วรรณคดไี ทย....มิใช่แคจ่ ินตนาการ...!!!
แต.่ ..สะท้อนชาต.ิ ..สรา้ งสรรค์สงั คม...
โดย เรอื อากาศเอกหญิง กิตติกร สุขทวี
เมอ่ื เอ่ยถงึ วรรณคดไี ทย ผ้ทู ไ่ี มค่ อ่ ยสนใจนักมักมองเปน็ เรื่องของจนิ ตนาการ ภาพเพอ้ ฝัน
เพียงเพราะไดฟ้ ังแตน่ ทิ านพนื้ บา้ นหรือส่ือทางโทรทัศน์ทถี่ า่ ยทอดออกมาอยา่ งเกินจรงิ และละเลยการ
ถ่ายทอดเนอ้ื หาสาระทแ่ี ทจ้ รงิ ของวรรณคดี ทาใหห้ ลายคนไมอ่ าจเข้าใจเนื้อหาหรือคุณค่าของ
วรรณคดีไทยอยา่ งแทจ้ รงิ เยาวชนไทยบางกลุ่มจึงมองไมเ่ หน็ คุณคา่ ท่จี ะสามารถนาข้อคิดหรือ
เหตกุ ารณบ์ างอยา่ งจากวรรณคดีมาเปน็ หลักในการแก้ปญั หาและสร้างสงั คมไทยในปัจจุบันได้
วรรณคดีไทยหลายประเภทท่ีผู้แต่งตั้งใจแต่งข้ึนเพือ่ เปน็ กุศโลบายทางการเมือง หรือเพ่ือสง่ั
สอนประชาชนใหป้ ระพฤติอยู่ในทานองคลองธรรม ให้ตั้งม่ันในศลี ธรรม ทาใหไ้ มม่ ปี ญั หาบา้ นเมอื ง
เชน่ สมยั สโุ ขทยั มี ไตรภมู ิพระร่วง พระราชนิพนธโ์ ดย พระยาลไิ ท กษัตริย์กรงุ สโุ ขทยั ซง่ึ มเี นื้อหา
สอนปรัชญาทางพทุ ธศาสนา ดังการพรรณนาถึงนรกบ่าว ดงั นี้
“คนฝงู ใดอนั เจรจาซ้ือสิ่งสนิ ท่าน แลไปพรางวา่ จะให้เบย้ี ให้เง่ือนท่าน แลตนใส่กลเอาสินทาน
ด้วยตาชั่งกด็ ี ด้วยทนานกด็ ี ก็ใส่กลให้เขาพลัง้ เขาพลาด และประหยดั ส่ิงสินเขา แลบม่ ิได้ให้เงอื นแก่
เขา ครั้นว่ามนั ตายได้ไปเกิดในนรกน้ัน ฝงู ยมพะบาลเอาคีมคาบล้นิ เขาชักออกมา แลว้ เอาเบด็ เหล็ก
เก่ียวลนิ้ เขา ลาเบด็ น้นั ใหญเ่ ท่าลาตาล เทียรย่อมเหล็กแดงลุกบ่มเิ หือดสกั เมื่อ ฝงู ยมพะบาลลากไป
ผลักไปใหล้ ้มหงายเหนือแผ่นเหลก็ แดง ลุกเปน็ เปลวพงุ่ ไหม้ตนเขาตลอด ฝงู ยมพะบาลจงึ เถือเอาหนงั
เขาออกแลว้ ขงึ ดังขึงหนงั ววั .....”
