๑
รายงานผลการดำเนินงาน สภาผู้ชมและผู้ฟังไทยพีบีเอส ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จัดโดย
สภาผู้ชมและผู้ฟัง Thai PBS
ภาคตะวนออกเฉียงเหนือ
ั
สนับสนุนโดย
องค์การกระจายเสียงและแพร ่
ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย
รายงานผล โครงการจัดกิจกรรมรับฟังความคิดเห็น เพื่อพัฒนาคุณภาพรายการ
เวทีรู้ทัน...ภัยสังคมออนไลน์
และการตกเป็นเหยื่อคอลเซ็นเตอร์
วันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๖๕
ณ โรงแรมเดอสิตา อ.เมือง จ.บุรีรัมย์
๒
รายงานผลการดำเนินงาน สภาผู้ชมและผู้ฟังไทยพีบีเอส ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
รายงานผลการดำเนินงาน
โครงการจัดกิจกรรมรับฟังความคิดเห็น เพื่อพัฒนาคุณภาพการผลิตรายการ
เวทีรู้ทัน...ภัยสังคมออนไลน์
และการตกเป็นเหยื่อคอลเซ็นเตอร์
จัดโดย
ั
สภาผู้ชมและผู้ฟัง Thai PBS ภาคตะวนออกเฉียงเหนือ
สนับสนุนโดย
องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย
๓
รายงานผลการดำเนินงาน สภาผู้ชมและผู้ฟังไทยพีบีเอส ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
รับรองรายงาน
กิจกรรมรับฟังความคิดเห็นเชิงสถานการณ์กลุ่มประเด็น
เวทีรู้ทัน...ภัยสังคมออนไลน์
และการตกเป็นเหยื่อคอลเซ็นเตอร์
วันเสาร์ ที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๖๕
ณ ห้องประชุมอเนกประสงค์ ๑ โครงการชลประธานห้วยเสนง อ.เมือง จ.สุรินทร์
(นางสาวรุ่งนภา บญสงค์)
ุ
ผู้จัดทำรายงาน
(นายนิพนธ์ มุลเมืองแสน)
สภาผู้ชมและผู้ฟังรายการ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ฝ่ายวิชาการ
(นางปรียานุช ป้องภัย)
ประธานสภาผู้ชมและผู้ฟังรายการ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ผู้เห็นชอบรายงาน
๔
รายงานผลการดำเนินงาน สภาผู้ชมและผู้ฟังไทยพีบีเอส ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
คำนำ
เนื่องจากสถานการณ์ปัจจุบัน การพัฒนาด้านเทคโนโลยีการสื่อสารทางการเงินที่สะดวกสบาย
สามารถบริหารจัดการได้เพียงปลายนิ้ว แต่การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร และศักยภาพของการใช้เครื่องมือ
สื่อสารของประชาชนยังมีน้อย ทำให้มีการหลอกลวงทางออนไลน์ หรือแก๊งคอลเซ็นเตอร์ เกิดขึ้นเป็น
จำนวนมาก จากการไม่รู้เท่าทันเทคโลโลยี และเล่ห์เหลี่ยมของมิจฉาชีพ ซึ่งมีเหยื่อที่ถูกหลอกจำนวน
มาก ทำให้สูญเสียเงินมหาศาล บางรายสูงถึงหลัก 2–3 ล้านบาท และมิจฉาชีพเองมีการพัฒนารูปแบบ
การหลอกลวงในรูปแบบใหม่ ๆ ตามสถานการณ์และทันต่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้นด้วย
์
ข้อมูลจาก กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ตำรวจไซเบอร) อีสาน
1) กรณีผู้เสียหายรายใหญ่ของภาคอีสาน คือ เจ้าของคณะหมอลำสาวน้อยเพชรบานแพง ที่ถูก
้
้
หลอกใหโอนเงินสูญเงินกว่า 2 ล้านบาท ซึ่งได้เดินทางไปแจ้งความที่ สภ.อ.โกสุมพิสัย จ.
