The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

การใช้งานโซล่าเซลล์เบื้องต้น

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by santi sriwichian, 2019-10-04 20:15:25

โซล่าเซลล์

การใช้งานโซล่าเซลล์เบื้องต้น

Keywords: solarcell โซล่าเซลล์

มารูจ้ กั พลงั งานแสงอาทิตย์กันเถอะ

ดวงอาทิตย์เป็นแหล่งพลงั งานหมุนเวียนท่ีมศี กั ยภาพมหาศาลไม่
มีวันหมด เป็นพลังงานสะอาดปราศจากอันตรายและมลพิษ
สามารถนาไปใช้ประโยชน์ทุกพื้นท่ี พลังงานจากดวงอาทิตย์เป็น
พลังงานที่เกิดกระบวนการนิวเคลียร์ที่เรียกว่า นิวเคลียร์ฟิวช่ัน ซ่ึง
กระบวนการเกิดพลังงานบนดวงอาทิตย์เป็นผลจากการรวมตัวของ
อะตอมไฮโดรเจนส่วนหน่ึง เปล่ียนรูปเป็นพลังงานในรูปแบบคล่ืน
คลื่นรังสีแม่เหล็กไฟฟ้าถูกสง่ ออกไปรอบดวงอาทติ ย์ โดยพลังงานที่
ดวงอาทิตย์สรา้ งขึน้ มีค่าประมาณ 3.8 X 1023 กโิ ลวตั ต์ แต่เน่อื งจาก
ระยะหา่ งจากโลกถงึ 93 ลา้ นไมล์ ทาให้พลงั งานท่สี ง่ มายงั โลกเหลือ
ประมาณ 1.8 X 1014 กิโลวัตต์ เม่ือถูกดูดซับจากชั้นบรรยากาศจะ
ตกลงบนพืน้ โลกประมาณ 1.25 X 1014 กิโลวัตต์ หรอื มีคา่ ประมาณ
961-1,191 วัตต์ต่อตารางเมตร คิดเป็นพลังงานประมาณ 2,000 –
2,500 กิดลวัตต์ชั่วโมงต่อตารางเมตรต่อปี โดยปริมาณความร้อนท่ี
ดวงอาทิตย์ถ่ายเทสู่มาโลกทั้งหมดน้ัน กว่า 31.8% ได้ถูกสะท้อน
กลับในลักษณะคล่ืนส้ันสู่ชั้นบรรยากาศ (โลกไม่ได้ใช้งานใดๆ) และ
มีเพียง 68.2% ท่ีเหลือเท่าน้ันที่ผิวโลกสามารถรับความร้อนได้ ซึ่ง
โลกได้นาพลังงานท่ีได้นี้ไปก่อให้เกิดความร้อนในโลกรวม 43.5%
นาพลังงานความร้อนไปก่อให้เกิดการระเหยของน้าและของเหลว
บนโลกรวมถึงการเกิดฝนตกต่างๆ รวม 22.7% นาพลังงานน้ีไป
ก่อกาเนิดคลื่นและลมต่างๆ บนโลกอีก 1.9% และเหลือเป็น
พลังงานไปใช้ในส่ิงมีชีวิตทุกชนิดบนโลก รวมทั้งมนุษย์ สัตว์ และ
การเจริญเติบโตของพืช อีกเพียง 0.1% เท่าน้ัน และหากเทียบกับ
การใช้พลังงานในโลก พบว่าพลังงานแสงอาทติ ย์ ตกกระทบผิวโลก
1 เดือนหากมนุษย์สามารถใช้ประโยชน์ได้ท้ังหมดจะสามารถ
ทดแทนเช้ือเพลิงถ่านหินได้ แปดล้านล้านตัน ซ่ึงเป็นปริมาณของ
ถา่ นหินทคี่ าดว่ามเี หลอื อย่ใู นโลกทัง้ หมด

1 คมู่ ือแหล่งเรียนรู้เศรษฐกจิ พอเพียง ด้วยพลังงานแสงอาทติ ย์ | โดย นายสันติ ศรวี ิเชียร ครู คศ.2 โรงเรียนสนิ ปุนคณุ วิชญ์

