The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by auekharn, 2022-01-30 23:46:52

7A742D8C-3323-4BA4-AFDD-DE76FA633006

7A742D8C-3323-4BA4-AFDD-DE76FA633006

พพรระะรมาหชากกรษณัีตยริกยิ์จไขทอยง

วิชาประวัติศาสตร์ [ส31104] ปีการศึกษา 2/64

สมัยอยุธยา

สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 3
พระมหากษัตริย์รับกาลที่ 27 เเห่งกรุงศรีอยุธยา
กษั ตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์ ปราสาททอง

สมัยรัตนโกสินทร์

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 3 เเห่งราชวงศ์จักรี
กษั ตริย์เจ้าสั ว

จัดทำโดย
ญาณิศา ศรัทธาวาณิชย์ ชั้น ม.4/2 เลขที่ 20

เสนอ
อาจารย์ศศธร เรืองวิริยะชัย

สมเด็จพระนารายณ์มหาราช

พระราชประวัติ

สมเด็จพระนารายณ์มหาราชหรืออีกพระนามหนึ่งว่า สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๓ หรือสมเด็จพระ
รามาธิบดีศรีสรรเพชญ์ เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าปราสาททองพระราชสมภพเมื่อวันจันทร์ที่ 16
กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2175 มีพระเชษฐาคือ สมเด็จเจ้าฟ้าไชย มีพระอนุชาคือ เจ้าฟ้าอภัยทศ พระไตรภูวนาทิต
ยวงศ์ พระองค์ทอง และพระอินทราชา

[พระนามเต็มพระนารายณ์มหาราช]

สมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสรรเพชญ์บรมมหาจักรพรรดิศวร ราชาธิราชราเมศวรธรธราธิบดี ศรี
สฤษดิรักษ์สังหารจักรวาฬาธิเบนทร์ สุริเยนทราธิบดีบดินทร์ หริหรินทราธาดาธิบดี ศรีสุวิบุลคุณอัคนิตวิจิตรรูจี
ตรีภูวนาทิตย์ ฤทธิพรหมเทพาธิบดินทร์ ภูมินทราธิราช รัตนากาศมนุวงศ์ องค์เอกาทศรุท วิสุทธิยโสดม บรม
อัธยาศั ย สมุทยดโรมนต์ อนันตคุณวิบุลยสุนทรธรรมิกราชเดโชชัย ไตรโลกนาถบดินทร์ อรินทราธิราช ชาติพิชิต
ทิศทศพลญาณ สมันตมหันตผาริตวิชัยไอศวรรยาธิปัตย์ ขัตติยวงศ์ องค์ปรมาธิบดี ตรีภูวนาธิเบศ โลกเชษฐวิ

สุทธิ มงกุฎรัตนโมลี ศรีประทุมสุริวงศ์ องค์สรรเพชญ์พุทธางกูร บรมบพิตรพระพุทธเจ้า

พระองค์ได้ปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์ เมื่อปี พ.ศ.๒๑๙๙ เมื่อพระชนมายุได้ ๒๕ พรรษา เป็นกษัตริย์
องค์ที่27ของอยุธยาและเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์ปราสาททอง พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์
ที่ทรงพระปรึชาสามารถมาก ทำให้กรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยของพระองค์ มีความเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้าในทุก
ด้าน ทั้งในด้านเศรษฐกิจ การต่างประเทศ การศึกษา ศิลปวัฒนธรรม วรรณคดีที่สำคัญหลายเรื่องเกิดขึ้นใน
รัชสมัยของพระองค์ จนได้ชื่อว่าเป็นยุคทองของวรรณคดีในสมัยกรุงศรีอยุธยา เเละในยุคสมัยของพระองค์
เป็นยุคสมัยที่เริ่มมีการติดต่อกับต่างประเทศอีกด้วย นอกจากนี้พระองค์ยังส่งเสริมด้านการศึกษาหนังสือ
เเบบเรียนเล่มเเรกของไทยก็เกิดขึ้นในสมัยนี้ด้วย

พระราชกรณียกิจ

•ด้านการศึกษา•

หนังสือเรียนเล่มเเรกของไทย เเบบเรียนจินดามณี
เป็นแบบเรียนภาษาไทย มีเนื้อหาครอบคลุมเรื่อง การใช้ สระ พยัญชนะ วรรณยุกต์