มหาสารคาม และ ตร. ส่งเรื่องต่อไปยังกองบัญชาการตำรวจสืบสวน สอบสวน อาชญากรรม
์
ทางเทคโนโลยี (ตำรวจไซเบอร) จาก นั้นทางตำรวจไซเบอร์ได้ดำเนินการต่อจนกระทั่งสามารถ
จับตัวเจ้าของบัญชีได้ แต่เป็นเพียงแค่การรับจ้างเปิดบัญชี และทางตำรวจดำเนินคดีต่อเนื่อง
ล่าสุดสามารถจับกุมผู้ร่วมขบวนการได้แล้ว
2) มีผู้สูญเสียเงินต่อเนื่องให้กับการหลอกลวงให้ร่วมลงทุนกว่า 500,000 บาท ในการร่วม
ขบวนการหาสิ้นค้าจาก lazada และ shopee และหาลูกข่ายเพื่อที่จะร่วมขบวนการ แรกๆ
เหยื่อได้รับเงินคืน แต่พอหลังๆกลับไม่ได้รับเงินตามที่ตกลง
3) สถิติการหลอกลวงทางการเงินกว่า 8,500 คดี จาก ๑ มีนาคม- ๒๒ เมษายน ๒๕๖๕ มีทั้งการ
หลอกให้โอนเงิน / การล่วงละเมิดทางเพศ / การซื้อของทางออนไลน์แต่ไม่ได้รับของ / การ
พนันออนไลน์ / หลอกลวงการลงทุนเพื่อรับเงินปันผล / จำนวน ๑๕,๕๕๗ คดี มีมูลค่าความ
เสียหาย ๙๓๖,๙๘๔,๘๓๙ บาท อายัดได้ทัน ๖๒,๔๗๔,๙๖๕ บาท สรุปความสญเสียมากถึง
ู
๘๗๔,๕๐๙,๘๗๔
้
4) การหลอกใหกู้เงินทางออนไลน์ ผ่านแอบพลิเคชั่น โดยเงินที่ได้รับจะไม่ตรงตามที่ยื่นกู้ดอกเบี้ย
้
คิดรายวัน มีการส่งเอกสารเพื่อทำสัญญา แล้วมีการทวงเงินแบบคุกคาม สรางความเดือดร้อน
ให้กับผู้กู้จำนวนมาก
5) ปัญหาการเทรดหุ้น หรือการชักชวนให้ลุงทุนกับเงินสกุลดิจิตอล ต้องหาลูกข่ายโดยให้เรื่อง
รายรับ (เงิน) เป็นแรงจูงใจในการเชิญชวน แต่ผลประโยชน์กลับไม่ได้ตามจริงตามสัญญา
๕
รายงานผลการดำเนินงาน สภาผู้ชมและผู้ฟังไทยพีบีเอส ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สารบัญ
เรื่อง หน้า
รับรองรายงาน ๓
คำนำ ๔
บทสรุปผู้บริหาร ๖-๗
ข้อเสนอแนะต่อการพฒนารายการ ๘
ั
ข้อเสนอต่อ สสท.
ขอเสนอต่อสภาผู้ชมและผู้ฟังรายการ
ข้อเสนอต่อหน่วยงานภาครัฐ ๙
ข้อสังเกต / ข้อค้นพบ ๑๐
ภาคผนวก ก.ภาพกิจกรรม ๑๑-๑๔
ภาคผนวก ข.กำหยดการ ๑๕
๖
รายงานผลการดำเนินงาน สภาผู้ชมและผู้ฟังไทยพีบีเอส ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
บทสรุปผู้บริหาร
กิจกรรมรับฟังความคิดเห็นเพอพัฒนาคุณภาพการผลิตรายการ “รู้ทันภัยสังคมออนไลน์..! และการ
ื่
ตกเป็นเหยื่อแก๊งคอลเซ็นเตอร์ กรณี :: ฅนอีสาน” จัดขึ้นเมื่อวันพุธที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๖๕ ณ โรงแรมเดอสิตา
อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ มีผู้เข้าร่วมทั้งสิ้น ๔๗ คน ประกอบด้วยตัวแทนจากสมาคมสื่อท้องถิ่น นักจัดการการ
