The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by NY Yokkie, 2022-07-11 11:29:33

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

Keywords: การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

การปฐมพยาบาลเบ้อื งตน

๑. หลกั การปฐมพยาบาลเบ้ืองตน และการปฐมพยาบาลบาดแผล

การปฐมพยาบาล
การปฐมพยาบาล หมายถึง การชวยเหลือผูปวยหรือผูบาดเจ็บเปนการฉุกเฉิน กอนท่ีจะไดรับการ

รักษาทางการแพทย การปฐมพยาบาลจงึ เปนการชว ยเหลือช่ัวคราวระหวา งรอคอยการรักษาจากแพทย ในราย
ทีบ่ าดเจ็บรุนแรง การปฐมพยาบาลอาจเปนส่ิงท่ชี ว ยใหผปู ว ยเจ็บรอดชีวิตได

จุดมงุ หมายของการปฐมพยาบาล
1. เพอื่ ชว ยชวี ิตยามฉกุ เฉิน
2. เพอ่ื ปอ งกันไมใหบาดเจบ็ หรอื ไดรบั อนั ตรายมากข้ึน
3. เพ่อื ปอ งกันไมใ หเกิดส่งิ แทรกซอ นภายหลงั

เหตุฉุกเฉนิ 4 ประการ ทจ่ี ะทําใหผปู ว ยเจ็บเสียชีวิตไดอ ยางรวดเรว็ หากไมไดรบั การปฐมพยาบาลทันที ไดแ ก
1. การหยุดหายใจ
ทําใหรางกายขาดออกซิเจน และจะเสียชีวิตภายในไมก่ีนาที ผูปฐมพยาบาลจึงตองรูวิธีการ

ผายปอด ซง่ึ วธิ ีท่งี ายและไดผ ลดีทส่ี ุด คือ การเปา ลมหายใจเขาปอดทางปากหรอื จมูก
2. หัวใจหยุดเตน
ทาํ ใหไ มมีการสูบฉีดเลือด สําหรับนําออกซิเจนไปเลีย้ งรางกายท่ัวไป ผูปฐมพยาบาล จําเปนจะตอง

รวู ิธสี ําหรับแกไขทาํ ใหมกี ระแสเลอื ดไหลเวยี นในรา งกาย คอื การนวดหวั ใจภายนอก
3. การเสียเลอื ดจากหลอดเลอื ดใหญข าด
ทําใหเลือดไหลออกจากรางกายอยางรวดเร็ว และจะทําใหเสียชีวิต ผูปฐมพยาบาลจึงตองรูวิธีการ

หา มเลือด
4. ภาวะชอ็ ก
เปนการตอบสนองของศูนยประสาทสวนกลางในสมองของรางกาย ที่ถูกกระตุนดวยความรูสึก

ท่ีสงมาจากตําแหนงที่บาดเจ็บ อาจมีความกลัวและความตกใจ รวมดวย ภาวะช็อกจะมีความรุนแรงมาก ถามี
การสูญเสียเลือดหรือน้ําเหลือง (ในรายมีแผลไหม) ช็อกอาจทําใหเสียชีวิตไดท้ังที่บาดเจ็บไมรุนแรงนัก ดังน้ันผู
ปฐมพยาบาลจงึ ตองรวู ิธกี ารปองกนั และรกั ษาช็อก

ขนั้ ตอนท่ตี อ งปฏิบตั ิเม่ือพบผปู ว ยเจ็บ
1. อยาต่ืนตกใจ ใหต้ังสติตนเองใหมั่นคง พยายามปฏิบัติใหดีที่สุด ดวยอุปกรณที่มีอยูหรือหาได

รูปอุปกรณปฐมพยาบาล

-2-
2. ใหผูปวยเจ็บนอนราบศีรษะอยูระดับเดียวกับตัว อยาเคลอื่ นไหวผูปวยเจ็บโดยไมจําเปน จัดใหนอน
ศีรษะตา่ํ เมอื่ หนาซดี หรือยกศีรษะขึน้ เลก็ นอ ยเม่อื หนา แดง ตรวจระดับความรูสกึ ตัวโดยการตีเรยี กทีไ่ หล

รปู การตรวจระดับความรูสึกตัวโดยการตเี รยี กที่ไหล
3. ขอความชวยเหลอื หรือโทรศัพทแ จง หนวยฉกุ เฉิน/กูช ีพ/กูภยั

สายดวนแจงเหตฉุ กุ เฉนิ /กูชพี /กภู ัย - สถาบันการแพทยฉ ุกเฉินแหงชาติ โทร. 1669
4. ตรวจดูการบาดเจ็บอยางรวดเร็ว ที่สําคัญท่ีสุดคือดูวามีการหยุดหายใจหรือเปลา หรือมีการ
ตกเลือดรุนแรงหรือไม เพราะจะทําใหเสียชีวิตในเวลาอันรวดเร็วได หลังจากนั้นจึงคอยตรวจดูการบาดเจ็บ
อยางอน่ื สําหรับการถอดเส้อื ผาใหท าํ เทา ที่จาํ เปน และรบกวนผูปว ยเจบ็ ใหนอยทสี่ ดุ

รูปการตรวจดกู ารหายใจ รปู การตรวจศีรษะและใบหนา

รปู การตรวจหนา อก-ทอ ง รูปการตรวจแขน
รูปการตรวจขา รปู การตรวจดานหลัง

-3-
5. ทาํ การปฐมพยาบาลสิ่งท่เี ปน อันตรายตอชีวิตกอ น ถามีการตกเลือดรนุ แรงกท็ ําการหามเลอื ดกอน
ถามีการไมหายใจหรอื หวั ใจหยุดเตน ตอ งแกไขกอน แลวจึงปอ งกนั และรกั ษาชอ็ ก กรณีที่ไมมสี ่ิงผดิ ปกติ
ดังกลา วใหรกั ษาความอบอุนของรา งกาย นอนนิ่ง ๆ และใหมีอากาศปลอดโปรง
6. ปลดคลายเส้อื ผา ที่คบั หรือรัดออก โดยเฉพาะอยางย่งิ ทีบ่ รเิ วณคอ อก ทอง และขา
7. ปอ งกันไมใหเกดิ การสาํ ลกั ถา มกี ารอาเจยี นใหพ ลิกหนาผูปวยเจ็บตะแคงไปดา นใดดานหนง่ึ เพือ่ ให
สงิ่ ท่ีอาเจยี นไหลออกจากปากไดสะดวก ถาหมดสติ อยาใหผูป ว ยเจ็บดมื่ น้าํ หรอื ยา

รปู การจัดทาผูปวยเจบ็ ตะแคง

การปฐมพยาบาลบาดแผล
บาดแผล หมายถึง การท่ีเนื้อเย่ือที่อยูใตผิวหนังถูกทําลายหรือมีการฉีกขาดเกิดขึ้นจากสาเหตุใด

