The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by suneesunee.1991, 2023-01-24 12:30:33

E-book

E-book

แนวคิดและทฤษฎีทางสังคม


ก คำนำ ตำราเล่มนี้เขียนขึ้นเพื่อใช้เป็นตำราประกอบการเรียนรายวิชา PC256202 ปรัชญาการศึกษา ผู้เขียนได้ ศึกษาค้นคว้า และเรียบเรียงจากตำรา บทความ เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับปรัชญาการศึกษา โดยมี จุดมุ่งหมายเพื่อผู้เรียน มีความรู้ ความเข้าใจ ตลอดจนประยุกต์ใช้ความรู้ทั้งทางทฤษฎี และวิธีปฏิบัติ พร้อมทั้ง ยกตัวอย่างประกอบ เพื่อให้เกิดความเข้าใจยิ่งขึ้น เนื้อหาของตำราเล่มนี้มีขอบเขต โดยแบ่งเนื้อหาออกเป็น 18 เรื่อง ประกอบด้วย ความหมายของแนวคิด ทางสังคม ความหมายของทฤษฎี ความหมายของทฤษฎีทางสังคม ประเภทของแนวคิดทางสังคม ตัวอย่างความคิด ทางสังคม ความหมายของทฤษฎีสังคมวิทยา เปรียบเทียบทฤษฎีสังคมวิทยากับทฤษฎีสังคม ประเภทของทฤษฎี สังคมวิทยา ความหมายของความคิดทางสังคม ประวัติความเป็นมาของสังคมวิทยา ลักษณะทฤษฎีสังคมวิทยา องค์ประกอบทางทฤษฎีสังคมวิทยา ขนาดของทฤษฎีสังคมวิทยา ความเป็นมาของสังคมวิทยา ขอบเขตของสังคม วิทยา จุดมุ่งหมายของสังคมวิทยา แนวการใช้ประโยชน์จากทฤษฎีสังคมวิทยา ประโยชน์ทั่วไปของแนวคิดทฤษฎี ทางสังคมวิทยา 17 มกราคม 2566


ข สารบัญ เรื่อง หน้า คำนำ ก สารบัญ ข สารบัญภาพ ค บทที่ 5 แนวคิดและทฤษฎีทางสังคม ความหมายของแนวคิดทางสังคม 1 ความหมายของทฤษฎี 1 ความหมายของทฤษฎีทางสังคม 1 ประเภทของแนวคิดทางสังคม 2 ตัวอย่างความคิดทางสังคม 3 ความหมายทฤษฎีสังคมวิทยา 3 การเปรียบเทียบทฤษฎีสังคมวิทยากับทฤษฎีสังคม 4 ประเภทของทฤษฎีสังคมวิทยา 5 ความหมายของความคิดทางสังคม 5 ประวัติความเป็นมาของสังคมวิทยา 6 ลักษณะทฤษฎีสังคมวิทยา 6 องค์ประกอบทางทฤษฎีสังคมวิทยา 7 ขนาดของทฤษฎีสังคมวิทยา 8 ความเป็นมาของสังคมวิทยา 9 ขอบเขตของสังคมวิทยา 10 จุดมุ่งหมายของสังคมวิทยา 10 แนวการใช้ประโยชน์จากทฤษฎีสังคมวิทยา 10 ประโยชน์ทั่วไปของแนวคิดทฤษฎีทางสังคมวิทยา 11 บทสรุป 11 คำถามทบทวน 11 บรรณานุกรม ง


ค สารบัญภาพ เรื่อง หน้า ภาพประกอบที่ 1 ความคิดพื้นฐานของทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม 4 ภาพประกอบที่ 2 ทฤษฎีสังคมวิทยาและมนุษย์วิทยา 9 ภาพประกอบที่ 3 ความเป็นมาของสังคมวิทยา 9 ภาพประกอบที่ 4 แนวคิดทฤษฎีสังคมวิทยาและมนุษย์วิทยา 11


บทที่ 5 แนวคิดและทฤษฎีทางสังคม ความหมายของแนวคิดทางสังคม หมายถึง ความคิดของมนุษย์โดยมนุษย์และเพื่อมนุษย์ ความคิดที่มนุษย์ประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมา จะกระทำโดยคนเดียวหรือหลายคนก็ ได้ กรณีที่คิดคนเดียวก็ต้องเป็นที่ยอมรับของผู้อื่นด้วย แม้ไม่ยอมรับทั้งหมดก็อาจยอมรับเพียงบางส่วน ความคิดนั้นจึงคงอยู่ได้ Emory Bogardus ได้ให้ความหมายแนวคิดทางสังคมว่า “เป็นความคิดเกี่ยวกับการสอบถามหรือปัญหาทางสังคมของบุคคล ต่างๆไม่ว่าจะเป็นอดีตหรือปัจจุบัน เป็นการคิดร่วมกันของเพื่อนหรือผู้ที่อยู่ในความสัมพันธ์ เป็นความคิดของแต่ละคนและของกลุ่ม คน ในเรื่องรอบตัวมนุษย์ ซึ่งมนุษย์ของสังคมแต่ละยุคแต่ละสมัยก็ต้องคิด เพื่อหาทางแกปัญหาหรือทำให้ปัญหาบรรเทาลง ความคิดความอ่านที่ได้ประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมาแล้ว และใช้การได้ดี ก็จะได้รับการเก็บรักษาสืบทอดจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง” อาจารย์วราคม ทีสุกะ ให้ความหมายว่า “แนวคิดทางสังคมเป็นความคิดของมนุษย์ เกิดจากการรวมกันเป็นกลุ่มเป็นก้อนของมนุษย์ เป็นเรื่องเกี่ยวกับชีวิตมนุษย์โดยทั่วไป และปัญหาที่ประสบ ความคิดนี้เป็นที่ยอมรับกันในหมู่มนุษย์ ไม่สูญหาย มีการสืบความคิด กันต่อไป” ความหมายของทฤษฎี คำอธิบายสิ่งหนึ่งสิ่งใดหรือเรื่องหนึ่งเรื่องใดสำหรับนักวิทยาศาสตร์ ทฤษฎีจะต้องเป็นคำอธิบายตามหลักเหตุผล แสดงความสัมพันธ์ระหว่างส่วนต่างๆของสิ่งนั้นอย่างมีระบบจนสามารถพยากรณ์สิ่งนั้นในอนาคตได้ ความหมายของทฤษฎีทางสังคม คือ คำอธิบายเรื่องของคนและความสัมพันธ์ระหว่างคนตามหลักเหตุผล และความสัมพันธ์ระหว่างส่วนต่างๆของ คน หรือระหว่างคนต่อคน คนต่อกลุ่ม คนต่อสภาพแวดล้อม อย่างมีระบบจนสามารถพยากรณ์ได้


