The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

อวัยวะสืบพันธุ์เพศชาย (Male GenitalOrgan) อวัยวะสืบพันธุ์เพศชาย แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1. อวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก ได้แก่ ถุงอัณฑะ ลึงค์ 1.1 ถุงอัณฑะ (Scrotum) เป็นส่วนของผิวหนังที่ไม่มีไขมันใต้ผิวหนัง ยื่นลงมาจากหน้าท้

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by , 2022-09-14 12:32:38

อวัยวะสืบพันธุ์เพศชาย (Male GenitalOrgan) อวัยวะสืบพันธุ์เพศชาย แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1. อวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก ได้แก่ ถุงอัณฑะ ลึงค์ 1.1 ถุงอัณฑะ (Scrotum) เป็นส่วนของผิวหนังที่ไม่มีไขมันใต้ผิวหนัง ยื่นลงมาจากหน้าท้

อวัยวะสืบพันธุ์เพศชาย (Male GenitalOrgan) อวัยวะสืบพันธุ์เพศชาย แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1. อวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก ได้แก่ ถุงอัณฑะ ลึงค์ 1.1 ถุงอัณฑะ (Scrotum) เป็นส่วนของผิวหนังที่ไม่มีไขมันใต้ผิวหนัง ยื่นลงมาจากหน้าท้

อวัยวะสืบพันธุ์เพศชาย (Male GenitalOrgan)



อวัยวะสืบพันธุ์เพศชาย แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ



1. อวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก ได้แก่ ถุงอัณฑะ ลึงค์





1.1 ถุงอัณฑะ (Scrotum) เป็นส่วนของผิวหนังที่ไม่มีไขมันใต้ผิวหนัง ยื่นลงมา
จากหน้าท้อง มีกล้ามเนื้อเรียบปรากฏอยู่ (Dartus muscle) เป็นกล้ามเนื้อที่ช่วยปรับ
อุณหภูมิของอัณฑะ ให้ต่ำกว่าอุณหภูมิของร่างกาย ประมาณ 3-5 องศาเซลเซียส



1.2 ลึงค์ (Penis) ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของปัสสาวะ และเป็นอวัยวะในการร่วมเพศ
ลึงค์เป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดพิเศษ โดยปกติจะหดตัวอยู่ (Detumescence) แต่ถ้ามี

ความรู้สึกทางเพศ จะสามารถแข็งตัว (Erection of penis) ได้









2. อวัยวะสืบพันธุ์ภายใน ได้แก่ อัณฑะ ท่อและต่อมต่างๆ



2.1 อัณฑะ (Testis) เป็นอวัยวะสำคัญที่สุดในระบบสืบพันธุ์เพศชาย ทำหน้าที่สร้าง
อสุจิ และฮอร์โมนเพศชาย อัณฑะมีลักษณะรูปไข่อยู่ในถุงอัณฑะ ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน

เพศชาย คือ



เทสโทสเตอโรน โดยมีท่อนำอสุจิ ออกสู่ภายนอก คือ เอพิดิไดมิส (Epididymis)



2.2 หลอดเก็บอสุจิ (Epididymis) เป็นท่อขดไปมา วางตัวติดกับด้านหลังของ
อัณฑะ ประกอบด้วยส่วนหัว ส่วนลำตัว และส่วนหาง หลอดเก็บอสุจิยาวประมาณ 4-6

เซนติเมตร ทำหน้าที่เป็นที่เก็บอสุจิที่สร้างสมบรูณ์แล้ว



2.3 ท่อนำอสุจิ (Vas Deferens) เป็นท่อต่อจากส่วนหางของหลอดเก็บอสุจิ ยาว
ประมาณ 1 นิ้ว ทำหน้าที่นำอสุจิจากอัณฑะเข้าไปในช่องท้อง

2.4 ถุงพักอสุจิ (Seminal Vescicle) เป็น 2 ถุง อยู่หลังและต่อกับกระเพาะอาหาร
ทำหน้าที่สร้างอาหารสำหรับอสุจิ (Seminal fluid) ในอาหารประกอบด้วยน้ำตาลฟรักโทส

