ความคิดเห็นเกี่ยวกับการคมนาคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พุทธศักราช 2566 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย จัดทำโดย ด.ช.การิน หุนศิริ ชั้น ม.104 เลขที่ 20 ด.ช.ภัทรพล สมพงษ์ ชั้น ม.104 เลขที่ 24 ด.ช.ศุภวิชญ์ ยรรยงชัยกิจ ชั้น ม.104 เลขที่ 29 รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งในรายวิชาการสื่อสารและการนำเสนอ (I21202) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
ความคิดเห็นเกี่ยวกับการคมนาคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พุทธศักราช 2566 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย จัดทำโดย ด.ช.การิน หุนศิริ ชั้น ม.104 เลขที่ 20 ด.ช.ภัทรพล สมพงษ์ ชั้น ม.104 เลขที่ 24 ด.ช.ศุภวิชญ์ ยรรยงชัยกิจ ชั้น ม.104 เลขที่ 29 เสนอ ครูจิราภรณ์ กลัดป้อม รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งในรายวิชาการสื่อสารและการนำเสนอ (I21202) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
ก การิน หุนศิริ,ภัทรพล สมพงษ์,ศุภวิชญ์ ยรรยงชัยกิจ. (2566). ความคิดเห็นเกี่ยวกับการคมนาคมของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พุทธศักราช 2566 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย. รายงานการ ศึกษาค้นคว้า (รายวิชา I21202 การสื่อสารและการนำเสนอ). กรุงเทพฯ : โรงเรียนสวนกุหลาบ วิทยาลัย. บทคัดย่อ การศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้มีจุดหมายเพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับการคมนาคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พุทธศักราช 2566 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าคือนักเรียน โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 130 คน โดยใช้วิธีการ สุ่มอย่างง่าย จากนักเรียน 13 ห้อง ห้องละ 10 คน มีเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ (ค่าเฉลี่ย หรือ การจัดอันดับ) ผลการศึกษาค้นคว้า 1. ยานพาหนะที่นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยใช้ ส่วนใหญ่ที่ตอบแบบสอบถามร้อยละ 51.54 ใช้รถยนต์ส่วนตัว 2. ห้องของนักเรียนผู้ตอบแบบสอบถามมีผู้ตอบแบบสอบถามเท่ากัน ร้อยละ 7.69 3. ระดับความคิดเห็นที่มีต่อของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โดย รวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.79)
ข รายงานการศึกษาค้นคว้า เรื่อง ความคิดเห็นเกี่ยวกับการคมนาคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พุทธศักราช 2566 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ของ ด.ช.การิน หุนศิริ ชั้น ม.104 เลขที่ 20 ด.ช.ภัทรพล สมพงษ์ ชั้น ม.104 เลขที่ 24 ด.ช.ศุภวิชญ์ ยรรยงชัยกิจ ชั้น ม.104 เลขที่ 29 ...................................................... ครูประจำรายวิชา (ครูจิราภรณ์ กลัดป้อม) ........................................................ ครูประจำชั้น คนที่ 1 (ครูวงดาว สุภาเกตุ) ........................................................ ครูประจำชั้น คนที่ 2 (ครูชนานุช ดอกประทุม)
ค กิตติกรรมประกาศ รายงานทางวิชาการฉบับนี้สําเร็จรุล่วงได้ดี เนื่องจากได้รับความกรุณาอย่างสูงจาก ครูจิราภรณ์ กลัดป้อม ที่ให้คําปรึกษาและแนะนําแนวทางที่ถูกต้อง ตลอดจนแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ สุดท้ายนี้คณะผู้จัดทําขอกราบขอบพระคุณเพื่อนๆนักเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ประจําปีการศึกษา 2566 ทุกคนที่ได้ตอบแบบสอบภาม คณะผู้จัดทํา 9 กุมภาพันธ์ 2567
