The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

01A2B5F3-FAB9-4969-A8DF-D69CE73B29AA

01A2B5F3-FAB9-4969-A8DF-D69CE73B29AA

การออกแบบ
เอกสาร


ความหมาย การออกแบบ หมายถึง การรู้จักวางแผนจัดตั้งขั้นตอน และรู้จัก
ของการ เลือกใชวัสดุวิธีการเพื่อทำตามที่ต้องการนั้นโดยให้สอดคล้องกับลักษณะ
ออกแบบ รูปแบบ และคุณสมบัติของวัสดุแต่ละชนิด ตามความคิดสร้างสรรค์และ
การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ขึ้นมา

การออกแบบ หมายถึงการปรับปรุงแบบ ผลงานหรือสิ่งต่าง ๆ ที่มีอยู่
แล้วให้เหมาะสมและดูมีความแปลกใหม่ขึ้น เช่น โต๊ะที่เราทำขึ้นมาใช้เมื่อ
ใชไ้ปนาน ๆ ก็เกิดความเบื่อหน่ายในรูปทรง หรือสี เราก็จัดการปรับปรุง
ให้เป็นรูปแบบใหม่ให้สวยกว่าเดิมทั้งความเหมาะสม ความสะดวกสบายใน
การใช้งานยังคงเหมือนเดิม หรือดีกว่าเดิม เป็นต้น


การออกแบบ(Design) คือศาสตร์
แห่งความคิดและต้องใช้ศิลป์ร่วมด้วย
เป็นการสร้างสรรค์และการแก้ไขปัญหา
ที่มีอยู่เพื่อสนองต่อจุดมุ่งหมายและนำ
กลับมาใช้งานได้อย่างน่าพอใจความน่า
พอใจนั้นแบ่งออกเป็น 3 ข้อหลัก ๆ
ได้ดังนี้


ความสวยงาม เป็นสิ่งแรกที่เราไดส้มผัสก่อน คนเราแต่ละคน
ต่างมีความรับรู้เรื่องความสวยงาม กับความพอใจ ในทั้ง 2
เรื่องนี้ไม่เท่ากัน จึงเป็นสิ่งที่ถกเถียงกันอย่างมากและไม่มี
เกณฑ์ในการตัดสินใด ๆ เป็นตัวที่กำหนด อย่างชัดเจน ดังนั้น
งานที่เราได้มีการจัดองค์ประกอบที่เหมาะสมนั้น ก็จะมองว่า
สวยงามได้เหมือนกัน
มีประโยชน์ใช้สอยที่ดีเป็นเรื่องที่สำคัญมากในงานออกแบบทุก
ประเภท เช่น ถ้าเป็นการออกแบบสิ่งของ เช่น เก้าอี้,โซฟา นั้น จะ
ต้องออกแบบมาให้นั่งสบาย ไม่ปวดเมื่อยถ้าเป็นงานกราฟิก
เช่น งานสื่อสิ่งพิมพ์นั้นตัวหนังสือ จะต้องอ่านง่ายเข้าใจง่าย ถึง
จะได้ชื่อว่าเป็นงานออกแบบที่มีประโยชน์ใช้สอยที่ดีได้


มีแนวความคิดในการออกแบบที่ดีเป็นหนทางความคิด ที่ทำให้
งานออกแบบสามารถตอบสนอง ต่อความรู้สึก พอใจ ชื่นชม มี
คุณค่า บางคนอาจให้ความสำคัญมากหรือน้อย หรืออาจไม่ให้
ความสำคัญเลยก็ได้ ดังนั้น บางคร้ัง ในการออกแบบโดยใช้แนว
ความคิดที่ดี อาจจะทำให้ผลงาน หรือสิ่งที่ออกแบบมีคุณค่ามาก
ขึ้นก็ได้


องค์ประกอบมูลฐานของ
การออกแบบการจัด
องค์ประกอบศิลป์
(Composition)


