The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

เอกสารประกอบการเรียน ปรับพื้นฐานหลักภาษาไทย

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by wasita301143, 2022-05-15 05:48:53

เอกสารประกอบการเรียน ปรับพื้นฐานหลักภาษาไทย

เอกสารประกอบการเรียน ปรับพื้นฐานหลักภาษาไทย

เอกสารประกอบการเรียน
ปรับพื้นฐานหลักภาษาไทย

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑

รายวิชาภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

นางสาววศิตา ดาราแสง
นั ก ศึ ก ษ า ฝึ ก ป ร ะ ส บ ก า ร ณ์ วิ ช า ชี พ ค รู

โ ร ง เ รี ย น ป ทุ ม ค ง ค า
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๒

เ สี ย ง แ ล ะ อั ก ษ ร ไ ท ย

เสียง คือ สิ่งที่มนุษย์เปล่งออกมาเพื่อใช้ในการสื่อสาร หรือสื่อความหมายระหว่าง

มนุษย์ด้วยกันเอง นอกจากนี้ ยังมีเสียงที่เกิดจากสัตว์ หรือธรรมชาติ เช่น เสียงฟ้าร้อง

เสียงฟ้าผ่า เสียงสุนัขหอน เป็นต้น

เสียง มี ๓ ชนิด ได้แก่ เสียงพยัญชนะ เสียงสระ เสียงวรรณยุกต์

๑. เสียงพยัญชนะ คือ เสียงที่เกิดจากลมในปอดเมื่อเปล่งเสียงออกมาจะถูกสกัดกั้น

โดยอวัยวะต่างๆ มี ๔๔ รูป ๒๑ เสียง ๑๒. /ป/ = ป
เสียงพยัญชนะ มี ๒๑ เสียง ดังนี้ ๑๓. /พ/ = พ ผ ภ
๑๔. /ฟ/ = ฟ ฝ่
๑. /ก/ = ก ๑๕. /ม/ = ม
๒. /ข/ = ข ฃ ค ฅ ฆ ๑๖. /บ/ = บ
๓. /ง/ = ง ๑๗. /ร/ = ร
๔. /จ/ = จ ๑๘. /ล/ = ล ฬ
๕. /ช/ = ช ฉ ฌ ๑๙. /ว/ = ว
๖. /ซ/ = ซ ส ศ ษ ๒๐. /อ/ = อ
๗. /ย/ = ย ญ ๒๑. /ฮ/ = ฮ ห
๘. /ด/ = ด ภู ท
๙. /ต/ = ภู ต

๑๐. /ท/ = ฐ ฒ ถ ท ธ

๑๑. /น/ = น ณ

*เด็ก ๆ อย่า งง ว่าทำไมถึงมีเสียงพยัญชนะแค่ ๒๑ เสียง ก็ด้วยเหตุที่ว่าเสียงพยัญชนะ
บางตัวนั้นออกเสียงเหมือนกัน เช่น เสียง /ข/ มีพยัญชนะที่ออกเสียงซ้ำกัน คือ ข ข ค
ฆ นั่นเอง

เสียงพยัญชนะ แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท

๑. เสียงพยัญชนะต้น คือ เสียงพยัญชนะที่ปรากฎหน้าพยางค์ หน้าสระแบ่งออกเป็น
๒ ชนิด

๑.๑ เสียงพยัญชนะต้นเดี่ยว คือ เสียงพยัญชนะที่ออกเสียงพยัญชนะต้น ๑ เสียง
เช่น รักเธอตลอดไป = /ร/ /ธ/ /ต/ /ล/ /ป/ ช้างม้าวัวควาย = /ช/ /ม/ /ว/ /ค/

๑.๒ เสียงพยัญชนะต้นประสม (ควบ) คือ เสียงพยัญชนะที่ออกเสียงพยัญชนะต้น
เช่น ขวนขวาย = /ขว/ /ขว/ ปลาบปลื้ม = /ปล/ /ปล/

๒. เสียงพยัญชนะท้าย คือ เสียงพยัญชนะท้าย (ตัวสะกด) คือ พยัญชนะที่ตามหลัง
สระ มี ๙ มาตรา ดังนี้

๑. ไม่มีตัวสะกด ๑ มาตรา คือ แม่ ก กา
๒. มีตัวสะกด ๘ มาตรา คือ แม่ กง กม เกย เกอว กก กด กบ กน

