The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

E-book เล่มนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับโครงสร้างของพืชดอก เป็นเนื้อหาของรายวิชาชีววิทยา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by จุฑาวรรณ นวกะคาม, 2023-09-25 06:10:43

Structure of angiosperm

E-book เล่มนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับโครงสร้างของพืชดอก เป็นเนื้อหาของรายวิชาชีววิทยา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

Keywords: Biology

STRUCTURE OF ANGIOSPERM โ ค ร ง ส ร้ า ง ข อ ง พื ช ด อ ก BY JUTHAWAN NAWAKAKAM


คำ นำ นางสาวจุฑาวรรณ นวกะคาม ผู้จัดทำ E-BOOK เรื่อง โครงสร้างของพืชดอก (STRUCTURE OF ANGIOSPERM) เล่มนี้ จัดทำ ขึ้นเพื่อใช้ประกอบการเรียนการ สอนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมีเนื้อหาประกอบไปด้วยโครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก เพื่อให้นักเรียนสามารถอธิบาย โครงสร้างและหน้าที่ของพืชได้ ผู้จัดทำ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า E-BOOK จะเป็นประโยชน์ต่อนักเรียนที่กำ ลังศึกษาเนื้อหาเรื่อง โครงสร้างของพืชดอก (STRUCTURE OF ANGIOSPERM) และช่วยให้นักเรียนสามารถเรียนรู้อย่างเข้าใจและเป็นสื่อการเรียนที่ดีเพื่อช่วยให้เรียน บรรลุวัตถุประสงค์การเรียนรู้


จุดประสงค์การเรียนรู้ Page 1 โครงสร้างของพืชดอก Page 2 ราก — โครงสร้างภายในของปลายรากตัดตามยาว — โครงสร้างภายในของปลายรากตัดตามขวาง — หน้าที่และชนิดของราก Page 3 Page 3 Page 4 Page 7 — โครงสร้างภายในของลำ ต้นระยะการเติบโตปฐมภูมิ ลำ ต้น — โครงสร้างบริเวณปลายยอด — โครงสร้างภายในของลำ ต้นระยะการเติบโตทุติยภูมิ — หน้าที่และชนิดของลำ ต้น Page 10 Page 10 Page 11 Page14 Page16 ใบ — โครงสร้างและการเจริญเติบโตของใบ — ชนิดและหน้าที่ของใบ Page 19 Page 19 Page 21 แบบฝึกหัด Page 26 เอกสารอ้างอิง Page 30 ประวัติผู้จัดทำ Page 31 CONTENTS TABLE OF


จุดประสงค์การเรียนรู้ 1.สังเกต อธิบาย และเปรียบเทียบโครงสร้างภายในของรากพืชใบเลี้ยงเดี่ยวและรากพืช ใบเลี้ยงคู่จากการตัดตามขวาง 2.สังเกต อธิบาย และเปรียบเทียบโครงสร้างภายในของลำ ต้นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวและลำ ต้น พืชใบเลี้ยงคู่จากการตัดตามขวาง 3.สังเกต และอธิบายโครงสร้างภายในของใบพืชจากการตัดตามขวาง


STRUCTURE OF ANGIOSPERM | 2 โดยโครงสร้างของพืชจะประกอบด้วย พืชดอก (Angiosperm) คือพืชชั้นสูงที่วิวัฒนาการมาจากพืชเมล็ดเปลือย (Naked seed) ซึ่งถูกจัดให้เป็นพืชที่มีมากที่สุด โดยจะพบประมาณ 275,000 ชนิด และในประเทศไทยจะพบประมาณ 12,000 ชนิด พืชดอกจะมีลักษณะ ที่สำ คัญร่วมกัน ได้แก่ มีเนื้อเยื่อห่อหุ้มเมล็ด มีดอกเป็นอวัยวะสืบพันธุ์ มีรังไข่ (Ovary) มีผล (Fruit) และมีการปฏิสนธิซ้อน (Double fertilization) ราก ลำ ต้น ใบ ดอก ผล โครงสร้างของพืชดอก


ราก (Root) เมื่อนำ ปลายรากมาตัดตามยาวและตามขวาง แล้วศึกษาภายใต้กล้องจุลทรรศน์จะเห็นโครงสร้าง ภายในของปลายราก ดังนี้ รากเป็นอวัยวะแรกที่งอกออกจากเมล็ด และเมื่อรากงอกออกจากเมล็ดแล้ว จะมีการเจริญเติบโต โดยมี ขนาด ความยาว และจํานวนที่เพิ่มขึ้น โดยทั่วไปรากเจริญอยู่ในระดับผิวดิน ทําหน้าท่ีดูดซึม น้ําและธาตุอาหาร รวมท้ัง สารอาหารต่าง ๆ ที่อยู่ในดินไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของพืช นอกจากนี้รา กช่วยค้ําจุน หรือช่วยยึดส่วนของพืชที่ อยู่เหนือดินให้คงตัวอยู่กับที่ได้ 1. โครงสร้างภายในของปลายรากตัดตามยาว STRUCTURE OF ANGIOSPERM | 3