เป็นการจัดการต่อส่วนประกอบของงานออกแบบหรือ
องค์ประกอบศิลป์นับได้ว่าเป็นหัวใจของงานออกแบบ
สำหรับองค์ประกอบ มูลฐานของงานออกแบบนั้น หมายถึง
สิ่งซึ่งปรากฏแก่สายตารอบ ๆ ตัว โดยผู้ออกแบบสามารถ
นา มาประสมประสานใหเ้กิดเป็นผลงาน

ดังนั้น ผู้ออกแบบจึงจำเป็นต้องศึกษาวิเคราะห์ ถึง
คุณสมบัติและบทบาทขององค์ประกอบมูลฐานต่าง ๆ ให้เกิด
ความเข้าใจอย่างแท้จริงในข้อดี และข้อจำกัดต่าง ๆ เพื่อจะได้นำ
ข้อดีขององค์ประกอบมูลฐานมาใช้กับงานออกแบบอย่างมี
ประสิทธิภาพ และพยายามหลีกเลี่ยงข้อจำกัดขององค์ประกอบ
มูลฐาน


จุด (Dot) จุดเป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่สำคัญสำหรับการออกแบบ เพราะจุดเป็นต้นกำเนิดของเส้น
และน้ำหนักของภาพ
ผู้ออกแบบจะนำจุดมาใชง้านออกแบบสามารถใช้ได้ 3 ลักษณะดังนี้

(1) การวางตำแหน่งของจุดลักษณะกระจายกันในการออกแบบแนวนอน
(2) การวางตำแหน่งของจุดลักษณะเน้นช่องจังหวะเป็นการวางจุดโดยให้พักเป็นระยะ
(3) การวางตาแหน่งของจุดลักษณะเป็นกลุ่มเป็นการทำให้จุดในงานออกแบบเกิดเอกภาพ
สามารถกระทำได้ในลักษณะดังนี้
- การวางจุดหลายขนาดไว้ด้วยกันลักษณะที่เหมือนกันของจุดจะทำใหเ้กิดเอกภาพ
- การใช้จุดขนาดเดียวกัน แต่ใชเ้ส้นเชื่อมโยงเพื่อทำให้จุดเกิดเอกภาพ
- การวางจุดในกรอบภาพโดยใช้จุดเป็นตัวเน้นและกรอบภาพเป็นตวัสร้างเอกภาพ

………….


เส้น (Line) เส้นเกิดจากการเดินทางหรือต่อเนื่องของจุดในลักษณะทิศทางเดียวกันในการออกแบบ
เส้น อาจเกิดจากการลากพู่กัน (Brush Stroke) การขดู ขีดด้วยดินสอ ปากกา ฯลฯ

เส้นนอน (Horizontal Line) เป็นเส้นที่แสดงถึงความรู้สึกสงบนิ่ง กว้างขวาง ผู้ออกแบบ
สามารถนาอิทธิพลของเส้นนอนมาใช้ในการแก้ปัญหาสำหรับการออกแบบเพื่อใหเ้กิดผลตาม
ความต้องการได้

_________________________________________

เส้นตั้ง (VerticalLine) เป็นเส้นที่แสดงถึงความสง่างามความมีระเบียบแข็งแรงผู้ออกแบบ
สามารถนาอิทธิพลของเส้นตั้งมาใชใ้นการออกแบบเพื่อโน้มน้าวความรู้สึกของผู้ดูให้เกิดความ
รู้สึกดังกล่าว


เส้นเฉียง (Diagonal Line) เป็นเส้นที่แสดงถึงความรู้สึกที่เคลื่อนไหว ความไม่แน่นอนและเกิด
ทิศทาง ดังนั้น ผู้ออกแบบย่อมสามารถใช้อิทธิพลจากเส้นเฉียงในงานออกแบบเพื่อให้ผู้ดูเกิดความ
รู้สึกดังกล่าวได้ ตัวอย่าง เช่น ในการออกแบบตัวอักษรซึ่งต้องการแสดงถึงความรู้สึกรวดเร็ว ควร
ใช้ตัวอักษรในแนวเฉียง มากกว่าแนวตั้ง