๒.๑ เสียง ก (ก ข ค ฆ) สะกด เรียกว่า แม่กก เช่น ปาก สุข เมฆ
๒.๒ เสียง ด (ด จ ช ซ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ต ถ ท ธ ศ ษ) สะกด เรียกว่า แม่กด
เช่น ราด กระดาษ สมุดโน้ต โปสเตอร์
๒.๓ เสียง บ (บ ป ภ พ ฟ) สะกด เรียกว่า แม่กบ เช่น บาป ภาพ โลภ
๒.๔ เสียง น (ญ ณ ร ล ฬ) สะกด เรียกว่า แม่กน เช่น อ่อน คุณ หาญ
๒.๕ เสียง ง (ง) สะกด เรียกว่า แม่กง เช่น ยุง จริงจัง
๒.๖ เสียง ม (ม) สะกด เรียกว่า แม่กม เช่น สาม ตูมตาม
๒.๗ เสียง ย (ย) สะกด เรียกว่า แม่เกย เช่น ตาย เอย เคย
๒.๘ เสียง ว (ว) สะกด เรียกว่า แม่เกอว เช่น ดาว เปรี้ยว ราว เป็นต้น

ระวัง! (พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดไม่ได้ คือ ผ ฝ ฌ อ ห ฉ ฮ = "ฮา ๆ ผีฝากเมอเอมให้
ฉั น "

สิ่งที่เด็ก ๆ ควรระวังไว้

๑. สระเกิน คือ อำ ไอ ใอ เอา มีเสียงพยัญชนะสะกดอยู่ด้วยเสมอ ดังนี้
อำ = อ+อะ+ม (มีเสียง /ม/ เป็นตัวสะกด)
ไอ ใอ = อ+อะ+ย (มีเสียง /ย/ เป็นตัวสะกด)
เอา = อ+อะ+ว (มีเสียง /ว/ เป็นตัวสะกด)
เช่น จำ ใจ ไป เรา เป็นต้น

๒. ว และ ย ที่ปรากฏอยู่ในสระ อัว และ เอีย เป็นรูปสระ ตัววอ และ ตัวยอ
จึงไม่ใช่พยัญชนะสะกด แม่เกอวและแม่เกย เช่น เรือ เสีย เรือน กลัว ด้วย เสือ
เ ป็ น ต้ น

๓. อ เป็นรูปพยัญชนะเฉพาะเป็นพยัญชนะต้นและรูปสระที่เรียกว่า ตัวออ ดังนั้น
อ จึงไม่ใช่พยัญชนะท้ายหรือตัวสะกด เช่น พ่อ คอ หมอ เธอ เป็นต้น



๒. เสียงสระ คือ เสียงที่เปล่งออกมาจากลำคอแล้วไม่ถูกอวัยวะในปากสกัดกั้นเลย สระในภาษาไทย
มี ๒๑ รูป ๒๑ เสียง (ปัจจุบัน)

รูปสระ เป็นเครื่องหมายที่เขียนขึ้นแทนเสียงสระ มี ๒๑ รูป ดังนี้
๑. ะ เรียกว่า วิสรรชนีย์
๒. ั เรียกว่า ไม้หันอากาศ หรือ ไม้ผัด
๓. ็ เรียกว่า ไม้ไต่คู้
๔. า เรียกว่า ลากข้าง
๕. ิ เรียกว่า พินทุ
๖. ' เรียกว่า ฝนทอง
๗. " เรียกว่า ฟันหนู
๘. ำ เรียกว่า นฤคหิต หรือ หยาดน้ำค้าง
๙. ุ เรียกว่า ตีนเหยียด
๑๐. ู เรียกว่า ตีนคู้
๑๑. เ เรียกว่า ไม้หน้า
๑๒. ใ เรียกว่า ไม้ม้วน
๑๓. ไ เรียกว่า ไม้มลาย
๑๔. โ เรียกว่า ไม้โอ
๑๕. ฤ เรียกว่า ตัว ฤ (รี)
๑๖. ฤ เรียกว่า ตัว ฤ (รือ)
๑๗. ฦ เรียกว่า ตัว ฦ (ลี)
๑๘. ภ เรียกว่า ตัว ฦ (ลือ)
๑๙. อ เรียกว่า ตัวออ
๒๐. ย เรียกว่า ตัวยอ
๒๑. ว เรียกว่า ตัววอ

