The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ธวัชชัย ทิพรส, 2021-01-22 13:00:41

แอดเลอร์

แอดเลอร์

c

ทฤษฎที างจติ วทิ ยา อลั เฟรด แอดเลอร์

เสนอ
อาจารยอ์ นญั ญา เสรมิ ศรี

จดั ทำโดย

นายธวชั ชยั ทพิ รส รหสั ประจำตัว 3034635014

นางสาวเบญญา ฉลองสริ กิ ลุ รหสั ประจำตวั 3034632017

นางสาววไิ ลลกั ษณ์ กลุ ศริ ิ รหสั ประจำตัว 3034632024

นางสาวอารยี า ดวงจนั ทร์ รหสั ประจำตวั 3034632016

นางสาวธัญลกั ษณ์ บญุ เมอื ง รหสั ประจำตัว 3034632013

ชน้ั ปรญิ ญาตรีปที ี่ 1

รายงานเลม่ นเ้ี ปน็ สว่ นหนงึ่ ของรายวชิ าจติ วทิ ยาสำหรบั ครู
ภาคเรยี นท่ี 2 ปกี ารศกึ ษา 2563

วทิ ยาลยั นาฏศลิ ปอา่ งทอง สถาบนั บณั ฑติ พฒั นศลิ ป์ กระทรวงวฒั นธรรม



ทฤษฎที างจติ วทิ ยา อลั เฟรด แอดเลอร์

เสนอ
อาจารยอ์ นญั ญา เสรมิ ศรี

จดั ทำโดย

นายธวชั ชยั ทพิ รส รหสั ประจำตวั 3034635014

นางสาวเบญญา ฉลองสริ กิ ลุ รหสั ประจำตวั 3034632017

นางสาววิไลลกั ษณ์ กลุ ศริ ิ รหสั ประจำตวั 3034632024

นางสาวอารยี า ดวงจนั ทร์ รหสั ประจำตวั 3034632016

นางสาวธัญลกั ษณ์ บญุ เมอื ง รหสั ประจำตวั 3034632013

ชนั้ ปรญิ ญาตรปี ที ี่ 1

รายงานเลม่ นเ้ี ปน็ สว่ นหนง่ึ ของรายวชิ าจติ วทิ ยาสำหรบั ครู
ภาคเรยี นที่ 2 ปกี ารศกึ ษา 2563

วทิ ยาลยั นาฏศลิ ปอา่ งทอง สถาบนั บณั ฑติ พฒั นศลิ ป์ กระทรวงวฒั นธรรม

คำนำ

รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาจิตวิทยาสำหรับครู ระดับชั้นปริญญาตรีปีที่ 1
โดยมีจุดมุ่งหมายและจุดประสงค์เพื่อต้องการให้นักศึกษานั้น ได้ศึกษาและเข้าใจทฤษฎี
ของอัลเฟรด แอดเลอร์ ประวัติ แนวคดิ การศกึ ษาวิจัย วิถีชีวิต กลวธิ ีป้องกันตวั และท้ังนี้นักศกึ ษา
นำมาใชใ้ นการดำเนนิ ชีวิตให้เกดิ ประโยชน์ รวมไปถึงการประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนอีกดว้ ย

คณะผู้จัดทำรายงานจึงหวังว่า รายงานเล่มนี้นั้นจะเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน หรือนักเรียน
นักศึกษา ที่กำลังหาข้อมูลในเรือ่ งที่เกี่ยวกับรายงานเล่มนี้ หากผิดพลาดประการใด คณะผู้จัดทำ
ขอน้อมรับไวค้ วามผิดพลาดนน้ั และขออภัยไว้ ณ ทน่ี ีด้ ้วย

คณะผู้จัดทำ

สารบญั หนา้ ท่ี

เรอ่ื ง 1
2
ทฤษฎีจิตวทิ ยาแต่ละบคุ คลของแอดเลอร์ 4
ประวัติอัลเฟรด แอดเลอร์ 10
แนวความคดิ พนื้ ฐานที่สำคัญ ๆ ของแอดเลอร์ 12
วิถีชีวติ 17
การศึกษาวิจยั ของแอดเลอร์ 19
วิธกี ารใชกลวิธีปองกันตนเองของแอดเลอร์
การนำไปประยกุ ต์ใช้
เอกสารอา้ งองิ

1

ทฤษฎจี ติ วทิ ยาแตล่ ะบคุ คลของแอดเลอร์
(Adler's Individual Psychology)

เมื่อฟรอยด์ได้ประกาศทฤษฎีจิตวิเคราะห์โดย เฉพาะทฤษฎีสัญชาตญานทางเพศ ทำให้โลกตื่นตะลึง
และมีผู้คัดค้านจำนวนมาก รวมทั้งบรรดาลูกศิษย์ของฟรอยด์ แอดเลอร์ จึงเป็นผู้หนึ่งท่ีไม่เห็นด้วย
กับแนวความคดิ ของฟรอยด์ เขาได้ประกาศแยกตวั จากฟรอยด์ เมอื่ ปี ค ศ. 1911

2

1

ประวตั อิ ลั เฟรด แอดเลอร์

3

ประวตั ิอลั เฟรด แอดเลอร์

แอดเลอร์เป็นชาวออสเตรีย เกิดที่กรุงเวียนนาในปี ค. ศ. 1870 และสิ้นชีวิตที่สวิส ปี ค.ศ.1930
เขาเกิดในครอบครัวชั้นกลางก็เหมือนนกจิตวิทยาคนอื่นส่วนใหญ่ คือเป็นแพทย์ ต่อมาหันมาสนใจศึกษา
ทางด้านจิตใจ ในระยะนั้นจิตวิเคราะห์กำลงั เฟื่องฟูมาก เขาเข้าร่วมในสมาคมจิตวเิ คราะห์ท่ีกรุงเวียนนาด้วย
หลังจากแยกจากฟรอยด์แล้ว เขาได้แสดงความคิดเห็นคัดค้านฟรอยด์อย่างรุนแรงให้สมาชิกในสมาคม
จิตวิเคราะห์ฟัง ซึ่งฟรอยด์ก็ได้แสดงความคิดเห็นโต้ตอบเช่นกัน ตัวอย่างเช่น "ฟรอยด์พูดเปรียบเปรยว่า
การไม่ลงรอยระหว่างเขาทั้งสองนั้น เปรียบเหมือนการชิงดีซ่ึงลูกมีต่อพ่อน่ันเอง ถ้าจะพูดตามภาษาชาวบ้าน
ก็ว่าเป็นเรื่องของทรพีวัดรอยท้าพ่อ ฟรอยด์ถดเรื่องปมออดิสจึงได้เปรียบเปรยเช่นนั้น ส่วนแอดเลอร์ผู้ยึด
ทฤษฎีแห่งสัมพันธภาพในครอบครัวที่ตนต้ังขึ้น ก็โต้ว่า ฟรอยด์ เปรียบเหมือนพี่ชายใหญ่ส่วนตนเอง
เปรียบเหมือนน้องคนรอง เป็นธรรมดาอยู่เองที่นี่ชายใหญ่จะอจิ ฉาตน เพราะน้องคนรองเกิดมาแยง่ ตำแหนง่
ที่พี่ชายเคยคนรองความเป็นเอกในครอบครัว ถ้าจะเปรียบอีกทีก็คือฟรอ ยด์เป็นดาราที่อับแสงลง
เพราะมีดาวรุ่งดวงใหม่แห่งโลกจิตวิทยา คือตัวแอดเลอร์เองปรากฏขึ้นมา ดังนั้นฟร อยด์จึงรู้สึกอิจฉา
เปน็ ธรรมดา"