ก็ตาม
๑. บาดแผลปด

เปนบาดแผลที่ไมมีรอยแยกของผิวหนังปรากฏใหเห็น เกิดจากแรงกระแทกของของแข็งท่ีไมมีคม
แตอาจมีการฉีกขาดของเน้ือเย่ือและเสนเลือดฝอยใตผิวหนัง ซ่ึงมองจากภายนอกจะเห็นเปนลักษณะฟกช้ํา
โดยอาจมีอาการปวดรวมดวย แผลประเภทนี้ที่พบเห็นไดบอยในชีวิตประจําวันคือรอยฟกชํ้าเปนจ้ําเลือด
ซ่ึงเกิดจากแรงกระแทกของวัตถุไมมีคม หรือส่ิงของตกหลนใสบริเวณรางกาย เชน ศีรษะ แขน ขา แตทําไห
หลอดเลือดฝอยใตผิวหนังฉีกขาด มีเลือดซึมอยูในเน้ือเยื่อ การฟกชํ้าที่รุนแรงอาจบอกถึงอาการบาดเจ็บ
ท่ีรนุ แรงได เชน กระดูกแตกหรือหัก

การปฐมพยาบาล
(๑) ยกและประคองสวนท่บี าดเจ็บใหอ ยู
ในทา สบาย
(๒) ประคบเย็นและรัดสว นท่ฟี กชํ้า
(๓) ถามีขอ เคลด็ หรือกระดกู แตกหรือหัก
ใหรีบสง แพทย

-4-

๒. บาดแผลเปด
เปน บาดแผลท่ที าํ ใหเกดิ รอยแยกของผวิ หนงั แบงออกเปน
๒.๑ แผลถลอก เปนแผลตื้น มีผิวหนังถลอกและมีเลือดออกเล็กนอย ไมมีอันตรายรุนแรง พบบอย

ในชวี ติ ประจําวนั เชน การหกลม การถูกขีดขวน

การปฐมพยาบาล
(๑) ใหร ีบทาํ การลา งแผลทนั ที เพือ่ ปอ งกนั
การติดเชื้อ และการอักเสบของแผล
(๒) ใสยาฆา เช้ือ

๒.๒ แผลฉีกขาด เปน แผลทเ่ี กดิ จากวัตถุท่ีไมมีคม แตมแี รงพระชากหรือกระแทกพอทจี่ ะทําใหผ ิวหนงั
และเนื้อเย่ือใตผิวหนงั ฉีกขาดได ขอบแผลมักจะขาดกระรุงกระริง่ หรือมีการชอกช้ําของแผลมาก ผบู าดเจบ็
จะเจ็บปวดมากเพราะถูกบริเวณปลายประสาท เชน บาดแผลจากการถูกรถชน บาดแผลจากเคร่ืองจักรกล
หรอื ถกู แรงระเบิด

การปฐมพยาบาล
(๑) ทาํ ความสะอาดแผลและรอบบาดแผล
ดว ยนาํ้ สะอาดและสบู
(๒) หา มเลือดดวยผา สะอาด ประมาณ ๓-๕ นาที
(๓) ทําความสะอาดบาดแผล ดว ยนา้ํ ยาฆาเชือ้
(๔) ปดแผลดวยพลาสเตอรหรือผาปดแผล
(๕) หากมีบาดแผลใหญห รอื เน้ือเยอ่ื ฉกี ขาดกระรงุ กระรง่ิ ใหนําสง โรงพยาบาล

๒.๓ แผลตัด เปนแผลท่ีเกิดจากอาวุธหรือเคร่ืองมือท่ีมีคมเรียบตัด เชน มีด ขวาน เศษแกว เศษกระจก
ปากแผลจะแคบ เรียบยาวและชิดกัน ถาบาดแผลลึกจะมีเลือดออกมาก แผลชนิดน้ีมักจะหายไดเร็วประมาณ
3-7 วัน เนอ่ื งจากขอบแผลอยูช ิดกนั

การปฐมพยาบาล
(๑) ทําการหา มเลอื ดและรบี นาํ สงโรงพยาบาล
(๒) ถา มีอวัยวะทถ่ี ูกตัดขาด ใหใ สถงุ พลาสติก
ที่สะอาด ปด ปากถุงใหแนนไมใ หน้ําเขา
(๓) แชในถังนํ้าแขง็ แลวนําสงโรงพยาบาลพรอ มผูป วย

-5-
๒.๔ แผลถูกแทง เปนแผลท่ีเกิดจากวัตถุท่ีมีปลายแหลมแทงเขาไป เชน มีดปลายแหลม ตะปู
เหล็กหลม เศษไม ปากแผล จะเล็กแตลึก ถาลึกมากมีโอกาสจะถูกอวัยวะที่สําคัญมักจะมีเลือดออกมาก ทําให
ตกเลือดภายในได
การปฐมพยาบาล

(๑) ทาํ การหา มเลือด และรบี นําสง
โรงพยาบาล

(๒) ถา มวี ตั ถุปก คาอยูห า มดึงออกใหใช
ผา สะอาดกดรอบแผลและใชผ า พนั ไว
แลว รีบนาํ ตวั สงโรงพยาบาลทันที

๒.๕ บาดแผลถูกยิง ทําใหเกิดการบาดเจ็บภายในท่ีรุนแรง โดย
ตาํ แหนงที่กระสุนเขา สรู า งกายบาดแผลจะเล็กและมีขอบชัดเจน แตตาํ แหนง
ที่กระสนุ ออก(อาจฝง ใน) บาดแผลจะใหญกวา และฉกี ขาดมาก

การปฐมพยาบาล
- ใหทําการหามเลือด และรีบนําสงโรงพยาบาลโดยทันที

เนอื่ งจากมกี ารเสยี เลือดคอนขางมาก
การหา มเลอื ด
วิธีการการหามเลอื ด

๑. การกดลงบนบาดแผลโดยตรง วิธีน้ีเปนวิธีหามเลือดที่ไดผลดีท่ีสุด อาจจะใชมือกดหรือใชผาวาง
บนแผลก็ได โดย

(๑) กดใหกดแนน ๆ นานประมาณ ๑๐ – ๓๐ นาที
(๒) เมอื่ เลือดหยุดไหล ใหทําแผลและใชผ าพนั
(๓) อยาคลายผาหรือเปล่ียนผาพันแผลเปนอันขาด เพราะอาจทําใหเลือดออกไดอีกและทําให
เพ่ิมความบาดเจ็บมากขน้ึ ถาเลอื ดโชกผา พัน ใหใ ชผ าพันทบั เขาไปอีกช้ันหน่งึ แทนท่จี ะเปลยี่ นผาใหม

- ควรสวมถุงมือเม่ือสมั ผัสตัวผปู ว ย เพ่ือปอ งกันการตดิ เช้ือ
- กรณีผา ปด แผลชุมเลือดไมควรเอาออกและควรนาํ ผา อีกช้ินมาปด ทับบนผาช้นิ แรก
- พนั ผา แลวผกู ไว และควรยกอวยั วะใหส ูงขึน้
- เมอ่ื ทาํ การปฐมพยาบาลแลวใหรีบสง ตวั เขาโรงพยาบาลทันที

-6-
๒. การกดบนเสนเลือดแดง กรณีที่มีเลือดออกรุนแรง ใหใชวิธีการกดบนเสนเลือดแดงตามจุดที่สําคัญๆ
๔ จุด คือ เสนเลือดแดงไปเล้ียงหนังศีรษะ เสนเลือดแดงไปเลี้ยงหนา เสนเลือดแดงไปเล้ียงแขน และเสนเลือดแดง
ไปเลยี้ งขา