ข้อความนี้ สอนให้คนมคี วามซอ่ื สัตย์สจุ ริต ผใู้ ดคดโกงก็จะได้รับโทษในนรก เปน็ โทษท่ีรุนแรง
ทรมาน น่าสะพรงึ กลัว ภาพจากการบรรยายน้ี ทาให้ตดิ ตาผอู้ า่ น ผ้ฟู ัง (จากการฟงั เทศน์) เกดิ
ความรสู้ ึกกลัวบาป มีส่วนสรา้ งความสงบสขุ ในสังคม ขัดเกลาจิตใจมนษุ ย์ ทาให้เกิดความมีระเบียบ
วินัยในขอบเขตจรยิ ธรรม เปน็ การยกระดับการดาเนินชีวติ ของมนุษย์ซงึ่ อย่รู วมกันในสังคม โดยไมต่ ้อง
อาศยั กฎหมายใด ๆ มาบังคับประชาชนเลยในยคุ น้นั
นอกจากนี้ ยงั มีวรรณคดหี ลายเรื่องทผ่ี แู้ ต่งมุ่งแสดงให้ผูอ้ ่านตระหนกั ถึงคุณคา่ ของพุทธธรรม
และความสูงสง่ ของพุทธศาสนา เช่น มหาชาตคิ าหลวง ในสมัยอยธุ ยา ซง่ึ ต่อมารวบรวมเปน็
มหาเวสสนั ดรชาดก ในสมัยรัตนโกสนิ ทร์ เพ่ือใช้สาหรับเทศนม์ หาชาติจนมาถงึ ปัจจุบัน หรือ พระ
มาลัยคาหลวง ทมี่ งุ่ แสดงใหเ้ ห็นคุณค่าของการบาเพญ็ ทาน และ ปฐมสมโพธกิ ถา มุ่งแสดงใหเ้ หน็ ว่า
พุทธศาสนาน้ันสูงสง่ โดยเฉพาะดว้ ยพระบารมีขององค์ศาสดาคือพระพุทธองค์
สมัยกรงุ ศรีอยธุ ยาและกรุงรัตนโกสินทร์กม็ ีวรรณคดีไทยหลายเรือ่ งที่ผแู้ ต่งมุ่งเน้นสงั่ สอน
ปลูกฝงั จริยธรรมของคนบางกล่มุ บางพวกโดยเฉพาะ เช่น โคลงพาลสี อนน้อง และ โคลงราชสวสั ดิ
ทเ่ี ช่อื กันวา่ แตง่ ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา มีเนื้อหาเป็นการสอนการ
วางตัวและการปฏิบตั ติ นของขา้ ราชการทด่ี ี ซ่งึ เนน้ เรอื่ งความจงรักภักดตี ่อผู้ปกครองเป็นสาคญั หรือ
กฤษณาสอนน้องคาฉนั ท์ พระนพิ นธ์ในสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานชุ ิตชิโนรส ดังตอน
หน่งึ ว่า
“พฤษภกาสร อีกกญุ ชรอันปลดปลง
โททนต์เสน่งคง สาคญั หมายในกายมี
นรชาตวิ างวาย มลายส้นิ ทง้ั อนิ ทรีย์
สถิตท่วั แตช่ ัว่ ดี ประดบั ไว้ในโลกา”
ยังมี สุภาษิตสอนหญงิ เป็นเร่ืองสอนการวางตัวและการปฏิบัติตนตอ่ ครอบครัวของผู้
หญิงไทยทต่ี อ้ งซอ่ื สัตยต์ ่อสามี และต้องตง้ั ใจปรนนิบตั สิ ามีและครอบครวั ให้มคี วามสุขสบายทัว่ หน้า
กัน
การปลูกฝงั จริยธรรมและสรา้ งคุณภาพของคน บางครง้ั แทรกอยใู่ นวรรณคดีเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
ท่มี เี น้ือหาหลักเปน็ เรื่องอน่ื ๆ เช่น บทละคร เร่อื ง รามเกียรต์ิ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเดจ็ พระ
พุทธยอดฟา้ จุฬาโลกมหาราช เน้นเร่อื งจริยธรรมและการวางตนของข้าราชการ รวมท้ังปลกู ฝงั