เสียงสระ มีทั้งสิ้น ๒๑ เสียง แบ่งออกเป็น ๒ ชนิด ดังนี้

๑. สระเดี่ยว (สระแท้) มี ๑๘ เสียง แบ่งได้คือ

สระเดี่ยวเสียงสั้น (รัสสระ) สระเดี่ยวเสียงยาว (ทีฆสระ)

อะ อา

อิ อี

อึ อือ

อุ อู

เอะ เอ

แอะ แอ

๒. สระประสม (สระเลื่อน) คือ การเลื่อนเสียงจากสระหนึ่งไปยังอีกสระหนึ่งโดยการนำสระเดี่ยวมา

ประสมกันมีทั้งสิ้น ๓ เสียง ดังนี้

สระประสมเสียงยาว

อัว = อู+อา

เอือ = อือ+ อา

เอีย = อี+อา

เด็ก ๆ ท่องไว้ว่ากันลืมว่า "ผัว เบื่อ เมีย" ส่วนสระประสมเสียงสั้น เอียะ เอือะ อัวะ ไม่นิยม

ใช้ในปัจจุบัน เนื่องจากไม่ค่อยมีคำศัพท์ที่ใช้สระประสมเสียงสั้นแล้วมีความหมาย ส่วนมากจะปรากฏเป็น

คำเลียนเสียงธรรมชาติ เช่น เผียะ ผัวะ จั๊วะ เป็นต้น

๓. เสียงวรรณยุกต์ คือ เสียงที่เปล่งออกมาพร้อมกับเสียงสระ จะมีเสียงสูงต่ำตามการสั่นสะเทือน

ของเสียง จึงเรียกอีกชื่อว่าเสียงดนตรี

วรรณยุกต์ในภาษาไทย มี ๔ รูป ๕ เสียง ดังนี้

เสียง สามัญ เอก โท ตรี จัตวา

รูป - ่ ้๊ ๋

วรรณยุกต์จำแนกตามลักษณะการใช้ แบ่งออกเป็น ๒ ชนิด ดังนี้

๑. วรรณยุกต์มีรูป คือ คำที่ปรากฎรูปวรรณยุกต์บนคำนั้น ๆ เช่น กิ่ง บ้าน ข้าว เป็นต้น

๒. วรรณยุกต์ไม่มีรูป คือ คำที่ไม่มีรูปปรากฎอยู่บนคำนั้น ๆ เช่น คน ขัน ดาว

การใช้รูปและเสียงวรรณยุกต์

๑. อักษรกลางคำเป็นเท่านั้นจึงจะมีรูปกับเสียงวรรณยุกต์ตรงกัน

๒. อักษรสูงผันรูปและเสียงได้ไม่ครบทุกเสียงผันได้แค่เสียงเอกเสียงโทและเสียงจัตวาเท่านั้น

๓. อักษรต่ำให้สังเกตว่ารูปและเสียงวรรณยุกต์ไม่ตรงกัน ไม่ใช้รูปวรรณยุกต์ตรีกำกับเด็ดขาด

๔. คำทับศัพท์ที่มาจากภาษาทางยุโรป ไม่จำเป็นต้องใช้รูปวรรณยุกต์กำกับ แต่สามารถออกเสียตาม

เสียงเดิมได้

พยางค์

พยางค์ หมายถึง เสียงที่เปล่งออกมาในแต่ละครั้ง พร้อมกันทั้งเสียงสระ เสียงพยัญชนะและเสียง
วรรณยุกต์ อาจมีความหมายหรือไม่มีความหมายก็ได้

พยางค์ แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท
๑. พยางค์เปิด คือ พยางค์ที่ไม่มีเสียงพยัญชนะสะกด เช่น ดา มี รู้ เส โท
๒. พยางค์ปิด คือ พยางค์ที่มีเสียงพยัญชนะสะกด เช่น รัก สิบ เกี่ยว เด่น เป็นต้น รวมถึงสระ อำ
ไอ ใอ เอา เช่น ไม่ ไว้ ทำ เล่า เหา เป็นต้น อีกทั้งพยางค์ลหุที่ลงเสียงหนัก