แอดเลอรเ์ รียกทฤษฎขี องเขาวา่ จิตวิทยาแต่ละบคุ คล (Individual Psychology) ระหวา่ งสงครามโลก
ครั้งที่ 1 เขาเป็นหมอทหาร พอสิ้นสุดสงครามเขาหันมาสนใจเรื่องการแนะแนว ต่อมาเขาย้ายไปอยู่นิวยอร์ค
อิทธิพลของเขาแพร่หลายมากได้รับการยกย่องจากชาวอเมริกัน เพราะทฤษฎีของเขามีแนวความคิดพื้นฐาน
ท่ีเข้าใจง่ายใชป้ ระยกุ ต์ในการศกึ ษา

แอดเลอร์ได้ย้ำถึงอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมว่า มีผลต่อบุคลิกภาพของบุคคลมากกว่าพันธุกรรม
โดยเฉพาะสิ่งแวดล้อมทางสังคมมีอิทธิพลมากในการหล่อหลอมบุคลิกภาพ แอดเลอร์มีความเชื่อว่ามนุษย์
ทุกคนมีทางเลือกแตกต่างกัน ซึ่งเขาถือว่าเป็นวิถีชีวิตหรือเป็นแบบในการดำเนินชีวิต ( Life Style)
ของแต่ละบุคคลซงึ่ ย่อมก่อให้ เกิดบุคลิกภาพประจำตัวท่ีแตกต่างกัน

สำหรับการช่วย เหลือคนที่มีบัญหาทางจิต แอดเลอร์ใช้วิธีให้ความเห็นอกเห็นใจและหนุนให้เกิด
กำลังใจที่จะสู้อุปสรรค เป็นวิธีการที่ตรงไปตรงมาไม่ต้องอ้อมค้อมหาความเป็นมาของจิตใต้สำนึกคือ
ไม่ใช่ขุดคุ้ยสิ่งที่อยู่ในจิตใต้สำนึกออกมา ให้ตนเองตระหนักเสียก่อนจึงจะลงมีอรักษาตามแบของฟรอยด์
ซึง่ เสียเวลามาก ซงึ่ คนเรามกั ยมวิธีลัด ดงั นน้ั จึงมผี ู้นยิ มใชว้ ิธขี องแอดเลอร์มาก

4

ประวัตอิ ลั เฟรด แอดเลอร์

5

แนวความคดิ พ้ืนฐานทส่ี ำคัญ ๆ ของแอดเลอร์ เกย่ี วกับเรือ่ งตา่ ง ๆ ดังน้ี

1. ลกั ษณะเชิงสมมติในจติ ใจ (Fictional Final ism)
2. การดน้ิ รนตอ่ ส้เู พ่ือให้มชี ีวติ ดีชัน้ (Striving for Superior ity)
3. ความรูส้ ึกด้อยและการชดเชย (Inferior ity Feel ing and Compensa)
4. ความสนใจสังคม (Social Interest )
5. แบบของการดำเนินชีวิต (Style of Life)
6. ตนเองที่สร้างสรรค์ (The Creative Self)

1. ลักษณะเชิงสมตใิ นจิตใจ (Fictional Final ism)

เมื่อแอดเลอร์แยกจากฟรอยด์ไม่นานนัก เขาได้รับอิทธิพลจากหนังสือ เรื่องจิตวิทยาของการสมมูติ
(The Psychology of "As If") ของนกั ปรัชญาชาวยโุ รปช่ือฮานส์ ไวฮนิ เจอร์ (Hans Vaihinger) ซึง่ ตีพิมพ์ในปี
ค.ศ. 1911 และแปลเป็นภาษาอังกฤษในปี ค.ศ. 1925 ไวฮินเจอร์ได้เสนอแนวความคิดที่สนใจมากว่า
คนเราอยู่ดว้ ยความคดิ ฝนั ที่ เราสรา้ งข้ึนเรยี กวา่ ความคดิ เชิงสมมุติ (Fictional I deas) และเราก็ยึดถือความคิด
น้ันเป็นจริงเป็นจังซึ่งในความเป็นจริงแล้วความคิดที่เกิดชั้นในจิตใจเราบางอย่างอาจจะไม่ได้พบเลย
ตัวอย่างเชน่ ความคิดที่วา่ "คนเราเกดิ มาเทา่ เทียมกัน" "ความช่อื สตั ยเ์ ป็นสงิ่ ทดี่ ี"

แอดเลอร์นำแนวความคิดมาดัดแปลง เป็นความคิดพ้ืนฐานทฤษฎีจิตวิทยาแต่ละบุคคลของเขาว่า
ถ้าคนเราสร้างลักษณะ เชิงสมมติชั้นในจิตใจแล้ว (Fictional Final ism) พฤติกรรมของคนเราจะถูกเร้าจาก
ความคิดนี้มากกว่าจะถูกเร้าจากประสบการณ์ที่เกิดชิ้นในวัยเด็กตามแนวความคิดของฟรอยด์ ลักษณะ
เชิงสมมตจิ ะทำให้เราเข้าใจปรากฎการณ์ทางจิต ทง้ั หมดของบุคคล หรืออาจกล่าวว่าการศึกษาเก่ียวกับลักณะ
เชิงสมมติ เป็นเป้าหมายสุดท้ายอันเดียวที่สมารถอธิบายฤติกรรมของมนุษย์ได้ ส่วนประสบการณ์ต่าง ๆ
ที่เกิดขึ้นในอดีต เช่น ประสบการณ์ที่บอบช้ำพัฒนาการทางเพศ รวมทั้งสัญชาตญานหรือแรงกระตุ้นต่าง ๆ
เปน็ เพียงสว่ นประกบของชวี ติ ท่ีจะนำไปสเู่ ปา้ หมายสุดทา้ ยเทา่ นั้น

แอดเลอร์อธิบายว่าการอบรมเลี้ยงดู สังคม ว้ฒนธรรมนบธรรมเนียม ประเพณี ค่านิยมในสังคม
สภาพแวดล้อมต่าง ๆ จะทำให้เกิดความคิดเชิงสมมุติขึ้นในจิตใจของบุคคลก็เท่ากับว่าประสบการณต์ ่างๆ ใน