การแจกลูก การผันอักษร อักษรศัพท์ อักษรเลข การสะกด การันต์ การแต่งคำประพันธ์ ชนิด
ต่าง ๆ และ กลบท ปรากฏกลบท อยู่ 60 ชนิด มีทั้งจินดามณี แต่งขึ้นในสมัยอยุธยาตอนกลาง
โดย พระโหราธิบดี ในรัชสมัยของ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช และยังเป็นแบบเรียนเล่มแรก
ของไทยด้วย และจากการที่จินดามณีของพระโหราธิบดี เป็นแบบเรียนไทยมาก่อนจนเป็นเสมือน
สัญลักษณ์ของแบบเรียนไทย ทำให้หนังสือแบบเรียนไทยในยุคต่อมาหลายเล่มใช้ชื่อตามว่า
"จินดามณี"

•ด้านการขยายอาณาเขต•

ขยายพระราชอาณาจักร โดยทำศึกกับพม่าเพื่อชิงเมืองเชียงใหม่ ทำสงครามเพื่อ
ชิงเมืองทวาย เมืองเมาะตะมะกลับมาเป็นของกรุงศรีอยุธยา

•ด้านการค้าขาย•

ทรงส่งเสริมด้านการค้าขายกับนานาชาติ อาทิ จีน อินเดีย ฮอลันดา อังกฤษ และ
อิหร่าน จนทำให้กรุงศรีอยุธยาเป็นอีกหนึ่งศูนย์กลางแลกเปลี่ยนการค้าระดับนานาชาติ

อยุธยาเมืองท่าเเห่งอุษาคเนย์

•ด้านการเจริญสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศ•

สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเป็นพระมหากษัตริย์ผู้เป็นที่
เลื่องลือพระเกียรติยศในพระราโชบายทางคบค้าสมาคมกับชาว
ต่างประเทศ รักษาเอกราชของชาติให้พ้นจากการเบียดเบียนของ
ชาวต่างชาติและรับผลประโยชน์ทั้งทางวิทยาการและเศรษฐกิจที่
ชนต่างชาตินำเข้ามา นอกจากนี้ ยังได้ทรงอุปถัมภ์บำรุงกวีและ
งานด้านวรรณคดีอันเป็นศิลปะที่รุ่งเรืองที่สุดในยุคนั้น เมื่อสมเด็จ
พระนารายณ์เสด็จเถลิงถวัยราชสมบัติ ณ ราชอาณาจักรศรีอยูธ
ยาแล้ว ปัญหากิจการบ้านเมืองในรัชสมัยของพระองค์เป็นไปใน
ทางเกี่ยวข้องกับชาวต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่
ด้วยในขณะนั้น มีชาวต่างประเทศเข้ามาค้าขาย และอยู่ในราชอาณาจักรไทยมากว่าที่
เคยเป็นมาในกาลก่อน ที่สำคัญมาก คือ ชาวยุโรปซึ่งเป็นชาติใหญ่มีกำลังทรัพย์ กำลังอาวุธ
และผู้คน ตลอดจน มีความเจริญรุ่งเรืองทางวิทยาการต่าง ๆ เหนือกว่าชาวเอเซียมาก และ
ชาวยุโรปเหล่านี้กำลังอยู่ในสมัยขยายการค้า ศาสนาคริสต์ และอำนาจทางการเมืองของพวก
ตนมาสู่ดินแดนตะวันออก

••ดด้้าานนศศาาสสนนาา••

ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาเป็นอย่างดียิ่ง และอาจนับได้ว่าพระพุทธศาสนาใน
ช่วงรัชกาลของพระองค์ได้เจริญรุ่งเรืองมาก ทรงบูรณะวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเมือง
ลพบุรี โดยเฉพาะทรงเชิญพระพุทธสิหิงค์ลงมายังอยุธยา ดังที่ปรากฏในวรรณคดีสำคัญ
ของยุค คือ โคลงเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนารายณ์ เอกสารสำคัญในรัชกาลที่เกี่ยวกับ
พุทธศาสนา คือ พระราชปุจฉาที่ทรงมีไปถึงพระสงฆ์ผู้ทรงภูมิธรรมเพื่อทรงไต่ถามข้อ
สงสัย ซึ่งในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ปรากฏชื่อพระพรหมมุนี วัดปากน้ำ
ประสบ และสมเด็จ พระพุทธโฆษาจารย์เป็นผู้ถวายวิสัชนาพระราชปุจฉาอยู่เสมอๆ

พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ และพระสันตะปาปา โดยมีเชอวาเลียร์ เดอ โชมองต์ เป็น
หัวหน้าคณะทูต ซึ่งมีความเห็นตรงกันว่าจะใช้กรุงศรีอยุธยา เป็นศูนย์กลางในการเผย
แพร่คริสตศาสนา พระบาทหลวงได้ตั้งโรงเรียน โรงพยาบาล ฯลฯ สมเด็จพระนารายณ์
ทรงเห็นว่า เป็นการนำความเจริญมาให้กรุงศรีอยุธยา พระองค์ได้ พระราชทานที่ดิน
ให้สร้างวัดทางคริสตศาสนาด้วย

เมื่อปี พ.ศ.๒๒๒๘ ได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระนารายณ์ฯ ทูลขอให้ทรงเข้ารีต แต่พระองค์
ทรงปฏิเสธด้วยพระปรีชาสามารถว่า

…̏ การที่ผู้ใดจะนับถือศาสนาใดนั้น ย่อมแล้วแต่พระผู้เป็นเจ้าบนสวรรค์จะบันดาลให้เป็นไป
ถ้าคริสตศาสนาเป็นศาสนาดีจริงแล้ว และเห็นว่าพระองค์สมควรที่จะเข้าเป็น คริสตศาสนิกแล้ว

สักวันหนึ่งพระองค์จะถูกดลใจให้เข้ารีตจนได้ ̋





พระองค์ได้ให้เสรีภาพแก่ราษฎรทั่วไปที่จะนับถือคริสตศาสนาได้ตามความ
เลื่อมใสของตน ทำให้เชอวาเลียร์ เดอ โชมองต์ พอใจ

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระราชประวัติ


พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว[รัชกาลที่ 3]

เป็นพระราชโอรสองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศ
หล้านภาลัย ประสูติแต่สมเด็จพระศรีสุลาลัย เสด็จพระราช
สมภพเมื่อวันจันทร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2330

เมื่อครั้งที่ทรงกำกับราชการกรมท่าได้ทรงแต่ง สำเภา
บรรทุกสินค้าออกไปค้าขายในต่างประเทศมีรายได้เพิ่มขึ้นใน
ท้องพระคลังเป็นอันมาก พระราชบิดาทรงเรียกพระองค์ว่า "เจ้าสัว" เมื่อรัชกาลที่ 2 เสด็จสวรรคต
มิได้ตรัสมอบราชสมบัติแก่ผู้ใด ขุนนางและพระราชวงศ์ต่างมีความเห็นว่าพระองค์ขณะนั้นมี
พระชนมายุ37 พรรษา ทรงรอบรู้กิจการบ้านเมืองดี ปราดเปรื่องในทางกฎหมาย ทั้งด้านการค้าและ
การปกครอง จึงพร้อมใจกันอัญเชิญครองราชย์เป็นรัชกาลที่ 3

พระปรมาภิไธย

" พระบาทสมเด็จพระปรมาธิวรเสรฐ มหาเจษฎาบดินทร สยามินทรวิโรดม
บรมธรรมิกมหาราชาธิราช บรมนารถบพิตร พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว "

ตราพระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ 3 รูปปราสาท สอดคล้องกับพระนามเดิม "ทับ"
ผูกตรานี้ขึ้นในวโรกาสกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 100 ปี

พระราชกรณียกิจ

•ด้านความมั่นคง•

พระองค์ได้ทรงป้องกันราชอาณาจักรด้วยการส่ง
กองทัพไปสกัดทัพของ เจ้าอนุวงศ์ แห่งเวียงจันทน์ ไม่
ให้ยกทัพเข้ามาถึงชานพระนครและขัดขวางไม่ให้
เวียงจันทน์เข้าครอบครองหัวเมืองอีสานของสยาม
นอกจากนี้ พระองค์ทรงประสบความสำเร็จในการ
ทำให้สยามกับ ญวน ยุติการสู้รบระหว่างกันเกี่ยวกับ
เรื่อง เขมร โดยที่สยามไม่ได้เสียเปรียบญวนแต่อย่างใด