หลักการปกครองบา้ นเมืองแทรกตลอดทง้ั เนื้อเรื่อง แมก้ ระท่งั กวีในราชสานักชอื่ ก้องโลก สุนทรภู่ ก็
ยงั แทรกข้อคดิ ของการครองตนไว้ในนริ าศเร่ืองตา่ ง ๆ และในหนงั สอื แบบเรยี นต่าง ๆ เช่น กาพย์พระ
ไชยสุริยา ที่แทรกอย่ใู นหนังสือมูลบทบรรพกิจซ่ึงเปน็ แบบเรียนภาษาไทย นอกจากจะเป็นแบบสอน
การอา่ นคาแลว้ ยงั สอนศีลธรรมและเร่ืองการปกครองบ้านเมอื งดว้ ย
วรรณคดีไทยยังเปน็ ส่วนหน่งึ ของพิธตี ่าง ๆ ทท่ี ้ังหายไปในอดตี และยังสืบเนื่องมาในปจั จุบัน
เชน่ ลลิ ติ โองการแชง่ น้า หรอื โคลงแชง่ นา้ พพิ ฒั นส์ ัตยา ถือวา่ เปน็ วรรณคดีที่ใช้ประกอบพระราชพิธี
ถือนา้ พพิ ัฒน์สัตยา เปน็ พระราชพธิ คี ่บู า้ นค่เู มืองมาแต่โบราณกาล ความสาคญั ของพิธนี ้มี มี าก ถึงกับ
ตราเป็นกฎหมายลงโทษผ้ลู ะเมิดละเวน้ ไม่ไดร้ ว่ มในพิธีไวอ้ ย่างแจม่ ชัดวา่ ถ้าผู้ใดมิได้มา “กราบถวาย
บังคมพระราชอุททิศ รบั น้าพระพิพฒั นส์ ัตยา จะเอาตวั ผู้นั้นเป็นโทษเท่าโทษขบถ ตามบทพระ
อัยการ” (พระราชกาหนดเก่าครัง้ กรงุ ศรอี ยธุ ยา) ซ่ึงสะท้อนใหเ้ ห็นวา่ มศี าสนาพราหมณ์เข้ามา
เก่ยี วขอ้ งในบ้านเมืองไทย
วรรณคดีไทยที่มบี ทบาทเป็นส่วนประกอบของพระราชพิธีต่าง ๆ ยังมี บทเหเ่ รือ ท่ใี ช้เป็นบท
เห่ในขบวนเสดจ็ พยุหยาตราทางชลมารค ฉบบั ของสมเดจ็ เจ้าฟา้ ธรรมาธเิ บศร์ ไชยเชษฐส์ ุริยวงศ์ (เจา้
ฟา้ กงุ้ ) พระราชโอรสในพระเจา้ อยู่หัวบรมโกศ นับเปน็ บทเห่กระบวนพยุหยาตราทางชลมารคใน
ปัจจุบนั ด้วยเหตุทมี่ ีความไพเราะดว้ ยเสียงของคาและความงาม ความแจม่ ชดั ความมีชีวิตชีวาของ
ภาพทีท่ รงพรรณนา ดังทว่ี า่
“พระเสดจ็ โดยแดนชล ทรงเรอื ตน้ งามเฉิดฉาย
กิ่งแกว้ แพร้วพรรณราย พายอ่อนหยับจับงามงอน
นาวาแนน่ เป็นขนดั ล้วนรูปสัตวแ์ สนยากร
เรอื รว้ิ ทิวธงสลอน สาครล่นั คร่ันครืน้ ฟอง”
ในดา้ นการเมืองการปกครองในระบอบสมบรู ณาญาสิทธริ าชย์ยังปรากฏมคี กู่ นั มาทุกยุคสมยั
โดยมเี นือ้ หายอพระเกียรติพระมหากษัตริย์ มักปรงุ แต่งจากพระราชพงศาวดาร เช่น ลลิ ิตยวนพา่ ย
แต่งในสมัยอยุธยาตอนตน้ มีเนื้อหาเป็นการสดุดีพระเกียรติยศสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถว่าทรง
คณุ ธรรมนานาประการ ทรงเช่ยี วชาญในการรบเท่ากบั ทรงเชย่ี วชาญในทางธรรม บันทกึ เหตุการณ์
บา้ นเมอื งตอนสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงทาสงครามกับพระเจา้ ตโิ ลกนาถแห่งอาณาจกั รลา้ นนา