วิทยุ สื่อมวลชน สปสช. กศน. ชมรมแม่หญิงจังหวัดบุรีรัมย์ จิตรอาสาธนาคารประชาชนบุรีรัมย์ กองบังคับการ
ตำรวจสืบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี อาสาสมัครประชาสัมพันธ์หมู่บ้าน และสมาชิกสภาผู้ชมและผู้ฟังรายการ
Thai PBS ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยแยกเป็นสมาชิกสภาผู้ชมและผู้ฟังรายการ ๓ คน เจ้าหน้าที่ผู้ประสานงาน
๒ คน ผู้เข้าร่วมรายใหม่จำนวน ๒๔ คน รายเก่า ๕ คน และผู้เข้าร่วมทางโปรแกรม ZOOM Meeting จำนวน ๑๓
คน
สืบเนื่องจากสถานการณ์ปัจจุบัน การพัฒนาด้านเทคโนโลยีการสื่อสารทางการเงินที่ทันสมัย
สะดวกสบาย สามารถบริหารจัดการได้แคเพียงปลายนิ้ว แต่การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร และศักยภาพของการใช้
่
เครื่องมือสื่อสารของประชาชนยังมีน้อย ทำให้มีการหลอกลวงทางออนไลน์ หรือแก๊งคอลเซ็นเตอร์ เกิดขึ้นจำนวน
มาก จากการไม่รู้เท่าทันเทคโนโลยี และเล่ห์เหลี่ยมของมิจฉาชีพ ซึ่งมีเหยื่อที่ถูกหลอกทำให้สูญเสียเงินจำนวน
มหาศาล บางรายสูงถึงหลัก 2–3 ล้านบาท และมิจฉาชีพเองมีการพัฒนารูปแบบการหลอกลวงในรูปแบบใหม่ ๆ
ตามสถานการณ์ และทันต่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้นด้วย
ู
ข้อมลจาก กองบัญชาการตำรวจสืบสวน สอบสวน อาชญากรรมทางเทคโนโลยี ภาคอีสาน
๑.กรณีผู้เสียหายรายใหญ่ของภาคอีสาน คือ เจ้าของคณะหมอลำสาวน้อยเพชรบ้านแพง ที่ถูกหลอก
ให้โอนเงินสูญเงินกว่า 2 ล้านบาท ซึ่งได้เดินทางไปแจ้งความที่ สภ.อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม และ ตร.ได้ส่งเรื่อง
ต่อไปยังกองบัญชาการตำรวจสืบสวน สอบสวน อาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ตำรวจไซเบอร์) จากนั้นทางตำรวจ
ไซเบอร์ได้ดำเนินการต่อจนกระทั่งสามารถจับตัวเจ้าของบัญชีได้ แต่เป็นเพียงแคการรับจ้างเปิดบัญชี และตำรวจ
่
ได้ดำเนินคดีต่อเนื่อง ล่าสุดสามารถจับกมผู้ร่วมขบวนการได้แล้ว
ุ
๒.มีผู้สูญเสียเงินต่อเนื่องให้กับการหลอกลวงให้ร่วมลงทุนกว่า 500,000 บาท ในการร่วมขบวน
การหาสินค้าเข้าร่วมโครงการจาก lazada และ shopee และหาลูกข่ายเพอที่จะร่วมขบวนการ แรกๆ เหยื่อได้
ื่
รับเงินคืน แต่หลังจากนั้นกลับไม่ได้รับเงินตามที่ตกลง
๓.สถิติการหลอกลวงทางการเงินกว่า 8,500 คดี จาก ๑ มีนาคม- ๒๒ เมษายน ๒๕๖๕ มีทั้งการ
หลอกให้โอนเงิน / การล่วงละเมิดทางเพศ / การซื้อของทางออนไลน์แต่ไม่ได้รับของ / การพนันออนไลน์ /
