ภาพรวมข้อเสนอแนะของ OECD ระยะที่ 1 และระยะที่ 2
บทที่ 1
ความเป็นมาของข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อเสริมสร้าง
ความซื่อตรงในการบริหารงานภาครัฐของประเทศไทยที่มีประสิทธิภาพ
(Designing Effective Anti-corruption Policy) โดย OECD
คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2560 เห็นชอบร่างหนังสือแสดงความร่วมมือระหว่างรัฐบาลและองค์การเพื่อความ
ร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organization for Economic Cooperation and Development: OECD) เพื่อสะท้อนเจตนารมณ์
ของทั้งสองฝ่ายต่อความร่วมมือในการดำเนินโครงการ Country Program (CP) และมอบหมายให้นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีประจำ
สำนักนายกรัฐมนตรี (ในขณะนั้น) เป็นผู้ลงนามแทนรัฐบาลไทย ตลอดจนมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและ
สังคมแห่งชาติ (สศช.) (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น “สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ”) เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนิน
โครงการ CP และกระทรวงการต่างประเทศร่วมเป็นผู้ประสานงานกับ OECD และเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2560 นายสุวิทย์ เมษินทรีย์
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (ในขณะนั้น) ในฐานะผู้แทนฝ่ายไทย และนาย Angle Gurria เลขาธิการ OECD ได้ร่วมลงนามใน
หนังสือแสดงความร่วมมือ (Letter of Cooperation) ระหว่างรัฐบาลไทยกับ OECD เพื่อแสดงถึงความมุ่งมั่นทางการเมืองของทั้งสอง
ฝ่ายในการดำเนินโครงการ CP ระหว่างการเยือนประเทศไทยของเลขาธิการ OECD
หลังจากนั้นเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2561 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับ CP และได้อนุมัติให้รัฐมนตรี
ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล) เป็นผู้ลงนามในบันทึกความเข้าใจข้างต้น และอนุมัติงบประมาณการดำเนินโครงการ
CP จากงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2560 ซึ่งโครงการ CP นี้จะช่วยผลักดันนโยบายการปฏิรูปของรัฐบาลอย่างเป็นองค์รวมและจะ
เอื้อประโยชน์ต่อหน่วยงานภาครัฐในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความเชี่ยวชาญ และเพิ่มพูนขีดความสามารถของหน่วยงานภาครัฐในการ
ดำเนินยุทธศาสตร์และนโยบายปฏิรูปประเทศในด้านต่าง ๆ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 – 2580) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564) นโยบายประเทศไทย 4.0 (Thailand 4.0) และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การ
สหประชาชาติ (Sustainable Development Goals: SDGs)
ทั้งนี้ OECD ได้จัดทำรายงานข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อเสริมสร้างความซื่อตรงในการบริหารงานภาครัฐของประเทศไทยที่มีประสิทธิภาพ
(Designing Effective Anti-corruption Policy) ตามยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ระยะที่ 3
(พ.ศ.2560 - 2564) เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถ (Capacity Building) ของหน่วยงานภาครัฐและบุคลากรในประเทศไทยให้มี
ศักยภาพพร้อมขับเคลื่อนนโยบายเสริมสร้างความซื่อตรงในภาครัฐเพื่อให้ประเทศไทยเป็นที่ยอมรับในเวทีโลก อีกทั้งยังขยายขอบเขตการ
เสริมสร้างความซื่อตรงในการบริหารงานภาครัฐของประเทศไทยให้ครอบคลุมครบตามข้อเสนอเชิงนโยบายของ OECD (OECD Public
Integrity Policy Recommendations) เช่น มิติวัฒนธรรมเสริมสร้างความซื่อตรง (Culture of Public Integrity Promotion) และ
การเสริมสร้างกลไกการตรวจสอบถ่วงดุล (Accountability Mechanism) เป็นต้น
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ในฐานะหน่วยงานเจ้าภาพหลักรับผิดชอบการขับเคลื่อนนโยบายเสริมสร้าง
ความซื่อตรงในภาครัฐของประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 ได้ตระหนักถึงประโยชน์ในวงกว้างที่จะเกิดขึ้นแก่ส่วนราชการและหน่วยงานภาค
รัฐในประเทศไทย จึงได้ร่วมกับศูนย์บริการวิชาการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์วิเคราะห์ ทบทวน และออกแบบมาตรการพัฒนาขีด
ความสามารถของภาครัฐไทยทั้งระบบในการขับเคลื่อนนโยบายเสริมสร้างความซื่อตรงในการบริหารงานภาครัฐเพื่อเป็นข้อเสนอเชิง
นโยบายต่อสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
บทที่ 2
กรอบแนวคิดของ OECD
กรอบแนวคิดในการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายของ OECD ซึ่งปรากฏในรายงานทบทวนความซื่อตรงของประเทศไทย (Integrity
Review of Thailand) ระยะที่ 1 และระยะที่ 2 มี 3 องค์ประกอบหลัก
1. ระบบ (System)
ระบบ (System) ในที่นี้มี 4 มิติ คือ (1) มิติเชิงหน้าที่และอำนาจของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ การเสริมสร้างความซื่อตรงภาค
รัฐและการต่อต้านและปราบปรามการทุจริต (2) กลยุทธ์และมาตรการใน การบังคับใช้กฎหมายและดำเนินการตามนโยบายเสริมสร้าง
ความซื่อตรงในการบริหารงานภาครัฐ (3) ประเด็นมาตรฐานทางจริยธรรมหรือประมวลจริยธรรม และ (4) ความจริงจังของผู้บริหาร
ระดับชาติและระดับองค์กรในการขับเคลื่อนนโยบายเสริมสร้างความซื่อตรงในการบริหารงานภาครัฐของประเทศไทย
2. วัฒนธรรมและค่านิยม (Culture and Value)
วัฒนธรรมและค่านิยม (Culture and Value) มีเป้าหมายเพื่อสร้าง “สังคมเปิดกว้าง (Open Society)” ที่ประชาชนและผู้นำใน
ทุกระดับ ตั้งแต่ระดับชาติถึงระดับองค์กร ซึมซับวัฒนธรรมและค่านิยมความซื่อตรงจนนำไปใช้เป็นหลักปฏิบัติในชีวิตประจำวัน การ
