ว่ามิใช่เสียงพระรามแต่ก็ถูกนาง สีดาผลักไสให้ออกไปช่วย จำใจต้องทิ้งนาง สีดาไว้ที่อาศรมเพียงลำพัง องค์ประกอบของชุดการแสดง องค์ประกอบของชุดการแสดงพระรามตามกวาง คือ สิ่งที่ทำให้ชุดการแสดงพระรามตามกวาง มี ความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ประกอบด้วย ผู้แสดง เพลงและดนตรี เครื่องแต่งกาย และท่ารำ ดังนี้ 1. ผู้แสดง ผู้แสดง หมายถึง การแสดงชุดพระรามตามกวาง ใช้ผู้แสดง 2 ลักษณะ คือ พระราม และ กวางทอง ดังนี้ 1.1 พระราม คือ พระนารายณ์อวตาร (แบ่งภาค) ลงมา ถือกำเนิดเป็นพระราชโอรสของท้าว ทศรถกับนางเกาสุริยา แห่งกรุงอยุธยา เพื่อจะปราบปรามทศกัณฐ์ พระรามมีพระอนุชาต่างพระมารดา 3 พระองค์ คือ พระพรต พระลักษมณ์ และพระสัตรุต พระมเหสีของพระราม คือ นางสีดา พระรามมีกายสี เขียว สามารถปรากฎร่างเป็นพระนารายณ์มีสี่กรได้ อาวุธประจำพระองค์ คือ ศร ซึ่งเป็นอาวุธวิเศษที่ได้ ประทานมาจากพระอิศวร (ฉัตรชุมพล,2560) การคัดเลือกผู้แสดงบทบาทพระรามนั้นนอกจากต้องเป็นผู้ที่มีบุคลิกภาพดีมีความสง่า งามใบหน้าสวยสุขุม แล้วนอกจากนี้ต้องเป็นผู้ที่มีพื้นฐานในการรำเป็นอย่างดีผ่านการรำเพลงช้า เพลงเร็ว เพลงช้าปี่และฝึกกระบวนการ รบรำสง่างาม มีความขยันหมั่นเพียร อดทนในการ ฝึกซ้อมสามารถจดจำท่ารำได้อย่างรวดเร็วแม่นยำ เป็นคนที่มีความละเอียดสามารถจดจำท่ารำ
3 และเทคนิคต่าง ๆ จากครูผู้สอนได้เป็นอย่างดีมีความชำนาญในการใช้อาวุธ ประกอบการแสดง มี ทักษะในการฟังทำนองเพลงและจังหวะหน้าทับเพลงหน้าพาทย์ที่สำคัญต้องเคยได้รับบทบาท การแสดงเป็นตัวเอกมาก่อน (ศุภชัย จันทร์สุวรรณ์;2547) 1.2 กวางทอง คือ มารีศพระยายักษ์เป็นลูกของนางกากนาสูร ซึ่งรับพระราชบัญชาของ ทศกัณฐ์ แปลงกายเป็นกวางทอง มาล่อหลอกให้นางสีดาเกิดความรักใคร่อยากได้ พระรามจึง เสด็จตามกวางทองไปในป่า (ณัฐสัมพันธ์;2559) การคัดเลือกสำหรับนักแสดงจะคัดเลือกผู้ที่ลักษณะใบหน้ารูปไข่สวยงามขนาดลำตัวเล็ก กว่าตัวพระ จะใช้ผู้ชายหรือผู้หญิงก็ได้แต่ต้องรูปร่างเล็กกว่าพระราม 2.เครื่องดนตรีและเพลงใช้ประกอบการแสดง 2.1 ดนตรีหมายถึง เสียงที่ประกอบกันเป็นทํานองเพลง เครื่องบรรเลงซึ่งมีเสียงดังทําให้ รู้สึกเพลิดเพลินหรือเกิดอารมณ์รัก โศก หรือรื่นเริง เป็นต้น ได้ตามทํานองเพลง (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน,2554) เครื่องดนตรีที่ใช้ในการบรรเลงประกอบการแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์ชุดพระรามตามกวาง จะใช้ วงดนตรีปี่พาทย์บรรเลงประกอบ อาจจะเป็นเครื่องห้าเครื่องคู่หรือเครื่องใหญ่ก็ได้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม ระหว่างงานนั้นๆ ดังมีรายละเอียดดังต่อไปนี้(จรูญศรี วีระวานิช,2526: 22). 1.วงดนตรีปี่พาทย์เครื่องห้า ภาพที่ 1 วงดนตรีที่ใช้ในการแสดง ที่มา:https://som3737np.wordpress.com (นาม, ปี)
4 2.วงปี่พาทย์เครื่องคู่ ภาพที่ 2 วงดนตรีที่ใช้ในการแสดง ที่มา:https://som3737np.wordpress.com 3.วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ ภาพที่ 3 วงดนตรีที่ใช้ในการแสดง ที่มา:https://som3737np.wordpress.com
5 2.2 เพลง หมายถึง ถ้อยคำที่นักประพันธ์เรียงร้อยหรือเรียบเรียงขึ้น ซึ่งประกอบด้วย เนื้อร้องทำนอง จังหวะ ทำให้เกิดความไพเราะสร้างความเพลิดเพลินให้แก่ผู้ฟัง เพลงที่ใช้ประกอบการแสดงรำพระรามตามกวาง ได้แก่ เพลงหน้าพาทย์ รัว เชิดฉาน เพลงที่ขับร้องตามบทร้อง ได้แก่ เพลงแขกไทร และเพลงทะเลบ้า ในการขับร้องโขน ตอน พระรามตามกวาง ผู้ขับร้องต้องสื่อความหมายและแสดงอารมณ์ ของตัวละคร ได้แก่ วิธีการขับร้องเพลงแขกไทรผู้ขับร้องต้องร้องเพื่อสื่อความหมายอารมณ์ชม ความงามของกวาง และเพลง ทะเลบ้า ผู้ขับร้องต้องร้องเพื่อสื่อความหมายอารมณ์รุกเร้าด้วย 2.2.1 เพลงหน้าพาทย์ คือ เพลงที่ใช้บรรเลงประกอบกิริยา อารมณ์ของตัวละครในการ แสดงต่างๆ และใช้บรรเลงประกอบพิธีไหว้ครู ครอบครูดนตรีไทยและนาฏศิลป์ 2.2.2 เพลงรัว คือ เพลงที่ใช้ประกอบกิริยาที่สำเร็จด้วยคาถาที่ร่ายมนต์มาแล้ว หรือใช้เป็นหน้าพาทย์ประกอบกิริยานิมิตสิ่งต่างๆให้เกิดขึ้น 2.2.3 เพลงเชิดฉาน คือ เพลงที่ใช้สำหรับตัวละครที่เป็นมนุษย์ไล่ตามสัตว์ 2.2.4 แขกไทร คือ เพลงไทยเดิมอัตราสองชั้น ใช้ร้องเป็นเพลงประกอบละคร 2.2.5 ทะเลบ้า คือ เพลงอัตราสองชั้นของเก่า ประเภทหน้าทับสองไม้ มี 2 ท่อน มีมา ตั้งแต่สมัยอยุธยา นิยมนำมารวมไว้ในเพลงเรื่องฉิ่งใหญ่ ในการขับร้องโขน ตอน พระรามตามกวาง ผู้ขับร้องต้องสื่อความหมายและแสดงอารมณ์ ของตัวละคร ได้แก่ วิธีการขับร้องเพลงแขกไทรผู้ขับร้องต้องร้องเพื่อสื่อความหมายอารมณ์ชม ความงามของกวาง และเพลง ทะเลบ้า ผู้ขับร้องต้องร้องเพื่อสื่อความหมายอารมณ์รุกเร้าด้วย บทร้อง - รัว - - ร้องแขกไทร - รูปทรงกุมภัณฑ์ก็พลันหาย กลายเป็นกวางทองผ่องศรี เรืองรองผ่องสิ้นทั้งอินทรีย์ ทั้งมีด่างขาวพราวหิรัญ สองเขามุกดาดูวิเศษ สองเนตรนิลรัตน์จัดสาน ทำทีเยื้องกรายพรายพรรณ ตรงไปยังบรรณศาลา - เชิดฉาน – - ร้องทะเลบ้า - ราเมศร์ตามติดชิดกระชั้น กวางผันล่อเล่นเผ่นผยอง ธ ยั้ง กวางเยื้องชำเลืองมอง โลดลำพองเหยาะย่อล่อรามินทร์ พระแลเล็งเพ่งพิศผิดสังเกต ทรงเดชจับศรศาสตร์พาดคันศิลป์ น้าวเหนี่ยวด้วยพลังทั้งกายิน ถูกกวางดิ้นวางวายกลายเป็นมาร - รัว –
6 3.เครื่องแต่งกาย ราชบัณฑิตยสภา, (2545) “เครื่อง” คือ สิ่งสำหรับประกอบกันหรือเป็นพวกเดียวกัน “แต่ง” คือ จัดให้งาม “กาย”คือตัว ดังนั้น “เครื่องแต่งกาย” จึงหมายถึง สิ่งสำหรับประกันจัดให้งามที่เกี่ยวกับตัวของ นักแสดง ในการแสดงชุดพระรามตามกวาง ประกอบด้วยตัวละคร 1 ตัว ได้แก่ พระรามและกวางทอง 1.ลักษณะเครื่องแต่งกายของพระราม แต่งกายยืนเครื่องพระ สีเขียวขลิบแดงแขนยาว สไบกรองสีทองห่ม ทับเสื้อ สวมชฎายอดบวช มีลักษณะดังรูปนี้ ภาพที่ 3 การแต่งกายพระราม ชฎายอดบวช อุบะและดอกไม้ทัด กรองคอ อินทรธนู ลูกศร ก สร เส้ือ หรือฉลององค์ สไบกรองสีทอง ทับทรวง สังวาลพร้อมตาบทิศ ก าไลแผง แหวนรองก าไลแผง ปะวะหล ่า ผ้านุ่ง คันศร ห้อยหน้า สนับเพลา ก าไลข้อเท้า แหวนรองก าไลเท้า รัดสะเอว ห้อยข้าง
7 2.ลักษณะเครื่องแต่งกายของกวางทอง แต่งกายยืนเครื่องพระ สีเหลืองทองมีทั้งเสื้อแขนสั้นและแขนยาว สวมศีรษะกวางประดับเขา อุบะดอกไม้ทัดขวา มีลักษณะดังรูปนี้ ภาพที่ 2 การแต่งกายกวางทอง 5. โอกาสที่ใช้แสดง นิยมนำมาใช้แสดงในงานอวมงคลและงานมงคลต่างๆ อย่างไรก็ตามสามารถใช้ประกอบการ เรียนการสอนด้วยเช่นกัน ศีรษะกวางประดับเขา อุบะและดอกไม้ ทัด กรองคอ เส้ือ สังวาลพร้อมตาบทิศ ทับทรวง รัดสะเอว ผ้านุ่ง ห้อยข้าง ก าไลข้อเท้า แหวนรองก าไลเท้า ก าไลแผง ปะวะหล ่า แหวนรองก าไลแผง ป้ันเหน่ง ห้อยหน้า
8 อธิบายท่ารำพระลอตามไก่ การอธิบายท่ารำ จะอธิบายตามลักษณะการปฏิบัติท่ารำของการปฏิบัติเท้าในลำดับแรก จากนั้น จะอธิบายอิริยาบทของมือ และการเอียงศีรษะตามลำดับ ดังนี้ 1. เพลงรัว 1.1 ท่ารัว 1 วิธีปฏิบัติ พักท่ามือเท้าขวาวางหน้า มือขวาตั้งวงบน มือซ้ายจีบหงายชายพก เอียงซ้าย ภาพที่......ท่ารัว 1 1.2 ท่ารัว 2 วิธีปฏิบัติ ยืดยุบ วิ่งซอยเท้า มือทั้งสองปฏิบัติท่าสอดสร้อยมาลา จบจังหวะมือซ้ายตั้งวงบน มือขวาจีบ หงายชายพก เอียงขวา ภาพที่......ท่ารัว 2 1.3 ท่ารัว 3 วิธีปฏิบัติ เบี่ยงตัวทางซ้าย ถอนเท้าซ้าย ก้าวหน้าเท้าขวา มือขวาตั้งวงบน มือซ้ายจีบหงายชายพก เอียง ซ้าย หมุนตัวทางขวา ภาพที่......ท่ารัว 3
9 1.4 ท่ารัว 4 วิธีปฏิบัติ เบี่ยงตัวทางขวา กระทุ้งเท้าซ้าย มือซ้ายปล่อยเป็นป้องหน้า มือขวาแบลาด เอียงขวา ภาพที่......ท่ารัว 4 2. เพลงแขกไทร 2.1 ดนตรีรับ 1 วิธีปฏิบัติ ยืนพักท่า(เท้าซ้าย) มือขวาจับสะเอวมือซ้ายแตะหน้าขา เอียงขวา ภาพที่......ท่าดนตรีรับ 1 2.2 รูปทรงกุมภัณฑ์ วิธีปฏิบัติ “รูปทรง” เบี่ยงตัวทางขวา ก้าวหน้าเท้าซ้าย พร้อมกับวาดมือทั้งสองผ่านลำตัว “กุมภัณฑ์” หัน ตัวมาหน้าตรง ก้าวข้างเท้าขวา มือทั้งสองล่อแก้ววงล่าง หน้าตรง แล้วสืบเท้าพักเท้าขวา ภาพที่......ท่ารูปทรงกุมภัณฑ์ 2.3 ก็พลันหาย วิธีปฏิบัติ “ก็พลัน” เบี่ยงตัวทางขวา ก้าวหน้าเท้าซ้าย มือทั้งสองจีบคว่ำระดับอก “หาย” วิ่งซอยเท้าหมุน ตัวทางขวา พร้อมกับปล่อยมือจีบ 1 รอบ หมดท่าก้าวข้างเท้าซ้าย มือทั้งสองแบมือกดไว้ข้างลำตัว
10 ภาพที่......ท่าก็พลันหาย 2.4 กลายเป็นกวางทอง วิธีปฏิบัติ “กลายเป็น” ก้าวข้างเท้าขวา ยืดตัวเสยเขา “กวางทอง” จากนั้นก้าวข้างเท้าซ้าย ยืดตัวเสยเขา ภาพที่......ท่ากลายเป็นกวางทอง 2.5 ผ่องศรี วิธีปฏิบัติ “ผ่อง” เท้าขวาก้าวหน้า มือทั้งสองจีบรวมระดับอก เอียงซ้าย “ศรี” กระดกเท้าซ้าย มือทั้งสอง ปล่อยเป็นมือซ้ายตั้งวงบน มือขวาเหยียดแขนตึงปลายนิ้วตั้งขึ้น (พิสมัยเรียงหมอน) เอียงขวา ภาพที่......ท่าผ่องศรี 2.6 ดนตรีรับ 2 วิธีปฏิบัติ ปฏิบัติมือเหมือนเดิม เล่นเท้าตามจังหวะ โดยเริ่มแตะจมูกเท้าซ้ายก่อน แล้วจึงแตะจมูกเท้าขวา ภาพที่......ท่าดนตรีรับ 2
