The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by brhsukanya, 2022-07-05 23:18:28

Geo book

Geo book

เทคโนโลยี
ภูมิสารสนเทศ

Geoinformatics

เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ

01 การรับรู้ระยะไกล

(Remote Sensing)

02 ระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก
(Global Positioning System)

03 ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
Geographic Information System

เทคโนโลยีสารสนเทศ

คือ ศาสตร์สารสนเทศที่เน้นการบูรณาการ
เทคโนโลยีด้านการสำรวจ การทำเเผนที่
เเละการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่เข้าด้วยกัน
เพื่อศึกษาเกี่ยวกับพื้นที่บนโลกโดยอาศัย
เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ



RS

01 การรับรู้จากระยะไกล



SReenmsointeg

What?

การรับรู้จากระยะไกล(Remote Sensing)
คือ การได้มาซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุ พื้นที่เเละ
ปรากฏการณ์บนพื้นโลกโดยไม่ต้องเข้าไปสัมผัสวัตถุเป้า
หมาย

RReemmoottee SSeennssiinngg

การรับรู้จากระยะไกล (Remote Sensing)
หมายถึง ระบบสำรวจบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับพื้นผิวโลกด้วย เครื่องรับรู้
(Sensors) ซึ่งติดไปกับยานดาวเทียมหรือเครื่องบิน เครื่องรับรู้ตรวจ
จับคลื่นพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้า ที่สะท้อนจากวัตถุบนผิวโลก หรือตรวจ
จับคลื่นที่ส่งไปและสะท้อนกลับมา หลังจากนั้นมีการแปลงข้อมูลเชิง
ตัวเลขซึ่งนำไปใช้แสดงเป็นภาพและทำแผนที่ การรับรู้จากระยะไกลมี
ทั้งระบบที่วัดพลังงานธรรมชาติซึ่งมาจากพลังงานแสงอาทิตย์ และ
พลังงานที่สร้างขึ้นเองจากตัวดาวเทียม การบันทึกข้อมูลหรือรูปภาพ
ของพื้นที่จากเครื่องบินมีลักษณะแตกต่างไปจากการใช้ดาวเทียม
เนื่องจากเครื่องบินจะมีข้อจำกัดด้านการบินระหว่างประเทศ ส่วน
ดาวเทียมจะสามารถบันทึกข้อมูลของบริเวณ ต่างๆ ของโลกไว้ได้
ทั้งหมด เพราะดาวเทียมโคจรรอบโลกอยู่ในอวกาศและมีอุปกรณ์
บันทึกข้อมูลที่มี ประสิทธิภาพ

อ้างอิง
จาก:https://sites.google.com/site/nasinuanpitthayasan/home/knowledge/geoinformatics

หลักการทำงาน
ของการรับรู้จากระยะไกล

การได้มาซึ่งข้อมูล (Data acquisition)
โดยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากแหล่งกำเนิดพลังงาน เช่น ดวอาทิตย์
เคลื่อนที่ผ่านชั้นบรรยากาศ เกิดปฏิสัมพันธ์ของพลังงานกับรูป
ลักษณ์พื้นผิวโลก และเดินทางเข้าสู่เครื่องรับรู้ที่ติดตั้งในตัวยาน
ได้แก่เครื่องบิน ยานอวกาศ และดาวเทียม ถูกบันทึก และผลิต
เป็นข้อมูลในรูปแบบภาพ(Pictorial หรือPhotograph) และ/
หรือรูปแบบเชิงเลข (Digital form)

การวิเคราะห์ข้อมูล (Data analysis)
ประกอบด้วย การแปลตีความข้อมูลด้วยสายตา (Visual
interpretation) และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเลข
(Digitalanalysis) โดยมีข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย
ข้อมูลอ้างอิงต่างๆ เช่น แผนที่ดิน ข้อมูลปฏิทินและสถิติการปลูก
พืช และอื่นๆ ผลการวิเคราะห์ผลิตผล ของการแปลตีความในรูป
แบบแผนที่ ข้อมูลเชิงเลข ตาราง คำอธิบาย หรือแผนภูมิเป็นต้น
เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป

ข้อมูลจากการรับรู้ระยะไกล มีดังนี้

1)รูปถ่ายทางอากาศ หมายถึง ภาพที่เกิดจากการ
ถ่ายภาพในระยะไกล โดยใช้เครื่องบินในการถ่าย
ภาพเป็นหลัก เเสดงให้เห็นถึงภาพรวมของข้อมูล
ในพื้นที่เป็นบริเวณกว้าง
รูปถ่ายทางอากาศในแนวตั้ง ใช้สำหรับนำมา
ประกอบกับแผนที่ ทำแผนที่และปรับปรุงแผนที่
หรืออาจใช้แทนแผนที่ได้

ที่มา :
https://www.trueplookpanya.com/learning/detail/31718

ข้อมูลจากการรับรู้ระยะไกล มีดังนี้

รูปถ่ายทางอากาศในแนวเฉียง แบ่งเป็นรูปถ่ายเฉียงต่ำ มี
คุณสมบัติครอบคลุมพื้นที่แคบ ภาพพื้นที่เป็นรูปสี่เหลี่ยม
คางหมู มองไม่เห็นแนวขอบฟ้า มาตราส่วนของภาพไม่
แน่นอน และ รูปถ่ายเฉียงสูง ครอบคลุมพื้นที่กว้างกว่ารูป
ถ่ายเฉียงต่ำมองเห็นความต่างระดับของพื้นที่ได้ดีกว่า และ
อาจเห็นแนวของฟ้า

