1
ก บทสรุปผู้บริหาร (Executive Summary) โครงการทาสีปรับปรุงภูมิทัศน์ภายในโรงเรียนท่าปลาอนุสรณ์ 1 โดยมีนักศึกษาฝึกประสบการณ์ วิชาชีพครูชั้นปีที่ 4 และชั้นปีที่ 5 ครูโรงเรียนท่าปลาอนุสรณ์ 1 อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อโรงเรียนมีสภาพแวดล้อมที่ดีมีบรรยากาศที่เอื้อต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อปรับปรุง ภาพสัญลักษณ์ต่างๆ ภายในโรงเรียน และเพื่อปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์ภายในโรงเรียน ซึ่งเป็นการสร้างภูมิทัศน์ ของโรงเรียนให้เหมาะสมต่อการเป็นพื้นที่แหล่งเรียนรู้ของนักเรียน จึงจัดทำ โครงการทาสีปรับปรุงภูมิทัศน์ ภายในโรงเรียนท่าปลาอนุสรณ์ 1 โดยการทาสีจุดเข้าแถว และรอบๆบริเวนภายในโรงเรียน ซึ่งในกำหนดการ จัดโครงการในวันอังคารที่ 14 มิถุนายน 2565 ณ โรงเรียนท่าปลาอนุสรณ์ 1 โดยโครงการนี้จะมีนักศึกษาฝึก ประสบการณ์วิชาชีพครูชั้นปีที่ 4 และชั้นปีที่ 5 สำหรับผลการประเมินการจัดโครงการ พบว่า จากตารางแสดงค่าเฉลี่ยความพึงพอใจต่อการจัด โครงการทาสีปรับปรุงภูมิทัศน์ภายในโรงเรียนท่าปลาอนุสรณ์ 1 ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ย 4.59 ซึ่งอยู่ในระดับมี ความพึงพอใจมากที่สุด โดยที่ความคิดเห็นของนักเรียน ไม่แตกต่างกันมาก (S.D. = 0.575) ส่วนในรายละเอียด ประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ นักเรียนได้ประโยชน์จากกิจกรรมโครงการทาสีปรับปรุงภูมิทัศน์ภายใน โรงเรียนท่าปลาอนุสรณ์ 1 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.68 อยู่ในระดับมากที่สุด และประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ระยะเวลาในการจัดกิจกรรมเหมาะสม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.40
ข สารบัญ หน้า บทสรุปผู้บริหาร ก สารบัญ ข บทที่ 1 บทนำ 1 หลักการและเหตุผล 1 วัตถุประสงค์ 1 กลุ่มเป้าหมาย 2 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 2 บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง 3 ทฤษฎีและหลักการต่างๆจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง 3 สถิติที่ใช้ในการประเมิน 9 บทที่ 3 วิธีดำเนินการ 11 บทที่ 4 ผลการดำเนินงาน 13 บทที่ 5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ 15 สรุป อภิปรายผล 14 ข้อเสนอแนะ 14 ภาคผนวก 16
1 บทที่1 บทนำ หลักการและเหตุผล ด้วยคณะนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูชั้นปีที่ 4 และชั้นปีที่ 5 ได้เล็งเห็นความสำคัญของสภาพ ภูมิทัศน์และบรรยากาศภายในโรงเรียนท่าปลาอนุสรณ์ 1 ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งในการจัดกิจกรรมการ เรียนการสอนทั้งในและนอกห้องเรียน บรรยากาศและสภาพภูมิทัศน์ภายในโรงเรียนจึงต้องมีความพร้อมต่อ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของนักเรียน โดยคณะนักศึกษาได้จัดทำโครงการโครงการทาสีปรับปรุงสนาม กีฬาและสัญลักษณ์ต่างๆ ภายในรงเรียนขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายในการปรับปรุงทาสีสนามกีฬาและซ่อมแซมทาสี สัญลักษณ์ต่างๆ อาทิ เช่น สัญลักษณ์ลูกศรหน้าประตูโรงเรียน สัญลักษณ์จุดวงกลมเว้นระยะห่างบริเวรหน้า เสาธง เป็นต้น เพื่อให้นักเรียนได้มีสนามกีฬา และสัญลักษณ์ต่างๆ ใช้ได้อย่างชัดเจน การทาสีปรับปรุงสนามกีฬาจะช่วยให้นักเรียนมีสนามกีฬาที่เอื้ออำนวยต่อการจัดกิจกรรมการเรียน การสอนในรายวิชาพลศึกษาหรือการทำกิจกรรมต่างๆ ทางด้านกีฬา เพื่อให้นักเรียนมีความสนใจในการเรียน ทางด้านวิชาพลศึกษาและด้านการกีฬา การทาสีสัญลักษณ์ต่างๆ ภายในโรงเป็นจะช่วยให้ผู้เรียนมองเห็นสัญลักษณ์ต่างๆ ที่อยู่ภายในโรงเรียน และปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง ดังนั้น คณะนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูชั้นปีที่ 4 และชั้นปีที่ 5 จึงได้จัดทำ “โครงการ โครงการทาสีปรับปรุงภูมิทัศน์ภายในโรงเรียนท่าปลาอนุสรณ์ 1”แก่นักเรียนในระดับชั้นอนุบาล – ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนโรงเรียนท่าปลาอนุสรณ์ 1 โดยมุ่งหวังว่านักเรียนทุกคน จะมีสนามกีฬาที่ เอื้ออำนวยความสะดวกในการทำกิจกรรมต่างๆ และมีบรรยากาศภูมิทัศน์โรงเรียนที่เหมาะสมดึงดูดความสนใจ นักเรียนให้อยากเข้าเรียนและมาโรงเรียนในทุกวันตลอดปีการศึกษา วัตถุประสงค์ของโครงการ 1. เพื่อปรับปรุงภาพสัญลักษณ์ต่างๆ ภายในโรงเรียน 2. เพื่อโรงเรียนมีสภาพแวดล้อมที่ดี มีบรรยากาศที่เอื้อต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 3. เพื่อปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์ภายในโรงเรียน
