The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ซากกระดูกไดโนเสาร์คอยาว ร่วม 20 ชิ้น ถูกค้นพบที่ริมสระน้ำสาธารณะบ้านพนังเสื่อ อ.หนองบัวระเหว กระดูกขาท่อนบนที่ยาวร่วม 2 เมตร บ่งบอกว่าตัวจริงอาจยาวมากถึง 30 เมตร ..... ที่สุดในอาเซียน

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by kkpracha, 2019-07-24 02:06:20

แหล่งเรียนรู้ไดโนเสาร์ บ้านพนังเสื่อ จ.ชัยภูมิ

ซากกระดูกไดโนเสาร์คอยาว ร่วม 20 ชิ้น ถูกค้นพบที่ริมสระน้ำสาธารณะบ้านพนังเสื่อ อ.หนองบัวระเหว กระดูกขาท่อนบนที่ยาวร่วม 2 เมตร บ่งบอกว่าตัวจริงอาจยาวมากถึง 30 เมตร ..... ที่สุดในอาเซียน

Keywords: ไดโนเสาร์,หอยสองฝา,ซากดึกดำบรรพ์,ธรณีวิทยา,พนังสื่อ

คู่มือผู้เล่าเรื่องธรณี

แหล่งเรียนรู้ไดโนเสาร์

พนังเส่อื
จังหวัดชัยภูมิ

aur-6783727

คู่มือผู้เล่าเรื่องธรณี
แหล่งเรียนรู้: ไดโนเสาร์พนังเสื่อ

อธบิ ดีกรมทรัพยากรธรณ ี นายสมหมาย เตชวาล
รองอธบิ ดีกรมทรัพยากรธรณี นายนิวัติ มณีขัติย์
รองอธบิ ดกี รมทรพั ยากรธรณ ี
ผู้อ�ำนวยการกองธรณวี ทิ ยา นายมนตรี เหลอื งองิ คะสตุ
ผ้อู �ำนวยการส�ำนักงานทรัพยากรธรณี เขต 2 นายสุรชัย ศิริพงษ์เสถียร
ผู้อ�ำนวยการกองคุ้มครองซากดึกด�ำบรรพ์
เขียนเรอื่ ง นายทินกร ทาทอง
สนับสนุนขอ้ มลู นายนิมิตร ศรคลัง
นายประชา คุตติกุล
นางสาวศศอร ขันสุภา
นายปรชี า สายทอง

¾ÔÁ¾ì¤ÃÑ駷Õè 1 ¨Ó¹Ç¹ 2,500 เลม่ à´×͹ กรกฎาคม 2562
¨Ñ´¾ÔÁ¾ìâ´Â กองคมุ้ ครองซากดึกด�ำบรรพ์ ¡ÃÁ·ÃѾÂҡøóÕ
75/10 ¶¹¹พระรามที่ 6 เขตราชเทวี กรงุ เทพมหานคร 10400
โทรÈѾ·ì 0 2621 9847 โทรสาร 0 2621 9841

ข้อมลู ทางºÃóҹءÃÁ
¡ÃÁ·ÃѾÂҡøóÕ, 2562,
¤ÙèÁ×ͼÙéàÅèÒàÃ×èͧ¸Ã³Õ แหลง่ เรียนรู:้ ไดโนเสารพ์ นงั เส่ือ, 46 ˹éÒ
1.¸Ã³ÕÇÔ·ÂÒ 2.ซาก´Ö¡´ÓºÃþì 3.ไดโนเสาร์ 4.หอยสองฝา 5.พนังเส่ือ

¾ÔÁ¾ì·Õè ·Ù·ÇÔ¹¾ÃÔ¹é µÔ§é
10/122 หม่ทู ่ี 8 µ.ÊÓâçà˹×Í Í.เมอื งสมทุ รปราการ ¨.ÊÁطûÃÒ¡Òà 10270
â·ÃÈѾ·ì 0 2185 9953 และ 09 6996 5447
E-mail: [email protected]

กว่าร้อยล้านปีที่หลับใหล

แหลง่ เรยี นรไู้ ดโนเสารแ์ หง่ บา้ นพนงั เสอื่ อำ� เภอหนองบวั ระเหว จงั หวดั ชยั ภมู ิ เกดิ ขนึ้ จาก
ความชา่ งสงั เกต การเอาใจใสต่ อ่ ชมุ ชนของคณุ ถนอม หลวงนนั ท์ และชาวบา้ นพนงั เสอื่ ทกุ ทา่ น
คณุ ปู การจากความปรารถนาดตี อ่ ประเทศชาตใิ นครงั้ นไ้ี มเ่ พยี งเกดิ แกช่ มุ ชนพนงั เสอื่ แตข่ ยายผล
ตอ่ เนือ่ งถงึ ประเทศไทย และวงการบรรพชีวินทวั่ โลก
โลกได้รับรู้มานานแล้วว่าประเทศไทยเป็นแหล่งอาศัยแห่งหนึ่งของสัตว์เลื้อยคลาน
โบราณขนาดใหญ่แห่งมหายุคมีโซโซอิก กว่าสองทศวรรษก่อนหน้าวงการบรรพชีวินท่ัวโลก
ไดร้ บั รวู้ า่ เมอื งไทย คน้ พบซากดกึ ดำ� บรรพไ์ ดโนเสารส์ ายพนั ธใ์ุ หมท่ มี่ สี ภาพสมบรู ณเ์ กอื บครบ
ทัง้ ตวั ท่ีจังหวัดกาฬสินธุ์ มาบัดน้ีข่าวการพบซากไดโนเสาร์ยักษ์แห่งบ้านพนังเส่ือได้เขย่า
วงการบรรพชวี นิ โลกอีกครง้ั หน่งึ
การค้นพบ และการเอาใจใส่ตอ่ สมบตั ชิ าติของชาวพนังเสือ่ ทำ� ให้เกดิ แหลง่ เรยี นรู้
ไดโนเสาร์บ้านพนังเสือ่ ขึ้น สง่ิ เหลา่ นี้เป็นการเรม่ิ ตน้ ท่ถี กู ต้อง แต่เรายงั มีหนทางทีต่ อ้ งเดินไป
ข้างหน้าอีกยาวไกล การศึกษาวิจัย เปรียบเทียบซากดึกด�ำบรรพ์เป็นกระบวนการท่ีอาศัย
ระยะเวลา และความอดทนของหลายฝ่าย ทั้งนักบรรพชีวินวิทยา องค์กรของรัฐที่เกี่ยวข้อง
สนบั สนนุ และทส่ี ำ� คญั คอื ชมุ ชนทจี่ ะเปน็ ผดู้ ำ� เนนิ การปกปอ้ งดแู ลรกั ษา อนรุ กั ษ์ และเผยแพร่
องคค์ วามรใู้ ห้กับผู้มาเยือนจากทวั่ โลก
กรมทรพั ยากรธรณหี วงั วา่ เอกสารคมู่ อื ผเู้ ลา่ เรอื่ งธรณี แหลง่ เรยี นรไู้ ดโนเสารพ์ นงั เสอื่
ทไ่ี ดร้ วบรวมขอ้ มลู เบอื้ งตน้ เกย่ี วกบั ไดโนเสารย์ กั ษแ์ หง่ บา้ นพนงั เสอ่ื ไว้ จะเปน็ ประโยชนก์ บั เจา้ หนา้ ท่ี
ยุวมัคคุเทศก์ท้องถ่ินอาสา และมัคคุเทศก์ชุมชนอาสาในการศึกษาเพื่อน�ำเสนอต่อผู้มาเยือน
จากทว่ั ทศิ รวมถึงจะเป็นประโยชนต์ ่อนกั เรียน นกั ศึกษา และนักทอ่ งเทีย่ วทุกทา่ น

(นายสมหมาย เตชวาล)
อธิบดีกรมทรพั ยากรธรณี

สารบัญ

เม่ือยักษ์ใหญ่เผยตวั 1
ยักษ์โบราณทีบ่ า้ นพนังเส่อื 2
ธรณวี ิทยาชัยภูมิ 4
ธรณวี ทิ ยาโครงสรา้ ง 6
ธรณวี ทิ ยาแหลง่ ไดโนเสารพ์ นงั เสอื่ 8
เร่อื งของไดโนเสาร์ 10
ไดโนเสารต์ ระกลู คอยาว 12
ไดโนเสารท์ ี่บ้านพนังเสอื่ 14
เทือกเถาเหล่ากอเจา้ คอยาว 18
วางกระดูกให้ถกู ทีถ่ ูกทาง ท่ีหน้ากลางพิเศษ
ตามหาญาติ...ต้องสงสัย 21
ฤๅจะใช.่ .ญาตกิ า 22
ยังไมพ่ บญาติ.. แตเ่ พื่อนเยอะ 24
เพื่อนสองฝาร่วมสมยั 26
ธรณีวิทยาแหลง่ ชั้นหอย เขาจอมจ อ้ ง 28
แหลง่ เรยี นรไู้ ดโนเสาร์บา้ นพนังเส่ือ อ . หนองบ ัวระเหว 30
เขตสำ� รวจและศกึ ษาวิจยั ฯ 34
เอกสารอา้ งองิ ไดโแนหเสลาง่ รเรพ์ ียนนังรเสู้ 3่อื 8

ภาพจาก https://www.google.co.th/maps/search/พนงั เสือ่ +ชยั ภูม/ิ @15.7613595,101.7212194,13z/data=!3m1!4b1

เมื่อยักษ์ใหญ่เผยตัว

วนั ที่ 2 มนี าคม 2559 คณุ ถนอม หลวงนนั ท ์ ช าวบา้ นพนงั เสอ่ื  ห  มทู่  ี่ 5  ไดเ้ ขา้ ไปหาปลา
บรเิ วณรมิ สระน้� ำสาธารณประโยชน์ ในเขตเทศบาลตำ� บลหนองบวั ระเหว อ.หนองบวั ระเหว
จ.ชยั ภมู ิ และไดพ้ บชนิ้ สว่ นคลา้ ยโครงกระดกู ของสตั วข์ นาดใหญ่ จงึ ไดแ้ จง้ ใหท้ างราชการทราบ
เมอื่ สำ� นกั งานทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละสง่ิ แวดลอ้ ม (ทสจ) จงั หวดั ชยั ภมู ไิ ดร้ บั ขา่ วจงึ ได้
แจ้งกรมทรัพยากรธรณีทราบผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ก พร้อมกันนั้นได้แจ้งให้เทศบาลต�ำบล
หนองบัวระเหว ให้ท�ำเร่ืองแจ้งไปยังกรมทรัพยากรธรณี ตามท่ีก�ำหนดไว้ในพระราชบัญญัติ
คุ้มครองซากดึกด�ำบรรพ์ พ.ศ. 2551
เมื่อได้รับแจ้งข่าว นักบรรพชีวินวิทยา และนักธรณีวิทยาจากกรมทรัพยากรธรณี
จึงได้เข้าตรวจสอบเบื้องต้น และท�ำาการส�ำารวจเพ่ือประเมินศักยภาพของแหล่ง พบว่าส่ิงที่
คณุ ถนอม หลวงนันทเ์ จอในวนั นัน้ คอื ช้ินส่วนส�ำคัญท่ีสามารถระบไุ ด้ว่าเปน็ ไดโนเสาร์กนิ พืช
พวกซอโรพอด สะสมตวั ในชนั้ หนิ ทรายหมวดหนิ โคกกรวด กลมุ่ หนิ โคราช อยใู่ นยคุ ครเี ทเชยี ส
ตอนตน้ (Early Cretaceous) หรอื ประมาณ 100 ลา้ นปี มศี กั ยภาพสงู สำ� หรบั การสำ� รวจ
ศกึ ษาวจิ ยั เพื่อพฒั นาเปน็ แหล่งซากดึกดำ� บรรพ์ขน้ึ ทะเบียน เน่ืองจากมีลักษณะไม่เหมอื นกับ
ที่เคยพบมากอ่ น และคาดวา่ นา่ จะเป็นชนดิ ใหมข่ องโลก
จากวันน้ันเปน็ ต้นมา ดว้ ยความรว่ มมืออย่างดยี งิ่ ระหวา่ งชุมชนกับหน่วยงานทุกฝา่ ย
ทเี่ กย่ี วขอ้ ง บรเิ วณสระน�้ำสาธารณะประโยชนบ์ า้ นพนงั เสอื่ จงึ ไดร้ บั การอนรุ กั ษ์ และพฒั นาเปน็

แหล่งเรยี นร้ไู ดโนเสาร์ แหง่ บา้ นพนงั เส่อื

แหลง่ เรยี นรไู้ ดโนเสารใ์ นแหลง่ ซากดกึ ดำ� บรรพไ์ ดโนเสารต์ วั จรงิ ซงึ่ มเี พยี งไมก่ แ่ี หง่ ในเมอื งไทย

วดั หนองแกพนงั เส่ือ

1

ยักษ์โบราณ 

บา้ นพนงั เสือ่ ต้ังอยบู่ นพืน้ ท่รี าบ ห่างออกไปทางใต้
ประมาณ 2 กโิ ลเมตร จากตัวอำ� เภอหนองบัวระเหว

จงั หวัดชัยภมู ิ ภูมปิ ระเทศทางด้านเหนือมคี วามสงู ชันมากขน้ึ
เปน็ ล�ำดบั เลยขนึ้ ไปประมาณ 25 กิโลเมตรเปน็ เทอื กเขา
ขนาดใหญว่ างตวั ในแนวตะวนั ตก-ตะวนั ออก ประกอบดว้ ย

ภูต่างๆ เชน่  ทวิ ภแู ลนคา  ภคู ำ� น้อย  และภูเขยี ว
ชิน้ ส่วนซากดึกดำ� บรรพ์ไดโนเสาร์ขนาดยักษ์ถกู พบ