•ด้านการศึกษา•

ทรงทำนุบำรุงและสนับสนุนการศึกษา
โปรดเกล้าให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงวงศาธิ-
ราชสนิท แต่งตำราเรียนภาษาไทย ขึ้นเล่มหนึ่งคือ
หนังสือจินดามณี โปรดเกล้าให้ผู้รู้นำตำราต่างๆ
มาจารึกลงในศิลาตามศาลารอบพุทธาวาส
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร
ปั้นตั้งไว้ตามเขามอและเขียนไว้ตามฝาผนังต่างๆ
มีทั้งอักษรศาสตร์ แพทยศาสตร์ พุทธศาสนศึกษา
โบราณคดี พื่อเป็นการเผยแพร่วิชาการสาขาต่างๆ
จึงอาจกล่าวได้ว่าวัดพระเชตุเป็นมหาวิทยาลัยแห่ง
แรกของกรุงสยาม

•ด้านการคมนาคม•

ในรัชสมัยของพระองค์ใช้ทางน้ำเป็นสำคัญ ทั้งในการสงครามและการค้าขาย
คลองจึงมีความสำคัญมากในการย่นระยะทางจากเมืองหนึ่งไปอีกเมืองหนึ่ง จึงโปรดฯให้มีการ
ขุดคลองขึ้น เช่น คลองบางขุนเทียน คลองบางขนาก และคลองหมาหอน

•ด้านศาสนา•

พระองค์ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามากและได้ทรงสร้างพระพุทธรูปมากมาย เช่น
วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร วัดเฉลิมพระเกียรติเเละวัดปรินายก ทรงสร้างวัดใหม่ขึ้น
3 วัด คือวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร วัดเทพธิดารามวรวิหาร และวัดราชนัดดารามวรวิหาร
ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดเก่าอีก 35 วัด เช่น วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งสร้างมาแต่รัชกาลที่ 1
วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร เป็นต้น

•ด้านศิลปกรรม•

โปรดเกล้าฯ ให้บูรณะปฏิสงขรณ์พระปรางค์วัดอรุณราชวรารามจนแล้วเสร็จ และ
ทรงมีรับสั่งให้สร้างเรือสำเภาก่อด้วยอิฐในวัดยานนาวา เพื่อให้ประชาชนได้รู้ว่าเรือสำเภานั้นมีรูป
ร่างลักษณะอย่างไร เพราะทรงเล็งเห็นว่าภายหน้าจะไม่มีการสร้างเรือสำเภาอีกแล้ว

สำหรับวรรณกรรม พระองค์โปรดเกล้าฯให้นักปราชญ์ราชบัณฑิตจารึกวรรณคดีที่
สำคัญๆ และวิชาแพทย์แผนโบราณลงบนแผ่นศิลา แล้วติดไว้ตามศาลารายรอบพระอุโบสถ รอบ
พระมหาเจดีย์บริเวณวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เพื่อให้ประชาชนได้ศึกษาหาความรู้

•ด้านสังคมสงเคราะห์•

พระองค์ทรงเอาพระทัยใส่ดูแลทุกข์สุขของราษฎรด้วยมีพระบรมราชวินิจฉัยว่า ไม่ทรงสามารถ
จะบำบัดทุกข์ให้ราษฎรได้ หากไม่เสด็จออกนอกพระราชวังเพราะราษฎรจะร้องถวายฏีกาได้ต่อเมื่อ
พระคลังเวลาเสด็จออกนอกพระราชวังเท่านั้น จึงโปรดให้นำ กลองวินิจฉัยเภรี ออกตั้ง ณ ทิมดาบ
กรมวัง ในพระบรมมหาราชวัง เพื่อราษฎรผู้มีทุกข์จะได้ตีกลองร้องถวายฎีกาไปทูลเกล้าทูล
กระหม่อมถวาย เพื่อให้มีการชำระความกันต่อไป โดยพระองค์จะคอยซักถามอยู่เนืองๆ ทำให้
ตุลาการ ผู้ทำการพิพากษาไม่อาจพลิกแพลงคดีเป็นอื่นได้