11 2.7 เรืองรองผ่องสิ้น วิธีปฏิบัติ “เรืองรอง” เบี่ยงตัวทางขวา ก้าวหน้าเท้าขวา ยกหน้าเท้าซ้าย มือซ้ายจีบคว่ำงอแขน ระดับอก มือขวาเหยียดแขนตึงระดับไหล่ เอียงขวา “ผ่องสิ้น” เบี่ยงตัวทางซ้าย ก้าวหน้าเท้าซ้าย ยกหน้าเท้าขวา มือขวาจีบคว่ำงอแขน ระดับอก มือ ซ้ายเหยียดแขนตึงระดับไหล่ เอียงซ้าย ภาพที่......ท่าเรืองรองผ่องสิ้น 2.8 ดนตรีรับ 3 วิธีปฏิบัติ ปฏิบัติมือเหมือนเดิม เล่นเท้าตามจังหวะ โดยเริ่มแตะจมูกเท้าขวาก่อน แล้วจึงแตะจมูกเท้าซ้าย ภาพที่......ท่าดนตรีรับ 3 2.9 ทั้งอินทรีย์ วิธีปฏิบัติ “ทั้งอินทรีย์” ก้าวข้างเท้าขวา ยืดตัวเสยเขา เอียงซ้าย “ดนตรีรับ” ก้าวข้างเท้าซ้าย ยืดตัวเสย เขา เอียงขวา ภาพที่......ท่าทั้งอินทรีย์
12 2.10 ทั้งมีด่างขาว วิธีปฏิบัติ “ทั้งมี” เบี่ยงตัวทางขวา ก้าวข้างเท้าซ้าย มือซ้ายตั้งวงบน มือขวาจีบปรกข้างม้วนมือจีบ เอียง ขวา พร้อมกับซอยเท้าหมุนตัวเบี่ยงตัวทางซ้าย “ด่างขาว”ก้าวข้างเท้าขวา มือขวาตั้งวงบน มือซ้ายจีบปรกข้างม้วนมือจีบ เอียงซ้าย พร้อมกับ ซอยเท้าหมุนตัวทางขวา ภาพที่......ท่าทั้งมีด่างขาว 2.11 พราวหิรัญ วิธีปฏิบัติ “พราว” ก้าวหน้าเท้าขวา มือขวาจีบปรกหน้า มือซ้ายตั้งวงหน้า เอียงซ้าย “หิรัญ”กระดกเท้า ซ้าย มือขวาส่งจีบหลัง มือซ้ายม้วนมือจีบปรกหน้า เอียงขวา ภาพที่......ท่าพราวหิรัญ 2.12 ดนตรีรับ 4 วิธีปฏิบัติ เบี่ยงหน้าทางขวา ประเท้าซ้าย มือทั้งสองรวมไว้ระดับเอว โดยมือซ้ายจีบหงายมือขวาตั้งวง เอียง ซ้าย จากนั้นโบกมือซ้ายเป็นตั้งวงบน มือขวาส่งจีบหลัง จรดส้นเท้าซ้าย เอียงขวา ภาพที่......ท่าดนตรีรับ 4
13 2.13 สองเขามุกดา วิธีปฏิบัติ “สองเขามุกดา” ก้าวข้างเท้าขวา ยืดตัวเสยเขา เอียงซ้าย “ดนตรีรับ” จากนั้นก้าวข้างเท้าซ้าย ยืดตัวเสยเขา เอียงขวา ภาพที่......ท่าสองเขามุกดา 2.14 ดูวิเศษ วิธีปฏิบัติ “ดู” สะดุดเท้าขวา “วิเศษ” ยกหน้าเท้าขวา มือขวาตั้งวงล่าง มือซ้าย จับจีบปล่อยเป็นบัวชูฝัก เอียงซ้าย ภาพที่......ท่าดูวิเศษ 2.15 สองเนตร วิธีปฏิบัติ “สอง” ก้าวข้างเท้าขวา มือขวาจีบระดับหางตา มือซ้ายจีบระดับหางตา เอียงซ้าย “เนตร” เปลี่ยนเป็นก้าวข้างเท้าซ้าย มือซ้ายจีบระดับหางตา มือขวาจีบระดับหางตา เอียงขวา ภาพที่......ท่าสองเนตร 2.16 นิลรัตน์ วิธีปฏิบัติ “นิล” สะดุดเท้าซ้าย “รัตน์” จับจีบมือทั้งสองเป็นจีบหงายแขนตึง (ช้างประสานงา) แตะจมูกเท้าซ้าย เอียงขวา
14 ภาพที่......ท่านิลรัตน์ 2.17 จัดสาน วิธีปฏิบัติ เบี่ยงตัวทางขวา ก้าวหน้าเท้าขวากระดกเท้าซ้าย มือซ้ายม้วนมือจีบปล่อยเป็นวงหน้า มือขวาตั้ง วงบนแล้วพลิกมือเป็นบัวชูฝัก (ท่าสวยงาม) เอียงขวา ภาพที่......ท่าจัดสาน 2.18 ดนตรีรับ 5 วิธีปฏิบัติ ปฏิบัติมือเหมือนเดิม เล่นเท้าตามจังหวะ โดยเริ่มแตะจมูกเท้าซ้ายก่อน แล้วจึงแตะจมูกเท้าขวา ภาพที่......ท่าดนตรีรับ 5 2.19 ทำที วิธีปฏิบัติ “ทำ” ก้าวข้างเท้าขวา มือทั้งสองเดินมือกวางไว้ข้างสะเอวขวา ลักคอขวา “ที” ก้าวข้างเท้าซ้าย มือทั้งสองเดินมือกวางไว้ข้างสะเอวซ้าย ลักคอซ้าย ภาพที่......ท่าทำที
15 2.20 เยื้องกราย วิธีปฏิบัติ “เยื้อง” เบี่ยงตัวทางขวา ขยั่นเท้าให้เท้าขวาอยู่หน้า เอียงขวา “กราย” เบี่ยงตัวทางซ้าย ขยั่นเท้าให้เท้าซ้ายอยู่หน้า เอียงซ้าย ภาพที่......ท่าเยื้องกราย 2.21 พรายพรรณ วิธีปฏิบัติ เบี่ยงตัวทางซ้าย ก้าวหน้าเท้าซ้าย กระดกเท้าขวามือทั้งสองตั้งเป็นขากวาง มือซ้ายเหลื่ยม ด้านหน้า เอียงขวา หมุนตัวทางขวา ภาพที่......ท่าพรายพรรณ 2.22 เดินไปยังบรรณ วิธีปฏิบัติ ยักตัว แล้วก้าวหน้าเท้าขวา แล้วต่อด้วยเท้าซ้าย เอียงซ้าย ภาพที่......ท่าเดินไปยังบรรณ
16 2.23 ดนตรีบรรเลง 6 วิธีปฏิบัติ กระโดด แล้วขโยกขาลักษณะกวางวิ่ง ภาพที่......ดนตรีบรรเลง 6 2.24 ณ ศาลา วิธีปฏิบัติ เบี่ยงตัวทางซ้าย ยืนด้วยเท้าซ้ายยกหน้าเท้าขวา จากนั้นกระทบส้นเท้าซ้าย ก้าวหน้าเท้าขวา ภาพที่......ท่าณ ศาลา 2.25 ดนตรีบรรเลง 7 วิธีปฏิบัติ กวางวิ่งวน ขโยกเท้ามาทางซ้ายของเวที ชะเง้อมอง แล้วเลียขน จากนั้นวิ่ง ขโยกเท้ามาทางขวา ของเวที ชะเง้อมอง แล้วเลียขน แล้วจึงวิ่งวนทางซ้ายของเวที กระทืบเท้า รับพระรามออกทางขวาของ เวทีโดยการเก็บเท้า มือขวาจับศรระดับจีบปรกข้าง มือซ้ายจีบปรกหน้า เอียงขวา ท่าชะเง้อ ท่าเลียขน ภาพที่......ท่าดนตรีบรรเลง 7