อยู่บริเวณริมสระน�้ำท่อี ยูท่ างใตข้ องโรงเรียนหนองบวั ระเหว
วทิ ยาคาร ซง่ึ จากขอ้ มลู เบอื้ งตน้ ทางธรณวี ทิ ยาพอจะระบุไดว้ า่
ชนิ้ สว่ นเหลา่ นฝ้ี งั ตัวอยใู่ นช้ันหินตะกอนอายุกว่าร้อยล้านปี
นอกจากนีบ้ รเิ วณวดั หนองแกพนงั เสอื่ ที่อยู่ใกลๆ้ กันนยี้ งั พบ

ชั้นหนิ ทรายท่อี ดั แนน่ ไปด้วยซากดกึ ดำ� บรรพ์หอยสองฝา
จ�ำนวนมาก ซงึ่ ทำ� ใหร้ ะบุสภาวะแวดล้อมโบราณไดด้ ียงิ่ ขึ้น
นอกจากท่ีบ้านพนังเส่ือแล้ว เหนอื ขีน้ ไปประมาณ
20 กม. ทเ่ี ขาจอมจอ้ งยงั มกี ารคน้ พบซากดกึ ดำ� บรรพไ์ ดโนเสาร์
ทงั้ สว่ นสนั หลงั และสว่ นอน่ื ๆ อกี หลายชน้ิ และเปน็ แหลง่ ทมี่ ี
ศกั ยภาพทจ่ี ะศกึ ษาวจิ ยั ตอ่ ไป โดยหลกั ฐานทางธรณวี ทิ ยาระบวุ า่

มอี ายแุ กก่ วา่ ยกั ษใ์ หญแ่ หง่ บา้ นพนงั เสอื่ หลายสบิ ลา้ นปี
กว่ารอ้ ยล้านปีที่ยกั ษใ์ หญเ่ หลา่ นี้ถกู เก็บรกั ษาไว้
ดว้ ยกระบวนการทางธรณีวทิ ยา จนถึงยคุ ปจั จบุ ัน
ทซ่ี ากยักษโ์ บราณได้เผยตัวให้โลกได้เหน็ อีกคร้งั

เพอื่ เปน็ สกั ขีพยานการเคยด�ำรงอยขู่ องสง่ิ มชี ีวิตขนาดใหญ่ที่สดุ
ในโลก ในภมู ภิ าคท่ี ณ เวลานเ้ี ป็นภาคอีสานของประเทศไทย
2

 ที่บ้านพนังเสื่อ

ขอ้ มูลเบ้อื งต้นเกย่ี วกับแหลง่ ซากดกึ ด�ำบรรพ์ไดโนเสาร์
พนงั เส่ือ ทนี่ ักบรรพชีวินวทิ ยาบอกเรา ทง้ั ท่เี ก่ียวกับ
ตวั ซากดกึ ดำ� บรรพ์ รวมถงึ อายุ เชอ่ื ถอื ไดม้ ากนอ้ ยแคไ่ หน?
เขารู้ไดอ้ ย่างไร? เราจะสงสยั ดีไหม?
ถา้ อยๆู่ เราพบซากดกึ ดำ� บรรพฝ์ งั ตวั อยใู่ นชนั้ หนิ โดยทเี่ รา
ไมม่ ขี อ้ มลู หรอื ความรพู้ นื้ ฐานทางดา้ นธรณวี ทิ ยาเลย
เราอาจจะบอกไดเ้ พยี งวา่ เปน็ “ซากดกึ ดำ� บรรพข์ องสง่ิ มชี วี ติ ”
โดยไมร่ วู้ ่าเป็นตวั อะไร เกดิ ในยุคไหน อายกุ ่ีลา้ นปี
แตห่ ากเรามแี หล่งขอ้ มูลความรู้เบือ้ งตน้ ทางธรณวี ิทยา
เช่น แผนทธ่ี รณีวิทยา และความรู้พ้ืนฐานทางดา้ น
บรรพชีวนิ วิทยา เราก็จะสามารถทราบในเบอ้ื งตน้ แบบท่ี
นกั บรรพชวี ินวทิ ยาบอกเราไดเ้ ชน่ กัน
ดังนัน้ ก่อนท่ีจะเขา้ ส่รู ายละเอยี ดเกี่ยวกับซากดึกด�ำบรรพ์
ไดโนเสารพ์ นงั เสอื่ เราควรมาทำ� ความเขา้ ใจเกย่ี วกบั
สภาพธรณีวทิ ยาท่ัวไปของจงั หวดั ชัยภมู ิ และความรู้
พ้ืนฐานเกย่ี วกบั ไดโนเสาร์กันกอ่ น
และเม่ือไดร้ ้จู ักเจ้ายกั ษ์ใหญแ่ หง่ บ้านพนังเส่อื กันแลว้
เราจะไดไ้ ปดกู ารจดั การสมบัตขิ องชาวโลกท่ีชาวไทยเปน็
เจ้าของกนั ทั้งดา้ นการอนุรกั ษ์ ดว้ ยความร่วมมือของชาว
พนังเสื่อกบั ทางราชการ และการเผยแพรข่ ้อมลู โดยการ
จัดต้งั แหลง่ เรยี นรู้ เพอื่ ความเขา้ ใจท่ีถูกต้องของทกุ ฝา่ ย
ซงึ่ เปน็ เป้าหมายสงู สุดของแหล่งอนุรกั ษ์ทุกแหล่งทวั่ โลก

3

เนนิ เขายอดป้าน

หินปูนยุคเพอ ์รเ ีมยน

ภเู ขายอดราบ หว้ ยหนิ ลาดน้� ำพอง ภูกระดงึ ชน้ั หินรปู ประทุน
เขารปู อโี ต้ พระวิหาร ช้นั หนิ รูปประทนุ หงาย

เสาขัว มหาสารคาม 30 กโิ ลเมตร
ภพู าน โคกกรวด

0 10

4

ธรณีวิทยาชัยภูมิ

จังหวัดชัยภูมิวางตัวอยู่บนกลุ่มหินโคราช ซึ่งประกอบกันขึ้นด้วยหินตะกอนจ�ำพวก
หนิ ทราย หนิ ทรายแปง้ หนิ กรวดมน และหนิ ดนิ ดานรวม 9 หมวดหนิ ลำ� ดบั จากลา่ งขนึ้ บน
ดงั นีค้ อื หว้ ยหนิ ลาด น้� ำพอง ภกู ระดงึ พระวิหาร เสาขวั ภพู าน โคกกรวด มหาสารคาม
และภทู อก ซง่ึ ในเขตจังหวดั ชัยภูมพิ บหมวดหนิ ตา่ งๆ ของกลุม่ หนิ โคราชได้ถงึ 8 หมวดหิน
ขาดเพียงหมวดหนิ ภูทอกท่อี ยู่บนสดุ เพยี งหมวดหินเดียว
จังหวัดชัยภมู ติ ง้ั อยบู่ ริเวณขอบด้านตะวันตกของทร่ี าบสูงโคราช บรเิ วณด้านตะวนั
ตกเฉียงเหนือของตวั จงั หวดั พบหมวดหินห้วยหินลาด ซงึ่ เปน็ หมวดหนิ ลา่ งสดุ ของกลมุ่ หนิ โคราช
วางตวั อยบู่ นหนิ ปนู ยคุ เพอรเ์ มยี น
หมวดหนิ ตา่ งๆ ของกลมุ่ หนิ โคราชในจงั หวดั ชยั ภมู วิ างตวั จากอายแุ กไ่ ปออ่ นเรยี งลำ� ดบั
จากดา้ นตะวนั ตกซง่ึ มลี กั ษณะภมู ปิ ระเทศสงู ชนั และเปน็ ตน้ กำ� เนดิ ของแมน่ ้� ำชี ไปทางตะวนั ออก
ซง่ึ มภี มู ปิ ระเทศลดหลนั่ ลงไป จนถงึ พนื้ ทรี่ าบซง่ึ รองรบั ดว้ ยหมวดหนิ มหาสารคาม
นอกจากแหล่งซากดึกดำ� บรรพ์ไดโนเสาร์ และหอยน้� ำจดื ทบ่ี ้านพนังเสอ่ื ซึง่ พบอยูใ่ น
หมวดหนิ โคกกรวด ทอ่ี ำ� เภอหนองบวั ระเหว และแหลง่ ไดโนเสารเ์ ขาจอมจอ้ ง ในหมวดหนิ เสาขวั
ท่ีอ�ำเภอบ้านเขว้าแล้ว ชัยภูมยิ งั มีแหล่งธรณีวิทยาทสี่ ำ� คัญๆ อีกหลายแห่ง เช่น

• แหล่งซากดึกด�ำบรรพ์ไดโนเสาร์ซอโรพอดอายุ 210 ล้านปี ในช้ันหินกรวดมน
หมวดหนิ น�ำ้พอง ท่ีบ้านโนนสะอาด ต.ท่าใหญ่ อ.หนองบัวแดง

• แหล่งรอยตีนไดโนเสาร์บนชั้นหินทรายหมวดหินน�ำ้พอง บริเวณริมตล่ิงล�ำน�้ำชี
ท่ีบา้ นโนนตูม ต.วงั ชมภู อ.หนองบัวแดง และ

• มอหนิ ขาว แหล่งหินสวยแปลกตา แหลง่ ทอ่ งเทย่ี วทโ่ี ด่งดัง บนหมวดหนิ พระวหิ าร
ทอ่ี ทุ ยานแห่งชาตภิ ูแลนคา
แผนทธี่ รณวี ทิ ยาจงั หวดั ชยั ภมู นิ อกจากจะแสดงการกระจายตวั ของหมวดหนิ ตา่ งๆ แลว้
ยังแสดงโครงสรา้ งทางธรณีวทิ ยารูปแบบตา่ งๆ ที่สามารถพบเหน็ ไดช้ ัดเจน เชน่ ชนั้ หนิ รูป
ประทนุ ช้นั หนิ รูปประทนุ หงาย เนนิ เขายอดป้าน ภูเขายอดราบ และเขารปู อีโต้ ทเ่ี กดิ จาก
กระบวนการธรณีแปรสัณฐาน ซ่ึงเป็นการเคลื่อนไหว และเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก
เนอ่ื งจากมแี รงจากภายใต้ผวิ โลกมากระท�ำ

(ดูแบบจ�ำลองพรอ้ มค�ำอธิบาย ธรณวี ิทยาโครงสร้าง ในหนา้ ถัดไป)

5

ธรณีวิทยาโครงสร้าง

จงั หวดั ชยั ภมู ติ ง้ั อยบู่ นกลมุ่ หนิ โคราช ทว่ี างตวั อยบู่ นหนิ ปนู ยคุ เพอรเ์ มยี น ชนั้ ตะกอน
ทรี่ วมตวั กนั เปน็ กลมุ่ หนิ โคราช มกี ารสะสมตวั เปน็ ระยะเวลายาวนานกวา่ รอ้ ยลา้ นปี จนกระทงั่
ยตุ กิ ารสะสมตัวเมอื่ ปลายยุคครีเทเชียส และถกู ยกตัวข้ึนสู่ผิวโลกในยุคต่อมาโดยกระบวนการ
ธรณแี ปรสัญฐาน (Tectonics) ซ่งึ เป็นการเคล่ือนไหวเปลี่ยนแปลงของเปลอื กโลกเนอ่ื งจาก
แรงที่มาจากภายในโลก ส่งผลให้ชั้นหินตะกอนหลายชนิดท่ีเคยวางตัวในแนวราบถูกบีบอัด
จนเกดิ การเอยี ง งอ โคง้ โกง่ ตวั เกดิ เปน็ ลกั ษณะโครงสรา้ งทางธรณวี ทิ ยาหลายรปู แบบ

จากน้นั กระบวนการทางธรณวี ิทยาอื่นๆ กเ็ ขา้ มามีบทบาทในการสลกั เสลาเกลาแตง่
แผ่นดนิ ท่รี าบสูงโคราช ใหม้ ีรปู รา่ งสวยงาม แปลกตาเป็นเอกลกั ษณ์ เช่น กระบวนการผพุ ัง
(Weathering) ที่เกิดจากแสงแดด และสารเคมีในธรรมชาติ และการกดั เซาะ (Erosion)
โดยทางน้� ำผวิ ดนิ และแรงลม ทำ� ใหเ้ กิดลักษณะภมู ปิ ระเทศดงั ทีพ่ บเหน็ ไดใ้ นปจั จบุ นั

โครงสร้างทางธรณวี ทิ ยาท่ีเดน่ ชัดในจงั หวัดชยั ภูมิ ซ่ึงจะมองเหน็ ได้ชัดเจนจากแผนที่
ธรณีวิทยามีหลายแบบ เช่น

• ชน้ั หนิ โคง้ รปู ประทนุ (Anticline-แอนตไิ คลน)์ ชนั้ หนิ ทโี่ คง้ ตวั เหมอื นรปู ประทนุ เรอื
ชัน้ หนิ ทอี่ ยบู่ รเิ วณแนวแกนประทนุ จะมีอายุแก่ท่สี ดุ

• ช้นั หนิ โค้งรูปประทุนหงาย (Syncline-ซินไคลน)์ ชัน้ หินท่โี ค้งตัวเหมือนนำ� เอา
ประทุนเรอื มาวางหงาย ช้นั หินทอี่ ยูบ่ รเิ วณแนวแกนประทนุ จะมอี ายอุ ่อนท่สี ุด

• เนนิ ยอดปา้ น (Butte-บวิ ท)์ เปน็ เขาขนาดเลก็ ทมี่ ดี า้ นขา้ งชนั และมยี อดคอ่ นขา้ งราบ
• ภเู ขายอดราบ (Mesa-เมซา) ภเู ขาทม่ี ดี า้ นขา้ งชนั และมยี อดราบคลา้ ยเนนิ ยอดปา้ น

เพียงแต่มขี นาดใหญ่กวา่
• เขารปู อโี ต้ (Cuseta-เควสตา้ ) เปน็ เขาทีม่ ีดา้ นหนา้ ชนั ดา้ นท้ายลาดตามมมุ เท