อักษรนำ

อักษรนำ คือ พยัญชนะ ๒ ตัวประสมสระเดียวกัน เช่นเดียวกับอักษรควบแต่ต่างกันตรงวิธีการออก
เสียง แบ่งออกเป็น ๒ ลักษณะ

๑. อ่านออกเสียง ๒ พยางค์ คือ พยางค์แรกออกเสียงเป็นสระอะ (กึ่งเสียง) ส่วนพยางค์หลังอ่าน
แบบมี ห นำ โดยมีอักษรสูง อักษรกลาง หรืออักษรต่ำนำอักษรเดี่ยว

เช่น สมุย = สะ - หมุย
ถลอก = ถะ - หลอก
สนาม = สะ - หนาม
ถนน = ถะ - หนน เป็นต้น

๒. อ่านออกเสียง ๑ พยางค์ คือ ไม่ออกเสียงตัวนำแต่จะออกเสียงกลืนเป็นเสียงเดียวกัน มี ๒
ลักษณะ

๒.๑ อ นำ ย เช่น อย่า อยู่ อย่าง อยาก
๒.๒ ห นำ อักษรต่ำเดี่ยว เช่น หมอก หนอน หลั่น ไหน หงอก หยาบ เป็นต้น

ระวัง!
*เด็ก ๆ จะสังเกตเห็นว่า อักษรนำแบบอุ่านออกเสียง ๑ พยางค์นี้ จะไม่ออกเสียงตัว อ และ ห ดังนั้น
ตัว อ และ ห นี้จึงไม่ใช่เสียงพยัญชนะต้น เช่น หนู พยัญชนะต้นจะเป็นเสียง /น/ เป็นต้น
*คำต่อไปนี้ไม่ใช่อักษรนำ แต่อ่านเหมือนอักษรนำ เช่น สิริ บัญญัติ ศักราช (คือ อ่านมี ห นำเลียนแบบ
นั่นเอง)

อักษรควบ

อักษรควบ คือ พยัญชนะ ๒ ตัวที่กล้ำอยู่ในสระเดียวกัน แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท ดังนี้
๑. อักษรควบแท้ คือ อักษรควบที่เกิดจากพยัญชนะ ๒ ตัวที่มี ร ล ว ประสมอยู่ด้วยประสมสระ
เดียวกันแล้วอ่านออกเสียงพร้อมกันสองตัว เช่น เปลี่ยน แปลง ครบ ครัน ปรับ ปรุง กราบ กราน ควาย
ความ กล้วย เป็นต้น
อักษรควบกล้ำแท้ แบ่งออกเป็น ๒ ชนิด

๑.๑ อักษรควบไทยแท้ คือ อักษรควบกล้ำแท้ที่ปรากฎมาแต่เดิมในระบบเสียงภาษาไทย มี ๑๑
เสียง ดังนี้

กร คร ปร พร ตร
กล คล ปล พล
กว คว
เด็ก ๆ ท่องกันลืมไว้ว่า "ก่อนค่ำไปพบเตี่ย"
เช่น กราว กรอง กลับ ครอบ ขรุขระ ตริตรอง ขลิบ ผลัก ปรับปรุง พราย ความ
วิธีการจำ คือ เด็ก ๆ เขียน "ก ค ป พ ต" จากนั้นนำ ร ล ว ไปเรียงในแถวแนวตั้งแล้วสังเกตว่า ก และ
ค จะมี ๓ เสียง ป และ พ จะมี ๒ เสียง ต จะมี ๑ เสียง เลยท่องว่า "๓ ๒ ๑" นั่นเอง

๑.๒ อักษรควบภาษาต่างประเทศ คือ อักษรควบกล้ำแท้ที่ได้รับอิทธิพลจากภาษาต่างประเทศ เช่น
ภาษาอังกฤษภาษาสันสกฤต ซึ่งมี ๖ เสียง ดังนี้

/บร/ = บรั่นดี บรอนซ์ บราวน์
/บล/ = บลู เบลอ บล็อก
/ดร/ = ดรีม ดราฟต์
/ฟร/ = ฟรี ฟรักโทส
/ฟล/ = ฟลูออรีน ฟลุต
/ทร/ = แทรกเตอร์ นิทรา จันทรา เป็นต้น

