The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

การสร้างสรรค์งานแสดง (1)

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by , 2021-10-29 03:53:44

การสร้างสรรค์งานแสดง (1)

การสร้างสรรค์งานแสดง (1)

ห้ อ ง เ รี ย น น า ฏ ศิ ล ป์ ไ ท ย b y ค รู ฟิ ล์ ม

การสร้างสรรค์
งานแสดง

ก ลุ่ ม ส า ร ะ ก า ร เ รี ย น รู้ ศิ ล ป ะ
ส า ร ะ น า ฏ ศิ ล ป์

คำแนะนำผู้เรียน

ชุดความรู้ประกอบการเรียน รายวิชาพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระนาฏศิลป์
ชั้ นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หน่วยการเรียนรู้ที่ 14 เรื่อง การสร้างสรรค์งานแสดง จัดทำขึ้นเพื่อให้
นักเรียนได้ศึกษาหาความรู้และประกอบกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ ในเรื่อง การสร้างสรรค์งาน
แสดง ซึ่งมีส่ วนประกอบของชุดความรู้ให้ผู้เรียนได้ศึกษา ดังนี้

1. แบบทดสอบก่อนเรียน
2. ใบความรู้
3. กิจกรรมการเรียนรู้
4. แบบทดสอบหลังเรียน
ให้ผู้เรียนใช้ประกอบการเรียนการสอนใน 4 คาบเรียน เพื่อพัฒนาผู้เรียนตามมาตรฐาน
การเรียนรู้ ตัวชี้วัด และสาระการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช
2551 ซึ่งมีผังสาระการเรียนรู้ 2 บท ชุดความรู้ประกอบการเรียนเล่มนี้เป็นเล่มที่นักเรียนจะต้อง
เรียนเพื่อเป็นพื้นฐานในการเรียนเรื่องต่อไป
มาตรฐาน

ศ 3.1 เข้าใจและแสดงออกทางนาฏศิลป์อย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์
คุณค่าทางนาฏศิลป์ ถ่ายทอดความรู้สึ ก ความคิดอย่างอิสระ ชื่ นชมและประยุกต์ใช้ในชีวิต
ประจำวัน

ตัวชี้ วัด
1. ร่วมจัดงานการแสดงในบทบาทหน้าที่ต่าง ๆ (ศ 3.1 ม.3/6)
2. ออกแบบ และสร้างสรรค์อุปกรณ์และเครื่องแต่งกาย เพื่อแสดงนาฎศิลป์และละคร

ที่มาจากวัฒนธรรมต่าง ๆ (ศ 3.2 ม.3/1)

สารบัญ

01 แบบทดสอบก่อนเรียน และ 04 เทคนิคการจัดการแสดง
แบบทดสอบหลังเรียน
ข้อสอบปรนัย 20 ข้อ 1.การแสดงและการสร้างความเชื่อ
- การออกแบบเครื่องแต่ง 2.บทบาทและหน้าที่ของฝ่ายต่างๆ
กายและสร้างสรรค์อุ ปกรณ์การ ในการสร้างละคร
แสดง
- วิธีการเลือกการแสดง 05 ใบงานกิจกรรมการเรียนรู้
- เทคนิคการจัดการแสดง
1. ใบงานกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 1
การออกแบบเครื่องแต่งกาย 2. ใบงานกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 2
3. ใบงานกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 3
02 และสร้างสรรค์อุปกรณ์
การแสดง 06 อ้างอิง
1. การออกแบบเครื่องแต่งกาย
2. การสร้างอุปกรณ์การแสดง

03 วิธีการเลือกการแสดง

1. หลักในการเลือกชุดการแสดง
ให้เหมาะสม
2. ขั้นตอนการจัดการแสดง
3. ประโยชน์และคุณค่าของ
การแสดง







การออกแบบเครื่องแต่งกาย

และสร้างสรรค์อุปกรณ์
การแสดง

เครื่องแต่งกายเป็นส่วนประกอบสำคัญในการเสริมให้การแสดง
มีความอลังการยิ่งขึ้นการประดิษฐ์เครื่องแต่งกายและอุปกรณ์จะต้องมี
ความสอดคล้องเหมาะสมกับชุดการแสดง

1. การออกแบบเครื่องแต่งกาย

เครื่องแต่งกายที่ใช้ในการแสดงนาฏศิลป์แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ
1) เครื่องแต่งกายปกติ เครื่องแต่งกายประเภทนี้มีหลายรูป

แบบเป็นเครื่องแต่งกายที่คนทั่วไปตกแต่งร่างกายเพื่อดำเนินชีวิตตาม
ปกติของแต่ละบุคคล

2) เครื่องแต่งกายประยุกต์ เป็นเครื่องแต่งกายที่เลียนแบบ
เครื่องแต่งกายแต่ตัดแปลงให้เหมาะสมกับการแสดงนาฏศิลป์ชุดนั้นๆ
มากยิ่งขึ้น

3) เครื่องแต่งกายประเพณี เป็นเครื่องแต่งกายที่ได้รับการ
พัฒนากำหนดเป็นรูปแบบตายตัวอยู่ในกรอบประเพณีมีการกำหนดราย
ละเอียดเฉพาะตัว เช่น การแต่งกายยืนเครื่องพระ-นาง เครื่องแต่งกาย
ในละครไทยประเภทต่าง ๆ เป็นต้น