ของช้ันหิน

6

• ชน้ั หนิ โคง้ รปู ประทนุ เปน็ ชน้ั หนิ ทโ่ี คง้ ตวั
เหมอื นรปู ประทนุ เรอื ชั้นหนิ ท่อี ยู่บนสดุ
มีอายุอ่อนทสี่ ดุ

• เมอ่ื ช้นั หนิ ผุพัง และถูกกดั เซาะท�ำลายลง
จะเผยใหเ้ ห็นถึงช้นั หินทีอ่ ยบู่ ริเวณแนวแกน
ประทนุ ทมี่ ีอายแุ กท่ ส่ี ดุ

• ชั้นหนิ โค้งรปู ประทนุ หงาย เป็นชั้นหิน
ทีโ่ ค้งตวั เหมอื นน�ำเอาประทนุ เรอื มาวางหงาย
ชนั้ หินที่อยบู่ นสดุ จะมีอายอุ ่อนทสี่ ดุ

• เมอ่ื ชน้ั หินผพุ ัง และถกู กดั เซาะท�ำลายลง   
จะเผยใหเ้ ห็นถงึ ชัน้ หินท่ีอยูบ่ รเิ วณดา้ น
นอกสุดของประทุนทมี่ ีอายแุ ก่ที่สดุ

• เนนิ ยอดปา้ น เปน็ เขาขนาดเลก็ ทมี่ ดี า้ นขา้ งชนั
และมยี อดคอ่ นขา้ งราบขนานไปกบั ชนั้ หนิ

• ภเู ขายอดราบ ภเู ขาทม่ี ดี า้ นขา้ งชนั และมี
ยอดราบขนานไปกบั ชนั้ หนิ คลา้ ยเนนิ ยอดปา้ น
เพยี งแตม่ ขี นาดใหญก่ วา่ เมอ่ื ถกู กดั เซาะทำ� ลาย
ตอ่ ไปกจ็ ะลดขนาดลงเปน็ เนนิ ยอดปา้ น

• เขารูปอโี ต้ เปน็ เขาที่มดี ้านหนา้ ชัน ด้านท้าย
ลาดตามมมุ เทของชน้ั หิน อาจเป็นเพียงปกี
ขา้ งหนึ่งของชัน้ หนิ รปู ประทนุ ขนาดใหญ่
7

ธรณีวิทยาแหล่งไดโนเสาร์พนังเส่ือ

หมวดหินโคกกรวดทพี่ บในพ้ืนทตี่ ่างๆ ทวั่ ภาคอีสานมีความหนาแปรเปลี่ยนระหวา่ ง
430 ถงึ 700 เมตร การเรยี งลำ� ดบั และชนดิ ของชนั้ หนิ ตะกอนตา่ งๆ ในหมวดหนิ โคกกรวด
บ่งบอกใหร้ ู้ ว่าเปน็ การสะสมตวั ของตะกอนจากทางน้� ำโค้งตวดั ซึง่ พบไดเ้ ฉพาะในภูมิประเทศ
ที่ค่อนข้างราบ องค์ประกอบอื่นๆ รวมถึงซากดึกด�ำบรรพ์ที่พบ ท�ำให้รู้ว่าเกิดอยู่ในสภาวะ
แวดลอ้ มแบบแหง้ แลง้ และกงึ่ แหง้ แลง้ ในยคุ ครเี ทเชยี สตอนตน้
แท่งสญั ลกั ษณ์ทางธรณีวทิ ยาในหน้าขวา ดดั แปลงจาก Meesook, 2016 แสดง
การเรยี งตัวของชัน้ หนิ ตะกอนชนิดตา่ งๆ ของหมวดหินโคกกรวด เฉพาะสว่ นทพี่ บโผลผ่ วิ ดิน
บริเวณรมิ สระน้� ำสาธารณะ ซึง่ มีความหนาประมาณ 3.9 เมตร ประกอบดว้ ยช้ันหินหน่วย
ต่างๆ รวม 9 หน่วย (หน่วย U-1 ถงึ U-9 เรียงลำ� ดับจากล่าง-ข้นึ บน) ตามล�ำดบั การ
สะสมตวั โดยการจำ� แนกตามลกั ษณะชนิดหิน และซากดึกดำ� บรรพ์ท่ีพบ สรปุ ได้ดังน้ี คือ

• ลา่ งสดุ พบหนิ ทรายเนอื้ ละเอยี ด และหนิ ทรายแปง้ เนอื้ ปนู สนี �้ำตาลแดง มรี อยรวิ้ คลนื่
มซี ากกระดกู ไดโนเสาร์ ถดั ขน้ึ มาเปน็ ชนั้ หนิ ทรายละเอยี ดเนอ้ื ปูนชัน้ บาง แสดงชน้ั เฉยี งระดับ
ปิดทบั ดว้ ยหนิ ทรายแปง้ เน้อื ปนู เหมอื นชั้นล่างสุด ซงึ่ ปรากฏซากกระดกู ไดโนเสาร์เลก็ นอ้ ย

• บริเวณส่วนกลางเป็นชั้นแคลครีตสีขาวเหลือง ซึ่งเป็นก้อนตะกอนผิวดินขนาด
กรวด-ทราย ที่ถูกเช่อื มดว้ ยน�้ำปนู ที่คาดว่าเป็นชั้นดินบรรพกาล (Paleosol) ปิดทับอย่าง
ไม่ต่อเนื่องด้วยหินทรายเนื้อปูนสีน�้ำตาลแดง ช้ันหนาปานกลาง ต่อเนื่องด้วยชั้นหินทราย
เนื้อปูน เม็ดทรายละเอียดถึงปานกลางสีน�้ำตาลแดง

• ส่วนบนสุดของหมวดหินนี้เป็นชั้นหินทรายสีน�้ำตาลแดง ช้ันไม่หนามาก ที่แสดง
ชัน้ เฉยี งระดบั ชดั เจน แตไ่ ม่พบซากดึกด�ำบรรพใ์ ดๆ

สระน้� ำสาธารณะ

8

¤(ÇàÒÁÁµËร¹)Ò
4.0

U-9 Ë¹Ô ·ราÂÊÕ¹éÓµาÅá´§
à¹éÍ× ÅÐàÍÕ´¶Ö§»Ò¹¡ÅÒ§
ªÑ¹é ºÒ§-áÊ´§ªé¹Ñ à©Õ§ÃдѺ

3.5 U-8 ËÔ¹·ราÂÊÕ¹éÓµาÅá´§
હ¹éÑ ×Íé ºÅÒЧà-ÍËÕ´¹»Ò»Ò¹Ò¹¡Å¡ÅÒ§Ò§ áÊ´§ªéѹà©Õ§ÃдѺ
Uª¹éÑ -Ë7¹ËÒ»¹Ô Ò·¹Ã¡ÒÂÅÊÒ§Õ¹Óé áµÊÒ´Å§áª´Ñ¹é §à©àÂÕ¹§×Íé ÃÅÐдàºÑÍÕ´»Ò¹¡ÅÒ§

3.0 U-6 Ë¹Ô ·ราÂà¹×éÍ»¹Ù ÊÕ¹Óé µาÅá´§
હÑé¹é×ͺÅาЧàÁÍÕÂาก´-»ËÒ¹¹า¡»ÅาÒ¹§ก¤Å´Ñ า¢§¹Ò´´Õ»Ò¹¡ÅÒ§
áÊ´§ªÑé¹à©Õ§ÃдºÑ ºÃàÔ Ç³ªÇ‹ §ÅÒ‹ §

2.5 ªàU¹Ñ¹é -éÍ× Ë5ŹÐËÒàÍ»¹Ô ÕÂÒ·´¹ร»¡าÒÂŹàÒ¹¡§Í×éÅá»Òʧ¹Ù ´§Êª¹Õѹé ÓéੵÕÂา§ÅÃáд´§ºÑ

รอยช้ันไมต อ เนอื่ ง
U-4 ªé¹Ñ ´Ô¹ºÃþ¡ÒÅ Paleosol ·Õè»ÃСͺ´ŒÇÂá¤Å¤ÃµÕ Calarete

2.0 UªÑé¹-º3Ò§ËÁ¹Ô Ò·¡รæาÂááŻЇ§ªàé¹Ñ¹ºÍ×é »Ò§¹Ù áÊÊ´¹Õ§ÃÓé ͵ÂาÃÅÇÔé ᤴŧ¹è×
¾º«Ò¡´¡Ö ´ÓºÃþ¡ Ãд١ áÅÐàÈÉ¡Ãд١ä´â¹àÊÒÏ

1.5 áUÊ-´2§ªË¹Ñé ¹Ô à©·ÕÂçÒÃÂÐà´¹ºÑÍé× »¾Ù¹ºÊ«Ò¹Õ ¡éÓ´µ¡Ö Ò´ÅÓẴçþ๏¡Íé× ÃÅÐдà¡ÙÍ«ÂÕ âèÕ´¤Ãª§é¹Ñä´Ëâ¹¹ÒàʺÒÒç

1.0

พระวิหาร 0.5 U-1 ËÔ¹·ราÂệ§à¹Íé× »¹Ù ÊÕ¹Óé µาÅá´§
เสาขัว ÁÕª¹éÑ ºÒ§áÊ´§ÃÍÂÃÇÔé ¤Å¹è×
¾º«Ò¡´¡Ö ´ÓºÃþ¡Ãд١ä´â¹àÊÒÏ
ภูพาน ÃÍ§ÃºÑ ´ŒÇÂË¹Ô ·ÃÒÂà¹Í×é ÅÐàÍÕ´ Ê¹Õ éÓµÒÅá´§

โคกกรวด 0

9

ก่อนจะไปต่อกันท่ีเร่ืองของซากดึกด�ำบรรพ์ “ไดโนเสาร์ยักษ์ ท่ีบ้านพนังเส่ือ”
เรามาท�ำความรจู้ ักไดโนเสารต์ ามแบบฉบับของนกั บรรพชีวนิ วิทยากันก่อน
นกั บรรพชวี นิ วทิ ยาจดั แบง่ ไดโนเสารเ์ ปน็ 2 กลมุ่ ใหญต่ ามลกั ษณะของกระดกู สะโพก

• ซอริสเชยี (Saurischia) มีสะโพกเหมอื นของสตั ว์เลือ้ ยคลาน จะมกี ระดูกหัวหนา่ ว
กบั กระดูกก้นอยแู่ ยกจากกัน โดยกระดูกหัวหนา่ วชไ้ี ปด้านหน้า

ไดโนเสารซ์ อรสิ เชยี น (Saurischians) แบง่ เปน็  2   ก  ลมุ่ คอื  พวกกนิ เนอื้  ก  บั พวกกนิ พชื
1. เทอโรพอดส์ (Theropods) เปน็ ไดโนเสาร์ พวกกินเนือ้ เดนิ สองขา
แบง่ ด้วยขนาด เปน็ 2 กลุ่มยอ่ ย คือ

• คารโ์ นซอร์ (Carnosaurs) มขี นาดใหญ่
• ซีลโู รซอร์ (Coelurosaurs) มขี นาดเล็ก
2. ไดโนเสาร์คอยาว พวกกนิ พชื ขนาดใหญ่ เดนิ สข่ี า 2 กลุ่มใหญ่ คอื
• โปรซอโรพอดส์ (Sauropods) เชื่อว่ากนิ เนอื้ ไดด้ ว้ ย สญู พนั ธุไ์ ปกอ่ น

ต้งั แตย่ ุคจูแรสซิกตอนตน้
• ซอโรพอดส ์(Sauropods) มกี ารพฒั นาขนาดใหญข่ นึ้ กวา่ ญาตใิ นยคุ ตน้ ๆ มาก

Kinnareemimus Argentinosaurus

โคกกรวด Siamosaurus Siamotyrannus Compsognathus Phuwiangos
เสาขวั
ภกู ระดงึ Euhelopod
Brachiosaurus
Carnosaurs
Coelurosaurs
Sauropods
Prosauropods
น้ำพอง Isanosaurus

กระดกู กน THEROPODS

กระดกู หัวหนา ว SAURISCHIANS

สะโพกแบบสัตวเล้ือยคลาน DINO

10 การจัดกลมุ ไดโนเสาร ตามลกั ษณะของกระดูกสะโพก พรอมตัวอยา ง

เร่ืองของไดโนเสาร์

• ออรน์ ธิ ิสเชีย (Ornithischia) มสี ะโพกเหมอื นของนก จะมกี ระดูกหวั หน่าวอยตู่ ิด
กับกระดูกกน้ โดยชี้ไปดา้ นหลงั ท้ังคู่

ไดโนเสาร์ออร์นิธิสเชียน (Ornithischians) เปน็ ไดโนเสารพ์ วกกินพชื ท้ังหมด
แบ่งเป็น 5 กลุ่มยอ่ ย คอื

1. สเตโกซอร์ (Stegosaurs) เปน็ ไดโนเสาร์ มคี รบี หลงั เดนิ สข่ี า
2. ออนิโธพอดส์ (Ornithopods) เปน็ ไดโนเสาร์ ปากเป็ด เดินสองขา
3. เซอราทอปเชียน (Ceratopsians) เปน็ ไดโนเสาร์ มเี ขา เดินส่ขี า
4. แองคีโลซอร์ (Ankylosaurs) เป็นไดโนเสาร์ หมุ้ เกราะ เดนิ สีข่ า
5. พาคเี ซปฟาโลซอร์ (Pachycephalosaurs) เปน็ ไดโนเสาร์ หวั แขง็ เดนิ สองขา

* แองคโี ลซอร์ และ พาคเี ซปฟาโลซอร์ เป็นไดโนเสาร์ 2 กลุ่มทย่ี ังไม่พบในประเทศไทย

Ratchasimasaurus Psittacosaurus ลา นป ครีเทเชียส
Siamodon 66.0
145.0
Hypsilophodontid 201.3
saurus Stegosaurs
did Ornithopods จูแรสซิก
มหายุค ีมโซโซอิก
CeratopsiansStegosaur