เส้นโค้ง (Curve Line) เป็นเส้นที่ให้ความรู้สึกอ่อนหวาน นุ่มนวล แสดงถึงความอ่อนน้อม เศร้าโศก

ผู้ออกแบบสามารถนาอิทธิพลของเส้นโคง้มาใชเ้ป็นแกนหลักในการออกแบบเพื่อโน้มน้าวผู้ดูใหเ้กิด

ความรู้สึกดังกล่าวไดใ้นลกัษณะต่อไปนี้
- เส้นโค้ง ครึ่งวงกลม เป็นเส้นรอบรูปของคนที่กำลังเศร้าโศกสิ้นหวังในชีวิตหรือเป็นภาพ

ดวงอาทิตย์กำลังลับขอบฟ้า จึงชักนำให้ผู้ดูเกิดความรู้สึกเศร้าใจได้
- เส้นโค้ง 1/4 ของวงกลม มาจากเส้นกรอบรูปของผู้คนที่กำลังโค้งคำนับหรือโค้งตัวไหว้ จึงก่อ

ใหเ้กิดความนอบน้อมถ่อมตนแก่ผู้ดู
- เส้นโค้ง 1/6 ของวงกลมมาจากลักษณะของต้นหญ้าที่กำลังลู่ลมก่อใหเ้กิดความรู้สึกเริงร่า


เส้นซิกแซก (Zigzag Line) เป็นเส้นซึ่งแสดงความรู้สึกเคลื่อนไหว รุนแรง ไม่แน่นอน ผู้ออกแบบ
สามารถนาอิทธิพลของเส้นซิกแซกมาใชใ้นการออกแบบ เพื่อเสริมสร้างความรู้สึกแก่ผู้ดูได้นอกจากนี้
การใชเ้ส้น ซิกแซกยังสามารถสร้างความรู้สึกได้ว่า เป็นการแบ่งมิติหรือ 9 พื้นที่ของเหตุการณ์ต่างๆ
ในภาพได้ เช่น การใชเ้ส้นสีเทาในงานจิตกรรมไทย จนเป็นสัญลกัษณ์อย่างหนึ่งของงานศิลปกรรม
ไทย

เส้นคลื่น (Wave Line) เป็นเส้นที่ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหวช้า ๆ นิ่มนวลและเป็นจังหวะแก่ผู้พบเห็น นอกจากเส้นที่
กล่าวข้างต้นยังมีเส้นตรง (Straight Line) ที่แสดงถึงความสง่า ความเข้มแข็ง ความเกลี้ยง ความง่าย
ทำใหเ้กิดความรู้สึกมั่นคง แข็งแรง และเส้นประ (Broken Line) ที่แสดงถึงความตื่นเต้น ความไม่เป็นระเบียบ
ความแตกแยก และความสับสน


รูปร่างและรูปทรง (Shape & Form) รูปร่างและรูปทรง เกิดจากเส้นที่เดินทางครบวงจรในการ
ออกแบบกับจะกล่าวถึงรูปร่างและรูปทรงควบคู่กันไป แต่โดยข้อเท็จจริงแล้วรูปร่างจะมี 2 มิติ ได้แก่

ความกว้างกับความยาว ในระนาบแบน เหมือนกับการฉายไฟไปที่วัตถุแล้วเกิดเป็นเงาตกทอดที่ฉาก
ลักษณะของเงานั้น ถือว่า เป็นรูปร่าง ส่วนรูปทรงมี 3 มิติ