ง สารบัญ บทที่ หน้าที่ 1 บทนำ……………………………………………………..………………………………………….……………………….1 ความสำคัญของปัญหา………………………………………..………….………………………………………...1 วัตถุประสงค์ของการศึกษาค้นคว้า…….…………….…………………………………….…………………..2 ขอบเขตการศึกษาค้นคว้า …………………………………………………………………………………………2 2 เอกสารและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง………………………………………………………………………………….3 การคมนาคมโดยรวม……………………………………………….…………………..……..…………………….3 การเดินทางมาโรงเรียนโดยรถยนต์ส่วนตัว.........................……………………………………………..4 การเดินทางมาโรงเรียนโดยรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน……………………………………………………………4 การเดินทางมาโรงเรียนโดยรถประจำทาง……………………………………………………………………..5 การเดินทางมาโรงเรียนโดยใช้รถตู้รับจ้าง/รถโรงเรียน…………………………………………………….5 การเดินทางมาโรงเรียนโดยการเดิน……………………………………………………………………………..5 ระบบคมนาคม………………………………………………………………………………………………………….6 3 วิธีดำเนินการ…………….…………………...…………………………………….……………………………………….7 การกําหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง..................................................................................7 การสร้างเครื่องมือในการศึกษาค้นคว้า...................................................................................7 การเก็บรวบรวมข้อมูล............................................................................................................7 การจัดกระทําข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล...........................................................................8 4 ผลการศึกษาค้นคว้า....................………………………….……………………………….………………………….9 5 สรุปผลการศึกษาค้นคว้า และข้อเสนอแนะ....................…………………………………….……………….11 บรรณานุกรม…………………………..………………………………………………..…..………...………………………….….12 ภาคผนวก……………………………………………………………………………………………………..……..………………….13
จ สารบัญตาราง ตาราง หน้า ตารางที่ 1 ยานพาหนะที่ที่นักเรียนผู้ตอบแบบสอบถามใช้…………………………...……………..9 ตารางที่ 2 ห้องของนักเรียนผู้ตอบแบบสอบ………………………………………………………………9 ตารางที่ 3 ระดับความคิดเห็นต่อการคมนาคม…………………………………………………………10
1 บทที่ 1 บทนำ ความเป็นมาและความสำคัญ ในทุกๆ วัน การเดินทางของคนกรุงเทพฯ เป็นเหมือนเกมส์ที่ต้องวางแผนการเดินทางให้แม่นยำที่สุด มิเช่นฉะนั้นตลอดทั้งวันนั้นชีวิตคุณอาจเปลี่ยนไป ซึ่งคุณต้องคำนวณเวลาดีๆว่าจะไปถึงป้ายรถเมล์ทันไหม รถไฟฟ้าจะขัดข้องหรือเปล่า เกิดฝนตกหนักน้ำในคลองแสนแสบขึ้นเรือประกาศหยุดเดิน วินมอร์เตอร์ไซค์โกง ราคา แท็กซี่ไม่รับผู้โดยสาร เครื่องบินดีเลย์หลายชั่วโมง ซึ่งหลายครั้งคิดคำนวณเผื่อเวลาไว้แล้วก็ยังไปถึงที่ หมายสายอยู่ดี นี่ยังไม่รวมถึงเรื่องของความปลอดภัย มาตรฐานของสภาพรถ เรือ ไปจนถึงพนักงานผู้ให้บริการ ที่บางครั้งเหมือนจะอารมณ์เสียพร้อมเหวี่ยงตลอดเวลา ปัญหาการเดินทางในระบบขนส่งมวลชนสาธารณะของกรุงเทพฯ เป็นปัญหาเชิงหลักการคือคนส่วน ใหญ่จะใช้บริการเพื่อเดินทางไปทำงาน ไปเรียน ยกตัวอย่างเช่น ทุกที่จะกำหนดช่วงเวลาการเริ่มต้นทำงานหรือ เรียนไว้ 09.00 น. ซึ่งทำให้เกิดการกระจุกตัวในช่วงเวลาที่จำกัด หรือ ช่วงพีค ทำให้เป็นไปได้ยากที่จะสามารถ บริหารจัดการปริมาณของรถขนส่งสาธารณะได้เพียงพอกับความต้องการ (PPTV Online. 