ไทรแอส ิซก

ORNITHISCHIANS กระดูกกน กระดูกหวั หนาว 251.9

SAURS สะโพกแบบนก

ไดโนเสารของไทย ทพ่ี บในหมวดหนิ อายตุ างๆ กันของกลุมหนิ โคราช 11

ไดโนเสาร์ตระกูลคอยาว

ไดโนเสาร์ทง้ั หมด ถกู จัดอยใู่ น
• อาณาจกั ร สัตว์ (Kingdom: Animalia)
• ไฟลมั คอร์ดาตา้ (Phylum: Chordata)
• ชน้ั ซอรอปซดิ า (Class: Sauropsida)
• อันดับใหญ่ ไดโนซอเรีย (Superorder: Dinosauria)

ซง่ึ ถกู แยกออกเปน็ อนั ดบั ซอรสิ เชยี (Saurischia) ทมี่ สี ะโพกคลา้ ยสตั วเ์ ลอื้ ยคลาน และ
ออรน์ ธิ สิ เชยี (Ornithischia) ทม่ี สี ะโพกคลา้ ยนกโบราณ สำ� หรบั ไดโนเสารค์ อยาว จดั อยใู่ น

• อนั ดับ ซอรสิ เชีย (Order: Saurischia)
ซึ่งแยกออกเปน็ 2 อันดบั ยอ่ ยคอื พวกกนิ เน้ือ และพวกกนิ พืช สำ� หรับเจ้าคอยาว
เปน็ พวกกินพชื จัดอยใู่ น

• อันดบั ยอ่ ย ซอโรโพโดโมฟา (Suborder: Sauropodomorpha)
ซงึ่ แยกออกเปน็ 2 อนั ดบั ฐาน (Infraorder) ประกอบดว้ ย โปรซอโรโพดา้
(Prosauropoda) และซอโรโพดา้ (Sauropoda)
โปรซอโรโพด้า เป็นไดโนเสารร์ ่นุ แรกๆ ทีเ่ ช่อื ว่าเป็นไดโนเสาร์คอยาวทก่ี นิ ทงั้ พชื
และกนิ ท้งั เนือ้ ซง่ึ สูญพนั ธไุ์ ปตั้งแต่ชว่ งปลายของยคุ จแู รสซิกตอนตน้ แลว้
ส่วนซอโรโพด้าเป็นกลุม่ ไดโนเสาร์กินพืช ที่มวี วิ ัฒนาการท้งั รปู ร่าง และขนาด
ต่อเนอ่ื งไปจนสนิ้ สดุ ยคุ ไดโนเสาร์
ซอโรโพด้า มีววิ ัฒนาการแยกเปน็ หลายสาขา (Clade) เช่น Eusauropoda,
Neosauropoda, Macronaria และ Titanosauriforms ฯลฯ
ในแต่ละสาขาของเหลา่ ไดโนเสารค์ อยาว มีการแตกแขนงสายพนั ธ์ลุ งไปสรู่ ะดับ
วงศ์ (Famiy), สกุล (Genus) และชนิด (Species) ตา่ งๆ มากมาย จากช่วงปลายยุค
ไทรแอสซกิ จนถึงปลายยุคครีเทเชยี ส

12

แผนผงั แสดงสรปุ ลำ� ดบั อนกุ รมวธิ านอยา่ งยอ่ ของไดโนเสารค์ อยาว ทพี่ บซากดกึ ดำ� บรรพ์
ในพื้นที่ตา่ งๆ ทัว่ โลก จากอันดบั ซอริสเชีย สวู่ งศ์ และ สกุลต่างๆ โดยสญั ลกั ษณส์ บี ่งบอก
ทวีปทพี่ บ

(Order-อันดับ) SAURISCHIA (Suborder-อันดบั ยอ ย) THEROPODA ไดโนเสารกินเนอ้ื

(Infraorder-อนั ดบั ฐาน) PROSAUROPODA
Vulcanodon (Genus-สกุล)
S(SAuUbRoOrdPOerD-อOันMดOบั ยRอPยH)A Shunosaurus
Omeisaurus
(Infraorder-อนั ดับฐาน) SAUROPODA Mamenchisaurus
(Clade-สาขา) EUSAUROPODA Diplodocus

(Family-วงศ) Mamenchiosauridae Apatosaurus
(Super Family-เหนอื วงศ) DIPLODOCOIDEA Camarasaurus
Europasaurus
NEOSAUROPODA Euhelopus
MACRONARIA Giraffititan

(Family-วงศ) Brachiosauridae Brachiosaurus
Cedarosaurus
TITANOSAURIFORMES Venenosaurus
Chubutisaurus
SOMPHOSPONDYLI Wintonotitan
Ligabuesaurus
Andesaurus
Phuwiangosaurus
Argentinosaurus
TITANOSAURIA Epachthosaurus
Malawisaurus
แสหกลลุ งทตพี่า งบๆไดทโนั่วโเสลากร Dreadnoughtus
Notocolossus
แอฟรกิ า Tapuiasaurus
เอเชีย LITHOSTROTIA Futalognkosaurus
ออสเตรเลยี Mendozasaurus
ยุโรป Isisaurus
Rapitosaurus
อนิ เดีย Alamosaurus
มาดากสั การ Diamantinasaurus
อเมริกาเหนือ Saltasauridae Opisthocoelicaudia
อเมริกาใต Trigonosaurus
Saltasaurus
Neuquensaurus

คัดลอก และดดั แปลงจาก Bernardo et al. (2016) 13

ไดโนเสาร์ที่บ้านพนังเส่ือ

การขดุ สำ� รวจซากดกึ ดำ� บรรพไ์ ดโนเสารท์ ร่ี มิ สระน�้ำสาธารณะบา้ นพนงั เสอ่ื โดยกลมุ่
นกั บรรพชวี นิ วทิ ยาอยา่ งตอ่ เนอื่ ง นบั จากวนั ทไ่ี ดร้ บั ทราบขา่ วการคน้ พบในปี 2559 พบซาก
กระดูกไดโนเสาร์ ในชัน้ หนิ ทรายแปง้ สนี ้� ำตาลแดงซงึ่ วางตัวตามแนวตะวันออกเฉียงเหนอื -
ตะวันตกเฉยี งใต้
ปจั จุบันพบชนิ้ สว่ นทัง้ ส้นิ 20 ชนิ้ คาดว่าเปน็ ช้ินส่วนของไดโนเสารต์ วั เดยี วกัน
และอาจเป็นกล่มุ ไดโนเสาร์กนิ พืชคอยาว หางยาว จำ� พวกซอโรพอด (Sauropod) สะสมตวั
ในช้ันหนิ ทราย และหินทรายแป้ง สีน�้ำตาลแดง ของหมวดหนิ โคกกรวด กลุม่ หินโคราช
อายุทางธรณีกาลอยู่ในชว่ งยุคครเี ทเชียสตอนตน้ ช้นิ ส่วนสำ� คัญทพ่ี บคือ

• ชิน้ สว่ นกระดกู ใตก้ ระเบนเหน็บ (Sacrum or sacral vertebrae)
• ชน้ิ ส่วนกระดกู สันหลงั (Dorsal vertebrae)
• กลุ่มกระดกู เชงิ กราน ไดแ้ ก่ กระดกู ปีกสะโพก (Ilium-อีเลียม) กระดูกเชิงกราน
(Ischium-อิสเชียม) และกระดูกหวั หนา่ ว (Pubis-พิวบีส)
• กระดกู ซ่ีโครง (Dorsal ribs)
• บางส่วนของกระดูกขาหลังขวาท่อนบน (Right Femur)
• กระดูกขาหนา้ ขวาทอ่ นบน (Right Humerus) ทม่ี ีความยาว 180 เซนตเิ มตร
ถอื ว่ายาวทีส่ ดุ เทา่ ท่ีเคยพบมาในหมวดหินโคกกรวด คาดวา่ ขนาดตัวอาจยาวถงึ ประมาณ
23-30 เมตร
แมจ้ ะพบกระดกู สว่ นขาหน้าท่สี มบูรณ์ แตก่ ระดูกขาหลังท่พี บยงั ไม่สมบรู ณ์ จงึ
ตอ้ งใชเ้ วลาในการขดุ คน้ หาช้ินส่วนเพม่ิ เติมเพอ่ื ศึกษาเทียบเคียงจึงจะสามารถระบุได้วา่ เป็น
ไดโนเสารช์ นดิ ใด ณ เวลานจี้ งึ ยงั ไมม่ กี ารตง้ั ชอื่ อยา่ งเปน็ ทางการ แต่ก็พอจะกล่าวได้ว่าการคน้
พบช้ินส่วนซากไดโนเสารค์ รัง้ นมี้ ขี นาดใหญ่ท่สี ดุ ในเอเชียตะวนั ออกเฉียงใต้
(ตำ� แหนง่ ของช้นิ สว่ นกระดกู ไดโนเสาร์ พรอ้ มกับช่อื เรยี ก แสดงในหน้ากลางพเิ ศษ)

14

4.0 • การขุดค้นส�ำรวจบริเวณอ่างเก็บน�้ำ
U-9 สาธารณะบ้านพนังเสื่อ พบซากดึกด�ำบรรพ์
กระดูกไดโนเสาร์ในชน้ั หนิ ทรายแปง้ สนี �้ำตาล
3.5 U-8 แดง 2 ชนั้ ในหนว่ ยหิน U-1 และ U-3 และพบ
U-7 ซโ่ี ครงในหนว่ ยหนิ U-2 ซงี่ึ จำ� แนกโดย อศั นี มสี ขุ
(Meesook, 2016)
3.0
U-6 • เหนอื ชนั้ ทพ่ี บฟอสซลิ เปน็ ชนั้ ตะกอนท่ี
ถกู เชอื่ มดว้ ยน�้ำปนู มสี ภาพเปน็ ชน้ั ดนิ บรรพกาล
2.5 (U-4) ซงึ่ บง่ บอกสภาวะการหยดุ สะสมตะกอนทาง
U-5 น�้ำ ทำ� ใหแ้ สดงลกั ษณะของรอยชนั้ ไมต่ อ่ เนอื่ ง
U-4
• ช้ันหินทรายสีน�ำ้ตาลแดงท่ีปิดทับ
2.0 U-3 ด้านบนในภายหลังแสดงช้ันเฉียงระดับ ซ่ึงเป็น
โครงสร้างภายในช้ันหินที่แสดงทิศทางการไหล
U-2 ของทางน�้ำในอดีต
1.5
• เหนอื ขนึ้ ไปคอื ชน้ั ดนิ ปกคลมุ ดา้ นบนสดุ
1.0 ทเ่ี กดิ จากการผพุ งั ของชนั้ หนิ เดมิ รวมกบั สารอนิ ทรยี ์
U-1
• กระดูกช้นิ แรกทีพ่ บเปน็ กลุ่มกระดูก
0.5 ใตก้ ระเบนเหน็บ ยาว 110 ซม. กวา้ ง 100 ซม.
หนา 15 ซม. การเกบ็ รกั ษาตามธรรมชาตมิ ี
0 สภาพค่อนขา้ งสมบูรณ์ ผวิ ของกระดูกเหน็ เซลล์
กระดกู ชดั เจน

• กระดกู สันหลังส่วนหลัง ยาว 20 ซม.
กวา้ ง 15 ซม. หนา 5 ซม. การเกบ็ รกั ษาตาม
ธรรมชาตมิ ีสภาพไม่ดี คอ่ นขา้ งผุ ผิวของกระดกู
หายไป

15

• กลมุ่ กระดูกเชิงกราน 3 ชิ้น
คอื กระดกู ปีกสะโพก กระดกู เชงิ กราน
และกระดกู หวั หนา่ ว อยใู่ นระหวา่ งการ
หมุ้ เฝอื กเพ่ือนำ� ไปศึกษาข้ันรายละเอียด
ในห้องปฏิบัตกิ าร

• กระดูกซ่โึ ครงดา้ นขวา
ยาว 180 ซม. กว้าง 10-40 ซม.
หนา 1.5-4 ซม. การเกบ็ รกั ษาตาม
ธรรมชาติมีสภาพค่อนข้างดี แต่หัก
เป็นสองทอ่ น มรี อยแตก และมกี าร
ผุพงั เล็กนอ้ ยบริเวณปลายกระดูก

• กระดกู ขาหลงั ขวาทอ่ นบนบรเิ วณหวั เขา่ ยาว 38 ซม. กวา้ ง 44 ซม. หนา 33 ซม.
การเกบ็ รกั ษาตามธรรมชาติมีสภาพค่อนขา้ งสมบูรณ์ ผิวของกระดกู หายไปบางสว่ น ชน้ิ ส่วน
16 กระดูกมกี ารแตกหัก

• กระดูกขาหนา้ ขวาท่อนบน ยาว 180 ซม. กวา้ ง 22-55 ซม. หนา 23-26 ซม.
ช้นิ สว่ นกระดูกสมบรู ณ์ มกี ารเก็บรักษาตามธรรมชาติมสี ภาพ คอ่ นขา้ งดี หกั เปน็ สามท่อน
มกี ารผุพังเลก็ น้อยบริเวณรอยแตก ผวิ ของกระดูกหายไป แตเ่ ห็นโครงรปู รา่ งกระดกู ชดั เจน

17

เทือกเถาเหล่ากอเจ้าคอยาว

ซากดึกด�ำบรรพ์กระดูกไดโนเสาร์ท่ีพบ ในสายตาของผู้พบเห็นทั่วไปจะรู้สึกว่า
ใหญโ่ ตมาก แตใ่ นสายตาของนกั บรรพชวี ทิ ยา-ผเู้ ชย่ี วชาญดา้ นไดโนเสารแ์ ลว้ ซากกระดกู ที่พบ