ศักยภาพพลงั งานแสงอาทิตย์ของประเทศไทย

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ได้ศึกษาศักยภาพพลังงานแสงอาทิตย์
และจัดทาแผนที่ศักยภาพพลังงานแสงอาทิตย์จากข้อมูลดาวเทียมของประเทศไทย โดยการวิเคราะห์
ข้อมลู ดาวเทียมประกอบกบั ข้อมลู ที่ไดจ้ ากการตรวจวัดภาคพืน้ ดนิ พบว่าการกระจายความเข้มรังสีดวง
อาทิตย์ตามบริเวณต่างๆ โดยแต่ละเดือนของประเทศได้รับอิ ทธิพลสาคัญจากลมม รสุม
ตะวันออกเฉียงเหนือและลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้และพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศได้รับรังสีดวง
อาทิตย์สูงสุดระหว่างเดือนเมษายนและพฤษภาคม โดยมีค่าอยู่ในช่วง 20 ถึง 23 MJ/m2-day และ
พิจารณาแผนที่ศักยภาพพลังงานแสงอาทิตย์รายวันเฉล่ียต่อปีพบว่าบริเวณที่ ได้รับรังสีดวงอาทิตย์
สงู สดุ เฉลีย่ ท้ังปีภาคตะวันออกเฉียงเหนือครอบคลุมบางสว่ นของจังหวัดนครราชศรีมา บุรรี ีมย์ สุรินทร์
ศรีสะเกษ ร้อยเอ็ด ยโสธร อุบลราชธานี อุดรธานี และบางส่วนของภาคกลางที่จังหวัดสุพรรณบุรี
ชัยนาท อยธุ ยา และจงั หวัดลพบรุ ี โดยได้รบั รงั สีดวงอาทิตย์เฉล่ยี ท้ังปีที่ 19 ถึง 20 23 MJ/m2-day พืน้ ที่
ดังกล่าวคิดเป็น 11.0% ของพนื้ ทีท่ ั้งหมดของประเทศนอกจากนี้ยังพบว่า 35.6% ของพืน้ ที่ทั้งหมดได้รับ
รังสีดวงอาทิตย์เฉล่ียท้ังปีในช่วง 18-19 MJ/m2-day จากการคานวณรังสีรวมของดวงอาทิตย์รายวัน
เฉลี่ยต่อปีขอพนื้ ทีท่ ่ัวประเทศพบว่ามีค่าเท่ากับ 18.0 MJ/m2-day จากผลที่ไดน้ แี้ สดงให้เห็นว่าประเทศมี
ศักยภาพพลงั งานแสงอาทิตย์ค่อนขา้ งสงู

ในปัจจุบันประเทศไทย ประสบความสาเร็จเป็น
อย่างดีในการนาเอาความรอ้ นของแสงอาทิตย์มาใช้ให้เป็น
ประโยชน์ เช่น การใช้เคร่ืองผลิตน้าร้อนจากพลังงาน
แสงอาทิตย์สาหรับ โรงพยาบาล โรงแรม การทาเคร่ืองตม้
น้าจากแสงอาทิตย์ การทาเคร่ืองอบแห้ง และอ่ืนๆ อีก
มากมาย ซ่ึงเป็นการนาเอาพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้
โดยตรงที่ไม่ต้องอาศัยเทคโนโลยีสูงหรือสลับซับซ้อนนัก
และการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ทาได้ 2 วิธี คือการ
เปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นไฟฟ้าโดยตรง ซึ่งเป็น
หลักการสาคัญของเซลล์แสงอาทิตย์หรือโซลาร์เซลล์
(Solar Cell) ส่วนอีกวิธีหน่ึงของการผลิตไฟฟ้าจาก
แสงอาทติ ย์ก็คอื ใชค้ วามร้อนของแสงอาทิตยไ์ ปตม้ น้าหรือ
ทาใหก้ า๊ ซรอ้ น แล้วใชไ้ อน้ารอ้ นหรือก๊าซร้อนไปทาให้เทอร์
ไบน์หรอื กังหันใบพดั ของเครื่องกาเนิดไฟฟา้ หมุนอกี ตอ่ หนงึ่