4) เครื่องแต่งกายสร้างสรรค์ เป็นการออกแบบเฉพาะกรณี
เพื่อให้เกิดความแปลกตาสนองความคิดและจินตนาการ

การออกแบบเครื่องแต่งกาย

และสร้างสรรค์อุปกรณ์
การแสดง

เครื่องแต่งกายเป็นส่วนประกอบสำคัญในการเสริมให้การ
แสดงมีความอลังการยิ่งขึ้นการประดิษฐ์เครื่องแต่งกายและอุปกรณ์จะ
ต้องมีความสอดคล้องเหมาะสมกับชุดการแสดง

การออกแบบเครื่องแต่งกายมีหลักที่ควรคำนึงถึง ดังนี้

1) รูปแบบ การออกแบบเครื่องแต่งกายต้องคำนึงถึงลักษณะ
ของตัวละครที่สามารถสื่อได้ถึงลักษณะเชื้อชาติ ฐานะ เทพ มนุษย์ สัตว์
เป็นตันมีความสวยงามเหมาะสมกับชุดการแสดงทำให้ทราบว่าแสดงเป็น
ใคร ชุดการแสดงคือชุดอะไร

2) การใช้สอย เป็นไปตามบทบาทที่ได้รับ ส่วนของเครื่องแต่ง
กายและอุปกรณ์แต่ละชิ้นจะมีหน้าที่การใช้สอยเฉพาะที่ที่สื่อให้เห็นว่า "ทำ
อะไร"

3) บุคลิกของผู้แสดง เป็นไปตามบทที่ได้รับ ส่วนของเครื่อง
แต่งกายที่ดีจะต้องเป็นส่วนเสริมให้บุคลิกของตัวละครหรือผู้แสดงมี
ความสง่า ในบางครั้งการสร้างเครื่องแต่งกายที่ใช้ในการแสดงละครก็จะ
ต้องแก้ไขรูปร่างของผู้แสดงด้วย

4) การสร้าง ต้องคำนึงถึงวัสดุที่ใช้และโครงสร้างเพื่อให้เหมาะ
สมกับการใช้งาน

5) การถอดเปลี่ยน เครื่องแต่งกายที่ดีจะต้องมีความสะดวกใน
การถอดเปลี่ยน เพราะนักแสดงบางคนอาจจะแสดงหลายชุด

6) ความประหยัด การออกแบบเครื่องแต่งกายต้องคำนึงถึง
ความประหยัด สามารถนำมาปรับเปลี่ยนเป็นชุดการแสดงได้หลากหลาย
แบบ เป็นการลดต้นทุนการสร้าง

การออกแบบเครื่องแต่งกาย
และสร้างสรรค์อุปกรณ์
การแสดง

2. การสร้างอุปกรณ์การแสดง

อุปกรณ์การแสดงแบ่งออกเป็น 5 ประเภท ตามลักษณะการใช้สอย คือ
1) อาวุธ ในการแสดงนาฏศิลป์นิยมใช้อาวุธที่ทำเลียนแบบของจริง มีน้ำหนักเบาใช้

ร่ายรำได้สะดวกและปลอดภัย ประดับตกแต่งงดงามสอดคล้องกับเครื่องแต่งกาย


















รูปภาพที่ 1 การต่อสู้ด้วยดาบสองมือ
ที่มา : วิพิธทัศนา

2) เครื่องมือเครื่องใช้ เป็นเครื่องมือประกอบอาชีพและเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันที่
เป็นของจริงหรือใกล้เคียงกับของจริง เช่น ฟ้อนเทียนถือเทียน ระบำตารีกีปัสถือพัด เซิ้ง
กระติบข้าวใช้กระดิบข้าวประกอบการแสดง เป็นตัน อุปกรณ์ประเภทนี้มีวิธีถือวิธีจับต่างกันซึ่ง
จะสะท้อนอยู่ในท่ารำด้วย

รูปภาพที่ 2 เซิ้งกระติบข้าว
ที่มา : Lankum design ลานคำดีไซน์

การออกแบบเครื่องแต่งกาย
และสร้างสรรค์อุปกรณ์
การแสดง

3) เครื่องดนตรี เป็นเครื่องดนตรีจริง เพราะต้องใช้เสียงดนตรีในการแสดง เช่น
ระบำฉิ่ง ระบำกลองยาว เนื่องจากผู้แสดงจะต้องถือและบรรเลงดนตรีในระหว่างแสดง ดังนั้น
ท่าทางการรำจึงต้องถูกต้องตามหลักการจับและวิธีบรรเลง

รูปภาพที่ 3 ระบำฉิ่ง
ที่มา : วิพิธทัศนา




4) พฤกษชาติ เป็นต้นไม้ ดอกไม้ ใบไม้ทั้งของแท้และของเทียม นอกจากจะใช้เป็น
อุปกรณ์ประกอบการฟ้อนรำเพื่อให้เกิดความสวยงามแล้ว ยังเลือกจาก พันธุ์ไม้ในท้องถิ่นเพื่อ
แสดงความเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นอีกด้วย