2561 : ออนไลน์) ด้วยนโยบายพัฒนาขนส่งอย่างก้าวกระโดด รัฐบาลตั้งเป้า พัฒนาระบบการคมนาคม ทั้งทางบก ทางน้ำ และ ทางอากาศจะต้องเป็นหนึ่งเดียวกัน วันนี้ ประเทศไทย จึงเดินหน้าปฏิรูประบบรถสาธารณะอย่างต่อเนื่อง และเป็นครั้งแรกที่ได้พัฒนาแผนการคมนาคมขนส่งเชื่อมโยงครบทุกมิติ โดยระบบขนส่งทางราง ได้มีการเปิด ก่อสร้าง โครงการรถไฟฟ้าโมโนเรล 2 สายแรกของไทยเป็นที่เรียบร้อย และอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย – มีนบุรี และ สายสีเหลือง ลาดพร้าว – สำโรง ถือเป็นการเชื่อมต่อการ เดินทางในกรุงเทพ และ ปริมณฑลให้ทั่วถึงกันเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจ พร้อม ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน บรรเทาปัญหาการจราจรอย่างเร่งด่วน (ข่าวสด. 2561 : ออนไลน์) โดยสรุปปัญหาการคมนาคมเป็นการปัญหาใหญ่ที่รัฐบาลให้ความสนใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีผลก ระทบต่อเศรษฐกิจมากมาย
2 วัตถุประสงค์ ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ได้ตั้งความมุ่งหมายไว้ดังนี้ 1. เพื่อทราบความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับการคมนาคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พุทธศักราช 2566 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย 2. เพื่อศึกษาปัญหาการเดินทางของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ประโยชน์ที่ได้รับ 1.สามารถปรับปรุงและวางแผนการเดินทางมาโรงเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พุทธศักราช 2566 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย 2.สามารถอำนวยความสะดวกแก่นักเรียนที่เดินทางวิธีการต่างๆได้มากขึ้น ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า ประชากรที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย จำนวน 479 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการ ศึกษา 2566 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ได้จากการสุ่มแบบโควต้า จากนักเรียน 13 ห้อง ห้องละ 10 คน จำนวน 130 คน นิยามศัพท์เฉพาะ การคมนาคม หมายถึง การเคลื่อนที่ติดต่อถึงกัน เช่นทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ เป็นต้น
3 บทที่ 2 เอกสารและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ผู้ศึกษาค้นคว้าได้ศึกษาเอกสารและวรรณกรรมเกี่ยวข้อง ได้นำเสนอตาม หัวข้อต่อไปนี้ 1. การคมนาคมโดยรวม 2. การเดินทางมาโรงเรียนโดยรถยนต์ส่วนตัว 3. การเดินทางมาโรงเรียนโดยรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน 4. การเดินทางมาโรงเรียนโดยรถประจำทาง 5 . การเดินทางมาโรงเรียนโดยใช้รถตู้รับจ้าง/รถโรงเรียน 6. การเดินทางมาโรงเรียนโดยการเดิน 7. ระบบคมนาคม หัวข้อที่ 1 การคมนาคมโดยรวม ปัจจุบันระบบคมนาคมขนส่งของประเทศไทย ในการขนส่งคนยัง ประสบปัญหาไม่สามารถตอบสนอง ความต้องการของผู้ใช้บริการได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ จากข้อมูลการจัดอันดับคุณภาพ ไม่ว่า จะเป็น ทางถนน รถไฟ ท่าเรือ ของประเทศไทยถูกจัดอยู่ในลำดับที่ต่ำกว่าประเทศเพื่อนบ้าน อย่างประเทศสิงคโปร์และประเทศ มาเลเซียในทุกรูปแบบ (สำนักงบประมาณของรัฐสภา, และ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. 