The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

นาฏศิลป์ถิ่นเรา

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by nuanchawee.ya, 2022-04-04 14:13:12

นาฏศิลป์ถิ่นเรา

นาฏศิลป์ถิ่นเรา

เ ด็ กโ จงแดง

หนังสืออ่านเพิ่มเติม

นาฏศิลป์ถิ่นเรา

จัดทำโดย
นางนวลฉวี ยารังกา
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ

คำนำ

หนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่อง นาฏศิลป์ถิ่นเรา เล่มนี้ จัดทำขึ้นเพื่อใช้ใน
การประกอบการเรียนการสอน วิชานาฏศิลป์ไทยสี่ภาค ศ20205 กลุ่ม
สาระการเรียนรู้ศิลปะ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในการเรียนเรื่อการแสดง
นาฏศิลป์พื้นเมืองของแต่ละภูมิภาค

ผู้จัดทำได้รวบรวมเนื้อหา โอกาสที่ใช้ในการแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองใน
แต่ละภูมิภาค ว่ามีความเป็นมาอย่างไรและการแสดงให้เหมาะสมกับ
กาลเทศะ กับท้องถ่นดอยเต่า เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ และเป็นแบบอย่างใน
การศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพื่อใช้ในการเขียนบรรยาย และได้มีความรู้ความ
เข้าใจเกี่ยวกับ การแสดงนาฏศิลป์ อีกทั้งยังปลูกฝังให้นักเรียนเห็นคุณค่า
ศิลปะวัฒนธรรมไทย

ผู้จัดทำ
นางนวลฉวี ยารังกา
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะชำนาญการ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
โรงเรียนดอยเต่าวิทยาคม

ร ะ บำ สุ โ ข ทั ย

ระบำสุโขทัย ระบำสุโขทัย เป็นระบำชุดสุดท้ายของระบำโบราณคดี 5 ชุดที่

นายมนตรี ตราโมท ผู้เชี่ยวชาญดนตรีไทยและศิลปินแห่งชาติเป็นผู้แต่งทำนอง

เพลง โดยนำเพลงสุโขทัยของเก่ามาดัดแปลงต่อเติมในตอนท้าย ท่านผู้หญิงแผ้ว

สนิทวงศ์เสนี ผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ไทยและศิลปินแห่งชาติ เป็นผู้ประดิษฐ์ท่ารำขึ้น

จากลักษณะท่าทางของประติมากรรมสมัยสุโขทัย อยู่ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 19 –

20 พระพุทธรูปปูนปั้นและหล่อสำริดปางลีลา ดังนั้นท่ารำและดนตรี ตลอดจน

เครื่องแต่งกายในระบำชุดนี้ จึงมีลีลาสำเนียงและแบบอย่างเป็นแบบไทยสมัย

สุโขทัย

เครื่องดนตรี เครื่องเครื่องแต่งกาย

ปี่ใน กระจับปี่ ฆ้องวงใหญ่ เครื่องแต่งกายชุดระบำสุโขทัยนั้นได้อาศัย
ซอสามสาย ตะโพน ฉิ่งและกรับ การศึกษาภาพลายเส้นรอบพระพุทธบาท
สัมฤทธิ์สมัยสุโขทัย ส่วนทรงผมดูแนวจากภาพ

