วันอาสาฬหบูชาวันสําคัญทางพระพุทธศาสนา
กรมการศาสนา
วนั สาํ คัญทางพระพทุ ธศาสนา วนั อาสาฬหบูชา
ผูจดั พมิ พ กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
ปที่พมิ พ พ.ศ. ๒๕๖๔
จํานวนพิมพ ๑,๐๐๐ เลม
ท่ปี รกึ ษา
นายเกรยี งศักดิ์ บุญประสิทธิ์ อธบิ ดีกรมการศาสนา ประธานทป่ี รกึ ษา
นายมานัส ทารัตนใ จ ท่ปี รกึ ษา
นายชวลติ ศิรภิ ริ มย ท่ปี รึกษา ประธานคณะทาํ งาน
คณะทาํ งาน คณะทํางาน
นายสาํ รวย นักการเรยี น รองอธิบดีกรมการศาสนา คณะทํางาน
นางสาวฐิตมิ า สุภภัค ผอู ํานวยการสํานักพัฒนา คณะทาํ งาน
คณุ ธรรมจริยธรรม คณะทาํ งาน
นายพจนาถ ปญญาศิลป รกั ษาราชการแทน คณะทํางาน
ผูอาํ นวยการกองศาสนูปถมั ภ คณะทาํ งาน
นางสุรีย เกาศล เลขานกุ ารกรม คณะทาํ งาน
นายประภาส แกว สวรรค และเลขานกุ าร
รอ ยตรี วิทยาพล รตั นกลุ เสรีเริงฤทธิ์ คณะทาํ งาน
นางสาวนนั ทิยา อายวุ ฒั นะ และผูชวยเลขานุการ
นางสาวอนงคลกั ษณ คะเนแนน คณะทาํ งาน
และผชู วยเลขานกุ าร
นายภูรสี ชิ ฌ บัวศิริธนารชั ต
นางสาวจีรวรรณ สวา งเกตุ
ออกแบบปก
นายวทิ ยา กอกศุ ล
พมิ พท ่ี
หางหนุ สวนจํากัด โรงพิมพอักษรไทย (น.ส.พ. ฟา เมืองไทย)
เลขที่ ๘๕, ๘๗, ๘๙, ๙๑ ซอยจรญั สนิทวงศ ๔๐ ถนนจรัญสนทิ วงศ แขวงบางย่ีขนั เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร ๑๐๗๐๐
โทร. ๐-๒๔๒๔-๔๕๕๗, ๐-๒๔๒๔-๐๖๙๔ โทรสาร ๐-๒๔๓๓-๒๘๕๘
นายไพสิฐ ปวณิ วิวฒั น ผูพิมพผูโฆษณา
คาํ นํา
ประเทศไทยเปนประเทศท่ีประชากรสวนใหญยอมรับนับถือ
พระพทุ ธศาสนา นกิ ายเถรวาท มาอยา งยาวนานสบื เนอ่ื งกนั มา หลกั ธรรม
คําสอนทางพระพุทธศาสนาไดมีสวนกลอมเกลาวิถีชีวิตของคนไทยใหมี
ความเปน อยทู เ่ี รยี บงา ย โอบออ มอารี เออ้ื อาทรตอ กนั รวมทง้ั มพี ฤตกิ รรม
อยใู นทํานองคลองธรรม รวมท้ังจารตี ประเพณอี ันดีงาม และเม่ือยอมรับ
นบั ถอื แลว ยอ มตองประพฤติปฏิบตั ติ ามหลกั การทีพ่ ระพุทธองคไดท รง
สั่งสอนไวดวย ในเรื่องวันสําคัญทางพระพุทธศาสนาก็เปนเรื่องสําคัญ
ลําดับตนท่ีพุทธศาสนิกชนไดยึดถือปฏิบัติสืบมา ในรอบปหน่ึงนั้น
มวี นั สาํ คญั ทางพระพทุ ธศาสนาคอื วนั มาฆบชู าวนั วสิ าขบชู าวนั อฏั ฐมบี ชู า
วันอาสาฬหบูชา วันเขาพรรษา วันออกพรรษา และวันธรรมสวนะ
เมื่อถึงวันสําคัญเหลานี้ พุทธศาสนิกชนตางพากันเขาวัด บําเพ็ญบุญ
บาํ เพ็ญกศุ ล ตามวาระโอกาสทเ่ี หมาะสมกับตนเองและครอบครัว
กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ในฐานะท่ีเปนหนวยงาน
ท่มี ภี ารกิจเกี่ยวกับการดําเนินงานของรัฐดา นศาสนา โดยการทาํ นบุ ํารงุ
สงเสริมและใหความอุปถัมภคุมครองกิจการดานพระพุทธศาสนา
และศาสนาอ่ืนๆ ท่ีทางราชการรับรอง ตลอดจนสงเสริมพัฒนาความรู
คคู ุณธรรม สง เสริมความเขา ใจอันดี และสรางความสมานฉันทร ะหวา ง
ศาสนิกชนของทกุ ศาสนา รวมทั้งดําเนนิ การเพ่อื ใหค นไทยนาํ หลักธรรม
ทางศาสนามาใชในการพัฒนาคุณภาพชีวิตใหเปนคนดีมีคุณธรรม
ไดพิจารณาเห็นวา ประวัติความเปนมารวมถึงแนวทางในการประพฤติ
ปฏิบัติในวันสําคัญดังกลาวเปนเร่ืองที่พุทธศาสนิกชนควรทราบและ
ทาํ ความเขา ใจใหถ องแท เพ่ือทราบถงึ ความเปน มาและปฏบิ ตั ไิ ดถูกตอง
ชัดเจน จึงไดรวบรวมในเร่ืองที่เกี่ยวกับวันสําคัญทางพระพุทธศาสนา
จัดพิมพเผยแพร ซึ่งจะเปนประโยชนในการเผยแผพระพุทธศาสนา
ใหแ พรหลายสบื ไป
หวงั เปน อยา งยงิ่ วา หนงั สอื ชดุ วนั สาํ คญั ทางพระพทุ ธศาสนา คอื
วนั มาฆบชู า วันวสิ าขบชู า วนั อัฏฐมีบชู า วันอาสาฬหบชู า วนั เขาพรรษา