2 ประเภทของแนวคิดทางสังคม 1.ความคิดเกี่ยวกับจักรวาลเป็นความคิดของคนโบราณเกี่ยวข้องกับลักษณะของสากลจักรวาล และความสัมพันธ์ ระหว่างมนุษย์กับจักรวาล มนุษย์ยุคโบราณสนใจในศาสนา ในจิตและวิญญาณ มีความคิดความเชื่อในเรื่องเทพเจ้า ภูต ผี เทวดา ลัทธิศาสนาต่างๆ เช่น ลัทธิเทพเจ้าองค์เดียว (monotheism) ลัทธิเทพเจ้าหลายองค์ (polytheism) การปกครองโดยสงฆ์ (monotheism) สิ่งเหล่านี้ทำให้มนุษย์เกิดความกลัวและความหวัง อุดมการณ์และการบูชา ยันต์ด้วยชีวิต 2. ความคิดเกี่ยวกับปรัชญา ในขั้นนี้มีระดับความคิดเชิงปัญญาสูงขึ้น แต่ก็ยังเป็นความคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ กับจักรวาลเกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตแต่ไม่เกี่ยวกับศาสนาหรือไม่ใช่ความคิดที่สนองความจำเป็นทาง ศาสนาความเชื่อมนุษย์พยายามลดความคลุมเครือหาความกระจ่างในสิ่งแวดล้อมของจักรวาล เกณฑ์คำอธิบายต่างๆอย่างมีเหตุผลหาเอกภาพจากการเปลี่ยนแปลงและหาแก่นสารในความซับซ้อนมนุษย์ได้ พบว่าในยุคนี้ควรมีการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ เชื่อมั่นในความสามารถของมนุษย์ และรู้ว่าในที่สุดทุกสิ่งจะต้อง แตกดับไปมนุษย์พยายามสร้างความหมายสูงสุดของสิ่งต่างๆอย่างไม่มีอคติตามความรู้ความสามารถที่สูงขึ้น 3. ความคิดเกี่ยวกับตนเอง เมื่อมีความรู้เกี่ยวกับจักรวาลและความรู้ทางปรัชญาเพียงพอแล้ว มนุษย์ก็หวนกลับมา คิดถึงตัวเองคิดถึงบุคลิกลักษณะโครงสร้างและหน้าที่ของการคิดการกระทำหรือการประพฤติปฏิบัติของตนเอง คิดถึงความฉลาด ความโง่ ความจำ ความฝันและสิ่งต่างๆเกี่ยวกับตนเอง ซึ่งเป็นที่มาของวิชาจิตวิทยาสมัยใหม่ 4. ความคิดเกี่ยวกับวัตถุได้แก่ความรู้สึกเกี่ยวกับ หิน ดิน น้ำ อากาศ ซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวมนุษย์ และมนุษย์ จำเป็นต้องรู้จัด เพื่อป้องกันอันตราย หรือใช้ประโยชน์จากสิ่งเหล่านี้ การคิดเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ ทำให้มนุษย์ได้บ่อ ถ่านหิน บ่อน้ำมัน บ่อแก๊ส นำมาปรับปรุงการคมนาคมขนส่ง ความคิดความรู้อันแยบยลของมนุษย์ ทำให้มนุษย์ รู้จักใช้ประโยชน์จากวัตถุต่างๆ สามารถควบคุมธรรมชาติได้ นั่นคือที่มาของความคิดทางวิทยาศาสตร์ ที่ทำให้เกิด ความสะดวกสบาย 5. ความคิดเกี่ยวกับเพื่อนมนุษย์หรือสังคมมนุษย์ในประวัติศาสตร์มนุษย์มีความคิดเกี่ยวกับเพื่อนมนุษย์ในลักษณะ เป็นกลุ่มน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับสัดส่วนที่ทำให้กับเรื่องต่างๆใน 4 ข้อแรก และได้หันมาสนใจเรื่องของเพื่อน มนุษย์เมื่อไม่นานมานี้ โดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่ ความคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ ด้วยกัน ระหว่างมนุษย์กับสังคม ภาระหน้าที่ความผูกพันที่มีต่อเพื่อนมนุษย์ ต่อสังคม ลักษณะของชีวิตสังคม แนวโน้มทางสังคม ปัญหาสังคม หลักการ การศึกษาวิเคราะห์สังคม อันเป็นความคิดพื้นฐานของสังคมศาสตร์ใน สังคมสมัยใหม่