ลายเส้นจิตรกรรมที่วัดศรีชุม การแต่งกายแบ่ง

ออกเป็นตัวเอกและตัวรอง

โอกาสที่ใช้แสดง

นิยมที่จะใช้เปิดการแสดงในงานประเพณีมงคลต่าง ๆ

รำแพรวากาฬสิ นธุ์

รำแพรวากาฬสินธุ์ เป็นการรำเพื่อให้เห็นถึงความงดงามของผ้าไหม แพร
วา ซึ่งเป็นงานหัตถกรรมของ ชาวภูไท ในจังหวัด กาฬสินธุ์ ท่ารำจะสื่อให้เห็นวิธี
การทอผ้า ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับการ ฟ้อนสาวไหม ของทางภาคเหนือซึ่งแสดง
ให้เห็นถึงกิริยาการทอผ้าไหมเช่นกัน และท่ารำนี้ยังสื่อให้เห็นความสวยงามของผ้า
ไหมแพรวา โดยการแต่งกายผู้แสดงจะแต่งกายด้วยการใช้ผ้าแพรวาสีต่างๆ พัน
อก รำแพรวากาฬสินธุ์ได้ประดิษฐ์คิดค้นการแสดงโดย คณาจารย์ภาควิชา
นาฏศิลป์และดุริยางค์ โดยการควบคุมของ นายสิริชัย นักจำรูญ ผู้อำนวยการ
จาก วิทยาลัยนาฏศิลป์ กาฬสินธุ์ ในปี พ.ศ. 2534 เนื่องในวโรกาสที่สมเด็จ
พระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ มีพระชนมายุครบ 60 พรรษา

เครื่องดนตรี เครื่องเครื่องแต่งกาย

พิณ โปงลาง แคน โหวด พันอกด้วยสไบไหมแพรวา พับขึ้นเป็นสาย
ฉาบ กลองยาว ปี่ภูไท พาดไหล่ด้านขวา แล้วพับเป็นแขนตุ๊กตาที่ไหล่

ซ้าย นุ่งผ้าซิ่นไหมมัดหมี่ ผมเกล้ามวยประดับ

มวยผมด้วยดอกไม้ หรือบางทีอาจเกล้าผมและ
ใช้อุบะห้อยผม แบบปอฝ้ายสีขาวห้อยลงมา
แทนดอกไม้ และสวมเครื่องประดับเงิน

โอกาสที่ใช้แสดง

นิยมที่จะใช้เปิดการแสดงในงานประเพณีมงคล หรืองานรื่นเริงต่าง ๆ

ระบำชาวเขา

ระบำชาวเขาเ เป็นการแสดงที่นำเอาการเต้นของชาวเขา มา
ประดิษฐ์เป็นท่ารำที่สวยงาม แสดงให้เห็นถึงอารมณ์รื่นเริง
สนุกสนาน ถึงแม้จะเป็นที่แตกต่างกัน แต่ก็สามารถแสดงร่วมกันได้

เครื่องดนตรี เครื่องเครื่องแต่งกาย

ใช้วงประสมของเครื่องดนตรีพื้นเมือง แต่งแบบชาวเขาเผ่าอี้ก้อ คือนุ่ง

เหนือ ซึ่งประกอบด้วย สะล้อ ซึง ปี่งุม กระโปรงสีดำและเสื้อสีดำ แต่งเสื้อด้วย

และปี่ของชาวเขา สีสันต่าง ๆ และแต่งแบบลีซอ คือใส่


กระโปรงยาวสีฟ้า คลุมทับกางเกงขา


สามส่วนสีดำ

โอกาสที่ใช้แสดง

นิยมที่จะใช้เปิดการแสดงในงานประเพณีมงคล หรืองานรื่นเริงต่าง ๆ

ฟ้อนวี

คำว่า "วี" เป็นคำพื้นเมืองของภาคเหนือ แปลว่า "พัด" ซึ่งนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง
เช่น พัดให้คลายร้อน พัดไล่ยุงหรือแมลง วีของภาคเหนือมีหลายลักษณะ วิทยาลัยนาฏศิลป
เชียงใหม่ได้นำวีมาสร้างสรรค์เป็นชุดการแสดง โดยนำวิธีการและประโยชน์ของการใช้ "วี" ใน
ลักษณะต่าง ๆ ตามท่าทางธรรมชาติมาประดิษฐ์เป็นท่ารำที่อ่อนช้อย แสดงให้เห็นถึงอารมณ์
รื่นเริงสนุกสนานของหญิงสาวล้านนา

เครื่องดนตรี เครื่องเครื่องแต่งกาย

ใช้วงประสมของเครื่องดนตรีพื้นเมือง นุ่งซิ่นตีนจก สวมเสื้อคอกลมเข้ารูปแขนสามส่วน
สไบคล้องคอ เครื่องประดับเข็มขัด สร้อยคอ กำไล

