The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

วารสารปรมาณูเพื่อสันติ ปีที่ 34 ฉบับที่ 1 ประจำปี พ.ศ. 2564

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by OAP-Office of Atoms For Peace, 2021-08-30 22:21:35

วารสารปรมาณูเพื่อสันติ ปีที่ 34 ฉบับที่ 1 ประจำปี พ.ศ. 2564

วารสารปรมาณูเพื่อสันติ ปีที่ 34 ฉบับที่ 1 ประจำปี พ.ศ. 2564

Keywords: วารสารปรมาณูเพื่อสันติ

Atoms for Peace Journal

ปที ่ี 34 ฉบบั ท่ี 1 ประจ�ำ ปี 2564

ำ ันกงานปรมา 60ณเู พอื่ สนั ติ
ปี


บก. เปิ ดเล่ม

พบกันอีกคร้ังกับวารสารปรมาณูเพ่ือสันติ ปีที่ 34 ฉบับท่ี 1 ประจำ�ปี 2564 ซึ่งในวันท่ี 26 เมษายน
พ.ศ. 2564 น้ี สำ�นักงานปรมาณเู พอื่ สันติจะมอี ายคุ รอบรอบ 60 ปี ดงั น้ัน วารสารในฉบับน้ีจงึ มาใน Theme “วันคลา้ ย
วันสถาปนาสำ�นักงานปรมาณูเพื่อสันติ เน่ืองในโอกาสครบรอบ 60 ป”ี ซง่ึ ผ้อู า่ นทกุ ท่านจะไดท้ ราบถงึ ความเปน็ มา
ต้ังแต่อดีตจนถึงปัจจุบันของสำ�นักงานปรมาณูเพ่ือสันติ รวมถึงการกำ�กับดูแลความปลอดภัยทางนิวเคลียร์และรังสี
ตลอดระยะเวลา 60 ปที ่ีผ่านมา
และอย่างท่ีทราบกันดีว่าในปี 2563 ที่ผ่านมาจนถึงปีน้ี ทั่วโลกต้องเผชิญกับวิกฤต
การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 แต่ท่ามกลางสถานการณ์เช่นนี้ ปส. ยงั คงมีความมงุ่ ม่ัน
ในการกำ�กับดูแลความปลอดภัยและเตรียมพร้อมรับมือเหตุฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสี
ตลอด 24 ชัง่ โมง แตจ่ ะมวี ธิ กี ารรบั มอื และปรบั เปลีย่ นรปู แบบการดำ�เนินงานอยา่ งไร
พบกับคำ�ตอบได้ในฉบับนี้
สุดท้ายน้ีคณะทำ�งานฯ จัดทำ�วารสารปรมาณูเพื่อสันติ
หวังว่าวารสารฉบับน้ีจะเป็นประโยชน์ รวมท้ังทำ�ให้ทุก ๆ ท่านรู้จัก
กับสำ�นักงานปรมาณูเพื่อสันติ รวมถึงพลังงานนิวเคลียร์และรังสี
ในดา้ นตา่ ง ๆ ได้ดีย่งิ ขึ้น

บรรณาธกิ าร

จัดั ทำำ�โดย สำำ�นักั งานปรมาณููเพื่่อ� สันั ติิ กระทรวงการอุดุ มศึึกษา วิทิ ยาศาสตร์์ วิจิ ัยั และนวััตกรรม
ที่่�ปรึกึ ษา
1. นายเพิ่�ม่ สุุข สััจจาภิิวััฒน์ ์ เลขาธิกิ ารสำำ�นัักงานปรมาณูเู พื่อ�่ สันั ติิ

2. นางสุุชิิน อุดุ มสมพร รองเลขาธิิการสำ�ำ นักั งานปรมาณููเพื่่�อสัันติิ

3. นางเพ็ญ็ นภา กัญั ชนะ รองเลขาธิิการสำำ�นัักงานปรมาณูเู พื่อ�่ สัันติิ

คณะทำำ�งานพิิจารณาเอกสารวิิชาการและสื่่อ� เผยแพร่ป่ ระชาสัมั พันั ธ์์ของสำ�ำ นัักงานปรมาณูเู พื่อ่� สัันติิ
(กองบรรณาธิิการ)
1. นางสาวอััมพิิกา อภิิชััยบุุคคล ผู้�้อำ�ำ นวยการกองยุุทธศาสตร์แ์ ละแผนงาน

2. นางดารุุณีี พีขี ุุนทด ผู้อ้� ำำ�นวยการกองพัฒั นาระบบและมาตรฐานกำ�ำ กับั ดููแลความปลอดภััย

3. ดร.รุุจจพันั เกตุกุ ล่ำำ�� ผู้อ�้ ำ�ำ นวยการกองอนุญุ าตทางนิิวเคลีียร์์และรังั สีี

4. นางวราภรณ์์ วััชรสุรุ กุุล ผู้�เ้ ชี่�ยวชาญเฉพาะด้้านความปลอดภัยั ทางนิิวเคลียี ร์์

5. ดร.ยุทุ ธนา ตุ้ม� น้้อย รักั ษาการในตำำ�แหน่ง่ ผู้�เ้ ชี่�ยวชาญด้้านพลัังงานปรมาณูู

6. นางสุุนัันทา สาวิิกันั ย์ ์ นักั ฟิสิ ิิกส์์รังั สีีชำ�ำ นาญการพิิเศษ

7. ดร.ไชยยศ สุนุ ทราภา วิิศวกรนิิวเคลีียร์์ชำ�ำ นาญการพิิเศษ

8. นางสาวนุุชจรีีย์์ สัจั จา นัักวิิชาการเผยแพร่่ปฏิิบััติิการ (เลขานุกุ าร)

9. นายนภดล ศรีีใจวงศ์ ์ นัักวิิชาการเผยแพร่่ (ผู้�ช้ ่่วยเลขานุุการ)

ออกแบบและพิมิ พ์ท์ ี่�่ : บริิษััท อิิสระดีี จำำ�กััด

2 วารสาร

5 สำ�นักงานปรมาณเู พ่ือสันติท่ีเป็นมา Content

8 การกำ�กับดูแลดา้ นความมัน่ คงปลอดภยั ทางนิวเคลยี รแ์ ละรงั สีของประเทศ
(National Nuclear Security Regulation)

12 ถึงเกา่ แตไ่ ม่แก่ – ความเสื่อมในเครื่องปฏกิ รณน์ วิ เคลยี ร์วิจยั

16 วิวฒั นาการการใชว้ สั ดุกัมมันตรังสีในงานรงั สีรกั ษาระยะใกล้
ชนิดอัตราปรมิ าณรงั สสี ูง (High Dose Rate
Brachytherapy or HDR-Brachytherapy)

19 การเตรียมความพรอ้ มและรบั มอื เหตฉุ ุกเฉนิ ทางนิวเคลยี ร์และรังสี
ของประเทศไทย

วารสารปรมาณูเพ่ือสันติจัดท�ำขึ้นเพื่อเผยแพร่ภารกิจและการด�ำเนินงานของส�ำนักงานปรมาณูเพ่ือสันติ รวมท้ังข่าวสาร
บทความทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนิวเคลียร์ ตลอดจนเป็นสื่อกลางในการแลกเปล่ียนความคิดเห็น
ข้อเสนอแนะต่าง ๆ อนั จะเปน็ ประโยชนต์ ่อการสง่ เสริมความรูค้ วามเข้าใจในทางเทคโนโลยีนิวเคลียร์ใหก้ ว้างขวางยิ่งขึน้
บรรณาธิการขอสงวนสิทธ์ิในการคัดเลือกและแก้ไขต้นฉบับทั้งเรื่องและภาพตามแต่จะเห็นสมควร โดยไม่ต้อง
ขอความเห็นชอบจากเจา้ ของเรื่องและไมส่ ง่ ต้นฉบบั คนื
ข้อคิดเห็นหรือบทความในเอกสารฉบับนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ซึ่งไม่มีข้อผูกพันกับส�ำนักงานปรมาณู
เพอื่ สันติแตอ่ ยา่ งใด

ผู้้ส� นใจส่่งข้อ้ เขียี น หรือื ข้้อเสนอแนะ
สามารถติิดต่อ่ ได้ท้ ี่�่กลุ่�่มเผยแพร่แ่ ละประชาสัมั พันั ธ์์ กองยุุทธศาสตร์์และแผนงาน สำำ�นัักงานปรมาณููเพื่�อ่ สัันติิ
เลขที่�่ 16 ถนนวิภิ าวดีีรังั สิิต แขวงลาดยาว เขตจตุุจักั ร กรุุงเทพฯ 10900
โทรศัพั ท์์ 0 2596 7600 ต่่อ 1110 และ 1120 โทรสาร 0 2561 3013

: [email protected] : Atoms4Peace สำำ�นักั งานปรมาณููเพื่่อ� สัันติิ

: www.oap.go.th : officeofatomsforpeace : @atomsnet

วารสาร 3

สาร

เลขาธิการส�ำ นกั งานปรมาณเู พ่อื สันติ

เน่อื งในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนาส�ำ นักงานปรมาณเู พ่อื สนั ติ
ครบรอบ 60 ปี วันที่ 26 เมษายน พทุ ธศกั ราช 2564

“60 ปี ปส. สังคมม่นั ใจ
กำ�กับปลอดภัย ตามหลักสากล”