6

ชีวิตจะทำให้คนเราสร้างลักษณะเชิงสมมุติชั้นในจิตใจ และถ้าปลูกฝังอยู่ในจิตใจแล้วลักษะ เชิงสมมติน้ัน
จะเป็นตัวกระตุ้นให้บุคคลกระทำพฤติกรรมต่าง ๆ ตามลักษณะเชิงสมมตินั้น ตัวอย่างเช่น คนที่เกิดใน
ครอบครัวที่มีการปฏิบัติในครอบครัว โดยเน้นเรื่องความ เสมอภาค เลี้ยงลูกโดยให้สิทธิเท่าเทียมกัน
ปลูกฝังในเรื่องเคารพในสิทธิรองผู้อ่ืน อยู่ในสังคมที่ไม่มีการแบ่งชั้นวรรณะ เป็นสังคมแบบประชาธิปไตย
สภาพแวดล้อมทางสังคมแบบน้ำจะหล่อหลอมความคิดเชิงสมมุติในจิตใจของคน ว่า "มนุษย์เกิดมา
เท่าเทยี มกนั " ลกั ษณะเชงิ สมมตุ ิท่ีฝังอยู่ในจติ ใจน้ีจะกระตนุ้ ให้บุดดลมบี ุคลิกภาพคำนึงถงึ ความเท่าเทียมกันสูง
เคารพในสทิ ธซิ ึ่งกันและกัน มีพฤตกิ รรมทางสงั คมตามระบอมประชาธิปไตย

แอดเลอร์ได้อธิบายเกี่ยวกับเรื่องการปรับตัวไว้ว่า คนที่ปรับตัวได้ดีคือคนที่สามารถทิ้งลักษณะเชิง
สมมตบิ างอย่างที่ไม่อาจเป็นจรงิ ในชวี ิตได้ และสามารถสร้างลักษณะเชงิ สมมติใหม่ ๆ ช้ันในจิตใจ ส่วนคนที่มี
ปญั หา เร่อื งการปรบั ตวั ไดแ้ ก่คนท่ี ไม่สามารถสลัดลกั ษณะเชงิ สมมตใิ นจิตใจทง้ิ ได้ ยึดถือเป็นจริงเป็นจังเกินไป
เช่น คนท่ีมบี ุคลกิ ภาพ ไม่ยดื หย่นุ ปรับตัวยาก ไม่ยอมรับตามสภาพความเปน็ จริง ตัวอยา่ งเชน่ คนท่ีถูกปลูกฝัง
ในเรื่องความชื่อสัตย์มาตั้งแต่เล็กมพี อ่ แม่เปน็ แบบอย่างทีด่ ี จนเป็นลักษณะเชิงสมมติในจิตใจ แต่สภาพสังคม
ปัจจุบันหาความชื่อสัตย์ค่อนข้างยาก เมื่อเผชิญกับสังคมที่ อารัดเอาเปรียบแสวงหาผลประโยชน์ใส่ตน
โดยไมค่ ำนงึ ถงึ ความถกู ต้องถา้ ไม่สามารถจะท้ังลักษณะ เชิงสมมุตนิ ้ีได้ คน ๆ นัน้ จะปรบั ตวั ยาก จะมีบุคลิภาพ
ขวางโลกสวนทางกับผอู้ ่ืน ดำรงชวี ติ อยคู่ อ่ นขา้ งยาก

2. การดนิ้ รนตอ่ สูเ้ พอ่ื ให้มีชีวติ ดีรน้ (Striving for Superiority)

หมายถึงการที่คนเราพยายามดิ้นรนต่อสู้ เพื่อทำให้ตนเองมีสถานะที่เหนือไปกว่าเดิม
ซึ่งในแต่ละบุคคลจะมีความมานะพยายามต่อสู้อุปสรรคไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับสภาพทางสังคม ตัวอย่างเช่น
ถ้าเด็กถูกเลี้ยงแบบทะนุถนอมมากเกินไปตั้งแต่เล็ก ไม่ต้องพยายามทำอะไรด้วยตนเอง เด็กจะรู้สึกว่า
ตนทำไม่ได้ไม่มีความสามารถต้องพึ่งพาคนอื่นตลอดเวลา การดิ้นรน ต่อสู้ก็น้อย จะมีบุคลิภาพ ไม่อดทน
ไม่ต่อสู้ ไม่พยายามฟันฝ่าอุปสรรค ตรงข้ามกับคนที่กว่าจะได้อะไรมาต้องต่ อสู้ ต้องอดทน
ตอ้ งใชค้ วามพยายามอยเู่ สมอ ก็จะมบี ุคลิกภาพขยนั มานะพากเพียรพยายาม หรือคนทเี่ กิดมาลำบากตัง้ แต่เล็ก
สงิ่ ทฝี่ งั อยู่ในจิตใจเขาคอื ต้องตอ่ สู้ ตอ้ งเอาชนะ ทำให้มีการด้ินรนต่อสเู้ พ่ือให้ชีวิตดีชนั้ สูง

แอดเลอร์อธิบายลักษณะการดิ้นรนต่อสู้ในลักษณะความต้องการรุกราน โดยมีจุดมุ่งหมายคือ
ได้มาซึง่ ความเหนอื กว่า มอี ำนาจเหนอื ซึง่ มผี ลทำใหส้ ถานภาพดีขน้ึ กว่าเดิม

7

ดังนั้นคนที่มีการดิ้นรนต่อสู้สูง จะเป็นคนที่มีบุคลิกภาพชอบแข่งขัน ไม่ยอมแพ้อะไรง่าย ๆ มีความ
มานะที่จะเอาชนะอุปสรรค เปน็ คนอดทน ซึ่งบุคลิกภาพดงั กล่าวสมั พนั ธก์ บั การประสบความสำเรจ็ ในชวี ติ

3. ความรสู้ กึ ดอ้ ยและการชดเชย (Inferiority Feel ing and Compensa-tion)

แอดเลอร์มีความเห็นว่า ความบกพร่องทางด้านร่างกายและจิตใจของคนเราเป็นชนวนก่อให้เกิด
ความรู้สึกที่เรียกว่า "ปมด้อย" และจากความรู้สึกนี้เองทำให้คนเราต้องหาสิ่งที่มาชดเชย ซึ่งสิ่งนั้น
ต้องเด่นพอที่จะล้มล้างความรู้สึกด้อยได้ ถ้าทำได้สำเร็จความรู้สึกด้อยก็จะหายไปหรือลดลงหรือจะกล่าวว่า
คนเราพยายามแสวงหาปมเดน่ เพ่อื มาปกปิดปมดอ้ ยนั้นเอง

