The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ข้อน่ารู้เกี่ยวกับสัญญาจ้างแรงงาน และสัญญาจ้างทำของ

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by preeem22, 2022-04-22 06:30:40

สัญญาจ้างแรงงาน สัญญาจ้างทำของ

ข้อน่ารู้เกี่ยวกับสัญญาจ้างแรงงาน และสัญญาจ้างทำของ

สัญญาจ้างแรงงาน
สัญญาจ้างทำของ

คำนำ

e-book นี้จัดทำขึ้นโดยนักศึกษาชิ้นงานในรายวิชา กฎหมายธุรกิจและการพาณิชย์
รหัสวิชา 14026115 โดย ดร.ใยแก้ว ศีลรักษ์ มีวัตถุประสงค์ เพื่ อเผยแพร์ความรู้
ทางด้านกฎหมาย เรื่อง สัญญาจ้างแรงงาน สัญญาจ้างทำของ ให้กับบุคคลที่
สนใจ คณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าสื่อเผยแพร์ความรู้ทางด้านกฎหมายนี้ จะก่อ

ให้เกิดประโยชน์กับผู้ที่สนใจไม่มากก็น้อย
คณะผู้จัดทำ

เรื่อง สารบัญ หน้า





เหตุที่ทำให้นิติกรรมเป็นโมฆะหรือโมฆียะ 1
3-4
คู่สัญญา 5-7
8
การแสดงเจตนา
วัตถุประสงค์ของสัญญา 9-11
12
สัญญาจ้างแรงงาน
ตัวอย่างสัญญาจ้างแรงงาน 13-14
สัญญาจ้างทำของ
ตัวอย่างสัญญาจ้างทำของ 15
ความแตกต่างระหว่างสัญญาจ้างแรงงานกับสัญญาจ้างทำของ
ตัวอย่างสัญญาจ้างทำของ 16-19

20

1

ก่อนที่เราจะทำสัญญาจ้างแรงงานหรือสัญญาจ้างทำของ เราจะต้องเช็ค
ทั้งหมด 3 เรื่องหลัก ๆ ก่อน ไม่อย่างนั้น นิติกรรมสัญญาจะมีผลไม่สมบูรณ์
ขึ้นอยู่กับเหตุของนิติกรรมนั้น ๆ ว่าจะมีผลเป็นโมฆะหรือโมฆียะ

2

เหตุที่ทำให้นิติกรรมเป็นโมฆะหรือโมฆียะ

1. คู่สัญญา 2. การแสดงเจตนา

เป็นบุคคลที่มีความสามารถตามที่กฎหมายกำหนด ต้องทำด้วยความสมัครใจของคู่สัญญา

ห้ามเป็นผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ การขมขู่ กลฉ้อฉล
คนวิกลจริต เจตนาลวง สำคัญผิด

คนเสมือนไร้ความสามารถ

3. วัตถุประสงค์ของสัญญา

ห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย เป็นพ้ นวิสัย
ขัดต่อความสงบเรียบร้อย/ศีลธรรมอันดี

อะไรคือ 3

คู่สัญญา

ดูว่าเป็นบุคคลที่มีความสามารถตามที่กฎหมายกำหนดไหม ต้องไม่เป็นผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ คน
เสมือนไร้ความสามารถ และคนวิกลจจริต ถ้าเป็นบุคคลดัง 4 ประเภทนี้จะต้องได้รับความยินยอมก่อน

ไม่งั้นจะทำให้สัญญาเป็นโมฆียะ




1. ผู้เยาว์

ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม (ป.พ.พ. มาตรา 21) เช่น นายไก่อายุ 15 ปี ขโมยเงินพ่อ
แม่ไปซื้อรถจักรยานยนต์ 50,000 บาท มีการส่งมอบทรัพย์เรียบร้อย แต่สัญญานี้ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