รูปภาพที่ 4 ระบำดอกบัว
ที่มา : วิพิธทัศนา

การออกแบบเครื่องแต่งกาย
และสร้างสรรค์อุปกรณ์
การแสดง

5) เบ็ดเตล็ด เป็นอุปกรณ์การแสดงที่ไม่สามารถจัดเข้าเป็นหมวดหมู่ข้างตันได้

รูปภาพที่ 5 ระบำกฤดาภินิหาร
ที่มา : บ้านนางรำ

นอกจากนี้เมื่อทราบถึงการออกแบบและสร้างสรรค์แล้ว ยังต้องคำนึงถึงหลักการ
ออกแบบด้วย ได้แก่
1. ประหยัด

ในการออกแบบและสร้างสรรค์อุปกรณ์และเครื่องแต่งกายเพื่อการแสดงนาฏศิลป์
จะต้องคำนึงถึงความประหยัดในการซื้อวัสดุอุปกรณ์ โดยไม่เลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ที่มีราคา
แพงมากเกินไป หรือใช้วัสดุ อุปกรณ์ที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น

2. ประโยชน์
ในการออกแบบและสร้างสรรค์อุปกรณ์และเครื่องแต่งกายเพื่อการแสดงควรคำนึง

ถึงประโยชน์ของการใช้งานของสิ่งที่สร้างสรรค์ขึ้นมา เพื่อให้สามารถนำมาใช้งานต่อไปได้

3. ปลอดภัย
ในการออกแบบและสร้างสรรค์อุปกรณ์และเครื่องแต่งกายเพื่อการแสดงนาฏศิลป์จะ

ต้องใช้วัสดุอุปกรณ์ที่ไม่เป็นอันตรายต่อผู้แสดง รวมถึงไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม
ด้วย โดยหลีกเลี่ยงการใช้สีอันตราย โฟม วัสดุมีคม และใช้วัสดุที่เป็นธรรมชาติ หรือวัสดุที่
ไม่เป็นอันตราย

วิธีการเลือกการแสดง

วิธีการเลือกการแสดง
การเลือกสร้างสรรค์งานแสดงจะต้องคำนึงถึงประเภทของงาน ควรเลือก

การแสดงให้มีความเหมาะสมกับงานเพื่ อให้ผู้ร่วมงานเกิดความประทับใจเมื่ อได้มา
ร่วมงาน

การแสดงนาฏศิลป์ไทยสามารถที่จะนำมาจัดแสดงในโอกาสต่างๆ โดยต้อง
คำนึงถึงรูปแบบของงานว่าเป็นงานประเภทใด สถานที่มีความเหมาะสมเพียงใด ระยะ
เวลาที่กำหนดให้มีการจัดการแสดง และวัยของผู้ชม เพื่อที่จะสามารถจัดการแสดง
ได้เหมาะสมกับโอกาสนั้นๆ การแสดงนาฏศิลป์ไทย เป็นการแสดงที่มีทั้งการแสดง
เพื่องานมงคลและงานอวมงคล ซึ่งการแสดงแต่ละประเภทจะต้องคำนึงถึงลักษณะ
ของงาน

นาฏศิลป์ เป็นศิลปะคู่บ้านคู่เมืองที่นำมาแสดงได้ทุกโอกาส ทั้งงานพระราช
พิธี รัฐพิธี และงานทั่วๆไปของเอกชนโดยงานพระราชพิธี และรัฐพิธีเป็นงานในหน้าที่
ของกรมศิลปากรที่ต้องจัดการแสดงในโอกาสสำคัญๆ เช่น

1. งานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
5 ธันวามหาราช

2. งานพระราชพิธีเฉลิมพระ ชนมพรรษาสมเด็จพระบรมราชินีนาถ
12 สิงหาคม

3. งานพระราชพิธีพระราชทานเลี้ยงพระกระยาหารค่ำ พระราชอาคันตุ
กะในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท และพระที่นั่งบรม
ราชสถิตมโหฬาร

4. งานวันปิยมหาราช
5. งานต้อนรับแขกของรัฐบาล ณ ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งจัดเป็นประจำ
6. งานเฉลิมฉลองวันสำคัญต่างๆ เช่น วันขึ้นปีใหม่ วันสงกรานต์
เป็นต้น
7. การจัดแสดงเพื่อเผยแพร่ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
สำหรับพิธีราษฎร์ จัดการแสดงเนื่องในวันสำคัญต่างๆ เช่น วันครู วันเด็ก
วันสุนทรภู่ วันสถาปนาลูกเสือแห่งชาติ วันลอยกระทง เป็นต้น

วิธีการเลือกการแสดง

หลักในการเลือกชุดการแสดงให้เหมาะสม

1) เลือกชุดแสดงให้เหมาะสมกับโอกาสที่แสดงถ้าเป็นงานเฉลิมฉลอง
ความสำเร็จหรือเป็นงานวันสถาปนาโรงเรียน วันเกิดบุคคลสำคัญ ก็ต้องเลือกชุด
การแสดงที่เป็นการอำนวยพร มอบความเป็นสิริมงคลให้มั่งมีศรีสุข เช่น ระบำ
กฤดาภินิหาร ฟ้อนอวยพร เป็นตัน หรือแต่งเนื้อร้องขึ้นใหม่ให้ตรงตาวัตถุประสงค์
โดยกำหนดเนื้ อหาของบทร้องให้ชัดเจนว่าการแสดงชุดนี้จัดขึ้นเพื่ ออะไรหรือเพื่ อ
ใครมีเป้าหมายอย่างไร