เกี่ยวกับความรู้สึกด้อยและการชดเชย แอดเลอร์ได้สังเกตจากพฤติกรรมของคนไข้ในขณะที่เขา
เป็นแพทย์ เขาอธิบายเรื่องนี้ว่าคนเราโดยนกำเนิดร่างกายบางส่วนจะมีลักษณะอ่อนแอทำให้มีแนวโน้ม
ที่จะเป็นโรคต่าง ๆ ซึ่งเป็นลักษณะด้อยของร่างกายแต่เขาได้ขยายความคิดออกไปในเรื่องความด้อย
ทางจิตใจด้วย สาเหตุที่สำคัญที่ทำให้คนรู้สึกด้อยทางใจก็ได้แก่สภาพแวดล้อมทางสังคมที่คนเราเผชิญมา
ตั้งแต่เกิด ถ้าคนเรารู้สึกด้อยอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ว่าร่างกายหรือจิตใจก็ต้องหาสิ่งชดเชยการพยายามหา
สิ่งชดเชยนัน้ จะเปลี่ยนเป้าหมายไปเร่ือย จนกวา่ จะไดส้ ่ิงชดเชยท่ีทำใหค้ วามรู้สกึ ด้อยนนั้ ลดลง ถ้าหาสิ่งชดเชย
ไม่สำเร็จ หรือสิ่งชดเชยนั้นไม่มีฤทธิ์ผลก็อาจทำให้คนเราหาทางออกอื่น ๆ เช่น สร้างขึ้นเอง โดยสร้างโลก
ขึน้ มาใหม่ลมื โลกแหง่ ความเปน็ จรงิ คอื เป็นโรคจิตโรคประสาทนน่ั เอง แอดเลอรบ์ อกว่าการที่คนเราดิ้นรนต่อสู้
เพือ่ ใหต้ นองดขี น้ั กเ็ ป็นการชดเชยอย่างหนง่ึ

แอดเลอร์อธิบายว่า การที่คนเรามรี ะยะเวลาเปน็ ทารกหรือเปน็ เดก็ อยูน่ านย่อมีอิทธิพลต่อความรู้สึก
เกี่ยวกับตเองเป็นอย่างย่ิง ในเมื่อเด็กต้องอยู่ทา่ มกลางผู้ใหญ่ซึ่งมีอำนาจเหนือกวา่ ตนทุกอย่าง เด็กก็ย่อมเกิด
ความรู้สึกด้อยเป็นธรรมดา ความรู้สึกด้อยน้ี ทำให้คนเราต้องดิ้นรนต่อสู้เพื่อลบล้างให้ตนมีฐานะ
เท่าเทียมผูใ้ หญ่

4. ความสนใจสังคม (Social Interest)

ในระยะแรก ๆ แอดเลอรไ์ ด้ให้ความสนใจเก่ียวกับแนวความคิดทงั้ 3 เรือ่ งทก่ี ล่าวมาแลว้ ค่อนข้างมาก
ส่วนความสนใจทางสังคมเขาพึ่งมาให้ความสนใจเป็นพิเศษในระยะหลังนี้เอง เขาอธิบายว่าความสนใจ

8

ทางสังคมเป็นตัวการสำคัญในพัฒนาการของบุคลิกภาพ สังคมเป็นผู้สอนให้ ครูคนแรกได้แก่พ่อแม่
นอกจากนนั้ พ่นี อ้ งและสภาพแวดล้อมทางสงั คมกม็ สี ว่ นสร้างความสนใจทางสงั คมด้วยเชน่ กัน

แอดเลอร์อธิบายว่า ความสนใจทางสังคมเป็นธรรมชาติของคนเราที่จะแสดงถึงความเข้มแข็ง
และความอ่อนแอ คนที่เข้มแข็งคือคนทีม่ ีพลังความสนใจทางสังคมมาก ในทางตรงข้ามคนที่อ่อนแอจะมีพลงั
ความสนใจทางสังคมน้อย คนที่มีความสนใจสังคมสูงมีความกล้าเผชิญไม่หลีกหนีสภาพแวดล้อมกล้วจนถึง
กับถอยหนไี ปจากความจรงิ

สำหรบั คนทม่ี ีปญั หาแอดเลอร์แนะนำให้สำรวจความสนใจทางสงั คมก่อน ถ้าพบว่ายังมคี วามสนใจทาง
สังคมอยู่กม็ หี วงั รกั ษาใหห้ ายได้ ถา้ สำรวจแล้วพบวา่ ไม่มีความสนใจทางสงั คมมีแต่ความสนใจตนเองจะรักษาได้
กต็ อ้ งกระตนุ้ ให้ เกดิ ความสนใจทางสงั คมก่อน

แอดเลอร์มีความเห็นว่า คนเราจะพัฒนาความสนใจทางสังคมขึ้นเรื่อย ๆ เป้าหมายสูงสุดก็คือ
ความสนใจเกี่ยวกับความสมบูรณ์แบบของสังคม เป็นความสนใจเพื่อสังคมไม่ใช่เพื่อตนเอง การที่คนเรา
จะพัฒนาความสนใจไปถงึ จดุ นี้ได้จะตอ้ งผา่ นประสบการณม์ ามากพอสมควร

5. แบบของการดำเนินชีวติ (Style of Life)

ลักษณะที่กล่าวมาแลว้ ท้ัง 4 อย่างข้างต้น ล้วนมีอิทธิพลตอ่ แบบของการดำเนินชีวิตของคนเราท้งั สิน้
เช่น คนที่มีลักษะเชิงสมติในจิตใจว่า "ความชื่อสัตย์เป็นสิ่งที่ดี" เขาก็จะมีวิถีทางการดำรงชีวิต คือ
เป็นคนชื่อสัตย์ ในการตัดสินใจเร่ืองต่าง ๆ ก็จะคำนึงถึงความชือ่ สตั ยเ์ ป็นใหญม่ ีแนวโนม้ ที่จะคบคนที่ชื่อสัตย์
เหมือนกัน ส่วนคนที่รู้สึกด้อยมากทำให้มีพลังดิ้นรนต่อสู้เพื่อลบล้างความรู้สึกด้อยสูง ก็จะมีแบบ
ของการดำเนินชีวิตที่ชอบการแข่งขัน ชอบเอาชนะ ไม่ยอมแพ้อะไรง่าย ๆ ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคเป็นคนท่ี
กระตือรือร้นต่อชีวิตตลอดเวลาหรือคนที่มีความสนใจทางสังคมสูงก็จะมีวิถีทางของบุ คลิกภาพ
กล้าเผชิญกับสภาพแวดลอ้ ม ไม่ถอยหนีออกจากสังคม เป็นต้น

แอดเลอรไ์ ด้ให้ความสนใจกับลกั ษณะหนง่ึ ทมี่ ีผลตอ่ แบบของการดำเนนิ ชวี ิตโดยตรง ไดแ้ ก่สามัญสำนกึ
(Common Sense) เขาอธิบายว่าสามัญสำนึกจะช่วยให้มีวิถีทางดำเนินชีวิตไปในทางสร้างสรรค์ไม่ใช่ทาง
ทำลาย หรือเปน็ ตัวช้ีนำใหเ้ ลือก และตดั สนิ ใจได้อยา่ งเหมาะสม

9

6. ตนเองท่ีสร้างสรรค์ (Creative Self)