3 ตัวอย่างความคิดทางสังคม 1.ปรัชญาชีวิต สังคมไทยหรือสังคมอื่นความคิดทางสังคมอาจแสดงออกในรูปของปรัชญาชีวิต หมายถึง เป้าหมาย สูงสุดของชีวิต รวมทั้งแนวทางการไปสู่เป้าหมาย สังคมแต่ละสังคมจะมีปรัชญาชีวิตของสังคมด้วยเช่น กรณีของ สังคมไทยปรัชญาชีวิตจะเป็นแบบเรียบง่ายรักอิสระเสรีโอบอ้อมอารีมีศีลธรรม 2.ศาสนา ความคิดทางสังคมดูจากศาสนาประจำชาติ ประจำสังคม สังคมไทยคนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ เรียกว่า พุทธศาสตร์ ครอบคลุมความคิดด้านต่างๆของสังคม ทั้งครอบครัว เศรษฐกิจ การศึกษา หรือการเมืองการ ปกครอง 3.ประวัติศาสตร์เป็นอีกแหล่งหนึ่งที่จะสะท้อนให้เห็นถึงความคิดทางสังคม เป็นข้อมูลที่ประมวลเรื่องราวความ เป็นมาของชนชาตินั้นๆเช่นการจัดชุมชน การทำมาหากิน การปกครองบังคับบัญชา วิธีต่อสู้ การป้องกันการรุกราน 4.วรรณคดีเป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่ให้ข้อมูลทางสังคม เป็นการบันทึกเรื่องราวทั้งที่เป็นลายลักษณ์อักษร และไม่เป็น ลายลักษณ์อักษรเช่นนิทานตำนานจะมีแง่มุมแสดงให้เห็นถึงความละเอียดลออต่างๆ 5.ภูมิปัญญาไทย หรือความรู้พื้นบ้าน ศึกษาได้จากด้านอนามัย สาธารณสุข เช่น ยาสมุนไพร ความรู้เกี่ยวกับ ฤดูกาล เกี่ยวกับต้นไม้ เกี่ยวกับพันธุ์ไม้ การช่างประเภทต่างๆ การรบ การกีฬา 6.สุภาษิต เป็นคติ คำพังเพย ปริศนาคำทาย มีอยู่ในแหล่งต่างๆที่เป็นสังคม ชุมชน ความหมายของทฤษฎีสังคมวิทยา สังคมวิทยาอาจมีได้ทั้งความหมายอย่างกว้าง หรือความหมายอย่างแคบเจาะจง ทฤษฎีสังคมวิทยาทุกทฤษฎี จะต้องมีลักษณะพื้นฐานเดียวกับทฤษฎีสังคม คือ ต้องเป็นคำอธิบายปรากฏการณ์สังคมตามหลักเหตุผล มีระบบ และพยากรณ์ได้ ตัวอย่างทฤษฎีสังคมอย่างกว้าง คือ ทฤษฎีเชิงสังคมวิทยามหภาพ ซึ่งเป็นทฤษฎีเชิงบรรยายความ หากจะพิสูจน์ความจริงก็ต้องนำมาเขียนใหม่ จัดรูป กำหนดสังกัปให้มีจำนวนพอสมควร แสดงความสัมพันธ์ ระหว่างสังกัป แล้วจึงสามารถพิสูจน์ได้ ทฤษฎีสังคมอย่างแคบ คือ ทฤษฎีสมัยใหม่ยังไม่มีจำนวนน้อย มีข้อความ กระทัดรัดชัดเจนพิสูจน์ได้ด้วยหลักฐานประจักษ์เต็มที ตัวอย่าง ถ้ามีคนตั้งแต่สองคนหรือมากกว่ามีการกระทำ ระหว่างกัน ถ้าเขาสามารถพูดคุยกัน เข้าใจกัน ถ้าการกระทำนั้นยืนยาวเป็นเวลา 15 นาที หรือนานกว่านั้นแล้ว กลุ่มขนาดเล็กแบบซึ่งหน้า (face-to-face) ก็เกิดขึ้น ทฤษฎีแบบนี้มีสังกัปจำนวน แสดงความสัมพันธ์ระหว่างสังกัป และคนตามหลักเหตุผล มีระบบสามารถทำนายเหตุการณ์ข้างหน้าได้ความหมายของทฤษฎีสังคมวิทยาจึงหมายถึง คำอธิบายปรากฏการณ์สังคมตามหลักเหตุผล แสดงความสัมพันธ์ ระหว่างองค์ประกอบของปรากฏการณ์นั้นอย่าง มีระบบ จนสามารถพิสูจน์ความจริงนั้นใด