หลอกลวงการลงทุนเพอรับเงินปันผล / จำนวน ๑๕,๕๕๗ คดี มีมูลค่าความเสียหาย ๙๓๖,๙๘๔,๘๓๙ บาท
ื่
อายัดได้ทัน ๖๒,๔๗๔,๙๖๕ บาท สรุปความสูญเสียมากถึง ๘๗๔,๕๐๙,๘๗๔
๗
รายงานผลการดำเนินงาน สภาผู้ชมและผู้ฟังไทยพีบีเอส ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
๔.การหลอกให้กู้เงินทางออนไลน์ ผ่านแอบพลิเคชั่น โดยเงินที่ได้รับจะไม่ตรงตามที่ยื่นกู้ ดอกเบี้ย
คิดรายวัน มีการส่งเอกสารเพอทำสัญญา แล้วมีการทวงเงินแบบคุกคาม พร้อมทั้งมีเบี้ยปรับทุกครั้งที่มีการจ่ายเงิน
ื่
สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้กู้ จำนวนมาก
๕.แชร์ลูกโซ่ ที่มาในรูปแบบที่แตกต่างกันไปล่าสุดก็จะเป็นการหลอกลวงให้เหยื่อนำเงินมาลงทุนกับสกุล
เงินดิจิตัล หรือการเทรดหุ้น เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่สูง พร้อมกับให้ชักชวนคนในครอบครัวและเพื่อนฝูงมาสมัครเป็น
สมาชิกด้วย ขบวนการแชร์ลูกโซ่มีการพัฒนาให้ทันสมัยและทำให้ดูน่าเชื่อถือมากขึ้น มาทั้งในรูปแบบของแอปพลิเคชัน
หรือเว็บไซต์ ส่วนใหญ่มักจะหลอกชักชวนให้ร่วมลงทุน ซึ่งมิจฉาชีพอ้างว่าจะมีผลกำไรตอบแทนที่สูงในระยะเวลาสั้นๆ
โดยช่วงแรกจะได้รับเงินจากการลงทุนจริง แต่เมื่อมีผู้เสียหายหลงกลร่วมลงทุนขยายเครือข่ายมากขึ้น สุดท้ายก็ไม่ได้รับ
ผลตอบแทนตามที่อ้างไว้ และหนีหาย ไปพร้อมกับเงินที่ลงทุน
แนวทางการป้องกัน
1) ไม่ส่งเอกสารส่วนตัวให้กับบุคคลอื่น ๆ ที่ไม่รู้จัก เช่น เบอร์โทร เลขบัตรประจำตัวประชาชน หรือเอกสารที่
ราชการออกให ้
2) ไม่โอนเงินให้กับผู้ที่ไม่รู้จัก หรือตรวจสอบชื่อผู้รับโอนให้แน่ชัดก่อนโอนเงินให้ใคร
3) ในปัจจุบันมีการพัฒนาแอบพลิเคชั่น (Whoscal) มาเพื่อใช้ในการตรวจสอบที่มาของเบอร์โทรศัพท์ พร้อมทั้ง
ยังช่วยกลั่นกรองเบอร์ที่มาจากต่างประเทศหรือเป็นมิจฉาชีพ
สภาผู้ชมและผู้ฟังรายการ Thai PBS
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
๘
รายงานผลการดำเนินงาน สภาผู้ชมและผู้ฟังไทยพีบีเอส ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สรุปข้อเสนอแนะต่อการพัฒนารายการ
1. ให้มีการนำเสนอรายการในรูปแบบหนังสั้น ละครสั้นสะท้อนสังคม
2. นำเสนอผ่านช่องทางที่หลากหลาย ทั้งหน้าจอ และแพลทฟอร์มออนไลน์ของ Thai PBS
ที่ผู้ชมสามารถเข้าถึงได้ง่าย
3. นำเสนอสารคดี เจาะลึกการดำรงชีวิตของผู้เสียหายอย่างต่อเนื่อง
4. นำเสนอเนื้อหา ในรูปแบบสปอร์ต หรือคลิปสั้น ๆ ที่สร้างภูมิคุ้มกัน เพื่อเป็นการเตือนผู้ชมบ่อยๆ
ข้อเสนอต่อ สสท.