แผนท่ีพลงั งานแสงอาทิตย์ในประเทศไทย

2 ค่มู อื แหล่งเรยี นร้เู ศรษฐกจิ พอเพยี ง ด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ | โดย นายสันติ ศรวี ิเชียร ครู คศ.2 โรงเรียนสินปนุ คุณวิชญ์

เซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Cell)

 เซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Cell) สร้างจาก
ส า รก่ึงตัวน า ที่ส า มา รถเ ป ลี่ ย น พ ลั งงา น
 แสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้าได้ จากรูป เมื่อมี
 แสงอาทิตย์ (1) ตกกระทบเซลล์แสงอาทิตย์จะ

 เกิดการสร้างพาหะทางไฟฟ้าประจุลบ (2)

(electron) และบวก(3) (hole) ข้ึนในโครงสร้าง
รอยตอ่ สารกึ่งตัวนาชนิดพี (p-type) และชนิดเอน็
(n-type) จะทาหน้าที่สร้างสนามไฟฟ้าภายใน
เซลลเ์ พ่ือแยกพาหะทางไฟฟา้ ออกจากกนั เกิดการ
เคลื่อนท่ีของอิเล็กตรอนข้ึนก็จะมีกระแสไฟฟ้า
ต่อไปยังโหลดทางไฟฟ้า(4) (DC Load) ได้ และ
เมื่อนาเซลล์แสงอาทิตย์จานวนหลาย ๆ เซลล์
มาต่อกันก็จะได้ปริมาณไฟฟ้าท่ีมากข้ึน และ
นาไปใชง้ านร่วมกับอปุ กรณต์ า่ ง ๆ

3 ค่มู ือแหล่งเรยี นรเู้ ศรษฐกจิ พอเพียง ด้วยพลงั งานแสงอาทติ ย์ | โดย นายสันติ ศรวี ิเชียร ครู คศ.2 โรงเรยี นสินปุนคณุ วิชญ์

การต่อวงจรแผงเซลล์แสงอาทิตย์

การต่อแผงโซล่าเซลล์ (Solar Panel) นิยมตอ่ 2 แบบ คือ แบบอนกุ รม และแบบขนาน

การต่อวงจรแบบอนุกรม

ลกั ษณะการตอ่ แผงแบบอนุกรม จะสง่ ผลให้ กระแสเท่าเดมิ แรงดนั สูงข้ึน

120W 12V 120W 12V 120W 12V 120W 12V

 −  − − −

 48V 480W

การต่อวงจรแบบขนาน

ลกั ษณะการตอ่ แผงแบบขนาน จะส่งผลให้ แรงดันเท่าเดิม กระแสสงู ขน้ึ

120W 12V 120W 12V

 − −
−

12V 240W

4 คมู่ ือแหล่งเรียนรูเ้ ศรษฐกจิ พอเพยี ง ดว้ ยพลังงานแสงอาทิตย์ | โดย นายสันติ ศรวี ิเชียร ครู คศ.2 โรงเรียนสินปนุ คณุ วชิ ญ์

ระบบผลิตไฟฟา้ ดว้ ยเซลลแ์ สงอาทิตย์

จาแนกระบบผลติ ไฟฟ้าดว้ ยเซลลแ์ สงอาทิตย์ (Solar Cell) ออกเปน็ 3 แบบ

1. แบบอิสระ (Stand Alone) หรือออฟกริด (Off Grid)
2. แบบเชอ่ื มตอ่ สายส่ง (Grid Connected) หรือออนกรดิ (On Grid)
3. แบบผสม (Hybrid)

1. ระบบอิสระ (Stand Alone) ระบบที่ผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ แล้วไม่ได้เชื่อมต่อเข้า
กับระบบจาหน่าย ของการไฟฟ้านครหลวง หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ระบบน้ีเหมาะกับสถานท่ีไม่มี
ไฟฟ้า หรือท่ีไฟเข้าไม่ถึง โดยหลักการทางานแบ่งได้เป็น 2 ช่วงเวลา คือ ช่วงเวลากลางวัน เซลล์
แสงอาทิตย์ (Solar Cell) สามารถผลิตไฟฟ้าจ่ายให้แก่โหลดพร้อมท้ังประจุพลังงานไฟฟ้าส่วนเกินไว้ใน
แบตเตอร่ี ส่วนในช่วงเวลากลางคืนเซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Cell) ไม่สามารถผลิตไฟฟ้าได้ ดังน้ัน
พลังงานจากแบตเตอร่ีท่ีประจุไว้ในเวลากลางวันจึงถูกนามาใช้ โดยเพื่อให้ง่ายในการทาความเข้าใจ ขอ
จาแนกประเภท จากการนาไปต่อเพอื่ ใชง้ านดงั นี้