ตาํ แหนง กดหา มเลือด

๓. การรัดขันชะเนาะหรอื ทูนเิ กต(Tourniquet) เปนการหา มเลือดโดยการใช ผา เชือก หรือสายยาง
รดั ไมใ หเ ลอื ดออกจากหลอดเลือดแดงที่มาเลย้ี งบริเวณบาดแผล ใชส าํ หรับบาดแผลบริเวณแขนขาเทา น้นั

ข้ันตอนการขันชะเนาะ

๑. ใชผ าพันรอบแขนหรอื ขาสองรอบแลวผกู เง่ือน ๑ ปม ๓. หมนุ ไมเปนวงกลมใหแนนจนเลอื ดหยุด

๒. ใชไมแ ขงวางบนปมเงอ่ื นแลวผกู เงอ่ื นอีก ๑ ปม ๔. พันปลายไมไวกันหมนุ กลบั

ระวัง
๑. อยา รดั ทูนเิ กตล งบนผวิ หนังโดยตรง ควรใชผ า หรอื สําลีหุมรอบแขนหรือขาเสียกอน

๒. ใชใ นรายท่ีแขนหรอื ขาไดรบั บาดเจบ็ รนุ แรง ที่ตองทาํ การตัดแขนหรือขาออกเทา นนั้
๓. หามใชเสน ลวด หรือเชอื กผกู รองเทาเปน สายรดั หามเลือด

๔. เมือ่ รัดสายรดั หา มเลือดแลว หา มคลายสายรัดออก

๕. การคลายสายรัดหามเลือดออกตองกระทําโดยบุคคลากรทางการแพทยที่มีความชํานาญ และอยูใน
สถานท่ีที่มีอุปกรณชว ยชวี ติ ท่ีพรอม

-7-

การเสยี เลือดภายใน
การหามเลือดภายในเปนไปไดยาก นอกจากการสังเกตอาการและปองกันภาวะช็อค แลวรอคอย

การชว ยเหลือจากแพทยหรอื นาํ ผูปวยสง โรงพยาบาลเรว็ ที่สดุ

การปฐมพยาบาลผเู สียเลือดภายใน
๑. ถา มีกระดูกหักใหใชเ ฝอกดามเสยี กอ น
๒. ใหผปู ว ยนอนในทา ที่ถกู ตอ งดังตอไปนี้
๒.๑ นอนศีรษะต่ําเทาสูง โดยใหผูปวยนอนศีรษะต่ํายกเทาสูงเหนือพ้ืนประมาณ ๑๒ – ๑๘ น้ิว หามใช

ทาน้ีถาผูปวยมีบาดเจ็บที่กระดูกสันหลัง กระดูกคอบาดเจบ็ สมองบาดเจ็บ ชองทองหรือทรวงอก (เพราะจะทํา
ใหอ วัยวะและเลือดในชอ งทอ งเพิ่มความดันใตก ระบงั ลม)

๒.๒ สาํ หรบั ผูป ว ยมกี ระดูกแขนขาหัก ใหน อนหงายราบ
๒.๓ สําหรบั ผูปว ยบาดเจบ็ ทีท่ รวงอกหรอื เปนโรคหวั ใจท่ยี งั สตดิ อี ยู ใหนอนศรี ษะสงู
๒.๔ ถา ผปู ว ยหมดสติ ใหนอนตะแคงเพ่ือปองกนั การสําลักอาเจยี น
๓. คลายเส้ือผา ใหห ลวม
๔. ผูบาดเจบ็ ท่ไี มร ูสึกตัวใหนอนในทาพกั ฟน
๕. หามด่ืมนาํ้ และหา มกินอาหาร (เพ่อื ปองกนั อาเจยี น และเตรยี มตวั สําหรับการผา ตดั )

แหงนศรี ษะไปดา นหลัง แขนดานลา ง
ต้งั ฉากกับลําตวั
ตรวจนับชพี จร

คลายเสื้อผาใหหลวมสูง มือหนนุ ใตแกม

งอเขา ใหล ําตัวมนั่ คง

ใหผบู าดเจบ็ นอนหงายศรี ษะต่ําเทา หาอุปกรณรองปลายเทา หมัน่ ตรวจการหายใจและชพี จร
หากผูบาดเจ็บหยุดหายใจหรือหัวใจ
หยุดเตน ตองทาํ การการกูช ีวิต

บาดแผลถูกความรอน เปนแผลที่เกิดจากความรอนแหง เชน ไฟไหม ความรอนเปยก เชน น้ํารอนลวก
การถกู กรด-ดา ง สารเคมที ี่มผี ลทาํ ใหเนือ้ เยอ่ื มีการบาดเจบ็ เปน อนั ตรายต้งั แตเลก็ นอยจนถึงแกชวี ติ

การปฐมพยาบาลทั่วไป
๑. ราดดว ยนํา้ เย็นหรือเปดน้ําใหไหลผา นบรเิ วณบาดแผล

- บาดแผลรนุ แรงรบี ขอความชวยเหลอื หรือโทร ๑๖๖๙

-8-
๒. รีบถอดหรือตัดเส้ือผา เครื่องประดับหรือเข็มขัด ออกจากบริเวณท่ี
ถูกความรอนออก

- ถาวตั ถุดังกลา วตดิ กับบาดแผลหามถอดออก
๓. บาดแผลไมรุนแรงทายาสาํ หรับแผลไฟไหม แลว ปด ดวยผา สะอาด

- หา มใชครมี ขผี้ ง้ึ ไขมนั หรือยาสฟี น ทาทบ่ี าดแผล

๔. ถาแผลกวางและลกึ หรอื ถูกอวยั วะสําคัญ ใหร บี นาํ สงโรงพยาบาล
- ใหผ บู าดเจ็บนอนลง ยกและพยงุ ขาใหสูง
- ตรวจและบันทึกการหายใจและชีพจรทุกๆ ๑๐ นาที ระหวา งรอ

ทีมชว ยเหลือหรอื รถพยาบาล

-9-

๒. การปฐมพยาบาลผูทกี่ ระดกู หักและการเคล่อื นยา ยผูบาดเจบ็ เบือ้ งตน

หลกั ท่ัวไปในการปฐมพยาบาลผทู ่ีกระดูกหัก
การปฐมพยาบาลที่ดีที่สุด คือ ใหผูปวยนอนอยูกับท่ีหามเคลื่อนยายโดยไมจําเปน เพราะหากทําผิดวิธี

อาจบาดเจ็บมากข้ึน ถาผูปวยมีเลือดออกใหหามเลือดไวกอน หากมีอาการช็อกใหรักษาช็อกไปกอน
ถาจําเปนตองเคลื่อนยายผูปวยใหเขาเฝอกชั่วคราว ณ ท่ีผูปวยนอนอยู ถาบาดแผลเปด ใหหามเลือดและ
ปดแผลไวช่ัวคราวกอนเขาเฝอก สิ่งท่ีควรระวังมากท่ีสุดคือกระดูกสันหลังหักหรือกระดูกตนคอหัก
ถาเคลื่อนยายผิดวธิ ี อาจทําใหผ ปู ว ยพกิ ารตลอดชีวิต หรอื ถงึ แกชวี ติ ไดท นั ทีขณะเคลือ่ นยา ย
การเขา เฝอกชวั่ คราว

