The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

วารสารปรมาณูเพื่อสันติ ปีที่ 34 ฉบับที่ 2 ประจำปี พ.ศ. 2564

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by OAP-Office of Atoms For Peace, 2021-08-30 22:12:56

วารสารปรมาณูเพื่อสันติ ปีที่ 34 ฉบับที่ 2 ประจำปี พ.ศ. 2564

วารสารปรมาณูเพื่อสันติ ปีที่ 34 ฉบับที่ 2 ประจำปี พ.ศ. 2564

Keywords: วารสารปรมาณูเพื่อสันติ

Atoms for Peace Journal

ปที ่ี 34 ฉบบั ท่ี 2 ประจ�ำ ปี 2564

บก. เปิ ดเล่ม
วารสารปรมาณูเพ่ือสันติฉบับน้ีย่างเข้าสู่ปีที่ 34 ของการจัดทำ�จดหมายข่าวของสำ�นักงานปรมาณู
เพื่อสันติ และอีกท้ังยังเป็นปีแห่งวันสถาปนาสำ�นักงานปรมาณูเพ่ือสันติครบรอบ 60 ปีอีกด้วย ทั้งนี้ การจัด
ทำ�วารสารปรมาณูเพื่อสันติ มีวัตถุประสงค์เพ่ือเผยแพร่บทความเชิงวิชาการท่ีเกี่ยวข้องกับภารกิจของสำ�นักงาน
ปรมาณูเพ่ือสันติ ในการกำ�กับดูแลความปลอดภัยทางนิวเคลียร์และรังสี และจากวารสารฉบับท่ีแล้ว ทุกท่าน
จะได้อ่านถึงประวัติของสำ�นักงานปรมาณูเพ่ือสันติ ในบทความ “สำ�นักงานปรมาณูเพื่อสันติที่เป็นมา” อาจ
จะทำ�ให้ทุกท่านทราบถึงประวัติความเป็นมาของสำ�นักงานได้ดีข้ึน ซึ่งวารสารในฉบับน้ีจะมีภาคต่อในบทความ
“สำ�นกั งานปรมาณูเพอื่ สนั ติทเี่ ป็นอย”ู่ เพอื่ ใหท้ ุกทา่ นไดท้ ราบถงึ ภารกจิ ในปจั จบุ นั ของสำ�นักงาน รวมถงึ บทบาท
ท่ีสำ�คัญในระดบั ประเทศและสากล
นอกจากน้ียังมีบทความที่น่าสนใจ อาทิ ทำ�ความรู้จักกับที่มาท่ีไปของคำ�นิวเคลียร์ ที่หลายคนไม่ค่อย
เข้าใจ ในบทความ “คำ�นิวเคลียร์ที่ไม่คอ่ ยเคลียร์ใน พ.ร.บ. ปี 04” และบทความอ่ืน ๆ รอทุกทา่ นอยู่ในวารสาร
ปรมาณเู พ่ือสนั ติ ฉบับท่ี 2 ประจำ�ปี 2564

บรรณาธกิ าร

จััดทำำ�โดย สำ�ำ นัักงานปรมาณููเพื่�อ่ สันั ติิ กระทรวงการอุุดมศึกึ ษา วิิทยาศาสตร์์ วิิจััยและนวััตกรรม

ที่ป่� รึกึ ษา

1. นายเพิ่ม�่ สุขุ สัจั จาภิิวััฒน์ ์ เลขาธิกิ ารสำ�ำ นักั งานปรมาณูเู พื่�อ่ สันั ติิ

2. นางสุชุ ินิ อุุดมสมพร รองเลขาธิกิ ารสำ�ำ นักั งานปรมาณูเู พื่�อ่ สันั ติิ

3. นางเพ็ญ็ นภา กััญชนะ รองเลขาธิกิ ารสำ�ำ นักั งานปรมาณูเู พื่�อ่ สันั ติิ

คณะทำำ�งานพิจิ ารณาเอกสารวิิชาการและสื่�อ่ เผยแพร่ป่ ระชาสัมั พันั ธ์์ของสำ�ำ นัักงานปรมาณููเพื่�อ่ สันั ติิ

(กองบรรณาธิิการ)

1. นางสาวอััมพิกิ า อภิิชัยั บุุคคล ผู้อ้� ำำ�นวยการกองยุุทธศาสตร์แ์ ละแผนงาน

2. นางวราภรณ์์ วััชรสุรุ กุลุ ผู้เ้� ชี่�ย่ วชาญเฉพาะด้้านความปลอดภััยทางนิวิ เคลีียร์์

3. นางดารุุณีี พีีขุุนทด ผู้อ�้ ำำ�นวยการกองพัฒั นาระบบและมาตรฐานกำำ�กัับดูแู ลความปลอดภััย

4. นายรุุจจพันั เกตุกุ ล่ำำ� ผู้อ�้ ำำ�นวยการกองอนุญุ าตทางนิวิ เคลีียร์แ์ ละรังั สีี

5. นายยุุทธนา ตุ้้�มน้้อย รักั ษาการในตำำ�แหน่ง่ ผู้เ้� ชี่ย�่ วชาญเฉพาะด้้านพลัังงานปรมาณูู

6. นายรุ่�งธรรม ทาคำำ� รักั ษาการในตำำ�แหน่ง่ ผู้เ�้ ชี่ย�่ วชาญเฉพาะด้้านความปลอดภััยทางรังั สีี

7. นายวิิทิิต ผึ่�ง่ กััน รักั ษาการในตำำ�แหน่ง่ ผู้เ�้ ชี่ย�่ วชาญเฉพาะด้้านการประเมินิ ค่่ากััมมันั ตภาพรังั สีี

8. นางสาวธนวรรณ แจ่่มสุวุ รรณ รักั ษาการในตำำ�แหน่ง่ ผู้เ�้ ชี่�ย่ วชาญเฉพาะด้้านพัฒั นาระบบบริหิ ารจััดการ

ด้้านพลัังงานปรมาณูู

9. นางสุนุ ันั ทา สาวิิกัันย์ ์ นักั ฟิสิ ิกิ ส์ร์ ังั สีีชำ�ำ นาญการพิเิ ศษ

10. นายไชยยศ สุนุ ทราภา วิิศวกรนิวิ เคลีียร์ช์ ำ�ำ นาญการพิเิ ศษ

11. นางศันั สนีีย์์ บริริ ักั ษ์์ นักั วิิเคราะห์น์ โยบายและแผนชำ�ำ นาญการ (เลขานุกุ ารฯ)

12. นางสาวนุชุ จรีีย์์ สัจั จา นักั วิิชาการเผยแพร่ป่ ฏิิบัตั ิิการ (ผู้ช�้ ่ว่ ยเลขานุกุ ารฯ)

ออกแบบและพิมิ พ์ท์ ี่่� : บริษิ ััท อิิสระดีี จำำ�กััด

2 วารสาร

Content

4 สำ�นักงานปรมาณูเพื่อสนั ติ ท่ีเป็นอยู่
8 นิตธิ รรมกบั ความปลอดภยั ทางนวิ เคลยี รแ์ ละรงั สี
12 คำ�นวิ เคลียร์ที่ไม่ค่อยเคลยี ร์ใน พ.ร.บ. ปี 04
16 60 ปี แห่งการสรา้ งสรรคค์ วามร่วมมอื ระหว่างประเทศทางนิวเคลยี ร์รงั สี
19 มาตรวิทยารังสีของประเทศไทย

วารสารปรมาณููเพื่�่อสัันติิจััดทำำ�ขึ้้�นเพื่�่อเผยแพร่่ภารกิิจและการดำำ�เนิินงานของสำ�ำ นัักงานปรมาณููเพื่�่อสัันติิ รวมทั้้�ง
ข่า่ วสาร บทความทางวิิชาการที่�่เกี่�่ยวข้้องกัับวิิทยาศาสตร์แ์ ละเทคโนโลยีีนิวิ เคลีียร์์ ตลอดจนเป็น็ สื่�อ่ กลางในการแลกเปลี่�่ยนความ
คิิดเห็น็ ข้้อเสนอแนะต่่าง ๆ อัันจะเป็น็ ประโยชน์ต์ ่่อการส่ง่ เสริมิ ความรู้้ค� วามเข้้าใจในทางเทคโนโลยีีนิวิ เคลีียร์ใ์ ห้้กว้้างขวางยิ่่ง� ขึ้้�น
บรรณาธิิการขอสงวนสิิทธิ์์�ในการคััดเลืือกและแก้้ไขต้้นฉบัับทั้้�งเรื่�่องและภาพตามแต่่จะเห็็นสมควร โดยไม่่ต้้อง
ขอความเห็น็ ชอบจากเจ้้าของเรื่�อ่ งและไม่ส่ ่ง่ ต้้นฉบับั คืืน
ข้้อคิิดเห็็นหรืือบทความในเอกสารฉบัับนี้้�เป็็นความคิิดเห็็นส่่วนตััวของผู้�้เขีียน ซึ่�่งไม่่มีีข้้อผููกพัันกัับสำ�ำ นัักงานปรมาณูู
เพื่�อ่ สันั ติิแต่่อย่า่ งใด

ผู้้ส� นใจส่ง่ ข้้อเขีียน หรืือข้้อเสนอแนะ
สามารถติดต่อได้ท่ีกล่มุ เผยแพรแ่ ละประชาสัมพนั ธ์ กองยุทธศาสตรแ์ ละแผนงาน ส�ำนักงานปรมาณเู พื่อสนั ติ
เลขที่�่ 16 ถนนวิิภาวดีีรังั สิติ แขวงลาดยาว เขตจตุจุ ัักร กรุุงเทพฯ 10900
โทรศัพั ท์์ 0 2596 7600 ต่่อ 1110 และ 1120 โทรสาร 0 2561 3013

: [email protected] : Atoms4Peace สำ�ำ นักั งานปรมาณูเู พื่�อ่ สันั ติิ
: www.oap.go.th
: officeofatomsforpeace : @atomsnet

วารสาร 3

ส�ำ นกั งานปรมาณเู พื่อสนั ติ
ท่ีเปน็ อยู่
นางวราภรณ์ วชั รสรุ กุล
ผูเ้ ชยี่ วชาญเฉพาะด้านความปลอดภยั ทางนิวเคลียร์