1.1 ตอ่ เขา้ กับอปุ กรณไ์ ฟฟ้ากระแสตรง DC
ไฟจากเซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Cell) เป็นไฟฟ้ากระแสตรง สามารถต่อกับอุปกรณ์ไฟฟ้า
กระแสตรง DC เช่น พัดลม DC, ระบบป๊ัมน้ากระแสตรง แรงดัน 12V หรอื 24V ใช้กับอปุ กรณไ์ ฟฟ้า ที่ใช้
งานตอนกลางวันเทา่ น้นั

5 คูม่ ือแหลง่ เรียนรูเ้ ศรษฐกจิ พอเพยี ง ดว้ ยพลังงานแสงอาทิตย์ | โดย นายสันติ ศรวี ิเชียร ครู คศ.2 โรงเรียนสนิ ปุนคณุ วชิ ญ์

1.2 ตอ่ เข้ากบั แบตเตอรี่และอุปกรณไ์ ฟฟ้า DC
ไฟจากเซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Cell) จะต่อเข้ากับแบตเตอร่ี และจ่ายไฟให้กับโหลดกระแสตรง

ขอ้ ดขี องการตอ่ ระบบแบบน้ี คอื เม่ือไม่มีแสงอาทติ ย์ เราก็ยังสามารถใช้พลังงานไฟฟา้ จากแบตเตอรี่ จ่าย
ให้กับโหลดได้ ส่ิงที่ต้องระวัง คือการชาร์จไฟฟา้ เข้าแบตเตอร่ีมากเกินไป อาจทาให้แบตเตอร่ีเสื่อมสภาพ

เรว็ และระวังการใช้พลงั งานไฟฟา้ จากแบตเตอร่ี อย่าใหค้ ลายประจมุ ากเกินกว่า สเปคของเบตเตอร่ี ซงึ่ ทา
ใหแ้ บตเตอรี่เส่อื มสภาพเร็วเชน่ กนั

การต่อแบบระบบน้ีเป็นที่นยิ มกนั ท่ัวไป ใช้กบั งานหรอื เรือ

ขนาดเล็ก กระท่อมขนาดเลก็ หรอื ระบบสอ่ งสว่าง หรอื ไฟกระพรบิ
งานจราจร

1.3 ต่อเข้าเครื่องควบคุมประจุ เพ่ือจ่ายไปยงั แบตเตอรี่
และอปุ กรณไ์ ฟฟ้า DC

ไฟจากเซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Cell) จะต่อเข้ากับเครื่องควบคุมการชาร์จประจุ (Charge

Controller) ใหก้ ับแบตเตอรี่ และจ่ายไฟใหก้ ับโหลดกระแสตรง ระบบน้สี ามารถควบคมุ การไหลของประจุ
ไฟ ท่ีเข้าไปเก็บในแบตเตอรี่ได้ และจะหยุดการชาร์จ เมื่อไฟท่ีเก็บในแบตเตอรี่ มีแรงดันเกินกว่าที่ตั้งค่า

กาหนดไว้ จึงทาใหแ้ บตเตอรี่มอี ายทุ ย่ี าวนานมากข้ึน
การต่อแบบระบบนี้เป็นที่นิยมกันทั่วไป เป็นการใช้ไฟฟ้าจากแบตเตอร่ี หลังจากผ่านเคร่ือง

ควบคุมประจุแล้ว อปุ กรณไ์ ฟฟา้ เปน็ แบบกระแสตรง DC 12V หรือ 24V เชน่ ป๊มั นา้ หรือหลอดไฟ

Solar Panel Charge Controller Battery

Load DC

1.4 ต่อเข้าเคร่ืองควบคุมประจุแบตเตอร่ีแล้วนาไฟจากแบตเตอร่ี แปลงเป็นไฟ AC ต่อไปยัง
อุปกรณ์ที่ใช้งาน (Load) ใช้ไฟ AC