แสงและเงา (Light & Shade) แสงและเงา เป็นปัจจัยที่ทำใหผู้ดูเกิดความรู้สึกต่อลักษณะ 3 มิติ ของรูปทรงได้
ช้ัดเจนยิ่งขึ้นในการออกแบบกราฟิกซึ่งกระทาบนวัสดุ 2 มิติผอู้อกแบบสามารถใช้แสงเงาเพื่อเน้นความลึก หรือ
มิติที่สามได้โดยธรรมชาติของแสงย่อมตกกระทบบนผิววัตถุไม่เท่ากัน ด้านที่ได้รับแสงจะมีความจ้า ส่วนด้านที่ตรง
ข้ามจะมีน้ำหนักมืดลงตามลำดับที่เรามองเห็นวัตถุได้นั้นเป็นผลมาจากการที่มีแสงสว่างมากระทบกับวัตถุ ทำให้
เกิดเป็นบริเวณสว่าง และบริเวณมืด โดยบริเวณสว่างและบริเวณมืดจะค่อย ๆ กระจายค่าน้ำหนัก (Tone) ความ
อ่อนแก่อย่างกลมกลืนปรากฏเป็นปริมาตรของรูปทรงวัตถุ ดังนั้น แสงและเงาจึงเกี่ยวข้องโดยตรงกับน้ำหนัก
อย่างเหมาะสมไปทั่วภาพ โดยเกือบไม่คำนึงถึงปริมาตรของรูปทรง เน้นความใกล้ไกล ลึกตื้น ด้วยบรรยากาศ ของ
น้ำหนัก แต่อยา่งไรก็ตามในทางศิลปะการให้แสงและเงาที่ถือว่ามีคุณค่าทางความงามมากที่สุด


สี (Color) สีเป็นองค์ประกอบมูลฐานที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึกและการรับรู้ของผูดู้เป็นอย่างยิ่งถ้าเปรียบ
เทียบระหวา่งภาพสีกับภาพขาวดำ จะพบวา่มีภาพสีย่อมแสดงความแตกต่างและให้รายละเอียดแก่ผู้ดูได้ดี
กว่าภาพขาวดำ

สีแดง ให้ความรู้สึกร้อนอันตราย
สีส้ม ให้ความรู้สึกสว่าง อบอุ่น
สีเลือดหมู ให้ความรู้สึกสง่า หนักแน่น
สีน้าตาล ให้ความรู้สึกเก่าแก่ ถ่อมตน


สีเหลือง ให้ความรู้สึกสดใส งอกงาม

สีน้ำเงิน ให้ความรู้สึกสงบ จริงจัง
สีม่วง ให้ความรู้สึกหนักแน่น
สีดำ ให้ความรู้สึกหดหู่เศร้า
สีขาว ให้ความรู้สึกบริสุทธิ์สะอาด

ลักษณะพื้นผิว (Texture) ลักษณะพื้นผิว หมายถึง ความรู้สึกในการจำแนกความเรียบ หรือความขรุขระ
ของผิววตัตถุจากการสัมผัสทางสายตาลลักษณะพื้นผิวที่มีความแตกต่างกันย่อมเร้าให้ผู้ดูเกิดความสนใจ
ความแปลกตา ไม่น่าเบื่อหน่าย เช่น ผนังอาคารที่มี ลักษณะเรียบย่อมไม่สร้างความน่าสนใจแก่ผู้ดู แต่
สถาปนิก ออกแบบโดยใช้พื้นผิวที่มีความแตกต่างกัน