ด้วย โคลงด้นั สรรเสรญิ พระเกยี รตยิ ศสมเดจ็ พระนั่งเกลา้ เจ้าอย่หู วั และ ลิลิตตะเลงพ่าย ท่สี รรเสริญ
วีรกรรมสมเดจ็ พระนเรศวรมหาราช ซึง่ ท้งั สองเร่ืองเปน็ พระนิพนธส์ มเดจ็ พระมหาสมณเจ้า กรม
พระปรมานุชิตชิโนรส
วรรณคดปี ระเภทนิทานหลายเลม่ ที่อา่ นเพลนิ เน้ือเรื่องสนกุ สนาน ยังสอดแทรกข้อคดิ
ทางการเมอื งการปกครองไวไ้ ด้ดว้ ย เช่น สามก๊ก แปลจากนิยายอิงพงศาวดารจนี
และ ราชาธิราช แปลจากนิยายองิ พงศาวดารมอญ ซ่งึ เจ้าพระยาพระคลงั (หน) ผู้แตง่ ตง้ั ใจจะให้
ผอู้ า่ นรเู้ ร่อื งนโยบายการเมืองและยุทธวธิ ี นอกเหนือจากความสนุกสนาน อีกทัง้ พงศาวดารและจารึก
ตา่ ง ๆ ทีบ่ นั ทกึ เหตุการณบ์ า้ นเมอื งในสมัยต่าง ๆ ผู้แต่งก็มุ่งแสดงใหผ้ อู้ า่ นเห็นความเปน็ ไปตา่ ง ๆ ของ
บา้ นเมือง โดยเฉพาะสมัยที่บ้านเมอื งเจรญิ รุ่งเรอื ง เชน่ ศิลาจารึกหลักท่ี ๑ ของพ่อขุนรามคาแหง
สมยั สุโขทยั หรอื บ้านเมืองสมัยรตั นโกสนิ ทร์ดงั ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจฬุ าโลกมหาราช
ได้ทรงพรรณนาเมอื งของพระรามไว้ใน รามเกยี รต์ิ ดงั ทวี่ า่
“อนั มหาปราสาททั้งสาม ทรงงามสูงเง้ือมพระเวหา
สี่มุขหุ้มมาศสะอาดตา ใบระกาน้นั แก้วประกอบกัน
ช่อฟา้ ช้อยเฟ้ือยเฉ่ือยชด บราลที ่ีลดมขุ กระสัน
มขุ เด็จทองดาดกระหนกพนั บษุ บกสุวรรณสวา่ งงาม”
นอกจากจะสะท้อนให้เห็นบ้านเมอื งทีอ่ ยู่อาศัยแลว้ วรรณคดยี งั บันทึกวิถีชีวิต สังคม ความ
เชอ่ื ความเป็นอยู่ของคนสมัยที่เกดิ วรรณคดีด้วย เช่น การแต่งกายของคนสมัยอยุธยาที่ปรากฏจาก
เสภาขนุ ช้างขุนแผน ซึง่ บนั ทึกการแต่งกายของสตรีที่เกดิ ในครอบครัวที่มีฐานะดีไวว้ ่า
“ครานน้ั นางพมิ พลิ าไลย ว่าจวนกณั ฑเ์ ราไปเถิดแม่ขา
แล้วก็ลกุ ไปพลนั มทิ ันช้า อาบน้าผลัดผา้ ด้วยฉบั พลนั
จงึ เอาขมน้ิ มารินทา ลูบทั่วกายาขมีขมนั
ทาแปง้ แต่งไรใสน่ า้ มัน ผดั หนา้ เฉดิ ฉนั ดงั นวลแตง
เอาซ่สี ฟี นั เปน็ มันขลับ กระจกส่องเงาวบั ดูจับแสง
นุง่ ยกลายกนกพ้นื แดง ก้านแยง่ ทองระยบั จบั ตาพราย
ชน้ั ในหม่ สไบชมพนู ิ่ม สีทับทิมทับนอกดเู ฉิดฉาย
ริ้วทองกรองดอกพรรณราย ชายเห็นเป็นทเ่ี จริญใจ
ใส่แหวนเพชรประดับทับทิมพลอย สอดก้อยแหวนงูดลู ิน้ ไหว
อีเด็กเอ๋ยหีบหมากเครื่องนากใน ขนั ถมยาเอาไปอยา่ ได้ชา้ ”
วรรณคดีไทยยังสะท้อนถึงสานึกทางการเมืองและสังคมมากขน้ึ หลงั จากทตี่ ะวันตกเรม่ิ มี