17 3. เพลงเชิดฉาน 3.1 ท่าเชิดฉาน 1 วิธีปฏิบัติ กวาง ก้าวเท้าขวา กระทบส้นแล้วก้าวหน้าเท้าซ้าย มือเดินกวาง มือซ้ายนำมือขวา เอียงขวา จากนั้นยั้งตัวกดไหล่ซ้าย เอียงซ้าย แล้วคืนตัวเป็นกดไหล่ขวา เอียงขวา พระราม ก้าวเท้าขวา ลงหน้าเท้าซ้าย มือซ้ายตั้งวงล่าง มือขวาจับศรแขนตึง เอียงขวา จากนั้น ยั้งตัวกดไหล่ซ้าย เอียงซ้าย แล้วคืนตัวเป็นกดไหล่ขวา เอียงขวา ภาพที่......ท่าเชิดฉาน 1 3.1.1 ท่าเชิดฉานย่อย 1.1 วิธีปฏิบัติ กวาง เดินย่ำเท้าตามจังหวะเพลง นำหน้าพระรามไปอีก 4 จังหวะ จากนั้นเบี่ยงตัวทางขวา พระราม เดินย่ำเท้าตามจังหวะเพลง ตามกวางไปอีก 4 จังหวะ จากกลับตัวเบี่ยงซ้าย มือซ้ายจีบ ปรกข้างแล้วปล่อยเป็นวงบน มือขวาจับศรแบลาด (ท่าผาลา) เอียงซ้าย เท้าเดินต่อเนื่องตามกวาง 4 จังหวะ ภาพที่......ท่าเชิดฉานย่อย 1.1 3.1.2 ท่าเชิดฉานย่อย 1.2 วิธีปฏิบัติ กวาง เดินย่ำเท้าตามจังหวะเพลง นำหน้าพระรามไปอีก 4 จังหวะ จากนั้นเบี่ยงตัวทางซ้าย พระราม เดินย่ำเท้าตามจังหวะเพลง ตามกวางไปอีก 4 จังหวะ จากกลับตัวเบี่ยงขวา มือซ้ายปล่อยเป็นบัวชูฝัก มือขวาจับศรแขนตึงระดับไหล่ เอียงซ้าย (ท่าสอดสูง) เท้าเดินต่อเนื่องตาม กวาง 4 จังหวะ
18 ภาพที่......ท่าเชิดฉานย่อย 1.2 3.2 ท่าเชิดฉาน 2 วิธีปฏิบัติ กวาง วิ่งวนทางซ้าย จากนั้นก้าวเท้าซ้าย กระทบส้นแล้วก้าวหน้าเท้าขวา มือเดินกวาง มือขวา นำมือขวา เอียงซ้าย จากนั้นยั้งตัวกดไหล่ขวา เอียงขวา แล้วคืนตัวเป็นกดไหล่ซ้าย เอียงซ้าย พระราม ก้าวเท้าซ้าย ลงหน้าเท้าขวา มือซ้ายส่งจีบหลัง มือขวาจับศรระดับวงล่าง เอียงซ้าย จากนั้นยั้งตัวกดไหล่ขวา มือซ้ายเหยียดแขนขึ้นระดับไหล่ เอียงขวา แล้วคืนตัวเป็นกดไหล่ซ้าย วาดแขน กลับตั้งข้อมือขึ้น เอียงซ้าย ภาพที่......ท่าเชิดฉาน 1 3.2.1 ท่าเชิดฉานย่อย 2.1 วิธีปฏิบัติ กวาง เดินย่ำเท้าตามจังหวะเพลง นำหน้าพระรามไปอีก 4 จังหวะ จากนั้นเบี่ยงตัวทางขวา พระราม เดินย่ำเท้าตามจังหวะเพลง ตามกวางไปอีก 4 จังหวะ โดยก้าวเท้าซ้าย วาดแขนขึ้น เอียงซ้าย นับ 1 แล้วก้าวเท้าขวาวาดแขนลง เอียงขวา นับ 2 ปฏิบัติสลับไปมา 4 จังหวะ ภาพที่......ท่าเชิดฉานย่อย 2.1 3.2.2 ท่าเชิดฉานย่อย 2.2 วิธีปฏิบัติ กวาง เดินย่ำเท้าตามจังหวะเพลง เบี่ยงตัวทางซ้าย(หันหน้าเข้าหาพระราม) เดินขึ้นหน้าเวที 4 จังหวะ พระราม เดินย่ำเท้าตามจังหวะเพลง ตามกวางไปอีก 4 จังหวะ เบี่ยงตัวทางขวา(หันหน้าเข้าหาก วาง) มือซ้าย กางแขนตั้งปลายมือขึ้น หน้าตรง
19 ภาพที่......ท่าเชิดฉานย่อย 2.2 หมายเหตุ2.2 ปฏิบัติท่าต่อเนื่องเดินขึ้นหน้าเวที ลงหลังเวทีต่อเนื่องโดย ปฏิบัติ 4 จังหวะเปลี่ยนครั้ง ไป เรื่อย ๆ จนหมดจังหวะ 3.2.2 ท่าเชิดฉานย่อย 2.3 วิธีปฏิบัติ กวาง หลบซ้าย โดยการก้าวข้างเท้าซ้าย มือซ้ายนำมือขวา เอียงขวา แล้วหลบขวา โดยการก้าว ข้างเท้าขวา มือขวานำมือซ้าย เอียงซ้าย จากนั้นกระโดดหลบ พระราม จับซ้าย โดยการก้าวข้างเท้าซ้าย มือซ้ายจับศรระดับวงล่าง มือขวาจับจีบหงายข้างศร เอียงซ้าย แล้วจับขวา โดยการก้าวข้างเท้าขวา มือขวาจับศรระดับวงล่าง มือซ้ายจับจีบหงายข้างศร เอียง ขวา จากนั้นจับพลาด ภาพที่......ท่าเชิดฉานย่อย 2.3 3.2.2 ท่าเชิดฉานย่อย 2.4 วิธีปฏิบัติ กวาง วิ่งเลขแปด วนหนีพระราม จากซ้ายไปขวา พระราม วิ่งเลขแปด ตามกวาง จากซ้ายไปขวา โดยท่าแรกซอยเท้า มือซ้ายส่งจีบหลัง มือขวาจับ ศรวงล่าง เอียงซ้าย ท่า 2 วิ่งซอยเท้ามือซ้ายแบมือ (จับหางกวาง) มือขวาจับศรวงล่าง วิ่งวนท่าที่ 1 วิ่งวนท่าที่ 2 ภาพที่......ท่าเชิดฉานย่อย 2.4
20 3.3 ท่าเชิดฉาน 3 วิธีปฏิบัติ กวาง วิ่งวนทางขวา (หันหน้าเข้าหาพระราม) เดินย่ำเท้าถอยหลัง ด้วยเท้าซ้าย แล้วต่อด้วยเท้า ขวา สลับไปมา 4 จังหวะ แล้วจังบุกพระราม ด้วยท่าเดิมอีก 4 จังหวะ พระราม วิ่งวนทางขวา (หันหน้าเข้าหากวาง) เดินบุกโดยการ ก้าวหน้าเท้าซ้าย มือซ้ายม้วนมือ จีบปล่อย เป็นท่านางนอน มือขวาจับศรวงล่าง ลักคอซ้าย นับ 1 แล้วบุกเท้าขวา มือซ้ายพลิกข้อมือตั้ง ปลายนิ้ว มือขวาจับศรพลิกหงายข้อมือ ลักคอขวา นับ 2 ปฏิบัติท่าเดิมสลับไปมา 4 จังหวะ(บุก) แล้วถอย อีก 4 จังหวะ ภาพที่......