หลักการจัดวาง
ส่วนประกอบในการ
ออกแบบ


การเน้นจุดแห่งความสนใจ(EMPHASIS)การสร้างจุดแห่งความสนใจให้เกิดขึ้นใน
งานออกแบบ โดยการกำหนดบริเวณใดบริเวณหนึ่งในภาพที่เหมาะสม ให้มีลักษณะ
พิเศษกว่าบริเวณอื่นเพื่อใช้เป็นเครื่องดึงดูด ความสนใจแก่ผู้ดูงานออกแบบที่ขาด
การเน้น จะไม่สามารถหยุด ผู้ดูให้มีความสนใจต่องานออกแบบได้
ความมีเอกภาพ (UNITY)การจัดวางองค์ประกอบให้มีการรวมตัวเป็นอันหนึ่งอัน
เดียวกัน โดยไม่แตกแยก กระจัดกระจาย งานออกแบบที่ขาดเอกภาพจะทำให้ผู้ดู
เกิดความรู้สึกแตกแยกและไม่น่าสนใจ การสร้างเอกภาพ
จังหวะ (RHYTHM)ลักษณะของจงัหวะในการจัดภาพ
ความกลมกลืน (HARMONY)ความกลมกลืนเป็นการจัดวางองค์ประกอบ ทาง
ศิลปะซึ่งมีคุณสมบัติใกล้เคียงกันเข้าไว้ด้วยกันอย่างพอเหมาะ ทำให้งานออกแบบ
นั้นเกิดความประสานกลมกลืน มีความเป็นระเบียบ และนำไปสู่ความมีเอกภาพ แต่
ในบางกรณีถ้าหากความกลมกลืนมาจากสิ่งที่ซ้ำกัน เหมือนกัน หรือเท่ากัน มากเกิน
ไปอาจทำให้เกิดความน่าเบื่อได้


ความขัดแย้ง (CONTRAST) ความขัดแย้งเป็นการจัดวางส่วนประกอบมูลฐาน
ของการออกแบบ ไม่ให้ช้ำซากกัน เช่น มีรูปร่าง สี ที่แตกต่างกัน ซึ่งความขัดแย้งจะ
ตรงข้ามกับ ความกลมกลืน และมีคุณค่าในงาน ออกแบบของศิลปะและสิ่งพิมพ์
สัดส่วน (PROPORTION) ในการออกแบบถือได้ว่าสัดส่วนมีความสำคัญมาก โดย
สัดส่วนเป็น กฎเกณฑ์ของเอกภาพที่เกี่ยวข้องกับความสมส่วนซึ่งกันและกันของ
ขนาดในส่วนต่าง ๆ ของรูปทรง และ ระหว่างรูปทรง
ความเรียบง่าย (SIMPLICITY) การวางองค์ประกอบในการจัดภาพ ควรเน้นที่
ความเรียบง่าย ไม่รกรุงรัง พบวา่ มีความแตกต่างของงานออกแบบในสมยัโบราณ
กับงานออกแบบสมัยใหม่


หลักการออกแบบที่ดี


ควรจะเป็นการออกแบบที่มีลักษณะเหมาะสมตรงกับความมุ่งหมายตาม
ประโยชน์ใช้สอย มีความกลมกลืนตามหลักเกณฑ์ความงามของสังคม และความ
สามารถปรับปรุง เปลี่ยนแปลงได้
ควรเป็นการออกแบบที่มีลักษณะง่าย มีจำนวนผลิตผลตามความต้องการของ
สังคมและ มีกระบวนการผลิตไม่ยุ่งยากสลับซับซ้อน
ควรจะมีสัดส่วนที่ดีมีความกลมกลืนกันทั้งส่วนรวม เช่น รูปแบบ ลักษณะผิว
เส้น สี เป็นต้น และมีสัดส่วนที่เหมาะสมในการใช้งานด้วย
ควรมีความเหมาะสมกับวัสดุและวิธีการ มีคุณภาพ มีวิธีการใช้ง่ายสะดวก
สามารถผลิตได้ตรง ตามความต้องการของสังคมปัจจุบัน
ควรมีลักษณะของการตกแต่งอย่างพอดี ไม่รกรุงรัง
ควรมีโครงสร้างที่เหมาะสมกลมกลืนกับวัฒนธรรม และความต้องการของ
สังคม
ไม่ควรสิ้นเปลืองเวลามากนัก