วันออกพรรษา และวันธรรมสวนะ ที่ไดจัดพิมพเผยแพรในคร้ังน้ี
จักอํานวยประโยชน สรา งความรูความเขา ใจในเร่อื งพระพุทธศาสนาได
เปน อยางดี พระสัทธรรมคาํ สอนของพระพุทธองคด ํารงมัน่ สถิตสถาพร
บนผืนแผนดินไทยสืบไป
(นายเกรียงศักดิ์ บุญประสทิ ธิ)์
อธบิ ดกี รมการศาสนา
สารบัญ หนา
ความหมาย ๑
ประวัติและความเปน มา ๒
ความสําคัญ ๑๐
แนวทางที่พงึ ปฏิบัติ ๑๓
ประโยชนท ีพ่ ึงไดรบั ๒๑
คําบูชาวันอาสาฬหบูชา ๒๒
หนงั สอื อา งอิง ๒๖
วันอาสาฬหบูชา 1
วันอาสาฬหบชู า
ความหมาย
คําวา อาสาฬหบูชา เปนรูปภาษาบาลี ยอมาจากคําวา
อาสาฬหปุณณมบี ชู า หรืออาสาฬหปรู ณมบี ชู า แปลวา การบูชาพระ
ในวันเพ็ญ เดือน ๘ เปนชื่อการทําบุญในพระพุทธศาสนาอยางหน่ึง
ซงึ่ ปรารภการแสดงปฐมเทศนาของพระพุทธเจา เปน เหตุ
คําวา อาสาฬหะ เปนชื่อของดาวฤกษกลุมหนึ่งในบรรดา
ดาวฤกษทั้งหลายในทองฟา เมื่อดวงจันทรโคจรผานกลุมดาวฤกษ
อาสาฬหะ ซงึ่ เรยี กวา พระจนั ทรเ สวยอาสาฬหฤกษน นั้ เปน ระยะเวลา
ทตี่ รงกับเดอื นท่ี ๘ ของไทย ดงั น้นั คําวา อาสาฬหะ จึงเปนชอื่ ของ
เดือนท่ี ๘ หรือแปลวา เดอื น ๘ (ตามจันทรคต)ิ
ขณะที่ดวงจันทรโคจรผานกลุมดาวฤกษอาสาฬหะเต็ม
บรบิ รู ณ คอื มองเหน็ ดวงจนั ทรเ ตม็ ดวง ตรงกบั วนั ขน้ึ ๑๕ คาํ่ เดอื น ๘
เรียกวา อาสาฬหปุณณมีดิถี แปลวา วันที่มีดวงจันทรเต็มดวงแหง
เดือน ๘ คือ วันท่ีมองเห็นดวงจันทรเต็มดวงในเดือน ๘ ไดแก
วันเพ็ญ เดอื น ๘ นน่ั เอง
2 วันอาสาฬหบูชา
ประวัติและความเปน มา
เม่ือพระพุทธองคไดตรัสรูพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
เปน พระอรหนั ตสมั มาสมั พทุ ธเจา ในวนั เพญ็ เดอื น ๖ นนั้ แลว พระองค
ไดประทบั อยใู นบริเวณท่ตี รสั รนู นั้ ตลอด ๗ สัปดาห (๔๙ วัน) คือ
สัปดาหท่ี ๑ ประทับอยู ณ ท่ีท่ีตรัสรูใตตนพระศรีมหาโพธิ
นั่นเอง ทรงพิจารณาปฏิจจสมุปบาท คือ สภาพอาศัยปจจัยเกิดขึ้น
ไดแก กฎแหง เหตผุ ล ทรงพจิ ารณาทบทวนอยตู ลอด ๗ วัน
สัปดาหท่ี ๒ เสด็จจากท่ีตรัสรูไปทางทิศอีสานของตน
พระศรีมหาโพธิ ประทับยืนกลางแจง เพงดูตนพระศรีมหาโพธิ
โดยไมกระพรบิ พระเนตรอยู ณ ทแี่ หงเดยี วตลอด ๗ วัน เพือ่ เปน การ
บูชาตนพระศรีมหาโพธินั้น สถานท่ีที่ประทบั ยืนนนั้ ภายหลัง เรียกวา
อนมิ ิสสเจดีย
สัปดาหท่ี ๓ เสด็จไปประทับในท่กี ง่ึ กลางระหวางตนพระศรี
มหาโพธกิ บั อนมิ สิ สเจดยี ทรงจงกรม ณ ทตี่ รงนนั้ ตลอด ๗ วนั สถานที่
ที่ทรงจงกรมน้ันภายหลัง เรยี กวา รัตนจงกรมเจดยี
สัปดาหที่ ๔ เสด็จไปทางทิศพายัพของตนพระศรีมหาโพธิ
ประทับนั่งในเรือนแกว พิจารณาพระอภิธรรมอยูตลอด ๗ วัน
สถานทท่ี ่ีประทบั น้นั ภายหลงั เรยี กวา รตั นฆรเจดยี
สัปดาหที่ ๕ เสด็จไปทางทิศบูรพาของตนพระศรีมหาโพธิ
ประทับท่ีใตตนไทร ชื่อ อชปาลนิโครธ เพราะเปนที่อาศัยของ
คนเลี้ยงแพะ อยูตลอด ๗ วัน ในระหวางนั้น ทรงแกปญหาของ
พราหมณผ หู นงึ่ ซึง่ ทลู ถามในเร่ืองความเปนพราหมณ
วันอาสาฬหบูชา 3
สปั ดาหท่ี ๖ เสดจ็ ไปทางทศิ อาคเนยข องตน พระศรมี หาโพธิ
ประทบั ทใ่ี ตต น มจุ ลนิ ท (ตน จกิ ) เสวยวมิ ตุ ตสิ ขุ ตลอด ๗ วนั ฝนตกพราํ
ตลอดเวลา พญามจุ ลนิ ทน าคราชมาวงขดลอ มพระองคแ ละแผพ งั พาน
ปกปองบังฝนใหพระองค ทรงเปลงอุทานสรรเสริญความสงัดและ
ความไมเบียดเบยี นกนั วา เปนสุขในโลก
สัปดาหท่ี ๗ เสด็จไปทางทิศทักษิณของตนพระศรีมหาโพธิ
ประทบั ทใี่ ตต น ไมร าชายตนะ (ตน เกด) เสวยวมิ ตุ ตสิ ขุ อยู ๗ วนั มพี อ คา
ที่เปนพ่นี อ งกนั ๒ คน ช่อื ตปสุ สะ กบั ภลั ลิกะ เปน นายกองเกวียน
