The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

หนังสือไดอารี่ตำบลมะลวน

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by chrkriya632, 2021-11-25 09:56:05

หนังสือไดอารี่ตำบลมะลวน

หนังสือไดอารี่ตำบลมะลวน

ตำ บ ล ม ะ ล ว น

อำ เ ภ อ พุ น พิ น
จั ง ห วั ด สุ ร า ษ ฎ ร์ ธ า นี

รวบรวมโดยนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี



ตำ บ ล ม ะ ล ว น

อำ เ ภ อ พุ น พิ น
จั ง ห วั ด สุ ร า ษ ฎ ร์ ธ า นี

จัดทำโดยนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
นายธนพล โชติรัตน์

นางสาวชาคริยา ศรีรักษา
นายสรวิศ เกตแก้ว

สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี





คำนำผู้เขียน

หนังสือ “ตำบลมะลวน อำเภอพุนพิน” เล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นการศึกษา
ข้อมูลเบื้องต้นของตำบลมะลวน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีเนื้อหา
ดังนี้ ส่วนที่ 1 ข้อมูลพื้นฐาน ส่วนที่ 2 โครงสร้างของชุมชน ส่วนที่ 3 โครงสร้าง
เศรษฐกิจและอาชีพ ส่วนที่ 4 สถานที่สำคัญๆ และส่วนที่ 5 การวิเคราะห์
ศักยภาพชุมชน ซึ่งจุดประสงค์ในการศึกษาข้อมูลต่างๆของตำบลมะลวน เพื่อให้
ผู้จัดทำได้ฝึกการศึกษาค้นคว้าและนำสิ่งที่ได้ศึกษาค้นคว้ามารวบรวมเป็นหนังสือ
เก็บไว้เป็นประโยชน์ต่อการเรียนของตนเองและเป็นประโยชน์แก่ผู้ค้นหาหรือ
ค้นพบ

ทั้งนี้ เนื้อหาได้รวบรวมมาจากการสัมภาษณ์บุคคล เช่น นายกองค์การ
บริหารส่วนตำบลมะลวน ตัวแทนผู้ใหญ่บ้าน ปราชญ์ชาวบ้าน จากแผนพัฒนา
ท้องถิ่นสี่ปี(พ.ศ.2561-2564) และจากข้อมูลทางเว็บไซต์ขอขอบพระคุณอาจารย์
ปานเผด็จ นวนหนู และอาจารย์อยับ ซาดัดคาน เป็นอย่างสูงที่กรุณาตรวจให้
คำแนะนำเพื่อแก้ไขให้ข้อเสนอแนะตลอดการทำงาน คณะผู้จัดทำหวังว่าหนังสือ
เล่มนี้คงมีประโยชน์ต่อการศึกษาของตนเองและเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจเรื่องนี้

คณะผู้จัดทำ
ตุลาคม 2564

สารบัญ 1
2
ส่วนที่ 1 ประวัติความเป็นมา 3
ขนาดและที่ตั้งของตำบล 4
ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ 5
สภาพภูมิประเทศ/สภาพภูมิอากาศ
การเดินทาง/การคมนาคม 6
7
ส่วนที่ 2 โครงสร้างของชุมชน 8
ข้อมูลประชากร 9
การศึกษา
ศาสนา/วัฒนธรรม 10
11
ส่วนที่ 3 โครงสร้างเศรษฐกิจและอาชีพ 12
แหล่งอาหาร/ผลิตภัณฑ์ของชุมชน
สถานภาพทางเศรษฐกิจของประชาชน 13
19
ส่วนที่ 4 สถานที่สำคัญ 22
ส่วนที่ 5 การวิเคราะห์ศักยภาพชุมชน 26
บรรณานุกรม
ภาคผนวก

สารบัญภาพ 6
9
ภาพที่ 1 นายกอบต.มะลวน 9
ภาพที่ 2 ประเพณีวันสารทเดือนสิบ 11
ภาพที่ 3 ประเพณีชักพระ 11
ภาพที่ 4 ขนมชั้นมะพร้าวน้ำหอมแม่อี๊ด 11
ภาพที่ 5 ขนมชั้นมะพร้าวน้ำหอมแม่อี๊ด 13
ภาพที่ 6 ผลิตภัณฑ์สานกระเป๋าด้วยเชือก 14
ภาพที่ 7 วัดเวฬุวนาราม (แหลมไผ่) 15
ภาพที่ 8 วัดมะลิวัลย์ 16
ภาพที่ 9 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 17
ภาพที่ 10 โรงเรียนวัดแหลมไผ่
ภาพที่ 11 กศน.ตำบลมะลวน