วนั ที่ 26 เมษายน 2564 เป็นวนั คล้ายวันสถาปนาสำ�นักงานปรมาณเู พ่อื สันติ ครบรอบ 60 ปี ซึง่ สำ�นักงานปรมาณเู พ่ือสันติ (ปส.)
เดิมชื่อ สำ�นักงานพลังงานปรมาณูเพ่ือสันติ (พปส.) ได้จัดต้ังขึ้นตามพระราชบัญญัติพลังงานปรมาณูเพ่ือสันติ พ.ศ. 2504 และ
พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการสำ�นักนายกรัฐมนตรี (ฉบับท่ี 8) พ.ศ. 2504 โดยตลอดระยะเวลาท่ีผ่านมาได้ดำ�เนินการเก่ียวกับ
กฎหมาย กฎระเบียบ การกำ�กับดูแลความปลอดภัยการใช้ประโยชน์จากพลังงานนิวเคลียร์และรังสี รวมถึงการเตรียมความพร้อม
กรณีฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสีของประเทศให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล เพ่ือความปลอดภัยของประชาชนและส่ิงแวดล้อม โดยมี
การพัฒนากระบวนการกำ�กบั ดแู ลความปลอดภัยมาอย่างตอ่ เน่ือง
ปัจจุบัน ปส. มีการพัฒนาท้ังบุคลากร และเครื่องมือท่ีสำ�คัญ คือ พระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ พ.ศ. 2559
และแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2562 เพ่ือให้เป็นไปตามวิธีปฏิบัติตามหลักสากล เช่น การแบ่งประเภทวัสดุกัมมันตรังสี วัสดุนิวเคลียร์
และเครื่องกำ�เนิดรังสี เป็นต้น ด้านบุคลากรที่มุ่งส่งเสริมศักยภาพบุคลากรด้านนิวเคลียร์และรังสี ท้ังการให้ทุนการศึกษาฝึกอบรม
ศึกษาดูงานทั้งในและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ทำ�ให้บุคลากรได้รับคัดเลือกและรับรองจากทบวงการพลังงานปรมาณู
ระหว่างประเทศให้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านนิวเคลียร์ระดับภูมิภาคและนานาชาติในหลากหลายสาขา เช่น ด้านการตรวจรับและประเมิน
ผลกระทบทางรังสีในส่ิงแวดล้อม ด้านการประเมินการดำ�เนินงานด้านการป้องกันอันตรายจากรังสีสำ�หรับผู้ปฏิบัติงาน เป็นต้น
และได้รับเชญิ ร่วมถ่ายทอดความรู้ทางนวิ เคลยี ร์และรงั สีใหก้ ับประเทศสมาชิก
นอกจากนี้ ยังมกี ารจดั ตงั้ ศูนย์ปฏบิ ัติการฉุกเฉนิ ทางนิวเคลยี รแ์ ละรงั สี เพ่ือเตรยี มความพรอ้ มกรณฉี กุ เฉินทางนิวเคลยี รแ์ ละรงั สี
ของประเทศให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล การตรวจวัดปริมาณรังสีในสิ่งแวดล้อม โดยมีสถานีระวังภัยทางนิวเคลียร์และรังสีท้ังหมด
23 สถานี แบ่งเป็น สถานีทางอากาศ 18 สถานี และสถานีทางน้ํา 5 สถานี เพื่อเฝ้าระวังเหตุฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสีที่อาจเกิดขึ้น
ท่ัวประเทศตลอด 24 ชว่ั โมง
ก้าวต่อไปของ ปส. จะยกระดับโครงสร้างพ้ืนฐานของประเทศด้านมาตรวิทยาทางรังสี ให้เป็นศูนย์กลางในภูมิภาคอาเซียน
รวมถึงการดำ�เนินภารกิจของ ปส. ทมี่ ุ่งเนน้ การพฒั นาระบบงานกำ�กับดแู ลในยุคดจิ ทิ ัล การบรู ณาการกบั สว่ นราชการ สถาบนั อุดมศึกษา
หน่วยงานต่าง ๆ ท่ีเก่ียวข้อง การสร้างเครือข่ายงานส่วนภูมิภาค ตลอดจนการพัฒนาบทบาทความร่วมมือของไทยกับต่างประเทศ
อยา่ งตอ่ เนอื่ ง
ในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนา ปส. ครบรอบ 60 ปี ผมขอส่งความปรารถนาดีมายังผู้อ่านวารสารปรมาณูเพ่ือสันติทุกท่าน
และขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัย และสิ่งศักด์ิสิทธิ์ท้ังหลายในสากล ได้โปรดดลบันดาลประทานพรให้ผู้อ่าน ผู้บริหาร ข้าราชการ
และเจ้าหน้าท่ีของ ปส. จงประสบแต่ความสุข ความเจริญ มีกำ�ลังกาย กำ�ลังใจ กำ�ลังสติปัญญาท่ีเข้มแข็ง เพื่อร่วมกันเป็นกำ�ลังใจ
และเปน็ กำ�ลังสำ�คัญในการพัฒนาภารกิจของ ปส. ให้มีความเจริญกา้ วหน้าตามมาตรฐานสากลสืบไป

(นายเพ่มิ สุข สจั จาภวิ ฒั น)์
เลขาธิการส�ำ นักงานปรมาณเู พ่อื สนั ติ

4 วารสาร

สำ�ำ นักั งานปรมาณููเพื่อ�่ สัันติิ

ที่่เ� ป็็นมา

นางวราภรณ์ วชั รสุรกุล
ผู้เชย่ี วชาญเฉพาะด้านความปลอดภัยทางนิวเคลยี ร์

วารสาร 5

สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศแรกที่ประสบความสำ�เร็จในการทดลองระเบิดปรมาณู
ท่ีรัฐนิวเม็กซิโก เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2488 ผลที่ตามมาจากความสำ�เร็จคือการโจมตีญ่ีปุ่น
ด้วยระเบิดปรมาณูที่เมืองฮิโรชิมาและนางาซากิ เป็นเหตุให้ญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้สงคราม
อย่างเป็นทางการและไม่มีเงื่อนไขเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2488 ซ่ึงถือเป็นการยุติสงครามโลก
ครั้งที่ 2 อานุภาพของระเบิดปรมาณูได้แสดงให้ชาวโลกประจักษ์ต่อความรุนแรงและ
ประสิทธิภาพในการทำ�ลายของระเบิดปรมาณู อย่างไรก็ตาม สหรัฐอเมริกาไม่ได้ถ่ายทอด
เทคโนโลยีการผลิตระเบิดปรมาณูแก่ประเทศพันธมิตร จึงทำ�ให้ประเทศมหาอำ�นาจต่างเกิด
ความหวาดระแวงต่อศักยภาพด้านอาวุธนิวเคลียร์ของสหรัฐอเมริกา จึงมุ่งม่ันพัฒนาพลังงาน
นิวเคลียร์ทางด้านทหาร จนกระทั่งปี พ.ศ. 2492 รัสเซียก็สามารถทดลองระเบิดนิวเคลียร์ได้
ตามมาด้วยอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2497 และตามมาด้วยฝรั่งเศส จีนและอินเดียท่ีสามารถ
จุดชนวนระเบิดได้ ในปี พ.ศ. 2501 ,พ.ศ. 2507 และ พ.ศ. 2517 ตามลำ�ดับ ซึ่งเป็นเหตุให้
เกิดสงครามเย็นหลังสงครามโลกครั้งท่ี 2 โดยการทดลอง การพัฒนาและสะสมอาวุธนิวเคลียร์
ของชาติมหาอำ�นาจ ทำ�ให้ในขณะนั้น ประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ครอบครองมี 6 ประเทศ คือ
สหรัฐอเมริกา สหภาพโซเวียต ฝรั่งเศส อังกฤษ จีน และอินเดีย โดยมีปากีสถาน อิรัก อิหร่าน
และเกาหลเี หนือ ทคี่ าดว่าอาจจะมกี ารพฒั นาอยู่ อาจจะกลา่ วได้วา่ ในช่วงปี พ.ศ. 2500 – 2526
เป็นช่วงเวลาท่ีโลกตกอยู่ในภาวะหวาดกลัวต่อสงครามอาวุธนิวเคลียร์ ความหวาดกลัวนี้
ทำ�ให้สังคมโลกตึงเครียดจนนานาชาติต่างเรียกร้องให้มีการจำ�กัดจำ�นวนอาวุธร้ายแรง โดยการ

เปิดการเจรจาลดกำ�ลังอาวุธโดยมีการตกลงและร่างสนธิสัญญาต่าง ๆ หลายฉบับเพ่ือนำ�ไปสู่ ประธานาธบิ ดี ดไวท์ ดี ไอเซนฮาวร์
การลดการสะสมอาวุธและเสริมสร้างความเข้าใจกัน เพ่ือนำ�สังคมโลกสู่สันติภาพ ต่อมาในปี ประเทศสหรัฐอเมรกิ า
พ.ศ. 2496 ประธานาธิบดี ดไวท์ ดี ไอเซนฮาวร์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้กล่าวสุนทรพจน์
เรื่อง พลังงานปรมาณูเพื่อสันติ (Atom for Peace) เพ่ือให้ชาวโลกมีพลังงานใช้ในการ
ดำ�รงชีวิตมากขึ้น และพัฒนาพลังงานปรมาณูในทางสันติ เพื่อปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์
ผลติ ผลทางการเกษตร รวมถงึ ช่วยพฒั นาประสิทธิภาพของแพทย์ในการรักษาคนไข้
เม่อื ปี พ.ศ. 2497 คณะผแู้ ทนรฐั บาลสหรัฐอเมรกิ า ซง่ึ มนี ายจอห์น บรกิ เกอร์ สมาชกิ
สภาสงู ผแู้ ทนรฐั โอไฮโอ เปน็ หวั หนา้ คณะ เดนิ ทางมาประเทศไทยเมอ่ื วนั ท่ี 6 ธนั วาคม พ.ศ. 2497
และได้ปรึกษาหารือกับ พล.อ.ท. มุนี มหาสันทนะ เวชยันตรังสฤษฏ์ ประธานคณะกรรมการ
พลังงานปรมาณูเพื่อสันติ ในการลงนามความร่วมมือระหว่างรัฐบาลท้ังสองประเทศเก่ียวกับ
การใช้พลังงานนิวเคลียร์ทางพลเรือน ได้แก่ สหรัฐอเมริกาจะให้ความช่วยเหลือโดยจัดส่ง
สารไอโซโทปรังสีและอุปกรณ์ต่าง ๆ สำ�หรับใช้ในทางการแพทย์ ส่งผู้เชี่ยวชาญมาสำ�รวจและ

6 วารสาร

เคร่อื งปฏิกรณ์ปรมาณูวิจัย-1, ปปว-1

วางโครงการกอ่ สร้างเครื่องปฏกิ รณ์ปรมาณูวจิ ยั และให้ทนุ สำ�หรับเจา้ หน้าที่ฝ่ายไทยไปรบั การฝึกอบรมและฝกึ งานเกยี่ วกับ
พลงั งานนวิ เคลยี รใ์ นสหรฐั อเมรกิ า ตอ่ มาเมอ่ื วนั ท่ี 21 เมษายน พ.ศ. 2499 คณะรฐั มนตรไี ดม้ มี ตอิ นมุ ตั ใิ หม้ เี ครอ่ื งปฏกิ รณป์ รมาณู
เพื่อการวิจัยในประเทศ โดยมีช่ือเป็นทางการว่า “เครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูวิจัย-1, ปปว-1” ต่อมาเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน
พ.ศ. 2501 ไดท้ ำ�สญั ญาซอ้ื เครอ่ื งปฏกิ รณป์ รมาณแู ละบรกิ ารวศิ วกรรมจากบรษิ ทั Curtiss-Wright Corporation, Quenhanna,
Pa ในราคา 474,260 เหรียญสหรัฐ ซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกาจำ�นวน 350,000 เหรียญสหรัฐ และมี
บรษิ ัท ประมวลก่อสรา้ ง จำ�กดั เป็นผ้รู บั เหมาทำ�การก่อสรา้ งอาคารเครอ่ื งปฏกิ รณ์ปรมาณฯู เป็นเงนิ 14 ล้านบาท ซ่งึ เป็น
งานท่ีบุกเบิกทางด้านวิศวกรรมขนาดใหญ่และซับซ้อนงานหน่ึง ถึงแม้จะเป็นบริษัทไทยแต่จะต้องว่าจ้างบริษัทต่างประเทศ
เป็นที่ปรึกษาด้าน Architect-Engineer ในการก่อสร้างต้องมีการปรับแบบท่ีรับมาจากต่างประเทศให้เหมาะสมกับ
สภาพแวดลอ้ มของพน้ื ท่ีงานทย่ี ากทสี่ ดุ ของอาคารคอื งานสรา้ งบอ่ เครอื่ งปฏกิ รณแ์ ละการตดิ ตง้ั อปุ กรณภ์ ายในบอ่ เพราะตอ้ งใช้
วสั ดุท่กี ำ�บังรงั สีและพ้นื ผิวภายในบอ่ ตอ้ งสามารถทนรังสีสงู ได้นอกจากน้ีการทำ�งานในการลงภาคสนามตอ้ งใช้ผ้ชู ำ�นาญเปน็
ผู้ปฏิบัติท้ังในระดับสถาปนิก วิศวกรและช่างฝีมือเป็นคนไทยร้อยละ 90 จึงนับได้ว่าการก่อสร้างอาคารเครื่องปฏิกรณ์
ปรมาณูแรกของไทยเป็นงานพัฒนาและต่อยอดฝีมือของคนไทยได้อย่างน่าภาคภูมิ การก่อสร้างเร่ิมต้นเมื่อเดือนมกราคม
พ.ศ. 2504 ซ่ึงในขณะนั้นยังไม่ได้มีการก่อต้ังสำ�นักงานขึ้นมาการดำ�เนินการก่อสร้างจึงอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของ
คณะอนกุ รรมการควบคุมการก่อสร้างอาคารและติดตงั้ เคร่ืองปฏกิ รณป์ รมาณู โดยมี พล.อ.จ. ดร. สวสั ดิ์ ศรีสขุ เป็นประธาน
คณะอนกุ รรมการฯ
อย่างไรก็ตาม การใช้พลังงานนิวเคลียร์จำ�เป็นต้องมีการตั้งหน่วยงานสำ�หรับดำ�เนินการศึกษาวิจัยและควบคุม
ความปลอดภัยของการใช้ประโยชน์ดังกล่าว ดังนั้นรัฐบาลจึงได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ
พ.ศ. 2504 และพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการสำ�นักนายกรัฐมนตรี (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2504 โดยมีผลบังคับใช้ต้ังแต่
วันท่ี 26 เมษายน พ.ศ. 2504 จึงนับได้ว่ามีก่อตั้งสำ�นักงานพลังงานปรมาณูเพ่ือสันติ โดยมี พล.อ.จ. ดร. สวัสด์ิ ศรีสุข
เป็นเลขาธกิ ารคนแรก สำ�นกั งานมีหนา้ ท่วี จิ ยั ค้นคว้า เพือ่ นำ�พลงั งานนวิ เคลยี รม์ าใชป้ ระโยชนใ์ นด้านตา่ ง ๆ เพือ่ การพฒั นา
ประเทศ รวมทั้งควบคุมความปลอดภัยทั่วไปแก่ผู้ใช้ทั้งภายในและภายนอกสำ�นักงาน การวิจัยและพัฒนาการใช้ประโยชน์
พลังงานิวเคลียรใ์ นสาขาต่าง ๆ ในขณะนัน้ ล้วนพึง่ พาอาศยั เครือ่ งปฏกิ รณ์ปรมาณวู ิจยั -1, ปปว-1 ทั้งสน้ิ
นบั จากวนั น้นั จนถึงวนั น้ีสำ�นกั งานปรมาณูเพอื่ สนั ติ ครบรอบ 60 ปี ในปีน้ี ดงั นั้นความเป็นมาและความเป็นไป
ย่อมไม่นอ้ ย ขอเชญิ ชวนผอู้ า่ นทุกทา่ น ติดตามความเปน็ ไปของสำ�นักงานในวารสารฉบบั หน้า