อทิ ธิพลในประเทศไทย ซง่ึ ในสมยั ปลายรัชกาลที่ ๕ เกิดวรรณคดไี ทยท่ีมีเนื้อหาเปน็ เรื่องวิพากษส์ งั คม
ลอ้ สงั คมเกดิ ขึ้น เชน่ นทิ านวชริ ญาณเรอื่ งต่าง ๆ นิทานเร่ืองส้ัน ตลอดจนบทความที่ลงพิมพ์ใน
หนังสอื พิมพแ์ ละนิตยสารต่าง ๆ ในรัชสมยั พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หวั ที่พระราชนิพนธ์
บทความและบทละครพูดเพ่ือส่งสารสาคญั โดยเฉพาะที่เกยี่ วกับบา้ นเมอื ง การปลกุ ใจให้สานึกถงึ
ความสาคัญของการเป็นชาติ การเสยี สละเพื่อส่วนรวม ดังเช่นบทความ เร่ือง โคลนตดิ ล้อ ท่ีแสดงให้
เหน็ วา่ ยงั มีคนบางพวกทชี่ อบทาตัวเป็นโคลนติดล้อ เสมือน ตวั ถ่วงความเจริญของบา้ นเมือง หรอื
วรรณคดที ีส่ ่งเสริมกิจการเสอื ป่าเพื่อเป็นรากฐานการทหาร เชน่ หวั ใจนักรบ หวั ใจเสือป่า เปน็ ตน้
สานกึ ทางสงั คมดังกลา่ วน้ี ทาให้เกดิ วรรณคดีเพ่ือชีวติ ขึน้ ในสมัยตอ่ มา โดยมีเนื้อหาวิพากษ์
สังคม เสียดสีสังคม ปลุกคตขิ องคนในสังคม จนนาไปส่กู ารแสดงความคิดเหน็ ทางการเมืองท่เี กนิ
ขอบเขต ทาให้เกดิ ความรนุ แรงขึ้นในสังคม งานเขยี นประเภทน้ี ปจั จุบัน เรยี กวา่ วรรณกรรม และมัก
ถูกนาไปสรา้ งเปน็ บทละครโทรทศั น์หรอื ภาพยนตร์ จนทาให้เยาวชนรุน่ ใหมห่ รอื ผู้ท่ไี ม่เข้าใจวรรณคดี
อยา่ งถ่องแทม้ องวรรณคดีในแงข่ องความบนั เทิงหรอื ความเพลิดเพลนิ มากกวา่ แสวงหาสาระของ
วรรณคดีอย่างแทจ้ ริง จนนาไปสู่การดถู ูกวรรณคดีไทยซึ่งเป็นรากเหงา้ ของคนไทยนั่นเอง
อยา่ งไรก็ตาม สภาพสังคมทกี่ าลงั เปล่ยี นแปลงไปสู่ความเลวร้ายในสังคม อันเปน็ ผลส่วนหนึ่ง
จากการเผยแพร่ส่อื ท่ีไมเ่ หมาะสมน้นั อาจกลบั มคี วามสวยงามได้อกี ถา้ คนไทยหนั มามองเห็นคณุ ค่า
ของวรรณคดไี ทยในทางทีจ่ ะสรา้ งสรรค์ชาติมากกวา่ การเหยียดหยามและมองข้ามมรดกไทยเหล่านี้ที่
เป็นรากเหง้าของเราดว้ ยการศกึ ษาแนวคดิ เชิงศาสนา ความเชอ่ื การเมืองและวฒั นธรรมจากวรรณคดี
ไทยโบราณ ช่วยทาใหเ้ รารบั รู้รากฐานไทยอนั จะทาให้เราสามารถใชว้ จิ ารณญาณเลอื กรักษา สืบทอด
หรือปรับเปลย่ี นวฒั นธรรมน้ันใหเ้ หมาะสมกับสังคมไทยปัจจุบันที่แปรเปล่ยี นไปจากเดิมได้
อา้ งองิ
สาขาวชิ าศลิ ปะศาสตร์ มหาวิทยาลยั สุโขทัยธรรมาธิราช.พัฒนาการวรรณคดไี ทย.พมิ พ์ครงั้ ที่ ๕.
กรงุ เทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนจากัดอรุณการพิมพ์, ๒๕๔๔.