สารบัญตาราง 7

ตารางที่ 1 แสดงสถิติประชากรจากทะเบียนบ้าน
แยกรายพื้นที่ระดับตำบลข้อมูลของตำบลมะลวน
อำเภอพุนพิน พ.ศ. 2561



1

ส่วนที่ 1 ประวัติความเป็นมา
ข้อมูลพื้นฐาน

ตำบลมะลวนนี้มาจากคำว่า “ม้าล้วง” เนื่องจากมีวัดอยู่วัดหนึ่งตั้งอยู่ตรง
กันข้ามกับองค์การบริหารส่วนตำบลมะลวนในปัจจุบันฝั่งคลองทางทิศใต้
วัดนี้ไม่มีประวัติว่าสร้างในสมัยใดแต่ตั้งขึ้นภายหลังวัดน้ำรอบด้วยเหตุที่
เรียกว่ามะลวนก็มาจากคำว่า “ม้าลวง” คือวัดนี้มีสระน้ำอยู่สระหนึ่ง
มีขนาด 20x20 เมตร ปัจจุบันยังคงมีให้เห็นอยู่เป็นรูปสระน้ำ ริมสระใน
สมัยโบราณมีรูปปั้นม้า 1 ตัวทำด้วยหินอ่อนและมีรูตรงก้นม้า ข้างตัวม้า
เขียนเป็นภาษาขอม คนในตำบลมะลวนไม่มีใครสามารถอ่านออก บังเอิญได้
มีคนเดินทางมาจากเมืองละโว้ (ลพบุรีในปัจจุบัน) เขาก็อ่านว่าในตัวม้านี้มี
เงิน ทอง เพชรนิลจินดา แต่ถ้าใครไม่มีวาสนาก็จะเอาออกมาไม่ได้ โดยการ
เอามือล้วงเข้าไปในก้นม้าและจับเอาแก้ว แหวน เงิน ทอง แต่ไม่มีใคร
สามารถเอาออกมาได้ เพราะเมื่อกำมือจะเอามือออกจากก้นม้าไม่ได้จะต้อง
วางของและแบมือออกมา ชาวบ้านจึงเรียกกันว่า “ม้าล้วง” และเปลี่ยนมา
เป็นมะลวนในปัจจุบัน
(จักรา วรกุล , สัมภาษณ์ . 10 สิงหาคม 2564 )

2 ขนาดและที่ตั้งของตำบล

ตำบลมะลวน มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ

77 ตารางกิโลเมตร หรือ 48,125 ไร่ ทิศใต้
ทิศเหนือ

จดเขตตำบลหัวเตย อำเภอพุนพิน

จดเขตตำบลคล
องไทร จังหวัดสุราษฎร์ธานี

อำเภอท่าฉาง

จังหวัดสุราษฎร์ธานี


ทิศตะวันตก

จดเขตตำบลบางงอน อำเภอพุนพิน

ทิศตะวันออก และอำเภอวิภาวดี
จดเขตตำบลศรีวิชัย จังหวัดสุราษฎร์ธานี
อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี



หมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลมะลวน
ทั้งหมู่บ้าน 9 หมู่บ้าน ได้แก่

หมู่ที่ 1 บ้านหัวหาญ หมู่ที่ 2 บ้านตลาดมะลวน
หมู่ที่ 3 บ้านดอนแฝก หมู่ที่ 4 บ้านกลาง
หมู่ที่ 5 บ้านต้นปาบ หมู่ที่ 6 บ้านห้วยกรวด
หมู่ที่ 7 บ้านไผ่พระ หมู่ที่ 8 บ้านคลองสินทอง

หมู่ที่ 9 บ้านหนองพลอง

(จักรา วรกุล , สัมภาษณ์ . 10 สิงหาคม 2564 )

ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ 3

ป่าชุมชนบ้านพรุค้อ หมู่ที่ 8

ป่าอนุรักษ์บ้านคลองสินทอง หมู่ที่ 8
สวนป่าเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา หมู่ที่ 8




พื้นป่าเขาดิน หมู่ที่ 8

คลองมะลวน
คลองสินทอง ห้วยต้นตอ

(แผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปี
พ.ศ.2561-2564)