เพราะนายไก่ยังอายุ 15 ปี ยังเป็นผู้เยาว์อยู่

2. คนไร้ความสามารถ

คนวิกลจริตที่ไม่สามารถดูแลตัวเองหรือผลประโยชน์ของตัวเองได้ ตามที่ศาลสั่ง
ให้เป็นคนไร้ความสามารถ ต้องได้รับความยินยอมจากผู้อนุบาล (ป.พ.พ. มาตรา 30)

อะไรคือ 4

คู่สัญญา

ดูว่าเป็นบุคคลที่มีความสามารถตามที่กฎหมายกำหนดไหม ต้องไม่เป็นผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ
คนเสมือนไร้ความสามารถ และคนวิกลจจริต ถ้าเป็นบุคคลดัง 4 ประเภทนี้จะต้องได้รับความยินยอม

ก่อน ไม่งั้นจะทำให้สัญญาเป็นโมฆียะ




3. คนเสมือนไร้ความสามารถ

ต้องได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์ (ป.พ.พ. มาตรา 35)



4.คนวิกลจจริต

บุคคลซึ่งมีอาการทางจิตผิดปกติถึงขนาดขาดความสามารกโดยสิ้นเชิงในการกำหนด
เจตนาของตนเองได้อย่างอิสระ กล่าวคือผู้ที่ขาดสติสัมปชัญญะขาดความลึกขาดความ
รู้สำนึก หรือผู้ที่แม่รู้สำนึก แต่การแสดงเจตนาของบุคคลนั้นก็เป็นไปโดยปราศจาก
ความสาบารถไตร่ตรอง ด้วยเหตุผล

อะไรคือ 5

การแสดงเจตนา

ต้องเกิดโดยความสมัครใจของคู่สัญญา ไม่ได้เกิดจาก




1. การข่มขู่


(ป.พ.พ. มาตรา 126) เช่น นายไก่ใช้มีดจี้เอว เพื่อข่มขู่ให้นายไข่ทำสัญญาซื้อขายรถยนต์
ให้ตนเอง นายไข่กลัวจะถูกฆ่าจึงยอมทำสัญญา เพราะถือเป็นภัยอันตรายร้ายแรง



2. กลฉ้อฉล

(ป.พ.พ. มาตรา 122) เช่น นายไก่ต้องการซื้อรถยนต์จากนายไข่ โดยระบุว่า
ต้องการรถยนต์ใหม่เท่านั้น แต่นายไข่มีรถยนต์คันเก่าที่อยากขายทิ้ง จึงนำรถคันนี้
ไปทำสีใหม่และหลอกนายไก่ว่าเป็นรถใหม่ นายไก่หลงเชื่อจนตัดสินใจทำสัญญา

อะไรคือ 6

การแสดงเจตนา

ต้องเกิดโดยความสมัครใจของคู่สัญญา ไม่ได้เกิดจาก




3. เจตนาลวง


(ป.พ.พ. มาตรา 118) เช่น นายไก่สมคบกับนายไข่ เพื่อหลอกเจ้าหนี้ของนายไก่ ไม่ให้มายึด
ทรัพย์สินของนายไก่ โดยสมคบว่า นายไก่ขายรถยนต์ที่เป็นทรัพย์สินชิ้นสุดท้ายให้นายไข่แล้ว แต่

ที่จริงแล้ว ไม่ได้มีเจตนาซื้อขายกันจริง ดังนั้น นิติกรรมซื้อขายเป็นโมฆะ



4. สำคัญผิด

(ป.พ.พ. มาตรา 119) สำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม
ทำให้นิติกรรมสัญญาเป็นโมฆะ

อะไรคือ 7

การแสดงเจตนา

ต้องเกิดโดยความสมัครใจของคู่สัญญา ไม่ได้เกิดจาก




4. สำคัญผิด


(ป.พ.พ. มาตรา 120) สำคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคลหรือทรัพย์
ทำให้นิติกรรมสัญญาเป็นโมฆียะ เช่น นายไก่ตั้งใจไปซื้อนาฬิกาของแท้ แต่พนักงาน
สลับเอาของปลอมมาให้ ดังนั้น นายไก่มีสิทธิเรียกร้องขอศาลว่าแสดงเจตนาว่าสำคัญ