2562 : 1) เส้นทางคมนาคมในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์แบ่งลักษณะการคมนาคมได้ 2 ลักษณะ คือ การคมนาคม ทางบกและทางน้ำ ดังนี้ การคมนาคมทางบก แบ่งเป็น 1. ทางรถยนต์ ถนนเป็นเส้นทางหลักของการคมนาคมในเกาะรัตนโกสินทร์ การเดินรถเป็นแบบทาง เดียวและแบบสองทางแล้วแต่เส้น 2. ระบบขนส่งมวล มีรถโดยสารประจำทางทั้งรถธรรมดา รถปรับอากาศ และรถร่วมบริการ วิ่งผ่านเขต เกาะรัตนโกสินทร์จำนวนมาก รถโดยสารประจำทางขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานครที่มีต้นทางหรือ ปลายทางในเขตเกาะรัตนโกสินทร์ การคมนาคมทางน้ำ การเดินทางทางน้ำ ใช้สำหรับการเดินทางไปยังสถานที่ที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาและ คลองที่มีเรือให้บริการ เรือโดยสารที่ให้บริการ ได้แก่ 1. เรือด่วนเจ้าพระยา เป็นเรือโดยสารในแม่น้ำเจ้าพระยา ให้บริการในเส้นทางอำเภอปากเกร็ดท่าน้ำนนทบุรี-สาทร-วัดราชสิงขร-ราษฎร์บูรณะ 2. เรือโดยสารข้ามฟาก เป็นเรือโดยสาข้ามฟากจากท่าน้ำริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตกหรือฝั่ง ธนบุรีไปยังท่าน้ำริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกหรือฝั่งกรุงเทพมหานคร 3. เรือโดยสารคลองแสนแสบ เป็นบริการเรือด่วนในคลองแสนแสบและคลองมหานาค (หอสมุดวังท่าพระ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร. 2558 : ออนไลน์)
4 หัวข้อใหญ่ที่ 2การเดินทางมาโรงเรียนโดยรถยนต์ส่วนตัว ข้อดีของการใช้รถยนต์ส่วนตัว ไม่ต้องรีบร้อน ถ้าหากเราใช้บริการรถโดยสารสาธารณะ จะต้องรีบร้อนเดินทาง เพราะไม่สามารถรู้ว่ารอรถแล้ว รถจะมาถึงเมื่อไหร่ จะไปเรียนทันหรือไม่ ไม่ต้องเดินทางหลายต่อ บางคนบ้านอยู่ไกล กว่าจะไปถึงโรงเรียน แล้วต้องตื่นแต่เช้ากว่าคนอื่นเพื่อให้ไปทันเวลา ยังต้องเดินทางหลายต่ออีกด้วย หากมีความจำเป็นเร่งด่วน สามารถเดินทางได้ทันที (monchanok. 2564 : ออนไลน์) ข้อเสียของการใช้รถยนต์ส่วนตัว ค่าเชื้อเพลิงค่อนข้างสูง เพราะปัจจุบันราคาน้ำมันในประเทศค่อนข้างสูง หลายคนจึงเลี่ยงมาใช้แก๊สแทนน้ำมัน เพื่อลดค่าใช้จ่าย ค่าบำรุงรักษาสูง นอกจากน้ำมันแล้ว รถยนต์ยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆที่เป็นภาระให้กับเจ้าของรถ (puri estate. 2563 : ออนไลน์) หัวข้อใหญ่ที่ 3 การเดินทางมาโรงเรียนโดยการใช้รถไฟฟ้าสายสีนำ้เงิน (mrt) โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ระยะทางรวม 48 กม. 38 สถานี ประกอบไปด้วย - โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล สถานีหัวลำโพง – สถานีบางซื่อ ระยะทาง 20 กิโลเมตร 18 สถานี(บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ธุรกิจรถไฟฟ้า (สาขา 2). 2561 : ออนไลน์) เนื่องจากโรงเรียนสวนกุหลาบฯ ตั้งอยู่ระหว่างสถานี 2 แห่ง คือ สถานีสามยอด (ใกล้ดิโอลด์สยาม) และ สถานีสนามไชย (ใกล้ปากคลองตลาด) จึงจะแนะนำจากการใช้งานจริงดังนี้ - สถานีสามยอด ออกทางออก Exit 3 ถนนอุณากรรณ จะใกล้ที่สุดครับ ทางออกจะอยู่ตรงข้ามกับร้านกาแฟ ออน ลอค หยุ่น ดัง นั้น เพื่อจะเดินไปยังสวนกุหลาบฯ จะต้องข้ามถนน 2 ครั้ง เดินตัดไปยังดิโอลด์สยาม และข้ามจากดิโอลด์สยาม ไปยังพาหุรัด และข้ามถนนอีกครั้งหน้าสมใจ เพื่อเดินเข้าสู่ประตูตรีเพชร รวมข้ามถนน 4 ครั้ง ระยะทาง ประมาณ 600 เมตร ระยะเวลาเดินทางประมาณ 10 นาที (รวมติดรอไฟแดงข้ามถนน) - สถานีสนามไชย สถานีสนามไชยเป็นสถานีฝั่งพระนครสถานีสุดท้าย ก่อนลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาไปฝั่งธนฯ หากเดินทางมาที่สถานีสนามไชย ให้ออกทางออก Exit 4 ไปยังปากคลองตลาด จุดขึ้นจะอยู่ใกล้ฝั่งตลาดดอกไม้ เมื่อเดินขึ้นมาแล้ว ควรเดินข้ามไปยังอีกฝั่ง จะเดินง่ายกว่าด้านตลาดดอกไม้ครับ แล้วก็เดินเลียบไปเรื่อยๆ ข้าม ถนนเล็กๆที่ตัดไปออกบ้านหม้อ ทีนี้ก็เดินตรงขึ้นไปอย่างเดียว ก็ถึงทางเข้าประตูจักรเพชร ฝั่งนี้จะระยะทาง มากกว่านิดหน่อย ประมาณ 650 เมตร แต่เดินง่ายกว่า เพราะไม่ต้องข้ามถนนหลายครั้งครับ จากการทดลอง เดินจริง ใช้เวลาประมาณ 7 นาทีมาถึงประตูจักรเพชร (มุทิตาจิต สวนกุหลาบวิทยาลัย. 2562 : ออนไลน์)