1. สร้างความร่วมมือกับสื่อชุมชน เพื่อสื่อสารเรื่องราวเตือนภัยในทุกระดับ
2. สนับสนุนให้สื่อท้องถิ่นและนักข่าวพลเมืองผลิตสื่อเตือนภัยได้อย่างแพร่หลาย
3. สร้างเครือข่ายในการสื่อสารให้ไทยพีบีเอสสนับสนุนการพฒนาศักยภาพการผลิตสื่อกับสื่อท้องถิ่น นักข่าว
ั
พลเมือง youtuber
4. สร้างความร่วมมือ ระหว่าง ไทยพีบีเอส/สภาผู้ชมฯ กับตำรวจไซเบอร์ และสภาองค์การของผู้บริโภค เพื่อร่วม
ผลักดันกฎหมาย และแนวทางในการแก้ปัญหาให้เป็นรูปธรรม
5. เพิ่มช่องทางในการจัดเวทีรับฟังให้เข้าถึงทุกกลุ่มเป้าหมาย
ข้อเสนอต่อสภาผู้ชมและผู้ฟังรายการ
1. นำเสนอข้อมูล หรือข้อเท็จจริงที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ ให้กับ สื่อสาธารณะ Thai PBS
2. เพิ่มช่องทางในการรับฟังให้เข้าถึงทุกกลุ่มเป้าหมายในระดับพื้นที่ หรือเฉพาะกลุ่ม เช่น ผู้สูงอายุ/เยาวชน
3. สร้างเครือข่ายในการสื่อสารของภาคประชาชนในระดับพื้นที่ โดยที่ให้สภาผู้ชมฯ เป็นพี่เลี้ยง
๙
รายงานผลการดำเนินงาน สภาผู้ชมและผู้ฟังไทยพีบีเอส ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ข้อเสนอต่อหน่วยงานภาครัฐ
ตำรวจภูธร
1. ต้องรับแจ้งความเรื่องการหลอกลวงในทุกกรณี และควรมีข้อแนะนำแก่ผู้เสียหายอย่างถูกต้อง
ื่
2. ควรมีการอบรมเจ้าหน้าที่ ศึกษาหาข้อมูล เพอให้มีความรู้ความสามารถ และรู้เท่าทันมิจฉาชีพ
3. ทันทีทได้รับแจ้งความจากผู้เสียหายต้องรีบประสานความร่วมมือกับตำรวจไซเบอร์ และธนาคารทันที
ี่
เพื่อให้มีการระงับบัญชีปลายทางได้ทัน
4. เพิ่มช่องทางร้องทุกข หรือหมายเลขพิเศษ ให้ประชาชนสามารถเข้าถึง และแจ้งความได้ง่าย
์
5. ตั้งรางวัลนำจับสำหรับผู้ที่แจ้งเบาะแสมิจฉาชีพ
6. จัดตั้งกองทุนเพื่อให้การช่วยเหลือค่าใช้จ่ายแก่ผู้เสียหาย ในระหว่างดำเนินคดีกับมิจฉาชีพ
7. จัดตั้งศูนย์รับเรื่องร้องเรียนระดับพื้นท ี่
ตำรวจกองบัญชาการตำรวจสืบสวน สอบสวน อาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ตำรวจไซเบอร์)
๑.ต้องประชาสัมพันธ์กิจกรรม ผลงาน วิธีการป้องกันให้ประชนได้รู้จักหลากหลายช่องทางมากยิ่งขึ้น
๒.ดำเนินคดีด้วยความรวดเร็ว และเพิ่มบทลงโทษให้มากยิ่งขึ้นในกรณีที่จับกุมผู้กระทำความผิดได้
ธนาคารหรือสถาบันการเงิน
1. ควรมีการสอบถาม หรือแจ้งเตือนลูกคาในกรณีที่ลูกค้าโอนเงินจำนวนมาก เพอนเตือนสติลูกค้า
้
ื่
2. ควรปรับปรุงระเบียบ และกฎหมายในการทำธุรกรรมการเงิน เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ลูกค้า
ในกรณีที่มีการแจ้งอายัดเงินที่ถูกหลอกอย่างทันท่วงทีโดยไม่ต้องให้มีการกลับไปแจ้งความก่อน
ข้อเสนอต่อภาคีเครือข่าย
ื่
1. ในปัจจุบันมีการพัฒนาแอบพลิเคชั่น (Whoscal) มาเพอตรวจสอบที่มาของเบอร์โทรศัพท์ และช่วย
รายงานเบอร์ที่เป็นมิจฉาชีพ
ื