เหล่านั้นถือว่ามีขนาด ใหญ่มากที่สุด เท่าท่ีเคยขุดค้นพบในเมืองไทย และจากการ

เปรยี บเทยี บขอ้ มลู เบื้องตน้ กลา่ วได้ว่ามขี นาดใหญท่ ีส่ ุดในภูมิภาคอาเซยี น
นอกจากขนาดท่มี หึมาแล้ว ซากกระดกู ไดโนเสารท์ ่พี บอยู่ในหมวดหินโคกกรวดซ่ึงมี
อายุเพียง 100 ล้านปีเศษ ถือได้ว่ามีอายุน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับบรรดาไดโนเสาร์คอยาว
ทงั้ หมดทพ่ี บในเมอื งไทย เช่น
- ภเู วยี งโกซอรสั สริ นิ ธรเน่ พบในหมวดหนิ เสาขวั อายปุ ระมาณ 130-120 ลา้ นปี
- อสิ านโนซอรสั อรรถวภิ ชั ณช์ ิ พบในหมวดหนิ น�้ำพอง อายปุ ระมาณ 200 ลา้ นปี

แลว้ ยักษ์ใหญ่คอยาวท่บี า้ นพนงั เส่อื เป็นใครกัน มเี ทอื กเถาเหล่ากอ สายพันธ์ุ
ชาตกิ ำ� เนิด และความเปน็ มาอยา่ งไร? เปน็ ภารกจิ สำ� คัญท่นี กั บรรพชวี ทิ ยาต้องรว่ มมอื กนั
ศึกษาวจิ ัย เพอื่ ไขปรศิ นาตอ่ ไป
อยา่ งไรก็ตาม ณ เวลาน้ี กบั ขอ้ มลู เทา่ ทมี่ อี ยู่ นักบรรพชีวินวทิ ยาพอท่ีจะประเมนิ
ในเบื้องต้นได้ว่า มีความเป็นไปได้ท่ีไดโนเสาร์พนังเส่ืออาจจะเป็นหน่ึงใน 5 กลุ่ม ดังนี้

• Mamenchisauridae พบในเอเชยี เชน่ Omeisaurus และ Mamenchisaurus
• Diplodocoidea พบในอเมริกาเหนอื เช่น Diplodocus และ Apatosaurus
• Brachiosauridae พบในอเมริกาเหนือ และแอฟรกิ า ขาหน้ายาวกว่าขาหลงั
คล้ายยรี าฟ เชน่ Brachiosaurus และ Giraffititan
• Somphospondyli พบในอเมรกิ าเหนอื เชน่ Cedarosaurus
• Titannosauria พบในเอเชีย และอเมรกิ าใต้ เช่น Phuwiangosaurus พบท่ี
ภาคอสี านของไทย และ Argentinosaurus มีขาหลังยาวกว่าขาหนา้ พบทอ่ี ารเ์ จนตนิ า
ซ่ึงมีต�ำแหน่งตามแผนผังด้านขวามือ ทสี่ รุปอนกุ รมวธิ านอยา่ งย่อ ของไดโนเสาร์
คอยาวท่วั โลก โดยตารางดา้ นบนแสดงธรณกี าลในชว่ งมหายุคมีโซโซอิก สว่ นสัญลักษณ์แถบ
หลากสแี สดงถงึ แหลง่ ทคี่ ้นพบไดโนเสารแ์ ต่ละสกุล ตามยคุ -สมยั และช่วงอายุทางธรณกี าล
18

โครงกระดูกไดโนเสาร์ พนังเสื่อ

ไดโนเสาร์เปน็ สัตว์มกี ระดูกสันหลงั นักบรรพชวี วิทยาแบง่ กระดกู สนั หลังของ
ไดโนเสารค์ อยาวออกเป็น 3 สว่ น คอื ส่วนคอ (Cervical) ส่วนหลงั (Dorsal) และส่วน
หาง (Caudal) ชนิ้ สว่ นกระดูกแตล่ ะชนิ้ จะมีช่อื เรยี กระบุแน่นอนวา่ เปน็ ด้านซ้าย-ขวา

ช้นิ สว่ นกระดกู สว่ นท่รี ะบายสเี หลืองในโครงกระดกู เจ้าคอยาว คอื สว่ นทขี่ ดุ ค้นพบ
จากบริเวณรมิ สระน�้ำสาธารณะบา้ นพนงั เสื่อ ประกอบดว้ ย กระดกู ขาหน้าและหลัง
ทอ่ นบนด้านขวา กระดกู สันหลัง กระดกู ส่วนใต้กระเบนเหน็บ กระดกู
ซ่ีโครง และกลุ่มกระดูกเชงิ กราน

ภาพถา่ ยจากใต้ โครงกระดกู
ซอโรพอดจำ� ลองที่ จดั แสดงใน
พิพธิ ภณั ฑส์ ิรินธร จ.กาฬสินธุ์
แสดงตวั อย่าง กระดกู สนั หลงั ส่วน
กระเบน เหนบ็ และกลุ่มกระดกู
เชงิ กราน มองเหน็ กระดกู หวั หนา่ ว
ย่นื ออกมา ด้านหน้า สว่ นกระดกู เชงิ กราน
ชีไ้ ปด้านปลายหาง อยา่ งชัดเจน

ส�ำหรบั กระดูกขาหลังท่อนบน สว่ นหัวเขา่ และสว่ นกลาง ท่พี บบริเวณริม
สระน้� ำ มีประวัตกิ ารเดนิ ทางทพ่ี ศิ ดารกวา่ กระดกู ชน้ิ อื่นๆ เพราะว่าช่วงท่ีมีการขุดสระน�้ำแหง่
นดี้ ว้ ยรถขุดแบ็คโฮ เมอื่ สบิ กว่าปกี ่อน ชนิ้ ส่วนกระดกู ขาหลังท่อนบน 3 ช้นิ น้ถี กู ขุดขึ้นมา
จากช้นั หนิ โดยบังเอิญ และถูกฝังกลบรวมกบั กองดินบรเิ วณรมิ สระน�้ำ แตใ่ นเวลานน้ั ไมม่ ีใคร
สังเกตเหน็ จนกระท่ังมีการสำ� รวจอย่างเปน็ ระบบหลงั จากการพบกระดกู ไดโนเสารค์ รง้ั แรก
โดยคณุ ถนอม หลวงนนั ท์ และคาดวา่ เป็นกระดกู ของไดโนเสาร์คอยาวตวั เดยี วกัน

สว่ นกลางของ

Femur กระดูกขาหลังขวาท่อนบน

มองจากด้านหนา้ มองจากด้านหลัง
Caudal vertebrae
กระดกู สันหลังสว่ นหาง

ภาพกราฟฟิกส์ไดโนเสาร์ คัดลอก และดัดแปลงจาก
https://www.uihere.com/free-cliparts/amphicoelias-dinosaur-size-
diplodocus-sauropoda-argentinosaurus-dinosaur-6783727

ส่วนปลายล่างของ Chevrons กระดูกเชฟรอน
Femur กระดูกขาหลงั ขวาท่อนบน ท�ำหนา้ ท่รี ับน้� ำหนักหาง

มองจากด้านหน้า มองจากด้านหลัง

Dorsal vertebrae
กระดูกสันหลงั ส่วนล�ำตวั
Sacrume
กระดูกสันหลังสว่ นกระเบนเหนบ็ Dorsal ribs
กระดูกซี่โครง

Ilium กระดูกปีกสะโพก

Ischium กระดPูกuหbวั isหนา่ ว Scapula
กระดูกเชิงกราน Fibula Sternal
กระดูกน่อง
Femur Humerus กระดูกขาห
กระดูกขาหลงั ท่อนบน Radius กระดกู ปล
Ulna กระดูกปล
Tibia
กระดกู แขง้

Cervical vertebrae Cranium กะโหลกสว่ นทอี่ ยตู่ ิดกบั คอ รวมถงึ ขากรรไกรบน
กระดูกสนั หลงั ส่วนคอ Mandible ขากรรไกรล่าง

Cervical Ribs กระดกู ซ่ีโครงส่วนคอ

Humerus กระดกู ขาหนา้ ท่อนบนขวา
มองจากด้านหน้า มองจากดา้ นหลัง

กระดกู สะบักไหล่
plate กระดูกแผน่ รองอก

หน้าท่อนบน
ลายแขนทอ่ นนอก
ลายแขนทอ่ นใน

ตอนตน ไทรแอสซิก จแู รสซิก
ตอนกลาง
ตอนปลาย ตอนตน ตอนกลาง ตอนปลาย

OIlnednuekainan
Anisian
Ladinian
Carnian
Norian
Rhaetian
Hettangian
Sinemurian
Pliensbachian
Toarcian
BCABaaatalljlheooocniviniiaaaannnn
Oxfordian
Kimmeridgian
Tithonian

251.9
225417..22
242.0
237.0
237.0
208.2
210991..33
190.8
182.7
174.1
116708..33
116663..51
157.3
152.1
145.0

PROSAUROPODA

S(ASuUbRoOrPdOeDr-OอันMดOับRยPอHยA) Vulcanodon (Genus-สกลุ )
Shunosaurus
OMmameiesanuchruissau
(InfraSoArUdReOr-อPนัOดDับAฐาน) E(UCSlaAdUeR-สOาPขOาD) A D
A
Mam(Feanmchilyio-วsaงuศ)ridae NEOSAUROPODA C

(SupDeIPr LFOamDOilyC-OเหIDนEอื Aวงศ) MACRONARIA Europ

G
Br(aFcahmioilsya-uวงriศd) ae B

TITANOSAURIFORMES

SOMPHOSPONDYLI

TITANOSAURIA
LITHOSTR

คดั ลอก และดดั แปลงจาก Bernardo et al. (2016)

19

ครเี ทเชียส ยคุ

ตอนตน ตอนปลาย

Berriasian สมัย
Valanginian
Hauterivian
Barremian

Aptian
Albian
Cenomanian
Turonian
Coniacian
Santonian
Campanian
Maastrichtian

139.8 อายุ (ลานป)
132.9
129.4
125.0
113.0
100.5
93.9
89.8
86.3
83.6
72.1
66.0

เสาขวั แสหกลุลงทตี่พางบๆไดทโนั่วโเสลากร
ภพู าน
โคกกรวด

urus แอฟรกิ า
Diplodocus เอเชยี
Apatosaurus ออสเตรเลยี
Camarasaurus Euhelopus ยุโรป
pasaurus อนิ เดยี
Giraffititan Cedarosaurus มาดากัสการ
Brachiosaurus Venenosaurus อเมรกิ าเหนอื
อเมริกาใต
Chubutisaurus
Wintonotitan
Ligabuesaurus
Andesaurus
Phuwiangosaurus สกุลภูเวยี งโกซอรัส
Argentinosaurus
Epachthosaurus
Malawisaurus
Dreadnoughtus
Notocolossus 1 23
Tapuiasaurus
ROTIA Futalognkosaurus

Mendozasaurus
Isisaurus
Rapitosaurus
Diamantinasaurus Alamosaurus

Saltasauridae Opisthocoelicaudia
Trigonosaurus
Saltasaurus
20 Neuquensaurus

ตามหาญาติ..ต้องสงสัย

แผนผงั ในหนา้ ซา้ ยแสดง สรปุ อนกุ รมวธิ านอยา่ งยอ่ ของไดโนเสารค์ อยาวทพ่ี บทว่ั โลก
ตารางดา้ นบนแสดงธรณีกาลในชว่ งมหายุคมีโซโซอิก สญั ลกั ษณแ์ ถบหลากสีแสดงถงึ แหล่งที่
ค้นพบไดโนเสารแ์ ต่ละสกลุ ตามยคุ -สมยั และชว่ งอายุทางธรณกี าล
แถบสีเขียวในแนวต้ัง 3 แถบแสดงช่วงอายุของ 3 หมวดหนิ คอื เสาขวั ภูพาน
และโคกกรวด ซึ่งมชี ว่ งเวลาของการสะสมตวั ที่เหลอื่ มทับคาบเก่ยี วกนั โดยหมวดหนิ โคกกรวด
ที่รองรบั แหลง่ ไดโนเสาร์บ้านพนงั เสอ่ื มอี ายเุ รม่ิ จากชว่ งปลาย ของสมยั Aptian และตอ่
เนอ่ื งเขา้ มาในสมยั Albian
หากพิจารณาชว่ งอายขุ องหมวดหินโคกกรวดท่พี บซากไดโนเสาร์ยกั ษ์ กับตำ� แหน่ง
และความยาวของแถบสแี สดงชว่ งอายทุ างธรณกี าลทไ่ี ดโนเสาร์คอยาวท่ัวโลกแตล่ ะสกุลมีชวี ติ
อยู่แลว้ จะเห็นว่าสอดคลอ้ งตรงกนั กบั อายขุ อง สกลุ Ligabuesaurus แต่

• มกี ารสะสมตวั กอ่ นการเกดิ ขนึ้ ของ Chubutisaurus, Andesaurus,
Argentonosaurus และ Epachthosaurus ฯลฯ และ

• เปน็ ชว่ งปลายของสกลุ Euhelopus, Cedarasaurus, Venenosaurus,
Phuwiangosaurus, Malawisaurus และ Tapulasaurus ซง่ึ สว่ นใหญเ่ ปน็ ไดโนเสารค์ อยาว
ขนาดเลก็ ถงึ ขนาดกลาง ทม่ี คี วามยาวประมาณ 15-20 เมตร เทา่ นนั้

นอกจากนรี้ ปู ทรงของซากดึกดำ� บรรพก์ ระดูกทพ่ี บ ยงั เป็นอกี ปจั จยั ท่ีสำ� คัญมาก
ส�ำหรับการเปรียบเทยี บสายพนั ธ์ขุ องไดโนเสาร์ ตามตวั อย่างรูปดา้ นล่างซ้าย รูปกระดกู
ท่อนกลางเปน็ รูปกระดูกขาหนา้ ขวาท่อนบน (มองจากด้านหน้า) ของไดโนเสาร์พนังเสื่อ
เปรยี บเทียบกับโครงร่างของกระดกู ไดโนเสารค์ อยาวสกุล
¾¹Ñ§àÊÍè× 4 56 อน่ื ๆ โดยหมายเลข 1-3 เปน็ กระดกู ของไดโนเสารค์ อยาว

สกลุ ท่ีแตกตา่ ง เช่น Omeisaurus, Apatosaurus
และ Isanosaurus ส่วน หมายเลข 4-6 เป็นกระดูก
ของสกลุ ทม่ี ีรูปร่างคล้ายกันเชน่ Phuwiangosaurus,
Brachiosaurus และ Diplodocus
หมายเหตุ เปรยี บเทียบเฉพาะรูปทรงของกระดกู ไม่รวมขนาด (ดดั แปลงจาก Meesook, 2016)

21

สกุล Mamenchisaurus ฤๅจะใช่..