การดามบริเวณท่ีหักดวยเฝอกช่ัวคราวใหถูกตองและรวดเร็ว จะชวยใหบริเวณที่หักอยูนิ่ง ลดความ
เจ็บปวด และไมกอใหเกิดการบาดเจ็บเพ่ิมขึ้น โดยใชวัสดุท่ีหาไดงาย เชน ไม หรือกระดาษหนังสือพิมพ
พับใหหนา หมอน รม ไมกดล้ิน กระดาน เสา ฯลฯ รวมท้ังผาและเชือกสําหรับพันรัดดวยไมควรเคลื่อนยาย
ผปู วยจนกวาจะเขาเฝอกช่ัวคราวใหเรียบรอยกอน ถาไมมีสิ่งเหลานี้เลย ใหใชแขนหรือขาขางที่ไมหักหรอื ลําตัว
เปนเฝอกชัว่ คราว โดยผูกยึดใหดกี อนที่จะเคล่ือนยา ยผูป ว ย

รูปการใชผา สามเหล่ยี มคลองแขน

รปู การดามแขน

รปู การดามขา

- 10 -

การเคลื่อนยายผูบาดเจบ็
เพื่อเคลื่อนยา ยออกจากสถานท่ีมีอนั ตรายไปสทู ่ีปลอดภยั หรอื โรงพยาบาล ควรเคล่ือนยา ยอยา งถูกวธิ ี

จะชว ยลดความพิการและอนั ตรายตา งๆ ที่จะเกดิ ข้นึ ได
การชวยเหลือผูปวยกระดกู สันหลังหกั ทคี่ อ

ใหผูปวยนอนรอบโดยมีศีรษะอยูนิ่งและจัดใหเปนแนวตรงกับลําตัวโดยใชหมอนหรือของแข็งๆ ขนาบ
ศีรษะขางหูท้ังสองดาน ถาผูปวยประสบเหตุขณะขับรถยนตอยู กอนเคล่ือนยายผูปวยท่ีกระดูกสันหลังสวนคอ
หักออกจากที่นั่งในรถ ผูชวยเหลือควรใหผูปวยน่ังพิงแผนไมกระดานท่ีมีระดับสูงจากสะโพกขึ้นไปจนเหนือ
ศีรษะ ใชเชือก หรือผามัดศีรษะและลําตัวของผูปวยใหติดแนนกับแผนไมไมใหขยับเขย้ือนเปนเปลาะๆ แลวจึง
เคล่ือนยา ยผปู ว ยออกมา

รูปการดามกระดกู คอ รปู การใหผ ูปว ยนั่งพิงแผนไมกระดาน

หากตองเคล่อื นยายผปู วย เชน นําสง โรงพยาบาลควรหาผูชว ยเหลืออยา งนอย ๔ คน ใหผชู วยเหลอื ยก
ผูปวยขึ้นจากพ้ืนพรอมๆ กัน ใหศีรษะและลําตัวเปนแนวตรง ไมใหคองอเปนอันขาด แลวจึงวางผูปวยลงบน
แผน กระดาน หรือเปลพยาบาลตอ ไป

รูปการเคล่อื นยายผปู วยกระดูกหักท่ีคอ

- 11 -
การชวยเหลอื ผูป วยกระดูกสันหลงั หกั ทห่ี ลัง

ใหผูปวยนอนราบอยูบนพ้ืน ไมใหเคล่ือนไหว หาผูชวยเหลือ ๓-๔ คน และแผนกระดานขนาดยาวเทา
ผูปวย เชน บานประตู หรือเปลพยาบาล คอยๆ เคล่ือนตัวผูปวยในทาแนวตรงท้ังศีรษะและลําตัว ไมใหหลังงอ
เปนอันขาด วางผูปวยลงบนไมกระดานหรือบนเปลพยาบาล ใชผารัดตัวผูปวยใหติดกับแผนกระดานเปน
เปลาะๆ ไมใ หเคลอื่ นไปมาแลว จงึ นําสงแพทย

รูปการเคลือ่ นยายผปู วยกระดูกสันหลงั หัก

- 12 -

๓. การปฐมพยาบาลผปู ว ยหมดสตเิ นอื่ งจากเปนลม, ชัก, ช็อก

ภาวะการหมดสติ นั้นเกิดมาจากหลายสาเหตุ ดังน้ันการชว ยเหลอื ผูปวยขั้นตนเปนสงิ่ สําคัญมาก เปน ตอ งอาศัย
ผูที่มคี วาม รูความสามารถที่จะชวยรักษาชีวิตผูปวยไวไ ด ซง่ึ มหี ลักควรปฏิบัตดิ งั น้ี

1. ตรวจดใู นปากวา มีสงิ่ อุดตันทางเดนิ หายใจหรือไม ถา มีตองรบี นําออกโดยเรว็
2. จดั ใหผ ปู ว ยอยใู นทาท่ีเหมาะสม โดยใหผูปวยนอนตะแคงควํ่าไปดานใดดา นหนึง่
3. คลายเคร่ืองนุงหมใหห ลวม และหามใหน ํา้ หรืออาหารทางปาก
4. ทําการหา มเลือดในกรณที ่ีมีเลือดออก ถา มีอาการไมดีขึ้นใหรีบนําสง โรงพยาบาลโดยดว น

การปฐมพยาบาลผูปว ยหมดสตเิ น่ืองจากเปน ลม
เปนลม คือ อาการหมดสติเพียงช่ัวคราว เนื่องจากการท่ีเลือดไปเล้ียงสมองไมพอ เกิดจากหลาย

สาเหตุ เชน เหนือ่ ยหรือรอ นจัด, หวิ หรือเครียด
การปฐมพยาบาล
1. นาํ เขา พักในท่รี ม มอี ากาศถายเทไดส ะดวก
2. ใหนอนราบ และคลายเสื้อผา ใหห ลวม
3. ใชผา ชุบนํ้าเยน็ เช็ดเหงื่อท่ีหนาผาก มอื และเทา
4. ใหผูปว ยดมแอมโมเนีย
ขอสังเกต ถาใบหนาผูทเ่ี ปนลมขาวซดี ใหนอนศรี ษะต่ํา ถาใบหนามสี แี ดงใหน อนศรี ษะสูง

การปฐมพยาบาลผูปว ยหมดสตเิ นื่องจากการชกั
โรคลมชัก เปนโรคที่เกิดจากความผิดปกติของเซลลสมองบริเวณผิวสมอง กลาวคือหากกระแสไฟฟา

ในสมองเกิดการลัดวงจรหรือเกิดความผิดปกติบางอยางขึ้น จะทําใหผูปวยมีอาการผิดปกติทางระบบประสาท
ตามมาจนไมสามารถควบคุมตัวเองได อยางเชน ถาเซลลสมองเกิดความผิดปกติบริเวณสวนของการควบคุม
กลา มเนื้อ ผูปวยจะมีอาการชักเกรง็ กระตุกเหมือนถูกไฟฟาชอต ชกั แบบเปน ๆ หาย ๆ หรือบางคนอาจมอี าการ
เกดิ ขึน้ เฉพาะสวนใดสวนหนึง่ ของรางกาย อาจหมดสติหรือไมห มดสตกิ ็ได แตบางคนก็อาจมีพฤตกิ รรมน่งิ เหมอ
ลอย