หน้าที่และประโยชน์
ของการออกแบบ
ด้วยเทคโนโลย


คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบมีหน้าที่สำคัญ 2 ประการ
ประการแรกคือ อำนวยความสะดวก ในการเขียนแบบ (drafting)
ของชิ้นงานที่ต้องการบนจอภาพ การใช้คอมพิวเตอร์ในการออกแบบ
จะตัดความยุ่งยาก ในการเขียนแบบบนกระดาษด้วยมือ ซึ่งเป็นงานที่
ละเอียด ต้องการความสามารถสูงและกินเวลานานออกไป

หน้าที่สำคัญประการที่ 2 ของคอมพิวเตอร์ในงานออกแบบ
ไดแ้ก่การจำลอง (simulation) สภาพการทำงานจริง ของชิ้นงานที่
ได้ออกแบบไวใ้นสภาวะต่าง ๆ เพื่อศึกษารายละเอียดของชิ้นงาน
และวิเคราะห์หาประสิทธิภาพ และคุณภาพของชิ้นงานนั้น โดยที่ผอู้
อกแบบไม่จำเป็นต้องสร้างชิ้นงานต้นแบบ (prototype) ขึ้นมาทดล
องจริง ๆ นอกจากนั้นคอมพิวเตอร์ยังช่วยประหยัดเวลา ในการ
คำนวณค่าต่าง ๆ ที่ต้องการได้ด้วย


ประโยชน์ของการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ
สรุปได้เป็น 4 ประการ

เพิ่มประสิทธิภาพในการออกแบบ ในการเขียนแบบ คอมพิวเตอร์
สามารถช่วยผู้ใช้วาดรูปต่าง ๆ บนจอภาพได้อย่างรวดเร็ว และ
ง่ายดาย ผู้ใช้ที่ไม่มีฝีมือในด้านการเขียนแบบก็สามารถวาดแบบที่
ต้องการได้อย่างถูกต้อง และได้มาตรฐาน

เพิ่มคุณภาพของงานออกแบบ การที่คอมพิวเตอร์สามารถรับภาวะทางด้านการ
คำนวณตัวเลขต่าง ๆ การแสดงผล และการเขียนแบบ ไปจากผู้ออกแบบได้ ทำให้ผู้
ออกแบบสามารถใช้สมองและความสามารถของตนเองทำงาน ในส่วนที่สำคัญอื่น ๆ เช่น
ความปลอดภัย ความสวยงาม ผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมใหไ้ด้ดียิ่งข้ึน


ลดต้นทุนการออกแบบและการผลิตการออกแบบโดยใช้คอมพิวเตอร์
ช่วยเป็นการออกแบบที่ไม่สิ้นเปลืองทั้งวัสดุและเวลา เพราะ คอมพิวเตอร์
สามารถจำลองการทำงาน หรือวิเคราะห์งานออกแบบใหไ้ด้โดยผู้ออกแบบ
ไม่ต้องสร้างชิ้นงาน ต้นแบบขึ้นมาทดสอบจริง ๆ

เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลต่างๆในการออกแบบ ตามปกติงานออกแบบโดยทั่ว ไป
เมื่อทำเสร็จแลรายังสามารถนำข้อมูลมาใชใ้นการออกแบบ คร้ังต่อไปได้ความ
ต้องการ หรือความสนใจของสังคมมนุษย์มักจะเปลี่ยนไปตามกาลเวลา และ
เทคโนโลยี เป็นไปไม่ได้ที่เราจะออกแบบเพียงคร้ังเดียวแล้วได้ชิ้นงานที่ดีและเหมาะ
สมที่สุด จนไม่ต้องแก้ไขหรือออกแบบ ใหม่ในภายหลัง ของที่ดีและสวยที่สุดใน
ปัจจุบัน อาจจะล้าสมัย และไม่น่าดูในอีกไม่กี่ปี ข้างหน้าก็ได้ด้วยนั้นเหตุการ
ออกแบบชิ้นงาน แต่ละชิ้นงาน แต่ละประเภทจะต้องเกิดขึ้นซ้า แล้วซ้า อีก


จบการนำเสนอ


Click to View FlipBook Version