ซึมซับวัฒนธรรมและค่านิยมนั้นต้องอาศัยการเสริมสร้างศักยภาพ (Capacity Building) ที่เป็นระบบและมีการกำกับ ติดตาม และ
ประเมินผลสัมฤทธิ์อย่างจริงจังและต่อเนื่อง
3. กลไกความรับผิดชอบ (Accountability Mechanism)
กลไกความรับผิดชอบ (Accountability Mechanism) โดยทั่วไปหมายถึง การบังคับใช้ระเบียบกฎหมายอย่างจริงจังและการกำกับ
ดูแลหรือการเฝ้าระวังพฤติกรรมทุจริตและประพฤติมิชอบ นอกจากนี้ ยังมีช่องทางการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในทุกขั้นตอน
และกระบวนการเกี่ยวกับนโยบายป้องกันและปราบปรามการทุจริต และนโยบายสร้างเสริมความซื่อตรงในการบริหารงานภาครัฐ ตลอด
จนการบริหารความเสี่ยงองค์กร (Enterprise Risk Management) ซึ่งเป็นเครื่องมือทางด้านการบริหารที่จะช่วยทำให้องค์กรภาครัฐ
และส่วนราชการสามารถเตรียมความพร้อมป้องกันพฤติกรรมทุจริตได้ทันท่วงที
กรอบแนวคิด
ที่มา: OECD (2018)
บทที่ 3
ภาพรวมข้อเสนอแนะของ OECD ในระยะที่ 1
และระยะที่ 2
1. การพัฒนาระบบเสริมสร้างความซื่อตรงภาครัฐในประเทศไทยอย่างเป็นระบบและครบวงจร
1.1 มาตรการพัฒนากลไกการขับเคลื่อนและการกำกับดูแลยุทธศาสตร์ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
แห่งชาติ
1.1.1 เร่งรัดการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ระยะ
ที่ 3 (พ.ศ. 2560 – 2564) โดยเพิ่มอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการ
ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2560 – 2564)ในคณะกรรมการป้องกันและ
ปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
1.1.2 ใช้ตัวชี้วัดเชิงนโยบาย (Policy Indicator) เพิ่มคุณภาพเครื่องมือวัดประเมินผลยุทธศาสตร์ชาติ
ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2560 – 2564) และนโยบายรัฐบาลที่
เกี่ยวข้อง
1.1.3 ยกระดับดัชนีการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ
(Integrity and Transparency Assessment: ITA) โดยพัฒนาวิธีการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลให้
สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต แห่งชาติ ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2560
– 2564)
1.1.4 สร้างระบบนิเวศการเรียนรู้ระหว่างส่วนราชการและหน่วยงานภาครัฐโดยอาศัยข้อมูลจากการ
ประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and
Transparency Assessment: ITA)
1.1.5 พัฒนาระบบการจัดสรรงบประมาณในลักษณะเป็นก้อน (Block Grant) และมีความต่อเนื่อง
(Multi-year) ให้แก่แผนงาน โครงการ และกิจกรรมตามยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปราม
ทุจริตแห่งชาติ ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2560 – 2564)
1.2 มาตรการพัฒนากลไกการบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการเสริมสร้างความซื่อตรงในภาครัฐและการส่ง
เสริมการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
1.2.1 บูรณาการพันธกิจด้านการเสริมสร้างความซื่อตรงภาครัฐของสำนักงานคณะกรรมการป้องกัน
และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตใน
ภาครัฐ (ป.ป.ท.) และสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)
1.2.2 ปฏิรูปและเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการไต่สวนมูลความผิดเกี่ยวกับการทุจริตและประพฤติ
มิชอบของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)
1.2.3 ยกเลิกศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติโดยมีแผนการยกเลิกอย่างค่อยเป็นค่อยไป
และโอนภารกิจหน้าที่ไปยังหน่วยงานหลักด้านการเสริมสร้างความซื่อตรงและป้องกันและปราบปรามการ
ทุจริตและประพฤติมิชอบ
1.2.4 ปฏิรูปโครงสร้างและนโยบายการต่อต้านการทุจริตและเพิ่มประสิทธิภาพของศูนย์ปฏิบัติการต่อ
ต้านการทุจริต (ศปท.) และบทบาทของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ
(ป.ป.ท.)
1.2.5 ใช้ระบบคุณธรรม (Merit System) ในการคัดเลือกและแต่งตั้งกรรมการป้องกันและปราบ
ปรามการทุจริตแห่งชาติ
1.2.6 พัฒนาแพลตฟอร์มการวิจัยเชิงนโยบายเกี่ยวกับการบูรณาการและเสริมสร้างประสิทธิภาพ
นโยบายต่อต้านการทุจริต
1.2.7 เพิ่มบทบาทขององค์กรภาคประชาสังคมในการร่วมกำหนดและขับเคลื่อนนโยบายต่อต้านการ
ทุจริตและเสริมสร้างความซื่อตรงในภาครัฐ
2. การพัฒนาและส่งเสริมจริยธรรมและวัฒนธรรมความซื่อตรงภาครัฐในประเทศไทย
2.1 มาตรการเกี่ยวกับการบังคับใช้และติดตามประเมินผลการดำเนินการตามประมวลจริยธรรมข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ
2.1.1 บูรณาการกิจกรรมฝึกอบรมและกิจกรรมการเสริมสร้างความตระหนักรู้ด้านความซื่อตรงภาครัฐ และมอบหมายให้
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลัก รวมทั้งเป็นผู้รับผิดชอบจัด
ทำประมวลจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ
2.1.2 ให้ความสำคัญกับการขัดกันแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) ในการบังคับใช้ประมวลจริยธรรมข้าราชการและ
เจ้าหน้าที่ของรัฐ
2.1.3 กำกับ ติดตาม และประเมินผลการบังคับใช้ประมวลจริยธรรมข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐอย่างเป็นระบบและต่อ
เนื่อง โดยผนวกกับการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency
Assessment: ITA) ในการนี้ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และสำนักงานคณะกรรมการ
ป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) ควรเป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลัก
2.2 มาตรการเพื่อสื่อสารและประชาสัมพันธ์ประมวลจริยธรรมข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ
2.2.1 การเผยแพร่ให้ความรู้เกี่ยวกับประมวลจริยธรรมข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐควรมีคู่มือกรณีศึกษาที่ถอดบทเรียน
จากสถานการณ์จริงและแนวทางการแก้ไขปัญหาด้านจริยธรรม
2.2.2 สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) และสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการ
พลเรือน (ก.พ.) ควรเผยแพร่บทลงโทษข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ทุจริตและประพฤติมิชอบ
2.3 มาตรการขยายผลและปฏิรูประบบบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐและบุคลากรในสถาบันนิติบัญญัติ
2.3.1 สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนควรปฏิรูประบบบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐให้สอดคล้องกับนโยบายความซื่อตรง
ภาครัฐด้วยการเสริมสร้างความซื่อตรงในกระบวนการบริหารงานบุคคลของส่วนราชการและหน่วยงานภาครัฐ โดยเฉพาะกระบวนการ
สรรหาบุคลากรใหม่และความก้าวหน้าทางวิชาชีพ
2.3.2 บังคับใช้นโยบายความซื่อตรงและประมวลจริยธรรมผู้ดำรงตำแหน่ง ทางการเมืองในวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร
3.การเสริมสร้างความซื่อตรงภาครัฐในประเทศไทยด้วยการจัดการการขัดกันแห่งผลประโยชน์
(Managing Conflicts of Interest)
3.1 มาตรการเกี่ยวกับการปฏิรูปอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานต่อต้านและปราบปรามการทุจริต
และการบังคับใช้กฎหมายต่อต้านและปราบปรามการทุจริตให้บรรลุตามเจตนารมณ์ของ
กฎหมาย
3.1.1 กำหนดให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ในภาครัฐ
(ป.ป.ท.) เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลักเกี่ยวกับนโยบายการขัดกันแห่งผลประโยชน์ในส่วนราชการ
และหน่วยงานในสังกัดฝ่ายบริหาร
3.1.2 พัฒนาแผนที่ความเสี่ยงการทุจริตและประพฤติมิชอบตามประเภทข้าราชการและเจ้า
หน้าที่ของรัฐ พร้อมกำหนดแนวทางปฏิบัติให้แก่ประเภทงานและตำแหน่งที่มีความเสี่ยงต่อการ
ทุจริตและประพฤติมิชอบ
3.1.3 พัฒนาระบบเฝ้าระวังการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวมจาก
การดำเนินกิจการของข้าราชการการเมืองและข้าราชการประจำระดับบริหารที่ พ้นตำแหน่งไม่เกิน
2 ปี รวมทั้งข้าราชการที่ปฏิบัติงานที่มีความเสี่ยงต่อการทุจริตและประพฤติมิชอบ เพื่อให้เป็นไปตาม
มาตรา 100 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
พ.ศ. 2542 และมีนโยบายที่ชัดเจนในการป้องกันการขัดกันแห่งผลประโยชน์ในกรอบระยะเวลา 2 ปี
ก่อนการบรรจุแต่งตั้งเป็นข้าราชการการเมืองและข้าราชการพลเรือน
3.2 มาตรการสร้างความรู้ความเข้าใจในการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม และการกำกับ ติดตาม และ
ประเมินผลสัมฤทธิ์ของนโยบายต่อต้านผลการขัดกันแห่งผลประโยชน์
3.2.1 สร้างการรับรู้เรื่องการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวมอย่างเป็นระบบมากกว่าในปัจจุบัน
3.2.2 พัฒนากลไกการกำกับ ติดตาม และประเมินผลสัมฤทธิ์ของนโยบายต่อต้านผลการขัดกันแห่งผลประโยชน์
3.3 มาตรการพัฒนาประสิทธิภาพของระบบฐานข้อมูลบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินเจ้าหน้าที่ของรัฐและการใช้
ประโยชน์จากฐานข้อมูล
3.3.1 สร้างระบบฐานข้อมูลบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของข้าราชการการเมืองและข้าราชการพลเรือนระดับสูง
และเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ปฏิบัติหน้าที่สุ่มเสี่ยงต่อ การขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม
3.3.2 พัฒนาระบบการเปิดเผยข้อมูลบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของข้าราชการระดับสูงและเจ้าหน้าที่ของรัฐระดับ
สูงให้ประชาชนและสื่อมวลชนสามารถเข้าถึงได้
3.3.3 พัฒนาระบบฐานข้อมูลออนไลน์สำหรับการเปิดเผยข้อมูลบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของข้าราชการระดับสูง
เพื่อให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) สามารถเฝ้าระวัง ตรวจสอบ และศึกษาวิเคราะห์ได้
อย่างมีประสิทธิภาพ
4. การปกป้องผู้แจ้งเบาะแสการกระทำผิด (Whistleblower Protection) เพื่อเป็นหลักประกัน
แก่ผู้ร้องเรียนเรื่องทุจริตของเจ้าหน้าที่ของรัฐต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
4.1 แนวทางแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อปกป้องผู้แจ้งเบาะแสการทุจริตและประพฤติมิชอบ
4.1.1 บัญญัติกฎหมายปกป้องผู้แจ้งเบาะแสการกระทำผิดให้มีความชัดเจนและครอบคลุมมากขึ้น
4.1.2 บัญญัตินิยาม “ผู้แจ้งเบาะแสการทุจริตและประพฤติมิชอบ” ให้ชัดเจน
4.1.3 บัญญัติประเภท “การกระทำผิด” ให้ชัดเจนเพื่อให้ผู้แจ้งเบาะแสมั่นใจที่จะรายงานต่อหน่วยงานป้องกันและปราบปราม
การทุจริต
4.1.4 กฎหมายคุ้มครองและป้องกันผู้แจ้งเบาะแสการทุจริตควรระบุประเภทและคำอธิบายการกลั่นแกล้งและความไม่เป็น
ธรรมที่กระทบผู้แจ้งเบาะแสการทุจริต
4.1.5 กำหนดบทลงโทษผู้ที่กลั่นแกล้งผู้แจ้งเบาะแสการทุจริตและประพฤติมิชอบ
4.1.6 กำหนดมาตรการกลั่นกรองเบาะแสที่เป็นข้อมูลเท็จและเป็นการกลั่นแกล้งผู้อื่น
4.1.7 กำหนดมาตรการเยียวยาผู้แจ้งเบาะแสการทุจริตและประพฤติมิชอบที่ถูก กลั่นแกล้งและได้รับการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม
4.1.8 ทบทวนกฎหมายและระเบียบต่าง ๆ เกี่ยวกับการเสริมสร้างความซื่อตรงและการต่อต้านการทุจริตในภาครัฐ