4 เปรียบเทียบทฤษฎีสังคมวิทยากับทฤษฎีสังคม เชิงความเป็นวิทยาศาสตร์ ทฤษฎีสังคมวิทยาจะเน้นลักษณะวิทยาศาสตร์มากกว่า โดยเฉพาะเมื่อทฤษฎีสังคมวิทยา อยู่ในรูปของทฤษฎีทางการ ชิงลักษณะ ทฤษฎีทั้งสองประเภทนี้ต่างก็มีรูปแบบบรรยายและมีขอบข่ายกว้าขวางเหมือนกัน แต่ทฤษฎี สังคมวิทยาจะมุ่งไปที่ลักษณะเล็กกระทัดรัดเป็นรูปแบบที่เหมาะแก่การทดสอบหรือพิสูจน์ความถูกต้องตามแบบ ปฏิบัติของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ เชิงสัมพันธ์ มีความสัมพันธ์ในแง่ที่ว่า ทฤษฎีสังคมวิทยาเป็นส่วนหนึ่งของทฤษฎีสังคม ความรู้สังคมวิทยา เป็นส่วนหนึ่งของความรู้สังคมศาสตร์ แต่ไม่อาจพูดได้ว่าทฤษฎีสังคมทุกทฤษฎีเป็นทฤษฎีสังคมวิทยา ภาพประกอบที่ 1 ความคิดพื้นฐานของทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม


5 ประเภทของทฤษฎีสังคมวิทยา Jack Gibbs แบ่งประเภทโดยยึดรูปลักษณะของทฤษฎีเป็นหลัก โดยแบ่งทฤษฎีสังคมวิทยาออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ประเภทสูตรหรือทางการประเภทรูปแบบบรรยาย Jonathan Turner แบ่งทฤษฎีสังคมวิทยาออกเป็นสำนักคิด 4 สำนักคิดคือ ทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่นิยม ทฤษฎี ขัดแย้งทฤษฎีปริวรรตและทฤษฎีสัญลักษณ์พร้อมกับสำนักคิดที่กำลังก่อสร้างตัวอีกสำนักหนึ่งคือปรากฏการณ์นิยม ใช้วิธีผสมระหว่างสำนักคิดกับประวัติความเป็นมาของความคิดหรือทฤษฎีที่เกิดขึ้นตามลำดับเวลาในประวัติศาสตร์ Paul Reynolds แบ่งทฤษฎีตามเนื้อหาของความเป็นวิทยาศาสตร์ แบ่งทฤษฎีออกเป็น 3 ประเภทคือ กฎ สิ่งที่ พิสูจน์ว่าเป็นความจริงแล้วและกระบวนการตามเหตุ Poloma แบ่งทฤษฎีสังคมวิทยาตามลักษณะของเนื้อหาออกเป็น 3 ประเภท คือ ประเภทธรรมชาติวิทยาหรือ วิทยาศาสตร์ธรรมชาติประเภทมนุษย์ธรรมชาติหรือการตีความ และประเภททฤษฎีประเ ความหมายของความคิดทางสังคม ความคิดทางสังคม คืออะไร ตามคำศัพท์คำว่าทางสังคม หมายถึง (การกระทำ)ของมนุษย์ กับ มนุษย์ และเพื่อ มนุษย์ก่อนจะพูดถึงความคิดทางสังคม ลองพิจารณาคำว่าการกระทำทางสังคม เสียก่อน การกระทำทางสังคม เป็นการกระทำของมนุษย์ นั่นประการหนึ่งหากไม่ใช่การกระทำของมนุษย์ก็จะไม่ใช่การกระทำทางสังคม (การกระทำของสัตว์ไม่ได้อยู่ในขอบข่ายการพูดของเรา) ใช่ว่าการกระทำของมนุษย์ทุกอย่างจะเป็นการกระทำทาง สังคมทั้งหมดก็หาไม่ การกระทำที่จะเป็นการกระทำสังคมจะต้องเป็นการกระทำ ที่มนุษย์ทำกับมนุษย์ เช่น พูดคุย ชกต่อย ยกคิ้ว โบกมือ โดยที่อีกฝ่ายหนึ่งไม่ต้องกระทำตอบก็ได้หรือกระทำตอบก็ได้ (แต่ถ้าเป็นการกระทำตอบจะ เรียกว่าเป็นการกระทำระหว่างกันทางสังคม social interaction หรือ กล่าวอีกนัยหนึ่งการกระทำระหว่างกันทาง สังคมประกอบด้วยการกระทำทางสังคมอย่างน้อยสองประการขึ้นไป) จะเห็นว่าการกระทำทางสังคมประเภทนี้ เป็นการกระทำซึ่งหน้าต่อหน้ามนุษย์อีกคนหนึ่งหรือกลุ่มหนึ่ง นั่นเป็นการกระทำทางสังคมประเภทนี้ เป็นการ กระทำซึ่งหน้าต่อหน้ามนุษย์อีกคนหนึ่งหรือกลุ่มหนึ่งนั้นเป็นประการที่สอง สำหรับประการที่สาม การกระทำทาง สังคมอาจไม่ต้องทำซึ่งหน้าหรือต่อหน้ามนุษย์ก็ได้ เช่น ทำในห้องน้ำมิดชิด ทำในห้องนอนส่วนตัว เป็นต้น หากการ กระทำนั้นกระทำไปโดยมีวัตถุสงค์จะให้เกิดผลกระทบต่อผู้อื่น