การปฐมพยาบาล
1. ถาหากผูท่ีชักกระตุกอยูในท่ีอันตราย เชน บนที่สูง บนขั้นบันได หรือท่ีอ่ืนใดอันอาจกอใหเกิด
อันตรายรายแรงได ตองพยายามใหพนจากจุดอนั ตรายและหากมีวัสดุรอบๆ ท่ีอาจกออันตรายไดใหเคล่ือนยาย
ออก
2. อยาพยายามไปล็อกตัวหรือผูกตัวคนท่ีกําลังชักกระตกุ ประคองผูปวยใหนอนหรอื นง่ั ลง สอดหมอน
หรอื วัสดุออ นนมุ ไวใตศ รี ษะตะแคงศรี ษะใหน้ําลายไหลออกทางมุมปาก
3. อยาใสสิ่งของเขาไปในปากหรืองัดปากผูปวย เพราะปกติผูปวยจะไมกัดล้ินตัวเอง อีกทั้งวัสดุ
ทใี่ สเ ขา ไปอาจจะหักหรอื ขาดหรือทาํ ใหฟน หกั หลุดไปอุดหลอดลมจนหยุดหายใจได
4. การชักกระตุกโดยปกติจะเปนเวลา 1-2 นาที ถาหากชักกระตุกนานๆ มากกวา 3 นาที หรือ
ชกั กระตุกติดตอกนั เรอื่ ยๆ ควรรบี นําสงโรงพยาบาลเพอื่ ใหแ พทยตรวจรักษา

- 13 -

การปฐมพยาบาลผูปว ยหมดสตเิ น่ืองจากการช็อก
อาการช็อก หมายถงึ สภาวะทีเ่ ลอื ดไมสามารถนาํ ออกซเิ จนไปเลย้ี งเนื้อเยื่อตางๆ ท่วั รา งกายให

เพียงพอได สว นใหญก ารเสียเลอื ดจะเปนสาเหตสุ าํ คัญ ทท่ี ําใหเ กดิ อาการช็อกได
อาการแสดงภาวะชอ็ ค
๑. หนาซดี เหงอ่ื ออก ตัวเยน็ ชนื้ เหงอื่ ออกเปนเม็ดๆ บนใบหนา
๒. ปลายมอื – ปลายเทา และผิวหนังเย็นชื้น
๓. อาจคลน่ื ไสอ าเจียน
๔. ชีพจรเบาแตเร็ว หายใจหอบถี่ ไมส ม่าํ เสมอ
๕. รูมานตาขยายโตขน้ึ ทง้ั สองขา ง
๖. หากไมรีบปฐมพยาบาลอาจเสยี ชีวิตได
การปฐมพยาบาล
1. นําเขา พักในทรี่ ม มีอากาศถา ยเทไดสะดวก คลายเสอื้ ผาใหหลวม ใหความอบอนุ
2. ใหนอนราบไมต องหนนุ ศรี ษะ และควรนอนยกปลายเทา สูง ในชวง 30 นาทแี รก
3. ในรายทไี่ มร สู ึกตวั ใหน อนตะแคงหนาไปขางใดขางหนึ่ง
4. ทําการหามเลือดในกรณีท่ีมบี าดแผลเลือดออก
5. หา มใหอาหารและนํา้ ทางปาก ควรสงั เกตการหายใจเปน ระยะๆ
6. รบี นาํ สงแพทยโ ดยดวน

- 14 -

๔. การชว ยฟน คืนชีพ (CPR)

การชว ยฟน คนื ชพี (Cardio Pulmonary Resuscitation: CPR )
หมายถึง ปฏิบตั ิการเพ่ือชว ยชวี ิตคนที่หยดุ หายใจและหัวใจหยดุ เตนกะทันหัน โดยไมต องใชเคร่ืองมือ

แพทย เพยี งแตใชมือกดท่หี นาอก และเปา ลมหายใจเขาปากผูปว ย

ขอ บงชีใ้ นการปฏิบัตกิ ารชว ยฟน คนื ชีพ
1. ผทู ีม่ ีภาวะหยุดหายใจ โดยท่หี วั ใจยังคงเตนอยูป ระมาณ 2-3 นาที ใหผ ายปอดทนั ที จะชวยปอ งกัน

ภาวะหัวใจหยดุ เตน ได และชวยปองกันการเกิดภาวะเนอื้ เยื่อสมองขาดออกซเิ จนอยางถาวร
2. ผูท่ีมีภาวะหยุดหายใจและหัวใจหยุดเตนพรอมกัน การชวยฟนคืนชีพทันทีจะชวยปองกันการเกิด

เนื้อเย่ือโดยเฉพาะเน้ือเยื่อสมองขาดออกซิเจน ซึ่งโดยทั่วไป มักจะเกิดภายใน 4 นาที ดังน้ันการปฏิบัติการ
ชวยฟน คนื ชพี จงึ ควรทําภายใน 4 นาที

ขนั้ ตอนการปฏิบตั กิ ารชวยฟนคืนชีพ
1. เรยี กดวู าหมดสตจิ รงิ หรอื ไม
กอนเขาชวยเหลือผูบาดเจ็บ ตองประเมินสถานการณความ

ปลอดภัย กอนเสมอ แลว จึงเขาไปยงั ขางตัวผูหมดสติ ทาํ การกระตุนโดย
การตบแรง ๆ ท่ีบริเวณไหลท้ังสองขางของผูหมดสติ พรอมกับตะโกน
ถามวา “คณุ ๆ......เปน อยา งไรบา ง”

2. เรียกหาความชวยเหลือ
หากพบวาหมดสติ หรือหายใจเฮือก ใหรองขอความ

ชวยเหลือจากบุคคลขางเคียง หรือโทรศัพทขอความชวยเหลือหมายเลข
1669 หากมีเครื่อง AED อยูใกลใหวิ่งไปหยิบมากอน หรือเรียกให
บคุ คลใกลเคยี งไปหยิบมา

3. จดั ทา ใหพรอ มสําหรบั การชวยชวี ิต
จัดทาใหผูหมดสติมาอยูในทานอนหงายบนพื้นราบแข็ง
แขนสองขางเหยียดอยขู างลําตวั

4. หาตําแหนง วางมือบนหนาอก
๔.๑ กรณีผูใหญ ถาผูหมดสติไมไอ ไมหายใจ

ไมขยับสวนใดๆ ของรางกายใหถือวา หัวใจหยุดเตน ไมมี
สัญญาณชีพ ตองชวยกดหนาอกทันที ใหหาตําแหนงการ
วางมือที่คร่ึงลางของกระดูกหนาอกเพ่ือกดหนาอก โดยใช
สน มอื ขา งหนง่ึ วางบนบริเวณครงึ่ ลางกระดูกหนาอก แลวเอามอื อีกขา งหนง่ึ วางทาบหรอื ประสานไปบนมือแรก