สำ�นักงานปรมาณูเพ่ือสันติ (ปส.) ช่ือเดิมคือ สำ�นักงานพลังงานปรมาณูเพ่ือสันติ
ในยุคแรก ๆ ของการก่อต้ังมีบทบาทและหน้าท่ีในการวิจัย ค้นคว้า เพ่ือนำ�พลังงานนิวเคลียร์
มาใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เพ่ือการพัฒนาประเทศ รวมท้ังควบคุมความปลอดภัยทางรังสี
แกผ่ ใู้ ชท้ ง้ั ภายในและภายนอก ปส. โดยมเี คร่อื งปฏกิ รณป์ รมาณเู คร่อื งแรกของไทยเปน็ เคร่อื งมอื
อันสำ�คัญ ซ่ึงมีช่ืออย่างเป็นทางการว่า “เคร่ืองปฏิกรณ์ปรมาณูวิจัย-1 ช่ือย่อว่า ปปว-1
หรือ Thai Research Reactor-1, TRR-1” โดยใช้เช้ือเพลิงปรมาณูมีลักษณะเป็นรูปแบน
แผ่นโค้ง เช้ือเพลิงมีความเข้มข้นของยูเรเนียม-235 ร้อยละ 90 (90 % Enriched Uranium)
จำ�นวน 2.7 กิโลกรัม มีกำ�ลังสูงสุด 1,000 กิโลวัตต์ (ความร้อน) เม่ือก่อสร้างอาคารและ
ติดต้ัง ทดสอบระบบเคร่ืองปฏิกรณ์แล้วเสร็จ งานที่สำ�คัญย่ิงคือการเดินเคร่ืองปฏิกรณ์เข้าสู่
ภาวะวิกฤต* โดยการบรรจุเช้ือเพลิงปรมาณูแท่งแรกเม่ือ 09.00 น. ในวันท่ี 27 ตุลาคม 2504
และค่อย ๆ บรรจุแท่งเช้ือเพลิงปรมาณูแท่งต่อไปความระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง ในระหว่าง
การบรรจุแต่ละแท่งต้องหยุดตรวจสอบสภาวะในแกนเคร่ืองปฏิกรณ์จากเคร่ืองวัดทุกจุด
จนกระท่ังเช้ือเพลิงปรมาณูเข้าสู่ภาวะวิกฤตคือมีการแตกตัวต่อเน่ืองกันไปได้ด้วยตัวของ
มันเองซ่ึงเรียกว่าปฏิกิริยาลูกโซ่ (Chain Reaction) พอถึงข้ันนี้ก็สามารถใช้แท่งควบคุม
บังคับให้หยุดหรือให้ปฏิกิริยาลูกโซ่ดำ�เนินการต่อไปได้ตามความประสงค์ เคร่ือง ปปว-1
เข้าภาวะวิกฤตเม่อื เวลา 18.32 น. ในวันเดียวกัน

*ภาวะวิกฤต หมายถึง ภาวะที่ปฏิกิริยาลูกโซ่แบ่งแยกนิวเคลียสสามารถสืบเน่ืองอยู่ได้โดยอัตราการเกิดนิวตรอนจา
ปฏกิ ริ ิยาเทา่ กบั อตั ราการสญู เสียนิวตรอน

4 วารสาร

หลังจากเดินเคร่ืองได้ไม่ก่ีปีบริษัท Curtiss-Wright ท่ีผลิตเช้ือเพลิงปรมาณูได้ล้มเลิกกิจการ
ด้านพลังงานนิวเคลียร์จึงจำ�เป็นต้องเปลี่ยนระบบแท่งเช้ือเพลิงใหม่ทดแทน โดยนายช่างและวิศวกร
ของ ปส. ต้องดำ�เนินการสร้างและดัดแปลงอุปกรณ์บางส่วนเอง จนเม่ือวันท่ี 27 มิถุนายน 2518
ได้หยุดเดินเคร่ือง รวมระยะเวลาการเดินเคร่ือง ปปว-1 ประมาณ 12 ปี 8 เดือน ต่อจากน้ัน ปส.
ได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการพลังงานปรมาณูเพ่ือสันติให้ดำ�เนินการจัดหาแท่งเช้ือเพลิงชุดใหม่
แบบทริกา มาร์ค III (TRIGA Mark III) โดยเช้ือเพลิงยูเรเนียม-235 เข้มข้น ร้อยละ 20 และดัดแปลง
เคร่ืองปฏิกรณ์ ปปว-1 เพ่ือเพ่ิมสมรรถนะให้เดินกำ�ลังสูงสุด 2,000 กิโลวัตต์ (ความร้อน) และพัลซ่ิง*
ได้สูงสดุ ถึง 2 ล้านกิโลวัตต์ เปน็ เวลาประมาณ 10.5 มลิ ลิวินาทีต่อคร้ัง

*พัลซิ่ง หมายถงึ เครอ่ื งปฏกิ รณน์ ิวเคลยี รว์ จิ ัยที่สามารถเพมิ่ กำ�ลงั และ รังสี ใหส้ ูงขน้ึ ในชว่ งเวลาส้นั ๆ ซ้ำ� ๆ กันได้โดยนิวตรอนฟลกั ซ์
ในระหว่างการทวกี ำ�ลงั แต่ละครั้งมคี า่ สูงมากเกินกว่าการเดินเครือ่ งปฏิกรณน์ ิวเคลยี ร์ในสภาวะปกติ

วารสาร 5

ท้ังน้ี ได้ลงนามสัญญากับบริษัท General Atomic (GA) เม่ือวันท่ี 14 กันยายน 2518 จัดซ้ือ
ส่วนประกอบชุดแกนเคร่ืองปฏิกรณ์ โครงสร้างยึดแกน แท่งเช้ือเพลิงและแท่งควบคุม ระบบควบคุมการทำ�งาน
ท้ังระบบเดินเคร่ืองปกติและพัลซ่ิง และอุปกรณ์อาบรังสี รวมท้ังค่าบริการด้านวิศวกรรม การช่วยดำ�เนินนการ
ในการติดต้ังและทดสอบ ในวงเงิน 16 ล้านบาท ส่วนงานด้านวิศวกรรมที่ดำ�เนินการโดยนายช่างและวิศวกร
ของ ปส. ได้แก่ การปรบั ปรุงบ่อเคร่ืองปฏิกรณ์ การดัดแปลงปรบั ปรุงระบบระบายความร้อน การดัดแปลงอุปกรณ์
การอาบรังสี การปรับปรุงดัดแปลงระบบไฟฟ้ากำ�ลัง ระบบท่อลม ห้องควบคุมการทำ�งานเคร่ืองปฏิกรณ์ และ
อุปกรณ์อ่ืนๆ ที่จำ�เป็นในการประกอบติดตั้งท้ังระบบอุปกรณ์ชุดใหม่ในสถานที่เดิม ท้ังน้ีรวมถึงการเคล่ือนย้าย
แท่งเช้ือเพลิงที่ใช้แล้วและอุปกรณ์เดิมที่มีกัมมันตภาพรังสีสูงมาก ท้ังนี้ การดำ�เนินงานดังกล่าวข้างต้นเป็น
การพัฒนาศักยภาพของบุคลากรของ ปส. ได้เป็นอย่างดียิ่ง จนกระท่ังเม่ือวันท่ี 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520
เวลา 09.55 น. การบรรจุแท่งเช้ือเพลิงแท่งแรกก็เร่ิมดำ�เนินข้ึน และเคร่ืองปฏิกรณ์ปรมาณูได้เข้าสู่ภาวะวิกฤต
เม่ือเวลา 21.41 น. ของวันเดียวกัน โดยมีช่ือใหม่ว่า “เคร่ืองปฏิกรณ์ปรมาณูวิจัย-1/ปรับปรุงคร้ังท่ี 1 ช่ือย่อว่า
ปปว-1/1 หรือ Thai Research Reactor-1/ Modification 1, TRR-1/M1” เป็นอุปกรณ์สำ�คัญในการสนับสนุน
งานวิจัยเพ่ือนำ�พลังงานนิวเคลียร์มาใช้ประโยชน์ในการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน พัฒนาเศรษฐกิจ
ของประเทศ

ปส. ในขณะน้ันนอกจากการเดินเคร่ือง ปปว-1/1 เพ่ือสนับสนุนการศึกษาค้นคว้าวิจัยแล้วยังมีงานวิจัย
และงานสนับสนุนการใช้ประโยชน์จากสารกัมมันตรังสีเพ่ือการพัฒนาประเทศด้านการแพทย์ เช่น การวินิจฉัย
และรกั ษามะเรง็ ด้วยเภสัชรงั สี การผลิตไอโซโทปรงั สีเพ่ือบริการแก่โรงพยาบาล ด้านการเกษตร เชน่ การปรบั ปรุง
พันธพุ์ ชื การศกึ ษาพฤติกรรมของผวิ หนา้ ดินการวัดกัมมนั ตภาพรงั สีในอาหารทะเลการปอ้ งกันและกำ�จัดแมลงวัน
ผลไมด้ ้วยรงั สี ด้านอุตสาหกรรม การฆ่าเช้ือเคร่อื งมอื แพทยโ์ ดยการฉายรงั สี การศกึ ษาการเคล่ือนท่ีของตะกอนดิน
เป็นประโยชน์ในการทำ�เหมืองแร่ในทะเล การตรวจสอบโดยไม่ทำ�ลาย การเพ่ิมคุณภาพของอัญมณีด้วยรังสี และ

6 วารสาร

งานวจิ ยั อ่นื ๆ เชน่ การหาอายขุ องน�ำ้ พแุ ละน�ำ้ บาดาลเปน็ ขอ้ มลู ประกอบในการหาสาเหตทุ ท่ี �ำ ใหแ้ ผน่ ดนิ ทรุด
การหาความเข้มข้นของตะกอนลอยในแม่น้ำ� การหาอายุโบราณวัตถุโดยเทคนิคทางรังสี และอีกหน้าที่หน่ึง
ของปส. คือ การกำ�กับดูแลความปลอดภัยการใช้ประโยชนจ์ ากพลังงานนวิ เคลียร์ เพ่ือปกปอ้ งประชาชนและ
ส่ิงแวดล้อม ไมใ่ หไ้ ด้รับผลกระทบจากสารกัมมนั ตรงั สี

ต่อมา เมื่อบริบทของสังคมมีการพัฒนายิ่งขึ้น การท่ี ปส. มีหน้าที่ทั้งส่งเสริมและสนับสนุนการ
ใช้ประโยชน์จากพลังงานนิวเคลียร์ ควบคู่ ไปกับการกำ�กับดูแลความปลอดภัยภายใต้หน่วยงานเดียวกัน
ไม่สามารถตอบแนวโจทย์ทางสังคมเร่ืองความขัดแย้งเชิงนโยบายได้ (Conflicts of Interest) จึงมีการ
แยกกองหรืองานวิจัยหรือบริการออกให้เป็นหน้าที่รับผิดชอบของสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ
(องค์การมหาชน) ตั้งแต่วันท่ี 25 ธันวาคม 2549 สำ�หรับ ปส. มีทำ�หน้าที่รับผิดชอบในการกำ�กับดูแล
ความปลอดภัยการใช้พลังงานนิวเคลียร์และรังสี และเลขานุการของคณะกรรมการพลังงานนิวเคลียร์เพื่อ
สันติ พร้อมท้ังการดำ�เนินการตามพระราชบัญัติพลังงานนิวเคลียร์เพ่ือสันติ พ.ศ. 2559 ซ่ึงเป็นการเปิดมติใหม่
ของ ปส. ในการเป็นผ้กู ำ�กับดูแลความปลอดภยั ทางนวิ เคลยี รแ์ ละรงั สีของประเทศไทย เราคงตอ้ งมาติดตามกนั
ต่อไปว่า 60 ปที ี่ผา่ นมาและเปน็ อยู่เช่นน้ี ในอนาคตทศิ ทางพลงั งานนวิ เคลยี ร์ของไทยภายใตก้ ารกำ�กบั ดแู ลความ
ปลอดภัยของ ปส. จะเป็นไปในทศิ ทางใด

อ้างอิง
ครบรอบ 20 ปี ปส. พลังงานปรมาณเู พ่ือสนั ติ, 27 ตุลาคม 2525.