6 ประวัติความเป็นมาของสังคมวิทยา 1.การเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 19 การขยายตัวของสังคมเมืองภายหลังจากการปฏิวัติ อุตสาหกรรมทั้งนี้เนื่องมาจากการรอพยพของชาวชนบทสู่ตัวเมืองคนเหล่านี้เปลี่ยนรูปแบบชีวิตใหม่ที่ต่างจาก ประสบการณ์เดิมของตนอย่างมากและไม่อาจปรับการรับรู้ของตนต่อความเป็นจริงในสังคมใหม่ที่เปลี่ยนไปจากเดิม ได้สำหรับในทางการเมืองนั้นก็ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศในยุโรปตะวันตกไปสู่ระบอบ ประชาธิปไตย ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและค่านิยมทางสังคมอย่างใหญ่หลวง อันเป็นมูลเหตุที่คนทั่วไป สนใจจะศึกษาระบบและโครงสร้างของสังคมสมัยปัจจุบัน 2.การแพร่กระจายระหว่างวัฒนธรรมของสังคมในคริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นสมัยของการแสวงหาอาณานิคมอย่าง เต็มที่ โดยเฉพาะการเข้ายึดครองทวีปเอเชียและแอฟริกาของชาวตะวันตก ทำให้เกิดการศึกษาวัฒนธรรมของสังคม อื่นเองอันเป็นมูลให้เกิดวิชามานุษยวิทยาและเป็นพื้นฐานสำคัญของวิชาสังคมวิทยาในสมัยต่อมา 3.การลดบทบาทของสถาบันศาสนาในยุโรปตะวันตก การที่คิดศาสนามีอิทธิพลต่อระบบความคิดเห็นของชาวยุโรป ในสมัยก่อนเท่ากับเป็นการปิดกั้นการศึกษาสังคมด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์จนต่อมาในคิดศตวรรษที่ 19 ข้อห้าม ทางศาสนาเริ่มเสื่อมไปจากความเชื่อถือของประชาชน และเป็นมูลเหตุสำคัญที่ทำให้มนุษย์ได้ศึกษาสังคมหรือ ข้อเท็จจริงที่ได้จากการศึกษาด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ลักษณะทฤษฎีสังคมวิทยา ทฤษฎีสังคมวิทยาไม่ว่าจะเป็นแบบใดจะต้องมีลักษณะจำเฉพาะจำนวนหนึ่ง ลักษณะจำเพาะที่นักสังคมวิทยา ยอมรับกันโดยทั่วไปประกอบด้วย 1.องค์ความรู้ลักษณะประการแรกของทฤษฎีสังคมวิทยาคือ การเป็นองค์ความรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางสังคม กล่าวคือ ทฤษฎีแต่ละทฤษฎีจะประมวลความรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางสังคมทั้งหลาย เช่น กล่าวคือ ประเภท ของความสัมพันธ์องค์ประกอบความสัมพันธ์ลักษณะของความสัมพันธ์ประเภทต่างๆการเกิดขึ้นการดำรงอยู่การ เปลี่ยนแปลงการเสื่อมสลายไปของความสัมพันธ์ทางสังคม เป็นต้น ซึ่งเมื่อรวมกันแล้วก็จะเป็นความรู้เกี่ยวกับสังคม มนุษย์แง่หนึ่งนั่นเอง 2.คำอธิบาย ลักษณะประการที่สองของทฤษฎีสังคมวิทยา คือการเป็นคำอธิบายปรากฏการณ์ทางสังคมด้วย ความสัมพันธ์ทางสังคมคำว่าการอธิบายแสดงว่าเป็นเรื่องการแสดงเหตุผลเรื่องใดๆเช่น อธิบายเรื่องความจน แปลว่า ชี้เหตุที่มาของความยากจน อธิบายเรื่องการฆาตกรรม แปลว่า แสดงเหตุที่เป็นไปได้ที่ทำให้มีการฆาตกรรม ขึ้น อธิบายเรื่องการพัฒนาทางการเมือง แปลว่า ชี้แจงเหตุว่า ความเจริญการงานและเกิดจากอะไร