ท่าเชิดฉาน 3 3.3.1 ท่าเชิดฉานย่อย 3.1 วิธีปฏิบัติ กวาง เดินย่ำเท้าตามจังหวะเพลง เดินขึ้นหน้าเวที 4 จังหวะ พระราม เดินย่ำเท้าตามจังหวะเพลง ตามกวางไปอีก 4 จังหวะ มือซ้าย กางแขนตั้งปลายมือขึ้น หน้าตรง ภาพที่......ท่าเชิดฉานย่อย 3.1 หมายเหตุ2.2 ปฏิบัติท่าต่อเนื่องเดินขึ้นหน้าเวที ลงหลังเวทีต่อเนื่องโดย ปฏิบัติ 4 จังหวะเปลี่ยนครั้ง ไป เรื่อย ๆ จนหมดจังหวะ 3.3.2 ท่าเชิดฉานย่อย 3.2 วิธีปฏิบัติ กวาง หลบซ้าย โดยการก้าวข้างเท้าซ้าย มือซ้ายนำมือขวา เอียงขวา แล้วหลบขวา โดยการก้าว ข้างเท้าขวา มือขวานำมือซ้าย เอียงซ้าย จากนั้นกระโดดหลบ พระราม จับซ้าย โดยการก้าวข้างเท้าซ้าย มือซ้ายจับศรระดับวงล่าง มือขวาจับจีบหงายข้างศร เอียงซ้าย แล้วจับขวา โดยการก้าวข้างเท้าขวา มือขวาจับศรระดับวงล่าง มือซ้ายจับจีบหงายข้างศร เอียง ขวา จากนั้นจับพลาด
21 4. เพลงทะเลบ้า 4.1 ท่าราเมศร์ตามติดชิดกระชั้น วิธีปฏิบัติ กวาง “ราเมศร์ตามติด” วิ่งเลขแปด วนหนีพระราม จากซ้ายไปขวา “ชิดกระชั้น” พระราม “ราเมศร์ตามติด” วิ่งเลขแปด ตามกวาง โดยการซอยเท้า มือซ้ายส่งจีบหลัง มือขวาจับ ศรวงล่าง เอียงซ้าย “ชิดกระชั้น” มือซ้ายแบมือลาด (จับหางกวาง) ราเมศร์ตามติด ชิดกระชั้น ภาพที่......ท่าราเมศร์ตามติดชิดกระชั้น 4.2 ท่ากวางผันล่อเล่น เผ่นผยอง วิธีปฏิบัติ กวาง “กวางผันล่อเล่น” เบี่ยงตัวทางซ้าย (หันหน้าเข้าหาพระราม) ยั้งเท้าขวา มือทั้งสอง ระดับวงล่าง ลักคอขวา “ล่อเล่น” ยั้งเท้าซ้าย มือทั้งสอง ระดับวงล่าง ลักคอซ้าย “เผ่นผยอง” กระโดด เข้าหาพระราม” พระราม “กวางผันล่อเล่น” เบี่ยงตัวทางขวา มือขวาจับคนศรส่งไปด้านหลัง มือซ้ายจับหัวศร เอียงขวา “เผ่นผยอง” ยืนพักเท้า มือซ้ายจับศรระดับวงล่าง มือขวาตวัดนิ้ว เอียงขวา กวางผันล่อเล่น เผ่นผยอง ภาพที่......ท่ากวางผันล่อเล่นเผ่นผยอง
22 4.3 ท่าธ ยั้ง กวางเยื้อง วิธีปฏิบัติ กวาง “ธ ยั้ง” ก้าวข้างเท้าขวา มือขวามือกวางระดับวงกลาง มือซ้ายมือกวางระดับวงล่าง เอียง ซ้าย “กวางเยื้อง” หมุนตัวทางขวา ก้าวไขว้เท้าขวา ขยั่นเท้า มือทั้งสองมือกวางวงล่าง เอียงซ้าย พระราม “ธ ยั้ง” ยืนพักเท้าขวา มือขวาจับศรระดับวงล่าง มือซ้ายส่งจีบหลัง เอียงซ้าย “กวาง เยื้อง” ก้าวข้างเท้าขวา มือขวาจีบศรวงล่าง มือซ้ายส่งจีบหลัง เอียงซ้าย ธ ยั้ง กวางเยื้อง ภาพที่......ท่า ธ ยั้ง กวางเยื้อง 4.4 ท่าชำเลืองมอง วิธีปฏิบัติ กวาง หันหลังให้เวที ก้าวข้างเท้าซ้าย มือทั้งสองจับมือกวาง โดยมือซ้ายตั้งระดับวงกลาง มือขวา ระดับวงล่าง เอียงขวา พระราม ก้าวข้างเท้าขวา มือขวาจีบศรวงล่าง มือซ้ายส่งจีบหลัง เอียงซ้าย ภาพที่......ท่าชำเลืองมอง 4.5 ท่าโลดลำพองเหยาะย่อ วิธีปฏิบัติ กวาง “โลดลำพอง” กระโดดเข้าหาพระราม “เหยาะ” ยั้งเท้าขวา มือทั้งสองระดับวงล่าง ลัก คอขวา “ย่อ” ยั้งเท้าซ้าย มือทั้งสองระดับวงล่าง ลักคอซ้าย พระราม ยืนพักเท้าขวา มือทั้งสองจับศรระดับสะเอว หน้าตรง
23 โลดลำพอง เหยาะย่อ ภาพที่......ท่าโลดลำพองเหยาะย่อ 4.6 ท่าล่อรามินทร์ วิธีปฏิบัติ กวาง “ล่อ” หลบซ้าย โดยการก้าวข้างเท้าซ้าย มือซ้ายนำมือขวา เอียงขวา “รามินทร์” หลบ ขวา โดยการก้าวข้างเท้าขวา มือขวานำมือซ้าย เอียงซ้าย จากนั้นกระโดดหลบ พระราม “ล่อ”จับซ้าย โดยการก้าวข้างเท้าซ้าย มือซ้ายจับศรระดับวงล่าง มือขวาจับจีบหงาย ข้างศร เอียงซ้าย “รามินทร์” จับขวา โดยการก้าวข้างเท้าขวา มือขวาจับศรระดับวงล่าง มือซ้ายจับจีบ หงายข้างศร เอียงขวา ล่อรามินทร์ ภาพที่......ท่าล่อรามินทร์
24 4.7 ท่า ธ แลเล็งเพ่งพินิจผิดสังเกต วิธีปฏิบัติ กวาง “ธ แลเล็งเพ่งพินิจ” ก้าวข้างเท้าขวา มือขวาจับมือกวางระดับวงกลาง มือซ้ายจับมือ กวางระดับวงล่าง เอียงซ้าย “ผิดสังเกต” ก้าวข้างเท้าซ้าย มือซ้ายจับมือกวางระดับวงกลาง มือขวาจับมือ กวางระดับวงล่าง เอียงขวา พระราม “ธ แลเล็งเพ่งพินิจ” กระดกเท้าซ้าย มือซ้ายป้องหน้า มือขวาจับศรแบลาด เอียงขวา “ผิดสังเกต” ก้าวข้างเท้าซ้าย มือซ้ายตั้งวงบน มือขาจับศรแบลาด เอียงขวา ธ แลเล็งเพ่งพินิจ ผิดสังเกต ภาพที่......ท่า ธ แลเล็งเพ่งพินิจผิดสังเกต 4.8 ท่า ทรงเดชจับศรศาสตร์พาดคันศิลป์ วิธีปฏิบัติ กวาง ขโยกเท้า เล่นตามจังหวะเพลง พระราม “ทรงเดชจับศรศาสตร์” ก้าวข้างเท้าขวา มือซ้ายจังคันศรระดับวงล่าง มือขวาเอื้อมมือ จีบจับดอกศร เอียงซ้าย “พาดคันศิลป์” ยกหน้าเท้าขวา มือซ้ายจับศรขัดขาขวาและไหล่ มือขวาจับลูกศร เอียงขวา ทรงเดชจับศรศาสตร์ พาดคันศิลป์ ภาพที่......ท่า ทรงเดชจับศรศาสตร์พาดคันศิลป์