ราก (Root) 2. โครงสร้างภายในของปลายรากตัดตามขวาง คอร์เทกซ์ (CORTEX) เป็นชั้นที่อยู่ถัดจากชั้นเอพิเดอร์มิส ส่วนใหญ่ประกอบ ด้วยเซลล์พาเรงคิมาเรียงตัวกันหลายแถว ไม่มีคลอโร พลาสต์ ทําหน้าท่ีสะสมอาหาร ชั้นในสุดของคอร์เทกซ์ ประกอบด้วยเซลล์ขนาดเล็ก เรียงตัวแถวเดียว เรียกว่า เอน โดเดอร์มิส (ENDODERMIS) ซ่ึงมีสารซูเบอริน (SUBERIN) มาสะสมเป็นแถบ เรียกว่า แถบแคสพาเรียน หรือ แคสพา เรียนสตริป (CASPARIAN STRIP) เอพิเดอร์มิส (EPIDERMIS) เป็นช้ันที่อยู่นอกสุด เซลล์จะเรียงตัวเป็นแถวเดียวโดย มีคิวทิน (CUTIN) เคลือบอยู่บนผนังชั้นนอกของเซลล์ ช่วยป้องกันเนื้อเยื่อภายใน เนื่องจากเซลล์ชั้นนี้มีผนัง เซลล์ บาง บางส่วนของเซลล์ชั้นนี้จะยื่นออกไปทําหน้าที่ ดูดนํ้าและธาตุอาหารต่าง ๆ เรียกบริเวณน้ีว่า บริเวณขน ราก (ROOT HAIR ZONE) STRUCTURE OF ANGIOSPERM | 4


ราก (Root) 2. โครงสร้างภายในของปลายรากตัดตามขวาง สตีล (STELE) เป็นช้ันที่อยู่ถัดจากชั้นเอนโดเดอร์มิสเข้าไปประกอบด้วยเน้ือเยื่อหลายชนิด ได้แก่ STRUCTURE OF ANGIOSPERM | 5


ราก (Root) 2. โครงสร้างภายในของปลายรากตัดตามขวาง การเติบโตทุติยภูมิของราก ส่วนใหญ่พบในพืชใบเลี้ยงคู่ แต่ไม่พบการเติบโตทุติยภูมิในรากพืชใบเล้ียงเดี่ยว การเติบโตทุติยภูมิเกิดจากการสร้างเน้ือเยื่อถาวรเพิ่มจากการแบ่งเซลล์ของเนื้อเย่ือเจริญด้านข้างของราก คือ วาสคิวลาร์ วาสคิวลาร์แคมเบียมที่คั่นระหว่างไซเล็มปฐมภูมิกับโฟลเอ็มปฐมภูมิจะแบ่งเซลล์สร้าง ไซเล็มทุติยภูมิ (SECONDARY XYLEM) ในพืชใบเลี้ยงคู่เพอริไซเคิล (PERICYCLE) เปลี่ยนสภาพเป็นคอร์กแคมเบียมทําให้เกิดการเติบโตทุติยภูมิสร้างเซลล์คอร์ก แคมเบียม และคอร์กแคมเบียม ทางด้านใน และสร้างโฟลเอ็มทุติยภูมิ (SECONDARY PHLOEM) ออกไปทางด้านนอก (CORK) แทนเนื้อเยื่อผิวเดิม STRUCTURE OF ANGIOSPERM | 6