7 3.ส่วนความหมายของปรากฏการณ์ทางสังคม และความสัมพันธ์ทางสังคมได้กลับมาแล้ว สิ่งที่ควรทำต่อไปก็คือ การอธิบายปรากฏการณ์ทางสังคมเรื่องความสัมพันธ์ทางสังคม หมายความว่าอย่างไร ขอขยายว่าทฤษฎีต่างๆจะ เป็นตัวแสดงเหตุที่มาของปรากฏการณ์ทางสังคม โดยสืบสาวเหตุมาจากความสัมพันธ์ทางสังคม เช่น เนื่องจาก ลักษณะของความสัมพันธ์องค์ประกอบของความสัมพันธ์ขนาดของความสัมพันธ์เป็นต้น 4.ความถูกต้องชั่วคราว ลักษณะทั่วไปประการสุดท้ายที่จะกล่าวไว้ในที่นี้ของทฤษฎีสังคมวิทยา คือ ความถูกต้อง ชั่วคราวหรือคำอธิบายที่กล่าวมาข้างต้นคำว่า ความถูกต้อง หรือ สัจธรรม คือความเป็นจริง ซึ่งความเป็นจริง เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางสังคมและทั่วไป หรือในสังคมใดสังคมหนึ่งที่กล่าวถึง หรือ คำอธิบายเกี่ยวกับ ปรากฎการณ์ทางสังคมด้วยเหตุผลทางความสัมพันธ์ทางสังคม เช่น ทฤษฎีโครงสร้าง-หน้าที่ แสดง โครงสร้างสังคม ของแต่ละสังคมประกอบด้วยสถาบันและองค์การสังคมต่างๆ ทฤษฎีขัดแย้ง กล่าวคือ ความจนเกิดจากการเอารัด เอาเปรียบกันในสังคม เป็นต้น ความจริงเหล่านี้จะคงความเป็นจริงอยู่ได้ชั่วคราว คงเป็นจริงอยู่ตราบเท่าที่ยัง ไม่มี หลักฐานอื่น หรือคำอธิบายอื่นมาหักล้าง ไม่เป็นความจริงถาวร 5.ความเจริญทางวิทยาศาสตร์สืบเนื่องมาจากความเชื่อทางศาสนานั้นรถน้อยลงทำให้มนุษย์เริ่มศึกษาปรากฏการณ์ ทางธรรมชาติอย่างมีระเบียบวิธีและนำไปสู่การพัฒนาความรู้ทางวิทยาศาสตร์อย่างกว้างขวางขึ้น ในลำดับขั้น ต่อมามนุษย์เริ่มนำระเบียบวิธีการศึกษาทางวิทยาศาสตร์มาศึกษาปรากฏการณ์ทางสังคมจึงกล่าวได้ว่าความเจริญ ทางวิทยาศาสตร์เป็นพื้นฐานสำคัญของการเกิดวิชาสังคมวิทยา 6.ปัญหาสังคมและการปฏิรูปสังคมผลของการปฏิวัติอุตสาหกรรมก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการขาดระเบียบของ สังคมอย่างมาก และทำให้คนในสังคมเริ่มตระหนักถึงความสำคัญในการแก้ไขปัญหาสังคมและการจัดสวัสดิการ ทางสังคม ได้มีการเคลื่อนไหวในการปฏิรูปสังคม เพื่อจัดระบบสังคมใหม่ให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ที่เกิดขึ้น เช่น ปัญหาการใช้แรงงานเด็กและสตรีปัญหาที่อยู่อาศัย ปัญหาการศึกษา ปัญหาสาธารณสุข ในทาง การเมืองก็ได้เกิดความเคลื่อนไหวจัดตั้งสหพันธ์กรรมกร การจัดตั้งพรรคการเมืองต่างๆซึ่งเป็นพฤติกรรมทางสังคม ที่ไม่เคยมีมาก่อน องค์ประกอบทางทฤษฎีสังคมวิทยา ทฤษฎีสังคมวิทยาไม่ว่าจะเป็นแบบใดเก่าหรือใหม่ จะมีองค์ประกอบที่สำคัญสองส่วนที่สัมพันธ์กัน คือ สังกัป และประพจน์โดยที่สังกัปที่โยงเข้าด้วยกันอย่างมีเหตุผล ตั้งแต่สองตัวหรือสองคำขึ้นไปก็จะกลายเป็นประพจน์


8 ขนาดของทฤษฎีสังคมวิทยา เพื่อให้ทราบถึงขนาดของทฤษฎีสังคมวิทยาและอาจจะรู้วิวัฒนาการของประเภททฤษฎีด้วย นักสังคมวิทยา ชาวอังกฤษผู้หนึ่งได้แบ่งทฤษฎีสังคมวิทยาออกเป็น 3 ประเภทด้วยกันคือ 1.หลักสากลเชิงประจักษ์ (Empirical generalization) ได้แก่ ทฤษฎีสังคมวิทยาที่ประกอบด้วยประพจน์อย่าง หนึ่ง ซึ่งสร้างขึ้นจากข้อมูลประจักษ์ เช่น อัตราการเกิดของประชากรในสังคมหนึ่งสังคมใดค่อยๆลดลงเมื่อระดับ การเป็นอุตสาหกรรมของสังคมนั้นค่อยๆสูงขึ้น/การลดของอัตราการตายของประชากรในสังคมใดมักจะมาก่อนการ ลดลงของอัตราการเกิดของประชากรในสังคมนั้น 2.ทฤษฎีมัชฌิมพิสัย (Middle-Range Theory) ได้แก่ ทฤษฎีสังคมวิทยาที่ประกอบด้วยหลักสากลภาพเชิง ประจักษ์อย่างน้อยสองหลักสากลภาพด้วยกัน เป็นทฤษฎีขนาดกลางระหว่างทฤษฎีขนาดเล็กที่เรียกว่า หลักสากล ภาพกับทฤษฎีใหญ่ที่เรียกว่า ทฤษฎีสหภาพ Robert Merton เสนอว่าทฤษฎีกับการวิจัยจะต้องเป็นของคู่กัน ทฤษฎีที่ปราศจากการวิจัยเป็นทฤษฎีเลื่อนลอย การวิจัยที่ไร้ทฤษฎีก็ไม่มีหลัก ไม่มีทิศทาง ทฤษฎีขนาดกลางนี้จะ ช่วยให้สามารถทำวิจัยได้ เพราะมีขนาดพอเหมาะ เมื่อทำวิจัยสร้างและพิสูจน์ทฤษฎีขนาดกลางแบบนี้มากๆ ครอบคลุมทุกด้านของสังคม หรือมีจำนวนมากพอแล้วก็อาจสร้างทฤษฎีมหภาพได้ในอนาคต ตัวอย่างของทฤษฎี ขนาดกลางนี้คือการนำเอาหลักสากลสองหลักข้างต้นมารวมกันเป็นทฤษฎีเดียวดังนี้ ประชากรของสังคมที่กำลัง กลายเป็นสังคมอุตสาหกรรมจะขยายตัวอย่างรวดเร็วในระยะแรก หลังจากนั้นแล้วจะค่อยๆคงตัวเมื่ออัตราการตาย และอัตราการเกิดเริ่มลดลง 3.ทฤษฎีมหภาพ (Grand Theory) ได้แก่ ทฤษฎีขนาดใหญ่ครอบคลุมชีวิตสังคมทุกด้าน เป็นทฤษฎีที่มีระดับ แห่งภาวะสากล และความเป็นนามธรรมสูงมาก มีสังกัปและประพจน์หรือสากลภาพต่างๆมากมาย รวมทั้งทฤษฎี ขนาดกลางปะปนอยู่มาก ทฤษฎีประเภทนี้มีลักษณะเป็นการบรรยาย มีคำอธิบายให้เหตุผลประกอบด้วยหลักฐาน ยืนยันความเป็นจริงของทฤษฎี หากจะทำเป็นหลักฐานสากลภาพ หรือประพจน์ จะต้องมาเรียงเสียใหม่ ทฤษฎีมห ภาพอันเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปในหมู่นักสังคมวิทยามีดังนี้ คือ • ทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่นิยม • ทฤษฎีขัดแย้ง • ทฤษฎีปริวรรต • ทฤษฎีการกระทำระหว่างกันโดยใช้สัญลักษณ์ • ทฤษฎีปรากฏการณ