5 หัวข้อใหญ่ที่ 4 การเดินทางมาโรงเรียนโดยรถประจำทาง องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจประเภทสาธารณูปโภคสังกัดกระทรวง คมนาคม จัดตั้งขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ พุทธศักราช 2519 (ก่อตั้งเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2519) มีภาระหน้าที่ในการจัดบริการรถโดยสารประจำทางวิ่งรับส่งประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร นนทบุรี นครปฐม ปทุมธานี สมุทรสาคร สมุทรปราการ จัดรถวิ่งบริการในเส้นทางต่าง ๆ รวม 309 เส้นทาง มีจำนวนรถทั้งสิ้น 6,072 คัน (ณ สิงหาคม 2566) แยกเป็นรถ ขสมก. รถธรรมดา 1,520 คัน รถ ปรับอากาศ 1,365 คัน และมีรถของบริษัทเอกชนที่ร่วมวิ่งบริการกับ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ รถร่วม บริการ รถธรรมดา 27 คัน รถร่วมบริการ รถมินิบัส 97 คัน รถเล็กในซอย 1,496 คัน รถตู้โดยสารปรับอากาศ 1,506 คัน และรถตู้ CNG เชื่อมต่อท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 61 คัน (องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ. ม.ป.ป : ออนไลน์) หลายคนเลือกรถโดยสารเนื่องจากมีราคาถูก นี่คือเหตุผลหลักว่าทำไมเมื่อคุณไปที่รถบัสคุณจะเห็นส่วนใหญ่เป็น นักเรียนและคนชรา ตั๋วสำหรับจุดหมายปลายทางที่มีราคาถูก คุณยังสามารถใช้บัตรสำหรับทุกเดือนและเดิน ทางด้วยค่าโดยสารลดลง นี่เป็นข้อได้เปรียบที่ดีในการเลือกรถขนส่งเพราะช่วยประหยัดเงินได้ (เทศบาลตำบล ลำน้ำพอง. 2564 : ออนไลน์) หัวข้อใหญ่ที่ 5 การเดินทางมาโรงเรียนโดยใช้รถตู้รับจ้าง/รถโรงเรียน การเดินทางไปกลับโรงเรียนของนักเรียนอย่างปลอดภัย องค์ประกอบสำคัญอย่างยิ่งประการหนึ่งคือ ยานพาหนะที่ใช้ในการเดินทางไปโรงเรียน ในประเทศที่มีการจัดระบบรถโรงเรียนอย่างมีประสิทธิภาพต่อเนื่อง มาเป็นเวลานาน ส่งผลให้สถิติอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับรถโรงเรียนลดลงและยืนยันได้ว่า การเดินทางด้วยรถโรงเรียน มีความปลอดภัยมากกว่าการเดินทางด้วยยานพาหนะชนิดอื่นๆ(นางสาวเพ็ญพิชชา เขียวพอ. 2564 : ออนไลน์) รถรับส่งนักเรียนก็ยังเป็นสวัสดิการจำเป็นอย่างมาก ด้วยค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่า ปลอดภัยจากอุบัติเหตุบนท้องถนน กว่า และมาถึงโรงเรียนได้ตรงต่อเวลากว่า โดยค่าใช้จ่ายสำหรับรถรับส่งนักเรียนต่อหัวต่ออยู่ที่ 300-500 บาท/ เดือน (ตามระยะทาง) หรือ 2,700-4,500 บาท/ปี ซึ่งเป็นตัวเลขที่ใกล้เคียงกับผลการศึกษาของสำนักงาน กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา จังหวัดอำนาจเจริญ ที่เคยประเมินว่า หนึ่งปีการศึกษา (9 เดือน) นักเรียนจะต้องเสียค่าเดินทางมาโรงเรียนอยู่ที่ประมาณ 3,579 บาท/ปี ดังนั้น รถรับส่งนักเรียนก็น่าจะเป็นทาง รอดที่สำคัญทางหนึ่งที่จะทำให้เด็กไม่หลุดออกจากระบบการศึกษา หากโรงเรียนมีระเบียบและวิธีการจัดการที่มี มาตรฐานมากพอ (อิชย์อาณิคม์ ชิตวิเศษ, และ อภิญญา วิศัลยางกูร. 2565 : ออนไลน์) หัวข้อใหญ่ที่ 6 การเดินทางมาโรงเรียนโดยการเดิน ข้อดีของการเดินไปโรงเรียน 1. แก้ปัญหาการจราจรยามเช้า บริเวณโรงเรียน ที่ผู้ปกครองจะมาส่งลูกๆ 2. ลดภาระของผู้ปกครอง ตอนเช้าไม่ต้องไปส่งลูกที่โรงเรียน 3. สอนความตรงต่อเวลา ถ้าเด็กคนไหนช้า เพื่อนๆก็จะต้องรอหน้าบ้านจนกว่าจะลงมาแล้วเดินไปพร้อมกัน เพราะใครก็คงไม่อยากให้เพื่อนรอ(ScholarShip ทุนเรียนต่อต่างประเทศ. 2559 : ออนไลน์) 4. การเดินช่วยปรับปรุงผลการเรียน เด็กที่เดินไปโรงเรียนจะมาถึงโดยมีสมองที่แจ่มใสและตื่นตัวสำหรับชั้น เรียนช่วงเช้ามากกว่าเด็กที่นั่งรถส่วนตัวมา