- 15 -

4.2 กรณีเด็ก (ยังไมเปนวัยรุน) วางสนมือของ
มือหน่ึงไวบนกระดูกอก ตรงกลางระหวางแนวหัวนมท้ังสอง
ขาง (ใชมือเดียวหรือใชสองมือ ขึ้นอยูกับรูปรางเด็ก ตัวเล็ก
หรือตัวโต) ถาใชสองมือใหเอาอีกมือหนึ่งไปวางทาบหรือ
ประสานกับมือแรก กะประมาณใหแรงกดลงตรงก่ึงกลาง
ระหวางแนวหัวนมท้ังสองขาง หรือใชอีกมือหนึ่งดันหนาผาก
เพือ่ เปดทางเดนิ ลมหายใจ

4.3 กรณี ทารก (อายุ 1 เดือน ถึง 1 ป )
กดหนาอกดวยน้ิวมือสองนิ้วท่ีก่ึงกลางหนาอกเด็ก โดยใชน้ิวชี้
และนวิ้ กลาง หรือใชน ้วิ กลางและนว้ิ นางกดหนาอก

5. กดหนาอก 30 ครั้ง
การกดหนาอกเปนการทําใหระบบไหลเวียนโลหิตคงอยูไดแมหัวใจจะหยุดเตน สามารถทําไดโดย

กดหนาอกแลวปลอย กดแลวปลอย ทําติดตอกันไป 30 คร้ัง ใหไดความถี่ของการกดอยางนอย 100 คร้ังตอ
นาที โดยนับ “หนึ่ง และสอง และสาม และสี่ และหา และหก และเจ็ด และแปด และเกา และสิบ สิบเอ็ด
สิบสอง สบิ สาม สิบสี่ ......สบิ เกา ย่ีสิบ ย่สี ิบเอ็ด ยีส่ บิ สอง ยีส่ ิบสาม....... ยีส่ ิบเกา สามสบิ ”

ใหฝกนับและจับเวลาจาก หน่ึงและสองและสาม... ไปจนถึงสามสิบ จะใชเวลาไมเกิน 18 วินาที
จงึ จะไดค วามเรว็ ในการกดอยางนอย 100 ครง้ั ตอ นาที

เทคนคิ ในการกดหนา อก
1) วางมอื ลงบนตําแหนงท่ีถูกตอ ง ระวงั อยา กดลงบนกระดูกซโี่ ครง เพราะจะเปนตน เหตุใหซ ่โี ครงหัก
2) แขนเหยียดตรงอยางอแขน โนมตัวใหหัวไหลอยูเหนือผูหมดสติ โดยทิศทางของแรงกดด่ิงลงสู
กระดกู หนา อก
3) กรณผี ูใหญ กดหนา อกใหย บุ ลงไปอยางนอ ย 2 นิ้วหรือ 5 ซม.
4) กรณีเด็ก กดหนาอกใหยุบลงอยางนอย 1/3 ของความหนาของทรวงอก หรือประมาณ 2 นิ้ว
(5 ซม.)

- 16 -

5) ในจังหวะปลอยตองคลายมือข้ึนมาใหสุด เพื่อใหหนาอกคืนตัวกลับมาสูตําแหนงปกติกอนแลว
จงึ ทําการกดคร้ังตอไป อยากดทิ้งนํ้าหนักไว เพราะจะทําใหหัวใจคลายตัวไดไมเต็มที่ หามคลายจนมือหลุดจาก
หนา อก เพราะจะทาํ ใหต าํ แหนง ของมอื เปลีย่ นไป

6) กรณีทารก กดหนาอกใหยุบลงอยางนอย 1/3 ของความหนาของทรวงอก หรือประมาณ 1.5 น้ิว
(4 ซม.)

6. เปดทางเดินหายใจใหโ ลง
ในคนท่ีหมดสติ กลามเนื้อจะคลายตัวทําใหลน้ิ ตกลงไปอุดทางเดินหายใจ การเปด ทางเดนิ หายใจทํา

โดยวิธีดันหนาผากและยกคาง (head tilt - chin lift) โดยการเอาฝามือขางหนึ่งดันหนาผากลง น้ิวช้ีและ
น้ิวกลางของมืออีกขางยกคางขึ้น ใชนิ้วมือดึงเฉพาะกระดูกขากรรไกรลางโดยไมกดเนื้อออนใตคาง ใหหนา
ผูปวยเงยขึ้น ในกรณีที่มีกระดูกสันหลังสวนคอหัก หรือในรายที่สงสัย ควรใชวิธียกขากรรไกร (jaw thrust
maneuver) โดยการดึงขากรรไกรทั้งสองขางขึ้นไปขา งบน ผูชวยเหลืออยเู หนือศรี ษะผปู วย

วิธดี นั หนา ผากและยกคาง (head tilt - chin lift) วธิ ียกขากรรไกร (jaw thrust maneuver)

7. ชวยหายใจ

เมื่อเห็นวาผูหมดสติไมหายใจหรือไมม่ันใจวาหายใจได ใหเปาลมเขาปอด 2 คร้ัง แตละครั้งใชเวลา

1 วินาที และตองเหน็ ผนังทรวงอกขยับขนึ้

วิธชี ว ยหายใจแบบปากตอ ปากพรอ มกับดนั หนาผากและยกคาง

ใหเล่ือนหัวแมมือและนิ้วช้ีของมือท่ีดนั หนาผากอยูมาบีบจมูก

ผูหมดสติ ตาชําเลืองมองหนาอกผูหมดสติพรอมกับเปาลมเขาไปจน

หนาอกของผูหมดสติขยับข้ึน เปานาน 1 วินาที แลวถอนปากออกให

ลมหายใจของผูหมดสติผา นกลับออกมาทางปาก

ถา เปาลมเขาปอดคร้ังแรกแลว ทรวงอกไมขยับขึ้น (ลมไมเขา

ปอด) ใหจัดทาโดยทําการดันหนาผาก ยกคางข้ึนใหม (พยายามเปด

ทางเดนิ หายใจใหโ ลงท่สี ดุ ) กอนจะทาํ การเปา ลมเขา ปอดครัง้ ตอไป

- 17 -

การชวยชีวิตทารก มีประเด็นสําคัญท่ีแตกตางจากการ
ชวยชีวิตในผูใหญบางประการ คือ ในกรณีท่ีปากเด็กเล็กมาก การเปา
ปากควรอา ปากใหค รอบทงั้ ปากและจมูกของทารก

หมายเหตุ
การเปาลมเขาปอด ถา ทําบอยเกินไป หรอื ใชเวลานานเกนิ ไป จะเปนผลเสียตอการไหลเวียนโลหิตและ

ทาํ ใหอ ตั ราการรอดชวี ิตลดลง
หลังการเปาลมเขาปอด 2 ครง้ั ใหเรมิ่ กดหนา อกตอเนือ่ ง 30 ครงั้ ทันที สลบั กับการเปาลมเขาปอด 2

ครงั้ (หยุดกดหนา อกเพ่ือชวยหายใจ 2 ครง้ั ตองไมเ กนิ 10 วินาที ) ใหท ําเชน นจี้ นกระทง่ั
1) ผูป ว ยมกี ารเคลือ่ นไหว หายใจ หรือไอ
2) มคี นนาํ เครือ่ งชอ็ กไฟฟาหวั ใจอัตโนมตั ิ (เออดี ี ) มาถึง
3) มีบุคลากรทางการแพทยมารบั ชว งตอ