วารสาร 7

นิติธรรมกับความปลอดภัย
ทางนิวเคลียร์และรงั สี นายป้องนภา พ่ึงทอง

นิตกิ รปฏบิ ัตกิ าร

8 วารสาร

“นิติธรรม” (Rule of Law) คือการปกครองโดยกฎหมายท่ี
เป็นธรรม กล่าวคือ ตัวบทกฎหมายท่รี ัฐใช้บังคับต้องเป็นไปเพ่อื ประโยชน์
ของประชาชนเปน็ ส�ำ คญั และการบงั คบั ใชก้ ฎหมายนน้ั ตอ้ งมคี วามยตุ ธิ รรม
และเป็นไปด้วยความเสมอภาค โดยเฉพาะอย่างย่ิง รัฐจะต้องบังคับ
ใช้กฎหมายภายใต้กรอบหรือขอบเขตท่กี ฎหมายบัญญัติไว้ หรอื อาจกลา่ ว
อีกนัยหน่ึงว่า หลักนิติธรรม เป็นคุณธรรมในการกำ�หนดกฎเกณฑ์
การบริหารบ้านเมืองด้วยกฎหมายอย่างยุติธรรม มีความเสมอภาค
ไมเ่ ลอื กปฏบิ ตั ิ เพือ่ ประโยชน์และความผาสุกของประชาชนเป็นส�ำ คัญ

วารสาร 9

สำ�นักงานปรมาณูเพ่ือสันติ (ปส.) มีพลวัตทางกฎหมายในการขับเคล่ือนการกำ�กับดูแลการ

ใช้ประโยชน์ทางด้านพลังงานนิวเคลียร์และรังสีของประเทศไทยมาอย่างยาวนาน อันอยู่บนพ้ืนฐานของ
การบังคับใช้กฎหมายอย่างถูกต้องและเพ่ืออำ�นวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชน ให้เกิดความปลอดภัย
จากการใช้พลังงานนวิ เคลียรแ์ ละรังสใี นทุกมติ ิ

พระราชบัญญัติพลังงานปรมาณูเพ่ือสันติ พ.ศ. 2504 โดย จอมพล สฤษด์ิ ธนะรัชต์ ลงนามผสู้ นอง
พระบรมราชโองการ ในฐานะนายกรัฐมนตรี มีเหตุผลท้ายพระราชบัญญัติฯ กล่าวไว้เพียงว่า “...โดยที่
การใช้พลังงานปรมาณูเพ่ือประโยชน์ในทางสันติเป็นความจำ�เป็น และสมควรส่งเสริมเพ่ือการพัฒนา
ของประเทศ และโดยท่ีการใช้พลังงานปรมาณูเพ่ือประโยชน์ในทางสันติจำ�เป็นต้องมีการควบคุม
ใหก้ ารใช้เปน็ ไปตามหลักวิชาและปลอดภัย จึงต้องมกี ฎหมายว่าด้วยการน”ี้

ถึงกระน้ันก็ตาม กฎหมายแม่บทเพียง 24 มาตรา ของพระราชบัญญัติพลังงานปรมาณูเพ่ือสันติ
พ.ศ. 2504 และท่ีแก้ไขเพ่ิมเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2508 ประกอบกับกฎหมายลำ�ดับรองในขณะน้นั ไมอ่ าจ
ครอบคลุมสารัตถะที่แท้จริงของพลวัตทางเทคโนโลยีและทางสังคม ในอันที่จะอำ�นวยความยุติธรรมให้
แก่ประชาชนโดยเท่าเทียมกันได้อย่างสมบูรณ์ ปส. จึงตระหนักถึงความสำ�คัญของปัญหาดังกล่าวมาโดย
ตลอด และได้ใช้ความวิริยะ อุตสาหะเปน็ ระยะเวลานบั สิบปี ส�ำ หรับกระบวนการตรากฎหมายฉบบั ใหมข่ ้นึ
เหตุผลสำ�คัญเพียงประการเดียวก็คือ ความมุ่งหวังให้เกิดกลไกการกำ�กับดูแลการใช้ประโยชน์ทางด้าน
นวิ เคลียรแ์ ละรงั สี ท่ีมคี วามปลอดภัยอยา่ งสงู สุดแก่ประชาชนโดยอเนกอนนั ต์

พระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์เพ่ือสันติ พ.ศ. 2559 และท่ีแก้ไขเพ่ิมเติม (ฉบับท่ี 2)
พ.ศ. 2562 จึงเป็นกฎหมายแม่บทท่ีว่าด้วยพลังงานนิวเคลียร์ในทางสันติ ฉบับเดียวของประเทศไทย
อันเป็นผลิตผลของความมุ่งมั่นและเป็นตะกอนทางความคิดจากมวลประสบการณ์ ตลอดจนองค์ความรู้
ท้ังหลายขององคาพยพภายใน ปส. ท่ีมุ่งหวังให้เกิดการกำ�กับดูแลการใช้ประโยชน์ทางด้านนิวเคลียร์
และรังสี ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันท่ีเปล่ียนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการพัฒนา
ทางด้านเทคโนโลยีทางรังสีและนิวเคลียร์ เป็นการกำ�หนดกฎเกณฑ์เพ่ือให้เกิดความปลอดภัยและ
ความม่ันคงปลอดภัยทางนิวเคลียร์และรังสีและการพิทักษ์ความปลอดภัยทางนิวเคลียร์ เพ่ือคุ้มครอง
ประชาชนและส่งิ แวดล้อมและเพ่อื ใหส้ อดคล้องกับกฎเกณฑ์ในทางสากลท่ีเกี่ยวกับพลังงานนวิ เคลียร์

10 วารสาร

ในโอกาสที่ครบวาระ 60 ปี ปส. จึงขออนุญาตเชิญชวนท่านผู้อ่านวารสารน้ีทุกท่าน ได้โปรด
พิจารณาตัวบทกฎหมาย “พระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียรเ์ พื่อสันติ พ.ศ. 2559 และที่แก้ไขเพ่ิม
เติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562” ซ่ึงประกอบด้วย 14 หมวด 1 บทเฉพาะกาล รวมท้ังสิ้น 152 มาตรา และ
โดยเฉพาะอย่างย่ิง ขอให้ท่านได้มีโอกาสพิจารณา “เหตุผลท้ายพระราชบัญญัติ” ซ่ึงอาจเป็นเพียง
บางชว่ งบางตอนของตัวบทกฎหมายท่ีคนท่ัวไปมกั จะไมไ่ ด้หยิบยกข้ึนมาพิจารณากัน

นอกจากน้ี ปัจจุบัน กฎหมายระดับอนุบัญญัติ หรือกฎหมายลำ�ดับรอง ท่ีออกโดยอาศัย
อำ�นาจตามพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์เพ่ือสันติ พ.ศ. 2559 และที่แก้ไขเพ่ิมเติม (ฉบับท่ี 2)
พ.ศ. 2562 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและมีผลบังคับใช้แล้วจำ�นวนหลายฉบับด้วยกัน ซ่ึงล้วนแล้ว
แต่ก่อให้เกิดผลดีอย่างย่ิง ต่อกลไกการกำ�กับดูแลการใช้ประโยชน์ทางด้านนิวเคลียร์และรังสีของประเทศ
เน่ืองจากกฎหมายลำ�ดับรองดังกล่าว เป็นการนำ� “รายละเอียดทางด้านเทคนิค” ท่ีเกี่ยวกับการกำ�กับ
ดูแลความปลอดภัยทางนิวเคลียร์และรังสี มาเขียนในรูปแบบของ “ตัวบทกฎหมาย” ท่ีมีความเสมอภาค
ไม่เลือกปฏิบัติ และมุ่งเน้นเร่ืองความปลอดภัยอย่างเป็นรูปธรรม ดังจะเห็นได้ว่า ปส. ตระหนักถึง
ความปลอดภัยต่อภาคประชาชน ผปู้ ฏิบตั ิงานทางรงั สี ตลอดจนผปู้ ระกอบการทางด้านนวิ เคลียรแ์ ละรังสี
เปน็ สำ�คัญ



หากหลักนิติธรรม คือการปกครองโดย “กฎหมาย” ทเ่ี ปน็ ธรรม กล่าวคือ กฎหมายนนั้ ต้องเป็นไป
โดย “ถูกต้องและอำ�นวยความยุติธรรม” ให้เกิดข้ึนแก่ทุกภาคส่วน ทำ�ให้ประเทศชาติสามารถ
ขับเคลือ่ นได้อยา่ งสมดุลและทำ�ใหภ้ าคประชาชนเกิดความผาสุกดงั นนั้ ข้าราชการพนักงานราชการลูกจา้ งและ
เจ้าหน้าท่ีทุกท่าน ก็สามารถกล่าวได้อย่างเต็มภาคภูมิว่า ปส. บริหารราชการเพ่ือประโยชน์สุขของประชาชน
โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดความผาสุกและความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนเกิดความสงบและปลอดภัยของสังคม
ส่วนรวม ตลอดจนประโยชนส์ งู สุดของประเทศ โดยยดึ หลกั นิตธิ รรมเป็นสำ�คัญ

วารสาร 11

คำ�นิวเคลยี ร์
ทีไ่ ม่ค่อยเคลยี ร์

ใน พ.ร.บ. ปี 04

นายไชยยศ สนุ ทราภา วิศวกรนิวเคลียรช์ ำ�นาญการพิเศษ
นางสาวยพุ เรศ มีความด ี นติ กิ รปฏิบัตกิ าร
นางสาววรารตั น์ พทิ ักษ์ปกรณ ์ นติ ิกร