4 สภาพภูมิประเทศ

พื้นที่โดยทั่วไปเป็นกึ่งเมืองกึ่งชนบท โดยเฉพาะทางทิศตะวันตกพื้นที่ส่วนใหญ่
เป็นป่าอุดมสมบูรณ์มีลำคลองไหลผ่านตลอดแนวพื้นที่เหมาะแก่การทำการเกษตร
เช่น สวนยางพารา สวนปาล์มน้ำมัน สวนผลไม้ และการเกษตรอื่นๆ ทางทิศ

ตะวันออกสภาพพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มมีคลองมะลวนไหลผ่านเป็นที่ตั้งชุมชนและ
พื้นที่การเกษตร การทำนาข้าว และเลี้ยงสัตว์ (จักรา วรกุล , สัมภาษณ์ . 10
สิงหาคม 2564 )

สภาพภูมิอากาศ

ได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งทำให้มีช่วงฤดูฝนยาวนาน
และมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดผ่านทำให้ฤดูร้อนและฤดูฝนมีระยะเวลา
ใกล้เคียงกันทำให้ฤดูฝนมีน้ำมากเกินไปและฤดูร้อนเกิดการขาดแคลนน้ำ
ในการอุปโภค บริโภคในช่วงฤดูแล้ง (จักรา วรกุล , สัมภาษณ์ . 10 สิงหาคม
2564 )

5

การเดินทาง/การคมนาคม
การคมนาคมติดต่อระหว่างอำเภอ จังหวัด รวมทั้งการคมนาคม
ติดต่อภายในตำบลและหมู่บ้าน มีถนนประเภทต่าง ๆ ดังนี้
1) ทางหลวงแผ่นดิน
- ทางหลวงแผ่นดิน สาย 41 พุนพิน–เวียงสระ
- ทางหลวงแผ่นดิน สาย 401
- ทางหลวงแผ่นดิน สาย 4113
2) ถนนลาดยาง 4 สาย
3) ถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก 5 สาย
4) ถนนหินคลุก 15 สาย
5) ถนนลูกรัง 12 สาย
6) ถนนดิน 9 สาย
แบ่งการเดินทางมายังตำบลมะลวนโดยรถไฟ รถส่วนตัว
และเครื่องบิน
1.การเดินทาง จากกรุงเทพฯไปยังตำบลมะลวน ด้วยรถไฟ
39-ด่วนพิเศษ ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 11 ชั่วโมง
2.การเดินทาง จากตัวเมืองสุราษฎร์ธานีไปยังตำบลมะลวน
ด้วยรถยนต์ส่วนตัว ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 30 นาที ในระยะทาง
ประมาณ 27 กิโลเมตร
3.การเดินทาง จากกรุงเทพฯไปยังสุราษฎร์ธานีโดยเครื่องบิน
ใช้เวลาบินประมาณ 1 ชั่วโมง 16 นาที สายการบินที่ให้บริการบินตรง ได้แก่
NokAir , Thai Lion Air เป็นต้น (แผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปี พ.ศ.2561-2564)

6 ส่วนที่ 2 โครงสร้างของชุมชน




ภาพที่ 1 นายกอบต.มะลวน

นายจักรา วรกุล
นายก อบต.มะลวน
ดำรงตำแหน่ง 4 ปี (พ.ศ. 2560 - พ.ศ. 2564)

ด้านการปกครอง ด้านการเมือง
นายจักรา วรกุล
นายชัยวัฒน์ วรกุล กำนันตำบลมะลวน นายก อบต.มะลวน
นายสมโภช พรหมวิเศษ
นายวิโรจน์ คมขำ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 1 รองนายก อบต.มะลวน
นายจเด็จ บุตรน้ำเพชร
นายวัฒนา นาคจินดา ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 2 รองนายก อบต.มะลวน
นายวัชรินทร์ ขมัน
นายศุภชัย วงศ์อินทร์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 3 เลขานุการนายก
(แผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปี
นายธวัช สำลี ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 4 พ.ศ.2561-2564)

นายประเสริฐ วิชัยดิษฐ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 5

นายชัยวัฒน์ วรกุล ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 6

นายบรรจบ โชคราช ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 7

นายณรงค์ศักดิ์ สิงหพล ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 8

นายถิระวัฒน์ พึ่งชาติ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 9

7

ข้อมูลประชากร

สถิติประชากรจากทะเบียนบ้าน
แยกรายพื้นที่ระดับตำบล
ข้อมูลของตำบลมะลวน
อำเภอพุนพิน
พ.ศ. 2561









ตารางที่ 1 แสดงสถิติประชากรจากทะเบียนบ้านแยกรายพื้นที่ระดับตำบล
ข้อมูลของตำบลมะลวน อำเภอพุนพิน พ.ศ. 2561

(แผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปี
พ.ศ.2561-2564)

8 การศึกษา

มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของ

องค์การบริหารส่วนตำบลมะลวน จำนวน 2 แห่ง คือ
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลมะลวน

ตั้งอยู่ หมู่ที่ 5
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านคลองสินทอง ตั้งอยู่ หมู่ที่ 8




โรงเรียนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลมะลวน

ซึ่งอยู่ในสังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

เขต 2 จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 2 แห่ง ดังนี้
- โรงเรียนวัดแหลมไผ่ ตั้งอยู่ หมู่ที่ 2

- โรงเรียนวัดห้วยกรวด ตั้งอยู่ หมู่ที่ 6




โรงเรียนเอกชน 1 แห่ง คือ
- โรงเรียนพันธศึกษา ตั้งอยู่ หมู่ที่ 2




โรงเรียนอนุบาล 1 แห่ง คือ

- โรงเรียนอนุบาลกองบิน 7 ตั้งอยู่ หมู่ที่ 5

(แผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปี

พ.ศ.2561-2564)

ศาสนา/วัฒนธรรม 9

ประชากรส่วนใหญ่ในตำบลมะลวน อำเภอพุนพิน
จังหวัดสุราษฎร์ธานี นับถือศาสนาพุทธ

ประเพณีงานบุญสารทเดือนสิบของคนใต้นั้นถือได้ว่า ภาพที่ 2
เป็นงานบุญสำคัญที่จะได้แสดงความกตัญญูกตเวทิตาต่อ ประเพณวันสารท
บรรพบุรุษที่ล่วงลับด้วยการถวายอาหารแลอุทิศส่วนกุศล
ไปให้งานประเพณีเทศกาลเดือนสิบที่มีชื่อเสียง จะได้แก่ เดือนสิบ
ที่จังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีการ
จัดงานขึ้นอย่างยิ่งใหญ่เป็นประจำทุกปี ประชาชนส่วน
ใหญ่ในตำบลมะลวนจะไปทำบุญเดืิอนสิบที่วัด เช่น
วัดมะลิวัลย์ วัดห้วยกรวด วัดแหลมไผ่ เป็นต้น

ประเพณีชักพระ เป็นประเพณีท้องถิ่นของภาคใต้

ซึ่งเป็นประเพณีทำบุญในวันออกพรรษาตรงกับวันแรม

1 ค่ำ เดือน 11 มีความเชื่อมาแต่โบราณกาลว่าเมื่อครั้ง

ที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปจำพรรษา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์

เพื่อโปรดพระมารดาเมื่อครบพรรษา จึงเสด็จมายังโลก

มนุษย์พุทธศาสนิกชนจึงมารอรับเสด็จแล้วอัญเชิญ

พระพุทธเจ้าขึ้นประทับบนบุษบกแล้วแห่ไปรอบเมืองทั้ง

ภาพที่ 3 ทางบกและทางน้ำ ประชาชนส่วนใหญ่ในตำบลมะลวน
ประเพณีชักพระ
จะร่วมกันชักเรือพระมาร่วมกิจกรรมที่ริมน้ำตาปีเป็น

ประจำทุกปี ,(จสัักมร
ภาาวษรณก์ุล. , สมบูรณ์ ภิญญาคง
10 สิงหาคม 2564 )

10
ส่วนที่ 3

โครงสร้างเศรษฐกิจและอาชีพ

แหล่งทุนทางธรรมชาติ
1) ลักษณะของดิน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นดินร่วน ปนทรายเหมาะ
สำหรับทำการเกษตร เช่น ปลูกปาล์มน้ำมัน ยางพารา สวนผลไม้
และพืชผักต่าง ๆ แต่ในช่วงฤดูแล้ง ดินประเภทนี้ไม่สามารถกักเก็บ
น้ำไว้ได้ ทำให้เกิดปัญหาในการเพาะปลูก
2) ลักษณะของแหล่งน้ำ
- แหล่งน้ำธรรมชาติไหลผ่าน คือ คลองมะลวน, คลองสินทอง,
ห้วยต้นตอ
- แหล่งน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้น คือ อ่างเก็บน้ำพรุค้อ, อ่างเก็บน้ำ
บ้านต้นปาบ, คลองชลประทาน
3) ลักษณะของป่าไม้ มีสวนป่าเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา
ตั้งอยู่ในพื้นที่ หมู่ที่ 8 ตำบลมะลวน (จักรา วรกุล ,ประเสริฐ วิชัย
ดิษฐ และถิระวัฒน์ พึ่งชาติ สัมภาษณ์ . 9-10 สิงหาคม 2564 )