8. กดหนาอก 30 คร้ังสลบั กบั การเปาลมเขาปอด 2 ครง้ั
เม่ือผานข้ันตอนการชวยเหลือมาต้ังแตขั้นที่ 1 ถึงข้ันที่ 8 แลว ผูหมดสติจะไดรับ การเปาลม

เขาปอด 2 คร้ัง สลับกับกดหนาอก 30 คร้ัง (นับเปน 1 รอบ ) ใหทําตอไปเร่ือยๆ จนกวาผูปวยมีการ
เคลอื่ นไหว ไอ หรือหายใจ หรอื เครอ่ื ง AED มาถงึ หรอื มีบุคลากรทางการแพทยม ารบั ชวงตอ ไป

ในกรณีที่มีผูปฏิบัติการชวยชีวิตมากกวา 1 คน สลับหนาที่ของผูท่ีกดหนาอกกับผูที่ชวยหายใจ
ทุก 2 นาที (5 รอบ)
หมายเหตุ

ถาผูป ฏบิ ตั กิ ารชว ยชวี ติ ไมตอ งการเปา ปากผหู มดสติ หรือทําไมได ใหทําการชวยชวี ิตดว ยการกด
หนาอกอยางเดยี ว

9. การจัดใหอ ยใู นทาพกั
ถา ผูหมดสติรตู ัว หรอื หายใจไดเ องแลว ควรจดั ใหผปู วยนอนในทาพักฟน โดยจัดใหนอนตะแคง เอา

มือของแขนดานบนมารองแกม ไมใหหนาคว่ํามากเกินไป เพื่อปองกันไมใหสําลักหรือลิ้นตกไปอุดก้ันทางเดิน
หายใจ

การจัดใหอ ยูในทา พกั
หมายเหตุ

ในกรณีทส่ี งสัยวา มีการบาดเจ็บของศรี ษะหรือคอ ไมควรขยับหรอื จดั ทาใดๆ

- 18 -

การใชเ ครื่องชอ็ กไฟฟา หัวใจอัตโนมตั ิ
(Automated external defibrillator : AED : เออีด)ี

การใชเครื่องช็อกไฟฟาหัวใจอัตโนมัติหรือเคร่ือง AED เปนอีกข้ันตอนท่ีมีความสําคัญมากในหวงโช
แหงการรอดชีวิต เครื่อง AED เปนอุปกรณที่สามารถ “วิเคราะห” คลื่นไฟฟาหัวใจของผูปวยไดอยางแมนยํา
ถาเคร่ืองตรวจพบวาคล่ืนไฟฟาหัวใจของผูปวยเปนชนิดที่ตองการการรักษาดวยการช็อกไฟฟาหัวใจ เครื่องจะ
บอกเราใหช็อกไฟฟาหัวใจแกผูปวย การช็อกไฟฟาหัวใจใหกับผูปวยเปนการรักษาท่ีมีประสิทธิภาพและประสบ
ความสําเร็จสูงมาก จะทําใหคลื่นไฟฟาหัวที่ผิดปกติน้ันกลับมาสูภาวะปกติได และหัวใจจะสามารถสูบฉีดโลหิต
ไปเลี้ยงรางกายไดตามปกติ แตถาเคร่ือง AED ตรวจพบวาคล่ืนไฟฟาหัวใจของผปู วยเปนชนดิ ท่ีไมตอ งรักษาดว ย
การชอ็ กไฟฟาหัวใจ เครือ่ งจะบอกวาไมตองช็อก และบอกใหประเมินผูปวย ซ่งึ เราจะตอ งประเมินและพิจารณา
ตอ เองวาจะตองทาํ การชวยฟน ชวี ติ ขนั้ พ้นื ฐานโดยการกดหนา อกใหแกผ ูปวยหรือไม

การใชงานเคร่ือง AED แมจะมีเคร่ือง AED หลายรุนจากหลายบริษัทแตหลักการใชงานจะมีอยู 4
ข้ันตอนเหมอื นกัน ดงั น้ี

1. เปดเคร่ือง ในเครื่อง AED บางรุนทานตองกดปุมเปดเคร่ือง
ในขณะท่ีเครื่องบางรุนจะทํางานทันทีที่เปดฝาครอบออก เมื่อเปดเครื่องแลวจะ
มีเสียงบอกใหรูว าทา นตอ งทําอยางไรตอ ไปอยา งเปนขน้ั ตอน

2. ติดแผนนําไฟฟา โดยติดแผนนําไฟฟาทั้ง 2 แผน เขากับหนาอกของผูปวยใหเรียบรอย (ในกรณี
จําเปนทานสามารถใชกรรไกรตัดเส้ือของผูปวยออกก็ได กรรไกรน้ี จะมีเตรียมไวใหในชุดชวยชีวิตอยูแลว
(กระเปา AED) ตองใหแนใ จวา หนาอกของผปู วยแหง สนิทดี ไมเปยกเหงือ่ หรอื เปย กนํ้า แผนนาํ ไฟฟาของเครื่อง
AED ตองติดแนบสนิทกับหนาอกจริงๆ ถาจําเปนทานสามารถใชผาขนหนู ซึ่งจะมีเตรียมไวใหในชุดชวยชีวิต
เช็ดหนาอกของผปู วยใหแหงเสียกอน การตดิ แผนนําไฟฟาของเครื่อง AED น้ัน เริ่มดวยการลอกแผนพลาสติก
ดา นหลังออก ตําแหนง ตดิ แผนนําไฟฟาดตู ามรูปท่ีแสดงไว ( เครอ่ื งบางรุนมีรปู แสดงทตี่ ัวแผนนําไฟฟา บางรนุ ก็
มรี ปู แสดงที่ตัวเครื่อง ) ตอ งตดิ ใหแ นบสนิทกับหนาอกของผูปวยดวยความรวดเร็ว แผนหนงึ่ ติดไวที่ใตกระดูกไห
ปลาราดานขวา และอีกแผนหนึ่งติดไวท่ีใตราวนมซายดานขางลําตัว ตรวจดูใหแนใจวาสายไฟฟา จากแผนนํา
ไฟฟาตอเขากับตัวเคร่ืองเรียบรอ ย

- 19 -

3. ใหเคร่ือง AED วิเคราะหคลื่นไฟฟาหัวใจ ระหวางนั้น
หา มสัมผัสถูกตัวผูปวยโดยเด็ดขาด ใหทานรองเตือนดงั ๆ วา “เครื่อง
กําลังวิเคราะหคล่ืนไฟฟาหัวใจ หามสัมผัสตัวผูปวย” เครื่อง AED
สวนใหญจะเรม่ิ วิเคราะหคลื่นไฟฟาหัวใจทนั ทีทตี่ ิดแผน นําไฟฟา เสร็จ
เครอ่ื งบางรุน ตองใหก ดปมุ “ANALYZE” กอน

4. หามสัมผัสตัวผูปวย ถาเคร่ือง AED พบวาคล่ืนไฟฟาของผูปวยเปนชนิดที่ตองการการรักษาดวย
การช็อกไฟฟาหัวใจเคร่ืองจะบอกใหเรากดปุม “SHOCK” และกอนที่เราจะกดปุม “SHOCK” ตองใหแนใจ
วาไมมีเคร่ืองสัมผสั ถูกตัวของผูปวย รอ งบอกดังๆ วา “ผมถอย คุณถอย และทุกคนถอย” ใหมองซ้ําอกี ครั้งเปน
การตรวจสอบคร้ังสดุ ทาย กอนกดปุม “SHOCK”