อ้างอิง

1 ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) กับปัญหาความชอบด้วยกฎหมายของการคุกคามหรือการใช้อาวุธนิวเคลียร์, นางสาวสลิลา
กล่ันเรืองแสง, พ.ศ. 2552.

2 ครบรอบ 20 ปี สำ�นักงานพลังงานปรมาณูเพือ่ สนั ต,ิ 27 ตุลาคม 2525.

วารสาร 7

การกำ�กับดูแลด้านความม่นั คง
ปลอดภัยทางนิวเคลียร์และรงั สี
ของประเทศ (National Nuclear

Security Regulation)

นางสาวหรเิ นตร มุ่งพยาบาล
นกั นวิ เคลียร์เคมชี ำ�นาญการพเิ ศษ

ประเทศไทยมีการใช้ประโยชน์จากวัสดุกัมมันตรังสีและวัสดุนิวเคลียร์ ท้ังทางการแพทย์ อุตสาหกรรม
และศึกษาวิจัย ซึ่งอยู่ภายใต้การกำ�กับดูแลของสำ�นักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) มาตลอดระยะเวลา 60 ปี
เพ่ือให้ม่ันใจได้ว่าผู้ปฏิบัติงาน ประชาชน และสิ่งแวดล้อม จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้งาน แต่จาก
ฐานข้อมูลรายงานการเกดิ อบุ ัตเิ หตแุ ละการลักลอบ (IAEA Incident and Trafficking Database ; ITDB) ของ
ทบวงการพลงั งานปรมาณูระหว่างประเทศ (International Atomic Energy Agency; IAEA) พบว่ามกี ารลักลอบ
กระทำ�ผิดกฎหมายต่อวัสดุต้ังแต่ พ.ศ. 2536 ถึงปัจจุบัน (ข้อมูล ณ ธันวาคม พ.ศ. 2563) โดยเป็นเหตุการณ์
ท่ีมีพยานหลักฐานเพยี งพอระบวุ ่ามเี จตนากระทำ�ผิด 290 ครัง้ และเป็นเหตุการณท์ ่ีไมม่ ีพยานหลกั ฐานเพียงพอ
ระบุว่ามีเจตนากระทำ�ผิด 1,023 ครั้ง ปส. ในฐานะหน่วยงานกำ�กับดูแลการใช้ประโยชน์จากพลังงานนิวเคลียร์
ของประเทศ ได้มีมาตรการเพื่อปกป้องวัสดุกัมมันตรังสีและวัสดุนิวเคลียร์ไม่ให้ตกไปอยู่ในมือของผู้ไม่ประสงค์ดี
อย่างเข้มงวด เพ่ือความมั่นคงปลอดภัยของประชาชน โดยได้ดำ�เนินการอย่างต่อเนื่องตามพระราชบัญญัติ
พลังงานนวิ เคลียร์เพื่อสันติ พ.ศ. 2559 และพระราชบญั ญตั ิพลังงานนิวเคลียร์เพือ่ สนั ติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562

ความม่ันคงปลอดภัยทางนิวเคลยี รแ์ ละรงั สี คืออะไร

การปกป้องวัสดุกัมมันตรังสีและวัสดุนิวเคลียร์ไม่ให้ตกไปอยู่ในความครอบครองของผู้ไม่ประสงค์ดี
เพ่ือใช้วัสดุน้ันกระทำ�การซึ่งส่งผลกระทบต่อความม่ันคงของประเทศ ได้แก่ การลักลอบโจรกรรม
การนำ�วัสดุไปประกอบวัตถุระเบิด การก่อการร้าย และการก่อวินาศกรรม โดยหลักการรักษาความมั่นคง
ปลอดภัยประกอบด้วย การป้องกัน (Prevention) การตรวจจับ (Detection) และการตอบโต้ (Response)
ซ่ึงต้องอาศัยการบรูณาการความร่วมมือจากหน่วยงานหลายภาคส่วนท่ีเก่ียวข้องกับความมั่นคงของประเทศ
ดงั ภาพท่ี 1

8 วารสาร

ความมน่ั คงปลอดภัยทางนิวเคลียร์

การป้องกนั การตรวจจับ การตอบโต้
(Prevention) (Detection) (Response)

นำเข้า-ส่งออก

ขนส่ง วัสดสุ ญู หาย/ เกดิ เหตุกระทบ
ใชง้ าน ถูกโจรกรรม ตอ่ ความมน่ั คง

กำจดั กาก

การกำกับดูแลสภาวะปกติ การกำกบั ดูแลสภาวะไมป่ กติ

ภาพที่ 1 กรอบดำ�เนินงานด้านความม่ันคงปลอดภัยทางนิวเคลียร์และรงั สี 1

การกำ�กับดูแลด้านความม่นั คงปลอดภัยทางนิวเคลยี รแ์ ละรงั สขี อง ปส.

ประกอบดว้ ย 2 ส่วนหลกั คอื การกำ�กบั ดูแลสภาวะปกตแิ ละการกำ�กบั ดแู ลสภาวะไมป่ กติ โดยอาศยั การบูรณาการ
รว่ มกนั จากทุกภาคส่วนทเี่ กีย่ วขอ้ ง ดงั น้ี
การกำ�กับดูแลสภาวะปกติ คือ การตรวจสอบระบบความม่ันคงปลอดภัยของวัสดุท่ีขออนุญาตครอบครอง
เปน็ ประจำ�อยา่ งตอ่ เนอ่ื งเพอ่ื ใหม้ นั่ ใจวา่ วสั ดไุ ดจ้ ดั เกบ็ ในสถานทท่ี ม่ี รี ะบบความมน่ั คงปลอดภยั เพยี งพอตามระดบั ทกี่ ำ�หนดไว้
ซ่ึงประกอบด้วยการติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับการบุกรุก การสำ�รวจตรวจตราอย่างสม่ําเสมอ การตรวจประเมินจากเจ้าหน้าที่
การจัดทำ�ระบบบัญชีควบคุมวัสดุพร้อมท้ังตรวจนับจำ�นวนเป็นประจำ�ทุกเดือน การควบคุมการเข้าถึงที่ต้ังของวัสดุ
การตรวจสอบเพื่อประเมินความน่าเช่ือถือของบุคคลก่อนอนุญาตหรือให้สิทธิเข้าถึงวัสดุหรือข้อมูลสำ�คัญและการกำ�หนด
ชัน้ ความลับของขอ้ มลู ดงั ภาพที่ 2

บญั ชี อุปกรณ์
ควบคมุ วัสดุ ตรวจจับ
การบุกรุก

แบง่ พ้นื ท่ี จำ�กัดสทิ ธิ
เพ่อื การ บุคคล
กำ�กับดแู ล
ที่เข้าถึงวัสดุ

ภาพที่ 2 เกณฑ์ตรวจสอบระบบความม่นั คงปลอดภัยของวัสดุในสภาวะปกติ 9
วารสาร

การกำ�กับดูแลสภาวะไม่ปกติ เป็นการตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่มีความเสี่ยงอันตรายหรือมีผลของรังสี
ตอ่ ชวี ิตทรัพย์สนิ หรือสิ่งแวดลอ้ ม ซง่ึ สามารถจำ�แนกไดเ้ ปน็ 2 สว่ น คอื เหตุการณ์ท่ีไม่เก่ียวข้องกับความมัน่ คง และเกีย่ วขอ้ ง
กับความมั่นคง โดยเม่ือได้รับการแจง้ เหตุ ปส. มหี น้าท่ีระงบั เหตุโดยมุ่งเน้นดา้ นความปลอดภยั เปน็ หลัก
● กรณีเป็นเหตุการณ์ท่ีไม่เก่ียวข้องกับความม่ันคง เช่น อุบัติเหตุทางรังสีท่ีสมุทรปราการ พ.ศ. 2543 ปส.
ไดร้ ะงบั เหตโุ ดยใช้แผนฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสี เพ่ือให้บริเวณสถานท่ีเกิดเหตุมีความปลอดภัยจากรังสีทั้งต่อประชาชน
และสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งประสานกับสำ�นักงานตำ�รวจแห่งชาติ เพ่ือดำ�เนินการตามกระบวนการยุติธรรมต่อไป ท้ังนี้
หากกรณีดังกล่าวมีการขยายขอบเขตของสถานการณ์ท่ีไม่สามารถควบคุมได้ จะยกระดับการดำ�เนินการตามแผนป้องกัน
และบรรเทาสาธารณภยั แหง่ ชาติ
● กรณีเป็นเหตุการณ์ท่ีเกี่ยวข้องกับความมั่นคง เช่น กรณีศึกษาต่างประเทศท่ีมีการลักลอบขนส่งวัสดุ
จากประเทศ ก. ไปยงั ประเทศ ค. โดยใช้ประเทศ ข. เปน็ ทางผ่าน ซงึ่ กระทำ�การโดยบุคคลกลุม่ หัวรนุ แรง โดยมีมูลเหตุจูงใจ
ทง้ั ทางการเงนิ และการตอบโตต้ อ่ สถานการณท์ างการเมืองระหว่างประเทศ ดังภาพท่ี 3

ประเทศ ก. ประเทศ ข. ประเทศ ค. ประเทศ ค.