แอดเลอร์มีความเห็นว่า "ตน" (Self) มีลักษณะสร้างสรรค์ (Creative) หล่อหลอมมาจากพันธุกรรม
และสิ่งแวดล้อม พันธกุ รรมกำหนดลกั ษณะของความสามารถเฉพาะ อย่างมาใหส้ ิง่ แวดลอ้ มจะทำให้คนเรารู้สึก
ต่อสิ่งต่าง ๆ องค์ประกอบทั้งสองอย่างผสมผสานกันช่วยในการตีความหมาย รวมตัวกันเป็น ทัศนคติ
ต่อสิ่งต่าง ๆ ในสังคมเป็นการแสดงออกที่เป็นเอกลักษณะเฉพามีเข้าหมายมีวิถีทางดำเนินไปสู่เข้าหมาย
ที่เปน็ แบบแผนเฉพาะของแตล่ ะบุคคล

10

วถิ ชี ีวติ

11

วถิ ีชีวติ

แอดเลอร์อธิบายวา่ วิถชี ีวิต หมายถงึ แบบแผนในการดำเนนิ ชวี ติ ของบคุ คลซงึ่ ไม่มใี ครเหมอื นกับคนอ่ืน
เป็นบุคลิกภาพเฉพาะตัวมีมาตั้งแต่วัยเด็ก ซึ่งสิ่งเป็นที่คอยทำหน้าที่กำหนดชีวิตของบุคคลทั่วไป
รวมถึงการใฝ่สร้างตัว (Creative Self) เป็นแรงจูงใจที่ต้องการใช้ชีวิตให้คุ้มค่าให้มีความหมายตามที่ตัวเอง
คาดหวังไว้ โดยแอดเลอรไ์ ดแ้ บ่งลกั ษณะของวิถชี ีวติ ออกเปน็ 4 แบบคือ

1. แบบปกครอง (Ruling) มีความก้าวร้าว ต้องการมีอำนาจเหนือคนอื่น ไม่มีความสนใจ
ทางดา้ นสังคมและวฒั นธรรม

2. แบบหลกี เลย่ี ง (Avoiding) มีต้องการทีจ่ ะหลีกเลีย่ งปญั หาต่าง ๆ ในชวี ิต และมสี ว่ นรว่ มในกจิ กรรม
สรา้ งสรรค์ทางสงั คมบางส่วน

3. แบบผูร้ บั (Getting) มีความต้องการพ่งึ พาผอู้ ่ืน ชอบเปน็ ฝ่ายรับมากกวา่ ฝา่ ยให้

4. แบบเปน็ ประโยชนต์ อ่ สังคม (Socially Useful) มีความสนใจกิจกรรมทางด้านสงั คมเปน็ อย่างมาก

12

การศกึ ษาวจิ ยั ของแอดเลอร์

13

การศึกษาวจิ ยั ของแอดเลอร์

1. การศึกษาเก่ียวกับลำดบั การเกิดท่ีมอี ิทธพิ ลต่อบคุ ลิกภาพ

แอดเลอร์มีข้อสังเกตว่า ความสัมพันธ์ระหว่างพ่ีน้อง ทัศนคติของพ่อแม่ที่มีต่อลูกมีความสำคัญ
ตอ่ บคุ ลกิ ภาพมาก

เขาศึกษาบุคลิภาพของลูกคนโต คนกลาง และคนสุดท้อง พบว่ามีบุคลิกภาพแตกต่างกันโดยสิ้นเชงิ
สรุปได้ดงั นีค้ อื

1.1 ลูกคนโต เป็นลูกที่ทุกคนในครอบครัวให้ความรัก ความสนใจมาก เพราะตื่นเต้น
กับลูกคนแรกเป็นศูนย์กลางความเอาใจใส่ของผู้ใหญ่ ความสนใจนี้จะลดลง เมื่อมีลูกคนที่สอง
ความเอาใจใส่ทั้งหลายที่ผู้ใหญ่เคยมีต่อลูกคนโตจะหันไปที่น้อง พ่อแม่ต้องเอาใจใส่น้อง
เพราะนอ้ งยังเล็กยงั ชว่ ยตัวเองไม่ได้ ฉะนั้นลกู คนโตจะมีความร้สู กึ ในเรอ่ื งความดอ้ ยว่าถกู แย่งความรัก
จึงทำให้ลูกคนโตต้องต่อสู้ควถิ ีทางเพ่ือแย่งความรักกลับคืนมา การต่อสู้นั้นอาจจะออกมาในรปู แบบ
ของพฤติกรรมการพยายามเอาอกเอาใจพ่อแม่ เพื่อให้รักตนยิ่งขึ้นหรืออาจจะทำพฤติกรรม
เหมอื นน้องเพอื่ แม่จะไดใ้ ห้ความเอาใจใส่บ้าง ดังนนั้ เรามักจะพบเสมอในเดก็ อายุประมาณ 3, 4 ขวบ
ซึ่งเลิกปัสสาวะรดที่นอนแล้วกลับมาปัสสาวะอีกเมื่อมีน้องใหม่ หรือมีพฤติกรรมรังแกน้อง
ด้วยเหตุลูกคนโตมักจะมีบุคลิกภาพเป็นคนระมัดระวังตัวไม่ค่อยไว้ใจใครง่าย ๆ
มีความสนใจเรื่องอดีต ถ้าเลี้ยงดีจะเป็นคนเอาจริงเอาจังกบั ชีวิตรับผิดชอบสูง เป็นผู้นำ ชอบปกป้อง
ผู้อื่น แต่อย่างไรก็ตามมักจะมีความไม่มั่นใจแทรกอยู่ แต่ถ้ายังไม่ดีพ่อแม่ทำให้ความอิจฉามากขึ้น
เด็กรู้โกรธแค้น จะพัฒนาบคุ ลิกภาพก้าวร้าว เจ้าอารมณ์ มีความคิดเคียดแค้นอยู่เสอ จากสติติพบว่า
คนทีเ่ ป็นโรคจติ โรคประสาทพวกอาชญากรพวกตดิ ส่ิงตา่ ง ๆ มักจะเป็นลูกคนโต

1.2 ลูกคนรอง พ่อแม่มีประสบการณ์เลี้ยงลูกคนแรกมาแล้ว ดังนั้นในการเลี้ยงลูกคนต่อมา
จะผ่อนคลายความวิตกกังวลลงไป การที่พอ่ แม่เล้ียงลูกโดยปราศจากความกังวลจะมีผลให้ลูกคนรอง
มีคลิกภาพไม่ค่อยเคร่งเครียดเอาจริงเอาจังนัก ไม่สนใจในเรื่องความรับผิดชอบมากเท่าลูกคนโต
แต่ลูกคนรองเกิดมาพร้อมกับคู่แข่งที่เหนือกว่าทุกด้าน ไม่ว่าจะด้านร่างกายและความสมารถ
คือพี่คนโต ดังนั้นความรู้สึกด้อยในลูกคนรองทำให้มีความต้องการเอาชนะต่อสู้เพื่อให้เท่าเทียมกับ
ลูกคนรองจะมบี คุ ลิกภาพทะเยอทะยาน นสิ ัยชอบแขง่ ขันจะปรากฏชดั ในลูกคนรอง