เดินทางจากอุกกลชนบทมาถึงท่ีน้ัน ไดเห็นพระพุทธองคประทับอยู
จึงนําขาวสัตตุผงสัตตุกอน ซึ่งเปนเสบียงกรังของตนเขาไปถวาย
พระองคท รงรบั เสวยเสรจ็ แลว ทง้ั สองพอ คา กป็ ระกาศตนเปน อบุ าสก
ขอถึงพระพุทธเจากับพระธรรมเปนท่ีพึ่ง เวลาน้ันยังไมมีพระสงฆ
นับเปนอุบาสกคูแรกที่เปนเทววาจิกะ เปลงวาจาขอถึงพระพุทธเจา
และพระธรรมเปนที่พึ่ง
4 วันอาสาฬหบูชา
เม่ือลวงสัปดาหที่ ๗ แลว พระองคเสด็จกลับมาประทับ
ทีใ่ ตตน ไทร ชื่อ อชปาลนิโครธ อกี ทรงดาํ รวิ าพระองคค วรจะมสี ง่ิ ที่
ควรเคารพกราบไหว แตก็ยังไมเห็นใครซ่ึงเปนผูสูงสุดดวยคุณธรรม
ควรแกก ารคารวะ ทรงเหน็ วา พระธรรมที่ไดตรสั รูน่นั เอง เปน ธรรม
อนั ประเสรฐิ ควรแกก ารเคารพอยางสูง ตอแตน ้ันทรงคาํ นึงวา ธรรมท่ี
พระองคตรัสรูน้ีลึกซ้ึงมาก ยากท่ีสัตวอื่นจะรูตามได จึงทอพระทัย
ที่จะสอนสัตว แตอาศัยพระมหากรุณาเปนที่ตั้ง ทรงเห็นวาโลกน้ี
ผูท่ีพอจะรูตามไดก็คงมี ทรงเล็งเห็นถึงบุคคล ๔ เหลา เปรียบกับ
ดอกบวั ๔ ประเภท คอื
๑. อุคฆฏิตัญู ไดแก ผูท่ีมีอุปนิสัยสามารถรูธรรมวิเศษ
ไดทันทีทันใดเมื่อไดฟงคําสอน เหมือนดอกบัวท่ีโผลขึ้นพนนํ้าแลว
พรอ มทจี่ ะบานเม่ือไดรับแสงพระอาทิตยใ นวันนั้น
๒. วิปจิตัญู ไดแก ผูท่ีสามารถจะรูธรรมวิเศษไดตอเมื่อ
ขยายความยอใหพิสดารออกไป เปรียบเหมือนดอกบัวท่ีต้ังอยูเสมอ
ระดบั น้าํ จักบานในวันรงุ ขึน้
๓. เนยยะ ไดแก ผูที่พากเพียรพยายาม ฟง คิด ถาม
ทองอยเู สมอ ไมทอดทง้ิ จึงจะไดร ธู รรมวิเศษ เปรยี บเหมอื นดอกบวั
ท่ียงั ไมโ ผลข้ึนจากนาํ้ ไดรับการหลอ เลยี้ งจากน้ํา แตจ ะโผลแ ลว บาน
ขึน้ ในวันตอ ไป
๔. ปทปรมะ ไดแ ก ผทู ่ีแมฟ ง คดิ ถาม ทองแลว กไ็ มส ามารถ
รูธรรมวิเศษได เปรยี บเหมอื นดอกบวั ที่อยูใตนา้ํ ติดกบั เปอกตม รงั แต
จะเปนภักษาของปลาและเตา
วันอาสาฬหบูชา 5
เมื่อพระองคทรงเห็นดวยพระปญญาวา บุคคลที่ควรจะรู
ตามธรรมของพระองคย งั มอี ยู จงึ ตกลงพระหฤทยั ทจ่ี ะแสดงพระธรรม
สง่ั สอนมหาชน ทรงดาํ รหิ าผูท ีค่ วรโปรดกอ น ทรงนึกถึงอาฬารดาบส
และอุททกดาบส ซึ่งพระองคไดเคยไปศึกษาลัทธิของทานมากอน
แตทานทั้งสองไดส้ินบุญไปแลว ทรงนึกถึงปญจวัคคีย ซึ่งมีอุปการะ
แกพระองคมาก ไดเปนอุปฏฐากของพระองคเม่ือครั้งทรงบําเพ็ญ
ทุกกรกิริยา จึงทรงตัดสินพระทัยวา ควรโปรดปญจวัคคียกอน
พระองคจึงเสด็จออกจากโคนตนไทรน้ัน มุงพระพักตรเสด็จไปยัง
ปาอิสปิ ตนมฤคทายวัน แขวงเมอื งพาราณสี
6 วันอาสาฬหบูชา
ในตอนเย็น ขึ้น ๑๔ คํ่า เดือนอาสาฬหะ พระพุทธองค
เสด็จถึงปาอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี อันเปนที่อยู
ของปญจวคั คยี พอเสดจ็ เขา แนวปา ปญ จวัคคยี ไดเ หน็ พระพุทธองค
แตไ กล จงึ นดั หมายกนั วา พระสมณโคดมเลกิ ความเพยี ร เวยี นมาเพอื่
ความมักมาก คงจะไมไ ดตรสั รู มาหาเรา พวกเราอยาไหว อยา ลกุ รบั
และอยา รบั บาตรจวี ร จะตง้ั ไวใ หเ พยี งอาสนะเทา นน้ั เมอื่ พระองคท รง
ปรารถนาน่งั กจ็ ะไดนัง่ ครั้นพระองคเ สด็จถึง ตา งกล็ มื ขอ นัดหมายที่
ใหกนั ไว พากนั ลกุ ขนึ้ ตอนรบั กราบไหว รบั บาตร ตักนา้ํ ลา งพระบาท
ทูลเชิญใหประทับน่ังแลวตางก็ทูลถามทุกขสุขตามธรรมเนียม
แตพ ดู กบั พระองคอ ยา งไมเ คารพ คอื ใชค าํ พดู แทนพระองคว า อาวโุ ส
พระองคต รสั หามและทรงบอกวา พระองคต รัสรแู ลว จะแสดงธรรม
ใหฟง ปญ จวัคคยี ก พ็ ากันคดั คา นดวยถอ ยคําตา งๆ ในทสี่ ุด พระองค
จงึ ทรงชแ้ี จงเตอื นใหร ะลกึ วา พระองคเ คยกลา วเชน นม้ี ากอ นบา งหรอื ไม