2) เลือกชุดการแสดงตามที่ผู้จัดต้องการ เช่น รูปแบบของการแสดง
ผู้แสดง เครื่องแต่งกาย เวลาที่ใช้ในการแสดง ขนาดของพื้นที่ในการแสดงงบ
ประมาณเพื่ อให้เหมาะสมกับงานนั้นๆการเลือกรูปแบบการแสดงก็ต้องเป็นระบบ
มีกฎเกณฑ์ถูกต้องตามแบบแผนโดยปฏิบัติดังนี้

1.แต่งบทร้องให้ได้ใจความเหมาะสมกับงานนั้นๆ
2.ตีท่ารำให้ตรงตามความหมายของบทร้อง มีการแปรแถว
ตั้งซุ้มให้สัมพันธ์กับบทร้อง
3.ใส่ทำนองเพลงให้ถูกต้องเหมาะ สมกับเนื้อเพลง
4.ปี่ พาทย์ทำทำนองเพลง ผู้แสดงใช้สีลาท่ารำ และตึบทได้ถูกต้อง
5.ช่วงจบปี่ พาทย์ทำเพลงรัวผู้รำกลับไปนำพานดอกไม้มาโปรย
อันเป็นสัญลักษณ์ของการรำอวยพร
6.คัดเลือกผู้แสดงที่มีความสามารถ มีฝีมือในการรำ จำนวนผู้แสดง
และเครื่องแต่งกายเหมาะสมสอดคล้องกับรูปแบบของการแสดงนั้นๆ

วิธีการเลือกการแสดง

การแสดงนาฏศิลป์และการละครของไทยในโอกาสต่างๆ

การนำการแสดงนาฏศิลป์และการละครของไทยไปแสดงในโอกาสต่างๆ
ต้องคำนึงถึงรูปแบบของงานที่จัดว่าเป็นงานประเภทใด เช่น งานพระราชพิธี งาน
มงคล งานอวมงคล งานเทศกาลต่างๆ เป็นต้น และต้องคำนึงสถานที่จัดการ
แสดงว่ามีบริเวณกว้างหรือแคบมากน้อยเพียงใดระยะเวลาที่กำหนดให้มีการแสดง
รวมทั้งวัยของผู้ชม เพื่อที่จะได้จัดการแสดงได้เหมาะสมกับโอกาสนั้น ๆและ ถูกใจ
ผู้ชม

1. การแสดงนาฏศิลป์และการละครของไทยในงานพระราชพิธี
งานพระราชพิธี คือ งานที่จัดเพื่อพระมหากษัตริย์และเชื้อพระวงศ์ เช่น

งานสมโภช งานเฉลิมฉลองสิริราชสมบัติ งานโสกันต์ เป็นต้น ซึ่งการแสดง
นาฏศิลป์และการละครของไทยที่นำมา จัดแสดงในงานพระราชพิธีนั้นจะมีลักษณะ
แสดงที่มีแบบแผน ขนบธรรมเนียมประเพณีที่เคร่งครัดและความงดงามในท่าทาง
การร่ายรำการแต่งกาย ความไพเราะของการขับร้องและการบรรเลงเพลงประกอบ
การแสดง เช่น การละเล่นของหลวง การแสดงละครใน การแสดงละครนอกแบบ
หลวง การแสดงโขน ซึ่งการแสดงโขนใน งานพระราชพิธีนั้นเรียกว่า โขนหลวง
การแสดงหุ่นละครใหญ่หรือหุ่นละครหลวง และการแสดงรำ ระบำแบบมาตรฐาน
เป็นต้น

2. การแสดงนาฏศิลป์และการละครของไทยในงานมงคลทั่วไป
งานมงคลทั่วไป เซ่น งานทำบุญบ้าน งานวันเกิด งานปีใหม่ เป็นต้น จะ

นิยมนำการแสดงที่สื่ อความหมายถึงความเป็นสิริมงคลการแสดงที่สนุกสนานและ
ใช้เวลาในการแสดงแต่ละชุดไม่นานจนผู้ชมไม่รู้สึกเกิดความเบื่ อหน่ายมาจัดแสดง
ให้แขกท่าในงานได้รับชม เช่น รำอวยพร ระบำกฤดาภินิหาร ระบำเทพบันเทิง ระบำ
ไกรลาศสำเริง ฟ้อนอวยพร เป็นต้น และการแสดงพื้นเมืองที่มีจังหวะสนุกสนาน
เช่น การแสดงพื้นเมืองที่มีจังหวะสนุกสนาน เช่น การแสดงเซิ้งโปงลาง ระบำ
ร่อนแร่ เป็นต้น

วิธีการเลือกการแสดง

ขั้นตอนการจัดการแสดง

การจัดชุดการแสดงนาฏศิลป์หรือการแสดงละคร ผู้จัดต้องมีการวางแผน
งานให้เหมาะสมโดยกำหนดว่าจะแสดงอะไรให้เหมาะสมกับงานที่จัด เช่น งานมงคล
หรืองานอวมงคล สถานที่จัดแสดงที่ใด มีเวทีหรือแสดงกลางแจ้ง จึงต้องมีการ
ประชุมปรึกษาหารือกัน