ในรัชสมัยของพระองค์ได้มี มิชชันนารี ชาวอเมริกัน และชาวอังกฤษ เดินทางเข้ามาเผยแพร่
ศาสนเพิ่มมากขึ้น หนึ่งในจำนวนนี้คือ ศาสนาจารย์นายแพทย์ แดน บีช บรัดเลย์ หรือที่คนไทยรู้จัก
กันดีในนาม "หมอบรัดเลย์" ได้เป็นผู้ริเริ่มให้มีการปลูกฝีป้องกัน ไข้ทรพิษ และการฉีดวัคซีน
ป้องกันอหิวาตกโรค และการทำผ่าตัดขึ้นเป็นครั้งแรกในกรุงรัตนโกสินทร์ นอกจากนี้หมอบรัดเลย์
ยังได้คิดตัวพิมพ์ อักษรไทย ขึ้น (ปี พ.ศ. 2379) ทำให้มีการพิมพ์หนังสือภาษาไทยเป็นครั้งแรกโดย
พิมพ์คำสอนศาสนาคริสต์เป็นภาษาไทย เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2379 ต่อมาปี พ.ศ. 2385
หมอบรัดเลย์พิมพ์ ปฏิทิน ภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรก

ในด้านการหนังสือพิมพ์ฉบับแรกในสมัยรัชกาลที่ 3 หมอบรัดเลย์ได้ออกหนังสือพิมพ์แถลง
ข่าวรายปักษ์เป็นภาษาไทยชื่อ บางกอกรีคอร์เดอร์(Bangkok Recorder) มีเรื่องสารคดี ข่าว
ราชการ ข่าวการค้า ข่าวเบ็ดเตล็ด ฉบับแรกออกเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2387

หนังสือบทกลอนเล่มแรกที่พิมพ์ขายและผู้เขียนได้รับค่าลิขสิทธิ์ คือ นิราศลอนดอน
ของหม่อมราโชทัย (หม่อมราชวงศ์กระต่าย อิศรางกูร) โดยหมอบรัดเลย์ ซื้อกรรมสิทธิ์ไป
พิมพ์ในราคา 400 บาท

•ด้านการค้ากับต่างชาติ•

พระองค์ทรงสนับสนุนส่งเสริมการค้าขายกับต่างประเทศ ทั้งกับชาวเอเชียและชาวยุโรปโดย
เฉพาะอย่างยิ่งการค้ากับจีนมาตั้งแต่เมื่อครั้งพระองค์ทรงดำรงตำเเหน่งกรมท่า ส่งผลให้พระคลัง
สินค้ามีรายได้เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้มีการแต่งสำเภาทั้งของราชการ เจ้านาย ขุนนางชั้นผู้ใหญ่ และ
พ่อค้าชาวจีนไปค้าขายยังเมืองจีนและประเทศใกล้เคียง รวมถึงการเปิดค้าขายกับมหาอำนาจตะวัน
ตกจนมีการลงนามในสนธิสัญญาระหว่างกันคือ สนธิสัญญาเบอร์นี พ.ศ. 2369 และ 6 ปีต่อมาก็ได้
เปิดสัมพันธไมตรีกับสหรัฐอเมริกาและมีการทำสนธิสัญญาต่อกันใน พ.ศ. 2375 นับเป็นสนธิสัญญา
ฉบับแรกที่สหรัฐอเมริกาทำกับประเทศทางตะวันออก ส่งผลให้ไทยได้ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ
อย่างมาก

สนธิสัญญาเบอร์นี : ไทยค่อนข้างเสียเปรียบ

เงินถุงเเดง

[พระบรมราโชวาท ร.3] มื่อถึงเวลาต้องไถ่เมืองกับฝรั่งเศสในสมัย รศ.112 สมัยรัชกาลที่ 5
ไทยเราต้องใช้เงิน 3 หมื่นชั่งเศษของพระนั่งเกล้าฯมาไถ่เมือง
"การศึ กสงครามข้างญวน ข้างพม่า ก็เห็นจะไม่มี
แล้ว จะมีอยู่ก็แต่ข้างพวกฝรั่ง ให้ระวังให้ดี อย่าให้
เสียทีแก่เขาได้ การงานสิ่ งใดของเขาที่คิด ควรจะ

เรียนเอาไว้ก็ให้เอาอย่างเขา แต่อย่าให้นับถือ
เลื่อมใสไปเสียทีเดียว ทุกวันนี้คิดสละห่วงใยได้
หมด อาลัยแต่วัดวา สร้างไว้ใหญ่โตหลายวัด ที่ยัง
ค้างอยู่ก็มี ถ้าชำรุดทรุดโทรมไปจะไม่มีผู้ช่วย

ทำนุบำรุง เงินในพระคลังที่เหลือจับจ่ายใน
ราชการแผ่นดินมีอยู่ 40,000 ชั่ งนี้ ขอสัก
10,000 ชั่ งเถิดให้ไว้บำรุงวัดวาที่ยังค้างอยู่"


Click to View FlipBook Version