ผิดในคุณสมบัติ นายไก่เลือกบอกล้าง ทำให้ได้เงินคืน และต้องคืนทรัพย์

อะไรคือ 8

วัตถุประสงค์ของสัญญา

(ป.พ.พ. มาตรา 113)

1 ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย เช่น การซื้อขายปืนเถื่อน ยาเสพติด จ้างฆ่าคน

2 การพ้นวิสัย คือ การเป็นจริงไม่ได้เลย เช่น การซื้อขายสุนัขที่ตายไปแล้วก่อนทำนิติกรรม

การซื้อขายที่ดินบนดวงจันทร์

3 ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน เช่น ซื้อขายอวัยวะมนุษย์ การค้าร่วมประเวณี

9

สัญญาจ้างแรงงาน คือ สัญญาที่ลูกจ้างตกลงที่จะทำงานให้แก่
นายจ้าง และนายจ้างตกลงจะให้สินจ้างตลอดเวลาที่ทำงาน

สัญญาจ้างแรงงาน มี 4 ลักษณะ 10

1. สัญญาจ้างแรงงานเป็นสัญญาต่างตอบแทน หมายความว่า นายจ้างและลูกจ้างมีหน้าที่ตอบแทน
ซึ่งกันและกัน นั่นคือ ลูกจ้างต้องทำงานให้แก่นายจ้าง ส่วนนายจ้างก็ต้องจ่ายสินจ้างให้แก่ลูกจ้าง
ตลอดการทำงาน (ป.พ.พ. มาตรา 575) เช่น นายแดงเป็นพนักงานขับรถให้กับนายดำ ได้เงินเดือน
ๆ ละ 30,000 บาท



2. เป็นสัญญาที่สาระสำคัญอยู่ที่ตัวบุคคลผู้เป็นคู่สัญญา ลูกจ้างต้องมีคุณสมบัติและบุคลิกลักษณะตรง
ตามที่นายจ้างต้องการ นายจ้างจะไม่สามารถโอนสิทธิตามสัญญาให้ลูกจ้างไปทำงานกับผู้อื่น โดยที่

ลูกจ้างไม่ยินยอม และลูกจ้างจะให้คนอื่นมาทำงานแทนตนไม่ได้ (ป.พ.พ. มาตรา 577) และเมื่อถ้าลูกจ้าง
ตาย สัญญาจ้างแรงงานจะถูกระงับลง

สัญญาจ้างแรงงาน มี 4 ลักษณะ 11

3. เป็นสัญญาที่คู่สัญญามีความสัมพันธ์พิเศษแตกต่างไปจากสัญญาชนิดอื่น ๆ หมายความว่า
นายจ้างมีอำนาจบังคับบัญชาสั่งลูกจ้าง และลูกจ้างต้องทำงานให้แก่นายจ้างด้วยความ

ซื่อสัตย์สุจริต เช่น นายจ้างสามารถสั่งให้ลูกจ้างทำอะไรก็ได้ ภายใต้เงื่อนไขของสัญญาจ้าง



4. เป็นสัญญาไม่มีรูปแบบ หมายความว่า สัญญาจ้างแรงงานไม่
จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือ เพียงแต่
ตกลงกันด้วยวาจา สัญญาก็สมบูรณ์ และสามารถฟ้องร้องบังคับ

คดีกันได้

12

“ นายดำจ้างนายแดงให้มาเป็นพ่อครัวในร้านอาหาร
ของนายดำ โดยนายดำจะจ่ายเงินเดือนให้กับนาย
แดง เดือนละ 10,000 บาท ซึ่งนายแดงได้ตกลงจะ
ทำงานให้นายดำ แบบนี้สัญญาจ้างแรงงานจึงเกิด