ราก (Root) 3. หน้าที่และชนิดของราก STRUCTURE OF ANGIOSPERM | 7


ราก (Root) 3. หน้าที่และชนิดของราก STRUCTURE OF ANGIOSPERM | 8


ราก (Root) 3. หน้าที่และชนิดของราก STRUCTURE OF ANGIOSPERM | 9


ลำ ต้น (STEM) มีข้อ ปล้อง บริเวณข้อจะมีใบ ที่ซอกใบมีตา ลําต้นทําหน้าที่ชูกิ่ง ใบ ดอก และผล ให้อยู่เหนือระดับ ผิวดิน ลําเลียงนํ้า ธาตุอาหาร และอาหารไปยังส่วนต่าง ๆ ของพืช ลําต้นเป็นอวัยวะของพืชที่โดยท่ัวไปเจริญอยู่เหนือระดับผิวดินถัดข้ึนมา ลําต้นพืชบางชนิดจะ เมื่อนําลําต้นพืชใบเลี้ยงเด่ียวและพืชใบเลี้ยงคู่มาศึกษาพบว่า การเจริญเติบโตของพืชแต่ละชนิด แตกต่างกันโดยการเติบโตปฐมภูมิจะทําให้พืชลําต้นสูงขึ้น พบท้ังในพืชใบเลี้ยงเด่ียวและพืชใบเลี้ยงคู่ ส่วนการเติบโตทุติยภูมิจะทําให้พืชมีลําต้นขยายออกทางด้านข้าง พบเฉพาะในพืชใบเล้ียงคู่ STRUCTURE OF ANGIOSPERM | 10


โครงสร้างบริเวณปลายยอด เน้ือเย่ือเจริญส่วนปลายยอด (SHOOT APICAL MERISTEM) อยู่บริเวณปลายสุดของลําต้น ประกอบด้วยกลุ่ม เซลล์ท่ีมีการแบ่งตัวตลอดเวลา และ เจริญไปเป็นลําต้น ใบ และตาตามซอก ใบแรกเกิด (LEAF PRIMORDIUM) อยู่ตรงด้านข้างของปลายยอดที่เป็นขอบของ ความโค้ง และจะเจริญพัฒนาเป็นใบอ่อน ตรงโคนใบ แรกเกิดจะเห็นเซลล์ขนาดเล็กรูปร่างยาวเรียงตัวเป็น แนวยาวจากลําต้นข้ึนไปจนเกือบถึงส่วนปลาย เซลล์ เหล่าน้ีจะเจริญไปเป็นเนื้อเยื่อท่อลําเลียงท่ีแยกออกจา กลําต้นสู่ใบ ใบอ่อน (YOUNG LEAF) เซลล์ของใบยังมีการแบ่งเซลล์อยู่ และเจริญเติบโต เปลี่ยนแปลงต่อไป เพ่ือเพ่ิมความหนาและขนาดของใบจน เป็นใบที่เจริญเต็มที่ ใบในระยะนี้ยังไม่แผ่ออกเต็มที่ ตรงซอกของใบอ่อนพบ ตาตามซอกเร่ิมเกิดที่จะพัฒนาไปเป็นตาตามซอกเม่ือใบที่ รองรับอยู่เจริญเต็มที่แล้ว ลําต้นอ่อน (YOUNG STEM) อยู่ถัดจากตําแหน่งใบเร่ิมเกิดลงมา ลํา ต้นส่วนใบเร่ิมเกิดเป็นลําต้นระยะที่ยัง เจริญไม่เต็มที่ โดยเซลล์บางบริเวณอาจ พัฒนาไปจนเจริญเต็มท่ีในระดับหน่ึงแล้ว แต่บางบริเวณยังแบ่งเซลล์เพ่ือเพิ่มจํา นวน และขยายขนาดต่อไปได้อีก จนกระ ท่ังเป็นลําต้นท่ีเจริญเต็มท่ี ลำ ต้น (STEM) STRUCTURE OF ANGIOSPERM | 11


1. โครงสร้างภายในของลำ ต้นระยะการเติบโตปฐมภูมิ ลำ ต้น (STEM) เมื่อตัดตามขวาง แล้วนํามาศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์จะเห็นโครงสร้างแบ่งออกเป็น 3 ช้ัน ดังน้ี STRUCTURE OF ANGIOSPERM | 12


1. โครงสร้างภายในของลำ ต้นระยะการเติบโตปฐมภูมิ ลำ ต้น (STEM) STRUCTURE OF ANGIOSPERM | 13