25 4.9 ท่า น้าวเหนี่ยวด้วยพลังทั้งกายิน วิธีปฏิบัติ กวาง ขโยกเท้า เล่นตามจังหวะเพลง พระราม “น้าวเหนี่ยวด้วยกำลังทั้งกายิน” ก้าวข้างเท้าขวา มือซ้ายจับคันศรระดับวงกลาง มือ ขวาวาดดอกศรไปข้าง จากนั้นยกหน้าเท้าขวา มือขวาจับลูกศรจีบปรกข้าง หน้าตรง “ดนตรีรับ” ก้าวข้าง เท้าขวา มือซ้ายจับคันศรระดับวงล่าง มือขวาจับลูกศรระดับวงกลาง เอียงขวา น้าวเหนี่ยวด้วยพลังทั้งกายิน ดนตรีรับ ภาพที่......ท่า น้าวเหนี่ยวด้วยพลังทั้งกายิน 4.10 ท่าถูกกวางดิ้นวางวายกลายเป็นมาร วิธีปฏิบัติ กวาง ขโยกเท้า เล่นตามจังหวะเพลง พระราม “ถูกกวางดิ้นวางวาย” เบี่ยงตัวทางซ้าย มือขวาจับคันศรระดับวงกลาง มือขวาส่งลูกศร เข้าหากวาง “กลายเป็นมาร” หมุนตัวทางซ้ายมาหน้าตรง กระดกเท้าขวา มือซ้ายจับคันศรระดับอก มือ ขวาจับดอกศรระดับจีบปรกข้าง หน้าตรง ถูกกวางดิ้นวางวาย กลายเป็นมาร ภาพที่......ท่าถูกกวางดิ้นวางวายกลายเป็นมาร
26 5. เพลงรัว 5.1 ท่าเพลงรัว 1 วิธีปฏิบัติ กวาง ขโยกเท้า เล่นตามจังหวะเพลง พระราม ก้าวข้างเท้าขวา มือซ้ายจับคันศรระดับวงกลาง มือขวาวาดดอกศรไปข้าง จากนั้นรวม มือคันศรและดอกศรไว้ระดับกลางหน้าอก ภาพที่......ท่าเพลงรัว 1 5.2 ท่าเพลงรัว 2 วิธีปฏิบัติ กวาง ก้าวข้างเท้าขวา มือขวาจับจีบมือกวางระดับวงกลาง มือซ้ายจับจีบมือกวางระดับวงล่าง เอียงซ้าย พระราม ยกหน้าขาขวา มือซ้ายเหยียดคันศรระดับไหล่ มือซ้ายโยนเข้าหากวาง ภาพที่......ท่าเพลงรัว 2 5.3 ท่าเพลงรัว 3 วิธีปฏิบัติ กวาง ขโยกเท้า รับดอกศร กระทบขาขวา มือทั้งสองจับดอกศรระดับอก พระราม ก้าวข้างเท้าขวา มือทั้งสองรวมไว้ระดับอก โดยมือขวาถือคันศร มือซ้ายตั้งวงหน้า เอียง ซ้าย ภาพที่......ท่าเพลงรัว 3
27 5.4 ท่าเพลงรัว 4 วิธีปฏิบัติ กวาง รับดอกศร กระทบขาซ้าย มือทั้งสองจับดอกศรระดับอก พระราม วิ่งหมุนตัวทางขวา ก้าวข้างเท้าซ้าย มือขวาจับคันศรระดับวงบน มือซ้ายส่งจีบหลัง เอียงขวา ภาพที่......ท่าเพลงรัว 4 5.5 ท่าเพลงรัว 5 วิธีปฏิบัติ กวาง หายเข้าหลังเวที พระราม ยืนพักเท้าขวา มือซ้ายจับจีบระดับริมฝีกปาก มือขวาจับคันศรระดับวงล่าง เอียงซ้าย จากนั้น ก้าวหน้าเท้าซ้าย มือซ้ายตั้งวงหน้า มือขวาจับคันศรระดับวงบน เอียง ยืด-ยุบ เก็บเท้าเข้าหลังเวที ภาพที่......ท่าเพลงรัว 5
28 สรุป ศิลปะการรำคู่อีกชุดหนึ่งที่มีความงดงาม ทั้งทางด้านบทเพลง ท่ารำ และองค์ประกอบศิลป์อื่น ๆ นั่นคือชุดพระรามตามกวาง เป็นการแสดงที่แทรกอยู่ในนาฏกรรมเรื่องใหญ่ของไทยคือโขนรามเกียรติ์ การแสดงชุดนี้จำเป็นต้องใช้ผู้แสดงที่มีทักษะทางการปฏิบัติท่ารำ เข้าใจจังหวะและทำนองเพลงอย่างดี ดังนั้นเพื่อความเข้าใจอย่างถูกต้องและสร้างประโยชน์ให้กับผู้เรียนควรศึกษาในองค์ประกอบคือ ประวัติชุด การแสดง องค์ประกอบของการแสดง โอกาสที่ใช้แสดง และอธิบายท่ารำพระรามตามกวาง สาระสำคัญ ที่จะนำเสนอเป็นตอนหนึ่งของการแสดงโขนชุดรามเกียรติ์ กล่าวถึง กวางทอง คือ มารีจพระยายักษ์เป็น ลูกของนางกากนาสูร ซึ่งรับพระราชบัญชาของทศกัณฐ์ แปลงกายเป็นกวางทอง มาล่อหลอกให้นางสีดา เกิดความรักใคร่อยากได้ มารีศไม่อยากทำเพราะรู้ว่าพระรามคือนารายณ์อวตาร แม้ทูลทัดทานแต่ทศกัณฐ์ ก็ไม่ฟัง และประกาศว่า ถ้าไม่ไปทำตามคำสั่งก็จะต้องถูกประหารชีวิตพร้อมทั้งลูกเมียด้วย ดังนั้นมารีศจึง ยอมทำตามทั้งที่รู้ว่าต้องไปตาย จึงได้ฝากฝังลูกเมียไว้กับทศกัณฐ์ วันรุ่งขึ้น ทศกัณฐ์ก็ดำเนินการตามแผนที่คิดไว้ ทศกัณฐ์และมารีศทรงรถแล้วขับข้ามสมุทรไปจนใกล้ อาศรมพระราม ที่แม่น้ำโคทาวารี จึงบอกให้มารีศแปลงเป็นกวางทองไปล่อพระราม นางสีดาเห็นกวางทอง สวยงามก็อยากได้จึงให้พระรามไปตามจับกวางทองมาเลี้ยงไว้ที่ศาลา พระรามให้นางสีดากลับไปรออยู่ที่ อาศรมแล้วตนรีบตามกวางไป เมื่อตามทันก็รู้ว่าเป็นกวางปลอมจึงแผลงศรสังหาร ก่อนตาย มารีศร้อง เลียนเสียงพระรามเพื่อล่อพระลักษณ์ให้ออกมาช่วยพระลักษณ์แม้จะรู้ว่ามิใช่เสียงพระรามแต่ก็ถูกนางสีดา ผลักไสให้ออกไปช่วย จำใจต้องทิ้งนาง สีดาไว้ที่อาศรมเพียงลำพัง
