The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Khungant, 2022-01-08 03:55:04

เส้นทางไหว้พระ 9 วัด เมืองสุพรรณบุรี

ไหว้พระ 9 วัด เมืองสุพรรณบุรี

Keywords: #ไหว้พระ #สุพรรณบุรี #ไหว้พระ9วัด #เที่ยววัด

ไหว้พระ วัด

สุพรรณบุรี

วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ

ในสมัยก่อนเป็นศูนย์กลางของเมืองสุพรรณภูมิ เป็นวัด
คู่บ้านคู่เมือง มีอายุไม่ต่ำกว่า 600 ปี ปรางค์องค์

ประธานเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ กรุในองค์พระ
ปรางค์นี้เป็นต้นกำเนิดพระพิมพ์ผงสุพรรณบุรีที่โด่งดัง

มาก อันเป็นหนึ่งใน เบญจภาคี 5 พระเครื่องยอด
และยังมี พระปรางค์ประธานวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
เป็นพระปรางค์เก่าแก่หลักฐานทางโบราณคดีของ
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ทำให้รู้ว่าเป็นวัดที่สร้างขึ้นมีอายุ
อย่างน้อย 600 ปี ทางวัดจะเปิดให้ประชาชนขึ้นไป
สักการะพระบรมสารีริกธาตุ มีวิหารแฝดวัดพระศรีรัตน
มหาธาตุ เดินจากพระปรางค์ประธานของวัดตรงเข้าไปอีก
หน่อยจะพบเห็นวิหารมีลักษณะแปลกกว่าที่เคยเห็น
ที่ใดมาก่อน วิหารหลังนี้มีอายุเก่าแก่มาก การสร้างวิหาร
2 หลัง ใช้เสาต้นเดียวกัน 1 ต้น หันหน้าเข้าหากัน วิหาร

แต่ละหลังมีประตูเข้าไป ปัจจุบันเป็นที่ประดิษฐาน
พระพุทธรูปปางมารวิขัย กราบไหว้หลวงพ่อดำ
(ปิยะทัสสะสี) พระพุทธรูปเก่าแก่คู่กับวัดพระศรีรัตน

มหาธาตุ มีอายุกว่า 700 ปี

ภาพบน : องค์พระปรางค์ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
ภาพล่าง : วิหารแฝด

วัดแค

เป็นวัดเก่าแก่ที่มีชื่อปรากฏในวรรณคดีเรื่อง
"ขุนช้างขุนแผน" อยู่ในอำเภอเมืองสุพรรณบุรี
จากวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ไปทางเหนือประมาณ
2 กิโลเมตร ภายในวัดนี้มีต้นมะขามใหญ่วัดโคนต้น
โดยรอบได้ประมาณ 9.50 เมตร อายุประมาณ 1,000 ปี
เชื่อกันว่าขุนแผนได้เรียนวิชาเสกใบมะขามให้เป็นตัวต่อ
ตัวแตนจากต้นมะขามต้นนี้กับท่านอาจารย์คงเพื่อใช้เวลา
โจมตีข้าศึก ใกล้กับต้นมะขามยักษ์นี้ทางจังหวัดได้สร้าง
เรือนไทยทรงโบราณเรียกว่า "คุ้มขุนแผน" เพื่อเป็นอุทยาน
วรรณคดีและเป็นการอนุรักษ์ศิลปด้านวรรณกรรมและ
ประวัติศาสตร์ กราบไหว้พระพุทธบาทสี่รอย นมัสการ
พระประธานในวิหารมหาอุตม์ ภายในวัดนี้มีต้นมะขามใหญ่
วัดโคนต้นโดยรอบได้ประมาณ 10 เมตร เชื่อกันว่า
ขุนแผนได้เรียนวิชาเสกใบมะขาม จากต้นมะขามต้นนี้
ให้เป็นตัวต่อตัวแตนจากท่านอาจารย์คงไว้โจมตีข้าศึก