11

แหล่งอาหาร

- ขนมไทย ขนมชั้นมะพร้าวน้ำหอมแม่อี๊ด




ภาพที่ 4 ภาพที่ 5
ขนมชั้นมะพร้าวน้ำหอมแม่อี๊ด ขนมชั้นมะพร้าวน้ำหอมแม่อี๊ด





ผลิตภัณฑ์ชุมชน ของดี ของขึ้นชื่อ
- ผลิตภัณฑ์สานกระเป๋าด้วยเชือก หมู่ที่ 5
ตำบลมะลวน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี




ภาพที่ 6
ผลิตภัณฑ์สานกระเป๋าด้วยเชือก

(จักรา วรกุล , สัมภาษณ์ . 10 สิงหาคม 2564 )

12 สถานภาพทางเศรษฐกิจของประชาชน

การเกษตร ปศุสัตว์

ประชาชนส่วนใหญ่ตำบลมะลวน ประชาชนบางส่วนในตำบลมะลวนมี
ประกอบอาชีพเกษตรกรรรมโดยมีพืช การเลี้ยงวัวเนื้อ วัวพื้นเมือง หมู ไก่
เศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ปาล์มน้ำมัน แพะ
ยางพารา ข้าว และพืชผักต่าง ๆ





แรงงาน

เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ตำบลมะลวน

การท่องเที่ยว ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม
การใช้แรงงานส่วนใหญ่จึงเป็นแรงงาน

มีสถานที่ท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรม ในพื้นที่และแรงงานที่เป็นต่างด้าว

ได้แก่ วัดแหลมไผ่ วัดมะลิวัลย์ และ บางส่วน

วัดห้วยกรวด



อุตสาหกรรม
การบริการ
สถานีบริการน้ำมัน จำนวน 4 แห่ง ในเขตพื้นที่ตำบลมะลวนมีโรงงานผลิต
และแปรรูปไม้ยางพารา

จำนวน 1 แห่ง

(จักรา วรกุล , สัมภาษณ์ . 10 สิงหาคม 2564 )

13

ส่วนที่ 4 สถานที่สำคัญ




อ่างเก็บน้ำบ้านพรุค้อ

ตั้งอยู่หมู่ที่ 8 ตำบลมะลวน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
เป็นอ่างเก็บน้ำที่กักเก็บน้ำไว้เพื่อใช้สำหรับเกษตรกรรมในพื้นที่
ตำบลมะลวนได้มีน้ำเพื่อทำการเกษตรอย่างเพียงพอและยังเป็น
สวนสาธารณะที่จัดให้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจและสถานที่
ประกอบกิจกรรมสำคัญในแต่ละวัน

วัดเวฬุวนาราม (วัดแหลมไผ่)

เป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่หมู่ที่ 4
ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. 2452 รับวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. 2505
ก่อตั้งมาแล้วประมาณ 112 ปี (พ.ศ. 2452 - 2564)

ภาพที่ 7
วัดเวฬุวนาราม (วัดแหลมไผ่)




(จักรา วรกุล , สัมภาษณ์ . 10 สิงหาคม 2564 )

14

วัดมะลิวัลย์

เป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย
ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. 2330 ก่อตั้งมาแล้วประมาณ 234 ปี
(พ.ศ. 2330 - 2564)

ภาพที่ 8
วัดมะลิวัลย์




วัดห้วยกรวด

เป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่หมู่ที่ 6
ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.2527 ก่อตั้งมาแล้วประมาณ 37 ปี
(พ.ศ. 2527- 2564)

(จักรา วรกุล , สัมภาษณ์ . 10 สิงหาคม 2564 )

15

วัดสัมพันธวราราม

เป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่หมู่ที่ 7
ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. 2482 ก่อตั้งมาแล้วประมาณ 82 ปี
(พ.ศ. 2482 - 2564)

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลมะลวน
ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 มีจำนวนนักเรียนประมาน 40 คน
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านคลองสินทอง ตั้งอยู่หมู่ที่ 8
มีจำนวนนักเรียนประมาณ 50 คน

ภาพที่ 9
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก




(จักรา วรกุล , สัมภาษณ์ . 10 สิงหาคม 2564 )