9 ความเป็นมาของสังคมวิทยา กล่าวว่าสังคมวิทยาเกิดขึ้นในปลายคิดศตวรรษที่ 18 ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 ขนาดนั้นโลกมีการเปลี่ยนแปลงทาง สังคมช่วงที่สังคมตะวันตกเรียกว่า ยุคสมัยใหม่ ในช่วงนั้นเกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ทำให้ ระบบของสังคมและเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว เกิดมีโรงงานขึ้นมากมายเกินความเป็นเมืองขึ้นอย่าง รวดเร็วคนส่วนใหญ่จะอยู่ในเมืองมากกว่าอยู่ในชนบท ภาพประกอบที่ 2 ทฤษฎีสังคมวิทยาและมนุษย์วิทยา ภาพประกอบที่ 3 ความเป็นมาของสังคมวิทยา


10 ขอบเขตของสังคมวิทยา สิ่งที่นักสังคมวิทยามุ่งศึกษาและพยายามอธิบายก็คือความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมของมนุษย์กับสิ่งที่เรียกว่า สังคม นักสังคมวิทยามองพฤติกรรมต่างๆของมนุษย์ว่าเป็น“พฤติกรรมทางสังคม”มนุษย์คิดและกระทำภายใต้การ บีบคั้นโดยพลังของกฎเกณฑ์ทางสังคมอันได้แก่ความเชื่อทางศาสนา จารีตประเพณี กฎหมาย ค่านิยมของกลุ่ม และความกดดันทั้งหลายอันมาจากกลุ่มไม่ว่าเป็นกลุ่มเล็กๆที่เราเป็นสมาชิกโดยตรงเช่น ครอบครัวหรือกลุ่มขนาด ใหญ่ เช่น ชุมชน รัฐหรือประเทศนักสังคมวิทยาเห็นว่า“สังคม”เป็นสิ่งที่มีจริงดำรงอยู่ต่างหากจากตัวมนุษย์แต่ละ คน และสามารถมีพลังบังคับควบคุมมนุษย์ได้อย่างกว้างขวางและตลอดเวลา ปรมาจารย์ทางสังคมวิทยาเรียกสิ่งนี้ ว่า “social fact” จุดมุ่งหมายของสังคมวิทยา การอธิบายพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคมเพื่อให้เราได้เข้าใจใน “ธรรมชาติ” ของมนุษย์ในอีกแง่มุมหนึ่ง การอธิบาย พฤติกรรมมนุษย์สามารถทำได้หลายทาง เช่น อธิบายตามหลักความเชื่อทางศาสนาหรืออธิบายโดยใช้สามัญสำนึก ที่เชื่อถือตามๆ กันมา ถูกบ้างผิดบ้างสังคมวิทยามุ่งอธิบายพฤติกรรมมนุษย์โดยใช้หลักทางวิทยาศาสตร์เป็น เครื่องมือค้นหาความจริงจุดมุ่งหมายสูงสุดของวิชาสังคมวิทยาจึงอยู่ที่การพยายามสร้างคำอธิบายหรือทฤษฎีที่เป็น วิทยาศาสตร์เกี่ยวกับพฤติกรรมทางสังคมของมนุษย์ นักสังคมวิทยาพยายามชี้ให้เห็นว่าพฤติกรรมทางสังคมของ มนุษย์มีแบบแผนที่ซ้ำๆกันจนสามารถวางเป็นกฎทั่วไปได้และคาดคะเนได้ แนวการใช้ประโยชน์จากทฤษฎีสังคมวิทยา ในการนำเอาทฤษฎีสังคมวิทยาไปใช้ประโยชน์นั้นควรคำนึงถึงสิ่งใดต่อไปนี้อยู่เสมอ (ก)ใจความสำคัญของแต่ละทฤษฎีที่กล่าวโดยสรุปไว้แล้ว (ข)พยายามใช้ทฤษฎีเหล่านี้เป็นกรอบในการคิดพิจารณาปัญหาสิ่งใดใดโดยสิ่งหนึ่งสิ่งใดหรือตัวแปรตัว หนึ่งตัวใด เป็นตัวแปรตามนั้นคือเรื่องหนึ่งหัวข้อที่เราจะพูดหรือสนทนาแล้วพยายามมองหาสาเหตุหรือตัวแปรเหตุตามเหตุผล ของแต่ละทฤษฎีสาเหตุเหล่านี้ย่อมจะต้องมีหลายอย่างหลายประการ (ค)ควรต้องทำใจเผื่อไว้ด้วยว่าในระดับสนทนานั้นเป็นเพียงการสมมุติจึงอ่ะสมมติไม่ถูกต้องแล้วนำไปสู่ข้อสรุปที่ไม่ ถูกต้องได้การพิสูจน์ทดสอบความถูกต้องแท้จริงตามหลักวิทยาศาสตร์นั้น จะต้องอาศัยข้อมูลสระน้ำมายืนยัน แม่ ข้อมูลสนามเหล่านี้ก็อาจมีข้อบกพร่อง ข้อสรุป หรือแม้ทฤษฎีวิทยาศาสตร์เองก็ไม่ได้ถือเป็นสิ่งอมตะ ยังมีการ เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาหรือสถานที่ ข้อยุติแต่ละครั้งแต่ละข้อล้วนเป็นสิ่งชั่วคราวตามหลักการวิทยาศาสตร์ ใช้ได้เฉพาะคราวนั้นนั้นเกรดตราบที่ยังไม่มีหลักฐานอื่นมาหักล้าง กล่าวไว้เช่นนี้แล้วก็พร้อมที่จะดำเนินไปสู่ขั้น ต่อไป