ภาพที่ 3 ตัวอยา่ งเหตกุ ารณค์ วามม่นั คงปลอดภัยทางนวิ เคลียรข์ องต่างประเทศ

ท้ังนี้ ประเทศไทยยังไม่เคยมีเหตุการณ์ลักษณะท่ีเกี่ยวข้องกับความม่ันคงปลอดภัยทางนิวเคลียร์โดยตรง
แต่เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศท่ีตั้งอยู่ศูนย์กลางของภูมิภาคอาเซียน จึงมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดเหตุการณ์ในลักษณะ
ดังกลา่ ว ปส. จึงมกี ารเตรยี มความพร้อมเพ่ือรบั มอื ต่อเหตกุ ารณ์ที่อาจเกดิ ข้ึน ซ่งึ มีกลไกการดำ�เนินงาน คอื สภาความมัน่ คง
แห่งชาติจะเป็นผู้ประเมินสถานการณ์ และเตรียมความพร้อมบริหารจัดการรับมือต่อภัยคุกคามที่เกิดขึ้น โดยประสาน
ความร่วมมือกับหน่วยงานท่ีเก่ียวข้อง ได้แก่ สำ�นักงานข่าวกรองแห่งชาติ หน่วยงานความม่ันคง สำ�นักงานตำ�รวจแห่งชาติ
และสำ�นักงานปรมาณูเพื่อสันติ ซึ่งหากได้รับการยืนยันว่าเหตุการณ์มีความเช่ือมโยงกับการก่อการร้าย จะปฏิบัติการ
ตามแนวทางของศูนยป์ ฏิบตั กิ ารตอ่ ตา้ นการกอ่ การร้ายสากลเพื่อระงบั เหตุท่เี กดิ ขึ้นดงั ภาพที่ 4

รบั แจ้งเหตุ ระงับเหตุ ความม่ันคง ใช่ สภาความม่ันคงแห่งชาติ
สำ�นักงานขา่ วกรองแห่งชาติ
ปส. ไมใ่ ช่
หน่วยงานความม่ันคง
กล่มุ กฎหมาย ศูนย์ต่อต้านการก่อการรา้ ยสากล

กองตรวจสอบทางนิวเคลียร์และรงั สี ส�ำ นักงานตำ�รวจแหง่ ชาติ
ส�ำ นักงานปรมาณเู พ่ือสันติ
กองอนุญาตทางนิวเคลียรแ์ ละรงั สี
ภาพที่ 4 ข้นั ตอนการปฏิบัติงานเพ่ือระงับเหตุ
กองพัฒนาระบบและมาตรฐาน
กำ�กับดแู ลความปลอดภัย
ส�ำ นักงานตำ�รวจแหง่ ชาติ

กรมป้ องกันและบรรเทาสาธารณภัย

10 วารสาร

ความรว่ มมอื ระหว่างประเทศ

ปัจจุบัน ปส. (OAP) มีเครือข่ายความร่วมมือหลักจากองค์กรระหว่างประเทศ เพ่ือให้การดำ�เนินงานด้าน
ความม่ันคงปลอดภัยทางนิวเคลียร์และรังสีที่คาบเก่ียวระหว่างพรมแดน มีความครอบคลุม และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
โดยได้รับการสนับสนุนจากเครือข่ายความร่วมมือด้านความม่ันคงทั้งในส่วนของการป้องกัน การตรวจจับ และการตอบโต้
ได้แก่ ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) สหภาพยุโรป (EU) กระทรวงพลังงานแห่งสหรัฐอเมริกา
(U.S. DOE) และตำ�รวจสากล (INTERPOL) ดังภาพที่ 5

INTERPOL

EU OAP IAEA

U.S. DOE

ภาพที่ 5 เครอื ขา่ ยความรว่ มมอื ระหว่างประเทศ

ตลอดระยะเวลา 60 ปี ทผ่ี า่ นมา ปส. ได้กำ�กบั ดูแลเพ่ือความปลอดภัยในการใช้ประโยชน์
จากวัสดุกัมมันตรังสีและวัสดุนิวเคลียร์อย่างเคร่งครัด ซ่ึงในส่วนของงานกำ�กับดูแลด้าน
ความมนั่ คงปลอดภัยทางนวิ เคลยี ร์ของประเทศนน้ั ปส. ไดด้ ำ�เนนิ การตามพนั ธกรณตี ามอนสุ ญั ญา
ว่าด้วยการคุ้มครองทางกายภาพของวัสดุนิวเคลียร์และท่ีแก้ไขเพ่ิมเติม และอนุสัญญาระหว่าง
ประเทศเพ่ือปราบปรามการก่อการร้ายทางนิวเคลียร์ ท่ีประเทศไทยเป็นภาคีอนุสัญญาดังกล่าว
โดยได้ดำ�เนินการตรวจสอบวัสดุอย่างสมำ่�เสมอ รวมถึงการบริหารจัดการความปลอดภัย
เพอ่ื ระงบั เหตฉุ กุ เฉนิ การใชห้ ลกั นติ วิ ทิ ยาศาสตรน์ วิ เคลยี รเ์ พอ่ื ปอ้ งกนั และยบั ยง้ั ภยั คกุ คาม ตลอดจน
การสร้างเครือข่ายท่ีเกี่ยวข้องท้ังระดับชาติและนานาชาติ เพื่อให้พร้อมรับมือต่อเหตุการณ์
ความม่ันคงอย่างมปี ระสิทธภิ าพและทันทว่ งที

เอกสารอ้างอิง :
1 ราชกจิ จานเุ บกษา, กฎกระทรวงความมน่ั คงปลอดภยั ทางรงั ส,ี เลม่ ท่ี 135 ตอนท่ี 79 ก. 2561 : กรงุ เทพฯ .
2 ราชกจิ จานเุ บกษา, ระเบยี บคณะกรรมการพลงั งานปรมาณเู พอ่ื สนั ติ วา่ ดว้ ยการรกั ษาความมน่ั คงปลอดภยั ของวสั ดนุ วิ เคลยี รแ์ ละสถานประกอบการทางนวิ เคลยี ร,์

เลม่ ท่ี 133 ตอนพเิ ศษท่ี 170 ง. 2559: กรงุ เทพฯ .
3 IAEA INCIDENT AND TRAFFICKING DATABASE (ITDB), Incident of nuclear and other radioactive material out of regulatory control 2020 Fact Sheet.
4 IAEA Residential Assignment Program on Nuclear Forensics, Introduction to Nuclear Forensics. MTA EK-IAEA Collaborating Centre for Nuclear

Forensics, 2018.

วารสาร 11

ถึงเก่าแต่ไมแ่ ก่ –

ความเส่อื มในเคร่อื งปฏิกรณ์นิวเคลียรว์ ิจัย

ดร.ปานทิพย์ อมั พรรัตน์
วิศวกรนวิ เคลียร์ชำ�นาญการพเิ ศษ

12 วารสาร

“เคร่ืองปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัยเคร่ืองแรกของประเทศไทย (ปั จจุบันช่ือว่า ปปว.-1/1) ก่อสร้างข้ึน

พร้อม ๆ กับการจัดต้ังสำ�นักงานพลังงานปรมาณูเพ่ือสันติในปี พ.ศ. 2504 เคร่ืองปฏิกรณ์บรรลุข้ันวิกฤติ
คร้ังแรกเม่ือปี พ.ศ. 2505 และได้มีการเปล่ียนแกนเป็ นแบบใช้เช้ือเพลิงความเข้มข้นต่ําและบรรลุ
ขน้ั วิกฤติเม่อื ปี พ.ศ.2520จากนัน้ ได้เดินเคร่อื งอยา่ งต่อเน่ืองจนถึงปั จจุบนั หากเป็ นมนษุ ยค์ งเขา้ วัยชราแลว้
หลายคนมีคำ�ถามว่าเคร่ืองปฏิกรณ์ยังสามารถเดินเคร่ืองได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ และระบบ
ความปลอดภยั ยงั ท�ำ งานไดด้ หี รอื ไม่ ในฐานะผเู้ ขยี นท�ำ หนา้ ทปี่ ระเมนิ ความปลอดภยั ทางนวิ เคลยี รแ์ ละรงั สี
พร้อมกบั โอกาสครบรอบ 60 ปี ของ ปส. ผู้เขยี นขออธบิ ายถึงความเส่ือมของเคร่ืองปฏิกรณน์ ิวเคลียร์วิจัย
และกระบวนการจัดการความเส่ือมของเคร่ืองปฏิกรณ์ ว่าเหมือนหรือแตกต่างกับการจัดการความเส่ือม
ของเคร่อื งจักรหรอื โรงงานอุตสาหกรรมอ่ืน ๆ อย่างไร”

ความเส่อื มในเคร่อื งปฏิกรณน์ วิ เคลียร์วิจัย
ในขั้นต้นต้องขออธิบายถึงคำ�จำ�กัดความของความเส่ือมให้เข้าใจตรงกันเสียก่อน ความเส่ือม (Aging) คือ
กระบวนการหรือกลไกใด ๆ ท่ีทำ�ใหค้ ณุ สมบัตขิ องโครงสรา้ ง ระบบ และส่วนประกอบเปล่ยี นไปตามกาลเวลา หรือจากการ
ใชง้ าน ความเสอ่ื มท่มี กั พบในเครอ่ื งปฏิกรณ์นวิ เคลียรว์ ิจยั มี 2 ประเภท ได้แก่
(1) ความเสื่อมสภาพหรือความเส่ือมทางกายภาพ (Degradation หรือ Physical aging) คือ การที่โครงสร้าง
ระบบ หรือสว่ นประกอบของเครือ่ งปฏกิ รณ์มีคณุ สมบัติทางกายภาพทเี่ สอื่ มลง
(2) ความล้าสมัย (Obsolescence หรือ Non-physical aging) คือ การท่ีโครงสร้าง ระบบ หรือส่วนประกอบ
มคี วามล้าสมัยหรือคุณสมบัตดิ อ้ ยกว่า เมือ่ เทียบกับความรู้ มาตรฐาน หรอื เทคโนโลยใี นปัจจุบนั
หากเอ่ยถึงเรื่องของความเสื่อมจะพบว่าไม่ใช่เรื่องใหม่สำ�หรับวงการอุตสาหกรรมทั่วไปซ่ึงต้องมีการบริหาร
จัดการอย่างสม่ําเสมอให้เคร่ืองจักรสามารถใช้งานต่อไปได้ด้วยดี หากแต่ข้อแตกต่างระหว่างความเส่ือมในเคร่ืองปฏิกรณ์
นิวเคลียร์และโรงงานอุตสาหกรรมทั่วไป คือ ความเสื่อมที่เกิดข้ึนในโรงงานอุตสาหกรรมเกิดจากปัจจัยการใช้งาน ได้แก่
ความรอ้ น สารเคมี ชีวภาพ และแรงเชิงกล ความรนุ แรงข้ึนอยูก่ บั ประเภทของโรงงานอุตสาหกรรม แต่ความเสือ่ มท่เี กิดขึน้
ในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ นอกจากจะเกิดจากปัจจัยดังกล่าวแล้วยังมีผลกระทบจากรังสีต่าง ๆ เช่น นิวตรอน แกมมา
อีกด้วย ซ่ึงทำ�ให้เกิดกลไกความเส่ือมจากรังสีกระทบต่อวัสดุหรือระบบโดยตรง เช่น การทำ�ลายวัสดุจากผลของนิวตรอน
การเกดิ กัมมนั ตรงั สีจากปฏิกิรยิ าการจับนิวตรอน และการเกิดความร้อนจากรังสแี กมมา ฯลฯ