29 คำถามทบทวน แบบฝึกหัดที่ 1 เรื่อง ประวัติชุดการแสดง *************************************************************************** คำชี้แจง : ให้นักเรียนตอบคำถามและอธิบายตามสิ่งกำหนดให้ต่อไปนี้ (10 คะแนน) 1. ชุดการแสดงพระรามตามกวางเป็นการแสดงประเภทใด ............................................................................................................................. .......................................... ....................................................................................................................................................................... .............................................................................................................. 2.พระราชบัญชาของทศกัณฐ์ แปลงกายเป็นกวางทองเพื่ออะไร ............................................................................................................................. .......................................... ................................................................................................................................. .................................................................................................................................................... 3.ทำไมมารีศจึงยอมทำตามทศกัณฐ์ …………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………........................................................................ ............................................................................ 4ทำไมพระรามจึงแผลงศรสังหารกวางก่อนตาย. …………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………........................................................................ ............................................................................
30 แบบฝึกหัดที่ 2 เรื่อง องค์ประกอบของการแสดง ********************************************************************** คำชี้แจง : ให้นักเรียนตอบคำถามและอธิบายตามสิ่งกำหนดให้ต่อไปนี้ (10 คะแนน) 1.ให้นักเรียนเขียนเนื้อเพลงพระรามตามกวางมาอย่างละเอียด ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ..................................................... 2. ลักษณะเครื่องแต่งกายของกวางทองและพระรามคือ ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... .....................................................
31 แบบฝึกหัดที่ 3 เรื่อง ท่ารำ ********************************************************************** คำชี้แจง : ให้นักเรียนตอบคำถามและอธิบายตามสิ่งกำหนดให้ต่อไปนี้ (10 คะแนน) 1. อยู่ในเนื้อเพลงอะไรพร้อมอธิบายท่ารำมาอย่างละเอียด ................................................................................................................................................ ....................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................... ............ ....................................................................................................................................................................... ..................................................... 2. เนื้อเพลง รูปทรงกุมภัณฑ์ก็พลันหาย ให้นักเรียนอธิบายท่ารำมาอย่างละเอียด ..................................................................................................... .................................................................. ............................................................................................................................. .......................................... .................................................................................................................................................... ................... ................................................................................................................ ....................................................... ............................................................................................................................. .......................................... .....................................................