กับโปรตีนโกลบูลิน



2.5 ท่อฉีดอสุจิ (Ejaculatory Duct) เป็นท่อสั้นๆ เปิดเข้าสู่ท่อปัสสาวะ ตรง
บริเวณต่อมลูกหมากยาวประมาณ 2 เซนติเมตร บางครั้งเรียกว่า หลอดฉีดน้ำกาม ท่อ

นี้ทำหน้าที่บีบตัว ขับน้ำอสุจิ (Semen)



2.6 ต่อมลูกหมาก (Prostate Gland) เป็นต่อมที่อยู่รอบท่ออสุจิ อยู่ด้านล่าง
กระเพาะปัสสาวะ ทำหน้าที่สร้างน้ำกาม (Prostate Gland) ซึ่งมีลักษณะ คล้ายน้ำนม มี

ฤทธิ์เป็นเบสเล็กน้อย มีกลิ่นเฉพาะตัว



2.7 ต่อมกลั่นเมือก (Urethral Gland) ได้แก่ ต่อมคาวเปอร์(Cowper gland)
อยู่ใต้ต่อมลูกหมาก ทำหน้าที่สร้างสารหล่อลื่นท่อปัสสาวะ มีฤทธิ์เป็นเบส



ในเพศชาย เมื่อเข้าสู่ระยะที่สืบพันธุ์ได้ จะมีการสร้างอสุจิได้เป็นจำนวนมาก และเป็น


ช่วงเวลานานกว่าเพศหญิง จนถึงอายุประมาณ 80-90 ปี โดยเฉพาะในระยะหลังๆ นี้

อสุจิที่สร้างได้จะมีจำนวนน้อยลง ปกติในการหลั่งน้ำอสุจิ (Insemination) ในแต่ละครั้ง
จะมีปริมาณประมาณ 3-5 มิลลิลิตร โดยมีอสุจิอยู่ประมาณ 300-400 ล้านตัว หากมี
จำนวนอสุจิน้อยกว่านี้ อาจเป็นสาเหตุทำให้เป็นหมันได้ อสุจิเมื่อเข้าไปในช่องคลอดเพศ

หญิง จะมีชีวิตอยู่ได้ถึง 48 ชั่วโมง อสุจิสามารถเคลื่อนที่ได้ด้วยความเร็ว 3
มิลลิเมตรต่อนาที โดยการว่ายน้ำไป และจะเคลื่อนที่ไปถึงท่อนำไข่ในเวลา 30-60 นาที



อสุจิ (Spermatozoa) เป็นเซลล์ที่เจริญเติบโตไปเป็นตัวใหม่โดยลำพังไม่ได้ จะ

ต้องรวมกับไข่เสียก่อนเสมอไป



อสุจิ ประกอบด้วยโครงสร้าง 3 ส่วน คือ



1. ส่วนหัว เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดในการผสมพันธุ์ ที่ปลายหัวเรียกว่า อะโครโซม ใช้
สำหรับเจาะไข่ในส่วนหัวนี้จะมี DNA อยู่มาก



2. ส่วนลำตัว มีลักษณะเป็นทรงกระบอก ส่วนบนสุดจะคอดเรียกว่า คอ



3. ส่วนหาง ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ต้นหาง และ ปลายหาง



อวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิง (Female GenitalOrgan)




อวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิงแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ


1. ส่วนภายนอก ได้แก่ คลิทอริส แคมใหญ่ แคมเล็ก เวสทิบุล เยื่อพรหมจารีย์
รวมทั้งต่อมสร้างน้ำเมือกบริเวณช่องคลอด



1.1 คลิทอริส (Clitoris) เทียบได้กับลึงค์ในเพศชาย ประกอบด้วยเนื้อเยื่อที่

ทำให้เกิดการแข็งตัว โดยให้เลือดมาคั่ง



1.2 แคมใหญ่ (Labia Majora) เป็นปุ่มนูนขนาดใหญ่ 2 อัน ซึ่งประกอบ
ด้วย ต่อมน้ำมัน ไขมัน มีขน(Pubic hair) ปกคลุมอยู่ด้านบนของแคมใหญ่จะรวม

กันเป็นเนินหัวเหน่า (Mons pubis)