เน่ืองจากอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้งานภายในบ้านเราเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ AC แต่ไฟฟ้าท่ีได้จากแผง

Solar Cell เป็นไฟฟ้ากระแสตรง DC ดังนั้น ก่อนนาไปใช้งานจึงต้องนามาแปลงมาเป็นไฟฟ้ากระแสสลบั
เสียก่อน โดยนามาต่อเข้ากับอุปกรณ์ท่ีเรียกว่า อินเวอร์เตอร์ (Inverter) ซ่ึงกาลังไฟฟ้าท่ีได้ก็จะมีการ

สูญเสียจากการแปลงไฟฟ้ากระแสตรง (DC) เป็นไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ทาให้ลดทอนประสิทธิภาพการ
ผลิตกระแสไฟฟ้าลงไปบางส่วน

Charge Controller Battery Inverter Load AC

Solar Panel

6 คมู่ อื แหลง่ เรียนรเู้ ศรษฐกิจพอเพยี ง ด้วยพลงั งานแสงอาทติ ย์ | โดย นายสันติ ศรวี ิเชียร ครู คศ.2 โรงเรียนสนิ ปนุ คุณวิชญ์

2. แบบเชอ่ื มต่อสายสง่ (Grid Connected) หรือออนกรดิ (On Grid)
ระบบเชื่อมต่อสายส่ง (Grid Connected) เป็นระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ (Solar

Cell) ท่ถี กู ออกแบบมาสาหรับ ผลติ ไฟฟ้าผา่ นอปุ กรณเ์ ปลี่ยนไฟฟ้ากระแสตรงเปน็ ไฟฟา้ กระแสสลับเขา้
สรู่ ะบบจาหน่ายไฟฟ้า (National Grid) โดยตรง มหี ลักการทางานแบง่ เป็น 2 ช่วงเวลา คือ ในชว่ งเวลา
กลางวนั เซลล์แสงอาทติ ย์ (Solar Cell) จะสามารถผลติ ไฟฟ้าจ่ายใหแ้ กโ่ หลดได้โดยตรง โดยผ่านอุปกรณ์
เปล่ียนระบบไฟฟ้ากระแสตรงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ และหากมีพลังงานไฟฟ้าส่วนที่เกินจะถูกจ่ายเข้า
ระบบจาหนา่ ยไฟฟ้า สังเกตได้เนอื่ งจากมิเตอร์วดั พลงั งานไฟฟา้ จะหมุนกลบั ทาง ส่วนในชว่ งกลางคืนเซลล์
แสงอาทติ ย์ (Solar Cell) ไม่สามารถผลิตไฟฟ้าได้ กระแสไฟฟา้ จากระบบจาหน่ายไฟฟ้าจะจา่ ยใหแ้ ก่โหลด
โดยตรง สังเกตได้จากมิเตอร์วัดพลังงานไฟฟ้าจะหมุนปกติ โดยระบบนี้ต้องได้รับอนุญาตจากหน่วยงาน
ราชการกอ่ น (การไฟฟา้ นครหลวง หรอื การไฟฟา้ สว่ นภมู ิภาค) ทง้ั นกี้ ารรับซือ้ ไฟต้องขนึ้ อยกู่ บั นโยบายของ
ภาครัฐว่าจะเปิดให้ลงทะเบียนจาหน่ายไฟเม่ือใด และมีค่าสมทบไฟฟ้าอีกเท่าใด (เรียกว่าค่าแอดเดอร์)
ลา่ สดุ ปิดรับสมัครเม่อื เดอื นมิถนุ ายน 2558

3. แบบผสม (Hybrid)
เป็นระบบท่ีนาเอา ระบบออนกริด และ อ็อฟกริด มารวมกันคือจะมีระบบแบตเตอร่ี มาสารอง