4.2 มาตรการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแจ้งเบาะแสการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐ
4.2.1 สร้างช่องทางที่หลากหลายในการแจ้งเบาะแสการทุจริตและประพฤติ มิชอบในภาครัฐ
4.2.2 สร้างการรับรู้ให้แก่ประชาชนเกี่ยวกับการคุ้มครองและปกป้องผู้แจ้งเบาะแสการทุจริต
5. กลไกการดำเนินการทางวินัยและการลงโทษทางวินัย (Disciplinary Mechanisms and
Sanctions)
5.1 เสริมสร้างความเป็นธรรมและความรวดเร็วของกระบวนการพิจารณาโทษทางวินัย
5.1.1 เสริมสร้างความซื่อตรงของผู้บังคับบัญชาในทุกระดับของส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐ และความเป็นธรรมและ
โปร่งใสของกระบวนการพิจารณาโทษทางวินัย
5.1.2 จัดทำบัญชีพนักงานสอบสวนวินัยสำหรับการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนและดำเนินการทางวินัยและทดลองนำร่อง
ระบบดำเนินการทางวินัยกลางหรือระบบดำเนินการทางวินัยร่วมกันของหน่วยงานภาครัฐเพื่อพัฒนาคุณภาพกระบวนการสอบสวนวินัย
5.1.3 กำหนดกรอบระยะเวลาในทุกขั้นตอนของกระบวนการดำเนินการทางวินัยตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ
พลเรือน พ.ศ. 2551
5.2 ส่งเสริมความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงาน
5.2.1 ปรับปรุงหน้าที่สืบสวนสอบสวนการกระทำผิดทางวินัยโดยกำหนดให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม
การทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) เป็นหน่วยงานเจ้าภาพ
5.2.2 ส่งเสริมความร่วมมือของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการดำเนินการ ทางวินัย
5.2.3 พัฒนาฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการแลกเปลี่ยนข้อมูลและการจัดการความรู้เกี่ยวกับการกระทำ
ผิดทางวินัย
5.2.4 พัฒนาบทบาทของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ในการส่งเสริมการ
แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานดำเนินการทางวินัยและหน่วยงานพิจารณาการกระทำผิดทางอาญา
5.3 เสริมสร้างความโปร่งใสของกระบวนการดำเนินการทางวินัย
พัฒนาบทบาทของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ในการกำกับดูแลการลงโทษทางวินัยข้าราชการ รวมทั้ง
พัฒนาระบบติดตามและประเมินประสิทธิภาพ ความชอบธรรม และคุณภาพของกระบวนการดำเนินการทางวินัย
6. การบริหารความเสี่ยง (Risk Management)
6.1 กำหนดบทบาทหน้าที่ของแต่ละหน่วยงานให้ชัดเจนและสอดคล้องกับหลักการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี
6.1.1 ทบทวนและปรับปรุงกฎระเบียบและมาตรฐานการตรวจสอบภายในให้สอดคล้องกับหลักความซื่อตรงในการบริหารงานภาครัฐ
และปฏิรูปบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานในระบบตรวจสอบภายใน
6.1.2 ปรับปรุงกลยุทธ์การสื่อสารคุณประโยชน์ของการบริหารความเสี่ยงในการส่งเสริมความซื่อตรงในภาครัฐและการพัฒนาระบบธร
รมาภิบาลของประเทศไทย
6.2 กำหนดมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินการตามมาตรฐานและแนวทางบริหาร ความเสี่ยง
6.2.1 ปรับปรุงมาตรฐานการบริหารความเสี่ยงและมีมาตรการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในการบริหารความเสี่ยงรูปแบบต่าง ๆ
6.2.2 เสริมสร้างศักยภาพและองค์ความรู้ของข้าราชการส่วนภูมิภาคและข้าราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการประเมินและ
บริหารความเสี่ยง
6.3 พัฒนาขีดความสามารถในการกำกับและติดตามประเมินผลรวมทั้งระบบการประกันคุณภาพกระบวนการตรวจสอบภายใน
6.3.1 วางแผนกำกับและติดตามประเมินผลกระบวนการตรวจสอบภายในและการบริหารความเสี่ยง
6.3.2 ส่งเสริมและรักษาความเป็นอิสระและความชอบธรรมของระบบประกันคุณภาพการตรวจสอบภายใน
พัฒนาระบบฐานข้อมูลออนไลน์
สำหรับการเปิดเผยข้อมูลบัญชีแสดง
รายการทรัพย์สินและหนี้สินของ
ข้าราชการระดับสูงเพื่อให้สำนักงาน
คณะกรรมการป้องกันและปราบ
ปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)
สามารถเฝ้าระวัง ตรวจสอบ และ
ศึกษาวิเคราะห์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
บทที่ 4
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อ ก.พ.ร. ในการขับเคลื่อน
มาตรการส่งเสริมความซื่อตรงในการบริหารงานของฝ่ายบริหาร
4.1 การออกแบบระบบการเสริมสร้างความซื่อตรงในการบริหารงานภาครัฐในประเทศไทย
ระบบการเสริมสร้างความซื่อตรงในการบริหารงานภาครัฐในประเทศไทยแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ 1) ระบบการเสริมสร้างความ
ซื่อตรงในการบริหารงานภาครัฐจำแนกตามภารกิจ (Functional Structure) 2) โครงสร้างการเสริมสร้างความซื่อตรงในการบริหาร
งานภาครัฐในแนวระนาบ (Horizontal Structure) และ 3) โครงสร้างการเสริมสร้างความซื่อตรงในการบริหารงานภาครัฐในแนวดิ่ง
(Vertical Structure)
1) ระบบการเสริมสร้างความซื่อตรงในการบริหารงานภาครัฐจำแนกตามภารกิจ (Functional Structure) ในปัจจุบันภารกิจด้าน
การเสริมสร้างความซื่อตรงในการบริหารงานภาครัฐแบ่งเป็นภารกิจด้านการปราบปรามการทุจริตและภารกิจด้านการป้องกันการทุจริต
คณะวิจัยเห็นด้วยกับหลักการแบ่งภารกิจดังกล่าว แต่ขอเสนอการจำแนกภารกิจย่อยซึ่งมีความจำเป็นเร่งด่วนต่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์
ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2560 – 2564) ดังนี้
1.1) ภารกิจด้านการปราบปรามการทุจริต ประกอบด้วย 2 ภารกิจย่อย คือ
การไต่สวนมูลความผิดวินัยร้ายแรงซึ่งยังคงเป็นความรับผิดชอบของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่ง
ชาติ (ป.ป.ช.)
การดำเนินการทางวินัยตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ซึ่งคณะวิจัยเห็นพ้องกับ OECD ที่สมควรมอบ
หมายภารกิจนี้ให้กับสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) แทนที่สำนักงานคณะกรรมการ
ข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) เนื่องจากสอดคล้องกับพันธกิจและศักยภาพของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
ในภาครัฐ (ป.ป.ท.) มากกว่า โดยมีมาตรการสำคัญ คือ การจัดทำระบบบัญชีรายชื่อข้าราชการที่มีคุณสมบัติและความเชี่ยวชาญการ
สอบสวนมูลความผิดทางวินัยเพื่อปฏิบัติหน้าที่กรรมการสอบสวนทางวินัยในส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐสังกัดฝ่ายบริหาร
1.2) ภารกิจด้านการป้องกันการทุจริต ประกอบด้วย 5 ภารกิจย่อย คือ
การจัดทำและดูแลระบบเฝ้าระวังการทุจริตโดยใช้ข้อมูลการประเมิน ITA เพื่อจัดทำ “แผนที่ความเสี่ยงการทุจริต” ที่ระบุระดับความ
เสี่ยงการทุจริตของแต่ละส่วนราชการและหน่วยงานราชการ รวมทั้งจัดทำระบบคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสการทุจริต (Whistleblower
Protection) ซึ่งครอบคลุมถึงการเสนอร่างกฎหมายคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสการทุจริตที่เป็นเอกเทศจากกฎหมายคุ้มครองพยานใน
คดีทุจริต ทั้งนี้ โดยมีสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) รับผิดชอบภารกิจย่อยนี้สำหรับ
องค์กรนิติบัญญัติ ศาลยุติธรรม สำนักงานอัยการสูงสุด และองค์กรอิสระ ในขณะที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม
การทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) รับผิดชอบส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐสังกัดฝ่ายบริหาร ผ่านเครือข่ายศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการ
ทุจริต (ศปท.)
การขับเคลื่อนมาตรฐานทางจริยธรรมและประมวลจริยธรรม โดยที่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) เป็นหน่วยงาน
รับผิดชอบการขับเคลื่อนมาตรฐานทางจริยธรรมและประมวลจริยธรรมในส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐสังกัดฝ่ายบริหาร รวมทั้ง
กำกับ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินการทางวินัยของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ
(ป.ป.ท.) ในฐานะที่เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนเป็นเลขานุการคณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรม (ก.ม.จ.)
ตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562 สำหรับการขับเคลื่อนในองค์กรนิติบัญญัติ ศาลยุติธรรม
สำนักงานอัยการสูงสุด และองค์กรอิสระนั้นให้เป็นบทบาทหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่ง
ชาติ (ป.ป.ช.) เป็นหน่วยงานรับผิดชอบประสานงานและสนับสนุนการดำเนินการตามมาตรฐานทางจริยธรรมและประมวลจริยธรรม
ของแต่ละหน่วยงาน
การปฏิรูประบบบริหารงานบุคคลภาครัฐให้สอดคล้องกับหลักความซื่อตรงในการบริหารงานภาครัฐและหลักการบริหารกิจการบ้าน
เมืองที่ดี โดยเฉพาะระบบความก้าวหน้าทางอาชีพ (Career Path) ที่ต้องชัดเจนและตั้งอยู่บนหลักคุณธรรม (Merit System) รวมทั้ง
เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) ที่ต้องปฏิบัติหน้าที่เชิงรุกมากขึ้น ทั้งหมดนี้ควร
เป็นหน้าที่รับผิดชอบหลักของสำนักงานคณะกรรมการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)
การเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในทุกมิติของกระบวนการนโยบายสาธารณะ โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบ
ราชการ (ก.พ.ร.) ควรเป็นหน่วยงานหลักร่วมมือกับสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีในการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติข้อมูลทาง
ราชการ พ.ศ. 2540 ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลภาครัฐได้สะดวกมากขึ้น รวมทั้งร่วมกับสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรียก
ระดับการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด (ก.ธ.จ.) เพื่อให้ประชาชนสามารถกำกับดูแล ติดตาม และประเมินผล
การปฏิบัติราชการของส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐในระดับจังหวัดให้โปร่งใสและชอบธรรม นอกจากนี้ สำนักงานคณะกรรมการ
พัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ควรร่วมกับสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักเลขาธิการคณะ
รัฐมนตรี สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา และสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับประชาชน
เกี่ยวกับกระบวนการเสนอร่างกฎหมายและร่วมกับสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) เพื่อสร้างระบบฐานข้อมูล
สำหรับกระบวนการจัดทำกฎหมายและนโยบายสาธารณะในรูปแบบ “แผนที่กระบวนการนิติบัญญัติ (Legislative Footprint)” เพื่อ
เป็นช่องทางส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ
การยกระดับมาตรฐานการบริหารองค์กรภาครัฐด้วยเครื่องมือบริหารความเสี่ยงการทุจริต สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบ
ราชการ (ก.พ.ร.) ควรร่วมกับกรมบัญชีกลางและสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) พัฒนาแนวทางปฏิบัติในการบริหารความ
เสี่ยงการทุจริตที่เป็นมาตรฐานและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ระยะที่ 3 (พ.ศ.