6 5. การเดินทำให้เด็กได้ออกกำลังกายประจำวัน การมีน้ำหนักเกินและสภาวะอ้วนเป็นปัญหาใหญ่มากขึ้นทุกที ทั่วโลก ดังนั้นการทำให้กิจกรรมทางกายกลายเป็นส่วนหนึ่งของกิจวัตรประจำวันของเด็กเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีใน การต่อสู้กับหนึ่งในปัจจัยสำคัญสี่อย่างที่นำไปสู่การเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (กวิน ชุติมา. 2558 : ออนไลน์) หัวข้อใหญ่ที่ 7 ระบบคมนาคม 1. ระบบคมนาคมขนส่งทางบก ระบบคมนาคมขนส่งของกรุงเทพมหานครในปัจจุบัน เป็นระบบที่ใช้ทางบกเป็นหลัก โดยเฉพาะการคมนาคม ขนส่งตามเส้นทางถนน เนื่องจากเข้าถึงชุมชนได้สะดวกกว่าระบบอื่น และเป็นการเดินทางโดยพึ่งยานพาหนะ ส่วนบุคคล ซึ่งอัตราส่วนการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลมีถึงร้อยละ 53 ในขณะที่สัดส่วนการใช้รถขนส่งมวลชนมีเพียง ร้อยละ 47 2. ระบบคมนาคมขนส่งทางน้ำ โครงข่ายการคมนาคมขนส่งทางน้ำของกรุงเทพมหานคร มีสัดส่วนเพียงร้อยละ 1.3 ของโครงข่ายการเดินทาง ทั้งหมด (ณัฐกุล เชาว์อุบล. มปป. :ออนไลน์) 3. ระบบคมนาคมขนส่งทางอากาศ การขนส่งทางอากาศมีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจและสังคมของโลก เพราะเป็นบริการขนส่งที่มีความสะดวก รวดเร็วและปลอดภัยกว่าการขนส่งรูปแบบอื่น โดยเฉพาะในภาวะปัจจุบันที่ประเทศต่าง ๆ มีการคมนาคมติดต่อ กันมากขึ้นส่งผลให้การขนส่งทางอากาศของโลกขยายตัวเพิ่มขึ้นตลอดเวลา ซึ่งภูมิภาคที่การขนส่งทางอากาศ ขยายตัวมากที่สุดคือภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ดังนั้นการขนส่งทางอากาศจึงเป็นกิจการสาธารณูปโภคประเภทหนึ่ง ที่มีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน การประกอบอาชีพของประชาชนและเศรษฐกิจของประเทศ (ณัฐวุฒิ ศิลาโชติ. 2555 :ออนไลน์)
7 บทที่ 3 วิธีดำเนินการ ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ผู้ศึกษาค้นคว้าได้ดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้ 1. การกำหนดประชากรและการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง 2. การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า 3. การเก็บรวบรวมข้อมูล 4. การจัดกระทำและการวิเคราะห์ข้อมูล การกำหนดประชากรและการเลือกกลุ่มตัวอย่าง ประชากร ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย จำนวน 479 คน การเลือกกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการ ศึกษา 2566 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ได้จากการสุ่มแบบโควต้า จากนักเรียน 13 ห้อง ห้องละ 10 คน จำนวน 130 คน การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า 1. ศึกษาเอกสารและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการคมนาคม 2. สร้างแบบสอบถาม ตามวัตถุประสงค์ดังนี้ (เลือกเฉพาะที่ตรงกับแบบสอบถามของตน) ตอนที่ 1 เป็นข้อคำถามแบบนามบัญญติเกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัวของผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 2 ข้อ ตอนที่ 2 เป็นคำถามแบบจัดอันดับความคิดเห็น จำนวน 5 อันดับ ซึ่งมีรายการให้จัดอันดับ 7 รายการ 3. นำไปให้ครูที่ปรึกษา ตรวจสอบความถูกต้องและความครอบคลุมของข้อคำถาม แก้ไขตามคำ แนะนำ 4. ทดลองใช้ โดยให้เพื่อนลองทำ การเก็บรวบรวมข้อมูล เริ่มเก็บข้อมูลตั้งแต่วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2567 ถึงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 โดยสมาชิกใน กลุ่มแบบเก็บข้อมูลด้วยตนเองคนละ 4 ห้อง จำนวนทั้งหมด 130 ฉบับ ได้แบบสอบถามกลับจำนวน 130 ฉบับ แบบสอบถามไม่สมบูรณ์ จำนวน 0 ฉบับ