ปญจวัคคียระลึกได ตางก็พรอมกันถวายบังคม ขอฟงธรรมของ
พระพุทธองค ค่ําวนั นั้น พระองคป ระทบั อยกู บั ปญ จวคั คีย
รงุ ขน้ึ วนั เพญ็ แหง เดอื นอาสาฬหะ เวลาดวงอาทติ ยก าํ ลงั จะตก
ดวงจันทรกําลังจะข้ึน พระองคจึงเริ่มแสดงธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
อันเปนเทศนากัณฑแรก โปรดปญจวัคคีย สาระของเทศนากัณฑนี้
คือ ทรงแสดงที่สุด ๒ ประการ ไดแก การประกอบตนใหลําบาก
ดว ยทรมานกาย และการประกอบตนใหเ พลดิ เพลนิ ในกามสขุ ทงั้ สองนี้
เปน ของเลวทราม ไมค วรปฏบิ ตั ิ ควรปฏบิ ตั ทิ างสายกลาง แลว ทรงแสดง
ทางสายกลาง ซง่ึ เรียกวา มชั ฌิมาปฏปิ ทา คอื อริยมรรค ๘ ประการ
ไดแก
วันอาสาฬหบูชา 7
๑. สมั มาทิฏฐิ เห็นชอบ คอื มีความรคู วามเขาใจอรยิ สัจ ๔
ประการ
๒. สัมมาสังกัปปะ ดําริชอบ คือ คิดในการออกจากกิเลส
ในการไมป องราย ในการไมเ บียดเบยี น
๓. สัมมาวาจา เจรจาชอบ คือ เวนจากการพูดปด เวน จาก
การพูดสอเสียด คือ ยุยงใหเขาแตกราวกัน เวนจากพูดคําหยาบ
เวนจากพูดเพอเจอ คือ พดู เหลวไหลไรส าระ
๔. สมั มากมั มนั ตะ กระทาํ ชอบ คอื เวน จากฆา สตั ว เวน จาก
ลกั ทรัพย เวนจากประพฤติผดิ ในกาม
๕. สัมมาอาชีวะ เล้ยี งชวี ิตชอบ คือ เวน จากอาชีพทีผ่ ิดหรอื
ทจุ รติ ประกอบแตอ าชพี ท่ีถกู ทีค่ วร
๖. สมั มาวายามะ พยายามชอบ คอื เพยี รระวงั มใิ หค วามชว่ั
เกิดขึ้น เพียรละความช่ัวที่เกิดขึ้นแลว เพียรทําความดีใหเกิดขึ้น
เพยี รรักษาความดที ่ีเกิดข้นึ แลวใหดาํ รงอยหู รอื เจรญิ ย่งิ ขึ้น
๗. สมั มาสติระลกึ ชอบคอื ตง้ั สตกิ าํ หนดพจิ ารณาความเปน ไป
เก่ียวกับกาย เกี่ยวกับความรูสึกสุข ทุกข หรือเฉยๆ ท่ีเรียก เวทนา
เก่ียวกบั จิต เก่ียวกบั ธรรมะ
๘. สัมมาสมาธิ ตั้งใจมั่นชอบ คือ ทําใจใหสงบระงับ
จนมอี ารมณเปน หน่ึงอยางแนวแน
8 วันอาสาฬหบูชา
ตอ จากนน้ั พระองคทรงแสดงอริยสัจ ๔ ซง่ึ เปนหลักธรรมท่ี
สงู สดุ ในพระพทุ ธศาสนา เปน สจั ธรรมทเ่ี ทย่ี งแทแ นน อนทใ่ี ครคดั คา น
ไมไ ด เพราะเปนความจริงทปี่ ระเสรฐิ สดุ คอื
๑. ทุกข ความไมส บายกายไมส บายใจ
๒. สมทุ ยั เหตใุ หเ กดิ ทกุ ข คอื ตณั หา หรอื ความทะยานอยาก
๓. นิโรธ ความดับทกุ ข คอื ดับตัณหาได
๔. มรรค ขอปฏิบัติใหถึงความดับทุกข คือ อริยมรรค ๘
ประการ
พระองคทรงชี้ใหเห็นวา เมื่อรูแลวอาจยืนยันไดวา ตรัสรู
โดยชอบ ถึงความหลดุ พน และส้ินชาตสิ ิ้นภพแนน อน
ขณะทพ่ี ระองคท รงแสดงธรรมนอ้ี ยู ทา นโกณฑญั ญะไดธ รรม
จกั ษุ คอื ดวงตาเหน็ ธรรมขนึ้ ทางปญ ญาวา “สงิ่ ใดสงิ่ หนงึ่ มคี วามเกดิ ขนึ้
เปนธรรมดา สิ่งนั้นท้ังหมดมีความดับเปนธรรมดา” พระองคทรง
ทราบวาโกณฑัญญะไดเห็นธรรมแลว จึงทรงเปลงพระอุทานวา
อญั ญาสๆิ แปลวา โกณฑญั ญะไดร แู ลว ๆ เพราะพระอทุ านนี้ ภายหลงั
ทานโกณฑัญญะจึงไดนามใหมวา “อัญญาโกณฑัญญะ” ตอนั้น
ทานโกณฑัญญะก็ทูลขอบรรพชา พระองคประทานเอหิภิกขุ
อุปสัมปทา ใหเปนภิกษุในพระธรรมวินัยดวยพระวาจาวา “ทานจง
เปนภิกษุมาเถิด ธรรมเรากลาวท่ีแลว ทานจงประพฤติพรหมจรรย
เพื่อทําที่สุดทุกขโดยชอบเถิด” พระอัญญาโกณฑัญญะนับเปน
พระสงฆอ งคแรกในพระศาสนา
วันอาสาฬหบูชา 9
สรุปไดวา วันเพ็ญ เดือน ๘ มีความสําคัญเกี่ยวกับ
พระพทุ ธศาสนาอยหู ลายประการ นอกจากนี้ ยงั มเี หตกุ ารณอ นั สาํ คญั
ที่เก่ียวกับพระพุทธองคอีกอยางหน่ึง คือ พระองคทรงถือปฏิสนธิ
ในพระครรภข องพระสิรมิ หามายาพุทธมารดาในวนั เพญ็ เดอื น ๘
10 วันอาสาฬหบูชา
ความสําคัญ
วันเพ็ญ เดือน ๘ น้ีเปนวันสําคัญทางพระพุทธศาสนา