ภาพบนซ้าย : เรือนขุนแผน
ภาพบนขวา : พระพุทธมงคง
ภาพล่างขวา : ต้นมะขามยักษ์

วัดสารภี

นมัสการพระพุทธมุนีศรีมงคล พระประธานในโบสถ์
มหาอุตม์ มีอายุกว่า 100 ปี ลอดท้องช้างพระอินทร์ทรง

ช้างเอราวัณพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ อยู่ในวิหาร
ข้างอุโบสถวัดสารภี มีความเชื่อกันว่าการลอดท้องช้าง
เป็นการสะเดาะเคราะห์ คนไทยมักจะนิยมการลอดท้องช้าง

เป็นจำนวนไม่น้อย เมื่อคิดตามแนวความเชื่อนี้แล้ว
การได้ลอดท้องช้างเอราวัณ พาหนะของพระอินทร์

ก็จะยิ่งส่งเสริมดวงชะตา บารมี เหมาะสำหรับ
ผู้ที่ทำกิจการค้าขาย ให้มีความเจริญรุ่งเรือง

ขอพรท้าวเวสสุวรรณ ด้านหน้าพระอุโบสถ

วัดพระลอย

เล่ากันว่าสาเหตุที่สร้างวัดนี้น่าจะมาจากที่มีพระพุ ทธรูป
ปางนาคปรกเนื้อหินทรายขาวลอยมาตามแม่น้ำท่าจีน
(แม่น้ำสุพรรณ) จึงได้ทำพิธีอาราธนาขึ้นมาจากแม่น้ำ
สันนิษฐานว่าเป็นพระพุทธรูปสมัยลพบุรี นอกจากนี้ยังมี
อุโบสถที่ปรักหักพังสันนิษฐานว่าสร้างในสมัยพระเจ้า
อู่ทอง ทางวัดได้ปฏิสังขรณ์โดยสร้างโบสถ์ใหม่ครอบ
และยังมีอุโบสถจตุรมุขใหญ่ สูงเด่น สง่างาม ประดิษฐาน
พระพุทธนวราชมงคล สวยงามมาก และมีพระพุทธรูปเนื้อ
หินทรายปางต่าง ๆ เก่าแก่มาก อายุกว่า 800 ปี

ภาพซ้าย : พระพุทธนวราชมงคล
ภาพขวา : วิหารทรงจตุรมุข ประดิษฐานพระพุทธ
นวราชมงคล

วัดหน่อพุทธางกูร

สร้างขึ้นเมื่อมดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด ชาวบ้านเล่าลือสืบ
ต่อกันมาว่าชาวลาวที่ถูกกวาดต้อนมาจากเวียงจันทน์
เมื่อคราวกบฎเจ้าอนุวงศ์ พ.ศ.2369 ได้อพยพมา

ตั้งถิ่นฐานบริเวณนี้ และได้สร้างสำนักสงฆ์ขึ้นในบริเวณที่มี
ฐานอุโบสถเก่าอยู่ก่อนแล้ว แต่ไม่สามารถสืบหาอายุได้ว่า
สำนักสงฆ์นี้สร้างขึ้นเมื่อใด ต่อมาขุนพระพิมุขข้าหลวงใน
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้มาสร้างเป็น
วัดขึ้นให้ชื่อว่า "วัดมะขามหน่อ" จนกระทั่งในสมัย
พระครูสุวรรณวรคุณ (คำ จนฺทโชโต) เป็นเจ้าอาวาสจึง
ได้เปลี่ยนชื่อวัดนี้เป็น "วัดหน่อพุทธางกูร" พระประธาน
อุโบสถหลังเก่าวัดหน่อพุทธางกูร เมื่อเข้ามาด้าน
ในจะเห็นพระประธานประดิษฐานบนฐานยกสูงขึ้นไป
ทางวัดมีบันไดไม้สำหรับเดินขึ้นไปปิดทองพระทำเป็นทางขึ้น
และทางลง ด้านหลังองค์พระประธานจะเห็นภาพจิตรกรรม

ฝาผนังเทพชุมนุมและพระเจดีย์จุฬามณี เก่าแก่มากและเลือน
หายไปหลายส่วนเหมือนกับภาพจิตรกรรม