กลไกความเส่อื มในเคร่อื งปฏิกรณ์นิวเคลียร์
และผลกระทบที่เกิดข้ึน
ความเส่ือมที่เกิดขึ้นกับโครงสร้าง ระบบ หรือส่วนประกอบจะส่ง
ผลกระทบอย่างมากต่อทั้งกับประสิทธิภาพและความปลอดภัยของเคร่ืองปฏิกรณ์
ทำ�ให้เราต้องทำ�ความรู้จักและเข้าใจเกี่ยวกับกลไกความเส่ือมให้ดีเสียก่อน
ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นเป็นไปตามชนิดของกลไกความเส่ือมซึ่งเกิดจากปัจจัย
ที่กล่าวมาในหัวข้อท่ีแล้ว ทำ�ให้สามารถแบ่งกลไกความเส่ือมได้เป็น 4 ชนิด คือ
กลไกความเส่ือมท่ีเกิดจากผลของรังสี ความร้อน สภาวะทางเคมี และแรงเชิงกล
รปู ตอ่ ไปนแ้ี สดงตวั อยา่ งกลไกความเสอ่ื มทอ่ี าจเกดิ ขน้ึ ไดใ้ นเครอ่ื งปฏกิ รณน์ วิ เคลยี ร์

ท่มี า www.phys.org [1]

วารสาร 13

Thermal expansion,
Thermal aging,

Changes in microstructure and phase

ความร้อน

Radiation damage, รังสี สภาวะทางเคมี Corrosion,
Bubble and void, Hydrogen production,
Chemical reaction
Radiation hardening
Nuclear reactions

Irradiation in duced แรงเชิงกล Stress corrosion cracking,
Stress corrosion cracking, Corrosion fatigue

Corrosion fatigue

Creep, Fatigue,
Wear, Cracking

ตัวอยา่ งกลไกความเส่ือมที่อาจเกิดข้นึ ได้ในเคร่อื งปฏิกรณน์ ิวเคลียร์

ตัวอยา่ งกลไกความเส่อื มที่อาจเกิดข้ึนได้ในเคร่อื งปฏิกรณ์นิวเคลียร์

กลไกความเส่ือมที่เกิดจากผลของรังสี ในเครื่องปฏิกรณ์
ผลกระทบท่ีเกิดจากรังสีนิวตรอนมีอิทธิพลมากท่ีสุด เกิดจาก 2 กลไกหลัก
คือ การทำ�ลายของนวิ ตรอน (Neutron damage) และการเปล่ียนนวิ ไคลด์
จากปฏิกิริยาจับนิวตรอน (Neutron transmutation) การทำ�ลายจาก
นิวตรอนเกิดขึ้นเมื่อนิวตรอนท่ีมีพลังงานวิ่งเข้าชนวัสดุ แล้วทำ�ให้อะตอม
เคลอ่ื นท่ี สง่ ผลใหก้ ารเรยี งตวั ของอะตอมหรอื โครงสรา้ งระดบั จลุ ภาคเปลย่ี นไป
แล้วเกิดความบกพร่องหรือที่เรียกว่า Defects ผลท่ีตามมาก็คือ ทำ�ให้
คุณสมบัติของวัสดุเปล่ียนไปด้วย ตัวอย่างความเสื่อมที่เกิดจากการทำ�ลาย
ของนิวตรอน คือ Radiation hardening ที่ทำ�ให้วัสดุแข็งข้ึนแต่เปราะ
ขึ้นด้วย วัสดุจะแตกร้าวและหักได้ง่าย หากความบกพร่องที่เป็นช่องว่าง
มีจำ�นวนมากก็จะทำ�ให้เกิด Void หรือ Bubble ซ่ึงทำ�ให้เกิดรูพรุนและ
การบวมในเน้ือวัสดุ การเกิดการทำ�ลายของนิวตรอน [2]

อีกหนึ่งกลไกความเส่ือมที่เกิดจากนิวตรอนท่ีหลีกเลี่ยงไม่ได้ คือ การเกิดปฏิกิริยาการจับนิวตรอน (Neutron
captured reaction) ของธาตุใดธาตุหน่ึงในเนื้อวัสดุ เม่ือธาตุหรือนิวไคลด์เสถียรเกิดปฏิกิริยาจับนิวตรอน ทำ�ให้จำ�นวน
นิวตรอนเพิ่มขึ้นแล้วเกิดเป็นนิวไคลด์ใหม่ที่ไม่เสถียรซึ่งจะปลดปล่อยพลังงานหรือรังสีออกมา บางปฏิกิริยาจะทำ�ให้เกิด
ธาตุใหมซ่ ่งึ ทำ�ใหอ้ งค์ประกอบของวัสดเุ ปลีย่ นไปและอาจมคี ณุ สมบตั ิท่ดี อ้ ยลง เชน่ ปฏิกริ ยิ าการจับนวิ ตรอนของอะลูมิเนียม
(27Al) ทำ�ใหอ้ ะลมู เิ นียมกลายเป็นซลิ ิกอน (28Si) แลว้ ทำ�ให้ความแข็งแรงของวัสดเุ ปลย่ี นไป

กลไกความเส่ือมที่เกิดจากความร้อน ความร้อนที่เกิดจากปฏิกิริยาฟิชชันส่วนหนึ่งจะถูกถ่ายเทสู่นํ้า
หล่อเย็น ทำ�ให้อุณหภูมิของนํ้าหล่อเย็นและวัสดุในบริเวณแกนเครื่องปฏิกรณ์สูงขึ้น วัสดุที่ใช้เป็นส่วนประกอบของแกน
จะต้องทำ�งานภายใต้อุณหภูมิสูงตลอดอายุการใช้งาน กลไกความเสื่อมที่เกิดจากความร้อน ได้แก่ Thermal expansion,
Thermal aging และความร้อนทำ�ให้โครงสร้างและเฟสของวัสดุเปลี่ยนไป นอกจากนี้ ความร้อนยังสามารถเร่งปฏิกิริยาท่ี
เกิดจากปจั จยั อน่ื ใหเ้ กิดข้นึ ไดเ้ ร็วขนึ้ เช่น การกดั กร่อน ความคืบ เป็นตน้

กลไกความเส่ือมท่ีเกิดจากสภาวะทางเคมี ความเส่ือมท่ีเกิดข้ึนจากสภาวะทางเคมีที่สำ�คัญที่สุด
ในเคร่อื งปฏกิ รณ์แบบใช้นา้ํ เป็นตัวหลอ่ เย็นคือการกดั กรอ่ น(Corrosion)หรือการเกิดออกซิเดชัน(Oxidation)โดยมีนา้ํ เป็น
ตัวทำ�ปฏิกิริยากับโลหะที่เป็นส่วนประกอบของแกนเคร่ืองปฏิกรณ์ หากมีผลกระทบจากความเครียดด้วย จะทำ�ให้เกิด
การแตกร้าว เรยี กว่า การแตกรา้ วจากความเครียดและการกดั กร่อน (Stress Corrosion Cracking) และหากมีผลกระทบ

14 วารสาร

จากรังสีด้วยจะทำ�ให้ความเสียหายรุนแรงข้ึน เรียกว่า การแตกร้าว
จากความเครยี ดและการกดั กรอ่ นโดยมรี งั สเี ปน็ ตวั กระตนุ้ (Irradiation
Assisted Stress Corrosion Cracking)

การกัดกรอ่ นที่ Nozzle head ของถังปฏิกรณแ์ รงดัน กลไกความเส่ือมท่ีเกิดจากแรงเชิงกล วัสดุส่วนประกอบใน
ของเคร่ืองปฏิกรณก์ ำ�ลัง Davis Besse [3] เครอ่ื งปฏกิ รณน์ วิ เคลยี รว์ จิ ยั ตอ้ งรบั นา้ํ หนกั ถว่ ง (Load) การกระแทก
หรือมีการเสียดสีมาก กลไกความเส่ือมท่ีเกิดข้ึนจากแรงเชิงกล
ทม่ี กั พบในเครอ่ื งปฏกิ รณ์ คอื ความคบื (Creep) ความลา้ (Fatigue)
การสกึ หรอ (Wear) การเสยี ดสี (Fretting) การแตกรา้ ว (Cracking)

การจดั การความเสอ่ื มของเครอ่ื งปฏกิ รณน์ วิ เคลยี รว์ จิ ยั
เป็นท่ีทราบชัดเจนแล้วว่า ไม่ว่าอย่างไร เราคงหลีกเล่ียงความเส่ือมที่เกิดข้ึนในเคร่ืองปฏิกรณ์ฯ ไม่ได้
จึงต้องหาวิธีทำ�ให้ม่ันใจได้ว่าเคร่ืองปฏิกรณ์ท่ีใช้มาเป็นเวลางานยังมีประสิทธิภาพและความปลอดภัยท่ีดีอยู่
ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) แนะนำ�ให้มีการจัดการความเส่ือมของเคร่ืองปฏิกรณ์อย่างต่อเน่ือง
พระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ พ.ศ. 2559 กำ�หนดให้ผู้รับใบอนุญาตดำ�เนินการสถานประกอบการ
ทางนิวเคลียร์ทำ�การทบทวนและปรับปรุงรายงานวิเคราะห์ความปลอดภัยตามระยะเวลาและกรณีตามท่ีกำ�หนด
ในกฎกระทรวง “ความเส่ือมสภาพตามอายกุ ารใชง้ าน” เปน็ หนง่ึ ในหัวข้อท่ตี อ้ งมีการประเมนิ และปรบั ปรุงทกุ 10 ปี

คัดกรอง ระบุกลไก ป้ องกัน เฝ้ าตรวจ
SSC ความเส่ือม

จดบนั ทึก ปรบั ปรุง ลดผลกระทบ

องค์ประกอบของการจัดการความเส่ือม
กระบวนการจดั การความเสอ่ื ม (ดงั รปู ) เรม่ิ จากการจดั ทำ�รายการโครงสรา้ ง ระบบ และสว่ นประกอบ (Structure,
System and Components; SSC) ทั้งหมดของเครื่องปฏิกรณ์ให้เป็นหมวดหมู่ จากน้ันจึงคัดกรองเลือกเฉพาะส่วน
ที่สำ�คัญต่อความปลอดภัย เปลี่ยนชิ้นส่วนยากและถูกใช้งานในสภาวะแวดล้อมท่ีมีปัจจัยท่ีทำ�ให้เกิดความเสื่อม จากน้ัน
ให้พิจารณาว่ากลไกความเส่ือมชนิดใดจะเกิดข้ึนกับส่วนประกอบช้ินน้ัน โดยค้นคว้าข้อมูลจากผลการวิจัยหรือบันทึกจาก
เคร่ืองปฏิกรณ์อื่น เมื่อระบุว่ากลไกความเสื่อมใดสามารถเกิดข้ึนได้แล้ว ให้หามาตราการป้องกัน เฝ้าตรวจ เฝ้าระวัง และ
ดูแนวโน้มการเกิดความเสื่อม หากพบว่ามีความเสื่อมเกิดขึ้นแล้ว ให้หาแนวทางลดผลกระทบท่ีจะเกิดข้ึน นอกจากนี้ควรมี
การพัฒนามาตรการต่าง ๆ และจดบนั ทกึ ข้อมูลอย่างต่อเน่อื ง

จะเหน็ ไดว้ า่ การจดั การความเสอ่ื มเปน็ กระบวนการทก่ี ำ�หนดใหห้ นว่ ยงานผเู้ ดนิ เครอ่ื งปฏกิ รณน์ วิ เคลยี รส์ ามารถ
จดั การและหามาตรการดแู ล ปอ้ งกนั และลดผลกระทบจากความเสอ่ื มอยา่ งเปน็ ระบบระเบยี บ ไดต้ ง้ั แตเ่ รม่ิ เดนิ เครอ่ื งปฏกิ รณ์
นวิ เคลยี ร์ โดยยง่ิ เรม่ิ ทำ�ไดเ้ รว็ เทา่ ไร กจ็ ะชว่ ยคงประสทิ ธภิ าพและความปลอดภยั ของเครอ่ื งใหเ้ หมอื นใหมไ่ ดเ้ ทา่ นน้ั ดงั นน้ั
หนว่ ยงานควรมคี วามตระหนกั และเหน็ ความสำ�คญั ของการจดั การความเสอื่ มจดั สรรทรพั ยากรบคุ คลและงบประมาณ
อยา่ งเพยี งพอใหพ้ รอ้ มทจ่ี ะดำ�เนนิ การได้ เครอ่ื งปฏกิ รณน์ วิ เคลยี รก์ จ็ ะสามารถทำ�งานไดอ้ ยา่ งมปี ระสทิ ธภิ าพและปลอดภยั ตอ่ ไป