พุทธศาสนิกชนท้ังหลายถือวาเปนวันสําคัญวันหนึ่งในรอบป
เพราะเปนวันที่มีเหตุการณอันสําคัญย่ิงทางประวัติศาสตรแหง
พระพุทธศาสนา ไดแ ก
ปฐมเทศนา ไดแ ก พระพทุ ธเจา ทรงประกาศพระพทุ ธศาสนา
เปน ครง้ั แรก กลา วไดว า พระธรรมหรอื พระพทุ ธศาสนาเกดิ ในวนั เพญ็
เดือน ๘ หรือวันเพ็ญ เดอื น ๘ เปนวนั เกดิ แหง พระพุทธศาสนากไ็ ด
ประกาศธรรมจกั ร พระพทุ ธเจา ทรงประกาศพระธรรมจกั ร
เปน ครงั้ แรก ไดแ ก ทรงแสดงอรยิ สจั ธรรมทพ่ี ระองคต รสั รู อนั เปน องค
แหง พระอนตุ ตรสมั มาสมั โพธญิ าณ ทรงเปลยี่ นแปลงความคดิ เหน็ และ
ความเชอ่ื ถอื ของชาวโลกทมี่ อี ยเู ดมิ ใหเ ขา สจู ดุ ทถี่ กู ทค่ี วรคอื ความจรงิ
(สัจธรรม) หรือจะกลาววา วันเพญ็ เดอื น ๘ เปน วันทเ่ี กดิ การปฏิวัติ
ความเช่อื ถอื ของชาวโลกครั้งสาํ คญั กไ็ ด
เกิดปฐมอริยสาวก พระอริยสาวกองคแรกเกิดข้ึนในโลก
ในวันเพ็ญ เดือน ๘ ไดแก ทานโกณฑัญญะ ผูฟงปฐมเทศนา
ไดธ รรมจักษุดวงตาเหน็ ธรรม บรรลุโสดาปต ติผล เปนพระอรยิ บุคคล
ชัน้ โสดาบนั
เกิดพระสงฆ เมื่อทานโกณฑญั ญะไดบ รรลโุ สดาปตติผลแลว
ทูลขออปุ สมบทเปนภิกษใุ นพระพุทธศาสนาในวนั เพญ็ เดือน ๘ น้นั
พระพุทธองคประทานอุปสมบทใหดวยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา
พระโกณฑัญญะจึงเปน พระสงฆอ งคแ รกในพระพทุ ธศาสนา
วันอาสาฬหบูชา 11
เกดิ พระรตั นตรยั เมอ่ื พระโกณฑญั ญะอปุ สมบทเปน พระสงฆ
แลว ก็เปนอันมีพระรัตนะครบ ๓ คือ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ
สังฆรตั นะ สมบรู ณเ ปนพระรัตนตรัย ในวนั เพ็ญ เดือน ๘ นัน้
เพราะวันเพ็ญ เดือน ๘ มีเหตุการณอันสําคัญย่ิง
ทางประวัติศาสตรแหงพระพุทธศาสนาหลายประการดังกลาวมาน้ี
ซ่ึงเปนวันท่ีพุทธศาสนิกชนทําสักการบูชากันเปนพิเศษเรียกวา
อาสาฬหบูชา
ประเทศไทยเปนประเทศแรกท่ีประกาศใหมีอาสาหฬบูชา
เมอื่ วันที่ ๑๔ กรกฎาคม พทุ ธศักราช ๒๕๐๑ พระธรรมโกศาจารย
(ชอบ อนจุ าร)ี เมอ่ื ครง้ั ดาํ รงตาํ แหนง สงั ฆมนตรชี ว ยวา การองคก ารศกึ ษา
ไ ด เ ส น อ ค ณ ะ สั ง ฆ ม น ต รี ใ ห เ พ่ิ ม วั น ป ฏิ บั ติ พุ ท ธ ศ า ส น พิ ธี ข้ึ น
อีกวันหนง่ึ คอื วันธรรมจักร หรอื วนั อาสาฬหบูชา
12 วันอาสาฬหบูชา
วันอาสาฬหบูชา 13
แนวทางทีพ่ งึ ปฏิบตั ิ
วันอาสาฬหบูชา เปนวันสําคัญอีกวันหน่ึงท่ีพุทธศาสนิกชน
ตองใหความสําคัญและพรอมใจกันเขารวมปฏิบัติกิจกรรมตางๆ
ตามสมควรแกฐานะของตนเองอยางสม่ําเสมอ เพ่ือทําความเขาใจ
ใหถ กู ตอ ง ฝก ฝนตนเองและนาํ ไปปฏบิ ตั ใิ นชวี ติ ประจาํ วนั อนั จะกอ ให
เกดิ ประโยชนแ กต นเอง ครอบครวั สงั คม แนวทางทพ่ี งึ ปฏบิ ตั สิ าํ หรบั
พทุ ธศาสนกิ ชนท่ีเกย่ี วเนื่องกับวนั อาสาฬหบูชา มดี งั ตอ ไปนี้
14 วันอาสาฬหบูชา
พุทธศาสนกิ ชน (อุบาสก อุบาสิกา)
ใหทาน ถวายภัตตาหารแดพระภิกษุสามเณรในภาคเชา
หรือเพล บริจาคทรัพยชวยเหลือเกื้อกูลผูยากไร หรือบําเพ็ญ
สาธารณประโยชน
รักษาศีล สํารวมระวังกายและวาจา ดวยการรักษาศีล ๕
หรอื ศีล ๘ หรอื ศีลอโุ บสถ
เจรญิ ภาวนา ฝก สมาธิ ทาํ จิตใจใหส งบ รวมทง้ั พัฒนาปญ ญา
ดว ยการเจรญิ วปิ ส สนาใหเ กดิ ปญ ญาเหน็ สภาพความเปน จรงิ ของชวี ติ
และโลก
เวียนเทียน การเดินประทักษิณเปนการบูชาพระรัตนตรัย
ดว ยอามิสบชู าและปฏิบตั บิ ูชา
วันอาสาฬหบูชา 15
สถาบนั ตา งๆ ในสังคม
ครอบครัว
(๑) ศึกษาเอกสาร หรือสนทนาเก่ียวกับความสําคัญของ
วันอาสาฬหบูชา รวมท้งั หลักธรรมท่เี อื้อตอการปฏบิ ตั ิของครอบครวั
(๒) ปรึกษาหารือหาแนวทางในการปองกันการแกปญหา