2. สร้างความร่วมมอระหว่างสภาผู้บริโภค และสภาผู้ชมฯ ร่วมกันขับเคลื่อนอย่างเป็นระบบเพื่อป้องใน
การหลอกลวงทางออนไลน์ หรือทางโทรศัพท์ ช่วยกันประชาสัมพันธ์เพื่อหาทางป้องกันในเบื้องต้น
ิ
3. ทุกองค์กรที่มีการอบรม-สัมมนา ให้มีการประชาสัมพันธ์ถึงภัยอันตรายที่เกดจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์
ึ
4. ท้องถิ่นควรติดป้ายประชาสัมพันธ์ในหมู่บ้าน ให้ประชาชนตระหนักถงภัยจากคอลเซ็นเตอร์
ื่
5. สร้างเครือข่ายจิตอาสา เฝ้าระวังดูแลชุมชนให้มีความรู้ ความเข้าใจ เพอสร้างภูมิคุ้มกันให้มากขึ้น
6. ครอบครัวต้องเฝ้าระวังดูแลคนในครอบครัวไม่ให้ถูกหลอก
7. ธุรกิจเอกชน ต้องรณรงค์ประชาสัมพันธ์บนบรรจภัณฑ์สินค้า เพอเตือนสติประชาชน
ื่
๑๐
รายงานผลการดำเนินงาน สภาผู้ชมและผู้ฟังไทยพีบีเอส ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ข้อสังเกต / ข้อค้นพบ
ุ
1. ปัจจุบันพบว่าแม้จะมีข่าวการหลอกลวงของมิจฉาชีพ ทางสื่อมวลชนทุกช่องทางอยู่ทกวัน แต่ก็ยัง
ื่
มีผู้หลงเชื่อกลโกง ถูกหลอกลวงด้วยเรื่องเดิมๆ อยู่ทุกวันเช่นเดียวกัน และจากการสอบถามเหยอ
ที่ถูกหลอกให้โอนเงิน พบว่าเคยดูข่าวจากสื่อสารมวลชน แต่ไม่ได้ใส่ใจไม่คิดว่าจะเกิดขึ้นกับ
ตัวเอง หรือบางคนไม่ได้สนใจดูข่าว ดูแตะละคร จึงไม่ได้ระวังตัว
2. ประชาชนมีความต้องการให้สื่อสารมวลชน หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องผลิตสื่อประชาสัมพันธ์เป็น
สปอร์ต หรือหนังสั้นเผยแพร่ อย่างหลากหลาย เพื่อให้ประชาชนได้รับรู้และจดจำ
แลกเปลี่ยนเพิ่มเติม
๑. ผู้ที่ถูกหลอกจากการซื้อ-ขายของออนไลน์ / สามารถร้องเรียนกับสภาองค์กรของผู้บริโภคทางโทรศัพท์
และทางออนไลน์ Call Center ๑๑๖๖
๒. กระบวนการในการแจ้งความดำเนินคดีของผู้เสียหายจะต้องเป็นไปอย่างรวดเร็ว /โดยแจ้งความตำรวจ
ในพื้นที่ให้ดำเนินคดีกับมิจฉาชีพ ไม่ใช่การบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐาน หรือแจ้งตำรวจไซเบอร์ ได้
ทางหมายเลข ๑๔๔๑ และดำเนินการต่อกับสภาองค์กรของผู้บริโภค
ี่
๓. การเทรดหุ้นเป็นรูปแบบของการหลอกลวงลักษณะแชร์ลูกโซ่ / ซึ่งจริงๆ แล้วการเทรดหุ้นมีทั้งทได้เงิน
จริง และเป็นการหลอกลวง เพราะการลงทุนมีความเสี่ยง
๔. โอกาสในการได้เงินคืนหรือไม่ และได้คืนเท่าไหร่ / แจ้งความออนไลน์การกระทำความผิดด้าน
เทคโนโลยี และทางตำรวจไซเบอร์จะติดต่อกลับเพื่อยืนยันตัวตน แล้วจะทำการติดต่อกับธนาคาร
จนกระทั่งส่งเรื่องไปยังสำนักงานตำรวจแห่งชาติ หรือส่งไปยัง ตำรวจภูธรภาค (โอกาสในการได้รับคืน
น้อยมาก ถ้าสามารถอายัติเงินทัน แต่อาจจะไม่ได้คืนเต็มจำนวนเท่าที่เสียไป)
๕. กรณีแก๊งคอลเซ็นเตอร์ที่โทรมา มีวิธีรับมือ เช่น ไม่รับสาย ไม่คุย ไม่โอนเงิน ไม่เสียเวลาและไม่เสียเงิน
๑๑