2 กลุ่มเป้าหมาย 1. เป้าหมายเชิงปริมาณ นักเรียนในระดับชั้นอนุบาล - ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนท่าปลาอนุสรณ์ 1 จำนวน 556 คน 2. เป้าหมายเชิงคุณภาพ สนามกีฬาที่เอื้ออำนวยต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และมีสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่สมบูรณ์ชัดเจน ใช้ภายในโรงเรียนมากขึ้น มีสภาพบรรยากาศและภูมิทัศน์ภายในโรงเรียนมีความเหมาะสมและพร้อมในการจัด กิจกรรมการเรียนการสอนมากขึ้น ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1. นักเรียนมีสนามกีฬาที่เอื้ออำนวยในการจัดกิจกรรมต่างๆ ทั้งด้านการจัดการเรียนการสอนและการทำ กิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับกีฬา 2. นักเรียนใช้สัญลักษณ์ต่างๆ ภายในโรงเรียนได้ถูกต้อง 3. นักเรียนเห็นคุณค่าและประโยชน์ความสำคัญในการดูแลรักษาสนามกีฬาและสัญลักษณ์ต่างๆ ภายใน โรงเรียน
3 บทที่2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง การจัดภูมิทัศน์ในโรงเรียนเป็นส่วนหนึ่งของการจัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียนโดยมีความมุ่งหมายเพื่อ ปรับปรุงพื้นที่บริเวณโรงเรียนให้มีความร่มรื่น สวยงาม สะอาดและเป็นระเบียบเรียบร้อยเป็นแหล่งเรียนรู้และ จูงใจให้เกิดการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมศึกษาซึ่งเป็นความสำคัญและความจำเป็นจะต้องเร่งปลูกฝังความรู้เรื่อง สิ่งแวดล้อมศึกษาอย่างเร่งด่วนให้แก่นักเรียน เพื่อให้เป็นไปตามความที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540ในหมวดที่ 4 หน้าที่ของชนชาวไทย มาตรา 69 ตอนหนึ่งว่า ...บุคคลมีหน้าที่ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทั้งนี้ตามที่กฎหมายกำหนด นอกจากนี้ในพระราชบัญญัติการศึกษา แห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ในหมวด 4 มาตรา 23 ความว่าการจัดการศึกษาทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยต้องเน้นทั้งด้านความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้ และ บูรณาการตามความเหมาะสมของแต่ละระดับ การศึกษาในมาตรานี้ ระบุว่าสถานศึกษาต้องจัดการเรียนรู้และ ทักษะด้านวิทยาศาสตร์ ทคโนโล. รวมทั้งความเข้าใจและประสบการณ์เรื่องการจัดการ การบำรุงรักษาการใช้ ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ซึ่งสอดคล้อง และเชื่อมโยงไปถึงมาตรฐาน การศึกษาเพื่อการประเมินภายนอกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ได้มีการกำหนดเรื่องของการนุรักษ์และพัฒนา สิ่งแวดล้อมตามมาตรฐานที่ 3 ความว่าผู้เรียนมีจิตสำนึกที่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมอนุรักษ์และพัฒนา สิ่งแวดล้อม (สำนักงานคณะกรรมการกาศึกษาแห่งชาติ 2543 : 18) การจัดภูมิทัศน์ในสถานศึกษา ความหมายของภูมิทัศน์ ภูมิทัศน์ คือ ช่วงเวลาการแสดงความรู้สึกของนิเวศวิทยา,เทคโนโลยีและอิทธิพลทางวัฒนธรรม การ วางทำเลที่ตั้งที่มีลักษณะเฉพาะทั้งที่ออกแบบและไม่มีการออกแบบเอาไว้แล้วก่อให้เกิดอิทธิพลและ ประสบการณ์โดยมนุษย์ ซึ่งมีเจตนาสร้างสรรค์สำหรับบุคคลสืบชีวิตยืนยาวและปลอดภัย พร้อมทั้งสำหรับจิต ศาสตร์นิยมสิ่งหนึ่งในชุมชน (Falero and Alonso 1995: 7) ภูมิทัศน์ (Landscape) เป็นเรื่องเกี่ยวกับมิติสัมพันธ์ของปรากฏการณ์กับการเปลี่ยนแปลงภูมิประเทศ ภายใต้การไตร่ตรอง ภูมิทัศน์จากทิวทัศน์ลักษณะหรือโครงสร้างของพืชพรรณเป็นเรื่องหนึ่งที่เกี่ยวกับการมอง เนื้อที่โดยพื้นที่นั้น " มิได้เป็นพื้นที่เดียวกันหรือมีลักษณะที่แตกต่างกันภูมิทัศน์ที่พื้นที่หนึ่งที่ดีกว่า มีที่ตั้งทาง ภูมิศาสตร์ดีกว่าหรือมีส่วนประกอบกลมกลืนปกคลุมแผ่นดินนั้น มันเป็นความจริงโดยลักษณะรูปร่างโดย