ในครอบครัว โดยใชหลักธรรม และสงเสริมใหเกิดการลด ละ เลิก
อบายมุข
(๓) นําสมาชิกในครอบครัวไปบําเพ็ญกุศลที่วัด ทําบุญ
ตักบาตร บริจาคทาน
(๔) พรอมกันไปปฏิบัติธรรมท่ีวัด รักษาศีล ๕ หรือศีล ๘
หรือศลี อโุ บสถ ไหวพระ สวดมนต ฟง ธรรม เวียนเทยี น
16 วันอาสาฬหบูชา
สถานศกึ ษา
(๑) ครูและนักเรียนรวมกันศึกษาถึงความสําคัญของ
วันอาสาฬหบูชา รวมท้ังหลักธรรมที่เก่ียวของกับวันอาสาฬหบูชา
เชน มัชฌมิ าปฏปิ ทา
(๒) ประกวดการอาน การเลา ในเรื่องท่ีเก่ียวของกับ
วันอาสาฬหบูชา
(๓) ครูใหนักเรียนจัดทําปายนิเทศ หรือจัดนิทรรศการ
ประกวดเรียงความ ทําสมุดภาพ ตอบปญ หาธรรมะ บรรยายธรรมะ
อภปิ รายธรรมะ
(๔) ประกาศเกียรตคิ ณุ นกั เรียนท่ีประพฤติตนเปนแบบอยาง
ทีด่ ี
(๕) ครูพานักเรียนไปรวมกิจกรรมกับชุมชนท่ีวัด บําเพ็ญ
กศุ ล ทําบญุ ตกั บาตร บริจาคทาน รกั ษาศลี ฟง ธรรม สนทนาธรรม
เจรญิ จิตภาวนา
สถานทท่ี ํางาน
(๑) ประชาสมั พันธเ กีย่ วกับความสําคญั ของวนั อาสาฬหบชู า
รวมทง้ั หลักธรรมเพือ่ การครองตน ครองคน และครองงาน
(๒) จดั ปา ยนเิ ทศเกยี่ วกบั หลกั ธรรมเพอ่ื การปฏบิ ตั ใิ หป ระสบ
ผลสาํ เรจ็ และมีประสิทธภิ าพ
(๓) จดั ใหมีการบรรยายธรรมและสนทนาธรรม
(๔) รว มกนั บาํ เพญ็ สาธารณประโยชน เชน ปลกู ตน ไม บรจิ าค
โลหิต
(๕) หัวหนาหนวยงานใหโอกาสผูรวมงานไปบําเพ็ญกุศล
ตามประเพณนี ิยม
วันอาสาฬหบูชา 17
หนว ยงานอน่ื ในสงั คม (องคก ร สมาคม มลู นธิ ิ สอ่ื มวลชน ฯลฯ)
(๑) ประชาสัมพันธเรื่องวันอาสาฬหบูชา โดยใชสื่อตาม
ศกั ยภาพท่มี อี ยู
(๒) จดั พมิ พเ อกสารเกย่ี วกบั ความสาํ คญั ของวนั อาสาฬหบชู า
รวมทงั้ หลกั ธรรมทส่ี ง เสรมิ การครองเรอื นอยา งมคี วามสขุ และแนวทาง
การปฏบิ ัตธิ รรม เพื่อเผยแพรแ กส าธารณชน
(๓) เชิญชวนใหประชาชนท่ัวไปเขา รว มกิจกรรมปฏิบัตธิ รรม
และพิธีกรรมทางศาสนา เชน ทําบุญตักบาตร ฟงธรรม รักษาศีล
ไหวพระ สวดมนต สนทนาธรรม เจรญิ ภาวนา
(๔) รณรงคท างสอื่ มวลชนทกุ แขนง ใหลด ละ เลิก อบายมุข
งดจําหนา ยสุราและส่งิ เสพติดทุกชนดิ
(๕) ประกาศเกยี รตคิ ณุ สถาบนั หรอื บคุ คลผทู าํ คณุ ประโยชน
ตอสังคม
(๖) รณรงคใหรักษาสภาพแวดลอมในวัดหรือในท่ีสาธารณะ
ปลกู ตนไม ทาํ ความสะอาดทสี่ าธารณะ
18 วันอาสาฬหบูชา
สาํ หรับวดั
กอ นถึงวันอาสาฬหบูชา
เจาอาวาสแจง แกภ กิ ษุ สามเณร อุบาสก อบุ าสกิ า ใหท ราบ
วาวันใดเปนวันอาสาฬหบูชา โดยใชปายแจงเตือนหรือแจงทางการ
กระจายเสียงภายในวดั กไ็ ด
วันอาสาฬหบูชา 19
ในวันอาสาฬหบูชา
(๑) ภิกษุ สามเณร ศิษยวัด คนวัด ชวยกันทําความสะอาด
บริเวณวัด ปูลาดอาสนะ จัดต้ังเครื่องสักการะ ตั้งน้ําใชนํ้าฉัน
และประดบั ธงธรรมจกั ร (ถาสามารถดาํ เนินการได)
(๒) เวลาเชา มีการตักบาตร ทําบุญ ทําวัตรเชา ฟงธรรม
เวลาบาย มีการฟงธรรม สนทนาธรรม เวลาเย็น อุบาสก อุบาสิกา
ที่ถอื ศีลอุโบสถ ทาํ วตั รสวดมนต
(๓) เวลาคํ่า พระภกิ ษสุ ามเณร อบุ าสก อุบาสิกา นําธูปเทยี น
ดอกไมไปประชุมพรอมกันท่ีอุโบสถ สถูป หรือเจดียแหงใดแหงหนึ่ง
ทจ่ี ดั เตรยี มไว เมอื่ พระสงฆพ รอ มกนั แลว ใหย นื หนั หนา เขา หาสงิ่ เคารพ
คือ พระประธานหรือสถูปเจดียอยางใดอยางหนึ่ง คฤหัสถยืนถือ
ธูปเทยี น ดอกไม ประนมมืออยถู ดั จากพระสงฆออกไป เมื่อพระเถระ
กลาวนาํ คาํ บชู า ทง้ั หมดวา ตามพรอ มกัน เมอื่ กลา วคาํ บชู าเสรจ็ แลว
พระสงฆเดินนําหนาเวียนขวารอบอุโบสถ หรือสถูปเจดีย ๓ รอบ
ซ่งึ เรียกวา เวยี นเทยี น คฤหัสถเดินตามอยา งสงบ ขณะเวยี นรอบแรก