พระราชบัญญัติพลังงานปรมาณูเพ่ือสันติ พ.ศ. 2504 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเม่ือวันอังคารท่ี
25 เมษายน 2504 โดยให้ใช้บังคับต้ังแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ตามมาตรา 2
ดังน้นั พระราชบญั ญตั ิฉบับนจ้ี ึงมผี ลบงั คับใชต้ ้ังแต่วันพุธท่ี 26 เมษายน 2504 และถือเปน็ วันสถาปนาส�ำ นกั งาน
ปรมาณูเพ่ือสนั ติ (ส�ำ นกั งานพลังงานปรมาณูเพ่อื สนั ติในขณะน้นั ) ตามมาตรา 19
พระราชบัญญัติพลังงานปรมาณูเพ่ือสันติ พ.ศ. 2504 มีหลายคำ�ท่ีฟังดูแล้วไม่ค่อยเข้าใจอยู่บ้าง เช่น
วสั ดตุ น้ ก�ำ ลงั วสั ดนุ วิ เคลยี รพ์ เิ ศษ วสั ดพุ ลอยได้ และการพน้ จากสภาพทเ่ี ปน็ อยตู่ ามธรรมชาตใิ นทางเคมี แลว้ บางค�ำ
พวกนี้ก็ยังมีปรากฏในพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์เพ่ือสันติ พ.ศ. 2559 ด้วย เน่ืองจากโครงการปรมาณู
เพ่ือสันติเป็นดำ�ริของประธานาธิบดี ไอเซนฮาวร์ แห่งสหรัฐอเมริกา ความช่วยเหลือในการร่างกฎหมายและ
การจัดต้ังโครงการเคร่ ืองปฏิกรณ์ปรมาณูวิจัยของประเทศไทยจึงมาจากสหรัฐอเมริกา (อ่านรายละเอียดเพ่ิมเติม
ได้จากบทความ “พระบารมีปกเกล้าฯ ชาวปรมาณู” วารสารปรมาณูเพ่ือสันติ ปีที่ 30 ฉบับท่ี 1 ประจำ�ปี
พ.ศ. 2560) จึงไมน่ า่ แปลกใจเลยว่าทำ�ไมพระราชบญั ญตั ิพลังงานปรมาณเู พ่ือสันติ พ.ศ. 2504 จะคล้ายกฎหมาย
ฉบับยอ่ ของ ATOMIC ENERGY ACT OF 1954 ของสหรัฐอเมรกิ า

มาเร่ิมท่ี “วัสดุต้นกำ�ลัง” กัน คำ�ว่า “วัสดุต้นกำ�ลัง” มาจากภาษาอังกฤษคำ�ว่า “source material”
คำ�นยิ ามที่ปรากฏใน ATOMIC ENERGY ACT OF 1954 คือ “(1) uranium, thorium, or any other material
which is determined by the Commission pursuant to the provisions of section 61 to be source
material; or (2) ores containing one or more of the foregoing materials, in such concentration as
the Commission may by regulation determine from time to time.” หากดูคำ�นยิ ามของ “วัสดุต้นกำ�ลัง”
ในพระราชบัญญตั ิพลังงานปรมาณูเพ่ือสันติ พ.ศ. 2504 ท่ีว่า “(1) ยูเรเนยี ม ธอเรยี ม สารประกอบของยูเรเนยี ม
หรือธอเรยี ม หรือวัสดุอ่ืนใดท่ีมีคุณสมบัติเป็นวัสดุต้นกำ�ลังตามท่ีกำ�หนดในกฎกระทรวง (2) แรห่ รือสินแร่
ซ่ึงประกอบด้วยวัสดุตามท่ีระบุไว้ใน (1) อย่างหนึ่งหรอื หลายอย่างตามอัตราความเข้มข้นซึ่งกำ�หนดโดยกฎ
กระทรวง” จะใหไ้ ด้ว่าคล้ายคลึงกับต้นรา่ งจาก ATOMIC ENERGY ACT OF 1954 อย่างยิ่ง

12 วารสาร

ส่วน “วัสดุนิวเคลียร์พิเศษ” มาจากภาษาอังกฤษคำ�ว่า “special nuclear material” คำ�นิยาม
ท่ีปรากฏใน ATOMIC ENERGY ACT OF 1954 คือ “(1) plutonium, uranium enriched in the isotope
233 or in the isotope 235, and any other material which the Commission, pursuant to the
provisions of section 51, determines to be special nuclear material, but does not include
source material; or (2) any material artificially enriched by any of the foregoing, but does
not include source material.” และคำ�นิยามของ “วัสดุนิวเคลียร์พิเศษ” ท่ีปรากฏในพระราชบัญญัติ
พลังงานปรมาณูเพ่อื สันติ พ.ศ. 2504 คือ “(ก) พลโู ตเนยี ม ยูเรเนยี มซ่งึ มคี วามเข้มข้นของยูเรเนยี ม 233 หรอื
ยูเรเนยี ม 235 สูงกว่าท่มี ตี ามธรรมชาติ หรอื สารประกอบของธาตุดังกล่าว หรอื วัสดุอ่ืนใดตามท่กี ำ�หนดโดย
กฎกระทรวง ท้ังน้ไี ม่รวมวัสดุต้นกำ�ลัง (2) วัสดุใด ๆ ท่ีมวี ัสดุตามท่ีระบุไว้ใน (1) อย่างหน่ึงหรอื หลายอย่าง
ผสมเข้าไป ท้ังน้ีไม่รวมวัสดุต้นกำ�ลัง” ก็คล้ายคลึงกันยิ่งกับคำ�นิยามที่ปรากฏใน ATOMIC ENERGY ACT OF
1954 เชน่ กัน

แล้วทำ�ไมต้องใช้คำ�ว่า วัสดุต้นกำ�ลัง (source material) กับวัสดุนิวเคลียร์พิเศษ (special nuclear
material) ด้วย ก็เพราะว่าวัสดุต้นกำ�ลังน้ันเป็นวัตถุดิบหรือวัสดุต้ังต้นในการผลิตวัสดุนิวเคลียร์พิเศษในทาง
เทคนิค เราจะเรียกวัสดุต้นกำ�ลังว่า วัสดุเฟอร์ไทล์ (fertile material) และวัสดุนิวเคลียร์พิเศษ ว่า วัสดุฟิซไซล์
(fissile material) วัสดุต้นกำ�ลังหรือวัสดุเฟอร์ไทล์น้ีจะสามารถดูดจับนิวตรอน แล้วทำ�ให้ตัวมันเองกลายเป็น
วัสดุนวิ เคลียรพ์ ิเศษหรือวัสดุฟซิ ไซล์ได้ เชน่ ทอเรียม 232 (วัสดุต้นกำ�ลัง) เม่อื ดูดจับนวิ ตรอนหน่ึงตัว จะสามารถ
กลายเป็น ยูเรเนียม 233 (วัสดุนิวเคลียร์พิเศษ) ได้ หรือ ยูเรเนียม 238 (วัสดุต้นกำ�ลัง) เม่ือดูดจับนิวตรอน
หน่งึ ตัวจะสามารถกลายเปน็ พลโู ทเนยี ม 239 (วัสดุนวิ เคลียรพ์ ิเศษ) ได้ ส่วนวัสดนุ วิ เคลียร์พเิ ศษหรือวัสดุฟซิ ไซล์
เม่ือดูดจับนิวตรอนพลังงานตำ่�ก็จะเกิดปฏิกิริยาฟิชชันข้ึนมา ปฏิกิริยาฟิชชันน้ีเม่ือใช้ในทางที่สร้างสรรค์ก็
สามารถน�ำ มาผลิตไฟฟ้าหรือทำ�น�ำ้ ทะเลใหเ้ ปน็ น�ำ้ จืดได้ หากใช้ในทางทำ�ลายล้าง ก็สามารถน�ำ มาผลิตเปน็ ระเบิด
นวิ เคลียร์ อยา่ งที่เหน็ กันเม่อื คร้ังสงครามโลกครั้งที่ 2 ท่ี เมอื งฮิโรชมิ ่า (ถกู ทิ้งระเบิดนวิ เคลียร์ ช่ือ “Little Boy”
ซ่ึงทำ�จากยูเรเนียมท่ีเสริมสมรรถนะด้วยยูเรเนียม 235 ถึงประมาณร้อยละ 80) กับเมืองนางาซากิ (ถูกทิ้งระเบิด
นวิ เคลียร์ ช่ือ “Fat Man” ซ่งึ ทำ�จากพลโู ทเนยี ม 239)

สว่ น “วัสดพุ ลอยได้” มาจากภาษาอังกฤษคำ�ว่า “byproduct material” คำ�นยิ ามท่ีปรากฏใน ATOMIC
ENERGY ACT OF 1954 คือ “any radioactive material (except special nuclear material) yielded in or
made radioactive by exposure to the radiation incident to the process of producing or utilizing
special nuclear material” และคำ�นิยามของ “วัสดุพลอยได้” ที่ปรากฏในพระราชบัญญัติพลังงานปรมาณู
เพ่อื สันติ พ.ศ. 2504 คือ “วัสดกุ ัมมนั ตรงั สที กุ ชนิดนอกจากวัสดนุ ิวเคลยี รพ์ ิเศษ ซ่ึงเกิดจากการผลิตหรอื การ
ใช้วัสดุนิวเคลียรห์ รอื วัสดุนิวเคลียรพ์ ิเศษ” ก็คล้ายคลึงกันยิ่งกับคำ�นิยามท่ีปรากฏใน ATOMIC ENERGY ACT
OF 1954 เช่นกัน ดังน้ัน จะเห็นได้ว่า วัสดุพลอยได้ตามคำ�นิยามต้องเป็นวัสดุกัมมันตรังสีที่มนุษย์ทำ�ข้ึนเท่าน้ัน
วัสดุกัมมันตรังสีท่ีเกิดข้ึนตามธรรมชาติ เช่น เรเดียม 226 (Ra-226) โพแทสเซียม 40 (K-40) และ เรดอน 222
(Rn-222) จะไม่เป็นวัสดุพลอยได้ อันทำ�ให้ไม่ต้องอยู่ภายใต้การกำ�กับดูแลตามพระราชบัญญัติพลังงานปรมาณู
เพ่อื สันติ พ.ศ. 2504

วารสาร 13

คำ�ว่า “กระทำ�ด้วยประการใด ๆ แก่วัสดตุ ้นกำ�ลังใหพ้ น้ จากสภาพทเ่ี ปน็ อยูต่ ามธรรมชาติในทางเคม”ี
ไมม่ ปี รากฏอยใู่ น ATOMIC ENERGY ACT OF 1954 ค�ำ นน้ี น้ั ปรากฏอยใู่ นพระราชบญั ญตั พิ ลงั งานปรมาณเู พ่อื สนั ติ
พ.ศ. 2504 มาตรา 4 (4) ที่บัญญัติว่า “ให้รัฐมนตรีมีอำ�นาจ (4) กำ�หนดเง่ือนไขให้ผู้รับใบอนุญาตตาม
มาตรา 12 ปฏบิ ตั เิ พ่อื ประโยชนค์ วามปลอดภยั ในการผลติ การมไี วใ้ นครอบครองหรอื การใช้ ... วสั ดตุ น้ ก�ำ ลงั
ซง่ึ พน้ จากสภาพทเ่ี ปน็ อยตู่ ามธรรมชาติในทางเคมี หรอื กระทำ�ด้วยประการใด ๆ แก่วัสดตุ ้นกำ�ลังใหพ้ น้ จาก
สภาพทเ่ี ปน็ อยตู่ ามธรรมชาตใิ นทางเคมี ...” และมาตรา 12 วรรคหนง่ึ ทบ่ี ญั ญตั วิ า่ “หา้ มมใิ หผ้ ใู้ ด (1) ผลติ มไี วใ้ น
ครอบครองหรอื ใชซ้ งึ่ วสั ดนุ วิ เคลยี รพ์ เิ ศษ พลงั งานปรมาณู วสั ดพุ ลอยไดห้ รอื วสั ดตุ น้ ก�ำ ลงั ซงึ่ พน้ จากสภาพท่ี
เปน็ อยตู่ ามธรรมชาติในทางเคมี (2) กระทำ�ด้วยประการใด ๆ แกว่ สั ดตุ ้นกำ�ลงั ใหพ้ น้ จากสภาพทเ่ี ปน็ อยตู่ าม
ธรรมชาติในทางเคม”ี จึงมีคำ�ถามว่าอะไรคือ “สภาพทเ่ี ป็นอยูต่ ามธรรมชาติ” และทำ�ไมต้องเจาะจงเฉพาะ
“ทางเคม”ี ถา้ ท�ำ “ทางฟสิ กิ ส”์ และ “ทางชวี ะ” จะไมห่ า้ ม ใชห่ รอื ไม่