เอกสารอ้างอิง

[1] https://www.phys.org/
[2] S. Matus, Mapping of the Neutron Flux density distribution in the VVER-440 Reactor Pressure Vessel, Portal pre odborne publikovanie IISN

1338-0087, 2009
[3] https://nrc.gov/

วารสาร 15

วิวัฒนาการการใช้วัสดกุ ัมมนั ตรงั สี

ในงานรงั สีรักษาระยะใกล้ชนดิ อัตราปริมาณรงั สสี งู

(High Dose Rate Brachytherapy or HDR-Brachytherapy)

โดย นายภูรินท ์ ไชยวงศ์ นักฟิสกิ ส์รังสีปฏิบัติการ
นางกนกพร ธรฤทธิ์ นักฟสิ ิกส์รังสีปฏบิ ตั กิ าร

รังสีรักษา หมายถึง การนำ�รังสีมาใช้ในการบำ�บัดรักษาโรค ส่วนใหญ่ใช้ในการบำ�บัดรักษาโรคมะเร็ง โดยต้องใช้
รังสีที่มีปริมาณสูงจึงจะสามารถทำ�ลายเซลล์มะเร็งได้ แหล่งกำ�เนิดรังสีจะมาจากวัสดุกัมมันตรังสีและเครื่องกำ�เนิดรังสี
บทความน้ีจะมุ่งเน้นเฉพาะ รังสีรักษาที่ใช้วัสดุกัมมันตรังสี ซ่ึงวิธีการรักษาแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ รังสีรักษาระยะไกล
(Teletherapy)เปน็ การรกั ษาท่ีมตี น้ กำ�เนดิ รังสีหา่ งจากบริเวณทจ่ี ะรกั ษาโดยใชร้ ังสแี กมมาจากวสั ดุกมั มนั ตรังสีโคบอลต-์ 60
และรังสีรกั ษาระยะใกล้ (Brachytherapy) เปน็ การรักษาท่วี สั ดุกมั มนั ตรงั สีอยู่ชิดหรอื อยู่ภายในบรเิ วณทจี่ ะรักษา
การรักษาด้วยรังสีรักษาระยะใกล้ชนิดอัตราปริมาณรังสีสูงน้ี เรียกว่า “การใส่แร่” จะดำ�เนินการโดยนำ�
วัสดุกัมมันตรงั สที เ่ี รยี กวา่ “เม็ดแร”่ ซ่ึงบรรจใุ นเคร่อื งใส่แร่ เพื่อสอดใส่เข้าไปในโพรงของรา่ งกาย เชน่ โพรงจมกู ปากมดลกู
ด้วยอุปกรณ์นำ�เม็ดแร่ (Applicator) เข้าไปในก้อนมะเร็ง และเมื่อเสร็จส้ินการรักษาตามแผนการรักษาท่ีกำ�หนดในแผน
การรักษาจะนำ�วัสดุกัมมันตรังสีกลับเข้าสู่ที่เก็บในเคร่ืองใส่แร่รังสีรักษาระยะใกล้ชนิดอัตราปริมาณรังสีสูง (High Dose
Rate Brachytherapy or HDR-Brachy) จดั อยใู่ นการรกั ษาแบบรงั สรี กั ษาระยะใกลแ้ บบชว่ั คราว (Temporary brachytherapy)
เป็นการนำ�รังสีมาใช้เพ่ือบำ�บัดรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง โดยนำ�วัสดุกัมมันตรังสีหรือเม็ดแร่ท่ีมีปริมาณรังสีสูง มาประชิดกับ
บรเิ วณตอ้ งการรักษา เพือ่ ใหเ้ ซลล์มะเร็งสลายตัว ใช้เวลาในการรกั ษาต่อคนประมาณ 10 - 20 นาทีต่อครั้ง การรกั ษาวธิ ีน้ี
ได้แก่ การใส่แร่เพื่อรักษามะเร็งปากมดลูก มะเร็งทางช่องคลอด มะเร็งหลังโพรงจมูก วัสดุกัมมันตรังสีที่นำ�มาใช้ ได้แก่
อิริเดียม-192 (Ir-192) โคบอลต์-60 (Co-60) ปัจจุบันการรักษาด้วยรังสีรักษาระยะใกล้ชนิดอัตราปริมาณรังสีสูงเป็นที่
แพรห่ ลายทัง้ ในและต่างประเทศ

เครื่องรังสรี ักษาระยะไกล เครื่องรงั สีรกั ษาระยะใกล้
(Teletherapy) (Brachytherapy)

16 วารสาร รูปที่ 1 แสดงเคร่อื งมอื ที่ใชง้ านรงั สีรกั ษา

ท่ีมารูป : https://www.pinterest.com/pin/73
4086807987218466/?d=t&mt=login

รูปที่ 2 แสดงลักษณะการใช้งานของเคร่ืองใสแ่ ร่

ในอดีตการทำ� Brachytherapy เป็นแบบ Manual โดยใช้มือจับแท่งเรเดียม-226 (Ra-226) หรือ
ซีเซียม-137 (Cs-137) สอดใส่หรือฝังในบริเวณท่ีเป็นรอยโรคโดยตรง (Hot loading) ทำ�ให้ผู้ปฏิบัติงานได้รับ
รังสีสูง ปัจจุบันจึงได้ยกเลิกวิธีการแบบ Manual ดังกล่าว แล้วพัฒนาการใช้อุปกรณ์นำ�วัสดุกัมมันตรังสีหรือ
เม็ดแร่ (Applicator) ซ่ึงมีลักษณะเป็นท่อขนาดเล็ก สอดใส่ท่ีบริเวณเซลล์มะเร็งแล้วจึงใส่เม็ดแร่ตามเข้าไปในท่อ ทำ�ให้
การรกั ษาทำ�ไดเ้ รว็ ขน้ึ และผปู้ ฏบิ ตั งิ านมคี วามปลอดภยั มากขน้ึ วธิ นี เ้ี รยี กวา่ Afterloading อยา่ งไรกต็ ามการใชว้ ธิ กี ารดงั กลา่ ว
ยังทำ�ใหผ้ ้ปู ฏบิ ัติงานมโี อกาสไดร้ บั รังสสี ูง เนือ่ งจากยังคงใชม้ อื จบั เมด็ แรใ่ นการใส่เขา้ ทอ่ ต่อมาจึงได้พฒั นาระบบการควบคมุ
การใส่วัสดุกัมมันตรังสีในระยะไกล (Remote Afterloading) เนื่องจากได้ออกแบบให้เม็ดแร่ถูกบรรจุในเคร่ืองใส่แร่
พร้อมใช้งาน เพียงรอให้ผู้ปฏิบัติงานต่ออุปกรณ์นำ�เม็ดแร่จากเคร่ืองใส่แร่สู่ตำ�แหน่งเซลล์มะเร็งที่ต้องการ หลังจากนั้นผู้
ปฏิบัติงานจะส่ังการการรักษาจากห้องควบคุมทางไกล ทำ�ให้ผู้ปฏิบัติงานได้รับรังสีน้อยมาก ดังน้ันการควบคุมการใส่วัสดุ
กมั มนั ตรงั สใี นระยะไกล (Remote Afterloading) จงึ เปน็ วิธีการที่ไดร้ ับความนยิ มในปัจจบุ ัน

รูปที่ 3 แสดงการทำ� Manual Brachytherapy โดยใช้แท่งเรเดียม-226
(Ra-226) หรือซีเซียม-137 (Cs-137) ก่อนมีการพัฒนาการใช้อุปกรณ์
น�ำ เม็ดแร่

ท่ีมารูป : Introduction to Brachytherapy, History and Indications. Christine
Haie-Meder.

ส่วนเม็ดแร่ท่ีใช้ในงานรังสีรักษาน้ี เป็นวัสดุกัมมันตรังสีประเภทท่ี 2 หรือเรียกว่าวัสดุกัมมันตรังสี
ที่เป็นอันตรายมากตามกฎกระทรวงความมั่นคงปลอดภัยทางรังสี พ.ศ. 2561 ดังน้ัน เพื่อให้เกิดความปลอดภัย
และความมั่นคงปลอดภัยทางรังสี ผู้ที่จะนำ�วัสดุกัมมันตรังสีดังกล่าวมาใช้งานต้องได้รับใบอนุญาตจากสำ�นักงานปรมาณู
เพ่ือสันติตามมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ พ.ศ. 2559 ทั้งนี้การขอรับใบอนุญาตมีไว้
ในครอบครองและใชว้ สั ดกุ มั มนั ตรงั สดี งั กลา่ วจะตอ้ งมกี ารประเมนิ ความปลอดภยั ทางรงั สขี องผปู้ ฏบิ ตั งิ านผปู้ ว่ ยทม่ี ารบั การรกั ษา
และประชาชนทั่วไป และตอ้ งจดั ทำ�ระบบความมน่ั คงปลอดภัยทางรังสสี ำ�หรบั วสั ดุกัมมันตรงั สใี ห้เพยี งพอและเหมาะสม

วารสาร 17

วัสดุกัมมันตรังสีหรือเม็ดแร่ท่ีนำ�มาใช้น้ีเป็นวัสดุกัมมันตรังสีที่มีขนาดเล็ก รูปทรงกระบอกดังรูปท่ี 3
มีขนาดเส้นผ่านศนู ยก์ ลางเฉลีย่ 0.6 มลิ ลเิ มตร ยาว 3.5 มิลลิเมตร มีอัตราปรมิ าณรงั สดี ดู กลนื มากกวา่ 10 เกรย์ต่อชวั่ โมง
โดยทัว่ ไปนิยมนำ�อริ ิเดียม-192 (Ir-192) พลงั งานโฟตอนเฉล่ีย 0.37 เมกะอิเล็กตรอนโวลต์ (MeV) ค่าครึ่งชีวิตประมาณ 74
วัน และโคบอลต-์ 60 (Co-60) พลงั งานโฟตอนเฉล่ีย 1.25 เมกะอเิ ลก็ ตรอนโวลต์ มีคา่ คร่งึ ชีวติ ประมาณ 5.27 ปี ทำ�ให้การ
รักษามะเรง็ ดว้ ยการใช้ Ir-192 มีการลงทุนในการก่อสรา้ งผนังเพือ่ ลดทอนรังสีตอ่ เน่ืองจากพลังงานของ Ir-192 ทีป่ ลดปลอ่ ย
ออกมามคี า่ ตํา่ กว่า Co-60 แต่เน่อื งจาก Ir-192 มคี ่าครึง่ ชวี ติ น้อยกวา่ Co-60 มาก จงึ ต้องมีการเปลีย่ นถ่ายวัสดกุ มั มนั ตรงั สี
บ่อยคร้ังโดยเฉล่ียจะเปล่ียนเมื่อ Ir-192 ถกู ใช้เมอื่ เวลาผ่านไปประมาณ 3 - 6 เดอื น ขึน้ อยู่กับการใช้งาน ส่วน Co-60 จะมี
การเปลี่ยนถ่ายวัสดุกัมมันตรังสีทุก 5-8 ปี ทำ�ให้ปัจจุบันการรักษาด้วยรังสีระยะใกล้ชนิดอัตราปริมาณรังสีสูงเร่ิมหันมาใช้
Co-60 มากขึ้น

รูปที่ 3 แสดงขนาดของวัสดกุ ัมมนั ตรังสีโคบอลต์-60 บรรจุในแคปซูล ภายในท่อน�ำ วัสดุฯ

ทีม่ ารปู : https://www.saginova.info/saginova_afterloader/

เอกสารอ้างอิง

International Atomic Energy Agency. (2011). Implementation of microsource high dose rate (mHDR) brachytherapy in developing countries.