1) เลือกการแสดงที่จะใช้ในงาน เป็นการเลือกรูปแบบการแสดงให้มีความ
เหมาะสมกับงาน

2) จัดหาสถานที่ในการแสดง ในการจัดการแสดงควรคำนึงถึงสถานที่
แสดงเพื่อให้สามารถจัดการแสดงได้เหมาะสม สามารถจัดรูปแบบการแสดงได้
สมบูรณ์ ผู้ชมได้รับความเพลิดเพลินในการชมการแสดง

3) แบ่งหน้าที่ในการทำงาน ในการจัดการแสดงแต่ละครั้งจะต้องมีการแบ่ง
หน้าที่ในการทำงานในแต่ละฝ่าย เพื่อให้สามารถสร้างสรรค์งานได้อย่างสมบูรณ์ใน
การทำงานแต่ละฝ่ ายจะต้องมีความสามัคคีกันเพื่ อให้การแสดงสำเร็จลุล่วงไปได้
ด้วยดี

4) ฝึกซ้อมการแสดง ในการจัดการแสดงแต่ละการแสดงจะต้องมีการฝึก
ซ้อมการแสดง เพื่อให้แสดงได้ถูกต้องและไม่เกิดความผิดพลาดขณะทำการแสดง
จริง

5) จัดการแสดงจริง เป็นการจัดแสดงจริงในวันแสดงจริง ซึ่งทุกฝ่ายต้อง
มีความพร้อม ในการจัดการแสดง และมีฝ่ายต้อนรับผู้ชมในการนำผู้ชม เข้าสู่
สถานที่แสดงด้วย

6) จัดเก็บอุปกรณ์และสถานที่หลังเลิกแสดง เมื่อจัดการแสดงเรียบร้อย
แล้วทุกคนจะต้องร่วมมือกันจัดเก็บอุปกรณ์ที่ใช้ในการแสดง และทำความสะอาด
สถานที่จัดการแสดงให้เรียบร้อย

วิธีการเลือกการแสดง

ประโยชน์และคุณค่าของการแสดง
1) ประโยชน์ของการแสดง
• สร้างความรื่นรมย์ ผ่อนคลายให้กับผู้ชมและผู้แสดง
• ส่งเสริมด้านบุคลิกภาพ และการแสดงออกทางภาษา
• ช่วยส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
• ช่วยส่งเสริมความรู้รอบตัวในเรื่องดนตรี วรรณคดี
• ช่วยสร้างความสามัคคีและความรับผิดชอบ
• ส่งเสริมทักษะในด้านการแสดงออกต่าง ๆ

2) คุณค่าของการแสดง
• ส่งเสริม จรรโลงศิลปะและวัฒนธรรมในสังคม
• สะท้อนให้เห็นถึงภูมิปัญญาของคนไทยในการสร้างสรรค์การแสดง
• สะท้อนถึงวัฒนธรรมประเพณี วิถีชีวิตของคนในสังคม

เทคนิคการจัดการแสดง

เ ท ค นิ ค ก า ร แ ส ด ง / เ ท ค นิ ค ก า ร แ ส ด ง พื้ น ฐ า น

เทคนิคการจัดการแสดง

เทคนิคการจัดการแสดงมีความสำคัญที่จะทำให้การ
แสดงนั้นสมบูรณ์และมีความสมจริงมากขึ้นอีกทั้งเป็นการ
ช่วยเสริมสร้างจินตนาการให้กับผู้ชม

การสร้างความเชื่อ

การแสดงออกซึ่งกิริยาท่าทางของตัวละคร คือการสวมบทบาท
ของตัวละครในเรื่องนั้นผู้แสดงจะต้องสร้างความเชื่อให้คนดูเกิด
ความเชื่อให้ได้ว่าตนและอุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบฉากในเรื่องเป็น
เรื่องจริงๆ การที่ผู้แสดงจะมีความสามารถตีบทได้อย่างสมจริงนั้น
ผู้แสดงจะต้องศึกษาบทละคร ตัวละครที่ตนต้องแสดงอย่างละเอียด
ทุกแง่ทุกมุม นับตั้งแต่บุคลิก ลักษณะนิสัยของตัวละคร กิริยาท่าทาง
อารมณ์ของตัวละคร

ในการสร้างความเชื่อให้กับผู้ชมละคร ผู้แสดงจะต้องมีสมาธิ รู้จัก
การใช้จินตนาการ เห็นภาพลักษณ์และอุปนิสัยใจคอของตัวละครใน
บทละคร ถ้าผู้แสดงละครทำให้ผู้ชมเชื่อว่าสิ่งที่ปรากฎอยู่ตรงหน้าเขา
นั้นเป็นเรื่องจริงแสดงว่าผู้แสดงละครผู้นั้นตีบทแตกได้อย่างสมจริง
ประหนึ่งว่าผู้แสดงกับตัวละครเป็นบุคคลเดียวกันหรือกล่าวได้ว่า
สามารถเข้าถึงศิลปะการแสดงละคร