แต่ก่อนท่ีจะพิจารณาคำ�ว่า “กระทำ�ด้วยประการใด ๆ แก่วัสดุต้นกำ�ลังให้พ้นจากสภาพท่ีเป็นอยู่ตาม
ธรรมชาติในทางเคม”ี น้ี เราต้องเข้าใจถึงวัฏจักรเช้ือเพลิงนิวเคลียร์กันก่อนนั่นคือ การผลิตเช้ือเพลิงนิวเคลียร์
การใช้เช้อื เพลิงนวิ เคลียร์ และการจัดการเช้ือเพลิงนวิ เคลียรท์ ี่ผา่ นการใช้งานแล้ว การผลิตเช้อื เพลิงนวิ เคลียรโ์ ดย
ท่ัวไปเริ่มจากการขุดแร่ยูเรเนียม (mining) ซ่ึงยูเรเนียมตามธรรมชาติจะประกอบด้วยยูเรเนียม 238 อยู่
ร้อยละ 99 ยูเรเนียม 235 อยู่ร้อยละ 0.711 ส่วนท่ีเหลือเป็นยูเรเนียม 234 จากน้ันก็แต่งแร่ยูเรเนียม (milling)
เพ่อื ใหไ้ ดย้ เู รเนยี มออกไซด์ (U3O8) แตห่ ากตอ้ งการน�ำ ยเู รเนยี มไปใชเ้ ปน็ เช้อื เพลงิ นวิ เคลยี รท์ ใ่ี ชใ้ นโรงไฟฟา้ นวิ เคลยี ร์
หรอื เช้ือเพลิงนวิ เคลียรท์ ่ีใชใ้ นเคร่ืองปฏิกรณน์ วิ เคลียร์ จะต้องเสรมิ สมรรถนะยูเรเนยี มใหม้ ยี ูเรเนยี ม 235 เพม่ิ ข้ึน
ถึงประมาณร้อยละ 3.5 หรือมากกว่าน้นั โดยจะต้องใชข้ ้ันตอนต่อไปคือการเปลี่ยนรูป (conversion) จากยูเรเนยี ม
ออกไซด์ (U3O8) ที่อยู่ในรูปของแข็งให้เป็นยูเรเนียมเฮกซะฟลูออไรด์ (UF6) ในรูปก๊าซเพ่ือให้ง่ายต่อการเสริม
สมรรถนะด้วยการหมุนเหวี่ยง (centrifuge) ที่ยูเรเนียม 238 ซ่ึงหนักกว่าจะถูกหมุนเหวี่ยงไปอยู่รอบนอกแกน
หมุน ส่วนยูเรเนียม 235 ซ่ึงเบากว่าจะอยู่ใกล้กับแกนหมุน การเสริมสมรรถนะด้วยการหมุนเหว่ียง (centrifuge)
เป็นวิธีการท่ีนิยมท่ีสุดในปัจจุบันในการเสริมสมรรถนะยูเรเนียม ยูเรเนียมท่ีผ่านการเสริมสมรถถนะแล้วก็จะถูก
นำ�ไปผลิตเป็นเช้ือเพลิงนิวเคลียร์เพ่ือใช้ในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์หรือเคร่ืองปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัยต่อไป จนท้ายที่สุด
เม่ือเช้ือเพลิงนิวเคลียร์น้ันไม่สามารถใช้งานได้อีกต่อไป เช้ือเพลิงนิวเคลียร์เหล่าน้ันก็จะถูกจัดการเป็นเช้ือเพลิง
นิวเคลียร์ใช้แล้ว (spent nuclear fuel) หรือกากกัมมันตรังสี (radioactive waste) ตามนโยบายท่ีแต่ละประเทศ
กำ�หนด

ดังน้นั จากวัฏจักรเช้อื เพลิงนวิ เคลียร์ เราจะเหน็ ได้ว่า “วัสดุต้นกำ�ลัง” ที่พระราชบญั ญตั ิพลังงานปรมาณู
เพ่ือสันติ พ.ศ. 2504 มุ่งเป้าประสงค์ใน “กระทำ�ด้วยประการใด ๆ แก่วัสดุต้นกำ�ลังให้พ้นจากสภาพท่ีเป็นอยู่
ตามธรรมชาติในทางเคม”ี คือ สารประกอบของยูเรเนียมหรือธอเรียม (ปัจจุบันสะกดว่า “ทอเรียม”) ยูเรเนียม
และทอเรียมที่อยู่ในธรรมชาติ ต่างอยู่ในรูปของสารประกอบ (compound) ท้ังน้ัน ส่วนกฎกระทรวง ฉบับที่ 5
(พ.ศ. 2516) ออกตามความในพระราชบัญญัติพลังงานปรมาณูเพ่ือสันติ พ.ศ. 2504 ท่ีกำ�หนดอัตราความ
เข้มข้นของวัสดุ ซ่ึงประกอบอยู่ในแร่หรือสินแร่ อันทำ�ให้แร่หรือสินแร่เป็นวัสดุต้นกำ�ลัง ซ่ึงกำ�หนดว่า “(1)
ยูเรเนียมอ๊อกไซด์ (U3O8) ในหัวแร่ (Concentrates) ต้ังแต่รอ้ ยละ 15 ข้ึนไป (2) ธอเรยี มอ๊อกไซด์ (ThO2)
ในหวั แร่ (Concentrates) ต้ังแต่รอ้ ยละ 15 ข้นึ ไป (3) ยูเรเนยี มอ๊อกไซด์ (U3O8) และธอเรยี มอ๊อกไซด์ (ThO2)
ในหัวแร่ (Concentrates) รวมกัน ต้ังแต่รอ้ ยละ 15 ข้นึ ไป” ก็ไมส่ ามารถใช้ได้จรงิ ในทางปฏิบัติ เน่อื งจากแรห่ รือ

14 วารสาร

สินแร่ไม่ได้มีสารประกอบในรูปของ U3O8 และ ThO2 สารประกอบของยูเรเนียมและทอเรียมในธรรมชาติจะอยู่
ในรูป uraninite UO2, coffinite U(SiO4)1–x(OH)4x, brannerite UTi2O6 และ davidite (REE)(Y,U)(Ti,Fe3+)20O38
สำ�หรับยูเรเนียม และ monazite-(Ce) (Ce,La,Nd,Th)PO4 สำ�หรับทอเรียม อีกท้ัง โดยท่ัวไปความเข้มข้นของ
ยเู รเนยี มและทอเรยี มกต็ �่ำ กวา่ รอ้ ยละ 15 ในแรห่ รอื สนิ แร่ ดงั นน้ั จงึ สรุปไดว้ า่ “วสั ดตุ น้ ก�ำ ลงั ” ตามพระราชบญั ญตั ิ
พลังงานปรมาณูเพ่ือสันติ พ.ศ. 2504 ในทางปฏิบัติจะมีเพียงสารประกอบของยูเรเนียมและทอเรียมเท่าน้ัน
และแร่หรือสินแร่ก็มีสารประกอบของยูเรเนียมและทอเรียมได้ แม้ตัวแร่หรือสินแร่จะไม่เป็นวัสดุต้นกำ�ลัง
ตามกฎหมายก็ตาม ส่วนการ “กระทำ�ด้วยประการใด ๆ แก่วัสดุต้นกำ�ลังให้พ้นจากสภาพท่ีเป็นอยู่
ตามธรรมชาติในทางเคมี” ก็คือ การทำ�ให้สารประกอบยูเรเนียมและทอเรียมมีสูตรทางเคมีเปล่ียนไปจากเดิม
น่ันคือ การทำ�ให้ไม่ว่า uraninite UO2 หรือ monazite-(Ce) (Ce,La,Nd,Th)PO4 อยู่ในรูป U3O8 หรือ ThO2
ตามลำ�ดับ น่นั เอง วิธกี ารทำ�ใหส้ ารประกอบยูเรเนยี มและทอเรยี มมสี ูตรทางเคมเี ปล่ียนไปจากเดิมก็โดยการใช้สาร
เคมเี ขา้ ไปทำ�ปฏิกิริยาน่นั เองและวิธกี ารทางเคมยี ังคงนยิ มใช้กันอยูใ่ นปจั จุบันสรุปว่าที่สาธยายมายืดยาวสามารถ
อธิบายส้ัน ๆ ได้ว่าการ “กระทำ�ด้วยประการใด ๆ แก่วัสดุต้นกำ�ลังให้พ้นจากสภาพท่ีเป็นอยู่ตามธรรมชาติ
ในทางเคมี” ก็คือ การแต่งแร่ (milling) น่ันเอง แล้วหากจะกระทำ�ด้วยทางฟิสิกส์หรือทางชีวะ ก็คงไม่ผิด
พระราชบัญญัติพลังงานปรมาณเู พ่อื สันติ พ.ศ. 2504 เพราะกฎหมายไมไ่ ด้หา้ มไว้ แต่หากจะริใชว้ ิธกี ารทางฟสิ กิ ส์
หรือทางชีวะ ในการแต่งแร่ปัจจุบัน ก็ทำ�ไม่ได้แล้ว เน่ืองจากกฎหมายใหม่ พระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์
เพ่ือสนั ติ พ.ศ. 2559 บัญญตั ิหา้ มไว้ เว้นแต่ได้รับใบอนญุ าต

ก่อนจากกัน หวังว่าคำ�นิวเคลียร์ท่ีไม่ค่อยเคลียร์ในพระราชบัญญัติพลังงานปรมาณูเพ่ือสันติ พ.ศ. 2504
คงจะ “เคลียร”์ ข้ึน เพราะคำ�บางคำ�ยังมีใช้อยู่ในพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์เพ่ือสันติ พ.ศ. 2559 ด้วย
ได้แก่ วัสดุต้นกำ�ลัง และวัสดุนิวเคลียร์พิเศษ การเข้าใจที่มาท่ีไปของคำ�เหล่านี้จะช่วยให้เข้าใจเบ้ืองลึกเบ้ืองหลัง
ของกฎหมายว่ามเี จตนารมณใ์ นการบัญญตั ิอยา่ งไร