International Atomic Energy Agency. (2006). Radiation Protection in the Design of Radiotherapy Facilities, Safety Reports Series No.47.
Stefan, Strohmaier., & Grzegorz, Zwierzchowski. (2011). Compare of 60Co และ 192Ir Sources in HDR brachytherapy. Journal of Contemporary

Brachytherapy, 2011(3), 199-208.
Shukla AK, Jangid PK, Rajpurohit VS, Verma A, Dangayach SK, Gagrani V, et al. Dosimetric comparison of 60Co and 192Ir high dose rate source used

in brachytherapy treatment of cervical cancer. Journal of Cancer Research and Therapeutics. 2019(15). 1212-1215.
กฎกระทรวง ความมน่ั คงปลอดภยั ทางรงั สี พ.ศ.2561. 5 ตลุ าคม 2561. ราชกจิ จานเุ บกษา. เลม่ 135 ตอนท่ี 79 ก. 17 – 22.
Eckert & Ziegler,. Cobalt-60 in HDR Brachytherapy. Retrieved August 8, 2020, from https://www.bebig.com/home/products/hdr_brachytherapy/

cobalt_60/
โกมล องั กรุ รตั น.์ (2555). รงั สรี กั ษาระยะใกล้ : Brachytherapy. คน้ เมอ่ื 8 สงิ หาคม 2563, จาก http://www0.tint.or.th/nkc/nkc55/content55/nstkc55-024.html
สนุ นั ทา ภงู ามนลิ . (2558). ปรบั ปรงุ คมู่ อื ความปลอดภยั ทางรงั สกี ารใชง้ าน Brachytherapy ทางการแพทย.์ กรงุ เทพมหานคร: สำ�นกั งานปรมาณเู พอ่ื สนั ต.ิ
18 วารสาร

การเตรยี มความพรอ้ ม

และรบั มือเหตฉุ กุ เฉิน
ทางนิวเคลียรแ์ ละรังสี
ของประเทศไทย

โดย ดร.กิตต์ิกวนิ อรามรุญ นักฟสิ ิกสร์ งั สีชำ�นาญการพิเศษ
หวั หน้าศูนย์ปฏบิ ตั กิ ารฉุกเฉินทางนิวเคลยี รแ์ ละรงั สี

การใช้ประโยชน์จากพลังงานปรมาณูในทางสันติ เร่ิมต้นต้ังแต่การตราพระราชบัญญัติพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ

พ.ศ. 2504 ซ่ึงกำ�หนดให้มีจัดตั้ง “สำ�นักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ” หรือ พปส. ซึ่งมีการแบ่งส่วนราชการภายใน
ให้มกี องสขุ ภาพ ตามประกาศสำ�นกั นายกรฐั มนตรี เมอ่ื วนั ท่ี 23 เมษายน พ.ศ. 2505 โดยกองสขุ ภาพมหี นา้ ทใ่ี นการควบคมุ
อันตรายจากรังสี โดยมีฝ่ายป้องกันอันตรายจากรังสีเป็นฝ่ายที่มีหน้าท่ีรับผิดชอบในการเตรียมการรองรับภาวะฉุกเฉิน
ท่ีอาจเกิดขึ้นจากการใช้พลังงานปรมาณูในขณะนั้น แต่อย่างไรก็ตามภารกิจหลักของฝ่ายป้องกันอันตรายจากรังสีคือ
การออกตรวจสอบสถานประกอบการทางรังสีเป็นหลัก ดังน้ันองค์ความรู้ เคร่ืองมือและอุปกรณ์ในการรับมือต่อเหตุฉุกเฉิน
ทางนิวเคลียร์และรังสี จึงไม่ได้มีการเตรียมการเป็นการเฉพาะ ส่วนในระดับนานาชาติ ในปี พ.ศ. 2530 ประเทศไทย
ได้ให้สัตยาบันเป็นประเทศภาคีภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยการแจ้งเหตุทางนิวเคลียร์โดยเร็ว (Convention on Early
Notification of Nuclear Accident) และอนุสัญญาว่าด้วยการให้ความช่วยเหลือในกรณีเกิดอุบัติเหตุทางนิวเคลียร์หรือ
เหตุฉกุ เฉนิ ทางรงั สี (Convention on Assistance in the Case of Nuclear Accident or Radiological Emergency)
ดังนน้ั ช่วง 4 ทศวรรษของการจดั ต้งั สำ�นกั งานพลังงานปรมาณูเพ่ือสันติ ประเทศไทยมกี ารเตรยี มความพรอ้ มในการรับมอื
ต่อเหตุฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสีทั้งในประเทศและต่างประเทศในระดับหนึ่ง และยังไม่เคยเกิดเหตุอุบัติเหตุ
ทางนิวเคลียรแ์ ละรังสที ่ีมคี วามรา้ ยแรงจนทำ�ให้เกิดผลกระทบตอ่ ประชาชนและสง่ิ แวดล้อม
ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2543 ประเทศไทยได้เกิดอุบัติเหตุทางรังสีที่มีความรุนแรงจนทำ�ให้มีผู้เสียชีวิตเป็นข่าว
ไปท่ัวประเทศ คือ อุบัติเหตุทางรังสีท่ีจังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเกิดจากการใช้วัสดุกัมมันตรังสีโคบอลต์-60 ท่ีใช้ประโยชน์
ในทางการแพทย์ จนทำ�ให้ประชาชนท่ัวไปจดจำ�อุบัติเหตุในคร้ังน้ีในชื่อ “อุบัติเหตุโคบอลต์-60 จังหวัดสมุทรปราการ”
โดยเหตุการณใ์ นคร้งั นน้ั ทำ�ให้มีผ้เู สยี ชีวิตจำ�นวน 3 ราย ซึ่งถอื เปน็ บทเรยี นครงั้ สำ�คญั ของประเทศในการเตรยี มความพร้อม
และรับมือต่อเหตุฉุกเฉินทางรังสีท่ีมีโอกาสเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นบุคลากรท่ีมีเชี่ยวชาญในการตอบสนองเหตุฉุกเฉินที่เกิดขึ้น
รวมถงึ เคร่อื งมือและอปุ กรณใ์ นการระงับเหตุเพือ่ ใหเ้ หตุการณก์ ลบั คืนสสู่ ภาวะปกตโิ ดยเรว็
ในปี พ.ศ. 2545 สำ�นักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ ได้เปลี่ยนช่ือเป็น “ส�ำ นกั งานปรมาณเู พอ่ื สนั ติ หรอื ปส.”
ตามพระราชบญั ญัติปรับปรงุ กระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ซ่ึงเปน็ ครงั้ แรกที่ ปส. ได้กำ�หนดใหม้ ีกล่มุ เตรียมความพร้อม
ประสานงานกรณีฉุกเฉินทางรังสี หรือ กตฉ. อยู่ภายใต้สำ�นักกำ�กับดูแลความปลอดภัยทางรังสี โดยเริ่มแรก กตฉ.
มีเจ้าหน้าท่ีปฏิบัติงานจำ�นวน 3 นาย มีภารกิจหลักในการรับแจ้งและรายงานเหตุฉุกเฉินทางรังสี ตลอด 24 ช่ัวโมง จัดทำ�
แผนฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสีของประเทศรวมถึงกฎระเบียบมาตรฐานแนวปฏิบัติต่างๆ ให้มีความพร้อมอยู่เสมอ
นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์ประสานงานกับหน่วยงานระงับเหตุฉุกเฉินทางรังสีทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพ่ือเพิ่มศักยภาพ
การเตรียมความพรอ้ มและการรับมือตอ่ เหตฉุ กุ เฉินทางนวิ เคลียรแ์ ละรังสใี หม้ ีประสิทธิภาพมากขึ้น

วารสาร 19

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 จนถึงปัจจุบัน เป็นเวลาเกือบ 19 ปี ปส. ได้มีการพัฒนาภารกิจด้านการเตรียมความพร้อม
ในการรับมือต่อเหตุฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสีอยู่ตลอดเวลา ร่วมถึงสร้างเครือข่ายร่วมกับหน่วยงานระดับประเทศ
ท่ีเกีย่ วข้อง เช่น กรมปอ้ งกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงสาธารณสขุ หน่วยงานดา้ นความมน่ั คง เป็นตน้ รวมถงึ ไดม้ ี
การปรบั ปรุงโครงสร้างภารกิจดงั กลา่ วใหม้ คี วามเหมาะสมตลอดมา จนกระทงั่ ในปงี บประมาณ พ.ศ. 2564 วนั ที่ 7 ตลุ าคม
พ.ศ. 2563 ปส. ไดม้ กี ารเพิม่ ขดี ความสามารถในการเตรียมความพร้อมและการตอบสนองเหตุฉุกเฉินทางนิวเคลยี ร์และรงั สี
ของประเทศ โดยการจัดต้ัง “ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสี” หรือ Emergency Operation Center
ซึ่งเป็นหน่วยงานปฏิบัติการภายใต้กองตรวจสอบทางนิวเคลียร์และรังสี สำ�นักงานปรมาณูเพ่ือสันติ โดยเป้าหมายเพื่อเป็น
ศูนย์กลางในการเตรียมความพร้อม การบริหารจัดการและการตอบสนองเหตุฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสีของประเทศ
ที่เกิดขึ้นในสถานประกอบการ ในพ้ืนท่ีสาธารณะและเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อความม่ันคงปลอดภัยทางนิวเคลียร์
โดยมพี ันธกิจทส่ี ำ�คัญ คอื
● บริหารจัดการด้านการเตรียมความพร้อมกรณีฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสี ให้ครอบคลุมภัยท่ีอาจเกิดขึ้น
ท้งั ในประเทศและตา่ งประเทศ
● ส่งเสริมใหส้ ถานประกอบการทางนิวเคลียรแ์ ละรงั สี จัดทำ�แผนปฏิบัตกิ ารกรณีฉุกเฉนิ ทางนิวเคลียรแ์ ละรังสี
● สนับสนุนและส่งเสริมให้หน่วยงานท่ีเกี่ยวข้องด้านสาธารณภัยและด้านความม่ันคง มีขีดความสามารถ
ในการตอบสนองเหตฉุ ุกเฉนิ ทางนิวเคลียรแ์ ละรังสีด้านสาธารณภยั และดา้ นความมัน่ คง

● พัฒนาองค์ความรู้ของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในระดับต่าง ๆ เพื่อเตรียมความพร้อมและตอบสนองกรณีฉุกเฉิน
ทางนวิ เคลียรแ์ ละรังสี

โดยศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสี มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานประจำ� จำ�นวน 10 นาย โดยมีระบบ
การเตรียมความพร้อมเพือ่ รบั มือกับเหตุฉกุ เฉนิ ทางนวิ เคลียรแ์ ละรังสี ดังน้ี

การรับแจ้งเหตุฉุกเฉินทางนวิ เคลยี รแ์ ละรงั สี สายด่วน ✆ 1296 ตลอด 24 ชวั่ โมง

ปส. ได้จัดเตรียมเจ้าหน้าที่ของศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และ
รังสีไว้รับแจ้งเหตุฉุกเฉิน ประเมินสถานการณ์ ให้คำ�แนะนำ�และประสานงานกับเจ้าหน้าที่
และหน่วยงานที่เก่ียวข้องในการตอบสนองเหตุฉุกเฉินที่เกิดข้ึน ดังนั้น หากพบเห็นเหตุฉุกเฉิน
ทางนิวเคลียร์และรังสีเกิดข้ึนในสถานประกอบการหรือพบวัตถุต้องสงสัยท่ีอาจจะเป็นวัสดุ
กัมมันตรังสีในพ้ืนที่สาธารณะ โดยสังเกตจากป้ายเตือนทางรังสี ซึ่งมีองค์ประกอบสำ�คัญ คือ
สญั ลกั ษณร์ ปู ใบพัดสามแฉกหรือขอ้ มูลของวสั ดุกมั มันตรงั สี ใหด้ ำ�เนนิ การดังน้ี
● ห้ามสมั ผสั วัสดุกัมมนั ตรงั สีหรอื วตั ถตุ อ้ งสงสัยเปน็ อนั ขาด
● จดจำ�รายละเอยี ดหรอื ถา่ ยภาพวสั ดกุ มั มนั ตรงั สหี รอื วตั ถตุ อ้ งสงสยั เพอ่ื แจง้ ใหเ้ จา้ หนา้ ทท่ี ราบ
● แจ้งสายดว่ นเหตุฉกุ เฉินทางนิวเคลียรแ์ ละรงั สี ทห่ี มายเลข 1296 ตลอด 24 ชว่ั โมง
● กั้นบริเวณในระยะอยา่ งนอ้ ย 30 เมตร หรอื ระยะทีค่ าดว่าปลอดภัยจากวัสดุกมั มันตรงั สีหรือ

วตั ถุต้องสงสัยและหา้ มไม่ให้ผทู้ ีเ่ กี่ยวขอ้ งเขา้ ในบรเิ วณดงั กล่าว

20 วารสาร

การจัดเตรยี มเจ้าหน้าทผี่ เู้ ชย่ี วชาญ เคร่อื งมือและอุปกรณ์เพ่อื ออกปฏิบัติงานระงับเหตุฉุกเฉิน
ทางนวิ เคลยี รแ์ ละรงั สี

ปส. จัดทีมเพ่ือเตรียมความพร้อมหากเกิดเหตุฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสีตลอด 24 ช่ัวโมง โดยมีเจ้า
หน้าท่ีผู้เชี่ยวชาญในการประเมินสถานการณ์และการระงับเหตุฉุกเฉิน 50 คน ซ่ึงผ่านการฝึกอบรมในการตอบสนอง
เหตุฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสีในสถานการณ์ต่าง ๆ โดยมีการจัดแบ่งเจ้าหน้าท่ีผู้เช่ียวชาญออกเป็นทีมละ 3-5 คน
เพื่อเตรียมความพร้อม ณ ท่ีตั้งในแต่ละวัน และเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสีขึ้นเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญสามารถ
เข้าตรวจสอบและระงบั เหตฉุ ุกเฉินทเี่ กิดข้นึ ได้ทันที

นอกจากน้ี ปส. ยังมีเครื่องมือและอุปกรณ์ในการตรวจสอบและเข้าระงับเหตุฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสีไม่ว่า
เหตุการณ์นั้นจะมีระดับความรุนแรงน้อยไปถึงระดับที่มีความรุนแรงมาก โดยเคร่ืองมือและอุปกรณ์มีความพร้อมในการ
ใช้งานตลอดเวลา โดยมีศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสีเป็นหน่วยงานรับผิดชอบในการบำ�รุงรักษาเครื่องมือ
ให้มีความพร้อมใช้อยู่เสมอ ซึ่งเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเป็นเครื่องมือท่ีมีความทันสมัยช่วยให้การปฏิบัติงาน
มีประสิทธิภาพเกิดความปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงานและทำ�ให้การระงับเหตุเป็นไปด้วยความรวดเร็วเพ่ือให้ประชาชนและ
สง่ิ แวดลอ้ มเกิดความปลอดภยั จากเหตุฉกุ เฉินท่เี กดิ ข้ึน โดยมเี คร่ืองมอื และอปุ กรณ์ ทส่ี ำ�คญั ดงั นี้
รถเคลอ่ื นทเ่ี รว็ ในการปฏบิ ตั งิ านระงบั เหตฉุ กุ เฉนิ ทางนวิ เคลยี รแ์ ละรงั สี เป็นรถปฏิบัติการในการระงับเหตุฉุกเฉิน
ทางนิวเคลียร์และรังสีที่สามารถเข้าถึงพื้นท่ีเกิดเหตุเพื่อประเมินสถานการณ์และระงับเหตุฉุกเฉินได้ทันที ตลอด 24 ช่ัวโมง
พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน 3-5 คน พร้อมอุปกรณ์ในการปฏิบัติงาน และหากสถานการณ์มีความรุนแรง เจ้าหน้าท่ี
ตอบสนองเหตุฉุกเฉินของ ปส. สามารถร้องขอการสนับสนุนเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญ เคร่ืองมือและอุปกรณ์เพ่ิมเติมเพ่ือให้
สถานการณ์กลับสูส่ ภาวะปกติโดยเร็ว

วารสาร 21

หุน่ ยนตป์ ระเมนิ ผลกระทบทางรังสี เป็นหุ่นยนตป์ ระเมินสถานการณใ์ นพื้นที่เกิดเหตุหากระดับรังสีของเหตฉุ ุกเฉนิ
มีปริมาณสูงและเกิดอันตรายต่อผ้ปู ฏิบัติงาน เจ้าหน้าท่ตี อบสนองเหตุฉุกเฉินของ ปส. จะใช้ห่นุ ยนต์ในการเข้าไปสำ�รวจและ
ประเมนิ ระดบั รงั สรี วมถงึ เกบ็ กวู้ สั ดกุ มั มนั ตรงั สใี หม้ คี วามปลอดภยั ตอ่ ไป ซง่ึ หนุ่ ยนตป์ ระเมนิ ผลกระทบทางรงั สจี ะเปน็ เครอ่ื งมอื
ทชี่ ว่ ยลดความเสีย่ งจากการได้รบั ปรมิ าณรังสีสูงของเจา้ หน้าทตี่ อบสนองเหตุฉุกเฉนิ และเจ้าหนา้ ทเี่ ผชิญเหตไุ ดเ้ ปน็ อยา่ งดี
เครอ่ื งส�ำ รวจรงั สแี ละเครอ่ื งพสิ จู นท์ ราบชนดิ ไอโซโทปรงั สี เปน็ เครอ่ื งมอื สำ�คญั ในการตรวจวดั ระดบั พสิ จู นท์ ราบ
ชนดิ ไอโซโทปรงั สแี ละประเมนิ ผลกระทบทางรงั สตี ่อผปู้ ฏบิ ตั ิงาน ประชาชนและสง่ิ แวดลอ้ ม โดย ปส. มเี ครื่องมือสำ�รวจรงั สี
และพิสูจน์ทราบชนิดไอโซโทปรังสีที่ทันสมัยสามารถตรวจวัดระดับรังสีและประเมินผลกระทบทางรังสีของวัสดุกัมมันตรังสี
ท่ีมีใช้งานอยู่ในปัจจุบัน จึงทำ�ให้ม่ันใจว่าเครื่องสำ�รวจรังสีและเคร่ืองพิสูจน์ทราบชนิดไอโซโทปรังสีท่ี ปส. มีศักยภาพ
ท่ีเพียงพอต่อการประเมินสถานการณ์และการตอบสนองเหตุฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสีครอบคลุมทุกสถานการณ์
ทมี่ ีโอกาสเกดิ ขึ้นภายในประเทศ

22 วารสาร

ชุดป้องกันการเปรอะเป้ือนทางรังสี ในการปฏิบัติงานตอบสนองเหตุฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสีท่ีเกิด
การเปรอะเป้ือนทางรังสีในพ้ืนท่ีเกิดเหตุหรือพ้ีนท่ีท่ีได้รับผลกระทบจำ�เป็นต้องมีชุดป้องกันการเปรอะเป้ือนทางรังสี
ท่ีเหมาะสมและเพียงพอต่อการปฏิบัติงานตอบสนองเหตุฉุกเฉินทางนิวเคลียร์ท่ีเกิดข้ึน ซ่ึง ปส. จัดเตรียมชุดป้องกัน
การเปรอะเป้ือนทางรังสีให้เพียงพอต่อผู้ปฏิบัติงานในพ้ืนท่ีเกิดเหตุ เช่น เจ้าหน้าท่ีเผชิญเหตุ เจ้าหน้าท่ีการแพทย์ฉุกเฉิน
รวมถงึ เจา้ หนา้ ทอ่ี น่ื ทเ่ี กย่ี วขอ้ ง ทม่ี คี วามเสย่ี งตอ่ การเปรอะเปอ้ื นทางรงั สจี ากเหตฉุ กุ เฉนิ ทางนวิ เคลยี รแ์ ละรงั สที เ่ี กดิ ขน้ึ

ดงั นน้ั จงึ กลา่ วไดว้ า่ ตลอด 60 ปที ผ่ี า่ น ประเทศไทยมวี วิ ฒั นาการดา้ นการเตรยี มความพรอ้ มในการรบั มอื
กับเหตุฉุกเฉินและภัยคุกคามทางนิวเคลียร์และรังสีมาโดยตลอด นับต้ังแต่ประเทศไทยมีการใช้ประโยชน์
จากพลังงานปรมาณูและมีแผนการพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่อง โดยมีสำ�นักงานปรมาณูเพื่อสันติ กระทรวง
การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นหน่วยงานหลักของประเทศในการเตรียมความพร้อม
และรบั มอื เหตุฉกุ เฉนิ ทางนวิ เคลยี รแ์ ละรังสีร่วมกับหน่วยงานตา่ ง ๆ ท่เี ก่ยี วขอ้ ง เพือ่ ให้แน่ใจวา่ เหตฉุ กุ เฉนิ ท่ีมี
โอกาสเกิดขน้ึ สามารถจดั การไดร้ วดเร็วและเกิดความปลอดภัยตอ่ ผ้ปู ฏบิ ัตงิ าน ประชาชนและส่งิ แวดล้อม

เอกสารอ้างอิง

1 สมบญุ จริ ชาญชยั (2559) “Emergency Episode 1” สบื เมอ่ื วนั ท่ี 31 มกราคม พ.ศ.2563 จากเวป็ ไซด์ https://www.oap.go.th/images/documents/resources/
articles/radiation/EmergencyEpisode_1.pdf

2 สมบญุ จริ ชาญชยั (2559) “Emergency Episode 2” สบื เมอ่ื วนั ท่ี 31 มกราคม พ.ศ.2563 จากเวป็ ไซด์ https://www.oap.go.th/images/documents/resources/
articles/radiation/EmergencyEpisode_2.pdf

วารสาร 23

สำนกังานปรมาณเู พอ่ื สนั
ิต
60 ปี ส�ำ นกั งานปรมาณเู พอ่ื สนั ติ

“ ”สังคมมั่นใจ กำ�กับปลอดภยั ตามหลักสากล

ส�ำนกั งานปรมาณูเพอื่ สนั ติ กระทรวงการอุดมศกึ ษา วทิ ยาศาสตร์ วจิ ยั และนวัตกรรม
เลขที่ 16 ถนนวภิ าวดีรังสิต แขวงลาดยาว เขตจตจุ ักร กรงุ เทพฯ 10900
โทรศััพท์์ 0 2596 7600 ต่่อ 1110 และ 1120 โทรสาร 0 2561 3013

: [email protected] : Atoms4Peace ส�ำนักงานปรมาณูเพ่อื สันติ

: www.oap.go.th : officeofatomsforpeace : @atomsnet


Click to View FlipBook Version