ใหระลึกถึงพระพุทธคุณ รอบที่ ๒ ระลึกถึงพระธรรมคุณ รอบท่ี ๓
ระลกึ ถึงพระสังฆคุณ เมอื่ เวยี นเทียนครบ ๓ รอบแลว จึงนาํ ดอกไม
ธูปเทียนไปวางไวใ นสถานที่ทก่ี าํ หนด
จากนั้น สามารถปฏิบัติตามอัธยาศัย สมควรแกอัตภาพ
ของตนเอง
20 วันอาสาฬหบูชา
วันอาสาฬหบูชา 21
ประโยชนทพี่ ึงไดร บั
ประโยชนทเ่ี กดิ ข้นึ แกพุทธศาสนิกชน
๑. มีความรูความเขาใจเกี่ยวกับความสําคัญของ
วนั อาสาฬหบูชา รวมทั้งหลักธรรม คือ มัชฌิมาปฏปิ ทา และแนวทาง
ประพฤติปฏิบัติ
๒. เกิดความศรัทธาซาบซึ้งและตระหนักในความสําคัญ
ของพระพทุ ธศาสนา
๓. เห็นคณุ คาของการดาํ เนนิ ชีวติ เพือ่ การบรรลุธรรม
๔. รจู กั ปฏิบัตติ นตามหนาทข่ี องชาวพุทธไดอยา งถูกตอง
ประโยชนท ่ีเกดิ ข้ึนแกสังคมโลก
หลักมัชฌิมาปฏิปทา หรือทางสายกลาง เปนหลักธรรม
ทพี่ ระพทุ ธองคท รงสง่ั สอน จดั วา เปน ขอ ปฏบิ ตั ทิ สี่ ง เสรมิ ใหส งั คมโลก
อยูดวยกันอยางสงบสุข ลดความขัดแยง หลีกเล่ียงการแกปญหา
ดว ยวิธีการรุนแรง
22 วันอาสาฬหบูชา
คําบชู าวันอาสาฬหบูชา
ยะมัมหะ โข มะยัง ภะคะวันตัง สะระณัง คะตา โย โน
ภะคะวา สตั ถา ยสั สะ จะ มะยงั ภะคะวะโต ธมั มงั โรเจมะ อะโหสิ โข โส
ภะคะวา อะระหัง สมั มาสมั พุทโธ สัตเตสุ การญุ ญัง ปะฏิจจะ กะรณุ า
ยะโก หเิ ตสี อะนกุ มั ปง อปุ าทายะ อาสาฬหะปณุ ณะมยิ งั พาราณะสยิ งั
อิสิปะตะเน มิคะทาเย ปญจะวัคคิยานัง ภิกขูนัง อะนุตตะรัง
ธมั มะจักกงั ปะฐะมัง ปะวัตเตตวา จัตตาริ อะรยิ ะสจั จานิ ปะกาเสสฯิ
ตัสมิญจะ โข สะมะเย ปญจะวัคคิยานัง ภิกขูนัง ปะมุโข
อายสั มา อญั ญาโกณฑญั โญ ภะคะวะโต ธมั มงั สตุ วา วริ ะชงั วตี ะมะลงั
ธัมมะจักขุง ปะฏิละภิตวา ยังกิญจิ สะมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง
นโิ รธะธมั มันติ ภะคะวนั ตัง อปุ ะสัมปะทัง ยาจติ วา ภะคะวะโตเยวะ
สันติกา เอหิภิกขปู ะสมั ปะทงั ปะฏลิ ะภติ วา ภะคะวะโต ธัมมะวนิ ะเย
อะรยิ ะสาวะกะสงั โฆ โลเก ปะฐะมงั อปุ ปน โน อะโหสฯิ พทุ ธะระตะนงั
ธัมมะระตะนงั สงั ฆะระตะนนั ติ ตริ ะตะนงั สัมปณุ ณัง อะโหสฯิ
วันอาสาฬหบูชา 23
มะยัง โข เอตะระหิ อิมัง อาสาฬหะปุณณะมีกาลัง ตัสสะ
ภะคะวะโต ธมั มะจกั กปั ปะวตั ตะนงั กาละสมั มะตงั อะรยิ ะสาวะกะสงั ฆะ
อปุ ปต ตกิ าละสมั มะตญั จะ ระตะนตั ตะยะสมั ปรู ะณะกาละสมั มะตญั จะ
ปตวา อิมัง ฐานัง สัมปตตา อิเม สักกาเร คะเหตวา อัตตะโน
กายัง สักการุปะธานัง กะริตวา ตัสสะ ภะคะวะโต ยะถาภุจเจ
คุเณ อะนุสสะรันตา อิมัง ถูปง (หรือ อิมัง พุทธะปฏิมัง) ติกขัตตุง
ปะทักขณิ ัง กะริสสามะ ยะถาคะหเิ ตหิ สกั กาเรหิ ปูชัง กรุ มุ านาฯ
สาธุ โน ภนั เต ภะคะวา สจุ ริ ะปะรนิ พิ พโุ ตป ญาตพั เพหิ คเุ ณหิ
อะตตี ารมั มะณะตายะ ปญ ญายะมาโน อเิ ม อมั เหหิ คะหเิ ต สกั กาเร
ปะฏคิ คัณหาตุ อัมหากัง ทฆี ะรตั ตัง หิตายะ สขุ ายะฯ
24 วันอาสาฬหบูชา
คําแปล
เราท้ังหลาย ถึงซ่ึงพระผูมีพระภาคพระองคใดแลวา
เปน ทพ่ี งึ่ พระผมู พี ระภาคพระองคใ ดเปน พระศาสดาของเราทงั้ หลาย
อนึ่ง เราทั้งหลายชอบใจซึ่งธรรมของพระผูมีพระภาคพระองคใด
พระผูมีพระภาคเจาพระองคนั้น เปนพระอรหันต ตรัสรูชอบเอง
ทรงอาศัยความการุญในสัตวทั้งหลาย ทรงพระกรุณาแสวงหา
ประโยชนเ กอื้ กลู ทรงอาศยั ความเอน็ ดู ไดย งั พระธรรมจกั รอนั ยอดเยยี่ ม
ใหเ ปน ไป ทรงประกาศอรยิ สจั ๔ เปน ครง้ั แรก แกพ ระภกิ ษปุ ญ จวคั คยี
ท่ปี า อิสิปตนมฤคทายวัน ใกลกรุงพาราณสี ในวนั อาสาฬหปุณณมี
อนึ่ง ในสมัยน้ันแล ทานพระอัญญาโกณฑัญญะ ผูเปน