ต้ังตามสถานที่พบครั้งแรก หมายถงึ ไดโนเสารแ์ ห่งมาเมนชิ สกุลนีม้ ีหลายชนิด
แหลง่ ที่พบ : ประเทศจีน ทวปี เอเชีย

ช่วงยุค และอายุทพี่ บ : ยคุ จแู รสซิกตอนกลาง อายปุ ระมาณ 168–163 ล้านปี
ความยาวข้นึ อยกู่ ับชนิด : 13-35 เมตร
น�้ำหนักข้ึนอยกู่ บั ชนดิ : 10-75 ตนั
ลกั ษณะเดน่ ที่ตา่ งจากซอโรพอดอ่ืนคือ มคี อยาวมากๆ ยาวเท่ากบั คร่งึ หนงึ่ ของความ
ยาวรวมทงั้ ตัว

สกุล Diplodocus
เปน็ ภาษาลาตนิ ใหม่ แปลวา่ “แทง่ ค”ู่ ตามลกั ษณะของ
กระดกู เชฟรอ่ น ซงึ่ เปน็ กระดกู รองหางทม่ี ปี ลายแยกออกเปน็ สองงา่ ม
แหล่งทพ่ี บ : ทวีปอเมริกาเหนอื
ชว่ งยคุ และอายทุ พ่ี บ : ยคุ จแู รสซกิ ตอนปลาย ประมาณ 157–145 ลา้ นปี
ความยาวประมาณ : 20-24 เมตร
น�้ำหนักประมาณ : 12-13 ตัน
ลกั ษณะเด่นท่ีตา่ งจากซอโรพอดอ่นื คือ มขี าหน้าท่สี ั้นกวา่
ขาหลังเล็กน้อย ทำ� ใหม้ ที า่ ทางคอ่ นข้างอยใู่ นแนวราบ คือไม่ค่อยชูหัว

Brachiosaurus
/hisaurus
Diplodocus
Mamenc
22 ดัดแปลงภาพของ Scott Hartma จาก http://www.skeletaldrawing.com

ญาติกา
สกุล Argentinosaurus
ตัง้ ตามสถานที่พบครง้ั แรก หมายถงึ ไดโนเสาร์แห่งอาร์เจนตนิ า
แหลง่ ทพ่ี บ : ประเทศอาร์เจนตนิ า ทวีปอเมริกาใต้
ชว่ งยุค และอายุท่พี บ : ยุคครีเทเชยี สตอนปลาย อายุประมาณ 100-92 ล้านปี
ความยาวประมาณ : 30-40 เมตร
น�้ำหนกั ประมาณ : 80-90 ตัน
ซากโครงกระดกู ทีพ่ ิพธิ ภัณฑ์ Museo Carmen Funes ประเทศอาร์เจนตนิ า มี
ความยาว 39.7 เมตร คำ� นวณน�้ำหนักได้ 90 ตนั กระดกู ขาหลังทอ่ นบนน่าจะมีความยาว
มากถงึ 2.5 เมตร และยาวกว่าขาหน้า
สกุล Brachiosaurus
เปน็ ภาษากรีก แปลว่า “แขน-สตั ว์เลอื้ ยคลาน” หมายถึงไดโนเสาร์ทม่ี ีขาหนา้ ยาว
แหลง่ ทพ่ี บ : ทวีปอเมริกาเหนอื แลแอฟรกิ า
ช่วงยคุ และอายุทพ่ี บ : ยคุ จูแรสซกิ ตอนปลาย อายปุ ระมาณ 157–145 ลา้ นปี
ความยาวประมาณ : 20-21 เมตร
น�้ำหนักประมาณ : 28-58 ตนั
ลักษณะเด่นทต่ี ่างจากซอโรพอดอนื่ คอื บริเวณจมูกบนกระหมอ่ มมีโหนกยืน่ ขน้ึ มา
ชดั เจนกวา่ ซอโรพอดอน่ื หางสั้น มีขาหน้ายาวกวา่ ขาหลงั ทำ� ให้ตัวลาดลงแบบยีราฟ
ส่งผลใหส้ ่วนคอของแบรคโิ อซอรัสตั้งชนั สูงกวา่
Argentin saurus
o

ดัดแปลงภาพของ Nima Sassan จาก https://www.deviantart.com/paleo-king/ 23

ยังไม่เจอญาติ...แต่เพื่อนเยอะ

จากวนั แรกทพ่ี บซากไดโนเสารท์ บี่ า้ นพนงั เสอื่ เรอ่ื ยมาจนถงึ วนั นี้ คณะสำ� รวจวจิ ยั ระบุ
ในเบอื้ งตน้ ไดว้ า่ เปน็ ไดโนเสารก์ นิ พชื จำ� พวกซอโรพอดขนาดใหญ่ มคี วามยาว 25-30 เมตร
มลี กั ษณะคอยาว หางยาว คาดวา่ เปน็ ไดโนเสารช์ นดิ ใหมข่ องประเทศไทยหรอื ของโลก แตก่ ย็ งั
ไม่รู้หัวนอนปลายตีนของเจ้าไดโนเสาร์คอยาวตัวนี้ การส�ำรวจเพ่ิมเติม และการศึกษาวิจัย
หลักฐานท่พี บทงั้ หมดยังตอ้ งด�ำเนนิ ไปอย่างเข้มข้นเพ่อื การระบสุ ายพนั ธท์ุ ี่ถูกต้อง
ในการขดุ สำ� รวจพบหลกั ฐานของญาตหิ า่ งๆ คอื ฟนั ของไดโนเสารก์ นิ เนอื้ จำ� นวน 4 ซ่ี
เป็นของไดโนเสาร์ 2 ชนดิ คือ Allosauroidea indet. และ Spinosauridae indet.
ไดโนเสารก์ นิ เนอื้ และไดโนเสารค์ อยาว เปน็ ญาตหิ า่ งๆ จดั อยใู่ นอนั ดบั เดยี วกนั คอื
ซอรสิ เชยี (Order: Saurischia) ตามอนกุ รมวธิ าน แตอ่ ยใู่ นอนั ดับยอ่ ย (Suborder)
ที่ต่างกันคอื Theropoda กับ Sauropodomorpha
ถึงจะไรญ้ าติ แต่ไมข่ าดมิตร ในระหว่างการขุดค้นสำ� รวจ ส่ิงท่ีเพม่ิ สีสรร และข้อมลู
แวดลอ้ มด้านบรรพชีวินวทิ ยาก็ถูกค้นพบอีกหลายชน้ิ เช่น

• ฟนั ฉลามน้� ำจืด Heteroptychodus sp.
• ฟันจระเขน้ �้ำจดื
• หอยสองฝาน�้ำจดื ขนาดใหญ่ 2 ชนดิ คอื Trigonioides sp. และ Plicatounio sp.
• กระดองเต่าหลายช้ิน และ
• กระดกู ท่ไี มส่ ามารถระบชุ นดิ


1 ซม.

Allosauroidea indet. Spinosauridae indet

ฟนั ไดโนเสารก์ นิ เนอ้ื 2 สกลุ 2 ชนดิ ซง่ึ ยงั ไมส่ ามารถระบไุ ดช้ ดั เจน
ตอ้ งไดร้ บั ขอ้ มลู เพม่ิ เตมิ จากการสำ� รวจ หรอื จากการศกึ ษาวจิ ยั

24

ความหลากหลายทางชีวภาพบรรพกาล

ซากไดโนเสารย์ กั ษพ์ นงั เสอ่ื ถกู พบ อยรู่ ว่ มกบั ซากดกึ ดำ� บรรพส์ ตั วน์ �้ำ สตั วเ์ ลอ้ื ยคลาน
รวมถงึ หอยสองฝาน้� ำจดื 2 ชนดิ คอื Trigonioides sp. และ Plicatounio sp. ที่มอี ายอุ ยู่
ในชว่ งเวลาดังกลา่ วนี้ โดยในประเทศไทยพบหอยน้� ำจดื ท้ังสองชนดิ นีใ้ นหมวดหนิ เสาขัว และ
หมวดหนิ โคกกรวด
จากหลกั ฐานทางดา้ นตะกอนวทิ ยาทงั้ การลำ� ดบั ชนั้ ตะกอน ชนดิ และขนาดของตะกอน
รวมถงึ องคป์ ระกอบแวดลอ้ มอน่ื ๆ ในชนั้ หนิ ทำ� ใหน้ กั ธรณวี ทิ ยาสามารถระบสุ ภาพภมู อิ ากาศ
บรรพกาลไดว้ า่ เปน็ แบบแหง้ แลง้ หรอื กงึ่ แหง้ แลง้ แตใ่ นทางกลบั กนั หลกั ฐานความหลากหลาย
ทางชวี ภาพบรรพกาลช่วยทำ� ใหเ้ ราเห็นภาพในอดีตได้ชัดเจนมากข้นึ ว่า
“ยงั คงมคี วามสมบรู ณท์ างชวี ภาพอยทู่ า่ มกลางความแหง้ แลง้ ของสภาพภมู อิ ากาศ ณ เวลานน้ั ”
แสดงให้เหน็ ว่าหลักฐานทางธรณวี ิทยาทกุ แขนง มีความสำ� คญั ตอ่ การศกึ ษาประวัติ
ของโลก และบรรพชีวนิ วิทยา รวมถงึ การศกึ ษาลำ� ดับชน้ั หินเพื่อเทียบเคยี งอายุกับแหล่งอ่ืน

ฟนั ฉลามน้� ำจดื ฟนั จระเขน้ ้� ำจดื

หอยสองฝาน�้ำจดื ขนาดใหญ่ ทไี่ ดร้ บั การทำ� ความสะอาดในหอ้ งปฏบิ ตั กิ ารแลว้

25

เพื่อนสองฝาร่วมสมัย

บ้านพนงั เสอ่ื เปน็ ที่รจู้ ักกนั ท่วั ไปจากการคน้ พบซากดกึ ดำ� บรรพไ์ ดโนเสารใ์ หญ่ยกั ษ์
แตน่ อ้ ยคนจะรวู้ า่ เขาไมไ่ ดม้ าคนเดยี ว แตม่ เี พอ่ื นรว่ มสมยั (สมยั แอปเตยี น-อลั เบยี น) มาดว้ ย
ท้ังทเ่ี ปน็ ไดโนเสาร์ สตั ว์บก สัตว์เลื้อยคลาน และสัตวน์ �้ำมากมายหลายชนิด เชน่ ไดโนเสาร์
กินเนอ้ื จระเขน้ ้� ำจดื ฉลามน�้ำจืด เต่า และสัตว์น้� ำจืดท่สี ำ� คัญอกี ชนดิ ทพ่ี ากนั มาเปน็ จำ� นวน
มากมาย ทับถมกนั เป็นช้ันหนาถึงครงึ่ เมตร
เพอื่ นกลุ่มนค้ี อื หอยสองฝาน�้ำจืด ขนาดใหญ่ 2 สกลุ 2 ชนิด
- Trigonioides (Trigonioides) kobayashii และ
- Plicatounio (Guanxiconcha) suzukii
ซากหอยสองฝาทงั้ 2 ชนิดน้ี มักพบอยู่ในหินทรายเน้ือละเอียด หินทรายแป้ง
และหินโคลน สีน�้ำตาลแดง ในหมวดหนิ เสาขวั และหมวดหินโคกกรวด บนท่ีราบสงู โคราช

26 ชน้ั หนิ ทรายแปง้ เนอื้ ปนู สนี �้ำตาลแดง หนาประมาณครง่ึ เมตร ทพี่ บซากหอยสองฝาน้� ำจดื

เกล็ดข้อมูลเลก็ ๆ เกีย่ วกบั หอยน้� ำจดื 2 ชนิดน้ี
• หากสังเกตชุ ื่อของหอยน�้ำจืด ขนาดใหญ่ท้งั 2 ตวั นแ้ี ลว้ คงจะพอคาดเดาไดว้ ่านกั

บรรพชีวินวทิ ยาผศู้ ึกษาเก่ียวกับหอยเหล่านเี้ ปน็ ชาวญ่ีปุ่น
• นักบรรพชีวนิ วิทยาชาวญี่ปนุ่ Kobayashi et al. เร่ิมศกึ ษาหอยสองฝาน้� ำจืด

Trigonioides และ Plicatounio ในหมวดหนิ เสาขวั และโคกกรวด ของไทยซงึ่ กระจายตัว
อยบู่ นทรี่ าบสงู โคราช ตงั้ แต่ ค.ศ. 1963 พรอ้ มเผยแพรร่ ายงานผลการวจิ ยั ทำ� ใหม้ กี ารศกึ ษา
อย่างกวา้ งขวางทว่ั ภูมภิ าค และพบวา่

• ในสมยั แอปเตยี น-อัลเบยี น หอยสองฝา 2 ชนดิ นีแ้ พร่หลายในน�้ำจืด ในประเทศ
ไทย ลาวใต้ จนี มองโกเลยี เอเชยี กลาง เกาหลี ญป่ี ุ่น และทางใต้ของรสั เซยี

• ส�ำหรบั ที่บา้ นพนงั เสอ่ื พบแหลง่ ซากหอยท้งั 2 ชนดิ น้มี ากมายบรเิ วณวัดหนองแก
พนงั เส่อื ซึี่งรองรับด้วยหมวดหินโคกกรวดเชน่ กัน และยังมีการค้นพบซากไดโนเสาร์สะสม
รวมอยู่ในช้ันหินกรวดมนด้วย

(ดรู ายละเอยี ดธรณีวทิ ยาแหลง่ ช้ันหอยในหนา้ ถัดไป)