16

โรงเรียนวัดแหลมไผ่

โรงเรียนวัดแหลมไผ่ ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 บ้านดอนแฝก ตำบลมะลวน
อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เครือข่ายสถานศึกษาขั้นพื้นฐานพุนพิน
4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2
ก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2454
มีจำนวนนักเรียนประมาณ 140 คน

ภาพที่ 10
โรงเรียนวัดเเหลมไผ่




โรงเรียนวัดห้วยกรวด

โรงเรียนวัดห้วยกรวด ตั้งอยู่หมู่ที่ 6 ตำบลมะลวน อำเภอพุนพิน
จังหวัดสุราษฎร์ธานี เครือข่ายสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พุนพิน 4
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี
เขต 2 เปิดทำการสอนครั้งแรกเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2482
จัดการศึกษาระดับประถมศึกษา ปี 2519
มีจำนวนนักเรียนประมาณ 250 คน

โรงเรียนพันธศึกษา

ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลมะลวน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน

(จักรา วรกุล , สัมภาษณ์ . 10 สิงหาคม 2564 )

โรงเรียนอนุบาลกองบิน 7 17

ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 ตำบลมะลวน ตำบลมะลวน อำเภอพุนพิน
จังหวัดสุราษฎร์ธานี ระดับที่เปิดสอน: อนุบาล 1-3 สังกัดเอกชน
ก่อตั้งเมื่อ: วันที่ 24 สิงหาคม 2525

ผู้ก่อตั้ง: นาวาอากาศเอกกฤษณะ สิทธิทูล
ผู้รับใบอนุญาต: กองทัพอากาศ โดยนาวาเอกมานัต วงษ์วาทย์
มีจำนวนนักเรียน 380 คน

ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 ตำบลมะลวน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
สังกัด: สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม
อัธยาศัย มีจำนวนนักเรียนประมาณ 422 คน

ภาพที่ 11
กศน.ตำบลมะลวน




(จักรา วรกุล , สัมภาษณ์ . 10 สิงหาคม 2564 )

18

วิสาหกิจชุมชนเกษตรกรชาวสวนปาล์มเพื่อการผลิตตำบลมะลวน

รหัสทะเบียน: 5-84-17-12/1-0015
ที่อยู่: เลขที่ 10 หมู่ที่ 4 ถนน ตำบลมะลวน อำเภอพุนพิน
จังหวัดสุราษฎร์ธานี
จำนวนสมาชิก: 150 คน
โทรศัพท์: 0897259156
ผู้มีอำนาจทำการแทน: 1. นางเบญจพร ฉิมพานะ

2. นายพงษ์ศักดิ์ จริงจิตร
ชื่อผลิตภัณฑ์/บริการ: ปุ๋ยเคมี

ศูนย์แห่งการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กองบิน 7

ที่ตั้ง 119 หมู่5 ตำบลมะลวน อำเภอพุนพิน
จังหวัดสุราษฎร์ธานีหน่วยงาน: ทอ.
ด้าน/ประเภท/ชนิด: เกษตรผสมผสาน ปีที่จัดตั้ง: 2555
ผู็รับผิดชอบศูนย์ : เรืออากาศเอก ปราโมทย์ พรหมแก้ว
โทรศัพท์ : 08-9195-7338

แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาชาวบ้าน กลุ่มผลิตภัณฑ์
สานกระเป๋าด้วยเชือก

ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 ตำบลมะลวน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
กลุ่มผลิตภัณฑ์สานกระเป๋าด้วยเชือก

(จักรา วรกุล , สัมภาษณ์ . 10 สิงหาคม 2564 )

19

ส่วนที่ 5 การวิเคราะห์ศักยภาพชุมชน

สิ่งที่ชุมชนทำได้ดี

- สภาพพื้นที่ของตำบลมะลวนเป็นพื้นที่ราบลุ่มและมีแหล่งน้ำธรรมชาติ
เหมาะแก่การประกอบอาชีพเกษตรกรรม
- ที่ตั้งของตำบลมะลวนมีถนนทางหลวงเชื่อมต่อในหลายหมู่บ้านเหมาะแก่
การคมนาคมขนส่ง
- มีสถานศึกษาในระดับปฐมวัย ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา ตำบลที่มี
ความพร้อม มีศักยภาพในการจัดการการศึกษาทุกระดับ
- มีการจัดสรรงบประมาณเพื่อดูแล ช่วยเหลือผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ยากไร้
ในตำบลอย่างต่อเนื่อง
- การเมืองในพื้นทีไม่มีความรุนแรง ประชาชนในพื้นที่อยู่กันแบบเครือญาติ
- มีการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ในรูปแบบของเวที
ประชาคม รวมถึงการจัดกิจกรรมงานประเพณี และกิจกรรมนันทนาการ
ต่าง ๆ อย่างต่อเนือง (จักรา วรกุล , สัมภาษณ์ . 10 สิงหาคม 2564 )