รายงานผลการดำเนินงาน สภาผู้ชมและผู้ฟังไทยพีบีเอส ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาคผนวก ก.ภาพถ่ายกิจกรรม
๑๒
รายงานผลการดำเนินงาน สภาผู้ชมและผู้ฟังไทยพีบีเอส ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
๑๓
รายงานผลการดำเนินงาน สภาผู้ชมและผู้ฟังไทยพีบีเอส ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
๑๔
รายงานผลการดำเนินงาน สภาผู้ชมและผู้ฟังไทยพีบีเอส ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาพการจัดกิจกรรมเวทีรับฟังความคิดเห็นเพื่อพัฒนาคุณภาพการผลิตรายการ “รู้ทันภัยสังคมออนไลน์..! และการ
ตกเป็นเหยื่อแก๊งคอลเซ็นเตอร์ กรณี :: ฅนอีสาน” เมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๖๕ ณ โรงแรมเดอสิตา อำเภอเมือง
จังหวัดบุรีรัมย์ โดยสภาผู้ชมและผู้ฟังรายการ Thai PBS ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
๑๕
รายงานผลการดำเนินงาน สภาผู้ชมและผู้ฟังไทยพีบีเอส ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภสตผนวก ข.กำหนดการ
กำหนดการกิจกรรมรับฟังความคิดเห็นเพื่อพัฒนาคุณภาพการผลิตรายการ
“รู้ทันภัย..! เพื่อป้องกันภัยแก๊งคอลเซ็นเตอร์ กรณี :: ฅนอีสาน”
วันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๖๕
ณ โรงแรมเดอศิตา อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
(รูปแบบออนไลน์ zoom meeting และออนกราวน์)
โดย สภาผู้ชมและผู้ฟังรายการ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
——————————
เวลา ๐๘.๐๐ – ๐๘.๓๐ น. ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม
๐๘.๓๐ – ๐๙.๐๐ น. แนะนำความเป็นมาของการจัดกิจกรรม
๐๙.๐๐ – ๐๙.๓๐ น. วัตถุประสงค์การจัดงาน (ความต้องการ)
บทบาทหน้าที่ของสื่อสาธารณะและสภาผู้ชม ฯ
๐๙.๓๐ – ๑๑.๓๐ น. เกริ่นสถานการณ์คร่าวๆ เบื้องต้น และแนะนำวิทยากร
้
เวทีสาธารณะนำเข้าขอมูล“ฅนอีสานกับการตกเป็นเหยื่อแก๊งคอลเซ็นเตอร์”
๑. พ.ต.ท.ศิริพงษ์ อ่อนละมุน (ตำรวจไซเบอร์)
๒. คุณอภิญญา กลางณรงค์ สภาองค์กรของผู้บริโภค
๓. คุณสัญญา สิรินทรารัตนากุล
๔. คุณสมชัย ประจักษ์สูตร์
ดำเนินรายการโดย คุณวริศราลี แก้วปลั่ง
๑๑.๓๐ – ๑๒.๐๐ น. เปิดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพิ่มเติม
๑๒.๐๐ – ๑๓.๐๐ น. รับประทานอาหารกลางวัน
๑๓.๐๐ – ๑๔.๐๐ น. นำเข้าขอมูลการทำหน้าที่ของสื่อสาธารณะกับการแจ้งเตือนภัยคอลเซ็นเตอร์
้
๑๔.๐๐ – ๑๕.๓๐ น. เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นเพื่อพัฒนาคุณภาพการผลิตรายการ
๑๕.๓๐ – ๑๖.๐๐ น. สรุปภาพรวมข้อเสนอแนะจากกิจกรรม
***หมายเหตุ กำหนดการสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสมและระยะเวลา
อาหารว่างรับประทานระหว่างการจัดกิจกรรม