หอยสองฝาน�้ำจดื ขนาดใหญ่ กระจายตวั อยใู่ นชนั้ หนิ บางสว่ นมกี ารเรยี งตวั 27

¤ÇÒÁË¹Ò »N-Ã8СÍ˺¹Ô ´·ÇŒ ÃÂÒáÂê‹à¿Ñé¹ÅË´¹ÊÒ»ÊÒ¹ÕÏéÓáµÃÒ‹¤ÅÇáÍ´µ§«à¹á×ÍéÅÅÐàÐÈàÍÉÂÕ Ë´¹Ô ¡ÒäѴ¢¹Ò´´Õ àÁ´ç µÐ¡Í¹
(àÁµÃ)
2.9 ชปนั้ รหากินฏตเปะก็นอชนน้ั ชช่วัดงเบจนน
เมด็ แคลครีตในชนั้ หินกรวดมน
0.5 ท่แี ทรกสลับอยู่ในช้นั หินทราย
0.4
0.3 áN·-Ã7¡ÊËÅ¹Ô Ñº·´ÃÇŒÒÂÂËÊ¹Ô ¹Õ·éÓõÒÂÒÅá»á´§‡ ʧ ¹Õ à¹éÓµé×ÍÒÅÅÐáàÍ´Õ§´»áÅÒйˡԹšÒçǡ´ÒÁù¤´Ñ ¾¢º¹àÒÈ´É´¡Õ»ÃÒй´¡¡Ù Åä´Ò§â¹àÊÒÏ
0.6 N-6 Ë¹Ô ·ÃÒÂủ‡ Ê¹Õ éÓµÒÅá´§á·Ã¡ÊÅѺ´ÇŒ  ËÔ¹·ÃÒÂà¹Íé× ÅÐàÍÂÕ ´
N-5 ËÔ¹¡ÃÇ´Á¹ á·Ã¡´ÇŒ ªѹé Ë¹Ô ·ÃÒÂû٠àŹʏ à¹éÍ× ÅÐàÍÕ´»Ò¹¡ÅÒ§ ¾º¿˜¹ä´â¹àÊÒÏ
5.0 N-4 Ë¹Ô ·ÃÒÂủ‡ Ê¹Õ éÓµÒÅá´§á·Ã¡ÊÅѺ´ŒÇ ª¹Ñé Ë¹Ô ·ÃÒÂÃÙ»àŹʏ à¹×éÍÅÐàÍÕ´

àN¹-Í×é 3ÅÐËàÍ¹Ô ÂÕ ·´Ã¶Ò§Ö Âà¹ÊÍé×¹Õ ËÓé µÂÒÒºÅá´¡§ÒꤹéÑÑ´¢º¹Ò§Ò¶´§Ö»ªÒéѹ¹Ë¡¹ÅÒÒ§¶§Ö ´Õ
ªàÁÑé¹´ç »µ¹Ù СºÍÒ¹§æÁ¤Õ ÇÒÁÁ¹´Õ¶§Ö à¡Í× ºÁ¹ á·Ã¡ÊÅºÑ ´ŒÇÂ
¾ºá¤Å¤ÃÕµ «§Öè ໹š ªé¹Ñ µÐ¡Í¹·Õ趡٠à¤Å×ͺ´ŒÇ¹éÓ»Ù¹
ã¹ËԹ˹Nj ¹ªéÕ ¹éÑ ËÔ¹·ÕèÍ´ً ŒÒ¹º¹¢éÖ¹ä»Á¢Õ ¹Ò´àÁ´ç µÐ¡Í¹
ÅÐàÍÕ´ŧ áÅФÇÒÁ˹ҢͧªÑ鹵С͹ŴŧàÃ×èÍÂæ

ช่วงลา่ งเปน็ หนิ ทรายที่มี ชน้ั ขหอองยหสมอวงดฝหานิ พโบคกทกช่ี รว่ วงดลา่ ง
ชนั้ หนา และมีเนอ้ื หยาบ

0.5 N¹-Óé ¨2×´¨ËÓ¹Ô¹·Ç¹ÃÒÁÂÒá¡»·§‡ÇÕè àÒ¹§Í×éµ»ÇÑ áÙ¹ºÊºÕ¹¡Óé õÐÒ¨ÅѴᡴçШ¾ÒºàÁá´ç ŵÐÐÁ¡¡ÕÍÒ¹ÃáàäÕÂŧ¤µÃÑÇÕµ »¹¡ºÑ «Ò¡ËÍÂ
0.3 N-1 Ë¹Ô à¤ÅÂà ¹Íé× »¹Ù ÊÕ¹éÓµÒÅá´§ ¾ºª¹Ñé á¤Å¡ÃµÕ á·Ã¡ÊÅºÑ àÅ¡ç ¹ŒÍÂ

28

ธรณีวิทยาแหล่งชั้นหอย

เลยจากแหล่งซากดึกด�ำบรรพ์ไดโนเสาร์ยักษ์บริเวณสระน�้ำสาธารณะลงไปทางทิศ
ตะวนั ออกเฉยี งใตป้ ระมาณ 800 เมตร ตามทางหลวงสาย 2170 จะพบแหลง่ ซากดกึ ดำ� บรรพ์
หอยน�้ำจดื บรเิ วณวดั หนองแกพนงั เสอื่ ซง่ึ รองรบั ดว้ ยชนั้ หนิ ตะกอนหมวดหนิ โคกกรวดเชน่ กนั
แท่งสญั ลกั ษณท์ างธรณีวทิ ยาในหนา้ ซ้าย ดัดแปลงจาก Meesook, 2013 แสดง
การเรียงตัวของชัน้ หนิ ตะกอนชนิดต่างๆ ของหมวดหนิ โคกกรวด เฉพาะสว่ นทพ่ี บโผลผ่ ิวดนิ
บรเิ วณวดั หนองแกพนงั เสอ่ื ซงึ่ มคี วามหนาประมาณ 10.5 เมตร ประกอบดว้ ยชนั้ หนิ หนว่ ยตา่ งๆ
เรยี งลำ� ดบั จากลา่ ง-ขนึ้ บน (หนว่ ย N-1 ถงึ N-8 รวม 8 หนว่ ย) สรปุ ไดด้ งั น้ี คอื

• ลา่ งสดุ พบหนิ เคลยส์ นี �้ำตาลแดง ถดั ขน้ึ มาเปน็ ชน้ั หนิ ทรายแปง้ สเี ดยี วกนั แทรกสลบั
ดว้ ยหนิ ทรายละเอียด หนิ ทรายแป้ง และหนิ เคลยท์ ี่พบซากดกึ ดำ� บรรพ์หอยสองฝาอย่างนอ้ ย
2 ชนดิ จ�ำนวนมาก รวมทง้ั ตะกอน แคลครตี ซึ่งเปน็ ก้อนตะกอนผวิ ดนิ ขนาดกรวด-ทราย
ท่ีถกู เชื่อมด้วยน�้ำปนู

• บริเวณส่วนกลางของหมวดหินโคกกรวดเป็นหินทรายเนื้อละเอียดถึงปานกลาง
สีน้� ำตาลแดง แทรกสลบั ด้วยชนั้ บางของหนิ กรวดมน

• สว่ นบนสุดของหมวดหินนเ้ี ปน็ ชนั้ หนิ กรวดมน ที่ถูกปิดทับด้วยหนิ ทราย และ
หนิ ทรายแปง้ ทแ่ี สดงลักษณะชั้นชัดเจน พบซากดึกด�ำบรรพ์ทง้ั ฟนั ไดโนเสารก์ ินปลา และ
กระดูกไดโนเสาร์คอยาวขนาดใหญ่ รวมถงึ ซากดกึ ดำ� บรรพ์สตั ว์น�้ำจืดอ่ืนๆ อีกหลายชนดิ

พระวหิ าร
เสาขวั
ภูพาน

โคกกรวด

วดั หนองแกพนังเส่อื 29

แหล่งเรียนรู้ไดโนเสาร์บ้านพนังเส่ือ

นบั จากวันทคี่ ณุ ถนอม หลวงนันท์ ไดค้ น้ พบซากดกึ ดำ� บรรพท์ รี่ มิ สระน้� ำสาธารณะ
บา้ นพนังเสอื่ เมื่อเดือนมีนาคม 2559 ทุกฝ่ายท่เี กี่ยวขอ้ งทัง้ ภาคเอกชน ชุมชนท้องถิน่
และภาคราชการทั้งสว่ นทอ้ งถน่ิ และสว่ นกลาง ตา่ งร่วมมือกันดำ� เนินการเพอ่ื การอนรุ กั ษ์
คมุ้ ครองซากดกึ ด�ำบรรพ์ และแหล่งซากดกึ ดำ� บรรพ์ ควบคไู่ ปกบั งานสำ� รวจ ศึกษาวจิ ัย
หลังจากด�ำเนนิ ความรว่ มมอื มาได้ประมาณ 2 ปี ทกุ ฝา่ ยไดป้ ระชมุ รว่ มกนั พิจารณา
ร่างแนวทางการพัฒนาแหล่งไดโนเสาร์บ้านพนงั เสอ่ื และมมี ติแต่งตงั้ คณะท�ำงานก�ำหนด
แนวทางการพัฒนา แหลง่ ไดโนเสาร์บา้ นพนังเส่อื อ.หนองบัวระเหว จ.ชัยภมู ิ โดยมเี ป้าหมาย
หลกั เพือ่ ให้เกดิ เปน็ แหลง่ เรียนรูท้ างธรณวี ทิ ยา และพัฒนาไปเปน็ ส่วนหนงึ่ ของอุทยานธรณี
จังหวดั ชยั ภมู ใิ นอนาคต
30

ปรบั ภมู ทิ ศั น์ และสรา้ งอาคารนทิ รรศการ บรเิ วณแหลง่ เรยี นรไู้ ดโนเสารบ์ า้ นพนงั เสอ่ื
โดย บริษัท ทรูสโตน จำ� กัด

ภายหลงั จากทไ่ี ดร้ บั การประกาศเปน็ เขตสำ� รวจและศกึ ษาวจิ ยั เกย่ี วกบั ซากดกึ ดำ� บรรพ์
และแหลง่ ซากดกึ ดำ� บรรพ ์  ตามทก่ี ำ� หนดโดย  พรบ.  คมุ้ ครองซากดกึ ดำ� บรรพ ์  พ.ศ. 2551  แลว้
แหลง่ เรยี นรู้ไดโนเสารบ์ ้านพนงั เสอ่ื ได้ดำ� เนนิ กิจกรรมท่ีสำ� คญั ๆ หลายกจิ กรรม เช่น

• สรา้ งอาคารนทิ รรศการ และปรบั ภมู ทิ ศั นบ์ รเิ วณแหลง่ เรยี นรไู้ ดโนเสารบ์ า้ นพนงั เสอ่ื
• จดั ทำ� นทิ รรศการ และสวนหนิ บรเิ วณอาคารวจิ ยั และ อาคารนทิ รรศการแหลง่ เรยี นรู้
ไดโนเสารบ์ า้ นพนงั เสอ่ื
• จัดโครงการฝึกอบรมเชงิ ปฏิบตั ิการให้ความรดู้ ้านธรณวี ทิ ยา และซากดึกด�ำบรรพ์
แกช่ มุ ชนจงั หวดั ชยั ภมู  ิ  หลกั สตู รยวุ มคั คเุ ทศกท์ อ้ งถน่ิ อาสา  และมคั คเุ ทศกช์ มุ ชนอาสา  เพอื่ เผยแพร่
องคค์ วามรใู้ หช้ มุ ชน เพ่ือใหช้ ุมชนมสี ่วนรว่ มในการพฒั นา

31

คนละมือคนละไม้ ทุก

32 คนละไม้คนละมือ ก็ 

คนให้....ความร่วมมือ

 เราคือ...ทีมเดียวกัน 33

พระราชบัญญตั ิ

คุม ครองซากดึกดําบรรพ
พ.ศ. ๒๕๕๑

ภูมพิ ลอดุลยเดช ป.ร.