๒. อักษรควบไม่แท้ คือ พยัญชนะที่มีตัว ร ควบอยู่ แต่ออกเสียงเหมือนพยัญชนะเดี่ยว จะออกเสียง
เพียงพยัญชนะตัวหน้าเท่านั้น แบ่งออกเป็น ๒ ลักษณะ

๒.๑ ออกเสียงพยัญชนะตัวหน้า (เห็นรูป ร แต่ไม่ออกเสียง /ร/) เช่น จริง ศรัทธา เสริม สร้าง
เศร้า เป็นต้น

๒.๒ ออกเสียงพยัญชนะต้นทั้ง ๒ รูปเป็นพยัญชนะต้นตัวอื่น (รูป ทร ออกเสียง /ซ/) เช่น ทรวด
ทรง ทราย ทราบ ทรุด โทรม เป็นต้น

คำเป็น

คำเป็น มีหลักการสังเกตดังนี้
๑. พยางค์ที่มีตัวสะกด แม่ กน กม เกย เกอว กง เช่น ทน โดม เคย เดียว ธง
๒. พยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงยาว เช่น ตา มี หู ดี แย่ แน่ พา รา โซเซ
๓. พยางค์ที่ประสมด้วย อำ ไอ ใอ เอา จัดเป็นคำเป็นเพราะมีตัวสะกด เช่น เห่า ใน ขำ ดำ ไฟ
หลักการจำ "คนเป็นเป็นนมยวงๆและต้องยาว"

คำตาย

คำตาย มีหลักการสังเกตดังนี้
๑. พยางค์ที่มีตัวสะกด แม่ กก กบ กด เช่น เมฆ ครบ ตก โบสถ์ บาตร ลาภ
๒. พยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงสั้น เช่น ธุระ สินะ เกะกะ เถอะ
๓. พยัญชนะตัวเดียว เช่น ณ, บ (บ่อที่แปลว่า ไม่) ธ, ก็, ฤ
หลักการจำ "คนตายอายุสั้นเพราะมันเป็นกบด"

ไตรยางศ์

ไตรยางศ์ หรือ อักษรสามหมู่ คือระบบการจัดหมวดหมู่อักษรไทยเฉพาะรูปพยัญชนะตามลักษณะ
การผันวรรณยุกต์ เนื่องจากพยัญชนะไทย เมื่อกำกับด้วยวรรณยุกต์หนึ่ง ๆ แล้วจะมีเสียงวรรณยุกต์ที่
แตกต่างกัน

พยัญชนะไทยแบ่งออกเป็น ๓ หมูโดยแบ่งพื้นเสียงที่ยังไม่ได้ผันซึ่งมีระดับเสียง สูง กลาง ต่ำ
เรียกว่า ไตรยางศ์

อักษรกลาง มี ๙ ตัว ได้แก่ ก จ ฏ ฏ ด ต บ ป อ
มีหลักการท่องจำว่า ไก่จิกเด็กตาย (เฎ็กฏาย) บนปากโอ่ง

อักษรสูง มี ๑๑ ตัว ได้แก่ ผ ฝ ถ ฐ ข ส ศ ษ ห ฉ
มีหลักการท่องจำว่า ผีฝากถุงข้าวสารให้ฉัน

อักษรต่ำ มี ๒๔ ตัว แบ่งออกเป็น ๒ ชนิด
อักษรเดี่ยว คือ อักษรต่ำที่ไม่มีเสียงคู่กับอักษรสูงมี ๑๐ ตัว ได้แก่ ง ญ ณ น ม ย ร ล
มีหลักการท่องจำว่า งูใหญ่นอนอยู่ ณ ริมวัดโมฬีโลก
อักษรคู่ คือ อักษรต่ำที่มีเสียงคู่กับอักษรสูงมี ๑๔ ตัว ได้แก่ พ ภ ค ฅ ฆ ฟ ท ธ ท ต
มีหลักการท่องจำว่า พ่อค้าฟันทองซื้อช้างฮ่อ

ชนิดของคำ

คำในภาษาไทย แบ่งออกเป็น ๗ ชนิด คือ
๑. คำนาม คือ คำที่ใช้เรียกชื่อ คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ อาการ สภาพ และลักษณะ ทั้งสิ่งที่มีชีวิต
และไม่มีชีวิต ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม เช่น บ้าน รถ นก โรงพยาบาล ฯลฯ