การแสดงร่วมกับผู้อื่น

การแสดงละคร ผู้แสดงจะต้องแสดงร่วมกับตัวละครอื่น ๆ
ในเรื่อง ฉะนั้นในการฝึกซ้อมละคร ผู้แสดงจะต้องฝึกการเจรจากับ
ผู้ร่วมแสดง ไม่ควรท่องบทเพียงลำพังคนเดียว ทั้งนี้เพื่อจะได้
สัมผัสกับปฏิกิริยาของตัวละครอื่น ๆ ผู้แสดงต้องแสดงทั้งบทรับ
บทส่งตลอดเวลา การมีปฏิกิริยากับผู้อื่น เช่น การฟัง การแสดง
กิริยาท่าทาง การรับรู้ด้วยการแสดงสีหน้า พอใจ ไม่พอใจ ดีใจ ยิ้ม
หรือหน้าบึ้ง จะช่วยทำให้สามารถเข้าถึงบทบาทของตัวละครได้ลึก
ซึ้งขึ้น เวลาแสดงจริงจะได้สอดคล้องประสานกัน

เทคนิคการจัดการแสดง

เ ท ค นิ ค ก า ร แ ส ด ง / เ ท ค นิ ค ก า ร แ ส ด ง พื้ น ฐ า น

การแสดงร่วมกับผู้อื่น

ในฉากที่มีตัวละครเป็นจำนวนมาก ที่เป็นตัวประกอบประเภทสัมพันธ์บท เช่น แม่บ้าน คนรับใช้
คนสวนหรือตัวประกอบ ที่เสริมลักษณะเรื่องให้สมจริง อาทิ ประชาชน ทหาร ตำรวจ ไพร่พล ผู้แสดงต้อง
สื่อประสานได้ทั้งตัวละครที่เป็นตัวเอก ตัวสำคัญ และตัวประกอบ แม้ว่าตัวละครที่เป็นตัวประกอบจะไม่มีบท
พูดแต่ก็ต้องแสดงบุคลิกลักษณะให้สมบทบาทตามเนื้อเรื่อง เพราะตัวละครที่แสดงอยู่บนเวทีต่อหน้าผู้ชม
จะมีความสำคัญทุกตัว ผู้แสดงละครที่ดี นอกจากจะแสดงบทบาทของตนให้สมจริงแล้ว จะต้องมีทักษะ
และความสามารถในการร่วมแสดงกับผู้อื่ นด้วย

บทบาทและหน้าที่ของฝ่ายต่าง ๆ ในการสร้างละคร

ทีมงานสร้างงานละครจะประกอบด้วยบุคคลที่ทำหน้าที่ฝ่ายต่าง ๆ มากมายหลายสาขา ซึ่งแต่ละ
ฝ่ายล้วนมีบทบาทสำคัญในอันที่จะทำให้การจัดการแสดงละครประสบผลสำเร็จซึ่งความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่ง
ใจเดียวกันระหว่างทีมงานทุกฝ่าย นับเป็นกุญแจดอกสำคัญที่จะทำให้การแสดงละครสัมฤทธิผลตามเป้า
หมายที่ได้ตั้งไว้ ทั้งนี้ทุกฝ่ายต้องเข้าใจบทบาทหน้าที่ มีความรับผิดชอบ ละเว้นการก้าวก่ายงานของผู้อื่น มี
น้ำใจรู้จักให้อภัยต่อกัน

บุคคลที่มีบทบาทสำคัญในการจัดการแสดงละครที่สำคัญ ประกอบด้วยบุคคลต่าง ๆ ดังนี้
1. ผู้อำนวยการแสดง (Producer) คือ ผู้จัดหรือหัวหน้าคณะในการจัดแสดงละครแต่ละครั้ง เป็น

ผู้กำหนดนโยบาย รูปแบบการแสดง เรื่องที่จะนำมาแสดง จัดสรรหน้าที่ของแต่ละฝ่าย ดูแลงบประมาณ
เป็นผู้ตัดสินใจในเรื่องสำคัญ ๆ

2. ผู้กำกับการแสดง (Director) ควบคุมผู้แสดงให้แสดงให้สมบทบาทตามบทที่กำหนดไว้จัดองค์
ประกอบต่าง ๆ ของละครให้มีความสมจริง

3. ผู้กำกับเวที (Stage Manager) เป็นผู้รับผิดชอบต่อจากผู้กำกับการแสดง เฉพาะในเรื่องการ
แสดงบนเวที มีหน้าที่ดูแลความเรียบร้อยของเวที เป็นผู้เดียวที่สั่งให้การแสดงเริ่มหรือหยุด ติดต่อสั่งงาน
เกี่ยวกับไฟแสง เสียงประกอบ ตลอดจนการเปิดปิดฉากละคร

4. ผู้เขียนบท (Play Wright) เป็นผู้ทำหน้าที่เขียนบทละคร สร้างโครงเรื่อง คำพูดและเหตุการณ์ผู้
เขียนบทละครนับเป็นหัวใจสำคัญของการละคร ละครจะสนุกได้รับผลดีเพียงใด อยู่ที่ผู้เขียนบทละครเป็น
สำคัญ ผู้เขียนบทจะต้องกำหนดจุดมุ่งหมายให้ชัดเจน เป้าหมายหลักคืออะไร ต้องการสื่ออะไรกับผู้ดู เช่น
แนวคิด คติสอนใจ เป็นต้น

5. ผู้จัดการฝ่ายธุรการ (House Manager) เป็นฝ่ายจัดการทุกอย่างเกี่ยวกับธุรกิจของโรงละคร
จัดสถานที่แสดง ดูแลการจำหน่ายบัตรที่นั่ง รับผิดชอบเกี่ยวกับผู้ดู