2560 – 2564) และพัฒนาศักยภาพของผู้บริหารส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐสังกัดฝ่ายบริหารในการใช้แนวทางบริหารความ
เสี่ยงการทุจริตเพื่อพัฒนาสมรรถนะขององค์กร (Organizational Competency)
การจัดทำและดูแลระบบเฝ้าระวังการ การยกระดับมาตรฐานการบริหาร
ทุจริตโดยใช้ข้อมูลการประเมิน ITA องค์กรภาครัฐด้วยเครื่องมือบริหาร
ความเสี่ยงการทุจริต
การขับเคลื่ อนมาตรฐานทางจริยธรรม การเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของ
และประมวลจริยธรรม ประชาชนในทุกมิติของกระบวนการ
นโยบายสาธารณะ
การปฏิรูประบบบริหารงานบุคคลภาครัฐ
ภาพที่ 6-2 การออกแบบโครงสร้างเชิงภารกิจ (Functional Structure)
ของระบบเสริมสร้างความซื่อตรงในการบริหารงานภาครัฐในประเทศไทย
2) โครงสร้างการเสริมสร้างความซื่อตรงในการบริหารงานภาครัฐในแนวระนาบ (Horizontal Structure) คณะวิจัยเห็นด้วยกับข้อเสนอ
เชิงนโยบายของ OECD ระยะที่ 1 ว่า รัฐบาลควรยุบ คณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (คตช.) และศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริต
แห่งชาติ (ศอตช.)ในสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) และถ่ายโอนอำนาจหน้าที่ไปยังส่วน
ราชการและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ เพื่อลดความซ้ำซ้อนของอำนาจหน้าที่และขั้นตอนของทางราชการที่อาจทำให้การขับเคลื่อน
ยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2560 – 2564) เกิดความล่าช้าและไม่มีประสิทธิภาพ
อย่างไรก็ตาม คณะวิจัยเล็งเห็นความสำคัญขององค์กรกลางในรูปแบบคณะกรรมการนโยบายเสริมสร้างความซื่อตรงในการบริหารงาน
ภาครัฐที่มีนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายเป็นประธานเพื่อเร่งรัดและกำกับติดตามการดำเนินงานของสำนักงาน
คณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาค
รัฐ (ป.ป.ท.) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ซึ่งเป็นหน่วย
งานรับผิดชอบหลักในการเสริมสร้างความซื่อตรงในการบริหารงานภาครัฐ โดยแต่ละหน่วยงานมีอำนาจหน้าที่ดังนี้
2.1) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ควรมีหน้าที่หลักในการเสริมสร้างความซื่อตรงใน
รัฐสภา ศาลยุติธรรม สำนักงานอัยการสูงสุด และองค์กรอิสระ แบ่งเป็นหน้าที่เกี่ยวกับ
การไต่สวนมูลความผิดวินัยร้ายแรงของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ
การประเมิน ITA ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานเลขานุการขององค์กรนิติบัญญัติ สำนักงานศาลยุติธรรม
สำนักงานอัยการสูงสุด องค์กรอิสระ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
การบริหารจัดการระบบเฝ้าระวังความเสี่ยงการทุจริต ระบบเฝ้าระวังการขัดกันแห่งผลประโยชน์ และระบบคุ้มครองสวัสดิภาพผู้แจ้ง
เบาะแสการทุจริตในองค์กร
นิติบัญญัติ ศาลยุติธรรม สำนักงานอัยการสูงสุด และองค์กรอิสระ
การส่งเสริมวัฒนธรรมและค่านิยมความซื่อตรงในการบริหารงานภายในองค์กร นิติบัญญัติ ศาลยุติธรรม สำนักงานอัยการสูงสุด และ
องค์กรอิสร
2.2) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) ควรมีหน้าที่หลักในการเสริมสร้างความซื่อตรง
ในส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐสังกัดฝ่ายบริหาร แบ่งเป็นหน้าที่เกี่ยวกับ
การดำเนินการทางวินัยตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
การบริหารจัดการระบบเฝ้าระวังความเสี่ยงการทุจริต ระบบเฝ้าระวังการขัดกันแห่งผลประโยชน์ และระบบคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสการ
ทุจริตในส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐสังกัดฝ่ายบริหาร
การส่งเสริมวัฒนธรรมและค่านิยมความซื่อตรงในการบริหารงานของส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐสังกัดฝ่ายบริหาร ผ่านเครือ
ข่ายศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต (ศปท.)
2.3) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ควรมีหน้าที่หลักกำหนดมาตรฐานทางจริยธรรมตามพระราชบัญญัติ
มาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562 และกำกับ ติดตาม ประเมินผลการดำเนินการทางวินัยของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและ
ปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) และผลการดำเนินการตามประมวลจริยธรรมของทุกส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐ
สังกัด รวมทั้งปฏิรูประบบบริหารทรัพยากรบุคคลของส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐสังกัดฝ่ายบริหารให้สอดคล้องกับหลักความ
ซื่อตรง (Integrity) และหลักคุณธรรม (Merit System) โดยยกระดับประสิทธิภาพการดำเนินงานของคณะกรรมการพิทักษ์ระบบ
คุณธรรม (ก.พ.ค.) ให้สามารถปฏิบัติงานเชิงรุก
Intergrity Merit
System
2.4) สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ควรมีหน้าที่หลักประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ในการกำหนด
มาตรฐานในการบริหารงานภาครัฐเพื่อเสริมสร้างความซื่อตรง แบ่งเป็น 3 ด้าน คือ
ประสานงานกับกรมบัญชีกลางและสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) พัฒนามาตรฐานในการบริหารความเสี่ยงการทุจริตและ
เสริมสร้างศักยภาพของผู้บริหารส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐสังกัดฝ่ายบริหารในการใช้เทคนิคการบริหาร ความเสี่ยงเพื่อพัฒนา
สมรรถนะองค์กร (Organizational Competency)
ประสานงานกับสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สำนักตรวจราชการและสำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของทางราชการ)
ในการแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540 ให้มีความโปร่งใสและ เปิดกว้างมากขึ้น รวมทั้งยก
ระดับการดำเนินงานของคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด (ก.ธ.จ.)
ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา (สว.) สำนักงาน
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร (สผ.) และสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (สพร.) เพื่อสร้างระบบฐานข้อมูลสำหรับกระบวนการจัดทำ
กฎหมายและนโยบายสาธารณะเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ
สำนักงานคณะกรรมการ
พัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.)