ที่มา :
https://www.trueplookpanya.com/learning/detail/31718

ข้อมูลจากการรับรู้ระยะไกล มีดังนี้

ที่มา
www.blog.bru.ac.th

2)ภาพจากดาวเทียม คือ ภาพที่ได้จากการถ่ายเเละบันทึก
ข้อมูลเชิงเลขของค่าการสะท้อนช่วยคลื่นเเม่เหล็กไฟฟ้า
จากวัตถุต่างๆที่มีค่าการสะท้อนเเตกต่างกันจึงทำให้สามา
รถจำเเนกวัตถุต่างๆได้จากการเเปลความสิ่งทีข่ปรากฏบน
ภาพ

Remote Sensing

ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ (Remote Sensing
Satellite)เป็นดาวเทียมที่ใช้ในการเก็บข้อมูลด้านทรัพยากรต่างๆ

ดาวเทียมไทยโชต(THEOS)
Thailand Earth Observation Satellite

ดาวเทียมสำรวจโลกดวงเเรกของประเทศไทย



02 ระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก
(Global Positioning System)

ระบบที่สามารถระบุตำเเหน่งของวัตถุหรือสิ่งที่สนใจ
ศึกษาบนพื้นผิวโลกด้วยค่าพิกัด การระบุตำเเหน่งได้
จากการคำนวณส่งสัญญาณของดาวเทียมที่โคจรอยู่
นอกโลก

GPS



หลักการของ

GPS ทำงานโดยการรับสัญญาณจากดาวเทียมแต่ละ
ดวง โดยสัญญาณดาวเทียมนี้ประกอบไปด้วยข้อมูลที่
ระบุตำแหน่งและเวลาขณะส่งสัญญาณ ตัวเครื่องรับ
สัญญาณ GPS จะต้องประมวลผลความแตกต่างของ
เวลาในการรับสัญญาณเทียบกับเวลาจริง ณ ปัจจุบัน
เพื่อแปรเป็นระยะทางระหว่างเครื่องรับสัญญาณกับ
ดาวเทียมแต่ละดวง ซึ่งได้ระบุมีตำแหน่งของมันมากับ
สัญญาณ

การใช้ประโยชน์ของ
ระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก

-ช่วยนำทางจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้ตาม
ต้องการ
-ช่วยในการติดตามการเคลื่อนที่ของยานพาหนะ
คน สัตว์ และสิ่งของ
-ช่วยในการปรับปรุงแก้ไขความถูกต้องเชิง
ตำแหน่งของข้อมูลจากดาวเทียม
-ช่วยในการสำรวจรังวัด ทำแผนที่ และจัดสร้าง
ฐานข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์
-ช่วยในการควบคุมเครื่องจักรกลในภาค
เกษตรกรรม
-ช่วยในการบริหารจัดการคมนาคมขนส่ง
-ช่วยสนับสนุนการให้บริการข้อมูลข่าวสารเชิง
ตำแหน่ง(Location BasedService)

ระบบสารสนเทศ GIS
Geographic Information System

What?
คือ กระบวนการทำงานเกี่ยวกับข้อมูลในเชิงพื้นที่
ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้กำหนดข้อมูลเเละ
สารสนเทศที่มีความสัมพันธ์กับตำเเหน่งในเชิง
พื้นที่



ประโยชน์ของ

ประโยชน์
1. ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ เช่น การ
กำหนดพื้นที่ป่าไม้ แหล่งน้ำ
2. ด้านการจัดการทรัพยากรเกษตร เช่น การ
แบ่งชั้นคุณภาพพื้นที่เกษตร ดินเค็มและดิน
ปัญหาอื่น ความเหมาะสมของพืชในแต่ละพื้นที่
การจัดระบบน้ำชลประทาน การจัดการด้านธาตุ
อาหารพืช
3. ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม เช่น การแพร่
กระจายของฝุ่นและก๊าซ การกำหนดจุดเก็บ
ตัวอย่างจาก โรงงาน การป้องกันความเสียหาย
ของโบราณสถานหรือสถานที่ท่องเที่ยว การ
ป้องกันไฟไหม้ป่า เป็นต้น
4. ด้านสังคม เช่น ความหนาแน่นของประชากร
เพศ อายุ การศึกษา แรงงาน ตำแหน่งของ
โรงเรียนและ การเดินทางของนักเรียน เป็นต้น

อ้างอิง

https://www.nstda.or.th/home/knowledge_post/gis/
https://www.global5thailand.com/thai/gps.htm
http://oldweb.most.go.th/main/index.php/media-
library/ground-to-sky/5963--geo-information-
technology.html
https://sites.google.com/site/mingkwangit/phaph-
cak-dawtheiym

ผู้จัดทำ

นางสาว วรัญญา เอ้งฉ้วน เลขที่ 19 ม.5/2

สมายด์ วรัญญา

สมายด์ วรัญญา
Smile_smily
095-0360240

เสนอ

คุณครู วาสนา ทองจิบ

งานชิ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาสังคมศึกษา (ส32101)
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565
โรงเรียนพิมานพิทยาสรรค์

TYhOaUnk


Click to View FlipBook Version