“ผมถอย คณุ ถอย
และทุกคนถอย”

หากเคร่ืองบอกวา “No shock is needed” หรือ “start CPR” ใหเ ริ่มทําการชวยชวี ิตข้ันพื้นฐานตอ
ทันที โดยไมตองปด เครอื่ ง AED

โดยทําการกดหนาอก 30 ครั้งสลับกับชวยหายใจ 2 ครั้ง จนกวาเคร่ือง AED จะส่ังวิเคราะห
คล่นื ไฟฟา หัวใจอีกคร้งั แลวกลบั ไปทําขอ 3, 4
สรุปขั้นตอนสาํ คัญ 4 ประการของการใชเ ครอ่ื ง AED

1. เปด เครื่อง
2. ตดิ แผนนาํ ไฟฟาทีห่ นา อกของผปู วย
3. หามสัมผัสตวั ผูปวยระหวา งเครือ่ ง AED กําลังวเิ คราะหคลน่ื ไฟฟา หัวใจ
4. หา มสมั ผสั ตัวผปู ว ย จากน้นั กดปมุ “SHOCK” ตามท่ีเครื่อง AED บอก
สําหรับข้ันตอนท่ี 1 และ 2 ไมควรใชเวลาเกิน 30 วินาที โดยระหวางข้ันตอนที่ 1 และ 2 ใหกดหนาอก
ตามปกตไิ ด
หลงั จากเครอื่ ง AED บอกวาปลอดภยั ที่จะสมั ผัสผูปว ยไดแลว ใหทาํ การกดหนา อกตอทันที หรอื หาก
เครอื่ ง AED มปี ญ หาในการทํางาน ใหทาํ การกดหนาอกตอไปกอนจนกวาเครื่องจะพรอมใชง าน

- 20 -

ตารางที่ 1 การชว ยชีวิตขั้นพ้นื ฐานในผใู หญ เด็ก และทารก

ผูใหญ คาํ แนะนาํ
เดก็ (1 ป – วัยรุน ) ทารก (1 เดอื น – 1 ป )
การประเมินเบอื้ งตน หมดสติ ไมม กี ารตอบสนอง ไมห ายใจ หรอื หายใจผดิ ปกติ (หายใจเฮอื ก)
ลําดบั การชว ยชีวิต เรม่ิ ดว ยการกดหนาอก เปดทางเดนิ หายใจ ชวยหายใจ (C-A-B)
อตั ราเร็วการกดหนาอก อยา งนอ ย 100 ครงั้ ตอนาที
ความลกึ ในการกดหนาอก อยา งนอย 2 นว้ิ อยางนอ ย 1/3 ของความ อยางนอ ย 1/3 ของความ
หรอื อยา งนอย 5 เซนตเิ มตร หนาหนาอกในแนวหนาหลัง หนาหนา อกในแนวหนาหลงั
ประมาณ 2 นิว้ หรือ ประมาณ 1.5 นิ้ว หรือ
ประมาณ 5 เซนติเมตร ประมาณ 4 เซนติเมตร
การขยายของทรวงอก ปลอยใหม ีขยายตวั กลบั ของทรวงอกระหวา งการกดหนาอกแตละคร้ัง
ควรเปลย่ี นคนกดหนาอกทุก 2 นาที
การรบกวนการกดหนาอก รบกวนการกดหนา อกใหนอยที่สดุ ไมค วรหยุดกดหนา อกนานเกิน 10 วินาที
เปดทางเดนิ หายใจ ดันหนาผากลง ยกคางข้นึ
สัดสวนการกดหนา อกตอ การ 30 : 2
ชว ยหายใจ (ครัง้ : ครง้ั )
การช็อกไฟฟา ติดแผน เออดี ที นั ทีที่เคร่อื งพรอม โดยรบกวนการกดหนาอกใหนอยทส่ี ดุ
เร่ิมทําการกดหนา อกทันทีเมื่อช็อกเสรจ็

การเอาสง่ิ แปลกปลอมทอ่ี ุดก้ันออกจากทางเดนิ หายใจ
จะชว ยเหลอื ในกรณีท่ีสง่ิ แปลกปลอมท่อี ดุ กั้นออกจากทางเดนิ หายใจชนดิ รนุ แรงเทานั้น โดยจะมี
อาการ ดงั น้ี

• หายใจไมได หายใจลาํ บาก

• ไอไมได

• พูดไมมีเสยี ง พูดไมได

• หนาเร่ิมซดี เขียว

• ใชม ือกุมลําคอตวั เอง
วิธีท่ี 1 การรัดกระตุกท่ีทอ งเหนอื สะดือใตล้ินป กรณผี ปู วยยังไมหมดสติ

ใหผูทําการชวยเหลือเขาไปขางยืนหลังผูปวยท่ีกําลังยืนอยู
มือขางท่ีถนัด กําหมัดไวตรงหนาทองระหวางสะดือกับล้ินป มืออีกขาง
โอบรอบกําปนหรือใชวิธีประสานมือสองขางเขาดวยกันโดยหันนิ้วโปง
เขาหาตัวผูปวย แลวรัดกระตุกเขาหาตัวผูทําการชวยเหลืออยางแรง
หลายๆ คร้ัง จนพูดออกมาไดหรือจนกระทั่งเห็นสิ่งแปลกปลอมหลุด
ออกมาจากปาก

- 21 -

วิธีที่ 2 การรัดกระตุกที่หนา อก
เปนเทคนิคเดยี วกับการตัดกระตกุ หรือกดกระแทกที่ทอง แตเล่ือนข้ึนมาทําที่หนาอก โดยวางหมัดไวที่

กงึ่ กลางกระดูกหนา อกแทน ใชใ นคนอว นมากๆ ท่ที องมีขนาดใหญโ อบไมร อบ หรอื ใชใ นคนตง้ั ครรภ

วิธที ่ี 3 การตบหลัง (back blow ) ในเด็กทารก
การเอาส่ิงแปลกปลอมออกจากทางเดินหายใจ

ในเด็กทารก ใหจับเด็กนอนคว่ําบนแขนผูชวยเหลือ
ใหศีรษะตํ่า และตบหลังจนส่ิงแปลกปลอมหลุดออก
จากปากหรือจนครบ 5 คร้ัง ถาไมสําเร็จใหพลิกเด็ก
หงายหนาข้ึน แลวใชสองน้ิวกดกระแทกบริเวณกึ่งกลางกระดูกหนาอก จนสําเร็จหรือจนครบ 5 คร้ัง
แลวตรวจดูส่งิ แปลกปลอมในปาก

ในทกุ กรณี ไมควรลว งปากหรือคอ หากมองไมเ หน็ สงิ่ แปลกปลอมและหากพบวา หมดสติแลว
ใหทาํ การชวยเหลอื ดวยการชวยชีวติ ขัน้ พน้ื ฐาน (Basic Life Support) โดยกดหนาอกและชว ยหายใจทันที


Click to View FlipBook Version