พระราชบัญญใตัหิ ไ ควมุ้  คณรอวงนัซทากี่ ด๓กึ ๐ด�ำมบกรรราพค์มพ.พศ.ศ2. 5๒5๕1 ๕ถ๑กู ตราขึ้นเนอ่ื งจากมกี ารค้น
พบซากดกึ ดำ� บรรพท์ สี่ ำ� คญั ในเปรนะปเททศี่ ไ๖ท๓ยเพในม่ิ รมชัากขาน้ึลปสจมจคบุ วนั รอนรุ กั ษไ์ ว้ เพอื่ การศกึ ษาวจิ ยั ใน
ใหป ระศกกาัการพยศสภรวบื ะาาพคบน้ใานทคกวสาามมรเพเดปัฒ็จน็ พนมราาเขะปอปน็ งรปแมหรินละวทง่ ตัเรรขิ มยี อนหงโราลู้ภกแูมลอิพะกี ลเปทองั้็นดยแุลงั หเยปลเน็ดง่ ทชมอ่รงดมเกทีพท่ยี ราวะงทบธส่ี รรรรม้ามงรชราาาชตยโขิไอดองใ้งกหแผา้กรน่บั โดปปนิ รระดแเทลเกศะลมีา ฯ
โดยที่เปแนละกเานรื่อสงมจคาวกรกม่อีกนฎหหนม้าานย้ันวายดังวไยมก่มาีกรฎคหุม มคารยอเงพซ่ือาคกุ้มดคึกรดอาํ บงรรอพน ุรักษ์ และการบริหาร
จดั พการระซราากชดบึกัดญำ� ญบัตรรินพ้ีม์ไีบวเ้ทปบ็นัญกาญรัเตฉิบพาางะปเรปะ็นกเาหรตเกใุ ห่ียม้วีกาับรกลากั รลจอําบกขัดุดสคิทน้ ธซิแากลดะกึ เสดำ�รบีภรารพพข์ อหงรบอื ุคคล
ซ่งึ มาตขรดุาค๒น้ โ๙ดยปไรมะถ่ กกู อหบลกกั บัวชิมาากตารรา ท๓ำ� ๓ใหซ้ มาากตดรกึ าดำ�๔บ๑รรมพาเ์ตหรลาา่ น๔นั้๒ถกู แทลำ� ะลมาายตหรราอื น๔ำ�๓ไปเขพออ่ื งปรรัฐะธโยรชรนม์นูญ
สแหภาง นราติ ชมทปิบอีการญัจงาฎะึงกณสญหทาทิามัตรรจธาแิคงักภิยห้าพราเงไพรพชทะทื่อากย�ำใตใรหิหบุณ้กด้สญั าาังูญรโตญคปอเตัสุ้มไรใิ ียปดคหมเรนกกรอี้รลดงะากทขอฯําอไนงดใุรแโหักผดษต่นยรด์อาินาแพศทลรยั ่ีมะะอบีครําุนณารชิหาคบจา่าตรัญยาจิ่งญมัดเบปกัตาทิ็ขนรบ้ึนจซ�ำัญไานวกญวโดตันดึกิแมยดหคา�ำกงําบกแรฎนสรหะพมนมค์เปาําวยแ็รนลกไะ�ำปยหอินนยยด่าอใงมหมขี้ อง
มาตรา ใน๑กรณพีทร่ีพะรบาวช่าบพญั ้ืนญทตั ี่ใินดเี้เรปยี ็นกวแาหล“พ่งซระารกาดชึกบดัญ�ำญบตัรริคพุม ค์ทร่ีจอะงเซปา็นกปดึกรดะโาํ ยบชรรนพ์ในพก.ศาร. ศ๒ึก๕ษ๕า๑”
วจิ ัยมเากตย่ี รวากับป๒ระวพัตริขอะงรโาลชกบัญบรญรัตพินช้ีวในิหวใทิ ชยบาังบครับรเพมช่ือีวพวทิ นยกาําหนรอื ดกหานรลึ่ง�ำรดอบั ยชแ้นั ปหดนิ สิบอวธันิบนดีกับรแมตวัน
ประกาทศรในัพรยาาชกกริจธจราณนจีเุ บะอกาษศาัยเปอนำ� นตานจไปตามมาตรา 12 ประกาศในราชกิจจานุเบกษากำ� หนดให้พืน้ ที่
บรมเิ วาณตรนาั้นเป๓น็ นเใขนตพสรำ� ะรรวาจชแลบะัญศญกึ ษัตนิาวี้ จิ ัยเก่ียวกบั แหล่งซากดกึ ดำ� บรรพห์ รือ ซากดึกด�ำบรรพ์

34

เขตส�ำรวจและศึกษาวิจัยเก่ียวกับ
แหล่งซากดึกด�ำบรรพ์หรือ ซากดึกด�ำบรรพ์

มาตรา ๑๒ เพ่ือประโยชน์ในการศึกษาวิจัยเก่ียวกับประวัติของโลก บรรพชีวินวิทยา
บรรพชีววิทยา หรือการล�ำดับช้ันหิน ให้อธิบดีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการมีอ�ำนาจ
ประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาก�ำหนดให้พ้ืนท่ีใดเป็นเขตส�ำรวจและศึกษาวิจัยเกี่ยวกับแหล่ง
ซากดึกด�ำบรรพ์หรือ ซากดึกด�ำบรรพ์
ประกาศตามวรรคหน่ึงต้องระบุเขตท้องท่ีที่จะท�ำการส�ำรวจและศึกษาวิจัยพร้อมด้วย
แผนที่ แสดงเขตส�ำรวจและศึกษาวิจัยแนบท้ายประกาศ และให้ใช้บังคับได้ไม่เกินสามปี ในกรณี
ที่ไม่อาจ ด�ำเนินการส�ำรวจและศึกษาวิจัยได้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลาที่ก�ำหนด ให้อธิบดีโดย
ความเห็นชอบของ คณะกรรมการขยายเวลาการใช้บังคับประกาศดังกล่าวได้อีกไม่เกินสองครั้ง
ครั้งละหน่ึงปี
เมื่อได้มีประกาศตามวรรคหน่ึงแล้ว ให้เจ้าของ ผู้ครอบครอง หรือผู้มีสิทธิในที่ดินโดย
ชอบ ด้วยกฎหมายมีสิทธิได้รับค่าทดแทนเน่ืองจากไม่อาจด�ำเนินงานหรือใช้ประโยชน์ในท่ีดิน
ตามภาวะปกติ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการก�ำหนด

เมื่อด�ำเนินการศึกษาวิจัยเสร็จสิ้น และพบว่าพื้นท่ีนั้นเป็นแหล่งซากดึกด�ำบรรพ์ที่มี
ความส�ำคัญด้านบรรพชีวินวิทยา ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการคุ้มครองซากดึกด�ำบรรพ์
ก�ำหนดแลว้ อธบิ ดีกรมทรัพยากรธรณจี ะอาศยั อ�ำนาจ ตามมาตรา 14 ประกาศในราชกจิ จานุ
เบกษาใหพ้ ื้นทบี่ รเิ วณน้ันเป็นแหลง่ ซากดกึ ด�ำบรรพท์ ี่ขึ้นทะเบียนต่อไป

มาตรา ๑๔ เมื่อปรากฏว่าพื้นท่ีบริเวณใดเป็นแหล่งซากดึกด�ำบรรพ์ที่มีความส�ำคัญ
ต่อการศึกษาประวัติของโลก บรรพชีวินวิทยา บรรพชีววิทยา หรือการล�ำดับช้ันหิน ตามหลัก
เกณฑ์ ทคี่ ณะกรรมการกำ� หนด ไมว่ า่ จะไดม้ กี ารประกาศเปน็ เขตสำ� รวจและศกึ ษาวจิ ยั ตามมาตรา
๑๒ หรือไม่ก็ตาม ให้อธิบดีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการมีอ�ำนาจประกาศในราชกิจจา
นุเบกษาให้พื้นที่บริเวณนั้นเป็นแหล่งซากดึกด�ำบรรพ์ท่ีข้ึนทะเบียน พร้อมด้วยแผนที่แสดงเขต
แหล่งซากดึกด�ำบรรพ์ที่ขึ้นทะเบียนน้ันแนบท้ายประกาศด้วย

35

เลม่ ๑๓๔ ตอนพเิ ศษ ๒๙๖ ง หน้า ๓๔ ๓๐ พฤศจกิ ายน ๒๕๖๐
ราชกิจจานุเบกษา

ประกาศกรมทรพั ยากรธรณี

เร่อื ง กําหนดใหพ้ นื้ ทีบ่ ริเวณแหลง่ ซากไดโนเสารบ์ ้านพนงั เสื่อ อําเภอหนองบัวระเหว จงั หวัดชยั ภมู ิ
เปน็ เขตสํารวจและศึกษาวิจัยเกีย่ วกบั แหล่งซากดกึ ดําบรรพห์ รือซากดกึ ดําบรรพ์

อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๑๒ วรรคหน่ึง แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองซากดึกดําบรรพ์
พ.ศ. ๒๕๕๑ อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการคุ้มครองซากดึกดําบรรพ์
ในการประชุมคร้ังที่ ๑/๒๕๖๐ วันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๖๐ กําหนดให้พื้นท่ีบริเวณแหล่งซากไดโนเสาร์
บ้านพนังเสื่อ อําเภอหนองบัวระเหว จังหวัดชัยภูมิ เน้ือท่ีประมาณ ๘,๘๔๐ ตารางเมตร หรือ ๕ ไร่ ๒ งาน
๑๐ ตารางวา ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายประกาศนี้ เป็นเขตสํารวจและศึกษาวิจัยเกี่ยวกับ
แหล่งซากดกึ ดาํ บรรพห์ รอื ซากดกึ ดาํ บรรพ์

ทงั้ นี้ ต้ังแตว่ ันถดั จากวนั ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นตน้ ไป

ประกาศ ณ วันท่ี ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
ทศพร นชุ อนงค์

อธบิ ดีกรมทรัพยากรธรณี

มาตรา ๑๓ เมื่อได้ประกาศเขตส�ำรวจและศึกษาวิจัยตามมาตรา ๑๒ แล้ว ให้พนักงาน
เจ้าหน้าท่ีมีสิทธิเข้าไปในท่ีดินหรืออสังหาริมทรัพย์อย่างอ่ืนท่ีอยู่ภายในเขตส�ำรวจและศึกษาวิจัย
เพ่ือขุดค้น เก็บตัวอย่าง และกระท�ำกิจการอ่ืนเท่าท่ีจ�ำเป็นเพ่ือการส�ำรวจและศึกษาวิจัย แต่ต้อง
แจ้งเป็นหนังสือ ให้เจ้าของ ผู้ครอบครอง หรือผู้มีสิทธิในท่ีดินโดยชอบด้วยกฎหมายทราบถึง
กิจการที่ต้องกระท�ำ ล่วงหน้าก่อนเร่ิมกระท�ำกิจการนั้น

36

37

กรมทรัพยากรธรณี, 2550, ธรณีวทิ ยาประเทศไทย, พิมพค์ ร้งั ที่ 2 ส�ำนักธรณวี ทิ ยา,
กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ดอกเบ้ีย
กรมทรัพยากรธรณี, 2551, พระราชบญั ญัติคุ้มครอง ซากดกึ ดำ� บรรพ์ พ.ศ. ๒๕๕๑
กฎหมายล�ำดับรองและอนุบัญญัต,ิ สำ� นักคุม้ ครองซากดกึ ดำ� บรรพ์
ราชบณั ฑติ ยสถาน, 2544, พจนานกุ รมศพั ทธ์ รณวี ทิ ยา ฉบบั ราชบณั ฑติ ยสถาน, พมิ พค์ รง้ั ท่ี 1
กรงุ เทพฯ: 384 หน้า, กรุงเทพฯ: อรุณการพมิ พ์
ศศธิ ร ขนั สภุ า และคณะ, 2559, รายงานการปฏบิ ตั งิ านการตรวจแจง้ พบ และประเมนิ ศกั ยภาพ
แหลง่ ไดโนเสาร์ บา้ นพนงั เสอื่ อ.หนองบวั ระเหว จ.ชยั ภมู ิ ประจำ� ปงี บประมาณ พ.ศ. 2559,
ส่วนวิจัยซากดึกด�ำบรรพ์ กองคมุ้ ครองซากดึกดำ� บรรพ์, กรมทรพั ยากรธรณี
ศศอร ขนั สภุ า และคณะ, 2561, โครงการบรู ณาการการศกึ ษาวจิ ยั แหลง่ ไดโนเสารบ์ า้ นพนงั เสอื่
จงั หวดั ชยั ภมู ,ิ สำ� นกั งานทรพั ยากรธรณี เขต ๒, กรมทรพั ยากรธรณี
https://en.wikipedia.org/wiki/Sauropoda
https://th.wikipedia.org/wiki/แบรคิโอซอรัส
https://th.wikipedia.org/wiki/อาร์เจนตโิ นซอรัส
https://www.deviantart.com/paleo-king/art/Argentinosaurus-huinculensis-Mk-
II-708506050
http://www.skeletaldrawing.com/
https://www.uihere.com/free-cliparts/amphicoelias-dinosaur-size-diplodocus-
sauropoda-argentinosaurus-dinosaur-6783727

Mamenchisaurus Brachiosaurus

Diplodocus

38

เอกสารอ้างอิง

Bernardo J. González Riga, Matthew C. Lamanna, Leonardo D. Ortiz David, Jorge O. Calvo
and Juan P. Coria, 2016, A gigantic new dinosaur from Argentina and the
evolution of the sauropod hind foot, Scientific Reports 6, Article number 19165.
Meesook, A. 2014, Lithostratigraphy and faunal assemblage of the non-marine
Cretaceous bivalves Trigonioides and Plicatounio from the Khok Kruat
Formation at Ban Pha Nang Sua, Nong Bua Rawe District, Chaiyaphum
Province, Northeastern Thailand, Technical Report No. BFP 3/2013,
Division of Fossil Protection, Department of Mineral Resources.
Meesook, A. 2016, The Cretaceous Giant Sauropod from the Khok Kruat Formation
at Ban Pha Nang Sua, Nong Bua Rawe District, Chaiyaphum Province,
Northeastern Thailand: a preliminary report/by Division of Fossil Protection,
Department of Mineral Resources. Division of Fossil Protection, Department
of Mineral Resources.

Argentin saurus
o

ภาพกราฟฟกิ ส์ไดโนเสาร์ คดั ลอก และดัดแปลงจาก
https://www.uihere.com/free-cliparts/amphicoelias-dinosaur-size-diplodocus-sauropoda-argentinosaurus-dinosa

o เอกสารอ้างอิง

Bernardo J. Gonzalez Riga, Matthew C. Lamanna, Leonardo D. Ortiz David, Jorge O. Calvo
and Juan P. Coria, 2016, A gigantic new dinosaur from Argentina and the
evolution of the sauropod hind foot, Scientific Reports 6, Article number 19165.
Meesook, A. 2014, Lithostratigraphy and faunal assemblage of the non-marine
Cretaceous bivalves Trigonioides and Plicatounio from the Khok Kruat
Formation at Ban Pha Nang Sua, Nong Bua Rawe District, Chaiyaphum
Province, Northeastern Thailand, Technical Report No. BFP 3/2013,
Division of Fossil Protection, Department of Mineral Resources.
Meesook, A. 2016, The Cretaceous Giant Sauropod from the Khok Kruat Formation
at Ban Pha Nang Sua, Nong Bua Rawe District, Chaiyaphum Province,
Northeastern Thailand: a preliminary report/by Division of Fossil Protection,
Department of Mineral Resources. Division of Fossil Protection, Department
of Mineral Resources.

Argentin  saurus

ภาพกราฟฟกิ ส์ไดโนเสาร์ คดั ลอก และดัดแปลงจาก
https://www.uihere.com/free-cliparts/amphicoelias-dinosaur-size-diplodocus-sauropoda-argentinosaurus-dinosa


Click to View FlipBook Version