พลังงานในเวลาทไ่ี ม่มแี สงอาทิตย์ และสาหรับกรณีทเ่ี มอื่ มีแสงอาทิตย์แลว้ ผลิตกระแสไฟฟ้าได้หากกระแส
ไฟฟ้าที่ผลิตได้มีมากกว่าท่ีนามาใช้งาน ระบบก็นากระแสไฟฟา้ น้ันชาร์จเขา้ แบตเตอร่ี เพื่อนามาใช้งานได้
ตอ่ ไป พอถงึ เวลากลางคืนท่ีผลิตไฟฟ้าจากโซล่าเซลลไ์ ม่ได้ ระบบกจ็ ะนาเอากระแสไฟฟ้าจากแบตเตอร่ีมา
ใช้ก่อน หากยังไม่เพยี งพอระบบก็จะไปดงึ ไฟฟา้ มาจากระบบจาหนา่ ยมาชดเชยอกี ทีหน่งึ

ระบบแบบผสม (Hybrid) ยังเป็นระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ที่ถูกออกแบบสาหรับ
ทางานร่วมกับอุปกรณ์ผลิตไฟฟ้าอื่นๆ เช่น ระบบเซลล์แสงอาทิตย์กับพลังงานลมและเคร่ืองยนต์ดีเซล
ระบบเซลล์แสงอาทิตย์กบั พลงั งานลมและไฟฟา้ พลงั งานน้า เป็นตน้

7 คมู่ อื แหลง่ เรยี นรเู้ ศรษฐกจิ พอเพยี ง ดว้ ยพลังงานแสงอาทิตย์ | โดย นายสันติ ศรวี ิเชียร ครู คศ.2 โรงเรียนสนิ ปุนคณุ วชิ ญ์

8 ค่มู ือแหลง่ เรยี นรู้เศรษฐกิจพอเพยี ง ดว้ ยพลงั งานแสงอาทิตย์ | โดย นายสันติ ศรวี ิเชียร ครู คศ.2 โรงเรยี นสินปนุ คุณวชิ ญ์

กรณีศึกษาแหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ดว้ ยพลังงานแสงอาทิตย์

การจัดทาแหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นโครงการท่ีได้รับความ

ร่วมมอื จาก ภาควิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลยั ทกั ษิณ จงั หวัด สงขลา รว่ มกบั โรงเรยี นโรงเรียน

ตะแพนพิทยา อาเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง เป็นการออกแบบระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์

(Solar Cell) ซ่ึงเป็นระบบอ๊อฟกริด ที่ผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ สามารถใช้งานได้จริง

ประกอบด้วย หลอดไฟ (DC) จานวน 2 หลอด พัดลม (DC) จานวน 1 ตัว และแปลงเป็นกระแสไฟฟ้า

กระแสสลับ (AC) สาหรับใช้งานคอมพิวเตอร์ พัดลม และอุปกรณ์อ่ืน ๆ โดยได้ติดตั้งไว้ ณ ห้องสมุดของ

โรงเรยี นตะแพนพทิ ยา เพ่อื เป็นแหล่งเรยี นรู้แกน่ กั เรียนและผู้ที่สนใจ โดยแหล่งะเรียนรู้เศรษฐกจิ พอเพียง

ด้วยพลังงานแสงอาทติ ย์ ประกอบดว้ ย

1. แผงเซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Module) ขนาด 120W 12V จานวน 1 แผง

2. เครอ่ื งควบคมุ การประจุ (Charge Controller) ขนาด 10A จานวน 1 เครือ่ ง

3. แบตเตอรี่ (Battery) ชนิด Deep Cycle ขนาด 100A จานวน 1 ลูก

4. เครอื่ งแปลงไฟฟ้ากระแสตรง (DC) เป็นกระแสสลับ(AC) (Inverter)

ขนาด 500 W จานวน 1 เคร่ือง

5. โหลด DC

- หลอดไฟ LED 9W 12 V จานวน 2 หลอด

- พัดลม DC 12 V จานวน 1 ตวั

วงจรการต่อใช้งานแหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ดว้ ยพลงั งานแสงอาทิตย์

Charge Controller

Solar Panel Load DC

Battery Inverter Load AC

9 คู่มอื แหลง่ เรียนรูเ้ ศรษฐกจิ พอเพียง ดว้ ยพลังงานแสงอาทิตย์ | โดย นายสันติ ศรวี ิเชียร ครู คศ.2 โรงเรียนสินปุนคุณวชิ ญ์