14

1.3 ลูกคนสุดท้อง เกิดมาที่หลังโดยมากพ่อแม่หรือผู้ใหญ่จะหันมาสนใจลูกคนเล็กอีก พี่ ๆ
ก็เห็นว่าไม่มีทางสู้ตนได้ก็ไม่ค่อยรู้สึกว่าเป็นคู่แข่ง พ่อแม่พี่ ๆ จะพากันให้ความสนใจลูกคนเล็ก
จะได้รับการพะเน้าพะนอตามใจมาก ซึ่งก็เป็นผลดีและผลเสีย ผลดีเด็กจะเกิดความรักนับถือตนเอง
เรยี นร้ทู ่จี ะรกั นบั ถือผู้อ่ืนดว้ ย ความรู้สึกอจิ ฉารษิ ยาไม่ค่อยมี ในเรอ่ื งความรู้สึกด้อยลูกคนเล็กจะรู้สึก
ว่าด้อยกว่าคนทั้งบ้าน แข่งขันกับคนทั้งบ้านไม่ไหว ดังนั้น ลูกคนเล็กกจะมีบุคลิกภาพ
ชังประจบประแจงเป็นที่เอ็นดูของคนทั้งบ้าน ส่วนผลเสียคือลูกคนเล็กเป็นเด็กนิสัยเสีย
เพราะถูกตามใจมาก มักจะมีพฤติกรรมเด็กกว่าวัย ถ้ามีปัญหามาก จะมีบุคลิกภาพชอบพึ่งพาผู้อื่น
มีนิสัยชอบเอาแต่ใจตนเอง

1.4 ลกู โทนหรอื ลกู คนเดยี ว เนอื่ งจากไม่มพี ่นี ้อง ลูกคนเดียวจงึ ได้รับความรัก ความเอาใจใส่
จากพ่อแม่อย่างมากโดยเฉพาะแม่ท่ีคอยเอาอกเอาใจเป็นพิเศษ ลูกโทนมักจะติดแม่มากกว่าพ่อ
เมื่อโตขึ้น เด็กอาจมีปัญหาเรื่องมนุษยสัมพันธ์กับผู้อื่นหากเขาไม่ถูกเอาใจ มักจะมีบุคลิกภาพ
ที่มักจะเอาแต่ใจตนเอง เนื่องจากถูกตามใจจนเคยตัว แต่ถ้าครอบครัวสอนให้รู้เหตุรู้ผล ลูกโทน
จะมีความเชื่อมั่นในตนเอง องอาจ นับถือตนเอง แต่ความรับผิดชอบอาจน้อยเพราะต้องการ
อะไรก็มักจะไดโ้ ดยง่ายจงึ ไม่รคู้ ่าของสิ่งท่มี ี

2. การศึกษาเกี่ยวกบั ประสบการณ์ในวยั เด็ก

ประสบการณ์ในวัยเด็ก (childhood experience) หมายถึง ประสบการณ์ที่เด็กไ ด้รับ
จากการอบรมเลี้ยงดูในระยะแรกของชีวิตตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 5 ปี ซึ่งแอดเลอร์ได้ให้ ความสนใจ
ประสบการณ์เหล่านี้เป็นกรณีพิเศษทั้งน้ี เพราะเขาเชื่อว่าเป็นปัจจัยที่มีผลต่อบุคลิกภาพเป็นอย่างย่ิง
ประสบการณท์ เี่ ด็ก ไดร้ ับดงั กลา่ วแบง่ เปน็ 3 ลกั ษณะ คอื

2.1 เด็กทเ่ี ล้ียงดูแบบตามใจ (Spoiled Child) แอดเลอร์เห็นว่าการตามใจลกู หรอื ทะนุถนอม
ลูกจนเกนิ ไปจะทำให้เด็กเสยี คนไม่สามารถจะพัฒนาตนเองในการอยู่ร่วมกับบุคคลอ่ืนได้ ขาดเหตุผล
เอาแต่ใจ เห็นแก่ตัว เรียกร้องสิ่งที่ตนต้องการจากสังคมเพียงฝ่ายเดียว โดยไม่คิดจะตอบแทนผู้อื่น
หรอื สงั คมเลย

2.2 เด็กที่ถูกทอดทิ้ง (Neglected Child) หมายถึง เด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูแบบ
ปล่อยปละละเลยขาดความเอาใจใส่ เน่ืองจากพ่อแม่เสียชีวิต แยกทางกัน หรือเกิดจากปัญหา

15

ทางเศรษฐกิจ รวมไปถึงถูกทอดทิ้งเพราะพอ่ แมเ่ กลียดชงั ไมต่ อ้ งการลกู เดก็ ทีอ่ ยใู่ นสภาพเช่นน้ีจะรู้สึก
เกลียดชังพ่อแม่ตนเองและคนรอบข้าง ทำให้มีบุคลิกภาพเป็นคนมองโลกในแง่ร้าย เห็นทุกคน
เป็นศัตรูกบั ตน เปน็ พวกตอ่ ต้านและแกแ้ ค้นสังคม ชอบขม่ ขู่ วางอำนาจ ปรับตัวเขา้ กับผอู้ นื่ ไดย้ าก

2.3 เด็กที่ได้รับความรักความอบอุน่ อยา่ งสมบูรณ์ (Warm Child) หรือเลี้ยงดูแบบใช้เหตผุ ล
กับลูก เด็กที่ได้รับประสบการณ์ที่ดเี ช่นนี้จะทำให้เป็นคนที่มีเหตุผล กล้าคิด กล้าพูด กล้าทำ มีจิตใจ
และความคิดเปน็ ประชาธิปไตย มองโลก ในแง่ดี ร่าเรงิ แจ่มใส และเอาใจใส่ผู้อื่นซ่ึงเป็นบุคลิกภาพที่
พงึ ประสงคข์ องสังคม