ภาคเหนือ ประกอบด้วย สะล้อใหญ่ ข้อมือ ต่างหู เกล้าผมมวยสูงดึงช่อผมสูงจากมวย

สะล้อกลาง สะล้อเล็ก ซึงใหญ่ ซึงกลาง ปักปิ่น ดัดแปลงปรับปรุงจากข้อมูลการแต่งกายของ

ซึงเล็ก ปี่จุม กลองพื้นเมือง หญิงสาวล้านนา จากจิตกรรมฝาผนังที่วัดพระสิงห์

วรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ และ วัด

ภูมินทร์ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน

โอกาสที่ใช้แสดง

นิยมที่จะใช้เปิดการแสดงในงานประเพณีมงคล หรืองานรื่นเริงต่าง ๆ

ฟ้ อ น เ ล็ บ

ฟ้อนเล็บเป็นศิลปะการแสดงที่เป็นเอกลักษณ์ทางภาคเหนือโดยเฉพาะรูป
แบบการฟ้อนมีอยู่ 2 แบบ คือแบบพื้นเมืองหรือฟ้อนเมือง และแบบคุ้มเจ้าหลวง
กระบวนท่ารำเป็นลีลาท่าฟ้อนที่มีความงดงามเช่นเดียวกับฟ้อนเทียน เพลงแต่ไม่
ถือเทียน นิยมฟ้อนในเวลากลางวัน สำหรับชื่อชุดการแสดงจะมีความหมายตาม
ลักษณะของผู้แสดงที่จะสวมเล็บยาวสีทองทุกนิ้ว ยกเว้นนิ้วหัวแม่มือ

เครื่องดนตรี เครื่องเครื่องแต่งกาย

เครื่องดนตรีที่ใช้ในการฟ้อนเป็นวงกลองตึ่ง แต่งกายแบบไทยชาวภาคเหนือสมัยโบราณ คือ

โนง วงต๊กเส้ง หรือ วงปี่พาทย์ล้านนา (นิยิมใช้ เกล้าผมทัดดอกไม้และอุบะ นุ่งผ้าตามแบบชาวเหนือ

สวมเสื้อทรงกระบอกแขนยาว คอกลมห่ม สไบ เฉียง

กับฟ้อนเล็บแม่ครูบัวเรียว) ซึ่งเป็นดนตรีของ

นุ่ง ผ้าซิ่น ลายขวาง และ สวมเล็บมือยาว 8 นิ้ว เว้น

ชาว ภาคเหนือ ได้แก่ กลองแอว กลองตะโล้ดโป๊ แต่นิ้วโป้งหรือนิ้วหัวแม่มือ

ด ฉาบ ฆ้องโหม่งใหญ่ ฆ้องโหม่งเล็ก ฉิ่ง ปี่

แนหน้อย ปี่แนหลวง


โอกาสที่ใช้แสดง

นิยม แส
ดง ในงานเทศกาลหรืองานนักขัตฤกษ์ต่าง ๆ

ฟ้อนขันดอก

"ฟ้อนขันดอก” เป็นการแสดงที่พ่อครูมานพ ยาระนะ ศิลปินแห่งชาติ
สาขาศิลปะการแสดงพื้นบ้าน ปี พ.ศ. 2548 เป็นผู้ประดิษฐ์ท่าขึ้น โดยมีจุด
ประสงค์ในการแสดงเพื่อเป็นการฟ้อนรำบูชาพระรัตนตรัย เพื่อให้บังเกิดความ
สงบร่มเย็นให้แก่บ้านเมือง โดยมีอุปกรณ์ประกอบการแสดงเป็นขันดอก หรือ
พานไม้ใส่ดอกไม้แบบล้านนา ซึ่งใช้ตบแต่งเพื่อบูชา พระพุทธ พระธรรม พระ
สงฆ์ ในงานบุญทางศาสนาโอกาสต่าง ๆ