วารสาร 15

ปี แหง่ การสรา้ งสรรค์

ความร่วมมอื ระหว่างประเทศ

ทางนวิ เคลียร์รังสี นางสาวชชั วรรณ ม่นั ไทรทอง
นกั วิเทศสัมพนั ธช์ �ำ นาญการ

นอกเหนือจากการกำ�กับการใช้ประโยชน์จากพลังงานนิวเคลียร์และรังสีให้เกิดความปลอดภัย
สูงสุดต่อประชาชนผู้ใช้งานและสิ่งแวดล้อม ซ่ึงเป็นภารกิจหลักของสำ�นักงานปรมาณูเพ่ือสันติ (ปส.) แล้ว
ปส. ยังมีบทบาทท่ีสำ�คัญด้านความร่วมมือระหว่างประเทศ ในการสร้างสรรค์ให้เกิดความร่วมมือระหว่าง
หน่วยงานของไทยท้ังในระดับ สำ�นักงาน กรม สถาบัน จากหลากหลายกระทรวง เช่น กระทรวงการเกษตร
และสหกรณ์ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงพลังงาน รวมไป
ถึงภาคอุดมศึกษาท่ีมีการใช้ประโยชน์จากเทคนิคทางนิวเคลียร์และรังสี กับหน่วยงานด้านพลังงานนิวเคลียร์
ของต่างประเทศที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีนิวเคลียร์ในระดับสูง อาทิ สหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐเกาหลี
ออสเตรเลีย และโดยเฉพาะอย่างย่ิง กับองค์การระหว่างประเทศอย่างทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่าง
ประเทศ (International Atomic Energy Agency: IAEA) ในด้านการพัฒนาบุคลากร การถ่ายทอดเทคโนโลยี
การช่วยเหลือด้านวิชาการและสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญ ตลอดจนการจัดสรรเคร่ืองมือและอุปกรณ์ทาง
วิทยาศาสตร์ท่ีจำ�เป็นผ่านกลไกต่าง ๆ ของ IAEA หน่ึงในกลไกท่ีสำ�คัญคือการจัดทำ�โครงการความร่วมมือ
เชิงวิชาการระดับประเทศที่ช่ือว่า Technical Cooperation Project หรือเรียกส้ันๆ ว่าโครงการ TC
โดยโครงการ TC นจ้ี ะถูกออกแบบรว่ มกันโดยหนว่ ยงานวิชาการในไทย ปส. และผเู้ ชีย่ วชาญจาก IAEA เพ่ือใหต้ อบ
สนองต่อความต้องการของไทยมากท่ีสุด


16 วารสาร

ภาพท่ี 1 กรมการข้าวได้รับรางวัลความสำ �เร็จในการนำ �พลังงานนิ วเคลียร์และรังสี มาใช้ประโยชน์ ในการ
ปรับปรุงพันธ์ข้าวข้าวเหนี ยว กข 6 และข้าวเจ้า กข 15 จาก ทบวงการพลังงานปรมาณรู ะหว่างประเทศ (IAEA)
และองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ซ่ึงเป็นหน่ึ งในโครงการ TC projects ของ
ประเทศไทย

ที่ผ่านมา ประเทศไทยได้รับความช่วยเหลือทางวิชาการมากมายหลายแขนงผา่ นโครงการ TC เร่ิมต้ังแต่
เร่ืองใกล้ตัวที่เราอาจมองข้าม โดยไมเ่ คยรู้ว่าเทคนคิ ทางนวิ เคลียร์สามารถถูกน�ำ มาใช้ได้ ไปจนถึงเร่ืองใหญ่ไกลตัว
มาก ๆ อยา่ งการวางแผนโครงการโรงไฟฟา้ พลังงานนวิ เคลียร ์ การทำ�โครงการ TC ได้ช่วยแก้ปญั หาและพัฒนาการ
ดำ�เนินงานของไทยในหลากหลายด้าน เช่น การช่วยเหลือเกษตรกรลดจำ�นวนแมลงศัตรูพืช โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
แมลงวันผลไม้โดยไม่ใช้สารเคมี รวมไปถึงการปรับปรุงพันธุ์พืชให้มีผลผลิตท่ีสูงข้ึนและทนต่อสภาพอากาศ
ของไทย การปอ้ งกันโรคระบาดในสตั ว์เพ่อื สง่ เสรมิ ความปลอดภัยของเน้อื สัตว์ส�ำ หรบั ใช้บรโิ ภค การใชร้ ังสีแกมมา
เพ่ือยืดอายุและชะลอการสุกของพืชผักผลไม้เพ่ือส่งออกและใช้บริโภคภายในประเทศ การศึกษาองค์ประกอบ
และพลังงานของร่างกายและภาวะทุพโภชนาการของประชากรไทย การใช้เทคนิคไอโซโทปในการศึกษาระบบ
นิเวศของน้ำ�ท้ังบนดินและใต้ดิน สำ�หรับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ�อย่างคุ้มค่า การใช้ลำ�แสงอิเล็กตรอน
ในการพัฒนาพลาสติกบรรจุภัณฑ์ย่อยสลายได้ (bioplastic) เพ่ือให้ไทยสามารถผลิตบรรจุภัณฑ์ในประเทศ
ได้เองอย่างย่ังยืน การพัฒนาศักยภาพการใช้นิวเคลียร์และรังสีในด้านการวินิจฉัยโรคต่าง ๆ และการรักษา
โรคมะเร็งด้วยเทคโนโลยีที่ลำ้�สมัย อาทิ การใช้อนุภาคโปรตอนเพ่ือเพ่ิมความแม่นยำ�ในการรักษา ถือเป็นการ
พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรไทยในด้านสาธารณสขุ ไทยอย่างแท้จริง

จากท้ังหมดท่ีกล่าวมาจะเห็นได้ว่า ไทยได้รับประโยชน์มากมายจากการใช้เทคโนโลยีนิวเคลียร์และ
รังสีผ่านโครงการ TC โดย ปส. มีบทบาทท่ีสำ�คัญยิ่ง ในการนำ�เข้าเทคโนโลยีทางนิวเคลียร์และรังสี ซ่ึงเป็น
ความช่วยเหลือจากต่างประเทศ มาเสริมสร้างศักยภาพการดำ�เนินงานของหน่วยงานในไทยให้มีความเข้มแข็ง
ท้ังในด้านอุตสาหกรรม การเกษตร การแพทย์ โภชนาการ ส่ิงแวดล้อมและบริหารจัดการนำ้� โดยองค์ความรู้
และความช่วยเหลือทางวิชาการผ่านโครงการ TC เหล่าน้ี ได้ถูกส่งลำ�เลียงไปยังหน่วยงานมากกว่า 50 หน่วย
ในประเทศไทยตลอดระยะเวลา 60 ปี เสมอื นว่า ปส. ได้ทำ�หนา้ ท่ีสะพานเช่ือมโยงหนว่ ยงานของไทยกับวิทยาการ
ด้านนิวเคลียร์และรังสีท่ีสำ�คัญต่อการพัฒนาประเทศตลอดมา และ ปส. มีความพร้อมท่ีจะทำ�หน้าท่ีสะพานแห่ง
ความร่วมมอื ใหแ้ ขง็ แกรง่ และสะดวกสบายย่ิงข้นึ ต่อไปในอนาคต

วารสาร 17

Research Reactor :
2 (1.46%)

NuRclae1Sd2aairaf(tea8itno.7ydn6:%) Education :
12 (8.76%)
Environmen t :
12 (8.76%) Infrastructure :
14 (10.22%)

Nutrition : 4 (2.92%) 137 TC
projects
Industry and Radiation
Technology : 15 (10.95%)

Medicine : 28 (20.44%)

Agriculture : 38 (27.74%)

ภาพท่ี 2 แสดงจ�ำ นวนโครงการ TC

Research Nuclear and Education : Infrastructure :
Reactor : 3 Radiation 3 (6%) 3 (6%)

(6%) Safety : 5 (10%) Industry and
Radiation
Environment :
4 (8%) Technology :
5 (10%)

Nutrition :
1 (2%)

Stakeholders

Agriculture :
13 (24%)

Medicine :
14 (28%)