32 แบบทดสอบก่อน - หลังเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระนาฏศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ .... เรื่อง ......... รหัสวิชา ............ เวลา ....... นาที คะแนน ......... คะแนน ********************************************************************************** คำชี้แจง : ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดแล้วทำเครื่องหมาย (×) ลงในกระดาษคำตอบ 1. พระรามตามกวางเป็นศิลปะการรำแบบโต ก. รำเดี่ยว ข. รำคู่ ค. รำหมู่ ง. รำวง 2. พระรามตามกวางอยู่ในบทโขนรามเกียรติ์ตอนใด ก. ศึกไมยราพ ข. นารายณ์ปราบนนทก ค. สีดาหาย ง. พระเคลื่อนทัพ 3. พระรามตามกวางมีกระบวนท่ารำแบบใด ก. การไล่ล่าติดตามระหว่างมนุษย์กับสัตว์ ข. การไล่ล่าติดตามระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ ค. การไล่ล่าติตตามระหว่างเทวตากับมนุษย์ ง. การเกี้ยวพาราสีหรือการเข้าพระนาง 4.การแสดงชุดพระรามตามกวาง ผู้แสดงเป็นพระรามใส่ชฎายอดอะไร ก. ยอดหางไก่ ข. ยอดบวช ค. ยอดจีบ ง. ยอดน้ำเต้า 5. ในการแสดงรำคู่ ชุดพระรามตามกวาง ใช่วงตนตรีอะไรในการแสดง ก. วงมโหรี ข. วงเครื่องสาย ค. วงมโหรีเครื่องใหญ่
33 ง. วงปี่พาทย์ 7. รูปทรงกุมภัณฑ์ก็พลันหาย กลายเป็นกวางทองผ่องศรีเรืองรองผ่องสิ้นทั้งอินทรีย์……ควรเดิมข้อความใด ก. ตรงไปยังบรรณศาลา ข. ถูกกวางดิ้นวางวายกลายเป็นมาร ค. สองเนตรนิลรัตน์จัดสาน ง. ทั้งมีต่างขาวพราวหิรัญ 8. "สองเขามุกตาดูวิเศษ........................" บทต่อไปคือตัวเลือกใด ก.เรื่องรองผ่องสิ้นทั้งอินทร์ ข.รูปทรงกุมภัณฑ์ที่พลันหาย ค.สองเนตรนิลรัตน์จัดสาน ง.ตรงไปยังบรรณศาลา 9. "กลายเป็นกวางทองผ่องศรี" บทร้องนี้ควรร้องในทำนองใด ก.ลาวจอย ข.เขมรไล่ควาย ค.แขกไทร ง.แขกระเร็ง 10.ในบทพระรามตามกวางนักเรียนกำลังรำเชิดจานต่อไปจะต้องรบทร้องเพลงใด ก.ลาวกระทบไม้ ข.ทะเลบ้า ค.ม้าย่อง ง.ค้างคาวกินกล้วย
34 กระดาษคำตอบ โรงเรียน......................................................................ปีการศึกษา........................... ชื่อ..........................................................................ชั้น...................เลขที่................ กลุ่มสาระการเรียนรู้.....................วันที่..............เดือน...................พ.ศ.................. ข้อ ก ข ค ง ข้อ ก ข ค ง 1 6 2 7 3 8 4 9 5 10 ประเมินผล เต็ม ได้
35
ก บรรณานุกรม
ข บรรณานุกรม เกศสุริยง. (2561). รำ สืบค้นเมื่อ วันที่ 24 เมษายน 2563 จาก https://www.bloggang.com นาย เศกสรร ครูเศก แสงจินดาวงศ์เมือง (สายวงศ์คำ). (2556). สืบค้นเมื่อ วันที่ 24 เมษายน 2563 จาก https://www.gotoknow.orgนางสาว สุภคินี ปานแป้น. (2560). การคัดเลือกนักแสดง. สืบค้นเมื่อ วันที่ 1 พฤษภาคม 2563 จากhttps://sites.google.com
ค ภาคผนวก
ง ภาคผนวก ก. กระดาษคำตอบ กระดาษคำตอบ โรงเรียน......................................................................ปีการศึกษา........................... ชื่อ..........................................................................ชั้น...................เลขที่................ กลุ่มสาระการเรียนรู้.....................วันที่..............เดือน...................พ.ศ.................. ข้อ ก ข ค ง ข้อ ก ข ค ง 1 x 6 x 2 x 7 x 3 x 8 x 4 x 9 x 5 x 10 x ประเมินผล เต็ม ได้
จ ภาคผนวก ข. เฉลยคำตอบ แบบฝึกหัดที่ 1 เรื่อง ประวัติชุดการแสดง *************************************************************************** คำชี้แจง : ให้นักเรียนตอบคำถามและอธิบายตามสิ่งกำหนดให้ต่อไปนี้ (10 คะแนน) 1. ชุดการแสดงพระรามตามกวางเป็นการแสดงประเภทใด โขนชุดรามเกียรติ์ กล่าวถึง กวางทอง 2. พระราชบัญชาของทศกัณฐ์ แปลงกายเป็นกวางทองเพื่ออะไร มาล่อหลอกให้นางสีดาเกิดความรักใคร่อยากได้ 3. ทำไมมารีศจึงยอมทำตามทศกัณฐ์ ทศกัณฐ์ได้ประกาศว่าถ้าไม่ไปทำตามคำสั่งก็จะต้องถูกประหารชีวิตพร้อมทั้งลูกเมียด้วย 4. ทำไมพระรามจึงแผลงศรสังหารกวางก่อนตาย รู้ว่าเป็นกวางปลอม
ฉ แบบฝึกหัดที่ 2 เรื่อง องค์ประกอบของการแสดง ********************************************************************** คำชี้แจง : ให้นักเรียนตอบคำถามและอธิบายตามสิ่งกำหนดให้ต่อไปนี้ (10 คะแนน) 1. ให้นักเรียนเขียนเนื้อเพลงพระรามตามกวางมาอย่างละเอียด รูปทรงกุมภัณฑ์ก็พลันหาย กลายเป็นกวางทองผ่องศรี เรืองรองผ่องสิ้นทั้งอินทรีย์ ทั้งมีด่างขาวพราวหิรัญ สองเขามุกดาดูวิเศษ สองเนตรนิลรัตน์จัดสาน ทำทีเยื้องกรายพรายพรรณ ตรงไปยังบรรณศาลา ราเมศร์ตามติดชิดกระชั้น กวางผันล่อเล่นเผ่นผยอง ธ ยั้ง กวางเยื้องชำเลืองมอง โลดลำพองเหยาะย่อล่อรามินทร์ พระแลเล็งเพ่งพิศผิดสังเกต ทรงเดชจับศรศาสตร์พาดคันศิลป์ น้าวเหนี่ยวด้วยพลังทั้งกายิน ถูกกวางดิ้นวางวายกลายเป็นมาร 2. ลักษณะเครื่องแต่งกายของกวางทองและพระรามคือ ของพระราม แต่งกายยืนเครื่องพระ สีเขียวขลิบแดงแขนยาว สไบกรองสีทองห่มทับเสื้อ สวมชฎายอด บวช ของกวางทอง แต่งกายยืนเครื่องพระ สีเหลืองทองมีทั้งเสื้อแขนสั้นและแขนยาว สวมศีรษะกวาง ประดับเขา อุบะดอกไม้ทัดขวา
ช แบบฝึกหัดที่ 3 เรื่อง ท่ารำ ********************************************************************** คำชี้แจง : ให้นักเรียนตอบคำถามและอธิบายตามสิ่งกำหนดให้ต่อไปนี้ (10 คะแนน) 1. อยู่ในเนื้อเพลงอะไรพร้อมอธิบายท่ารำมาอย่างละเอียด ทั้งมีด่างขาว วิธีปฏิบัติ “ทั้งมี” เบี่ยงตัวทางขวา ก้าวข้างเท้าซ้าย มือซ้ายตั้งวงบน มือขวาจีบปรกข้างม้วนมือจีบ เอียง ขวา พร้อมกับซอยเท้าหมุนตัวเบี่ยงตัวทางซ้าย “ด่างขาว”ก้าวข้างเท้าขวา มือขวาตั้งวงบน มือซ้ายจีบปรกข้างม้วนมือจีบ เอียงซ้าย พร้อมกับ ซอยเท้าหมุนตัวทางขวา 2.เนื้อเพลง รูปทรงกุมภัณฑ์ก็พลันหาย ให้นักเรียนอธิบายท่ารำมาอย่างละเอียด รูปทรง” เบี่ยงตัวทางขวา ก้าวหน้าเท้าซ้าย พร้อมกับวาดมือทั้งสองผ่านลำตัว “กุมภัณฑ์” หันตัวมา หน้าตรง ก้าวข้างเท้าขวา มือทั้งสองล่อแก้ววงล่าง หน้าตรง แล้วสืบเท้าพักเท้าขวา
ซ ภาคผนวก ค. ประวัติและประสบการณ์ผู้เขียน