ขึ้น”

10,000 บาท

13

สัญญาจ้างทำของ จะเรียกผู้ที่มาทำงานว่า “ผู้รับจ้าง” ส่วนอีก
บุคคลหนึ่งเรียกว่า “ผู้ว่าจ้าง” โดยผู้รับจ้างต้องทำงานจนเสร็จ
ถึงจะได้สินจ้างจากผู้ว่าจ้าง (ป.พ.พ. มาตรา 587) เช่น การจ้างให้

สร้างบ้าน การจ้างให้ซ่อมรถยนต์ หรือการจ้างว่าความ

สัญญาจ้างทำของจะมี 3 ลักษณะ

1. เป็นสัญญาต่างตอบแทน คือ ผู้รับจ้างจะได้สินจ้างก็ต่อเมื่อทำงานเสร็จ โดยสินจ้างจะ
เป็นเงินหรือทรัพย์สินอื่นก็ได้



2. เป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์ตรงที่ผลสำเร็จของงานที่ว่าจ้าง หมายความว่า ถ้าผู้รับจ้าง
ทำงานไม่สำเร็จผู้ว่าจ้างก็ไม่ต้องจ่ายสินจ้าง

14

สัญญาจ้างทำของจะมี 3 ลักษณะ




3. เป็นสัญญาไม่มีรูปแบบ หมายความว่า สัญญาจ้างแรงงานไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือ
หรือมีหลักฐานเป็นหนังสือ เพียงแต่ตกลงกันด้วยวาจา สัญญาก็สมบูรณ์และสามารถฟ้อง

ร้องบังคับคดีกันได้

15

“นายดำเป็นพนักงานขับรถเคอร์รี่รายวัน โดยผู้ว่าจ้าง ซึ่งก็คือ
นายแดงจะจ่ายเงินเมื่องานสำเร็จทุก ๆ 3 ทุ่ม ในกรณีนี้ ถ้า

นายดำทำผิดละเมิด เช่น ขับรถชน นายแดงที่เป็นผู้ว่าจ้างก็ไม่
ต้องร่วมรับผิดชอบด้วย”

“นายดำจ้างนายแดงให้วาดรูปให้ตน และจ่ายเงินให้ เมื่อนายแดงวาด
รูปสำเร็จ แต่นายดำสามารถไปจ้างคนอื่นต่อได้ ถ้าไม่มีผลต่อความ

สามารถ”

16

ความแตกต่างระหว่างสัญญาจ้างแรงงานและสัญญาจ้างทำของ

คู่สัญญา สัญญาจ้างแรงงาน สัญญาจ้างทำของ
ผู้ว่าจ้าง กับ ผู้รับจ้าง
วัตถุประสงค์ นายจ้าง กับ ลูกจ้าง ดูที่ผลสำเร็จของงานที่ว่าจ้าง
ของสัญญา ผู้รับจ้างตกลงทำงานให้จนกว่างานนั้นจะสำเร็จ
ใช้แรงงานลูกจ้าง
ระยะเวลา
การทำงาน ลูกจ้างตกลงทำงานให้ตลอดไป
จนกว่านายจ้างจะเลิกจ้าง

17

สัญญาจ้างแรงงาน สัญญาจ้างทำของ

การจ่ายสินจ้าง จ่ายให้ตลอดเวลาที่ลูกจ้างทำงานให้ จ่ายตามความสำเร็จของงานที่ตกลงกัน
ให้กับ ลูกจ้าง/ แม้จะทำงานไม่เสร็จก็ตาม ถ้างานไม่เสร็จก็ไม่ต้องจ่าย