20

สิ่งที่ชุมชนต้องพัฒนา

- ปัญหายาเสพติด เนื่องจากเยาวชนภายในตำบลมีการรวมกลุ่มกันมั่วสุ่ม
เกี่ยวกับยาเสพติด
- เส้นทางการคมนาคมยังไม่สะดวกและยังไม่ได้มาตรฐาน
- สภาพพื้นที่บางส่วนของตำบลมะลวนเป็นที่ราบลุ่ม ทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วม
บ่อยครั้ง และในช่วงฤดูแล้งก็เกิดปัญหาขาดแคลนน้ำรุนแรง
- ประชาชนยังไม่ให้ความสำคัญต่อการรวมกลุ่มกันเพื่อประกอบอาชีพการ
บริหารจัดการกลุ่มอาชีพให้มีประสิทธิภาพ การจัดกาทรัพยากรธรรมชาติ
และแหล่งท่องเที่ยวภายในชุมชน รวมถึงกระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนา
ท้องถิ่นเท่าที่ควร (จักรา วรกุล , สัมภาษณ์ . 10 สิงหาคม 2564 )

โอกาสของชุมชน

- สามารถขอรับงบประมาณสนับสนุนจากกรมส่งเสริมการปกครองส่วน
ท้องถิ่นในการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน
- นโยบายกองทุนหมู่บ้าน ทำให้ชุมชนมีความเข้มแข็งในภาพรวมเพิ่มขึ้น
- รัฐบาลให้ความสำคัญต่อหลักเศรษฐกิจพอเพียง และการสนับสนุน
ส่งเสริมการประกอบอาชีพด้านการเกษตร (จักรา วรกุล , สัมภาษณ์ . 10
สิงหาคม 2564 )

21

อุปสรรคและความท้าทาย

- ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวที่โดดเด่น
- ประชาชนมีปัญหาด้านสุขภาพจากพฤติกรรมเสี่ยง เช่น การดื่มสุรา
สูบบุหรี่ ยาเสพติด
- ประชาชนบางส่วนที่ขาดการมีส่วนร่มในการพัฒนาตำบล เช่น ต้องการให้
มีถนนที่สะดวกสบายแต่ขาดความเสียสละในการให้พื้นที่บางส่วนมาสร้าง
ถนน
- ภาวะเศรษฐกิจผันผวนไม่แน่นอน ซึ่งส่งผลต่อการค้าการลงทุนในท้องถิ่น
โดยเฉพาะปัญหาด้านการเกษตร เช่น ภาวะน้ำมันแพงราคาผลผลิตทางการ
เกษตรตกต่ำ เป็นต้น (จักรา วรกุล , สัมภาษณ์ . 10 สิงหาคม 2564 )

22 บรรณานุกรม

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. กรมพัฒนาที่ดิน. (มปป.).แผนที่ตำบลมะลวน
อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. (ออนไลน์).สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน
2564, จากhttp://oss101.ldd.go.th/web_thaisoilinf/south/
surathani/sth_map/sth_man62/8417/841712_home.html.

จักกฤษณ์ แขกฮู้. (2561). วัดเวฬุวนาราม(วัดแหลมไผ่). สืบค้นเมื่อ 3
กันยายน 2564, จากhttps://www.facebook.com/groups/
1226480284047133/permalink/2333904613304689/]

จักรา วรกุล. นายกองค์การบริหารส่วนตำบลมะลวน. สัมภาษณ์. 10 สิงหาคม
2564

ถิระวัฒน์ พึ่งชาติ. ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 9 ตำบลมะลวน. สัมภาษณ์. 9 สิงหาคม
2564

ประเสริฐ วิชัยดิษฐ์. ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 5 ตำบลมะลวน. สัมภาษณ์. 9 สิงหาคม
2564

มหาวิทยาลัยศรีปทุม. โรงเรียนพันธศึกษา. สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน
2564, จากspu.ac.th/directory/school/3560-โรงเรียนพันธศึกษา/
มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน
2564, จากspu.ac.th/directory/school/45174-โรงเรียนกศน.ตำบล
มะลวน/

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2.โรงเรียนวัด
ห้วยกรวด. สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน 2564, จากhttps://data.boppbec.
info/web/index_view_history.phpSchool_ID=108464043
5&page=history

บรรณานุกรม (ต่อ) 23

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กลุ่มสารสนเทศ

สนผ. โรงเรียนวัดห้วยกรวด. สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน 2564, จาก

https://data.bopp-obec.info/emis/schooldata-view.php?