8 การจัดกระทำข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล 1. แบบสอบถามตอนที่ 1 ซึ่งเป็นแบบสอบถามแบบนามบัญญัตินำมาแจกแจงความถี่ และหาค่า ร้อยละ 2. แบบสอบถามตอนที่ 2 เป็นแบบประมาณค่า 5 ระดับ สอบถามระดับความชอบ นำมาหาค่าเฉลี่ย ดังนี้ 5 หมายถึง มากที่สุด 4 หมายถึง มาก 3 หมายถึง ปานกลาง 2 หมายถึง ชอบน้อย 1 หมายถึง น้อยที่สุด การแปลผลค่าเฉลี่ยที่ได้ ระดับ แปลผล 4.50 - 5.00 มากที่สุด 3.50 - 4.49 มาก 2.50 - 3.49 ปานกลาง 1.50 - 2.49 น้อย 1.00 – 1.49 น้อยที่สุด
9 บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล การนำเสนอข้อมูล ตอนที่ 1 ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 2 ระดับความคิดเห็นของท่านต่อระบบการคมนาคมในกรุงเทพมหานคร ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ตาราง 1 ยานพาหนะที่นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยใช้ รายการ จำนวน/คน ร้อยละ รถยนต์ส่วนตัว 67 51.54 รถไฟฟ้า 27 20.77 รถประจำทาง(รถเมล์) 12 9.23 รถตู้รับจ้าง 17 13.08 การเดิน 7 5.38 รวม 130 100 จากตาราง 1 แสดงว่ายานพาหนะที่นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยใช้ ส่วนใหญ่ที่ตอบแบบสอบถามร้อยละ 51.54 ใช้รถยนต์ส่วนตัว ตาราง 2 ห้องของนักเรียนผู้ตอบแบบสอบถามชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ห้อง จำนวน/คน ร้อยละ 101 10 7.69 102 10 7.69 103 10 7.69 104 10 7.69 105 10 7.69 106 10 7.69 107 10 7.69 108 10 7.69 109 10 7.69 110 10 7.69 111 10 7.69
10 112 10 7.69 113 10 7.69 รวม 130 100 จากตาราง 2 แสดงว่าห้องของนักเรียนผู้ตอบแบบสอบถามมีผู้ตอบแบบสอบถามเท่ากัน ร้อยละ 7.69 ตอนที่ 2 การจัดระดับความคิดเห็น ตาราง 3 ระดับความคิดเห็นต่อการคมนาคมของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสวน กุหลาบวิทยาลัย รายการ แปลผล 1.การคมนาคมมีความเข้าถึงชุมชนในแถบกรุงเทพฯ 3.73 มาก 2.การคมนาคมในกรุงเทพฯมีความสะดวกสบาย 3.83 มาก 3.ค่าใช้จ่ายในการคมนาคมในกรุงเทพฯเมื่อเทียบกับระยะทาง 3.79 มาก 4.จำนวนยานพาหนะขนส่งมวลชนในกรุงเทพฯเหมาะสมกับผู้ใช้บริการ 3.75 มาก 5.ความเร็วในการเดินทางตอบสนองกับชีวิตประจำวันของคนในกรุงเทพฯ 3.26 ปานกลาง 6.การคมนาคมในกรุเทพฯมีผลต่อมลพิษทางอากาศ 4.24 มาก 7.การคมนาคมในกรุเทพฯมีผลต่อมลพิษทางเสียง 3.95 มาก ค่าเฉลี่ย 3.79 มาก จากตาราง 3 แสดงว่า ระดับความคิดเห็นต่อการคมนาคมของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.79) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อมากที่สุดคือ การ คมนาคมในกรุเทพฯมีผลต่อมลพิษทางอากาศ ( = 4.24) รองลงมาคือ การคมนาคมในกรุเทพฯมีผลต่อมลพิษ ทางเสียง ( = 3.95)
11 บทที่ 5 สรุปผลการศึกษาค้นคว้า และข้อเสนอแนะ การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ เกี่ยวกับสิ่งของสะสมนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียน สวนกุหลาบวิทยาลัย สรุปผลตามลำดับดังนี้ วัตถุประสงค์การศึกษาค้นคว้า 1. เพื่อทราบความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับการคมนาคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1 พุทธศักราช 2566 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย 2. เพื่อศึกษาปัญหาการเดินทางของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า 1. ศึกษาเอกสารและข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ ปัญหาคมนาคม 2. สร้างแบบสอบถาม ตามวัตถุประสงค์ดังนี้ ตอนที่ 1 เป็นคําถามแบบนามบัญญติเกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัวของผู้ตอบแบบสอบถามจํานวน 2 ข้อ ตอนที่ 2 เป็นคําถามประมาณค่า 5 ระดับ สอบถามความรู้สึกที่มีต่อปัญหาคมนาคม