๒. คำสรรพนาม คือ คำที่ใช้แทนนามในประโยคสื่อสาร เราใช้คำสรรพนามเพื่อไม่ต้องกล่าวคำนาม
ซ้ำ ๆ (หัวใจของคำสรรพนาม คือ "ใช้แทน") เช่น ท่าน เธอ กระผม ฯลฯ

๓. คำกริยา คือ คำที่แสดงอาการ สภาพ หรือการกระทำของคำนาม และคำสรรพนามในประโยค
คำกริยาบางคำอาจมีความหมายสมบูรณ์ในตัวเอง บางคำต้องมีคำอื่นมาประกอบและบางคำต้องไป
ประกอบคำอื่นเพื่อขยายความ เช่น กิน เดิน กระโดด นั่ง ฯลฯ

๔. คำวิเศษณ์ คือ คำที่ใช้ขยายคำอื่น ได้แก่ คำนาม คำสรรพนาม คำริยา หรือคำวิเศษณ์ ให้มี
ความหมายชัดเจนขึ้น (หัวใจของคำวิเศษณ์ คือ "ใช้ขยาย") เช่น บ่าย ไกล มาก น้อย ฯลฯ

๕. คำบุพบท คือ คำที่มีหน้าที่เชื่อมคำ หรือกลุ่มคำเพื่อแสดงความสัมพันธ์กับคำอื่นๆ ในประโยค
เช่น ของ แก่ สำหรับ แด่ ฯลฯ

๖. คำสันธาน คือ คำที่ทำหน้าที่เชื่อมประโยคกับประโยค เชื่อมข้อความกับข้อความให้สละสลวย
เช่น และ หรือ ถ้า...ก็ แล้วจึง ฯลฯ

๗. คำอุทาน คือ คำที่เปล่งออกมาเพื่อแสดงอารมณ์หรือความรู้สึกของผู้พูด มักจะเป็นคำที่ไม่มี
ความหมาย แต่เน้นความรู้สึกและอารมณ์ของผู้พูด เช่น ไชโย อุ๊ย โธ่เอ๊ย ฯลฯ

การสร้างคำ

ก่อนที่เด็ก ๆ จะนำคำที่มีอยู่นั้นไปสร้างให้เกิดคำใหม่ขึ้นนั้น เด็ก ๆ ต้องรู้จักหน่วยศัพท์ที่เล็กที่สุดของ
ภาษาไทยก่อนนั้นก็คือคำมูล ดังนี้

คำมูล คือ คำที่มีความหมายสมบูรณ์ในตัวเอง เป็นคำดั้งเดิมที่มีในภาษาเดิม เป็นภาษาไทย
หรือมาจากภาษาใด ๆ ก็ได้ อาจมีพยางค์เดียวหรือหลายพยางค์ก็ได้ แต่ต้องไม่ใช่คำที่เกิดจากการประสม
กับคำอื่น ๆ

เช่น คำมูลพยางค์เดียว = ช้าง ป่า ม้า วัว ควาย ใจ กิน เห็น บน ใน
คำมูลสองพยางค์ = ขนม ทะเล นารี กะทิ ตะกละ สะดวก
คำมูลสามพยางค์ = กะละแม มะละกอ นาฬิกา กะละมัง จะละเม็ด

คำประสม คือ การนำคำมูลที่มีความหมายไม่เหมือนกัน ตั้งแต่สองคำขึ้นไปนำมารวมกันแล้ว
เกิดความหมายใหม่แต่ยังมีเค้าความหมายเดิม คำที่เกิดขึ้นจะเรียกว่า คำประสม

คำมูล ๒ คำที่มารวมกันเกิดเป็นคำประสม ต้องไม่มีลักษณะของคำซ้อนเพื่อความหมาย คือต้องไม่มี
ความหมายเหมือนกันคล้ายกัน หรือตรงกันข้ามกัน

เช่น พ่อครัว ลูกเลี้ยง รถไฟ แม่น้ำ ฯลฯ

คำซ้อน คือ การนำคำมูลที่มีความหมายหรือเสียงใกล้เคียงกัน หรือเหมือนกันมาซ้อนกันแล้วทำให้
เกิดความหมายใหม่หรือความหมายใกล้เคียงกับความหมายเดิม คำซ้อนมี ๒ แบบ ดังนี้