1.3 แคมเล็ก (Labia Majora) มีลักษณะเป็นเนื้อนิ่มของปุ่มนูนของผิวหนัง
เหมือนกัน แต่ไม่มีไขมัน ไม่มีขน ด้านหลังจะมารวมกันเป็นฝีเย็บ (Fourchette)

ซึ่งจะฉีกขาดในตอนคลอด



1.4 เวสทิบุล (Vestibule) เป็นส่วนที่อยู่นอกสุดของช่องคลอด จะมีเยื่อ
พรหมจารีย์ (Hymen) ปิดอยู่ มีช่องเปิดของท่อปัสสาวะ และช่องเปิดของช่อง

คลอดรวมอยู่ มีต่อมน้ำเมือกและต่อมเหงื่อมาเปิดด้วย



1.5 ต่อมสร้างน้ำเมือก (Vestibula Gland) อยู่ที่บริเวณแคมเล็ก ทำ
หน้าที่สร้างสารเมือก เพื่อการหล่อลื่น

2. ส่วนภายใน ได้แก่ รังไข่ มดลูก และ ช่องคลอด



2.1 รังไข่ (Ovary) เป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดในระบบสืบพันธุ์เพศหญิง มีอยู่ 2 ข้างใน
ช่องท้องน้อยยึดติดกับมดลูกโดยเอ็น ส่วนด้านนอกยึดติดกับลำตัว ภายในรังไข่จะพบไข่
มากมาย ประมาณ 3-4 แสนใบ รังไข่ทำหน้าที่ 2 อย่าง คือ สร้างไข่ และสร้างฮอร์โมน
เพศหญิง ไข่ใบที่สุกเต็มที่แล้ว จะหลุดออกมาจากรังไข่ เรียกว่า การตกไข่ (Ovulation) ซึ่ง
ถูกควบคุมและกระตุ้นโดยฮอร์โมน LH และ FSH จากต่อมใต้สมอง รังไข่จะสร้างฮอร์โมน

โพรเจสเตอโรน



F ในรอบ 28 วัน ไข่จะสุกเพียงในเดียว และ ระยะตกไข่จะมีเวลาประมาณ 14 วัน
หากไข่ไม่ได้รับการผสม ก็จะสลายไป และหลุดออกมาสู่ภายนอกพร้อมๆ กับผนังมดลูก เรียก

ว่า ประจำเดือน (Menstruation) ประจำเดือน จะหมดเมื่ออายุประมาณ 45-50 ปี







2.2 ท่อนำไข่ (Oviduct) เป็นท่อซึ่งด้านหนึ่งติดกับมดลูกอีกด้านหนึ่งอิสระอยู่ใกล้ๆ รังไข่
เป็นทางผ่านของไข่และอสุจิ ซึ่ง จะพบกันประมาณ 1 ใน 3 ของท่อนำไข่



2.3 ช่องคลอด (Vagina) อยู่ระหว่างทวารหนัก กับปากท่อปัสสาวะผนังด้านในมีเยื่อเมือกบุ
อยู่ ยืดหดได้ดี ที่ปากช่องคลอดมีกล้ามเนื้อหูรูสามารถบังคับได้



2.4 มดลูก (Uterus) มีขนาดกว้าง 2 นิ้ว ยาว 3 นิ้ว และหนา 1 นิ้ว อยู่ในช่องท้อง
น้อย ผนังยืดหดได้มากเป็นพิเศษ และขยายตัวได้มากในเวลาตั้งครรภ์



ในระยะคลอด ฮอร์โมนออกซิโทซิน จะกระตุ้นให้กล้ามเนื้อบริเวณนี้หดตัวอย่างรุนแรง
ทำให้คลอดได้ง่ายขึ้น

กระบวนการสร้างสเปิร์ม (Spermatogenesis) เกิดขึ้นภายในท่อสร้าง
สเปิร์ม (Seminiferoustubule) ที่อยู่ภายในอัณฑะ (Testis) (รูปที่ 2)
เป็นการสร้างสเปิร์มจากเซลล์เริ่มต้น ที่เรียกว่าSpermatogonia ที่มี
จำนวนโครโมโซม 2N และจะมีการแบ่งเซลล์ในขั้นตอนต่างๆ จนในที่สุด