3. ความรู้สึกว่ามปี มดอ้ ยและสร้างปมเดน่ ชดเชย

ความรสู้ ึกว่ามีปมดอ้ ยและสรา้ งปมเด่นชดเชย (Inforiority Feeling and Compensation) แอดเลอร์
เชื่อว่ามนุษยท์ ุกคนมปี มด้อย ซึ่งในระยะแรกจากการสังเกตผู้ป่วยที่มารับบริการรักษาในคลินิกของแอดเลอร์
พบว่าในวัยเด็กคนไข้ เหล่านี้มักมีความบกพร่องทางร่างกายเป็นส่วนใหญ่ แต่ต่อมาจึง พบว่านอกจากสภาพ
ร่างกายที่เป็นปมด้อยแล้วยังเป็นผลมาจาก ประสบการณ์ต่าง ๆ ที่บุคคลได้รับจากสังคม ปัจจัยเหล่านี้
จะกลายเป็นปมด้อยของแต่ละคนก็ต่อเมื่อบุคคลนั้นเกิดการปฏิสัมพันธ์ (Interaction) กับบุคคลอ่ืน
แล้วมีการเปรียบเทียบซึ่งกันและกันไมว่ ่าจะเป็นรูปรา่ ง หน้าตา สภาพทางร่างกาย ความสามารถ สถานภาพ
ทางสังคม ฐานะความเป็นอยู่ การยอมรับ ซึ่งปกติโดยทั่วไปแล้วแต่ละคนมักจะมองเห็นว่าสิ่งท่ีตนเองมีอยู่นั้น
ไม่สมบูรณ์สู้คนอื่นไม่ได้หรือเป็นปมด้อยเสมอ และความรู้สึกว่า เป็นปมด้อยนี้เองทำให้เกิดเป็นแรงผลักดัน
ในการที่จะดิ้นรนเพื่อเอาชนะปมด้อยของตน โดยการสร้างปมเด่น (Superiority Complex) ขึ้นมา
เพือ่ ทำใหเ้ กดิ รสู้ กึ มั่นใจ ภมู ิใจ พงึ พอใจ และเป็นที่ยอมรับของบุคคลท้งั หลายในสงั คม

Cloninger ได้สรุปวธิ ีการเล้ียงลกู อย่างเหมาะสมตามทรรศนะของแอดเลอร์ไวด้ งั น้ี

1) พ่อแม่ควรสนับสนุนให้กำลังใจลูกในการกระทำสิ่งต่าง ๆ อย่างเหมาะสม มากกว่าการทำโทษ
หรอื ว่ากลา่ วเมื่อลูกทำในส่ิงท่ีตนไม่พอใจ

2) พ่อแมส่ ามารถเปน็ คนเครง่ ครัดกับเรื่องระเบยี บวนิ ัย ได้แต่ไม่ควรออกคำส่ังหรือเลย้ี งดเู สมือนว่าลูก
เปน็ ผู้ใตบ้ ังคบั บญั ชาตน

16

3) พ่อแม่ควรเอาใจใส่และเคารพในความคิดเห็นหรือ การตัดสินใจของลูกถ้าสิ่ง ๆ นั้นเป็นสิ่งที่ไม่ผิด
และไมส่ ร้างความเดอื ดรอ้ นให้แก่ใคร

4) พ่อแม่ควรเน้นการมีส่วนร่วมคือ ให้ลูกได้มีส่วน ร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ของพ่อและแม่
ลูกจะได้เรียนรูก้ ารปรับตวั และทำกจิ กรรมร่วมกบั ผูอ้ ื่นต่อไป

5) อย่าให้ความสนใจกับลูกมากเกินไปเพราะเขา อาจจะรู้สึกอึดอัดและไม่มั่นใจในการทำ
กิจกรรมตา่ ง ๆ ด้วย ตนเอง

6) ควรตระหนักไว้ว่าการกระทำสำคัญกว่าคำพูด ดังนั้นจงสั่งสอนลูกโดยเป็นต้นแบบที่ดี
ให้เขาเหน็ มากกวา่ สั่งสอน แตเ่ พยี งทางวาจา

7) อย่าแสดงความเห็นใจหรือสงสารลูกมากเกินไป มิเช่นน้ันเขาอาจจะเป็นคนไม่เข้มแข็ง
เวลาที่เกดิ ปญั หาหรอื ภาวะคับข้องใจเพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ เขาอาจต้องพ่ึงพาพ่อแม่ตลอดเวลาไม่สามารถแกไ้ ข
ปัญหาดว้ ยตนเอง ซึ่งสง่ ผลตอ่ บคุ ลกิ ภาพของลกู ตอนโตได้เขาอาจเปน็ ผ้ใู หญ่ที่ไม่มคี วามเช่อื ม่นั ในตนเอง

17

วธิ กี ารใชกลวธิ ปี องกนั ตนเองของแอดเลอร์

18

วธิ กี ารใชกลวิธีปองกนั ตนเองของแอดเลอร์

วิธีการใช กลวิธีป องกันตนเอง (Safeguarding Devices) แทนการใช กลไกป องกันตนเอง
(mechanism of defense) เชนเดียวกับของฟรอยดในการปกปอง ego จากความวิตกกังวลแอดเลอร์
พฒั นาสิ่งท่ีเรียกวากลวิธีปองกันตนเอง (Safeguarding)

Excuses เปนคําท่ีแอดเลอรใชซึ่งจะเหมือนกับคําวา rationalization (การหาเหตุผลเขาขางตัวเอง)
ของฟรอยดตวั อยางเชน ใชแต (yes, but) คนท่ีไมชอบการเดินทางอาจจะพดู วา “ใช ฉันอยากไปเท่ียวภูเขา
แตฉันคิดวาการจราจรคงจะอันตรายมากในชวงวันหยุด” หรือ ถาเพียงแต (if, only) ซึ่ง excuse ก็อาจจะ
พดู วา “ถาเพียงแตฉนั ไดเขาเรยี นในมหาวทิ ยาลยั ฉันกจ็ ะไดรบั การเลื่อนตาํ แหนง”

Aggression จากงานเขียนในระยะแรกความกาวราวเปนแรงขับปฐมภูมิ (primary driving force)
แตเม่ือแอดเลอรมองวาพื้นฐานของมนุษยวางอยูบนพ้ืนฐานของการแสวงหาความเปนเลิศ aggression
กลายเปนกลวิธีปองกันตนเอง Depreciation เปนแนวโนมของการที่จะประเมินความสามารถของผูอื่นต่ำ
และประเมนิ ความสามารถของตนเองสูง “เหตุผลเดียวทยี่ ศไดงานที่ฉนั สมัครกเ็ พราะเปนผูชาย”

Oversolicitousness เปนผลมาจากการอนุมานเอาเองวาคนอ่ืนไมสามารถที่จะดูแล ตัวเองไดเชน
“ตุ ก เธอทําเองไม ไดหรอกให ฉันชวยดีกว า” หรือ “ให ฉันยกกระเป าให ดีกว า เธอไม มีทางยกลง
จากรถไดหรอก”

Distance เป นลักษณะของการหนีจากบางอย างท่ีขวางอยู ระหว างตนเองกับป ญหา เช น
การหนีจากป ญหาในชีวิตประจําวันโดยการสร างระยะห าง (ระยะทาง-distance) ระหว าง ตัวเอง
กับปญหา สวน moving backward การปกปองความภาคภูมิใจของตัวเองดวยการ ยอนกลับไปสูวัยเด็ก
ซึ่งจะเหมือนกับ regression ของฟรอยดเชน ภรรยาพูดกับสามี “ถาทําแบบนี้ฉันจะกลับไปอยูกับแมดีกวา”
standing still จะคล าย fixation ของฟรอยด ด วยการหลีก หนีอันตรายด วยการไม ก าวเดินต อไป
ซึ่งเปนการปองกันตัวเองจากการเขาใกลสิ่งที่เปนจริงของชีวิต หรือพูดไดวา “ถาไมทําอะไรบางครั้งปญหา
ก็จะแก ไขได ด วยตัวของมันเอง” (If one does nothing, the problem sometimes solves itself)
hesitalation เป นลักษณะของการปล อยเวลาให ผ านไป ทิ้งงานค างเอาไว เพราะไม สามาร ถ
ทีจ่ ะตัดสนิ ใจไดผลัดวนั ประกนั พรุงไปไม่ยอมทาํ และจะบอกวา “It’s too late now”

