The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสมุทรสาคร

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ann.fogus2558, 2022-12-01 04:33:23

ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสมุทรสาคร

ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสมุทรสาคร

ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง
สมุทรสาคร

คำนำ

E-book ฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของวิชา GE365 ศาลเจ้าและการไหว้
เจ้าของชาวจีนในประเทศไทย เพื่อศึกษาหาความรู้ในเรื่องราวของศาลเจ้าพ่อหลักเมือง
สมุทรสาคร โดยได้ศึกษาผ่านแหล่งความรู้ต่างๆ อาทิเช่น แหล่งความรู้จากเว็บไซต์ต่างๆ

โดยคณะผู้จัดทำคาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการจัดทำ E-book ฉบับนี้จะมีข้อมูลที่เป็น

ประ

โยชน์ต่อผู้สนใจศึกษาศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสมุทรสาครเป็นอย่างดี คณะผู้จัดทำ

15 พฤศจิกายน 2565

สารบัญ หน้า
1
เรื่อง 2
ข้อมูลทั่วไป 4
ประวัติความเป็นมา 5
เจ้าพ่อหลักเมืองสมุทรสาคร 7
สิ่งศักดิ์สิทธิ์อื่ นๆ 8
เสาหลักเมืองสมุทรสาคร 9
ศาลพระสังกัจจายน์
ประเพณีแห่เจ้าพ่อหลักเมือง 11
แม่น้ำท่าจีน 12
บรรณานุกรรม

ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสมุทรสาคร   |    1

ที่มา: นางสาวพุธิตา เกิดสุคนธ์

ข้อมูลทั่วไป

ที่อยู่: สวนสุขภาพ60พรรษามหาราชินี 182/560 ซอย สุขาภิบาล ตำบลมหาชัย
อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร 74000

วิธีการเดินทาง: หากเดินทางจากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 35 ใกล้ถึงตัว
เมืองสมุทรสาครต้องออกช่องคู่ขนาน จากนั้นเลี้ยวซ้ายเข้าเมืองตามถนนเศรษฐกิจ จาก
นั้นตรงไปจนถึงท่าน้ำจะมีทางเลี้ยวขวาเลียบแม่น้ำก็ถึงศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสมุทรสาครได้
โดยง่าย

เวลาทำการ: 6:00–20:00
โทรศัพท์: 034 425 150

ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสมุทรสาคร   |    2

ที่มา: นางสาวพุธิตา เกิดสุคนธ์

ประวัติความเป็นมา

ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสมุทรสาคร มีชื่อเดิมที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระราชทานนามว่า “ศาลเทพเจ้าจอมเมือง” ตั้งอยู่บริเวณต้นศรีมหาโพธิ์ ด้านหลังที่
ว่าการอำเภอเมืองหลังเก่า ภายในบริเวณป้อมวิเชียรโชฎก ในปัจจุบันศาลเจ้าหลังดังกล่าว
ไม่ปรากฏร่องรอยเหลืออยู่แล้ว การเริ่มสร้างศาลหลักเมืองสมุทรสาครแทนศาลเดิมได้เกิด
ขึ้นประมาณ พ.ศ.2560-2561 โดยพระยาสาครคณาถิรักษ์ เจ้าเมืองสมุทรสาคร หลวง
อนุรักษ์ผดุงนายอำเภอเมืองสมุทรสาครและขุนสมุทรมณีรัตน์ กำนันตำบลท่าฉลอม ได้
ดำเนินการบอกบุญขอบริจาคจากผู้มีจิตศรัทธาจนสามารถรวบรวมเงินทุนสร้างศาลขึ้นมา
ใหม่ ตามแบบที่ขอมาจากกรมศิลปากร แต่การก่อสร้างศาลครั้งนั้นไม่สำเร็จสมบูรณ์ยัง
ขาดช่อฟ้าใบระกา เนื่ องจากเงินทุนที่ประชาชนบริจาคไม่เพียงพอ ดังนั้นอีกสองปีต่อมาขุน
สมุทรมณีรัตน์ ขุนเชิดมหาชัยและนายยงกุ่ย หทัยธรรมทั้งสามท่านจึงร่วมกันออกเงินส่วน
ที่เหลือจนสร้างศาลเสร็จเรียบร้อยเมื่อการก่อสร้างศาลเสร็จสมบูรณ์แล้ว ทางราชการ

ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสมุทรสาคร   |    3

ที่มา: นางสาวพุธิตา เกิดสุคนธ์

ให้ขุนสมุทรมณีรัตน์เป็นประธาน ประกอบด้วยกรรมการจากฝ่ายราชการ พ่อค้า คหบดี ใน
จังหวัดสมุทรสาคร เป็นผู้ควบคุมดูแลกิจการของศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสมุทรสาคร

กล่าวกันว่าในสมัยนั้นมีการพบแผ่นไม้แกะสลักคล้ายเทวรักษ์ลอยน้ำมาขึ้นที่คลองลัด
ป้อมใกล้กับป้อมวิเชียรโชฎกไม่ไกลจากที่ตั้งศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสมุทรสาครในปัจจุบัน
มากนัก ชาวบ้านจึงอันเชิญไปประดิษฐานไว้บนตลิ่ง จากนั้นจึงสร้างเพิงหลังคามุงจากหลัง
เล็กๆ ให้ผู้คนที่ผ่านไปมาทั้งทางน้ำและทางบกได้สักการะบูชา เมื่อมีผู้มาบูชาบนบานศาล
กล่าว ปรากฏว่ามีหลายคนประสบความสำเร็จสมหวังจนเป็นที่เลื่ องลือของชาวบ้าน ต่อมา
ได้พร้อมใจกันสร้างศาลเจ้าขนาดใหญ่ขึ้นตรงบริเวณเมืองเก่า ซึ่งใช้เป็นป้อมปราการริมน้ำ
ในสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยป้อมแห่งนี้มีพระวิเชียรโชตินายทหารใหญ่เจ้าเมืองสาครบุรีเป็น
ผู้ปกครองและบังคับบัญชาป้อม ต่อมาเมื่อท่านเจ้าเมืองเสียชีวิตชาวบ้านเล่าว่าวิญญาณ
ของท่านมาสถิต ณ ศาลตรงป้อมปราการแห่งนี้ด้วย

ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสมุทรสาคร   |    4

ที่มา: นางสาวพุธิตา เกิดสุคนธ์

เจ้าพ่อหลักเมืองสมุทรสาคร

เจ้าพ่อหลักเมืองสมุทรสาครหรือเจ้าพ่อวิเชียรโชติ แกะสลักด้วยไม้โพธิ์ มีลักษณะ
คล้ายองค์พระสยามเทวาธิราช อยู่ในท่าประทับมือบนเกี้ยว ซึ่งแกะสลักลวดลายงดงาม
วิจิตรและ
ปิดทองคำเปลวบริสุทธิ์ทับไปอีกชั้นหนึ่ง มีความสูงประมาณ 1 ศอกเศษประดิษฐานอยู่ในศาล
เจ้าพ่อหลักเมืองสมุทรสาคร เป็นที่เคารพสักการะของชาวสมุทรสาครและจังหวัดใกล้เคียง
เปรียบเสมือนศูนย์รวมจิตใจของประชาชน โดยเฉพาะชาวประมงและคนไทยเชื้อสายจีนจะมี
ความเชื่อถือศรัทธามาก ก่อนออกเรือหาปลาทุกครั้งจะต้องมีการจุดประทัดเป็นการเซ่นไหว้
สักการะทุกครั้ง

ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสมุทรสาคร   |    5

ที่มา: นางสาวพุธิตา เกิดสุคนธ์

สิ่งศักดิ์สิทธิ์อื่ นๆ

ด้านซ้ายมือมีหลวงปู่ทวดอยู่ด้านหน้าและพระพุทธรูปอีก 2 องค์อยู่ในซุ้มด้านหลัง

ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสมุทรสาคร   |    6

ที่มา: นางสาวพุธิตา เกิดสุคนธ์

ด้านขวามือของเราจะมีพระพุทธรูปหลวงพ่อโสธรตั้งอยู่ด้านหน้า ด้านหลังจะมีองค์
จตุคาม-รามเทพ พระสังกัจจายน์

ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสมุทรสาคร   |    7

ที่มา: นางสาวพุธิตา เกิดสุคนธ์

เสาหลักเมืองสมุทรสาคร

ตั้งอยู่บริเวณข้างหลังศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสมุทรสาคร โดยเสาหลักเมืองสมุทรสาคร
เป็นเสาหลักเมืองที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ตั้งอยู่ในซุ้มทรงจัตุรมุขยอดปรางค์บนฐาน
สูงขึ้นไป มีบันไดขึ้นลง 3 ด้าน

ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสมุทรสาคร   |    8

ที่มา: นางสาวพุธิตา เกิดสุคนธ์

ศาลพระสังกัจจายน์

อยู่ด้านหลังของเสาหลักเมืองที่เป็นทรงจัตุรมุข เหตุที่สร้างบันไดทางขึ้นลงเพียง 3
ด้านเพราะด้านหลังเป็นที่ตั้งของศาลพระสังกัจจายน์ มีประตูกระจกใสกั้น

ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสมุทรสาคร   |    9

ที่มา: http://www.visitsk.org/?p=10095

ประเพณีแห่เจ้าพ่อหลักเมือง

จัดขึ้ นในเดื อนมิถุนายนของทุกปีบริเวณริมเขื่ อนศาลเจ้าพ่อหลักเมืองโดยจะอั ญเชิญ
ไปประทับเกี้ยวลงเรือประมงประดับธงทิวอย่างสวยงาม แล้วแห่ไปตามแม่น้ำท่าจีนจากตลาด
มหาชัยไปฝั่ งท่าฉลอมบริเวณวัดสุวรรณารามและอัญเชิญไปจนถึงวัดช่องลม เพื่อให้
ประชาชนสักการะบู ชาเพื่ อความเป็นสิริมงคล

ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสมุทรสาคร   |    10

ที่มา: http://www.visitsk.org/?p=10095

สาเหตุของการแห่เจ้าพ่อหลักเมือง:
สืบเนื่ องมาจากสมัยก่อนจะประกอบอาชีพประมงกันเสียส่วนใหญ่และมีประเพณีที่ยึด

ถือปฎิบัติต่อกันมา คือ ก่อนออกเรือจะต้องจุดประทัดทุกครั้งเพื่อความเป็นสิริมงคลและ
เมื่ อแล่นผ่านหน้าศาลเจ้าพ่อหลักเมืองเมื่ อไหร่ก็จะทำการบนบานศาลกล่าวซึ่งเชื่ อกัน
ว่าการแห่เจ้าพ่อทางเรือนั้นจะช่วยทำให้การประมงดียิ่งขึ้น

ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสมุทรสาคร   |    11

ที่มา: นางสาวพุธิตา เกิดสุคนธ์

แม่น้ำท่าจีน

บริเวณหน้าศาลเจ้าพ่อหลักเมืองจะมีแม่น้ำไหลผ่านชื่อว่า แม่น้ำท่าจีน โดยแม่น้ำท่า
จีนเป็นแหล่งผลิตน้ำประปาสำคัญของบริษัทน้ำประปาไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งจำหน่ายน้ำ
ประปาให้แก่การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) ในพื้นที่อำเภอนครชัยศรี อำเภอสามพราน
และ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม กับ อำเภอเมืองสมุทรสาคร และอำเภอ
กระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร โดยใช้แหล่งน้ำดิบบริเวณที่ตั้งของโรงผลิตน้ำประปา
บางเลน หมู่ที่ 9 ตำบลบางระกำ อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ก่อนจะส่งจ่ายน้ำประปาที่
ผ่านการผลิตไปยังสถานีจ่ายน้ำพุทธมณฑล ตำบลไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
และสถานีจ่ายน้ำมหาชัย ตำบลนาดี อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร ก่อนจะจ่าย
น้ำไปยังผู้ใช้ต่อไป

ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสมุทรสาคร   |  12

บรรณานุกรม

กรมธนารักษ์ สำนักงานธนารักษ์พื้นที่สมุทรสาคร. (2556). เกี่ยวกับจังหวัดสมุทรสาคร.
สืบค้น 20 พฤศจิกายน 2565. จาก https://samutsakhon.treasury.go.th/th/about/

TourOnThai. (2560). ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสมุทรสาคร. สืบค้น 20 พฤศจิกายน 2565.
จาก https://www.touronthai.com/article/2251/

วิกิพีเดียสารานุกรมเสรี. (2565). แม่น้ำท่าจีน. สืบค้น 20 พฤศจิกายน 2565. จาก
https://th.wikipedia.org/wiki/แม่น้ำท่าจีน

ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสมุทรสาคร   |  13

จัดทำโดย

1.นางสาวณภัทร ผลประเสริฐ 2210411105026
2.นางสาวอภิชญา อยู่สบาย 2210411105028
3.นางสาวสุพิซชา ผกากาญจน์ 2210411105037
4.นางสาวธันยพร ศรียาเทพ 2210411105047
5.นางสาวพุธิตา เกิดสุคนธ์ 2210411105056


Click to View FlipBook Version