ฝาผนังอีก 4 ด้าน ภาพจิตรกรรมฝาผนังอุโบสถหลังเก่าวัด
หน่อพุทธางกูร ด้านในประกอบด้วยภาพพระพุทธประวัติ

ทศชาติชาดก พระเจดีย์จุฬามณี เทพชุมนุม และเรื่องราวใน
ไตรภูมิ ซึ่งเป็นที่นิยมโดยทั่วไปในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

ภาพบน : วิหารวัดหน่อพุทธางกูร
ภาพล่าง : ภาพจิตรกรรมฝาผนัง

วัดพระนอน

เป็นวัดเก่าแก่ สมัยอู่ทองสุพรรณภูมิ ที่ปรักหักพังแล้ว
และได้บูรณะขึ้นใหม่ ในสมัยปัจจุบันมีรูปปั้ นพระนอน
ในลักษณะนอนหงาย สร้างเท่าขนาดคนจริงสมัยโบราณ
มีเพียงองค์เดียวในประเทศไทย ลักษณะเหมือนพระนอน

ที่เมืองกุสินาราประเทศอินเดีย

ภาพบน : พระนอน หนึ่งเดียวในประเทศไทย
ภาพล่าง : ด้านหน้าวิหารพระนอน

วัดพิหารแดง

เล่ากันสืบต่อกันมาสร้างขึ้นสมัยสมเด็จ
พระนารายณ์มหาราช มีทหารเอกชื่อพระเทพราชา เป็นคน
บ้านโพธิ์หลวง ซึ่งปลูกหมากและพลู ส่งไปเมืองหลวง

ต่อมาเรียกเพี้ยนเป็น "พลูหลวง" จนถึงปัจจุบันและ
ต่อมาพระเทพราชาเป็นพระเจ้าแผ่นดินต่อได้ไปค้นพบ
วิหารในบริเวณใกล้บ้านพลูหลวงได้ปรับปรุงบูรณะโดย

ใช้สีแดงเป็นหลักเพื่อเป็นอนุสรณ์อยู่ต่อมา
วัดวิหารแดง เรียกเพี้ยนมาเป็น "วัดพิหารแดง"
และใช้เป็นชื่อเรียกตำบลพิหารแดงเป็นต้นมา ภายใน
วัดพิหารแดงมีพระประธานองค์ใหญ่ในอุโบสถ เป็น
พระพุทธรูปเก่าแก่อายุ 700 ปี สร้างในสมัยอู่ทอง
ตอนปลาย นามว่า "พระพุทธทศพลญาณมหา"

ด้านหน้าพระอุโบสถ วัดพิหารแดง

วัดชีสุขเกษม

ภายในวัด มีพระพุทธรูปปางประทับยืนองค์นี้เป็น
พระพุทธรูปเก่าแก่มาก มีหลักฐานว่ามีอายุประมาณ
1,000 ปี สร้าง ในสมัยอู่ทอง ขุด ค้นพบด้วยกัน

3 องค์ 2 องค์แรกที่พบนำไปประดิษฐานที่
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอู่ทอง ส่วนองค์ที่ 3 ค้นพบโดย
บังเอิญ ชาวบ้านเล่าให้ฟังว่า เดิมทีพระพุทธรูปองค์นี้มี

ยอดเกตุสมบูรณ์ แต่ครั้งที่รถขุดดินลงไปโดนองค์
พระพุ ทธรูปยอดเกตุได้หักชำรุดพระพุ ทธรูปองค์นี้สร้าง
ด้วยหินทราย ปัจจุบันชาวบ้านมากราบไหว้ปิดทององค์

พระจนเป็นสีทองทั่วทั้งองค์

พระพุทธรูปปางต่าง ๆ ด้านหน้าพระอุโบสถ

วัดสว่างอารมณ์

กราบไหว้หลวงพ่อหลี พระอริยสงฆ์ ที่ประพฤติดี รักษา
ศีลบริสุทธิ์ พร้อมรับประทานอาหารโรงทานอิ่มท้อง
อิ่มบุญกันทั่วหน้า

เที่ยวสุใจ ไปด้วยกัน สุพรรณบุรี - อ่างทอง


Click to View FlipBook Version