เครื่องดนตรี เครื่องเครื่องแต่งกาย

เครื่องดนตรีที่ใช้ในการฟ้อนเป็นวงกลองตึ่ง แต่งกายแบบไทยชาวภาคเหนือสมัยโบราณ คือ

โนง วงต๊กเส้ง หรือ วงปี่พาทย์ล้านนา (นิยิมใช้ เกล้าผมทัดดอกไม้และอุบะ นุ่งผ้าตามแบบชาวเหนือ

สวมเสื้อทรงกระบอกแขนยาว คอกลมห่ม สไบ เฉียง

กับฟ้อนเล็บแม่ครูบัวเรียว) ซึ่งเป็นดนตรีของ

นุ่ง ผ้าซิ่น ลายขวาง และ สวมเล็บมือยาว 8 นิ้ว เว้น

ชาว ภาคเหนือ ได้แก่ กลองแอว กลองตะโล้ดโป๊ แต่นิ้วโป้งหรือนิ้วหัวแม่มือ

ด ฉาบ ฆ้องโหม่งใหญ่ ฆ้องโหม่งเล็ก ฉิ่ง ปี่

แนหน้อย ปี่แนหลวง


โอกาสที่ใช้แสดง

นิยม แสด
งในงานบุญต่าง ๆ และต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง

ฟ้ อนที

คำว่ า “ที ” หมายถึ ง “ร่ ม” เป็ นคำภาษา “ไต” ใช้ เรี ยกในจั งหวั ด
แม่ ฮ่ องสอน “ที ” ทางภาคเหนื อมี ลั กษณะและรู ปทรงแตกต่ างกั นไปแต่ ละ
จั งหวั ด “ที ” ที่ ชาวแม่ ฮ่ องสอนนิ ยมใช้ มี รู ปทรงสวยนำมาใช้ เป็ นอุ ปกรณ์
ประกอบการรำได้ ฟ้ อนที เป็ นผลงานประดิ ษฐ์ สร้ างสรรค์ ของวิ ทยาลั ย
นาฏศิ ลป์ เชี ยงใหม่ จั ดแสดงในงานนิ ทรรศการและการแสดงศิ ลป
วั ฒนธรรมของสถานศึ กษาในสั งกั ดกองศิ ลปศึ กษา กรมศิ ลปากร เพื่ อ
เทิ ดพระเกี ยรติ เด็ จพระนางเจ้ าสิ ริ กิ ติ์ พระบรมราชิ นี นาถ ในวโรกาสทรง
เจริ ญพระชนมายุ ครบ ๖๐ พรรษา ณ โรงละครแห่ งชาติ เมื่ อเดื อน
สิ งหาคม พ.ศ.๒๕๓๕ การแสดงชุ ดนี้ นำร่ มมาใช้ ประกอบลี ลานาฏศิ ลป์
โดยมี ท่ าฟ้ อนเหนื อของเชี ยงใหม่ ผสมกั บท่ ารำไตของแม่ ฮ่ องสอน มี การแป
แถว และลี ลาการใช้ ร่ มในลั กษณะต่ าง ๆ ที่ งดงาม เช่ น การถื อร่ ม การ
กางร่ ม การหุ บร่ ม เป็ นต้ น

เครื่องดนตรี เครื่องเครื่องแต่งกาย

ใช้ดนตรีพื้นเมืองภาคเหนือประสมวง ได้แก่ มุ่งเน้นความสวยงามของเครื่องแต่งกายตาม
สะล้อกลาง สะล้อเล็ก ซึ่งใหญ่ ซึงกลาง ซึงเล็ก ประเพณีนิยมภาคเหนือแบ่งเป็น ๒ แบบ คือ แบบหญิง
ขลุ่ย กรับคู่ กลองพื้นเมือง ไทลื้อ และแบบหญิงล้านนาแบบไทลื้อ นุ่งซิ่นลายขวาง
เสื้อปั๊ด เกล้าผมสูงประดับดอกไม้เงิน ผ้าเคียนศีรษะ