4 ธรรมชาติและองค์ประกอบของสิ่งแวดล้อมในความเป็นไปของระบบนิเวศน์วิทยา และความสัมพันธ์ของพืชต่อ สถานที่ที่แตกต่างรวมทั้งสัดส่วนในบริเวณ (Farina 2000 : 11) ความสำคัญของการจัดภูมิทัศน์ การจัดภูมิทัศน์ คือ การจัดสภาพแวดล้อม อันได้แก่ อาคารสิ่งก่อสร้าง ถนนทางเท้าหินประดับ สนามหญ้า พรรณไม้ และวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้อยู่ในจุดหรือตำแหน่งที่เหมาะสมมีความผสมกลมกลืนกัน ทำให้เกิด ทัศนียภาพที่สวยงามน่าดู เนื่องจากธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ดีกำลังถูกทำลายลง ดังนั้น มนุษย์จึงพยายาม หาสิ่งทดแทนโดยการปลูกต้นไม้หรือการจัดสวนประดับตามบริเวณอาคารต่าง ๆ เช่น สวนสาธารณะ บ้านพัก อาศัย บริเวณ ห้างร้าน สำนักงานตลอดจนสถานที่ราชการต่าง ๆ (ประเวศ ไชยวงศ์ 2541: 1) แนวคิดในการจัดภูมิทัศน์ในสถานศึกษา การจัดภูมิทัศน์ในสถานศึกษา จะมีรูปแบบต่างจากการจัดภูมิทัศน์ตามบ้านพักอาศัยหรือรีสอร์ทต่าง ๆ เพราะ มีความแตกต่างเรื่องงบประมาณ จุดประสงค์การใช้ประโยชน์และแรงงานที่ใช้ในการดูแลรักษา จึงควรมี แนวทางในการกำหนดรูปแบบ ดังนี้ 1. มีความเรียบง่าย เป็นสัดส่วน โดยแบ่งพื้นที่ของสถานศึกษาออกเป็นส่วน ๆ ตามลักษณะการใช้สอย เช่น สนามกีฬา ลานสนามหญ้า พื้นที่ร่มน บริเวณจัดสวนหย่อม และอื่น ๆ 2. ออกแบบให้มีประโยชน์ด้านใช้สอย เช่น บริเวณปลูกต้นไม้ให้ร่มเงา ปลูก ต้นไม้ปิดบังส่วนที่ไม่น่าดู เช่น กองขยะ บริเวณที่สกปรก ในการออกแบบ จะให้หลักศิลปะเข้ามาช่วยเพื่อให้เกิดความสวยงาม 3. ออกแบบให้ดูแลรักษาได้ง่าย เพื่อลดแรงงานและเวลาในการดูแลรักษา เช่น เลือกใช้ต้นไม้ที่ไม่ จำเป็นต้องตัดแต่งบ่อยครั้งหรือหลีกเลี่ยงการออกแบบให้มีซอกมุมต่าง ๆ ที่รถตัดหญ้าเข้าไปตัดไม่ได้หรือการ ทำเนินสูง ๆ ต่ำ ๆ จะดูแลรักษายากกว่าพื้นที่เรียบ ๆ 4. เลือกใช้พันธุ์ไม้ที่ทนทานเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม ไม่ต้องการการดูแลรักษามากนัก เช่น ใช้พันธุ์ ไม้ในท้องถิ่น ที่หาง่าย ราคาถูก หรือใช้พันธุ์ไม้ที่ขยายพันธุ์ได้ง่าย 5. ออกแบบให้มีความปลอดภัยต่อนักเรียน หลีกเลี่ยงการใช้พันธุ์ไม้ที่มีหนามแหลมคมหรือพันธุ์ไม้ที่มี ส่วนประกอบเป็นพิษ เช่น มีขน หรือยางไม้ ที่ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อร่างกายการปลูกพันธุ์ไม้ไม่ควรปลูก ให้แน่นทึบเกินไป จะเป็นที่อาศัยหลบซ่อนของสัตว์มีพิษได้
5 6. ออกแบบให้เกิดความรู้ทางวิซาการ เช่น ความรู้ทางด้านพฤกษศาสตร์ ชีววิทยาและนิเวศน์วิทยา เป็นต้น 7. เลือกใช้พันธุ์ไม้ที่สามารถขยายพันธุ์ได้ง่าย เพื่อใช้ประโยชน์ในการฝึกขยายพันธุ์ให้แก่นักเรียน เพื่อ นำไปปลูกเพิ่มเติมในบริเวณอื่น ๆ หรือเพื่อจำหน่ายต่อไป 8. เลือกรูปแบบการจัดให้เหมาะสมกับสถานที่ เช่น การจัดสวนแบบประดิษฐ์หรือแบบเรขาคณิต ซึ่ง เหมาะสมสำหรับบริเวณเสาธง อนุสาวรีย์ หรือบริเวณอื่น ๆ ที่มีจุดเด่นอยู่ตรงกลางหรืออาคารสิ่งก่อสร้างที่มี ปีกสองข้างเหมือนกัน ส่วนรูปแบบการจัดแบบธรรมชาติ จะเหมาะสำหรับบริเวณที่ใช้สำหรับพักผ่อน บริเวณ ป้าย หรือการจัดสวนหย่อมบริเวณหน้าอาคารต่าง ๆ (สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ร่วมกับกรมอาชีวศึกษา 2540 : 1) การจัดภูมิทัศน์ในโรงเรียน โรงเรียนเป็นสถานที่ที่มีผู้ใช้บริการหลายระดับ ทั้งครู นักเรียน ผู้ปกครอง และผู้ไปติดต่อราชการ ฉะนั้นบริเวณภายในสถานศึกษาจึงสมควรได้รบการพัฒนาตกแต่งให้สวยงาม เพื่อใช้เป็นสถานที่พักผ่อนและ เพื่อการศึกษา บริเวณที่สมควรได้รับการพัฒนาตกแต่งให้สวยงาม มีดังนี้ คือ 1. อาคารสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ได้แก่ 1.1 อาคารอำนวยการ การปลูกพรรณไม้ อาจทำได้ ดังนี้ 1.1.1 จัดทำเป็นสวนหย่อมซึ่งเหมาะกับบริเวณที่เป็นซอกมุมภายในอาคารหรือข้างตัวอาคาร ที่มีพื้นที่ไม่มากนัก 1.1.2 ปลูกพรรณไม้ชนิดหนึ่ง ตามบล็อค (ถ้ามีบล๊อคอาจปลูก บล๊อคละชนิด)ซึ่งอยู่ติดกับ อาคาร ถ้าเป็นบล๊อคที่ได้รับแสงแดดตลอดทั้งวันอาจจะปลูกเฟื่องฟ้า เล็บครุฑ โกสนฯลฯ แต่ถ้าเป็น บล๊อคที่อยู่ในที่ได้รับแสงรำไรหรือในที่ร่ม ควรเลือกใช้สาวน้อย ประแป้ง เขียวหมื่นปี ดาหลา 1.2 อาคารเรียน อาคารฝึกงาน หากมีพื้นที่คล้ายกับอาคารอำนวยการ อาจจะใช้วิธีการ ตกแต่งเหมือนกัน แต่ถ้ามีพื้นที่กว้าง ควรออกแบบจัดสวนให้ดูแลรักษาง่าย มีการปลูกต้นไม้ให้ร่มเงา แล้วจัดโต๊: เก้าอี้ไว้ตามจุดต่าง ๆ ที่เหมาะสม เพื่อให้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ 1.3 ห้องสุขา ควรพิจารณาปลูกพรรณไม้ปิดบังส่วนที่ไม่น่าดู และเลือกปลูกพรรณไม้ที่ดอกมี กลิ่นหอม เช่น ราตรี โมก ปีป พุด เพื่อช่วยดับกลิ่น
6 2. เสาธง บริเวณรอบ ๆ ฐานเสาธง ปกติจะออกแบบเว้นไว้สำหรับปลูกพรรณไม้ นิยมออกแบบให้เป็น รูปแบบเรขาคณิต มีข้อพิจารณาในการปลูกพรรณไม้บริเวณเสาธง ดังนี้ 2.1 ถ้าบล๊อคปลูกพรรณไม้อยู่ในตำแหน่งที่สูง ควรเลือกปลูกพรรณไม้ที่ลำต้นมีลักษณะเลื้อย ย้อยปกคลุมขอบกระบะ เช่น เฟื่องฟ้า ผกากรองเลื้อย 2.2 ปลูกไม้ใบหรือไม้ดอกให้มีสีสันสลับกันเป็นบล๊อค ๆ หรือเป็นแปลง 3. ประตูเข้าออกของสถานศึกษาส่วนมากจะอยู่ด้านหน้า ปกติจะมีป้ายชื่อสถานศึกษาดูเด่นสวยงาม อาจจัดเป็นสวนหย่อม โดยเลือกใช้ดินและพรรณไม้ที่ไม่สูงใหญ่จนบดบังชื่อสถานศึกษา 4.2 แนวรั้วด้านอื่น ๆ อาจพิจารณาปลูกพรรณไม้ ดังนี้ 4.2.1 ไม้บังลม เช่น สน อโศก 5. สนามกีฬา เช่น สนามตะกร้อ วอลเลย์บอล ฟุตบอล ควรเลือกปลูกพรรณไม้ เพื่อเป็นแนวกำบังลม เช่น สน อโศก 6. บริเวณที่เป็นที่ประดิษฐานของสิ่งเคารพบูชา เช่น อนุสาวรีย์ ศาล ศาลา พระพุทธรูปบริเวณ ดังกล่าว ควรเลือกปลูกพรรณไม้ที่แสดงถึงความเก่าแก่และความเป็นไทย เช่น ไม้ดัดไม้แคระ โพธิ์ ไทร จำปี จำปา พุด 7. ถนนทางเท้า เป็นบริเวณที่จะต้องมีผู้คนสัญจรไปมาควรปลูกพรรณไม้เพื่อให้ร่มเงา โดยมีข้อพิจารณาในการเลือกพรรณไม้ ดังนี้ 7.1 ใช้พรรณไม้ประดับยืนต้นดีกว่าใช้ไม้ผล 7.2 เลือกพรรณไม้ปลูกต่างชนิดกัน เพื่อให้ผลัดกันออกดอกและใบ 8. ลานจอดรถ ควรพิจารณาปลูกพรรณไม้ที่ใบ กิ่ง ผล ไม่หล่นเป็นอันตรายต่อรถต้นไม้ที่มีลักษณะ เหมาะสม ควรมีกิ่ง ก้าน ใบ แผ่ขยายครอบคลุมพื้นที่ได้ดี กิ่งเหนียว ไม่ผลัดใบง่าย เช่น ชงโค ไทร อินทนิล เสลา ทองหลางด่าง ประดู่ พรรณไม้ที่ไม่ควรนำมาปลูก เช่น ก้ามปูหูกวาง มะม่วง 9. สถานที่พักผ่อน โรงเรียนที่มีบริเวณกว้าง พื้นที่บางส่วนอาจจัดเป็นสวนพักผ่อน ที่มี
7 ส่วนประกอบ ดังนี้ 9.1 ปลูกพรรณไม้ให้ร่มเงา โดยปลูกเป็นสวนปำใช้พรรณไม้ชนิดใดชนิดหนึ่งหรือหลายชนิดร่วมกัน แล้วปลูกพรรณไม้ในร่มบริเวณโคนให้เป็นกลุ่มใหญ่ ๆ เช่น พลับพลึง สาวน้อยประแป้ง คล้า 9.2 โต๊ะ ม้านั่ง และศาลาพักผ่อน อาจจะจัดไว้ใต้ร่มไม้ หรือจัดไว้ตามสุมทุมพุ่มไม้โต๊ะ ม้านั่ง ควรมี ลักษณะเข้ากับบรรยากาศของสวน เช่น ทำจากตอไม้ ท่อนไม้ หรือถ้าทำจากปูนก็ควรทำให้มีลักษณะ เหมือนกับไม้ 9.3 บ่อน้ำ ลำธาร น้ำตก น้ำพุ 9.4 ทางเดิน ทางเท้า สะพาน ควรเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ที่คงทนถาวร ใช้ได้สะดวก 9.5 พรรณไม้ดอก ไม้ประดับ กลางแจ้ง ควรเลือกใช้พรรณไม้ที่ปลูกและดูแลง่าย 9.6 ถังขยะ ควรออกแบบให้มีความสัมพันธ์กับสวน เช่น ทำเป็นรูปดอกไม้ หรือใช้ทำเป็นกรอบถังขยะ (ประเวศ ไชยวงศ์ 2541 : 28) ความสำคัญและประโยชน์ของการจัดภูมิทัศน์ในโรงเรียน นักการศึกษาไทยได้เล็งเห็นความสำคัญของการจัดภูมิทัศน์ในโรงเรียนมานานแล้วโดยมีการกำหนดไว้ ในนโยบายและหลักสูตรอย่างชัดเจนเพื่อให้โรงเรียนต่าง ๆนำไปปรับใช้ให้มีความสอดคล้องกับสภาพของ ท้องถิ่น เช่น กรมสามัญศึกษา โดยอดีตอธิบดีกรม ดร.โกวิท วรพิพัฒน์ได้ประกาศความเชื่อว่า โรงเรียนที่ สะอาดร่มรื่น เรียบง่าย แจ่มใส มีชีวิตชีวา วัสดุอาคารสถานที่ได้รับการดูแลจัดบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมได้ดี ย่อมทำให้นักเรียนได้รับอิทธิพลเป็นคนละเอียดอ่อน จิตใจแจ่มใส รักสวยรักงาม รักษาความสะอาด รักความ สงบ เรียบง่ายและรักความร่มรื่นไปด้วย เพื่อให้เด็ก ๆ ได้เห็นแบบอย่างที่ดีและซึมซับความรักธรรมชาติ มี จิตใจอ่อนโยน สิ่งแวดล้อมจึงเป็นเสมือน "ครูที่พูดไม่ได้" ของเด็กทุกคน ครูที่พูดไม่ได้จึงหมายถึงสภาพแวดล้อม ที่ร่มเย็น เป็นระเบียบสวยงามในโรงเรียน เป็นสิ่งหนึ่งที่จะช่วยให้นักเรียนแจ่มใส สงบ มีคุณค่าต่อจิตใจ และต่อ การจัดการศึกษา ทำให้คุณธรรมน้ำใจอันพึงประสงค์ได้เกิดในตัวเด็ก โดยอาศัยอิทธิพลจากครูที่พูดได้ และครูที่ พูดไม่ได้อีกทางหนึ่ง นอกจากนี้แล้วนักจิตวิทยาการศึกษายังได้ให้ความสำคัญกับบริเวณโรงเรียนว่าเป็นเครื่อง เชิดหน้าชูตาของโรงเรียน ทำให้ผู้เรียนเกิดความเลื่อมใส ศรัทธาจึงควรจัดสถานที่ให้สะอาดเรียบร้อย ทำรั้ว รอบบริเวณโรงเรียนให้มีความปลอดภัย ตบแต่งให้มีความสวยงามหน้าอาคารเรียนควรทำสวนไม้ดอกไม้ ประดับ บริเวณโรงเรียนควรปลูกต้นไม้ใหญ่ ๆ เช่น จามจุรี หางนกยูง เสลา ประดู่ สำหรับให้นักเรียนได้พักใน
8 ร่มเงาตอนกลางวัน เพื่อบรรเทาความร้อน เพื่อกรองฝุ่นและช่วยต้านลม อีกทั้งสีเขียวของใบไม้จะช่วยพักผ่อน จิตใจ พักผ่อนนัยน์ตาให้แก่นักเรียนได้ (สุชา จันทร์เอม 2518 : 47) สำหรับสำนักงานคณะกรรมการการ ประถมศึกษาแห่งชาติได้ให้ความสำคัญต่อการจัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนโดยกำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของงาน อาคารสถานที่มีการกำหนดเกณฑ์ของการจัดทำไว้ 5ระดับตามความพร้อมของแต่ละโรงเรียน เนื่องจาก โรงเรียนประถมศึกษามีข้อจำกัดเรื่องงบประมาณ จึงยืดหยุ่นในเรื่องรายละเอียดการจัดสภาพแวดล้อมของแต่ ละโรงเรียนเกณฑ์มาตรฐานระดับที่ 5 ซึ่งเป็นขั้นสูงสุดกำหนดไว้ว่ามีการจัดอาคารเรียนให้เหมาะสมกับ กิจกรรมการเรียนการสอน มีการจัดสภาพแวดล้อมที่ดี เหมาะสมกับสภาพโรงเรียน ให้ความสำคัญกับ สิ่งแวดล้อมในโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง และในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการได้บัญญัติให้สิ่งแวดล้อมเป็นหนึ่งใน บัญญัติ 10 ประการ เพื่อใช้ปฏิบัติทั่วประเทศ คือ ให้มีการจัดบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้เอื้อ ต่อการเรียนการสอน ให้ฝึกปฏิบัติจริง ปลูกฝังเรื่องความสะอาด ความมีระเบียบการจัดโรงเรียนให้มีความร่ม รื่น มีต้นไม้ มีแหล่งน้ำ ไร้ฝุ่น ไร้มลภาวะ (กองวิชาการ 2539 : 39) งานภูมิทัศน์ ในเชิงของการพัฒนาโครงการ "งานภูมิทัศน์" หมายถึงพื้นที่ภายนอกอาคารที่มีการปรับแต่งพื้นที่ให้มี ประโยชน์ใช้สอยที่มีประสิทธิภาพ มีความร่มรื่นสวยงามและมีเอกลักษณ์ รวมทั้งการมีองค์ประกอบพื้นฐาน เช่น ระบบการให้แสงสว่าง ระบบให้น้ำต้นไม้ ระบบระบายน้ำและระบบป้องกันน้ำท่วม ระบบอำนวยความ สะดวก เช่น ม้านั่ง ถังขยะ ป้าย ตลอดจนสิ่งประเทืองใจ เช่น น้ำพุ น้ำตก หรือประติมากรรม งานภูมิทัศน์มีทั้งขนาดเล็กที่ไม่ซับซ้อนที่เรียกว่าสวนประดับ หรือ สวนหย่อม ไปจนถึงงานซับซ้อน และมีขนาดใหญ่ เช่น สวนสาธารณะขนาดใหญ่ในเมือง งานภูมิทัศน์โรงแรมพักผ่อนหรูขนาดใหญ่ งานผัง บริเวณโครงการขนาดใหญ่ งานลานเมืองและสถานที่สำคัญอื่นๆ ในเชิงการออกแบบและก่อสร้าง “งานภูมิทัศน์” หมายถึงชุดงานที่แยกออกจากงานอาคารและงาน ภายในเพื่อความสะดวกในการประมูลและก่อสร้างเนื่องจากผู้รับเหมาก่อสร้างภูมิทัศน์มีความชำนาญและมี ลักษณะการทำงานที่แตกต่างจากผู้รับเหมางานอาคารและงานภายใน ภูมิทัศน์ คือความสวยงามที่หมายถึง ความเป็นระเบียบและความ ปลอดภัย สอดคล้องกับอัตลักษณ์ที่ เป็นวิถีชุมชน ประโยชน์ที่ได้จากการจัดภูมิทัศน์ มีผลต่อคุณภาพชีวิต ทั้งทางด้านร่างกายและด้านจิตใจ ดังนี้ 1. ช่วยเพิ่มคุณค่าให้กับทรัพยากรบางชนิด เช่น พรรณไม้ หิน ตอไม้ ฯลฯ 2. เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ หรือสถานที่ออกกำลังกาย ช่วยผ่อนคลายความเครียด 3. ใช้เป็นสถานที่ศึกษาพรรณไม้ต่าง ๆ 4. ทำให้สถานที่ดูสะอาด ร่มรื่น และสวยงาม 5. ช่วยกระตุ้นให้ผู้พบเห็นเกิดความสนใจ อยากรู้ อยากศึกษา
9 6. ช่วยแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมดังนี้ 6.1 ช่วยลดปริมาณแสงแดด ฝุ่นละออง เสียง หมอกควัน 6.2 ลดความรุนแรงและเปลี่ยนทิศทางของลม 6.3 ลดความร้อนและมีการไหลของอากาศ 6.4 ลดการชะล้างพังทลายของดิน 6.5 ช่วยปิดบังพื้นที่ที่ไม่น่าดู เช่น ซอกมุมเหลี่ยม ใต้ถุนอาคาร ที่ทิ้งขยะ 6.6 ช่วยทำให้อากาศบริสุทธิ์ ลดกลิ่นเหม็น 7. ผู้มีประสบการณ์ ความรู้ ความสามารถ สามารถทำเป็นงานอดิเรก หรือทำเป็นอาชีพ 8. ช่วยหล่อหลอมให้มนุษย์มีจิตใจสงบ เยือกเย็น 9. ทำให้พื้นที่มีขอบเขต เป็นสัดส่วน เป็นที่รวมของพรรณไม้นานาชนิด 10. มีการแบ่งพื้นที่อย่างเป็นสัดส่วน ทำให้การใช้พื้นที่เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งในด้าน ประโยชน์ใช้ สอย และความสวยงาม สถิติที่ใช้ในการประเมิน ระดับความพึงพอใจ 1. ความหมาย แบบสอบถามวัดระดับความพึงพอใจ สร้างตามแนวคิด ทฤษฎีของ หลักการ วิธีการทางการ ของ รศ. วัฒนา สุนทรธัย ในการตัดสินใจเพื่อประเมินค่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยใช้คะแนนหรือตัวเลขเป็นเกณฑ์การ ตัดสินใจนั้น ถ้าการวัดผลมีความแม่นยำเกณฑ์การตัดสินใจมีความขัดเจน และผู้ตัดสินมีความรู้เพียงพอแล้ว ใครตัดสินใจก็จะได้ผลลัพธ์ตรงกัน แต่ถ้าการวัดผลขาดความแม่นยำ เกณฑ์การตัดสินใจไม่มีความขัดเจนพอ และ/หรือผู้ตัดสินมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนแล้ว ผลการตัดสินใจจะขึ้นอยู่กับผู้ประเมิน ซึ่งจะขาดความเป็น มาตรฐาน เข่น ถ้าเรื่องที่ตัดสินใจ คือ การสอบได้สอบ ตกแล้ว ผู้รับการประเมินอาจถูกตัดสินว่าสอบได้ทั้งๆ ที่ ควรจะสอบตก หรือถูกตัดสินว่าสอบตกทั้งๆ ที่ควรจะสอบได้ ซึ่งการตัดสินใจจะมีผลกระทบต่อผู้รับการ ประเมินทั้งทางบวกและทางลบ การนำไปใช้จากมัธยฐาน 1.50 จะได้ช่วงของระดับที่ 1 คือ 1,.00-1.49 และ ระดับที่ 2 คือ 1.51-2.49หากผลการคำนวณตรงกับ1.50 ก็ให้รายงานว่า "ผลการประเมินอยู่ระหว่างระตับที่ 1 และ 2" แต่การนำเสนอเช่นนี้ไม่สะดวกในการนำไปใช้ จึงไม่เป็นที่นิยม ดังนั้นจึงมีทางเลือกสองวิธี คือ วิธีที่ 1 ใช้ระดับที่ 1 คือ 1.00-1.49และระดับที่ 2 คือ 1.50-2.49 หรือ วิธีที่ 2 ใช้ระดับที่ 1 คือ 1.00-1.50 และระดับ ที่ 2 คือ 1.51- 2.50 2. เครื่องมือวัดระดับความพึงพอใจ แบบสอบถามวัดระดับความพึงพอใจ
10 3. วิธีการสร้างเครื่องมือวัดระดับความพึงพอใจ ศึกษาวิธีการสร้างแบบสอบถามความพึงพอใจเพื่อเป็นกรอบในการสร้างคำถามสร้างแบบสอบถาม ความพึงพอใจโดยใช้ข้อคำถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale)กำหนดค่าคะแนนเป็น 5 ระดับ ตามวิธีของพวงรัตน์ ทวีรัตน์(2540) และกำหนดเกณฑ์มาทำข้อมูล 4. การประเมินระดับความพึงพอใจด้วยค่าเฉลี่ย วิเคราะห์ด้วยช่วงระดับค่าเฉลี่ยตามเกณฑ์ของ พวงรัตน์ ทวีรัตน์(2540) ดังนี้ ระดับความพึงพอใจ ระดับค่าเฉลี่ย มากที่สุด 4.50 - 5.00 มาก 3.50 - 4.49 ปานกลาง 2.50 - 3.49 น้อย 1.50 - 2.49 น้อยที่สุด 1.00 - 1.49 5. สูตรที่ใช้คำนวน สูตรคำนวณหาค่าเฉลี่ย คือ ค่าเฉลี่ย คือ ผลรวมของข้อมูลทั้งหมด คือ จำนวนข้อมูลทั้งหมด สูตรคำนวณหาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน คือ ค่าเฉลี่ย คือ ผลรวมของข้อมูลทั้งหมด คือ จำนวนข้อมูลทั้งหมด
11 บทที่3 วิธีดำเนินการ กิจกรรม ระยะเวลา ผู้รับผิดชอบ 1.ขั้นเตรียมการ (P) - จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติจากผู้บริหารโรงเรียน - จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน ประชุม คณะกรรมการเพื่อวางแผนดำเนินงาน 11-13 มิถุนายน 2565 นักศึกษาฝึกประสบการณ์ วิชาชีพครูชั้นปีที่ 4 และ ชั้นปีที่ 5 2. ขั้นดำเนินการ (D) - อุปกรณ์ที่ใช้ในโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์และความ สะอาดในโรงเรียนท่าปลาอนุสรณ์1 - การแบ่งภาระหน้าที่ในการจัดทำโครงการปรับปรุง ภูมิทัศน์และความสะอาดในโรงเรียนท่าปลาอนุสรณ์1 - การจัดเตรียมสถานที่การจัดกิจกรรมโครงการ ปรับปรุงภูมิทัศน์และความสะอาดในโรงเรียนท่าปลา 11-28 กรกฎาคม 2565 นักศึกษาฝึกประสบการณ์ วิชาชีพครูชั้นปีที่ 4 และ ชั้นปีที่ 5 3. ขั้นนิเทศติดตามผล (C) - เจ้าของโครงการ นิเทศติดตามการดำเนินงาน และ คอยอำนวยความสะดวกในการดำเนินกิจกรรมของ ผู้เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามภาระงานที่โครงการกำหนด ตลอดการจัดกิจกรรม นักศึกษาฝึกประสบการณ์ วิชาชีพครูชั้นปีที่ 4 และ ชั้นปีที่ 5 4. ขั้นประเมินและรายงานผล (A) - จัดทำแบบประเมินความพึงพอใจ ประเมินและสรุปผล การประเมินความพึงพอใจสรุปผลการดำเนินงาน โครงการและรายงานผู้บริหาร 30 มิถุนายน 2565 นักศึกษาฝึกประสบการณ์ วิชาชีพครูชั้นปีที่ 4 และ ชั้นปีที่ 5
12 ระยะเวลาดำเนินการ วันเสาร์ที่ 11 มิถุนายน 2565 -วันศุกร์ที่ 30 มิถุนายน 2565 แผนการดำเนินการ กิจกรรม เดือน มิถุนายน 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 ประชุมชี้แจงวางแผนจัดทำ โครงการ ดำเนินการจัดเตรียม โครงการ ดำเนินการตามโครงการ จัดทำรายงานสรุปโครงการ สถานที่ดำเนินการ สนามกีฬาโรงเรียนท่าปลาอนุสรณ์ 1 และสัญลักษณ์ต่างๆ ภายในโรงเรียน งบประมาณของโครงการ 1500 บาท จำแนกค่าใช้จ่ายดังนี้ - ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการทาสี - ค่าสีสำหรับทาสนามและทาสัญลักษณ์ต่างๆ ภายในโรงเรียน
13 บทที่ 4 ผลการดำเนินงาน ผลงาน (Output) 1. นักเรียนมีสนามกีฬาที่เอื้ออำนวยต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้านพลศึกษา 2. นักเรียนมองเห็นสัญลักษณ์ต่างๆ ภายในโรงเรียนชัดเจนและปฏิบัติตามได้ถูกต้อง ผลลัพธ์ (Effects) 1. นักเรียนมีสนามกีฬาที่เอื้อต่อการทำกิจกรรมต่างๆ ทั้งในด้านกิจกรรมการเรียนการสอน หรือการ ออกกำลังกายเล่นกีฬาในเวลาพัก 2. นักเรียนมองเห็นสัญลักษณ์ต่างๆ ภายในโรงเรียนได้ชัดเจนขึ้นและปฏิบัติตนตามสัญลักษณ์ได้ ถูกต้อง
14 ผลการประเมินความพึงพอใจ สอบถามโครงการทาสีปรับปรุงภูมิทัศน์ภายในโรงเรียนท่าปลาอนุสรณ์ 1 ได้แก่ นักเรียนโรงเรียนท่า ปลาอนุสรณ์ 1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ถึง และนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูชั้นปีที่ 4 และชั้นปีที่ 5 รวม ทั้งหมด 25 คน เกณฑ์การประเมิน ค่าเฉลี่ย การแปล ความหมาย ค่าเฉลี่ย ส่วน เบี่ยงเบน มาตรฐาน การแปล ความหมาย เบี่ยงเบนมาตรฐาน 1. ระยะเวลาในการจัดกิจกรรมเหมาะสม 4.40 มาก 0.5 มากที่สุด 2. ความเหมาะสมของสถานที่ที่ ใช้ในการจัด กิจกรรม 4.60 มากที่สุด 0.5 3. ช่วยให้ภูมิทัศน์ภายในโรงเรียนได้รับการดูแล และมีสภาพความเป็นอยู่ดีขึ้น 4.64 มากที่สุด 0.489 มากที่สุด 4. นักเรียนได้ประโยชน์จากกิจกรรมโครงการ ทาสีปรับปรุงภูมิทัศน์ภายในโรงเรียนท่าปลา อนุสรณ์ 1 4.68 มากที่สุด 0.748 มากที่สุด 5. ความพึงพอใจที่มีต่อโครงการโครงการทาสี ปรับปรุงภูมิทัศน์ภายในโรงเรียนท่าปลา อนุสรณ์ 1 โดยภาพรวม 4.64 มากที่สุด 0.489 มากที่สุด เฉลี่ยรวม 4.59 มากที่สุด 0.575 มากที่สุด จากตารางแสดงค่าเฉลี่ยความพึงพอใจต่อการจัดโครงการทาสีปรับปรุงภูมิทัศน์ภายในโรงเรียนท่าปลา อนุสรณ์ 1 ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ย 4.59 ซึ่งอยู่ในระดับมีความพึงพอใจมากที่สุด โดยที่ความคิดเห็นของนักเรียน ไม่แตกต่างกันมาก (S.D. = 0.575) ส่วนในรายละเอียดประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ นักเรียนได้ประโยชน์ จากกิจกรรมโครงการทาสีปรับปรุงภูมิทัศน์ภายในโรงเรียนท่าปลาอนุสรณ์ 1 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.68 อยู่ใน ระดับมากที่สุด และประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ระยะเวลาในการจัดกิจกรรมเหมาะสม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.40
15 บทที่5 สรุปอภิปรายผล และข้อเสนอแนะ สรุป อภิปรายผล การลงมือปฏิบัติทำโครงการทาสีปรับปรุงภูมิทัศน์ภายในโรงเรียนท่าปลาอนุสรณ์ 1 ขั้นแรก เรามีการประชุมวางแผนว่าจะทำอะไรก่อนหลังและเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ในการทาสีต่อมาก็เป็นการลงมือ ทำทาสี โดยเราจะเริ่มที่ใต้อาคารที่ใช้เข้าแถว จากนั้นทาสีบริเวรรอบๆ ภายโรงเรียนที่สีได้มีการซีดจางหายไป ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้คือ โรงเรียนมีภูมิทัศน์ที่ดีขึ้นเหมาะสมต่อการเรียนรู้ นักเรียนมองเห็นสัญลักษณ์ต่างๆ ภายใน โรงเรียนได้ชัดเจนขึ้นและปฏิบัติตนตามสัญลักษณ์ได้ถูกต้อง นักเรียนมีสนามกีฬาที่เอื้อต่อการทำกิจกรรมต่างๆ ทั้งในด้านกิจกรรมการเรียนการสอน หรือการออกกำลังกายเล่นกีฬาในเวลาพัก และผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รู้จัก การปฏิบัติหน้าที่ของตนเองและรู้จักการเสียสละประโยชน์ส่วนตนเพื่อประโยชน์ส่วนรวม มีการวางแผนในการ ทำงานและความสามัคคีต่อสมาชิกในหน่วยฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มีใจที่เป็นจิตอาสาแบบนี้ต่อไป ข้อเสนอแนะ/ความคิดเห็น 1. เป็นกิจกรรมที่ดีมาก ช่วยสร้างภูมิทัศน์ต่อสถานที่การศึกษา 2.เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้นักเรียนมีสนามกีฬาที่เอื้อต่อการทำกิจกรรมต่างๆ ทั้งในด้านกิจกรรมการเรียนการสอน หรือการออกกำลังกายเล่นกีฬาในเวลาพัก
16 ภาคผนวก
17 รายชื่ อนักศึกษาที่ เข้าร่วม โครงการ 1.นางสาวเพชรรี ผาแดง 2.นางสาววรัญญา บุดดาวัน 3.นางสาววารุณี รัตนาจารย์ 4.นางสาวบุณยวีร์ ทับทองดี 5.นายธนวัฒน์ หมื่นแสน 6.นายภูเบศวร์ พ่อแก้ว 7.นางสาวพิมพ์ฤทัย คลังวิเชียร 8.นางสาวเรณุกา อ๊อตกัน 9.นางสาวศิดาพิชญ์วงษ์ชัย 10.นายทัศนภูมิ พาพิมพ์ 11. นางสาวอรัชพร ปราบหงษ์ 12. นางสาววนิดา พาสุวรรณ์ 13. นางสาววันวิสาข์ เขียวประจำ 14. นายวุฒิชัย แสนสงคราม 15. นางสาวนันทวรรณ จันทร์กอง
18 แบบประเมินโครงการทาสีปรับปรุงภูมิทัศน์ภายในโรงเรียนท่าปลาอนุสรณ์ 1 คำชี้แจง แบบประเมิน : โปรดเติมเครื่องหมาย ✓ และกรอกข้อความให้สมบูรณ์ ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม 1. เพศ ชาย หญิง 2. อายุ ต่ำกว่า 20 ปี 20-39 ปี 40- 49 ปี 50-59 ปี 60 ปีขึ้นไป 3. อาชีพ นักเรียน นักศึกษา อื่นๆ…………………… ส่วนที่ 2 ความพึงพอใจ ระดับ 5 = มากที่สุด 4 = มาก 3 = ปานกลาง 2 = น้อย 1 = น้อยที่สุด ลำดับ เกณฑ์การประเมิน ระดับการประเมิน 5 4 3 2 1 1. ระยะเวลาในการจัดกิจกรรมเหมาะสม 2. ความเหมาะสมของสถานที่ที่ ใช้ในการจัดกิจกรรม 3. ช่วยให้ภูมิทัศน์ภายในโรงเรียนได้รับการดูแลและมีสภาพ ความเป็นอยู่ดีขึ้น 4. นักเรียนได้ประโยชน์จากกิจกรรมโครงการทาสีปรับปรุงภูมิ ทัศน์ภายในโรงเรียนท่าปลาอนุสรณ์ 1 5 ความพึงพอใจที่มีต่อโครงการโครงการทาสีปรับปรุงภูมิทัศน์ ภายในโรงเรียนท่าปลาอนุสรณ์ 1 โดยภาพรวม ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ............................................................................................................................. ................................................. .............................................................................................................................................................................. ............................................................................................................................. ................................................. ............................................................................................................................. .................................................
บันทึกข้อความ ส่วนราชการ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ที่ คศ. / ๒๕๖๕ วันที่ 5 กรกฎาคม ๒๕๖๕ เรื่อง ขอเสนอโครงการทาสีปรับภูมิทัศน์ เรียน ผู้อำนวยการโรงเรียนท่าปลาอนุสรณ์ 1 สิ่งที่ส่งมาด้วย โครงการทาสีปรับภูมิทัศน์ ด้วยนักศึกษาปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 โรงเรียนท่าปลาอนุสรณ์ 1 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราช ภัฏอุตรดิตถ์ ได้จัดโครงการทาสีปรับภูมิทัศน์ ให้กับโรงเรียนที่ใต้ถุนอาคารหลังใหม่บริเวณจุดที่นักเรียนเข้าแถว เคารพธงชาติใน วันพฤหัสบดี ที่ 28 กรกฎาคม 2565 ณ วัดบ้านเนินสวน ดังนั้นจึงขอเสนอโครงการจิตอาสาเพื่อพัฒนาชุมชนวัดบ้านเนินสวน โดยรายละเอียดโครงการตามเอกสารที่ แนบมาพร้อมนี้ จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา และขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงมา ณ โอกาสนี้ ลงชื่อ....................................................ผู้อนุมัติโครงการ ( นายนิรุจน์ นาสม ) ผู้อำนวยการโรงเรียนท่าปลาอนุสรณ์ 1