ได้เซลล์สเปิร์ม(Sperm หรือ Spermatozoa) จำนวน 4 เซลล์ ที่มี
จำนวนโครโมโซมลดลงครึ่งหนึ่ง (1N)



กระบวนการสร้างสเปิร์มเป็นกระบวนการที่อาศัยการควบคุมที่เหมาะสม
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการควบคุมผ่านกระบวนการ DNA methylation
และ Histone modification โดยกระบวนการสร้างสเปิร์มจะเริ่มต้น
เมื่อผู้ชายเข้าสู่วัยรุ่น (Puberty) และจะสร้างอย่างต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ
ทั้งนี้อัตราการสร้างสเปิร์มจะลดลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น กระบวนการสร้าง


สเปิร์มในมนุษย์จะมีการสร้างสเปิร์มได้เฉลี่ยประมาณ200 ถึง 300 ล้าน

เซลล์ต่อวัน โดยใช้เวลาตลอดกระบวนการประมาณ 74 วันภายในอัณฑะ
และใช้เวลาในการเคลื่อนที่ไปยังตำแหน่งที่จะเกิดการปฏิสนธิกับเซลล์ไข่

อีกประมาณ 3 เดือน

การสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศเมียในสัตว์ (oogenesis) เป็นการสร้างเซลล์ไข่
เกิดในรังไข่ ซึ่งมีเซลล์เริ่มต้นเรียกprimary oocyte ซึ่งจะเพิ่มจำนวนตัว
เองด้วยการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส เมื่อเซลล์นี้เริ่มแบ่งตัวแบบไมโอซิส จะ
ค้างอยู่ที่ระยะโพรเฟส I จนกระทั่งได้รับฮอร์โมน FSH จึงแบ่งตัวต่อจนสิ้น
สุดไมโอซิส I ได้ 2 เซลล์ขนาดไม่เท่ากัน เซลล์ที่มีขนาดใหญ่เรียกว่า
secondary oocyte เซลล์ที่มีขนาดเล็กเรียกว่า first polar body
secondary oocyte จะแบ่งตัวต่อไปจนถึงระยะเมตาเฟส II แล้วค้างไว้จน
กระทั่งตกไข่ เมื่อไข่ตกแล้วถ้าไม่ได้รับการผสม เซลล์ไข่จะฝ่อไป ถ้าได้รับการ
ผสม secondary oocyteจะแบ่งตัวต่อจนสิ้นสุดไมโอซิส II ได้เซลล์ไข่กับ
second polar body หลังจากนั้นเซลล์ไข่จะปฏิสนธิกับสเปิร์มได้ไซโกต

พฤติกรรมการเรียนรู้


พฤติกรรมการเรียนรู้ เป็นพฤติกรรมของสัตว์ที่อาศัย

ประสบการณ์หรือการเรียนรู้เกี่ยวข้องกับระบบประสาท สัตว์จะต้องมีความ
สามารถในการจำ สัตว์ที่มีวิวัฒนาการของระบบประสาทสูงจะมีความ
สามารถในการจำมากขึ้น ทำให้มีการเรียนรู้ได้มากขึ้น

การเรียนรู้ (learning) คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ซึ่งเกิด
โดยอาศัยประสบการณ์ในอดีต แต่ไม่ใช่เนื่องมาจากการมีอายุมากขึ้น สัตว์
แต่ละชนิดจะมีความสามารถในการเรียนรู้ได้ไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับการเจริญและ
พั ฒนาของระบบประสาท

ประเภทของพฤติกรรมการเรียนรู้ได้แก่
1.การเรียนรู้แบบแฮบบิชูเอชันหรือความเคยชิน (habituation)
2.การเรียนรู้แบบฝังใจ (imprinting)
3.การเรียนรู้แบบมีเงื่อนไข (conditioning หรือ conditioned
response หรือ conditioned reflex)
4.การเรียนรู้แบบลองผิดลองถูก (trial and error learning )

5.การเรียนรู้แบบใช้เหตุผล (reasoning หรือ insight
learning)


Click to View FlipBook Version