ประดับกำไลข้อมือ ต่างหูแบบล้านนา นุ่งซิ่นตีนจก ผ้า


คาดเอว เสื้อเข้ารูปแขนยาว เกล้าผมมวยตั้งกระบังผม

หน้าสูง ประดับดอกไม้เงินเครื่องประดับมีเข็มขัด กำไล

ข้อมือ สร้อยคอ ต่างหู

โอกาสที่ใช้แสดง

นิยม แสดงในงานบุญต่าง ๆ และต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง

รำบายศรีสู่ขวัญ

การแสดงชุดรำบายศรีสู่ขวัญ เป็นการแสดงของภาคอีสาน ซึ่งใช้ในพิธีบายศรีสู่ขวัญหรือเชิญขวัญ
ในการต้อนรับแขกเมืองหรือแขกสำคัญๆ ซึ่งเป็นแขกที่มีเกียรติหรือแขกผู้ใหญ่ที่มาจากต่างถิ่น ชาวอีสาน
จะมีการจัดต้อนรับโดยจัดพิธีบายศรีสู่ขวัญ โดยนำใบตองมาเย็บเป็นบายศรีอย่างสวยงามประดับด้วย
ดอกไม้และเครื่องหอม มีด้ายสายสิญจน์สำหรับผูกข้อมือ ซึ่งจะให้ผู้เฒ่าหรือผู้ทรงคุณวุฒิ วัยวุฒิ เพื่อ
ความเป็นสิริมงคลโดยมีพานบายศรีหรือที่เรียกว่า “ พาขวัญ’’ โดยจะมีพราหมณ์เป็นผู้ทำพิธีเรียกขวัญ
ตามท่วงทำนองของชาวบ้านในคำเรียกขวัญนั้นจะมีทั้งคาถาที่เป็นภาษาบาลี และคำเรียกขวัญภาษาถิ่น
หรือที่เรียกว่า“ สูตรขวัญ ’’ซึ่งคำว่าสูตรขวัญนั้นยากแก่การเข้าใจของผู้มาเยือน จึงมีการจัดทำชุดรำ
บายศรีขึ้นเพื่อให้คนต่างถิ่นได้เข้าใจเพราะมีคำร้องที่เป็นภาษาที่เข้าใจง่าย เนื้อร้องแต่งโดยอาจารย์ดำเกิง
ไกรสรกุล ซึ่งในปัจจุบัน ก็ยังเป็นที่นิยมใช้กันอยู่ แต่เนื้อร้องอาจจะผิดเพี้ยน จากเดิมไปบ้าง

เครื่องดนตรี เครื่องเครื่องแต่งกาย

เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบในการแสดงชุด “ สวมเสื้อคอตั้งแขนยาวจรดข้อมือ ห่มสไบขิด

รำบายศรีสู่ขวัญ ” ใช้วงดนตรีพื้นบ้าน วง และนุ่งผ้าซิ่นคลุมเข่า ผมเกล้ามวยติดดอกไม้

โปงลาง มีเครื่องดนตรีดังนี้โปงลาง กลองยาว ด้านซ้าย สวมเครื่องประดับเงินตกแต่งให้

กลองใหญ่ ไหซอง พิณ เบส แคน โหวด ฉาบเล็ก สวยงาม

ฉาบใหญ่ เกราะ





โอกาสที่ใช้แสดง

ใช้ในพิธีบายศรีสู่ขวัญ ในการต้อนรับครั้งสำคัญๆ ปัจจุบันอาจใช้ในงาน

รื่นเริงและงานเบ็ดเตล็ดทั่วไป

ประวัติผู้เรียบเรียง

ชื่อ - สกุล : นางนวลฉวี ยารังกา
วัน/เดือน/ปีเกิด : 15 กุมภาพันธ์ 2529
ประวัติการศึกษา : ปริญญาตรี ศึกษาศาสตร์
บัณฑิต เอกนาฏศิลป์ไทยศึกษา
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ชำนาญการ


Click to View FlipBook Version