Exclusive tendencies เปนเร่ืองสุดทายของแอดเลอรซึ่งการสรางกําแพงปกปอง ตัวเองจากสังคม
โดยเฉพาะจากชุมชน คือการหลีกหนีจากการมีความสัมพันธ กับสังคม หรือพูดงายๆ คือการที่คน ๆ
นั้นหรือกลุ มน้ันมีความยากลําบากในการท่ีจะติดต อกับผู อื่นในระดับบุคคลคือการที่ยากลําบาก
ในการที่จะส่ือสารดวย และในระดบั กลุมจะเปนกลุมพเิ ศษที่มกี ารแบงแยกตอตานผูอน่ื ดวยเหตผุ ลเฉพาะกล่มุ

19

การนำไปประยกุ ต์ใช้

20

การนำไปประยุกต์ใช้

ตามทฤษฎีของแอดเลอร์ เขาจึงมองว่าปมด้อยเป็นแรงผลักดันที่ทำให้เกิดปมเด่น ดังนั้นปมด้อย
จงึ ไมใ่ ช่เร่อื งผิดปกติหรอื เปน็ เรือ่ งเสียหายอะไร ในทางตรงกันขา้ มปมด้อยดูเหมอื นจะเป็นเรอ่ื งจำเป็นอยู่นิด ๆ
ด้วยซ้ำไป เพราะถือว่าเป็นแรงผลักดันที่จะช่วยพัฒนาตัวบุคคลที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง
หากบุคคลนนั้ ใชพ้ ลงั ปมด้อยของตนเองไปสร้างปมเด่นอยา่ งสร้างสรรค์ เช่น

เด็กที่รู้ตัวว่าเรียนไม่เก่งเพราะมีระดับของสติปัญญาไม่สูงเท่าคนอื่น จึงหันไปสร้างปมเด่น
ด้วยการฝึกฝนทักษะทางด้านกีฬาจนกระทั่งประสบความสำเร็จในฐานะนักกีฬา หรือเด็กที่รู้ตัวว่าฐานะ
ไม่ดีก็ตั้งใจเรียนเพื่อให้ได้รับทุนกาศึกษาและก็เรียนไปเรื่อย ๆ จนสามารถที่จะพัฒนาชีวิตของตนเอง
ทั้งในแง่ของฐานะและสงั คมให้ดยี ่งิ ข้ึนมากกวา่ ที่เคยเป็น

แต่อย่างไรก็ตาม หากแรงผลักดันนี้ถูกใช้ไปในทางที่ผิด มันก็จะก่อให้เกิดปัญหาตามขึ้นมา
เป็นอย่างมากด้วยเช่นกัน เช่น คนที่มีฐานะยากจนบางคนอาจเลือกที่จะไปเป็นนักค้ายาเสพติด
เพื่อผลักดันตัวเองไปสู่ฐานะทางสังคมที่ดีกว่าตามความเข้าใจของเขา หรือคนบางคนก็พยายาม
ที่จะนักเลงหัวไม้ คอยแต่จะระรานเอาเปรียบคนอื่น ๆ ที่อยู่รอบตัว เพื่อชดเชยความรู้สึกว่าตัวเองอ่อนแอ
และเคยถกู ข่มเหงในวัยเด็ก เปน็ ตน้

ดัง น ั้น ก าร แปร ร ูปแร ง ผลัก ดัน จาก ปมด้อ ยไ ปสู่ปมเด่น ใน ทิศทาง ที่สร ้าง ส ร ร ค์
จึงเป็นเรื่องท่ีมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง บางทีปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบันก็อาจจะ
เกิดมาจากแรงผลักดันที่ผิดที่ผิดทางนี่แหละ หากสามารถปรับแต่งแรงผลักดันที่มีอยู่ให้มุ่งไป
สู่ความสร้างสรรคไ์ ด้ มันก็ยอ่ มทีจ่ ะเปน็ ประโยชนต์ อ่ ตนเองไมน่ อ้ ยเลยทเี ดยี ว

ตามทฤษฎีของแอดเลอร์ พวกเราทุกคนล้วนมีปมด้อย (ไม่มากก็น้อย) และไม่สามารถที่จะหลีกหนี
ความมีปมด้อยไปได้ แต่สิ่งที่เราทำได้อย่างแน่นอนคือเปลี่ยนมันให้เป็นพลังที่สร้างสรรค์ เพื่อทำให้
เราพัฒนาชีวิตไปสู่ความสุขและความสำเร็จได้อย่างแท้จริง กระบวนการสะกดจิตบําบัดคือวิธีการหน่ึง
ซึ่งเราสามารถใช้ในการจัดการกับแรงผลักดันที่อยู่ภายในตัวตนของเราได้อย่างยอดเยี่ยม การสะกดจิต
จะเป็นเครื่องมือในการบอกกับจิตใต้สำนึกของเราว่าสำหรับปมด้อยที่มีอยู่นี้มันควรทำอย่างไร
ควรไปในทศิ ทางไหนจึงจะเปน็ การสร้างสรรค์อย่างแทจ้ รงิ เปลยี่ นปมดอ้ ยท่มี ใี ห้เปน็ พลังงานทส่ี ร้างสรรค์!!

เอกสารอา้ งองิ

กนั ยา สวุ รรณแสง. (2550). จิตวิทยาทว่ั ไป. กรุงเทพฯ : อักษรพิทยา.

นวลละออ สุภาผล. (2527). ทฤษฎีบุคลิกภาพ. กรุงเทพฯ : ภาควชิ าจติ วิทยา

คณะมนษุ ยศาสตร์ มหาวทิ ยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมติ ร.

ศรีเรือน แก้วกังวาล. (2551). ทฤษฎจี ิตวทิ ยาบุคลกิ ภาพ. (พิมพ์ ครงั้ ท่ี 15). กรุงเทพฯ:

สำนกั พิมพห์ มอชาวบ้าน.

Corey, Gerald. (2012). Theory & practice of group counseling. (8'h ed.).
Belmont, CA: Brooks/Cole.

Mishne, J. M. (1993). The evolution and application of clinical theory:
Perspectives from four psychologies. New York: The Free Press.

Siddharth Nayak. (2016). What are different levels of consciousness and
thinking?. Retrieved March 1, 2017, from https://www.quora.com/
What-are-different-levels-of-consciousness-and-thinking.




Click to View FlipBook Version