School_ID=1084640435&Area_CODE=8402

สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมา

จากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.). สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน

2564, จากhttps://projects.rdpb.go.th/studyCenter/511497

3994876928

สมบูณณ์ ภฺิญญาคง. ปราชญ์ชาวบ้านตำบลมะลวน. สัมภาษณ์. 10 สิงหาคม

2564

(ม.ป.ป.). รายงานทะเบียนวัดจังหวัดในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. สืบค้นเมื่อ 24

กรกฎาคม 2564, จากhttps://data.go.th/dataset/d88ba2f3-

d852-4aae-8608-62aadf3b877e/resource/37515edf-ed73-

4259-aea9-cd9fa986f78a/download/xx.xls

(ม.ป.ป.). โรงเรียนอนุบาลกองบิน 7.สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน 2564, จาก

http://www.thaischool.in.th/school_detail.php?

school_id=84170006

(ม.ป.ป.). วิสาหกิจชุมชนเกษตรกรชาวสวนปาล์มเพื่อการผลิตตำบล

มะลวน. สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน 2564, จากhttp://smce.doae.

go.th/ProductCategory/managecontent.phpsmce_

id=584171210015

องค์การบริหารส่วนตำบลมะลวน. การเดินทาง/การคมนาคม.การบริการพื้น

ฐาน ออนไลน์). สืบค้นจากhttp://www.maluan.go.th/

general4.php.[9 กรกฎาคม 2564]

24 บรรณานุกรม(ต่อ)

องค์การบริหารส่วนตำบลมะลวน. (2561). การวิเคราะห์เพื่อพัฒนา
ท้องถิ่น. แผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปี (พ.ศ.2561-2564). (ออนไลน์). สืบค้น
จากhttp://maluan.go.th/news/doc_download/a_
260718_142939.pdf [9 กรกฎาคม 2564]

องค์การบริหารส่วนตำบลมะลวน. (มปป.). ข้อมูลประชากร. สภาพทั่วไป
(ออนไลน์). สืบค้นจากhttp://www.maluan.go.th/general1.php.
[9 กรกฎาคม 2564]

องค์การบริหารส่วนตำบลมะลวน. (2561). ด้านการเมือง/การปกครอง.
แผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปี (พ.ศ.2561-2564). (ออนไลน์). สืบค้นจาก
http://maluan.go.th/news/doc_download/a_
260718_142939.pdf.[9 กรกฎาคม 2564]

องค์การบริหารส่วนตำบลมะลวน. (2561). ด้านศักยภาพ. แผนพัฒนาท้อง
ถิ่นสี่ปี (พ.ศ.2561-2564). (ออนไลน์). สืบค้น
จากhttp://maluan.go.th/news/doc_download/a_2607
18_142939.pdf. [9 กรกฎาคม 2564]

องค์การบริหารส่วนตำบลมะลวน. (2561). ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม.
แผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปี (พ.ศ.2561-2564). (ออนไลน์). สืบค้น
จากhttp://maluan.go.th/news/doc_download/a_260718_
142939.pdf.[9 กรกฎาคม 2564]

บรรณานุกรม (ต่อ) 25

องค์การบริหารส่วนตำบลมะลวน. (2561). ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม.

แผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปี (พ.ศ.2561-2564). (ออนไลน์). สืบค้น

จากhttp://maluan.go.th/news/doc_download/a_260718_

142939.pdf.[9 กรกฎาคม 2564]

องค์การบริหารส่วนตำบลมะลวน. (2561). สภาพทางสังคม.แผนพัฒนาท้อง

ถิ่น สี่ปี (พ.ศ.2561-2564). (ออนไลน์). สืบค้นจากhttp://maluan.

go.th/news/doc_download/a_260718_142939.pdf

[9 กรกฎาคม 2564]

องค์การบริหารส่วนตำบลมะลวน. (มปป.). แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาชาว

บ้าน.แผนส่งเสริมการท่องเที่ยว ประจำปี 2560-2562. (ออนไลน์).

สืบค้นจากhttp://maluan.go.th/news/doc_download

/a_260718_154953.pdf.[9 กรกฎาคม 2564]

26 ภาคผนวก




Click to View FlipBook Version