ภาพท่ี 3 แสดงจ�ำ นวนหน่วยงานผทู้ ำ�โครงการ TC

หมายเหตุ : โครงการ TC เริม่ ต้ังแต่ปี พ.ศ. 2520
18 วารสาร

มาตรวิทยารงั สีของประเทศไทย

ดร.วิทิต ผ่งึ กัน นกั ฟิสกิ สร์ ังสชี ำ�นาญการพิเศษ

รักษาการในตำ�แหนง่ ผเู้ ช่ยี วชาญเฉพาะด้านการประเมนิ ค่ากัมมนั ตภาพรงั สี

นางสาวลีดา มติ รายน นกั ฟสิ ิกส์รงั สีปฏิบตั ิการ

ความเป็นมา

ความปลอดภัยในการใช้ต้นกำ�เนิดรังสีและการป้องกันอันตรายจากรังสีสำ�หรับประชาชน เป็นหน่ึงในภารกิจ
หลักของสำ�นักงานปรมาณูเพ่ือสันติ (ปส.) รวมถึงการดำ�เนินการเก่ียวกับมาตรฐานทางรังสีและกัมมันตรังสีของประเทศ
การรักษามาตรฐาน การศึกษาพัฒนา การสอบเทียบ การออกใบรับรอง และการถ่ายทอดค่ามาตรฐานหน่วยวัดสากล
ทางปริมาณรังสีและกัมมันตภาพรังสี ดังน้ัน เพ่ือให้การดำ�เนินงานของ ปส. สอดคล้องกับภารกิจดังกล่าว จึงมีการจัดต้ัง
ห้องปฏิบัติการมาตรฐานการวัดปริมาณรังสีและกัมมันตภาพรังสีข้ึน เพ่ือดําเนินงานทางด้านมาตรวิทยารังสีของประเทศ
เม่อื ปลายปี พ.ศ. 2519 ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (International Atomic Energy Agency, IAEA) ได้แจ้ง
แก่ประเทศสมาชิกให้จัดทําโครงการขอรับความช่วยเหลือด้านมาตรฐานการวัดปริมาณรังสีจาก IAEA ระหว่างปี พ.ศ. 2524
ถึงปี พ.ศ. 2529 เพ่ือขอความช่วยเหลือในการจัดต้ังห้องปฏิบัติการวัดรังสีมาตรฐานทุติยภูมิ โดยผู้เชี่ยวชาญจาก IAEA
จะเดินทางมาถ่ายทอดเทคโนโลยีและติดต้ังเคร่ืองฉายรังสีมาตรฐาน จํานวนท้ังส้ิน 6 เคร่ือง และอุปกรณ์ประกอบอ่ืนๆ อาทิ
ระบบรางเล่ือนและที่จับยึดเพ่ือจัดวางหัววัด พร้อมเคร่ืองมืออย่างละเอียด ระบบกําหนดตําแหน่ง และวัดระยะทางแบบ
เทเลสโคป เลเซอรพ์ รอ้ มไมบ้ รรทัดโลหะปลอดสนมิ ระบบโทรทัศนว์ งจรปดิ ระบบตรวจวัดระดับรงั สีในหอ้ งปฏิบัติการ (Area
Monitors) รวมถึงระบบเตือนภัยทางรังสี จากจุดเริ่มต้นดังที่กล่าวมานี้ ปส. ได้ ดําเนินงานจัดระบบห้องปฏิบัติการมาตรฐาน
การวัดรังสีต่อเน่ืองมาโดยตลอด พร้อมท้ังให้บริการสอบเทียบเคร่ืองมือวัดปริมาณรังสีและระดับรังสีต่าง ๆ ด้วยปณิธาน
ที่ว่าเคร่ืองวัดรังสีท่ีใช้ในประเทศไทยทุกเคร่ืองต้องผ่านการสอบเทียบเป็นประจํา เพ่ือความปลอดภัยกับผู้ใช้งานทางรังสี
และผลการวัดสามารถอ้างอิงได้จากรายงานผลการสอบเทียบ เน่ืองจากปัญหาการสอบเทียบกรณีเคร่ืองมือวัดรังสีท่ีใช้
วัดรงั สที ่ีมพี ลังงานต่ำ�กว่ารงั สีแกมมาจากซเี ซียม 137 (Cs-137) จึงขอรับความช่วยเหลือจาก IAEA ในระหว่างปี พ.ศ. 2533 ถึง
พ.ศ. 2534 อีกคร้ัง และได้รับความช่วยเหลือเป็นเคร่ืองเอกซเรย์พลังงานตำ่�พร้อมอุปกรณ์ประกอบอ่ืน ซ่งึ ปัจจุบันใช้ใน
งานวจิ ยั อยา่ งหลากหลาย อาทิ ใชใ้ นงานสอบเทยี บ งานถา่ ยภาพทางรงั สี งานทดสอบประสทิ ธภิ าพวสั ดกุ �ำ บงั รงั สี

งานด้านมาตรวิทยาทางรังสีได้พัฒนาข้ึนเป็นลําดับ โดยเม่ือปี พ.ศ. 2547 ปส. และสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ
ได้ทําบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือในการพัฒนาหน่วยวัดแห่งชาติเพ่ือกําหนดข้อตกลงและเง่ือนไขของความร่วมมือ
อันจะก่อให้เกิดการพัฒนาหน่วยวัดแห่งชาติสาขารังสีก่อไอออน โดย ปส. จะเป็นตัวแทนในการพัฒนาและร่วมมือกับ
หน่วยงานท้ังในและต่างประเทศในสาขารังสีก่อไอออน เพ่ือให้ระบบการวัดแห่งชาติมีความเข้มแข็งข้ึน สามารถถ่ายทอด
ความถกู ต้องของการวัดสผู่ ใู้ ชง้ านภายในประเทศได้อย่างเต็มประสทิ ธภิ าพ

วารสาร 19

ความรว่ มมือระหว่างประเทศ

ปส. ได้เขา้ เปน็ สมาชิกองค์กรมาตรวิทยาระหว่างประเทศ (Asia-Pacific Metrology Programme, APMP) หลังจาก
ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีเม่ือปี พ.ศ. 2552 โดย ปส. เข้าร่วมการประชุม APMP ในสาขา Technical Committee
on Ionizing Radiation (TCRI) ที่จัดข้ึนเป็นประจำ�ทุกปีอย่างต่อเน่ือง เพ่ือแลกเปลี่ยนความรู้และวิทยาการที่ทันสมัย
รวมถึงการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับสถาบันมาตรวิทยาทางรังสีในประเทศต่างๆ เพ่ือเจรจาขอความร่วมมือในการพัฒนา
ระบบมาตรวิทยารังสีแห่งชาติ ระหว่างปี พ.ศ. 2558 – 2559 ปส. ได้รับความช่วยเหลือจากสหภาพยุโรปในโครงการ
Enhancing the capacity and effectiveness of the regulatory body and developing a national waste management
strategy (TH3.01/13) Task 7: Ionizing Radiation Metrology เพ่ือสนบั สนนุ ให้ ปส. จัดต้ังหอ้ งปฏิบัติการวัดรงั สีมาตรฐาน
ปฐมภูมิ (Primary Standard Dosimetry Laboratory, PSDL) ผ่านทางความช่วยเหลือทางวิชาการ การฝึกอบรม การดูงาน
และการสัมนาทางวิชาการ และในปี พ.ศ. 2560 ปส. ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจกับ Korea Research Institute of
Standards and Science (KRISS) และ Korea Nuclear International Cooperation Foundation (KONICOF) เพ่ือส่งเสรมิ
ความรว่ มมอื ระหว่างกันด้านมาตรวิทยารงั สใี นระดับปฐมภมู ิ

นอกจากนี้ในระหว่างปี พ.ศ. 2560 - 2563 ปส. ยังได้เสนอและได้รับความเห็นชอบโครงการภายใต้กรอบข้อตกลง
Asia-Pacific Economic Cooperation (APEC) เพ่ือพัฒนาระบบงานด้านมาตรวิทยารังสีของเขตเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย
แปซิฟิค ผ่านการจัดประชุมทางวิชาการและการเปรียบเทียบผลการทดลองระหว่างห้องปฏิบัติการให้สามารถสอบย้อนกลับ
ไปสู่ระดับปฐมภูมิและหน่วยพ้ืนฐาน (SI Unit) รวมถึงเป็นการพัฒนาและยกระดับการประกันคุณภาพเพ่ือสนับสนุน
การขอรบั รองระบบมาตรฐาน ISO/IEC 17025 ของหอ้ งปฏิบตั ิการวัดรังสมี าตรฐานในภมู ภิ าคเอเซียแปซิฟิค

หอ้ งปฏิบตั ิการมาตรฐานการวัดทางนิวเคลยี รแ์ ละรงั สี ปส.


1. ห้องปฏิบัติการวัดรังสีมาตรฐานทุติยภูมิ (Secondary Standard Dosimetry Laboratory, SSDL)
เปน็ หอ้ งปฏิบัติการท่ีอยูใ่ นเครอื ขา่ ยของ IAEA และองค์การอนามยั โลก (WHO) เพ่อื ใชเ้ ปน็ มาตรฐานด้านการปอ้ งกันอันตราย
จากรังสีของประเทศ ห้องปฏิบัติการฯ นี้ให้บริการสอบเทียบเคร่ืองสำ�รวจรังสีและมาตรรังสีแบบพกพาให้แก่หน่วยงานของ
ภาครัฐและเอกชน (ตามประกาศทางเว็บไซต์ www.oap.go.th) ก่อต้ังข้ึนเม่ือ ปี พ.ศ. 2530 เพ่ือให้ประเทศไทยมีมาตรฐาน
การวัดรังสี โดยห้องปฏิบัติการฯ มีภารกิจหลักคือรักษามาตรฐานการวัดทางรังสีระดับประเทศและถ่ายทอดค่ามาตรฐาน
ความถูกต้องของการวัดไปสู่ผู้ใช้งานในหน่วยงานต่าง ๆ เช่น หน่วยงานวิจัย หน่วยงานอุตสาหกรรม และหน่วยงานด้าน
การแพทย์ โดยมีการสอบกลับ (Traceability) ไปยังห้องปฏิบัติการวัดรังสีมาตรฐานปฐมภูมิท่ีต่างประเทศทุก ๆ 3 ปี ซ่ึง
ปส. ทำ�การส่งหัววัดรังสีชนิดไอออนไนเซชันแชมเบอร์ และเคร่ืองวัดประจุไฟฟ้าชนิดความแม่นยําสูงไปสอบเทียบกับห้อง
ปฏิบัติการมาตรฐานปฐมภูมิของประเทศญ่ีปุ่น (NMIJ) อีกท้ังห้องปฏิบัติการฯ ยังมีเคร่ืองฉายรังสีแกมมาจากต้นกำ�เนิดรังสี

ห้องปฏิบตั กิ ารวัดรงั สี
มาตรฐานทุตยิ ภมู ิ

20 วารสาร

ชนดิ ซีเซียม 137 (Cs-137) และโคบอลต์ 60 (Co-60) ต้นกําเนดิ รังสบี ีตา ต้นกําเนดิ รงั สีนวิ ตรอน และเคร่อื งกําเนดิ รังสีเอกซ์
ชนิดแรงดันไฟฟ้า 160 กิโลโวลต์ สําหรับให้บริการสอบเทียบเคร่ืองมือวัดรังสีในระดับการป้องกันอันตรายจากรังสี และ
เพ่อื งานวิจัยร่วมกับทางมหาวิทยาลัยท่ัวประเทศ

2. ห้องปฏิบัติการมาตรฐานด้านการวัดปรมิ าณรงั สรี ะดับสูง (High-Dose Radiation Dosimetry Calibration
Laboratory, HDCL) เป็นห้องปฏิบัติการท่ีเป็นมาตรฐานของประเทศด้านการวัดปริมาณรังสีระดับสูงในระดับอุตสาหกรรม
ซ่ึงมีประโยชน์ต่อประชาชนในการใช้ประโยชน์จากรังสีระดับสูงในอุตสาหกรรม เช่น การฉายรังสีเพ่ือการฆ่าเช้ือ
อุปกรณ์ทางการแพทย์ การปรับปรุงคุณสมบัติของพอลิเมอร์ การฉายรังสีอาหารเพ่ือยืดอายุการเก็บรักษา กําจัดแมลง
ในธญั พืช การเพ่ิมมลู ค่าอัญมณี เปน็ ต้น ซ่ึงนยิ มใช้รงั สแี กมมาจากต้นกำ�เนดิ รงั สโี คบอลต์ 60 หรอื รงั สจี ากอนภุ าคอิเล็กตรอน
ซ่ึงมีคุณลักษณะการถ่ายเทพลังงานในแบบเดียวกับพลังงานแสงอาทิตย์แต่มีกําลังสูงกว่ามาก เช่น โรงงานฉายรังสีขนาด
ใหญ่ในประเทศไทย จำ�นวน 5 แห่ง ให้บริการฉายรังสีเพ่ือฆ่าเช้ืออุปกรณ์ทางการแพทย์ (Radiation sterilization of
medical devices) แทนการใช้ก๊าซอะเซทิลีนหรือความร้อน วิธกี ารฉายรังสีนี้ได้รับการยอมรับความปลอดภัยจากนานาชาติ
ห้องปฏิบัติการฯ ได้จัดต้ังข้ึนเม่ือปี พ.ศ. 2535 มีภารกิจหลักในการให้บริการสอบเทียบมาตรฐานอุปกรณ์วัดปริมาณรังสี
ระดับสูงประเภทต่าง ๆ อาทิ Fricke Alanine และ Red Perspex เพ่ือใช้ควบคุมคุณภาพจากกระบวนการฉายรังสี
ห้องปฏิบัติการฯ ดําเนินการเปรียบเทียบผลทดลองกับห้องปฏิบัติการ National Physical Laboratory (NPL) ของ
ประเทศอังกฤษเปน็ ประจำ�ทุก 2 ป ี