ผู้รับจ้าง เป็นเงินหรือทรัพย์สิน
ใด ๆ ก็ได้
ประเภทสินจ้าง เงินเท่านั้น เป็นเงินเดือนว่าได้เดือนละกี่บาท
ผู้รับจ้างไม่ต้องทำตามคำสั่งที่นอก
อำนาจบังคับ ลูกจ้างต้องทำตามคำสั่งใด ๆ ก็ได้ ภาย เหนือจากงานที่ตกลงกัน
บัญชาของ ใต้เงื่อนไขของลูกจ้าง

นายจ้าง/ผู้ว่าจ้าง

18

สัญญาจ้างแรงงาน สัญญาจ้างทำของ

เครื่องมือ/สัมภาระ ลูกจ้างไม่ต้องจัดหาเครื่องมือ/ ผู้รับจ้างเป็นผู้จัดหาเครื่องมือ บางครั้งอาจ
ในการทำงาน สัมภาระ เว้นแต่มีข้อตกลงพิเศษ ต้องหาสัมภาระด้วย (ป.พ.พ. มาตรา 588

การให้บุคคลอื่น ไม่ได้ เพราะเป็นสิทธิเฉพาะตัวของลูกจ้าง ประกอบกับ 589)
ทำงานแทน

ไม่ต้องส่งมอบ เพราะงานอยู่ในความ ทำได้ หากสาระสำคัญของงานไม่ได้อยู่ที่
ดูแลของนายจ้างอยู่แล้ว ความสามารถของผู้รับจ้าง ขอแค่ให้งานสำเร็จ
การส่งมอบงาน

ต้องส่งมอบงานให้ทันเวลา

19

สัญญาจ้างแรงงาน สัญญาจ้างทำของ

ความรับผิด นายจ้างต้องร่วมรับผิดด้วย (ป.พ.พ. ไม่ต้องร่วมรับผิด เว้นแต่ว่าละเมิดนั้น เกิดจากงานที่ผู้
ชอบเมื่อลูกจ้าง มาตรา 425 ประกอบกับ 420) ว่าจ้างสั่งให้ทำ หรือเป็นคำสั่งของผู้ว่าจ้าง (ป.พ.พ.
มาตรา 427)
ทำละเมิด ศาลแรงงาน
ศาลแพ่ง ศาลจังหวัด ศาลแขวง แล้วแต่กรณี
ศาลที่มีอำนาจ
พิจารณาคดี

การเป็นนิติบุคคล นายจ้างเป็นได้ แต่ลูกจ้างเป็นนิติบุคคลไม่ได้ ทั้งผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้างเป็นนิติบุคคลได้

บรรณานุกรม 20

ดร. ใยแก้ว ศีลรักษ์, ผู้บรรยาย. (2565). นิติกรรมสัญญา (ความไม่สมบูรณ์ของกฎหมาย). [PowerPoint slides].
ดร. ใยแก้ว ศีลรักษ์, ผู้บรรยาย. (2565). เอกเทศสัญญา (สัญญาจ้างแรงงาน สัญญาจ้างทำของ). [PowerPoint slides].

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ.2466.

สถาบันนิติธรรมาลัย. ม.ป.ป. ลักษณะ ๖ จ้างแรงงาน (มาตรา ๕๗๕ - ๕๘๖). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
https://www.drthawip.com/civilandcommercialcode/086. (วันที่ค้นข้อมูล 2565, 2 เมษายน).

สยามเอชอาร์เอ็ม ดอทคอม. ม.ป.ป. ข้อแตกต่างสัญญาจ้างแรงงานกับสัญญาจ้างทำของ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก
: https://www.siamhrm.com/?name=chapter&file=read&max=452. (วันที่ค้นข้อมูล : 2565, 3 เมษายน).

ภัคจิรา สมาชิก วรณี
ธนวรรณรัชต์ บุตรโพธิ์
ลลนา
62100495 พุ่มโพธิ์ 62100528

62100523 วรรณภา
สนิทไทย
วรนุช
นาที 62100530

62100529


Click to View FlipBook Version