ควรมีหน้าที่หลักประสานงาน
กับหน่วยงานต่าง ๆ ใน
การกำหนดมาตรฐานใน
การบริหารงานภาครัฐเพื่อ
เสริมสร้างความซื่อตรง
ภาพที่ 6-3 การออกแบบโครงสร้างในแนวระนาบ (Horizontal Structure)
ของระบบเสริมสร้างความซื่อตรงในการบริหารงานภาครัฐในประเทศไทย
ดังนั้น จะสังเกตได้ว่า มีส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการเสริมสร้างความซื่อตรงในการบริหารงานภาครัฐทางอ้อม ได้แก่
สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของทางราชการ (สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี) สำนักตรวจราชการของสำนักงานปลัดสำนัก
นายกรัฐมนตรี สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา สำนักงานเลขาธิการ สภาผู้
แทนราษฎร และสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) คณะวิจัยจึงจำเป็นต้องเสนอให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบ
ราชการ (ก.พ.ร.) เป็นหน่วยงานหลักในการประสานงานเพื่อกำหนด แนวปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานให้แก่ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐอื่น
3) โครงสร้างการเสริมสร้างความซื่อตรงในการบริหารงานภาครัฐในแนวดิ่ง (Vertical Structure) ข้อเสนอเชิงนโยบายของ OECD โดย
ส่วนใหญ่เป็นข้อเสนอเชิงนโยบายสำหรับการจัดระบบเสริมสร้างความซื่อตรงในการบริหารงานภาครัฐในระดับชาติและราชการบริหารส่วน
กลาง คณะวิจัยจึงมีข้อเสนอเพิ่มเติมจากข้อเสนอเชิงนโยบายของ OECD คือ การยกระดับการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการธรรมาภิบาล
จังหวัด (ก.ธ.จ.) ให้สามารถส่งเสริมบทบาทของประชาชนในการกำกับ ติดตาม และตรวจสอบ การปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการและหน่วย
งานของรัฐในระดับจังหวัดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัดเป็นโครงสร้างที่มีอยู่แล้วตามพระราช
บัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด พ.ศ. 2552
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ควรร่วมกับสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) เพื่อปฏิรูปการทำงานของ
คณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด (ก.ธ.จ.) ให้เป็นองคาพยพในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการ
ทุจริตแห่งชาติ ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2560 – 2564) ในระดับจังหวัด
ภาพที่ 6-4 การออกแบบโครงสร้างในแนวดิ่ง (Vertical Structure)
ของระบบเสริมสร้างความซื่อตรงในการบริหารงานภาครัฐในประเทศไทย
4.2 มาตรการเร่งด่วนที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ควรพิจารณาดำเนินการเพื่อเสริมสร้างความซื่อตรงในการ
บริหารงานภาครัฐ
1) ข้อเสนอเชิงนโยบายในระดับมหภาค หมายถึง ข้อเสนอที่เกี่ยวกับการจัดทำกฎหมายใหม่และความร่วมมือระหว่างองค์กรฝ่ายนิติบัญญัติ
ฝ่ายบริหาร ฝ่ายตุลาการ และองค์กรอิสระ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) อาจใช้เป็นประเด็นหารือกับหน่วยงานที่
เกี่ยวข้องหรือเสนอต่อรองนายกรัฐมนตรีที่กำกับดูแลสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี
ต่อไป
1.1) พิจารณาจัดทำประมวลกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐเพื่อรวบรวมกฎหมายต่าง ๆ ที่ว่าด้วยการกระ
ทำผิดของเจ้าหน้าที่ภาครัฐมาไว้ในที่เดียวกันและจัดเป็นหมวดหมู่เพื่อประสิทธิภาพและความสะดวกในการบังคับใช้ ได้แก่ พระราชบัญญัติ
ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อ
หน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 พระราชบัญญัติ
มาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2551 รวมทั้งกำหนดให้มีกฎหมายคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสการทุจริต
(Whistleblower Protection) เป็นการเฉพาะ
1.2) ปฏิรูปบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตตามข้อเสนอดังนี้
1.2.1) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ควรมีหน้าที่หลักในการเสริมสร้างความซื่อตรงใน
รัฐสภา ศาลยุติธรรม สำนักงานอัยการสูงสุด และองค์กรอิสระ แบ่งเป็นหน้าที่เกี่ยวกับ
การไต่สวนมูลความผิดวินัยร้ายแรงของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ
การประเมิน ITA ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานเลขานุการขององค์กรนิติบัญญัติ สำนักงานศาลยุติธรรม
สำนักงานอัยการสูงสุด องค์กรอิสระ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
การบริหารจัดการระบบเฝ้าระวังความเสี่ยงการทุจริต ระบบเฝ้าระวัง การขัดกันแห่งผลประโยชน์ และระบบคุ้มครองสวัสดิภาพผู้แจ้ง
เบาะแสการทุจริตในองค์กรนิติบัญญัติ ศาลยุติธรรม สำนักงานอัยการสูงสุด และองค์กรอิสระ
การส่งเสริมวัฒนธรรมและค่านิยมความซื่อตรงในการบริหารงานภายในองค์กรนิติบัญญัติ ศาลยุติธรรม สำนักงานอัยการสูงสุด และ
องค์กรอิสระ
1.2.2) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) ควรมีหน้าที่หลักในการเสริมสร้างความซื่อตรงใน
ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐสังกัดฝ่ายบริหาร แบ่งเป็นหน้าที่เกี่ยวกับ
การดำเนินการทางวินัยตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
การบริหารจัดการระบบเฝ้าระวังความเสี่ยงการทุจริต ระบบเฝ้าระวัง การขัดกันแห่งผลประโยชน์ และระบบคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสการ
ทุจริตในส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐสังกัดฝ่ายบริหาร
การส่งเสริมวัฒนธรรมและค่านิยมความซื่อตรงในการบริหารงานของ ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐสังกัดฝ่ายบริหาร ผ่านเครือ
ข่าย ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต (ศปท.)
1.2.3) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ควรมีหน้าที่หลักกำหนดมาตรฐานทางจริยธรรมตามพระราชบัญญัติมาตรฐาน
ทางจริยธรรม พ.ศ. 2562 และกำกับ ติดตาม ประเมินผลการดำเนินการทางวินัยของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการ
ทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) และ ผลดำเนินการตามประมวลจริยธรรมของทุกส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐสังกัด รวมทั้งปฏิรูประบบ
บริหารทรัพยากรบุคคลของส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐสังกัดฝ่ายบริหารให้สอดคล้องกับหลักความซื่อตรง (Integrity) และหลัก
คุณธรรม (Merit System) โดยยกระดับประสิทธิภาพการดำเนินงานของคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) ให้สามารถปฏิบัติ
งานเชิงรุก
1.2.4) สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ควรมีหน้าที่หลักประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ในการกำหนดมาตรฐานใน
การบริหารงานภาครัฐเพื่อเสริมสร้างความซื่อตรง แบ่งเป็น 3 ด้าน คือ
ประสานงานกับกรมบัญชีกลางและสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) พัฒนามาตรฐานในการบริหารความเสี่ยงการทุจริตและ
เสริมสร้างศักยภาพของผู้บริหารส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐสังกัดฝ่ายบริหารในการใช้เทคนิคการบริหาร ความเสี่ยงเพื่อพัฒนา
สมรรถนะองค์กร (Organizational Competency)
ประสานงานกับสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สำนักตรวจราชการและสำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของทางราชการ)
ในการแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540 ให้มีความโปร่งใสและเปิดกว้างมากขึ้น รวมทั้งยก
ระดับการดำเนินงานของคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด (ก.ธ.จ.)
ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา (สว.) สำนักงาน
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร (สผ.) และสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) เพื่อสร้างระบบฐานข้อมูลสำหรับ
กระบวนการจัดทำกฎหมายและนโยบายสาธารณะเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ
1.3) ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการส่งเสริมความโปร่งใสในการจัดการภาครัฐและการมี ส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำ
กฎหมายและนโยบายสาธารณะ โดยเฉพาะพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารทางราชการ พ.ศ. 2540 พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่าง
กฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของ
ประชาชน พ.ศ.2548
1.4) ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับที่มาและคุณสมบัติของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) คณะ
กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) คณะกรรมการพัฒนาระบบ
ราชการ (ก.พ.ร.) คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการเสริมสร้างความซื่อตรงในการบริหารงานภาค
รัฐให้มีผู้แทนภาคประชาชนหรือผู้แทนเครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคมร่วมเป็นกรรมการ
1.5) เร่งรัดการจัดทำมาตรฐานทางจริยธรรมสำหรับทุกส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐ ในสังกัดฝ่ายบริหาร รวมทั้งหน่วยงานฝ่าย
เลขานุการของรัฐสภา สำนักงานศาลยุติธรรม สำนักงานอัยการสูงสุด และองค์กรอิสระ เพื่อให้ประมวลจริยธรรมข้าราชการและเจ้าหน้า
ของรัฐเป็นไปในทิศทางเดียวกันและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ระยะที่ 3 (พ.ศ.
2560 – 2564) ตลอดจนระดับความเสี่ยงการทุจริตของส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐ
2) ข้อเสนอเชิงนโยบายในการขับเคลื่อนมาตรการส่งเสริมความซื่อตรงในการบริหารงานของฝ่ายบริหาร หมายถึง ข้อเสนอที่สำนักงาน
คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) สามารถดำเนินการได้ทันที โดยไม่ต้องแก้ไขกฎหมายหรือปรับปรุงโครงสร้างอย่างเป็น
ทางการของส่วนราชการ
2.1) กำหนดให้มีคณะกรรมการส่งเสริมความซื่อตรงในส่วนราชการและหน่วยงานระดับกรม เพิ่มประสิทธิภาพของศูนย์ปฏิบัติการต่อต้าน
การทุจริต (ศปท.) กลุ่มพัฒนาระบบบริหารและกลุ่มงานตรวจสอบภายในของส่วนราชการและหน่วยงานภาครัฐแต่ละแห่งในการส่งเสริม
วัฒนธรรมความซื่อตรงใน ส่วนราชการและหน่วยงานภาครัฐ โดยกำหนดให้มีคณะกรรมการส่งเสริมความซื่อตรงในส่วนราชการและ
หน่วยงานระดับกรม ที่มีหัวหน้าส่วนราชการ/หน่วยงานเป็นประธานคณะกรรมการ หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต (ศปท.)
หัวหน้ากลุ่มพัฒนาระบบบริหารและหัวหน้ากลุ่มงานตรวจสอบภายในฝ่ายเลขานุการร่วมและมีผู้แทนภาคประชาชน ผู้แทนองค์กรภาค
เอกชน หรือผู้แทนองค์กรภาคประชาสังคม ที่เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของส่วนราชการและหน่วยงานนั้นร่วมเป็นกรรมการ โดยให้คณะ
กรรมการมีอำนาจหน้าที่จัดทำแผนบริหารความเสี่ยงการทุจริตของหน่วยงานและแผนส่งเสริมวัฒนธรรมความซื่อตรง รวมทั้งกำกับดูแล
ส่วนราชการ/หน่วยงานตามแผนดังกล่าว ทั้งนี้ ในปีแรก สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) อาจพิจารณานำร่องใน
ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับงบประมาณภาครัฐจำนวนมากและมีอำนาจอนุมัติ อนุญาต คำร้องของประชาชนและภาค
ธุรกิจเอกชน เช่น กรมสรรพากร กรมสรรพสามิต กรมศุลกากร กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กรมที่ดิน เป็นต้น
2.2) พัฒนาชุดตัวชี้วัดความซื่อตรงในระดับองค์กร (Enterprise-level Indicator) ที่ครอบคลุมทุกมิติขององค์กร โดยเฉพาะ
ตัวชี้วัดระบบบริหารงานบุคคล ตัวชี้วัดระบบจัดซื้อจัดจ้าง และตัวชี้วัดระบบติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติราชการ เพื่อใช้เป็นตัวชี้
วัดประเมินความเสี่ยงการทุจริตในระดับองค์กรควบคู่กับตัวชี้วัด ITA ทั้งนี้ เนื่องจากตัวชี้วัด ITA เป็นตัวชี้วัดที่อาศัยข้อมูลจากแบบสำรวจ
ความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของส่วนราชการและหน่วยงานภาครัฐ (Individual Perception) ซึ่งมีความเสี่ยงได้รับผลกระทบจาก
“ความลำเอียงจากวิธีร่วม (Common Method Bias)” ได้แก่ การตอบแบบสอบถามเพื่อให้ตนเองดูดี (Social Desirability) และ
บุคลิกภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม (Personality) ดังนั้น สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) จึงควรพัฒนาชุดตัวชี้วัด
ที่มีวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่หลากหลายและสามารถสะท้อนความเสี่ยงการทุจริตในระดับองค์กร
2.3 ส่งเสริมให้ส่วนราชการและหน่วยงานภาครัฐใช้ประโยชน์จากเครื่องมือการบริหารเพื่อป้องกันการทุจริตเนื่องจากในปัจจุบัน มาตรการ
เสริมสร้างความซื่อตรงในการบริหารงานภาครัฐโดยส่วนใหญ่ประกอบด้วยโครงการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจของประชาชนผ่านสื่อรูป
แบบต่าง ๆ และกิจกรรม เชิงสัญลักษณ์ เช่น การประกาศเจตนารมณ์ต่อต้านการทุจริตของส่วนราชการ การฟังพระธรรมเทศนา
เป็นต้น ในระยะต่อไป สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ควรเน้นมาตรการป้องกันการทุจริตในรูปแบบการพัฒนา
ทักษะ (Capacity Building) ของผู้บริหารส่วนราชการและหน่วยงานภาครัฐ และบุคลากรในทุกระดับในการใช้เครื่องมือการบริหารที่ได้รับ
การยอมรับว่า สามารถช่วยป้องกันและบริหารความเสี่ยง การทุจริตได้ เช่น การบริหารความเสี่ยง การตรวจสอบภายใน และการใช้
เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเผยแพร่ข้อมูลแก่สาธารณะและสร้างช่องทางการสื่อสารสองทาง (Two-way Communication) กับประชาชน
เป็นต้น
ข้อเสนอเชิงนโยบายในการขับ
เคลื่ อนมาตรการส่งเสริมความ
ซื่อตรงในการบริหารงานของ
ฝ่ายบริหาร หมายถึง ข้อเสนอที่
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนา
ระบบราชการ (ก.พ.ร.) สามารถ
ดำเนินการได้ทันที โดยไม่ต้องแก้ไข
กฎหมายหรือปรับปรุงโครงสร้าง
อย่างเป็นทางการของส่วนราชการ