๑. คำซ้อนเพื่อความหมาย เป็นการขยายความให้ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยคำมูลทั้ง ๒ คำจะมีลักษณะดังนี้
๑.๑ คำซ้อนที่มีความหมายเหมือนกัน เช่น บ้านเรือน อ้วนพี จิตใจ รูปร่าง ข้าทาส
๑.๒ คำซ้อนที่มีความหมายแคบลง เจาะจง เช่น ขัดถู ใจคอ หูตา ญาติโยม
๑.๓ คำซ้อนที่มีความหมายกว้างกว่าเดิม เช่น ข้าวปลา ถ้วยชาม คัดเลือก ทุบตี
๑.๔ คำซ้อนที่มีความหมายเปลี่ยนไปจากเดิม เช่น ดูดดื่ม คับแคบ อ่อนหวาน
๑.๕ คำซ้อนที่มีความหมายตรงกันข้าม เช่น ชั่วดี ผิดถูก เป็นตาย ร้ายดี

๒. คำช้อนเพื่อเสียง คือการนำคำมูลสองคำมาประกอบกัน เพื่อให้เกิดเสียงคล้องจองกัน อาจเป็นคำ
เลียนเสียงธรรมชาติก็ได้ เช่น โครมคราม เจิดจ้า โยกเยก ชิงชัง เป็นต้น

คำซ้ำ คือ การนำคำมูลคำเดียวกันมากล่าวซ้ำ เพื่อเน้นน้ำหนักของคำ เมื่อซ้ำแล้วสามารถใช้
ไม้ยมกแทนคำซ้ำนั้นได้
สังเกต! เด็ก ๆ จำไว้เลยว่า คำซ้ำต้อง

๑. เขียนเหมือนกัน
๒. เขียนติดกัน
๓. หน้าที่ของคำเหมือนกัน
๔. สามารถใช้ไม้ยมกแทนได้

ความหมายที่เกิดจากคำซ้ำ
๑. พหูพจน์ เช่น น้อง ๆ พี่ ๆ เด็ก ๆ เพื่อน ๆ
๒. แยกจำนวน เช่น ชิ้น ๆ ตู้ ๆ ห้อง ๆ ชุด ๆ ถุง ๆ
๓. บอกกริยาซ้ำ ๆ เช่น พูด ๆ กิน ๆ ทำ ๆ อ่าน ๆ ดู ๆ
๔. บอกพวก กลุ่ม ลักษณะ เช่น ขาว ๆ อ้วน ๆ เล็ก ๆ แบน ๆ กลม ๆ เหลี่ยม ๆ
๕. บอกสถานที่ ไม่เจาะจง เช่น แถว ๆ ข้าง ๆ เช้า ๆ สาย ๆ ค่ำ ๆ ใกล้ ๆ
๖. ความหมายเปลี่ยนไปจากเดิม เช่น ไป ๆ มา ๆ กล้วย ๆ หมู ๆ สด ๆ ร้อน ๆ
๗. ทำนองคำสั่ง เช่น ดี ๆ เบา ๆ รีบ ๆ ช้า ๆ เร็ว ๆ เงียบ ๆ
๘. แสดงอาการหรือเหตุการณ์ต่อเนื่อง เช่น ร่ำ ๆ พรวด ๆ หยิม ๆ ปรอย ๆ
๙. เน้นความรู้สึก โดยใช้เสียงสูงเน้น เช่น ด๊ำดำ ร๊วยรวย ต๊ายตาย เก๊งเก่ง
๑๐. เลียนเสียงธรรมชาติ เช่น เหมียว ๆ โครม ๆ โฮก ๆ เปรี้ยง ๆ

แหล่งอ้างอิง :
(๒๕๖๔). เอกสารประกอบการเรียนปรับพื้นฐานรายวิชา ภาษาไทย. สืบค้นเมื่อวันที่

๑๕ พฤษภาคม ๒๕๖๕, จาก https://pubhtml5.com/pljk/dwix/basic

จงตั้งใจเพื่อจะเป็ น
"ผู้ที่เรียนรู้ทุกอย่าง" ไม่ใช่

"ผู้ที่รู้ไปหมดทุกอย่าง"

-อีลอน มัสก์-


Click to View FlipBook Version