11 ประโยชน์ทั่วไปของแนวคิดทฤษฎีทางวิทยา 1.ช่วยให้มีความรู้ความเข้าใจสังคมหรือโลกที่เราอาศัยอยู่ได้มากยิ่งขึ้น 2.ช่วยให้เข้าใจถึงพฤติกรรมของมนุษย์ในแง่มุมต่างๆมากขึ้น 3.ช่วยให้เข้าใจถึงสถาบันสังคมต่างๆในสังคม 4.ช่วยให้เข้าใจตนเองมากขึ้น ในเรื่องที่เกี่ยวกับทัศนคติบุคลิกภาพการปฏิบัติตนในสังคมการมองสังคม และเข้าใจ ผู้อื่นได้ดีขึ้น 5.ช่วยให้เข้าถึงปัญหาสังคมได้มากขึ้น . 6.สามารถนำสาส์นนี้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีคุณค่าและมีความหมาย บทสรุป กล่าวโดยสรุปบทนี้เริ่มจากการกำหนดความหมายของทฤษฎีสังคมวิทยาว่าเป็นทฤษฎีวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับ ความสัมพันธ์ทางสังคม มีลักษณะสำคัญ 3 ประการคือ เป็นองค์ความรู้ เป็นคำอธิบายและเป็นข้อความที่ถูกต้อง ชั่วคราว ความหมายของทฤษฎีสังคมวิทยา แสดงให้เป็นลักษณะอันพึงปรารถนาของทฤษฎีประเภทนี้ชี้ให้เห็นการจัด หมวดหมู่ทฤษฎีสังคมวิทยา รวมไปถึงการมองทฤษฎีสังคมวิทยาในแง่ของขนาดอันมีทั้งขนาดเล็ก ขนาดกลางและ ขนาดใหญ่ซึ่งมีอยู่ 5 ทฤษฎีด้วยกัน ภาพประกอบที่ 4 แนวคิดทฤษฎีสังคมวิทยาและมนุษย์วิทยา


12 คำถามทบทวน 1.จากการเปรียบเทียบทฤษฎีสังคมวิทยากับทฤษฎีสังคม มีความแตกต่างกันหรือเหมือนกันอย่างไร พร้อมอธิบาย พอสังเขป 2.อัตราการเกิดของประชากรในสังคมหนึ่งสังคมใดค่อยๆลดลงเมื่อระดับการเป็นอุตสาหกรรมของสังคมนั้นค่อยๆ สูงขึ้น จากข้อความดังกล่าวเป็นขนาดของทฤษฎีสังคมใด 3.แนวคิดและทฤษฎีทางสังคมสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไรบ้าง พร้อมยกตัวอย่างประกอบ 4.ให้นักศึกษาอธิบายความหมายของคำว่า"พฤติกรรมทางสังคม"พอสังเขป 5.ลักษณะจำเพาะที่นักสังคมวิทยายอมรับกันโดยทั่วไปประกอบด้วยอะไรบ้าง พร้อมยกตัวอย่างประกอบ 6.ให้นักศึกษาสรุปประวัติความเป็นมาของสังคมวิทยา พอสังเขป


ง บรรณานุกรม จำนง อดิวัฒนสิทธิ์. (2540). การกระทำทางสังคม. กรุงเทพฯ : ภาควิชาสังคมวิทยาและมนุษย์วิทยาคณะ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. ชนิตา รักษ์พลเมือง. (2532). การศึกษาเพื่อพัฒนาประเทศ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์โอเดียน สโตร์. รุ่ง แก้วแดง. (2541). การศึกษาไทยในเวทีโลก รวมบทความทางการศึกษาในรอบ ปี พ.ศ. 2540-2541. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สุพัตรา สุภาพ. (2533). ความเป็นมาของสังคมวิทยา. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช. พิมพ์ครั้งที่ 11. สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2534). ทฤษฎีสังคมวิทยา. คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. . (2523). หลักสังคม วิทยา. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช. อานนท์ อาภาภิรม ร.บ. สังคมวิทยา. กรุงเทพฯ : แพร่วิทยา. อุบล เสถียรปกิรณกรณ์. (2528). การศึกษาสังคมวิทยา. คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ วิทยาลัยครู นครปฐม. บ้านจอมยุทธ แนวคิดและทฤษฎีทางสังคม. https://www.baanjomyut.com/library_3/extension2/concepts_and_theories_of_socia/index.html (สืบค้นวันที่ 25 พฤศจิกายน 2565)


Click to View FlipBook Version