2. โครงสร้างภายในของลำ ต้นระยะการเติบโตทุติยภูมิ ลำ ต้น (STEM) จะทําให้ลําต้นมีเส้นรอบวงเพิ่มข้ึน และมีโครงสร้างแตกต่างไปจากเดิม เน่ืองจากมีการสร้างเนื้อเย่ือเพริเดิร์ม และเน้ือเยื่อ ท่อลําเลียงทุติยภูมิเพิ่มขึ้นทําให้ลําต้นพืชเจริญขยายออกทางด้านข้าง การสร้างเนื้อเยื่อท่อลําเลียงทุติยภูมิ เกิดขึ้นโดยเน้ือเยื่อเจริญที่อยู่ระหว่างเนื้อเยื่อไซเล็มปฐมภูมิ และโฟลเอ็มปฐมภูมิ เรียก ว่า วาสคิวลาร์แคมเบียม (vascular cambium) จะแบ่งเซลล์ได้ 2 ทิศทาง คือ แบ่งเข้าทางด้านใน และด้านนอก การแบ่งเซลล์เข้าด้านในของวาสคิวลาร์แคมเบียมเกิดได้เร็วกว่าด้านนอก และเจริญเป็นเนื้อเยื่อไซเล็ม เรียกไซเล็มท่ีเกิด จากวาสคิวลาร์แคมเบียมว่า ไซเล็มทุติยภูมิ (secondary xylem) ส่วนเซลล์ท่ีแบ่งออกทางด้านนอกเจริญเป็นเน้ือเยื่อโฟลเอ็ม เรียกโฟลเอ็มท่ีเปลี่ยนแปลงมาจากวาสคิวลาร์แคมเบียมว่า โฟลเอ็มทุติยภูมิ (secondary phloem) STRUCTURE OF ANGIOSPERM | 14


2. โครงสร้างภายในของลำ ต้นระยะการเติบโตทุติยภูมิ ลำ ต้น (STEM) STRUCTURE OF ANGIOSPERM | 15


ลําต้นเป็นอวัยวะที่เป็นแกนหลักของพืชท่ีอยู่เหนือระดับพื้นดิน หน้าท่ีหลักของลําต้น คือ ชูก่ิงก้าน และใบเพ่ือรับแสง ลํา เลียงนํ้าและธาตุอาหาร รวมทั้งอาหารที่พืชสร้างข้ึนส่งไปยังส่วนต่าง ๆ ของพืช นอกจากนี้ลําต้นยังมีหน้าที่พิเศษอ่ืน ๆ อีกตามลักษณะภายนอกของลําต้นที่พบ เช่น สะสมอาหาร สังเคราะห์ด้วยแสง ช่วยในการคายนํ้า ใช้ในการขยายพันธุ์ หากแบ่งประเภทของลําต้นตามตําแหน่งที่พบ สามารถแบ่งได้ 2 ประเภท ดังนี้ 3. หน้าที่และชนิดของลำ ต้น ลำ ต้น (STEM) STRUCTURE OF ANGIOSPERM | 16


3. หน้าที่และชนิดของลำ ต้น ลำ ต้น (STEM) STRUCTURE OF ANGIOSPERM | 17


3. หน้าที่และชนิดของลำ ต้น เป็นลําต้นท่ีเจริญอยู่ใต้ระดับผิวดิน ลําต้นใต้ดินของพืชหลายชนิดทําหน้าท่ีพิเศษ ในการสะสมอาหาร ซึ่งลําต้นมีขนาดใหญ่ อวบหนา มักจะสะสมแป้งหรือนํ้ามันไว้ภายในเซลล์ หากแบ่งลําต้นใต้ดินตาม ลักษณะรูปร่าง สมารถแบ่งออกได้เป็นหลายแบบ ดังนี้ ลำ ต้น (STEM) STRUCTURE OF ANGIOSPERM | 18


ใบเป็นอวัยวะที่เจริญออกไปบริเวณด้านข้าง อยู่บริเวณข้อปล้องของลําต้น และกิ่งทําหน้าท่ีหลักในการสร้างอาหารโดย การสังเคราะห์ด้วยแสง ใบต้องมีโครงสร้างท่ีเอื้อต่อการรับแสง การแลกเปลี่ยนแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ และการลําเลียงนํ้า สารอาหาร และอาหารท่ีเหมาะสม 1. โครงสร้างและการเจริญเติบโตของใบ ใบ (LEAF) โครงสร้างภายนอกของใบ STRUCTURE OF ANGIOSPERM | 19


1. โครงสร้างและการเจริญเติบโตของใบ ใบ (LEAF) โครงสร้างภายในของใบ STRUCTURE OF ANGIOSPERM | 20


หน้าที่หลักของใบพืช คือ สร้างอาหารโดยกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง แลกเปลี่ยนแก๊สและคายน้ํา นอกจากนี้ใบพืชยัง มีหน้าที่อื่น ๆ อีกตามชนิดของใบ ดังน้ี 1. ใบเลี้ยง (COTYLEDON) ทำ หน้าที่ สะสมอาหารเพ่ือเลี้ยงต้นอ่อนขณะงอก โดยพืชใบเล้ียงคู่มีใบเลี้ยง 2 ใบ แต่ถ้าเป็นพืชใบเลี้ยง เดี่ยวมีใบเลี้ยงเพียงใบเดียว 2. ใบแท้ (FOLIAGE LEAF) เป็นส่วนของพืชที่เกิดจากตาใบ ทําหน้าที่สร้าง อาหารด้วยกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง แลก เปลี่ยนแก็ส และคายนํ้า แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังน้ี 1. ใบเดี่ยว (SIMPLE LEAF) 2. ใบประกอบ (COMPOUND LEAF) 2. ชนิดและหน้าที่ของใบ ใบ (LEAF) STRUCTURE OF ANGIOSPERM | 21