ข้นั ตอนการติดต้งั อปุ กรณ์ 

1. นาแบตเตอรี่ (1) เชื่อมต่อกับเคร่ืองควบคุม 
ก าร ปร ะ จุ (3) (Charge Controller) โ ดยเชื่อ มต่อ 
ข้ัวบวกกับขั้วบวกและขั้วลบกับขั้วลบ (ข้อควรระวัง 
อย่าใหส้ ายไฟข้วั บวกและขว้ั ลบสมั ผัสกัน และห้ามต่อ
ผิดขวั้ )

2. นาสายไฟท่ีต่อจากแผงเซลล์แสงอาทิตย์(2)
(Solar Panel) เช่ือมต่อกับเคร่ืองควบคุมการประจุ(3)
(Charge Controller) โดยเช่ือมต่อขั้วบวกกับขั้วบวก
และขั้วลบกับขั้วลบ (ข้อควรระวังต้องดูให้แน่ใจก่อน
ตอ่ หากต่อผิดอาจทาใหอ้ ุปกรณ์ Charge Controller
เสียหายได้)

3. นาอุปกรณ์ที่ใช้งาน (Load DC 12 V) คือ
พัดลมและหลอดไฟเช่ือมต่อกบั เคร่ืองควบคุมการประจุ
(Charge Controller) และตอ่ สวิตซค์ วบคุมการเปดิ /ปิด
(ข้อควรระวังในการต่อ ต้องต่อขั้วบวกขั้วลบให้
ถูกตอ้ ง)

4. นา Inverter (4) เช่ือมต่อกับแบตเตอร่ี (1)
โดยตรงเพื่อแปลงกระแสไฟฟ้าจาก DC 12 V เป็น AC
220V ทาให้สามารถนามาใช้กับอุปกรณ์ใช้งาน AC เช่น
เคร่ืองคอมพิวเตอร์ พดั ลม หลอดไฟ ฯ

10 ค่มู ือแหลง่ เรียนรูเ้ ศรษฐกิจพอเพียง ด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ | โดย นายสันติ ศรวี ิเชียร ครู คศ.2 โรงเรียนสินปุนคุณวิชญ์

แหลง่ เรยี นรเู้ ศรษฐกิจพอเพียง ด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ 

ระบบติดตั้งพร้อมใช้งาน (1) ณ ห้องสมุดกิตติคุณ
โรงเรียนตะแพนพิทยา อาเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง เป็น
ระบบผลิตพลังงานด้วยแสงอาทิตย์ Solar Cell มีกาลังการ
ผลิต 600 วัตต์ / วัน (120W x 5 ชม.) มีแบตเตอร์รี่สาหรับ
จัดเกบ็ พลังงาน ขนาด 12 V 100A (1200 วัตต)์

ค่าประสิทธิภาพของระบบ

1. สามารถใช้งานเคร่ืองคอมพิวเตอร์ PC ผ่านระบบ
Inverter ประมาณ 3 – 4 ช่วั โมง

2. สามารถใช้งานระบบแสงสว่าง โหลด DC 10 วัตต์
จานวน 2 หลอด สามารถใช้งานได้ 12 ชัว่ โมง

3. สามารถใช้งานพดั ลม DC 20 วัตต์ ได้ 12 ชวั่ โมง
4. มีพอร์ต USB สาหรับชาร์ต โทรศัพท์มือถือ (2),
tablet จานวน 2 พอร์ต (Power Bank ความจุ 200,000
mA) สามารถชาร์ตได้ตอ่ เนือ่ ง 50 ชม.

ความคุ้มค่าของระบบ

1. ระบบนี้สามารถประหยัดค่าไฟฟ้าได้ประมาณ 80
หน่วย/เดือน* หากคานวณค่าไฟฟ้าหน่วยละ 4.5 บาท จะ
ประหยัดเงินได้ 360 บาท/เดือน หรือเท่ากับ 4,320 บาท/ปี
จุดคุ้มทุนของระบบนีอ้ ย่ทู ป่ี ระมาณ 3 ปี