จํานวน 7 รายการ 3. นําไปให้ครูที่ปรึกษา ตรวจสอบความถูกต้องและความครอบคลุมของข้อคําถาม แก้ไขตามคําแนะนํา 4. ทดลองใช้ โดยให้เพื่อนลองทํา สรุปผลการศึกษาค้นคว้า 1. ยานพาหนะที่นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยใช้ ส่วนใหญ่ที่ตอบแบบสอบถามร้อยละ 51.54 ใช้รถยนต์ส่วนตัว 2. ห้องของนักเรียนผู้ตอบแบบสอบถามมีผู้ตอบแบบสอบถามเท่ากัน ร้อยละ 7.69 3. ระดับความคิดเห็นที่มีต่อของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โดย รวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.79) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อมากที่สุดคือ การคมนาคมในกรุเทพฯมี ผลต่อมลพิษทางอากาศ ( = 4.24) รองลงมาคือ การคมนาคมในกรุเทพฯมีผลต่อมลพิษทางเสียง ( = 3.95) ข้อเสนอแนะ 1. ใช้แบบสอบถามออนไลน์แทนแบบสอบแบบกระดาษ
12 บรรณานุกรม ข้อมูลทรัพยากรด้านการคมนาคม - กระทรวงคมนาคม (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก https://complain.mot.go.th › assetsmot [สืบค้นเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2566]. การคมนาคมขนส่ง - มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก https://www.kmutt.ac.th › ด้านการขนส่ง [สืบค้นเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2566]. คมนาคมสร้างเมือง เมืองสร้างสุข สุขสร้างได้ - สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กระทรวงคมนาคม (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก http://thailandtod.com › buildacity [สืบค้นเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2566]. กระทรวงคมนาคม (ประเทศไทย) - วิกิพีเดีย (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก https://th.wikipedia.org › wiki › กระทรวงคมนาคม_(ประเทศไทย) [สืบค้นเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2566].
13 ภาคผนวก
14 แบบสอบถาม เรื่องความคิดเห็นเกี่ยวกับการคมนาคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พุทธศักราช 2566 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ตอนที่1 ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม คำชี้แจง: โปรดตอบคำถาม โดยทำเครื่องหมาย / ลงในช่อง 1.ผู้ตอบแบบสอบถามอยู่ห้องใด ◻️101◻️102◻️103◻️104 ◻️105◻️106◻️107◻️108 ◻️109◻️110 ◻️111◻️112 ◻️113 2.ท่านเดินทางมาโรงเรียนด้วยยานพาหนะใด (ตอบเพียงข้อเดียว) ◻️รถยนต์ส่วนตัว ◻️รถไฟฟ้า ◻️รถประจำทาง(รถเมล์) ◻️รถตู้รับจ้าง ◻️ การเดิน ตอนที่2 ระดับความคิดเห็นของท่านต่อระบบการคมนาคมในกรุงเทพมหานคร คำชี้แจง: โปรดตอบคำถาม โดยทำเครื่องหมาย / ให้ตรงกับระดับความคิดเห็นของท่านมากที่สุด คำถาม ระดับความคิดเห็น 5 4 3 2 1 1.การคมนาคมมีความเข้าถึงชุมชนในแถบกรุงเทพฯ 2.การคมนาคมในกรุงเทพฯมีความสะดวกสบาย 3.ค่าใช้จ่ายในการคมนาคมในกรุงเทพฯเมื่อเทียบกับระยะทาง 4.จำนวนยานพาหนะขนส่งมวลชนในกรุงเทพฯเหมาะสมกับผู้ใช้บริการ 5.ความเร็วในการเดินทางตอบสนองกับชีวิตประจำวันของคนในกรุงเทพฯ 6.การคมนาคมในกรุเทพฯมีผลต่อมลพิษทางอากาศ 7.การคมนาคมในกรุเทพฯมีผลต่อมลพิษทางเสียง ข้อเสนอแนะ ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
15 ประวัติผู้จัดทำ
16 ด.ช.การิน หุนศิริ ม.104 เลขที่ 20 สถาบันการศึกษาโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ด.ช.ภัทรพล สมพงษ์ ม.104 เลขที่ 24 สถาบันการศึกษาโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ด.ช.ศุภวิชญ์ ยรรยงชัยกิจ ม.104 เลขที่ 29 สถาบันการศึกษาโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย