The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

แหล่งเรียนรู้โรงเรียนนครหลวงอุดมรัชต์วิทยา เรื่องการทำมีดอรัญญิก

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by panisasatthasri, 2022-11-01 06:55:15

แหล่งเรียนรู้โรงเรียนนครหลวงอุดมรัชต์วิทยา เรื่องการทำมีดอรัญญิก

แหล่งเรียนรู้โรงเรียนนครหลวงอุดมรัชต์วิทยา เรื่องการทำมีดอรัญญิก

แหล่งเรียนรู้
โรงเรียนนครหลวง "อุดมรัชต์วิทยา"

การตีมีดแห่งชุมชนอรัญญิก

ประวัติมีดอรัญญิก

มีดอรัญญิก เดิมเป็นของชาวเวียงจันทร์และได้อพยพเข้ามาพร้อม

กับนำความรู้และเทคนิกการทำเครื่องมือที่ใช้จากเหล็กหรือที่เรียกกันว่า

“การตีมีด” และส่วนหนึ่งเป็นช่างทองรูปพรรณ โดยลักษณะของมีดมี

ขนาดเหมาะมือและสวยงามมาก ฝักและด้ามประดับด้วยทองคำสลักลาย

นูน เฉพาะด้ามที่จับถักหุ้มด้วยลวดเงิน ทำให้เกิดผิวสากจับได้กระชับมือ

ไม่ลื่นไถล สัญนิษฐานว่าการตีมีดดาบอรัญญิกในสมัยก่อน ทำขึ้นเพื่อใช้

ง า น แ ล ะ ใ ช้ เ พื่ อ แ ส ด ง ตำ แ ห น่ ง ย ศ ด้ ว ย ช า ว เ วี ย ง จั น ท ร์ ไ ด้ อ พ ย พ เ ข้ า พึ่ ง

พระบรมโพธิสมภารพระบาทสมเด็จพระพุ ทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2

แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ในปี พ.ศ. 2365 สาเหตุเนื่องจากเวียงจันทร์ขณะ

นั้นเกิดการทำมาหากินอัตคัดขาดแคลน จนโจรผู้ร้ายชุกชุมนั่นเอง

แหล่งที่มาของข้อมูล
https://fieldtrip.ipst.ac.th / wangnoibeverage.co.th / yutthayastudies.aru.ac.th
อ้างในถึง https://travel.mthai.com/blog/97749.html

แหล่งเรียนรู้
โรงเรียนนครหลวง "อุดมรัชต์วิทยา"

การตีมีดแห่งชุมชนอรัญญิก

ที่มาของคำว่า “ มีดอรัญญิก”

ในสมัยก่อนมีตลาดร้านค้า มีโรงบ่อน อยู่ที่บ้านอรัญญิก ตำบล
ปากท่า อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งออยู่ไม่ไกลจาก
หมู่บ้านต้นโพธิ์ และบ้านไผ่หนองมากนักระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร มี
ผู้คนนำสินค้ามาซื้อขายแลกเปลี่ยนกันมากในยุคนั้นชาวบานก็นำเอามีดไป
ขาย เมื่อคนที่ซื้อไปใช้เห็นว่าคุณภาพดี จึงบอกต่อ ๆ กันไปว่ามีดคุณภาพ
ต้องมีด “ อรัญญิก” เลยเรียกติดปาก ไปหาซื้อมีดต้องไปที่อรัญญิก ที่
จริงแล้วทำที่หมู่บ้านต้นโพธิ์ หมู่บ้านไผ่หนอง และหมู่บ้านอื่น ๆ ซึ่งเป็น
ที่มาของคำว่า “มีดอรัญญิก”

ลักษณะทั่วไปของผลิตภัณฑ์อรัญญิก มีผู้ทำการศึกษา ค้นคว้า
เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์มีดอรัญญิกพบว่า ผลิตภัณฑ์มีดอรัญญิกที่ผลิตอยู่ใน
ปัจจุบัน มีอยู่ด้วยกัน 4 ตระกูล ได้แก่ มีดตระกูลเกษตรกรรม มีดตระกูล
คหกรรม มีดตระกูลอาวุธ และมีดตระกูล อื่น ๆ แต่ตระกูลสามารถจำแนก
ตามลักษณะประเภทของการใช้งานได้อีก 12 ประเภทอันได้แก่ ประเภทมีด
ชุด ประเภทดายหญ้า ประเภทตัด ประเภทมีดครัว ประเภทมีดบนโต๊ะ
อาหาร ประเภทอุปกรณ์โต๊ะอาหาร ประเภทพา ประเภทเก็บไว้ในเรือน
ประเภทของขวัญ ประเภทของชำร่วย และประเภทประดับ ซึ่งในแต่ละ
ประเภทนั้นประกอบไปด้วยชนิดมีดชนิดต่าง ๆ อีกมากมาย ซึ่งหลาก
หลายไปตามขนาดและความแตกต่างของวัสดุที่ใช้ในการผลิตของชิ้นส่วน
องค์ประกอบต่าง ๆ ซึ่งจากการศึกษาปรากฏว่ามีถึง 274 ชนิด
จากความหลากของผลิตภัณฑ์อรัญญิก จึงขอใช้คำว่า “มีดอรัญญิก”
แทนผลิตภัณฑ์อรัญญิกอื่น ๆ เพื่อความสะดวกในการนำเสนอ

แหล่งที่มาของข้อมูล
http://www.aranyik.go.th/index.phpop=dynamiccontent_detail&dynamiccontent_id=7850

แหล่งเรียนรู้
โรงเรียนนครหลวง "อุดมรัชต์วิทยา"

การตีมีดแห่งชุมชนอรัญญิก

ลักษณะเด่นของมีดอรัญญิก

มีดอรัญญิกมีลักษณะเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีดมีความเป็น

เลิศ มีความทนทานใช้การได้นานนับเป็นปี ๆ บางชนิดใช้งานได้ตลอดชีวิต

ของผู้ใช้ และมีความสวยงามประณีต มีรอบตีทำให้เหล็กแน่นแข็งแรง ตัว

มีดคมบางใช้เหล็กอย่างดี ทำให้คมมีดไม่แตกหรือบิ่น ด้ามมีดแต่ละชนิดจะ

แตกต่างกัน ด้ามไม้ใช้ไม้อย่างดี บางด้ามมีการฝังมุกให้สวยงาม ที่สำคัญ

คือ ตราที่ประทับบนตัวมีดแสดงให้เห็นว่าเป็นมีดอรัญญิกแท้

ปัจจุบันนี้ มีดที่ใช้เครื่องมือไฟฟ้า จะทำให้มีดมีความประณีตมาก

ตกแต่งลวดลายได้สวยงามดี บางรายมีแท่นปั้ นรูปมีดจะทำให้รูปมีดมี

ขนาดเท่า ๆ กัน และเหมือนกัน

แหล่งที่มาของข้อมูล : https://travel.mthai.com/blog/97749.html
แหล่งข้อมูลภาพ : https://www.nairobroo.com/travel/aranyik-knife/

แหล่งเรียนรู้
โรงเรียนนครหลวง "อุดมรัชต์วิทยา"

การตีมีดแห่งชุมชนอรัญญิก

การทำมีดอรัญญิก

ในสมัยก่อน การทำมีดต้องอาศัยคนงานหลายคน เช่น คนตีพะเนิน
จะต้องฝึกหัดกันมาเป็นอย่างดี จะต้องรู้ว่ามีดรูปไหนควรตีตรงไหน และจะ
ต้องคอยฟังสัญญาณการใช้เสียงของผู้จับเหล็กนี้ ตามภาษาชาวบ้าน
เรียกว่า “หน้าเตา” ซึ่งจะต้องเป็นคนที่มีความรู้เกี่ยวกับการทำมีดเป็น
อย่างดีเยี่ยม

สถานที่ใช้ในการทำงานบริเวณหมู่บ้านตีมีดเกือบทั้งตำบลท่าช้างจะ
มีลักษณะการตั้งบ้านเรือนอยู่แบบขนานไปกับสองฟากฝั่ งของแม่น้ำป่าสัก
แต่ละหลังจะปลูกบ้านแบบใต้ถุนสูง เพื่อป้องกันน้ำที่อาจจะเอ่อล้นสอง
ฟากฝั่ งแม่น้ำขึ้นมาท่วมบ้านเรือนได้ การตีมีดของชาวบ้านส่วนใหญ่จะใช้
บริเวณใต้ถุนบ้านเป็นที่ประกอบการทำมีด ตั้งแต่การปัดมีดคม ไล่มีด การ
ลับมีด ยกเว้นการเผาเหล็กให้ร้อนแดง ส่วนมากชาวบ้านจะสร้างเป็นโรง
เรือนเล็ก ๆ ต่างหาก เพื่อป้องกันอัคคีภัยที่จะเกิดขึ้นมาได้ ถึงแม้บริเวณ
ใต้ถุนของชาวบ้านจะสูงโปร่งก็ตามแต่ลักษณะของงานที่ต้องใกล้กับความ
ร้อนจากเตาเผาเหล็ก

แหล่งที่มาของข้อมูล
https://fieldtrip.ipst.ac.th / wangnoibeverage.co.th / yutthayastudies.aru.ac.th
อ้างในถึง https://travel.mthai.com/blog/97749.html

แหล่งเรียนรู้
โรงเรียนนครหลวง "อุดมรัชต์วิทยา"

การตีมีดแห่งชุมชนอรัญญิก

ขั้นตอนการผลิตมีด

เตรียมการตีมีด มีปัจจัยที่สำคัญ 3 ประการ คือ
1. เตรียมคน : ต้องใช้คน 3-4 คนขึ้นไป โดยเฉพาะ การตีมีดในขั้นตอน
ที่ 1 (การหลาบ) ต้องใช้คนที่มีพละกำลัง ร่างกายแข็งแกร่ง ตลอด
จนต้องมีความสามัคคี และประสบการณ์ เป็นอย่างมาก
2. เตรียมอุปกรณ์ : เป็นอุปกรณ์ และเครื่องมือเครื่องใช้ สำหรับช่างตี
เหล็ก หรือช่างตีมีดโดยเฉพาะ เช่น ทั่ง ค้อน พะเนิน คีม สูบลม เตา
เผาเหล็ก ตะไบ เหล็กขูด เหล็กไช รางน้ำชุบมีด เขื่อนตัดเหล็ก ขอไฟ
หินหยาบ-ละเอียด ทั่งขอ เถาวัลย์เปรียง หลักสี่ (ปากกา) กบ และ
เลื่อย เป็นต้น
3. เตรียมวัตถุดิบ : วัสดุที่สำคัญในการตีมีดเป็นอันดับแรกได้แก่
เหล็กกล้า ที่ต้องใช้ความชำนาญในการดูสีของเหล็กขณะชุบ ซึ่งเป็น
ภูมิปัญญาอย่างหนึ่งสำหรับช่างตีมีดอันดับต่อไปคือ ถ่านไม้ไผ่ ซึ่งจะ
เป็นถ่านที่มีประสิทธิภาพสูงในการเผาเหล็ก ต่างจากถ่านจากไม้ทั่ว ๆ
ไป และอันดับสุดท้ายคือ ไม้ที่ใช้ทำด้ามมีด ซึ่งวัสดุดังกล่าวข้างต้น จะ
มีผู้นำมาจำหน่ายในชุมชนแหล่งผลิตมีดเลย

แหล่งที่มาของข้อมูล : https://fieldtrip.ipst.ac.th / wangnoibeverage.co.th / yutthayastudies.aru.ac.th

อ้างในถึง https://travel.mthai.com/blog/97749.html
แหล่งที่มาของภาพ : https://www.nairobroo.com/travel/aranyik-knife/

แหล่งเรียนรู้
โรงเรียนนครหลวง "อุดมรัชต์วิทยา"

การตีมีดแห่งชุมชนอรัญญิก

การดำเนินการผลิต

มีดอรัญญิก จะมีขั้นตอนในการทำโดยสรุป 10 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 ตัดเหล็กให้ได้ขนาด
ตามความต้องการ เผาไฟให้
แดงแล้วนำออกมาจากเตาให้คน
สามคนใช้พะเนินตีจนได้รูปหุ่น
หรือกูน(ชาวบ้านเรียกว่าการ “
หลาบ” เหล็ก)

ขั้นตอนที่ 2 เมื่อได้หุ่นหรือกูน
มีดแล้ว นำเอาเข้าเตาเผาไฟอีก
ครั้งหนึ่ง แล้วใช้คน คนเดียวตี
ด้วยค้อนเพื่ อขึ้นรูปมีดให้ได้
ตามความต้องการ (ชาวบ้าน
เรียกว่าการ “ซ้ำ” )

ขั้นตอนที่ 3 เมื่อซ้ำได้รูปมีด
แล้ว ทิ้งไว้ให้เย็น แล้วใช้ค้อนตี
จนเนื้อเหล็กเรียบเป็นมันเพื่ อ
ให้เนื้อเหล็กเหนียวแน่น
คมบาง ตัวมีดตรง (ชาวบ้าน
เรียกว่าการ “ ลำเรียบ หรือ
ไห่”

แหล่งที่มาของข้อมูล : https://fieldtrip.ipst.ac.th / wangnoibeverage.co.th / yutthayastudies.aru.ac.th

อ้างในถึง https://travel.mthai.com/blog/97749.html
แหล่งที่มาของภาพ : https://www.nairobroo.com/travel/aranyik-knife/

แหล่งเรียนรู้
โรงเรียนนครหลวง "อุดมรัชต์วิทยา"

การตีมีดแห่งชุมชนอรัญญิก

การดำเนินการผลิต

มีดอรัญญิก จะมีขั้นตอนในการทำโดยสรุป 10 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นตอนที่ 4 เมื่อไห่ได้รูปมีดพอ
สมควรแล้ว นำมาแต่งด้วยตะไบ
เพื่ อให้ได้รูปเล่มสวยงามขึ้น
(เรียกว่าการ “แต่ง” )

ขั้นตอนที่ 5 เมื่อแต่งด้วยตะไบ
ได้รูปแล้ว นำมาขูดคมให้บาง
โดยใช้เหล็กขูด เพื่อทำให้ตัว
มีดขาวและบาง (เรียกว่าการ
“ขูด” )

ขั้นตอนที่ 6 เมื่อขูดได้คมบาง
พอสมควรแล้ว ใช้ตะไบหยาบ
และตะไบละเอียดโสกตามตัว
มีด เพื่อให้ตัวมีดขาวเรียบร้อย
และคมจะบางยิ่งขึ้น (เรียก
ว่าการ “ โสก” )

แหล่งที่มาของข้อมูล : https://fieldtrip.ipst.ac.th / wangnoibeverage.co.th / yutthayastudies.aru.ac.th อ้างในถึง

https://travel.mthai.com/blog/97749.html
แหล่งที่มาของภาพ : https://www.nairobroo.com/travel/aranyik-knife/ และ โครงการผลิตภาพยนตร์สารคดี "มรดก
ของแผ่นดิน ศาสตร์และศิลป์แห่งภูมิปัญญาไทย" คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

แหล่งเรียนรู้
โรงเรียนนครหลวง "อุดมรัชต์วิทยา"

การตีมีดแห่งชุมชนอรัญญิก

การดำเนินการผลิต

มีดอรัญญิก จะมีขั้นตอนในการทำโดยสรุป 10 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 7 เมื่อโสกเรียบร้อยแล้วนำมาพานคม โดยใช้ตะไบละเอียด
พานขวางของคมมีดเพื่อให้คมมีดบางเฉียบ (เรียกว่าการ “ พานคม
มีด” )

ขั้นตอนที่ 8 เมื่อพานคมแล้วก็นามาชุบ “การชุบ” เป็นเรื่องสำคัญมาก
ช่างต้องมีความชำนาญเป็นพิเศษ โดยนำเข้าเผาไฟในเตาเพื่อให้คมแดง
ตามความต้องการว่าเผาขนาดไหนจึงจะเหมาะสมกับความกล้า แล้วชุบ
กับน้ำ คมของมีดจะกล้าแข็งไม่อ่อนและไม่บิ่น

แหล่งที่มาของข้อมูล : https://fieldtrip.ipst.ac.th / wangnoibeverage.co.th / yutthayastudies.aru.ac.th อ้างในถึง

https://travel.mthai.com/blog/97749.html
แหล่งที่มาของภาพ : https://www.nairobroo.com/travel/aranyik-knife/ และ โครงการผลิตภาพยนตร์สารคดี "มรดก
ของแผ่นดิน ศาสตร์และศิลป์แห่งภูมิปัญญาไทย" คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

แหล่งเรียนรู้
โรงเรียนนครหลวง "อุดมรัชต์วิทยา"

การตีมีดแห่งชุมชนอรัญญิก

การดำเนินการผลิต

มีดอรัญญิก จะมีขั้นตอนในการทำโดยสรุป 10 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 9 เมื่อชุบแล้วนำมา ฝน หรือลับ โดยใช้หินหยาบ และหิน
ละเอียด ให้คมได้ที่สมัยนี้ใช้หินกากเพ็ชร์ (เรียกว่าการ “ลับคม” )

ขั้นตอนที่ 10 เมื่อฝนหรือลับคมได้ที่แล้ว จึงนำมาเข้าด้ามมีด แล้วใช้
น้ำมันทาตัวมีดเพื่อกันสนิม เป็นเสร็จสิ้นขั้นตอนการทำมีด

แหล่งที่มาของข้อมูล : https://fieldtrip.ipst.ac.th / wangnoibeverage.co.th / yutthayastudies.aru.ac.th อ้างในถึง

https://travel.mthai.com/blog/97749.html
แหล่งที่มาของภาพ : https://www.touronthai.com/article/2135 และ โครงการผลิตภาพยนตร์สารคดี "มรดกของแผ่นดิน

ศาสตร์และศิลป์แห่งภูมิปัญญาไทย" คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

แหล่งเรียนรู้

โรงเรียนนครหลวง "อุดมรัชต์วิทยา"

การตีมีดแห่งชุมชนอรัญญิก

ประเพณีและวัฒนธรรม

ชาวบ้านที่ผลิตมีดอรัญญิก มีประเพณีและวัฒนธรรมที่ได้ถือปฏิบัติ
สืบทอดต่อ ๆ กันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ คือ งานมาฆบูชา บุญวิสาขบูชา บุญเข้า
พรรษา บุญตักบาตรรดอกไม้ บุญสงกรานต์ บุญเข้าสลาก บุญออกพรรษา
บุญมหาชาติ บุญกฐิน เป็นต้น ซึ่งถือได้ว่าเป็นประเพณีวัฒนธรรมของชนชาติ
ไทยทั่วไปที่ปฏิบัติกันมาเป็นประจำแต่ยังมีประเพณีที่สำคัญมากคือการ “ไหว้ครู”
หรือ “ไหว้ครูบูชาเตา” ถึงปีแล้วจะทำกันทุกหมู่บ้านไม่มีใครเว้นเลย เมื่อทำบุญ
บำเพ็ ญกุศลตรุษและสงกรานต์แล้วผู้ใหญ่จะประชุมหารือกำหนดวันไหว้ครูกัน
ส่วนมากกำหนดวันข้างขึ้นเดือน 6 ตรงกับวันพฤหัสบดี เมื่อหารือกันแล้วทุก
บ้านจะลงมือซ่อมเครื่องมือต่าง ๆ ให้เรียบร้อยก่อนกำหนดหนึ่งหรือสองวันและ
ทำความสะอาดเครื่องมือ แล้วนำมาวางไว้ในที่อันสมควร และเตาเผาเหล็กจะต้อง
ปั้ นกันใหม่ และจะเตรียมเครื่องสังเวยไหว้ครูอย่างครบครัน มีเครื่องบูชา
พระพุ ทธแต่งเป็นขันห้า มีข้าวดอก ดอกไม้ ธูป เทียน กรวยดอกไม้ 5 กรวย
เครื่องบูชาพระภูมิ เครื่องบูชาแม่ธรณี เครื่องบูชาเทพเจ้า (พระวิษณุกรรม) มีด
อกไม้ ธูปเทียน ด้วยสายสิญจน์ ทองคำเปลว น้ำหอม แป้งกระแจะ เครื่องนุ่งห่ม
แก้วแหวนเงินทอง โตกบายศรี ขนมต้มขาว ขนมต้มแดง (ภาษาชาวบ้านเรียก
ว่า “ พาขวัญ” ) เอาใบตองทำเป็นกรวยจำนวนมาก ใบคูณ ดอกคูณ ดอกดาว
เรือง ดอกบานชื่น ดอกบานไม่รู้โรย ใบทอง ใบนาค ใบชนชื่น ใส่ในกรวยเครื่อง
สังเวยก็มีหมู ไก่ และสุรา