หวั หนา ของพระภกิ ษปุ ญ จวคั คยี ไดฟ ง ธรรมของพระผมู พี ระภาคแลว
ไดธ รรมจกั ษอุ นั บรสิ ทุ ธ์ิปราศจากมลทนิ วา “สง่ิ ใดสง่ิ หนงึ่ มคี วามเกดิ ขน้ึ
เปน ธรรมดา สงิ่ ทง้ั ปวงนน้ั มคี วามดบั เปน ธรรมดา” จงึ ทลู ขออปุ สมบท
กับพระผูมีพระภาค ไดรับอุปสมบทดวยเอหิภิกขุแลวจากสํานักของ
พระผูมีพระภาคน้นั แล ไดเปนพระอรยิ ะสงฆส าวกแลว ในธรรมวนิ ยั
ของพระผมู ีพระภาค เกิดขนึ้ เปน องคแ รกในโลก
อนง่ึ ในสมยั แมน นั้ แล พระสงั ฆรตั นะไดบ งั เกดิ ขน้ึ เปน ครง้ั แรก
พระรัตนตรัย คือ พระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตนะ พระสังฆรัตนะ
ไดสมบรู ณแ ลว ในโลก
วันอาสาฬหบูชา 25
บัดน้ี เราทั้งหลาย มาประจวบมงคลสมัยอาสาฬหปุณณมี
วันเพ็ญอาสาฬหมาส ท่ีรูพรอมกันวาเปนวันท่ีพระผูมีพระภาค
พระองคนั้น ทรงประกาศพระธรรมจักร เปนวันท่ีเกิดข้ึน
แหงพระอริยสงฆสาวก และเปนวันท่ีพระรัตนตรัยสมบูรณ คือ
ครบ ๓ รัตนะ จึงมาประชุมพรอ มกันแลว ณ ท่นี ี้ ถอื สกั การะเหลานี้
ทํากายของตนใหเปนดังภาชนะรับเครื่องสักการะ ระลึกถึงพระคุณ
ตามเปนจริงท้ังหลายของพระผูมีพระภาคนั้น จักทําประทักษิณ
สน้ิ วาระสามรอบ ซง่ึ พระสถปู (พระพทุ ธปฏมิ า) น้ี บชู าอยดู ว ยสกั การะ
อนั ถือไวแ ลว อยา งไร
ขา แตพ ระสงฆผ เู จรญิ ขอพระผมู พี ระภาค แมเ สดจ็ ปรนิ พิ พาน
นานแลว ยังปรากฏอยูดวยพระคุณสมบัติ อันขาพเจาทั้งหลาย
จะพงึ รโู ดยความเปน อตตี ารมณ จงทรงรบั เครอื่ งสกั การะ อนั ขา พเจา
ท้งั หลายถือไวแลวนี้ เพอื่ ประโยชน เพื่อความสขุ แกขาพเจาทัง้ หลาย
สิ้นกาลนาน เทอญฯ
26 วันอาสาฬหบูชา
หนงั สืออา งอิง
กรมการศาสนา, กระทรวงศึกษาธิการ. เอกสารเผยแพรวันสําคัญ
ทางพระพุทธศาสนา. วันอาสาฬหบูชา. โรงพิมพการศาสนา.
(ไมปรากฏป พ.ศ. ทพ่ี ิมพ).
ประยงค สุวรรณบุปผา, นาวาเอก. วันสําคัญทางพระพุทธศาสนา.
กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพการศาสนา, ๒๕๓๐.
แปลก สนธิรักษ. พิธีกรรมและประเพณี. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ
ห.จ.ก. รุงเรืองสาสนการพิมพ, ๒๕๓๒. (พิมพเปนบรรณาการ
ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระภัทรศีลสังวร (ไสว ถาวโร)
ณ ฌาปนสถานกองทัพบก วัดโสมนัสวิหาร กรุงเทพมหานคร
วันเสารท ่ี ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๒).
พิทรู มลิวัลย. วนั สําคัญทางพระพุทธศาสนา. กรมการศาสนา พมิ พครั้งท่ี ๒.
กรงุ เทพมหานคร : โรงพิมพก ารศาสนา, ๒๕๒๘.
วนั อาสาฬหบชู า แนวทางปฏบิ ตั สิ าํ หรบั พทุ ธศาสนกิ ชน. กรงุ เทพมหานคร :
โรงพมิ พการศาสนา สาํ นักงานพระพุทธศาสนาแหง ชาติ, ๒๕๔๗.
เสฐยี รโกเศศ, พระธรรมปฎ ก (ป.อ. ปยตุ โฺ ต). ความรเู กย่ี วกบั วนั สาํ คญั ของไทย.
กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ ห.จ.ก. สหประชาพาณิชย, ๒๕๔๑.
(ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย ดร.อุบล
เรียงสุวรรณ ป.ช., ป.ม. ณ ฌาปนสถานกองทัพอากาศ
วดั พระศรีมหาธาตวุ รมหาวิหาร ๑๔ มิถนุ ายน ๒๕๕๑).
สํานักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแหงชาติ, กระทรวงศึกษาธิการ.
วันอาสาฬหบูชาและแนวทางในการปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร :
โรงพมิ พคุรุสภาลาดพราว, ๒๕๒๖.
อนุศาสนาจารย, กรมการศาสนา. คูมือการสอนวิชาพระพุทธศาสนา
ชั้นมัธยมศึกษาปที่ ๑. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพการศาสนา,
๒๕๒๔.