2. ชนิดและหน้าที่ของใบ ใบ (LEAF) ใบแท้ STRUCTURE OF ANGIOSPERM | 22


3. ใบที่เปลี่ยนแปลงไป (MODIFIED LEAF) พืชบางชนิดอาจมีใบท่ีมีหน้าท่ีพิเศษ ทําให้ใบมีการเปลี่ยนแปลงไป จากใบแท้ที่มีลักษณะแผ่นแบนไปเป็นลักษณะอื่นที่เหมาะสมกับหน้าท่ี เช่น 1. ใบสะสมอาหาร (STORAGE LEAF) 2. ใบประดับ (BRACT) 3. ใบเกล็ด (SCALE LEAF) 4. ทุ่นลอย (FLOATING LEAF) 5. มือเกาะ (LEAF TENDRIL) 6. หนาม (LEAF SPINE) 7. ใบกับดักแมลง (CARNIVOROUS LEAF) 8. ใบขยายพันธุ์ (REPRODUCTIVE ORGAN) 2. ชนิดและหน้าที่ของใบ ใบ (LEAF) STRUCTURE OF ANGIOSPERM | 23


3. ใบที่เปลี่ยนแปลงไป (MODIFIED LEAF) 2. ชนิดและหน้าที่ของใบ ใบ (LEAF) STRUCTURE OF ANGIOSPERM | 24


3. ใบที่เปลี่ยนแปลงไป (MODIFIED LEAF) 2. ชนิดและหน้าที่ของใบ ใบ (LEAF) STRUCTURE OF ANGIOSPERM | 25


แบบฝึกหัด คำ ชี้แจง : ให้นักเรียนตอบคําถามต่อไปนี้ 1.จากภาพ A. B. C. และ D. เป็นโครงสร้างของอวัยวะใด และเป็นพืชใบเลี้ยงใด เพราะเหตุใด 2. จากภาพบริเวณหมายเลข 1. 2. และ 3. คือบริเวณใด และเป็นเนื้อเยื่อชนิดใด STRUCTURE OF ANGIOSPERM | 26


แบบฝึกหัด คำ ชี้แจง : ให้นักเรียนตอบคําถามต่อไปนี้ 3. กระเทียม หัวไชเท้า แคร์รอต มันฝรั่ง เป็นส่วนประกอบที่นิยมนำ มาทําอาหาร ส่วนประกอบ เหล่านี้คือส่วนใดของพืช ตามลําดับ 4. จงระบุส่วนประกอบจากภาพต่อไปนี้ให้ถูกต้อง STRUCTURE OF ANGIOSPERM | 27


เฉลยแบบฝึกหัด STRUCTURE OF ANGIOSPERM | 28


เฉลยแบบฝึกหัด STRUCTURE OF ANGIOSPERM | 29


อ้างอิง วราภรณ์ ท้วมดี และฤทธิ์ วัฒนชัยยิ่งเจริญ. (ม.ป.ป.). รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (พิมพ์ครั้งที่ 2). (น. 11-36). กรุงเทพมหานคร : อักษรเจริญทัศน์. STRUCTURE OF ANGIOSPERM | 30


STRUCTURE OF ANGIOSPERM | 31 ประวัติผู้จัดทำ สถานที่ทำ งาน : โรงเรียนมัธยมเทศบาล 6 นครอุดรธานี ชื่อ-สกุล : นางสาวจุฑาวรรณ นวกะคาม ชื่อเล่น : จ๋า สาขา : วิทยาศาสตร์ศึกษา รหัสนักศึกษา : 65120603120 เกิด : 6 กันยายน 2541 อายุ : 24 ปี สัญชาติ : ไทย เชื้อชาติ : ไทย JAH โทร : 097-1039497 อีเมล : [email protected] Facebook : Jah Jutha ที่อยู่ : 318/63 หมู่ 2 หมู่บ้านไทยสมุทร ตำ บลบ้านเลื่อม อำ เภอเมือง จังหวัด อุดรธานี รหัสไปรษณีย์ 41000 ข้อมูลติดต่อ


Click to View FlipBook Version