พอรุ่งอรุณของเช้าวันพฤหัสบดี เขาจะนำเครื่องบูชาและอาหารคาวหวาน
เป็นเครื่องบูชา บูชาพระภูมิ แม่ธรณี ส่วนเครื่องสังเวยต่าง ๆ ที่ได้ตระเตรียมไว้
จะต้องนำมาวางไว้ที่เครื่องมือ แล้วจะทำพิธีสวดโองการเชิญเทพเจ้ามาเป็นสิริ
มงคล แล้วผู้ใหญ่ในเรือนนั้นจะเรียกลูกหลานมาบูชากราบไหว้ ขอพรอัน
ศักดิ์สิทธิ์อันเป็นมงคลแก่ทุกคนพอประมาณธูปหมดดอกแล้ว ผู้ใหญ่จึงจะเสสัง
(เลิกพิธี) และจะเรียกทุก ๆ คนมาช่วยกันผูกกรวยดอกไม้ติดกับเครื่องมือทุกชิ้น
เติมด้วยแป้งกระแจะหอม และปิดด้วยทองคำเปลวสุราที่นำไปไหว้นั้นทุกคนจะ
ต้องดื่ม เพราะถือว่าเป็นน้ำอัมฤตของครูอาจารย์ ซึ่งประสิทธิ์ประสาทให้เขาเหล่า
นั้นประสพแต่ความสำเร็จทุกประการแล้วยกจักโตก บายศรี มาวางไว้กลางบ้าน
ปู่ ย่า ตา ยาย พ่อ แม่ จะผูกขวัญ (ด้วยสายสิญจน์ผูกข้อมือ) ให้ศิลให้พรแก่
ลูกหลานทุกคน ผู้ใหญ่จะให้ลูกหลานเรียกญาติและผู้ที่เคารพนับถือ มรที่บ้านตน
เป็นอย่างนี้ทุกบ้าน (ภาษาชาวบ้านเรียนว่าค้ำคูณ) เพื่อเป็นสิริมงคลระหว่างกัน
สำหรับในวันนั้นทุกบ้านจะต้อนรับทุกคนที่มาเยือน ด้วยสุรา อาหาร อย่างหน้าชื่น
ตาบาน หากคนไหนเป็นคอเหล้า ดื่มโดยไม่ประมาณตน คาดว่าคงค้ำคูณได้ไม่ถึง
สามบ้านต้องเมาก่อนที่กล่าวมานี้ เป็นความจริง ทุก ๆ ปี โดยเฉพาะในวันนั้น
เขาถือว่าเป็นมงคล เรื่องอัปมงคลจะไม่เกิดขึ้นเลย

แหล่งที่มาของข้อมูล : http://www.aranyik.go.th/index.php?

op=dynamiccontent_detail&dynamiccontent_id=7850
แหล่งที่มาของภาพ : https://www.nairobroo.com/travel/aranyik-knife/

แหล่งเรียนรู้
โรงเรียนนครหลวง "อุดมรัชต์วิทยา"

การตีมีดแห่งชุมชนอรัญญิก

คุณค่าทางวัฒนธรรม

คนโบราณจะมีเทคนิคการสอนลูกหลาน ซึ่งถือว่าเป็นคุณค่าทาง
ภูมิปัญญาสอดแทรกได้อย่างดี ในประเพณีของการไหว้ครูบูชาเตา คือ

1. ทำให้เด็กมีจิตสำนึกถึงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้อบรมสั่งสอน คือ
ครูอาจารย์และเครื่องมือเครื่องใช้ในการประกอบอาชีพที่มีคุณค่า
สามารถเลี้ยงดูส่งเสริมให้ลูกหลานได้มีอาชีพเป็นหลักฐาน ส่งเสีย
ให้ได้ศึกษาเล่าเรียนตราบถึงทุกวันนี้ ปัจจุบันได้จัดสร้างรูปหล่อ
“พระวิษณุกรรม” ซึ่งเป็นครูใหญ่ของช่างทั้งปวง

2. ทำให้เกิดความสามัคคีกันในระหว่างช่างตีมีดด้วยกัน และเพื่อนบ้าน
โดยนำอาหารหวานคาว ไปแลกเปลี่ยนกัน ถือโอกาสเยี่ยมเยียน ให้
ศิลให้พรซึ่งกันและกัน ชาวบ้านเรียกว่า “ค้ำคูณ”

3. เครื่องมือเครื่องใช้ ในการประกอบอาชีพทุกชิ้น ที่ใช้มาตลอดทั้งปี
ย่อมมีการชำรุด เสียหาย เช่น ทั่ง พะเนิน หน้าอาจจะยุบ รวมทั้ง
เครื่องมืออื่น ๆ ทุกอย่าง ก็นำมาทำการซ่อมให้อยู่ในสภาพที่ดี
ทำความสะอาด ทาสี ปั่ นเตาใหม่ ก่อนทำพิธีไหว้ครูบูชาเตาและมื่อเส
ร็จสิ้นช่วงงานประเพณีไหว้ครูบูชาเตาแล้ว จะได้ใช้เครื่องมือดัง
กล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

แหล่งที่มาของข้อมูล : http://www.aranyik.go.th/index.php?

op=dynamiccontent_detail&dynamiccontent_id=7850
แหล่งที่มาของภาพ :

https://www.stou.ac.th/offices/rdec/nakornnayok/main/onlineexhibitions/Ayuthaya/AyuttayaPage2.html


Click to View FlipBook Version