6. เจ้าหน้าที่เครื่องแต่งกายและแต่งหน้า (Costume & Make up) ต้องรู้ว่าฉากใด ผู้แสดงมีตัว
ละครกี่ตัว ใช้ชุดสีอะไรแบบไหน ส่วนเครื่องแต่งหน้าต้องเตรียมให้พร้อม และควรมีความสามารถในการ
แต่งหน้าตัวละครได้สมจริง เช่น แต่งหน้าในบทของคนชรา คนต่างชาติ คนที่ได้รับบาดเจ็บ เป็นต้น

7. นักแสดง (Actor) คือ ผู้ที่สวมบทบาทเป็นตัวละคร เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวและความรู้สึกนึกคิด
ที่อยู่ในบทละครมาสู่ผู้ชม

เทคนิคการจัดการแสดง

เ ท ค นิ ค ก า ร แ ส ด ง / เ ท ค นิ ค ก า ร แ ส ด ง พื้ น ฐ า น

ในบรรดาผู้ร่วมงานทางด้านการจัดแสดงละคร นักแสดงคือผู้ที่อยู่
ใกล้ชิดกับผู้ชมมากที่สุดผลงานการสร้างสรรค์ของฝ่ายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นผู้
เขียนบท ผู้กำกับการแสดง การออกแบบเครื่องแต่งกาย แต่งหน้าจะได้รับ
การถ่ายทอดมาสู่ผู้ชมโดยตรงโดยผ่านนักแสดง ผู้ที่เป็นนักแสดงพึงคิดไว้
เสมอว่า "ละครคือศิลปะที่รวมศิลปะหลายแขนงไว้ด้วยกัน ความสำเร็จของ
ละครอยู่ที่ความร่วมมือร่วมใจของผู้ร่วมงานทุกฝ่าย" นักแสดงจึงไม่ควรเย่อ
หยิ่งหรือคิดว่าตนเป็นคนสำคัญแต่เพียงผู้เดียว และพึงระลึกเสมอว่าตัว
ละครในบทละครทุกตัวมีความสำคัญเท่าเทียมกันหมด นับตั้งแต่พระเอก
นางเอก ผู้ร้าย ตัวประกอบ หน้าที่ของผู้แสดง เมื่อได้รับบทให้แสดงเป็นตัว
อะไรไม่ว่าจะเป็นตัวประกอบ เช่น คนรับใช้ พี่เลี้ยง ทหาร ตำรวจ พยาบาล
ประชาชน ก็ควรทุ่มเทฝึกซ้อมให้เต็มความสามารถเพราะมีหน้าที่และความรับ
ผิดชอบอย่างสูงสุดที่มีต่อผู้ชมและเพื่อนร่วมงานทุกฝ่ายเพราะถ้าผู้แสดงไม่
ตั้งใจแสดงก็เหมือนเป็นการทำลายผลงานของผู้เขียนบทผู้กำกับการแสดง
ผู้ออกแบบฝ่ายต่างๆ ฉะนั้นนักแสดงจะต้องมีจิตสำนึกที่ถูกต้อง มิใช่รักแต่
ความดังที่ได้รับเป็นตัวเอก นักแสดงที่ดีต้องอุทิศตนเพื่องาน สามารถแสดง
ได้ทุกบทบาท มองเห็นคุณค่าของการแสดงว่าเป็นศิลปะ และควรภูมิใจที่ได้
รับเลือกให้เป็นผู้แสดง ไม่ว่าจะเป็นตัวประกอบ ตัวร้าย ก็สามารถให้ความ
บันเทิงแก่ผู้ชมได้เช่นกันซึ่งเทคนิคในการจัดการแสดงประกอบด้วยฉาก

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ให้ความหมายของ
ฉากไว้ว่า "ฉาก คือ เครื่องบังหรือเครื่องกั้น มีหลายชนิด ใช้ตั้ง แขวน หรือ
พับได้ เครื่องประกอบเวทีละครเพื่อให้ดูสมจริงตามเนื้อเรื่อง เช่น ฉากป่า
ฉากเมือง" สารานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม 10 หน้า 5890 ได้ให้
ความหมายของฉาก ว่า "ฉาก หมายถึง ภาพพื้นหลังสำหรับประกอบการ
แสดงต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมการแสดงให้เกิดอารมณ์มากขึ้น ภาพพื้นหลังที่
เรียกว่า ฉาก นี้จะเขียนบนผืนผ้าหรือกระดาษ หรือจะเป็นภาพนูน เป็นแผง
เป็นส่วน กลมรอบตัวอย่างของจริงก็ได้ แต่ภาพพื้นหลังซึ่งเขียนไว้ทางด้าน
ซ้ายและขวาของการแสดงโขนหน้าจอ ซึ่งเขียนเป็นภาพพลับพลาด้านหนึ่ง
ภาพปราสาทราชวังด้านหนึ่ง ไม่เรียกว่า ฉาก แต่หากเรียกรวมว่าจอ เพราะมี
กำเนิดมาจากจอหนังใหญ่ สรุปได้ว่าฉาก คือ ภาพที่ใช้ประกอบในการแสดงที่
ช่วยในการสร้างอารมณ์และทำให้การแสดงนั้นดูสมจริงและมีความสมบูรณ์
มากยิ่งขึ้น