* คานวณจาก
- คอมพวิ เตอร์ 400w ใชง้ าน 4 ชม./วัน

- หลอดไฟ 20w 2 หลอดใช้งาน 12 ชม./วัน
- พัดลม 100w ใช้งาน 6 ชม./วัน

11 ค่มู อื แหลง่ เรียนรเู้ ศรษฐกจิ พอเพยี ง ดว้ ยพลงั งานแสงอาทติ ย์ | โดย นายสันติ ศรวี ิเชียร ครู คศ.2 โรงเรียนสินปนุ คุณวิชญ์

คา่ วสั ดุ อปุ กรณช์ ดุ แหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงฯ

1. แผงเซลล์แสงอาทติ ย์ ชนดิ Mono ขนาด 120W 12V ราคา 3,500 บาท
2. เครอื่ งควบคุมการประจุ (Charge Controller) ขนาด 10A ราคา 600 บาท
3. แบตเตอรี่ (Battery) ชนดิ Deep Cycle ขนาด 100A ราคา 4,000 บาท
ราคา 600 บาท
4. เคร่อื งแปลงไฟฟา้ (Inverter) ขนาด 500 W
5. โหลด DC (ขนึ้ อย่กู ับความต้องการในการใช้งาน) ราคา 500 บาท
ราคา 400 บาท
- หลอดไฟ LED 9W 12 V
- พัดลม DC 12 V
รวมคา่ อุปกรณป์ ระมาณ 10,000 บาท

การดูแลระบบโซลา่ เซลล์

โดยปกติ อุปกรณ์ทางไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไม่ว่าจะเป็นระบบโซล่าเซลล์หรือระบบทั่วไป จะ
เกิดการเสียหายได้งา่ ยถ้าไม่ไดร้ ับการดูแลรักษาเท่าทีค่ วร การบารงุ ดูแลรักษาระบบใหท้ างานปกตอิ ยู่เสมอ
เป็นสิ่งจาเปน็ นอกจากนีย้ งั ช่วยยดื อายุการใช้งานของอปุ กรณต์ ่างๆ ในระบบอีกด้วย

1. ควรตรวจเช็คระบบโซล่าเซลลว์ ่าสามารถผลติ ไฟฟ้าได้
ตามปกติ ตรวจเช็คทกุ วัน หรอื อย่างน้อยสปั ดาห์ละคร้งั

2. ควรตรวจสอบสว่ นท่ยี ดึ โซล่าเซลล์ขั้วตอ่ และจดุ เชือ่ มของ
สายไฟจุดต่างๆ โครงเหลก็ น๊อตและสกรตู ่างๆให้แนห่ นาดีอยู่เสมอ

3. ควรหม่นั ล้างทาความสะอาดแผงโซล่าเซลลเ์ ป็นประจาเพ่อื
กาจัดฝุ่นผง ข้ีนกหรอื วสั ดอุ น่ื ๆ โดยใช้น้าสะอาด การลา้ งทาความ
สะอาดควรทาเวลาเช้า ไม่ควรทาเวลากลางวัน เพราะเมอ่ื กระจกแผงที่
ร้อนเจอกับนา้ เย็น อาจจะทาใหก้ ระจกแตกได้

4. ตรวจเชค็ สายไฟฟ้าตรงข้วั แบตเตอรีใ่ ห้แนน่ อยู่เสมอ ถา้ มี
การคลายตวั ควรขนั ให้แนน่

5. สาหรบั แบตเตอรแ่ี บบ Flooded Lead-Acid (หรอื
แบตเตอรี่ที่ตอ้ งเตมิ นา้ กล่ัน) ควรเติมนา้ กลนั่ เปน็ ประจาอยา่ งน้อย 1
เดอื น/ครัง้ อย่าให้นา้ กลัน่ ในแบตเตอร่แี หง้ อายกุ ารใชง้ านจะส้นั ลง

12 คู่มือแหล่งเรยี นรู้เศรษฐกิจพอเพียง ด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ | โดย นายสันติ ศรวี ิเชียร ครู คศ.2 โรงเรยี นสนิ ปุนคณุ วชิ ญ์

ภาพชิ้นงาน

13 คูม่ อื แหล่งเรยี นรูเ้ ศรษฐกจิ พอเพยี ง ดว้ ยพลังงานแสงอาทิตย์ | โดย นายสันติ ศรวี ิเชียร ครู คศ.2 โรงเรียนสินปุนคุณวชิ ญ์


Click to View FlipBook Version