ห้องปฏิบัตกิ ารมาตรฐาน
ด้านการวัดปริมาณรงั สีระดับสูง

3. ห้องปฏิบัติการมาตรฐานด้านกัมมันตภาพรังสีและวัสดุอ้างอิง (National Standard on Radioactivity
Laboratory, NSRL) เป็นห้องปฏิบัติการท่ีเป็นมาตรฐานของประเทศด้านการวัดกัมมันตภาพรังสี ซ่ึงเป็นโครงสร้างพ้ืน
ฐานด้านการใช้สารกัมมันตภาพรังสีและสารเภสัชรังสีต่าง ๆ เพ่ือใช้กําหนดเป็นสารอ้างอิงมาตรฐานสําหรับใช้สอบเทียบ
และรับรองเคร่ืองวัดกัมมันตภาพรังสีในกิจกรรมต่าง ๆ ในปัจจุบันห้องปฏิบัติการฯ มีขีดความสามารถในการสอบเทียบ
และรับรองเคร่ืองตรวจวัดความเปรอะเป้ ือนทางรังสี โดยใช้สารกัมมันตรังสีอ้างอิงแบบแผ่นชนิดต่าง ๆ ในด้านเวชศาสตร์
นิวเคลียร์ ให้บริการสอบเทียบ และรับรองปริมาณสารเภสัชรังสีที่ใช้กับผู้ป่วยด้วยเคร่ืองวัดโดสคาลิเบรเตอร์ทางการแพทย์
โดยมีโครงการทดสอบความชํานาญด้านการวัดกัมมันตภาพรังสีจากสารเภสัชรังสี ไอโอดีน 131 (I-131) กับสถานพยาบาล
ท่ัวประเทศเป็นประจําทุกปี ห้องปฏิบัติการฯ มีการสอบกลับไปยังห้องปฏิบัติการมาตรฐานปฐมภูมิของประเทศญ่ีปุ่น
(NMIJ) (นอกจากน้ี ห้องปฏิบัติการยังมีเคร่ือง Imaging Plate Analyzer สําหรับการวัดและทดสอบต้นกําเนิดรังสี
แอลฟา บีตา แบบแผน่ แบน)

วารสาร 21

ห้องปฏิบัตกิ ารมาตรฐานด้าน
กัมมนั ตภาพรังสีและวัสดุอ้างองิ

4 . ห้ อ ง ป ฏิ บั ติ ก า ร วั ด ป ริ ม า ณ รั ง สี ป ร ะ จํ า ตั ว บุ ค ค ล ( P e r s o n a l D o s i m e t r y L a b o r a t o r y )
เป็นห้องปฏิบัติการที่ทำ�หน้าที่ในการสนับสนุนการวัดปริมาณรังสีประจำ�ตัวบุคคลและการถ่ายทอดค่ามาตรฐานการวัดจาก
หอ้ งปฏิบัติการวัดรังสีมาตรฐานไปสผู่ ใู้ ชง้ าน หอ้ งปฏิบัติการนม้ี อี ุปกรณ์หลักอยู่ 2 ระบบ คือ

1) ระบบการวัดปริมาณรังสีประจำ�ตัวบุคคลด้วยแผ่นวัดปริมาณรังสีโอเอสแอล (Optically Stimulated
Luminescence Detector, OSLD) ซ่ึงเป็นอุปกรณ์วัดปริมาณรังสีท่ีมีความแม่นยําและใช้กันอย่างแพร่
หลายในผู้ปฏิบัติงานทางด้านรังสี ซ่ึงอุปกรณ์วัดรังสีโอเอสแอล ชนิด EX LA XA และ nanoDot เป็นผลึก
ของสารประกอบ Al2O3 : C (Aluminium Oxide doped with Carbon) โดยแต่ละชนดิ จะใชใ้ นงานที่แตกต่างกัน
ท้ังด้านสิง่ แวดล้อม ด้านอุตสาหกรรม และการแพทย์ สามารถวัดค่าปริมาณรังสยี งั ผลที่รา่ งกายได้รบั เพ่อื ปอ้ งกัน
ความเสี่ยงในการเกิดอันตรายจากการได้รับรังสี
และไมใ่ หเ้ กินค่ามาตรฐานท่ี ICRP กําหนด
2) ระบบการวัดปริมาณรังสีนิวตรอนด้วยเทคนิค
ก า ร เ กิ ด ร อ ย บ น แ ผ่ น โ พ ลิ เ ม อ ร์ ช นิ ด C R - 3 9
ซ่ึงปัจจุบันมีการใช้นิวตรอน ท้ังภาคอุตสาหกรรม
และการแพทยก์ ันอยา่ งแพรห่ ลาย

ห้องปฏบิ ัตกิ ารวัดปริมาณรงั สี
ประจาํ ตวั บคุ คล

5. ห้องปฏิบัติการวัดรังสีมาตรฐานปฐมภูมิ (Primary Standard Dosimetry Laboratory, PSDL) เป็น
ห้องปฏิบัติการวัดปริมาณรังสีที่มีความถูกต้องแม่นยำ�สูงสุด โดยในปี พ.ศ. 2560 ปส. ได้ริเร่ิมโครงการพัฒนา
ระบบการวัดปริมาณรังสีในระดับปฐมภูมิโดยใช้หัววัดรังสี Graphite Cavity Chamber 2 ขนาด สําหรับวัดปริมาณ
รังสี Air Kerma จากรังสีแกมมา และหัววัด Free Air Chamber 2 ขนาด สําหรับวัดปริมาณรังสี Air Kerma จาก
รังสีเอกซ์พลังงานตำ่�และพลังงานปานกลาง รวมท้ัง Fricke dosimeters สําหรับวัดปริมาณรังสีมาตรฐานอ้างอิง เพ่ือรองรับ
โครงการอาคารปฏิบัติการทางนิวเคลียร์และรังสีท่ีจําเป็นต้องมีระบบวัดปริมาณรังสีมาตรฐานที่อยู่ในระดับสูงสุดทัดเทียม

22 วารสาร

นานาชาติ เพ่ือเป็นศูนย์กลางการเรียน
รู้ในภูมิภาคอาเซียนด้านมาตรวิทยารังสี
ระดับปฐมภูมิ ลดค่าใช้จ่ายการส่งหัววัด
รังสีไปสอบเทียบกับต่างประเทศ รวมท้ัง
สนับสนุนความปลอดภั ยด้ านการใช้
พลังงานปรมาณูแก่ผู้ปฏิบัติงานทางรังสี
และประชาชนท่ัวไป

ห้องปฏิบตั กิ ารวดั รังสี
มาตรฐานปฐมภมู ิ

ระบบคุณภาพห้องปฏิบัตกิ ารตามมาตรฐาน มอก. 17025

ปส. ได้เรม่ิ นําระบบคุณภาพสากลมาเปน็ มาตรฐานในการพฒั นาหอ้ งปฏบิ ตั กิ าร ตงั้ แตป่ ี พ.ศ. 2550 โดยปัจจบุ ัน ปส. ไดร้ บั การรับรอง
มาตรฐานระบบคณุ ภาพห้องปฏิบตั ิการตาม มอก. 17025 แล้วจำ�นวน 3 ห้องปฏบิ ัตกิ าร ดงั น้ี

พ.ศ. 2563 และในอนาคตห้องปฏิบัติการฯเตรียมขอขยายขอบข่าย
การรับรองระบบคณุ ภาพ มอก. 17025 ในขอบขา่ ยการ
ห้องปฏิบัตกิ าร NSRL ได้รับการรบั รองมาตรฐาน วัดปริมาณรังสีประจําตัวบุคคลและการวัดปริมาณรังสี
ในขอบข่ายการสอบเทยี บเครื่องวัดการเปรอะเปื้อน ระดับปฐมภูมิ Air Kerma สําหรับ Cs-137 ในระดับ
การปอ้ งกันอนั ตรายจากรังสีเพมิ่ เตมิ
ทางรงั สี

หอ้ งปฏบิ ตั ิบัติการ SSDL ได้รับการรับรองมาตรฐานในขอบขา่ ย พ.ศ. 2555
ของการสอบเทียบเคร่อื งสาํ รวจรังสีและมาตรรังสแี บบพกพาด้วย
ตน้ กําเนิดรงั สี Cs-137 และ Co-60 หอ้ งปฏบิ ตั ิการ HDCL ไดร้ บั การรับรอง
มาตรฐาน ในขอบข่ายการสอบเทียบ
พ.ศ. 2552 เครอ่ื งวดั รงั สี

กว่า 60 ปที ่ีผา่ นมา ปส. ในฐานะหน่วยงานกำ�กับดแู ลความปลอดภัยทางนิวเคลียรแ์ ละรงั สขี องประเทศ ได้คำ�นึงถึงความ
ปลอดภัยของผู้ใช้งานทางรงั สอี ย่างต่อเน่ือง ผ่านการพัฒนาบุคลากร องค์ความรูท้ ่ีเก่ียวข้อง และประสานความรว่ มมือ
ต่าง ๆ เพ่ือให้การดำ�เนินงานด้านมาตรวิทยารังสีของประเทศไทยมีมาตรฐานเป็นท่ียอมรับในระดับนานาชาติ รวมท้ัง
ก้าวสูก่ ารเปน็ ศนู ยก์ ลางความรูท้ างมาตรวิทยารงั สขี องภมู ภิ าคอาเซยี นต่อไป

วารสาร 23

60 ปี

ส�ำ นกั งานปรมาณเู พือ่ สนั ติ
สงั คมมน่ั ใจ ก�ำ กบั ปลอดภยั ตามหลกั สากล

สำ�ำ นักั งานปรมาณููเพื่่�อสัันติิ กระทรวงการอุุดมศึกึ ษา วิทิ ยาศาสตร์์ วิจิ ััยและนวััตกรรม
เลขที่่� 16 ถนนวิิภาวดีีรัังสิติ แขวงลาดยาว เขตจตุุจักั ร กรุุงเทพฯ 10900
โทรศัพั ท์์ 0 2596 7600 ต่่อ 1110 และ 1120 โทรสาร 0 2561 3013

: [email protected] : Atoms4Peace สำ�ำ นักั งานปรมาณูเู พื่�่อสัันติิ

: www.oap.go.th : officeofatomsforpeace : @atomsnet


Click to View FlipBook Version