เทคนิคการจัดการแสดง

เ ท ค นิ ค ก า ร แ ส ด ง / เ ท ค นิ ค ก า ร แ ส ด ง พื้ น ฐ า น

ฉาก

ฉาก คือ ลักษณะโครงสร้างด้านหน้าของฉาก ที่มีหลายส่วนประกอบกันเพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมที่เป็น
สถานที่ให้ตัวละคร รวมทั้งเป็นแบ็คกราวด้านหลังตัวละครที่อยู่บนเวที รูปแบบฉากจึงสามารถสื่อสถานที่
และเหตุการณ์ต่าง ๆ ในฉากได้ชัดเจน จึงแบ่งออกได้ 3 รูปแบบ คือ

1. รูปแบบฉากภายใน (interior setting) จะแสดงให้เห็นถึงสถานที่ที่เป็นภายในอาคารสถานที่
ต่าง ๆ เช่น ภายในที่พักอาศัย ในรถประจำทาง ในเรือ ฯลฯ

2. รูปแบบฉากภายนอก (exterior setting) แสดงให้เห็นภายนอกสถานที่ต่าง ๆ เช่น สวนหน้า
บ้านในป่า รั้วหน้าบ้าน ฯลฯ

3. รูปแบบผสมฉากภายในกับฉากภายนอก (combination of interior and exterior setting)
แสดงให้เห็นภายใน และภายนอกสถานที่ไปพร้อมกัน จะอาศัยการออกแบบแสงประกอบฉากให้สว่างเน้น
จุดที่ต้องการให้เห็นหรืออาจแสดงให้เห็นทั้งภายในและภายนอกพร้อมกันก็จะมีการเปิดแสงประกอบให้เห็น
รูปแบบฉากทั้งหมดเพื่อให้เห็นฉากโดยภาพรวมทั้งภายในภายนอกพร้อมกับแสงบนเวที

3.1 แสงบนเวทีช่วยให้ภาพที่ปรากฏบนเวทีมองเห็นได้ชัดเจน ทำให้ผู้ชมสามารถมองเห็นการ
เคลื่อนไหว การแสดงบทบาท และอารมณ์ของตัวละครได้ชัดเจน ทำให้ผู้ชมเข้าใจในบทบาทพฤติกรรมการ
แสดงของตัวละคร เข้าใจเหตุการณ์ในเรื่อง มองเห็นความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนเวทีภาพ
เหตุการณ์ที่ปรากฎขึ้นจึงทำให้ผู้ชมเข้าใจ ประทับใจภาพที่ปรากฏบนเวที และเกิดความรู้สึกคล้อยตามกับ
บทบาทตัวละคร และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้

3.2 บางครั้งในการสร้างฉากและอุปกรณ์ประกอบฉากอาจมีจุดด้อยปรากฎให้เห็นการใช้แสง
ประกอบสามารถช่วยแก้ไขความบกพร่องของงานฉากและอุปกรณ์บนเวทีให้ดูสมบูรณ์ขึ้นหรือช่วยลด
ความบกพร่องลงได้ขณะเดียวกันการจัดแสงบนเวทีสามารถออกแบบได้เหมาะสมจะช่วยให้ภาพบนเวที
เกิดความโดดเด่น สวยงาม เกิดความสมดุลของฉากและการแสดง ดังนั้น การใช้เทคนิคแสงบนเวทีผู้
ออกแบบแสงต้องมีความเข้าใจในการนำสีเข้ามาประกอบ ตลอดจนเข้าใจวางจุดของแสงให้เหมาะสม

ด้วยเพื่อความสมบูรณ์ของงานการแสดงให้งดงามเหมาะสมมากขึ้น
3.3 การจัดแสงที่เหมาะสมและเลือกใช้องค์ประกอบสีที่ถูกต้องจะช่วย ทำให้วัตถุต่าง ๆ
บนเวทีที่ใช้เป็นองค์ประกอบของฉากมีความเป็นมิติดูสมจริงมากขึ้น รวมทั้งสามารถ
สร้างบรรยากาศของฉากและเหตุการณ์ในฉากให้ดูกลมกลืนสมจริงยิ่งขึ้น ช่วย
กระตุ้นให้ผู้ชมเกิดความรู้สึกและมีอารมณ์คล้อยตามไปกับบรรยากาเหตุการ
เรื่องราว และการดำเนินการแสดง เข้าใจในบรรยากาศ การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ
ของเรื่องราวที่ชม มีจินตนาการร่วมในการแสดง เสริมให้ผู้ชมได้รับทั้ง
สุนทรียภาพและสุนทรียะรสจากการชมการแสดงมากยิ่งขึ้น

CONTENTS

อ้างอิง

01 ผลงานรูปภาพนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
02 โรงเรียนราชวินิตบางแคปานขำ, 2564
03 มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมในพระบรม
04 ราชูปถัมภ์. คู่มือครูระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 วิชาพื้นฐาน.
ม ป ท. . ., 2562

รณกฤต เพชรเกลี้ยง. รูปภาพการแสดงนาฏศิลป์
สร้างสรรค์, กรุงเทพฯ : 2564

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน ดนตรี-นาฏศิลป์.
กรุงเทพฯ : สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ(พว.),

2564

ใบงาน
กิจกรรมการเรียนรู้








Click to View FlipBook Version