การจัดจานผลไม้
แกะสลัก
อภิริษา บุญยัง ม.4/6 เลขที่1
ผลไม้ที่นำมาจัด
แอปเปิ้ ล
ฝรั่ง
มะละกอ
แคนตาลูป
แตงโม
วิธีเลือกผลไม้
1.ผลไม้ที่มีเนื้อบาง จะสามารถแกะสลักได้ไม่มากนัก และเหมาะกับการปอกคว้าน เพื่อการ
รับประทาน เช่น ชมพู่ พุทรา ละมุด มะปราง เงาะ
2.ผลไม้เนื้อหนา จะสามารถปอก คว้าน ตัดแต่งให้เป็นชิ้นที่มีรูปร่างตามต้องการ เพื่อ
การรับประทาน และแกะสลักได้ตามความต้องการ ของผู้แกะสลัก เช่นแตงโม แคนตาลู
ป มันแกว มะม่วง มะละกอ การเลือกซื้อผลไม้เพื่อการแกะสลัก
3.เลือกตามฤดูกาลที่มี จะได้ผลไม้ที่มีความสด และราคาถูก
4.เลือกให้ตรงกับความต้องการหรือวัตถุประสงค์ในการแกะสลัก เช่นเพื่อการปอกคว้าน
เพื่อการแกะสลักเป็นภาชนะ
5.เลือกให้มีขนาดเหมาะสมกับผลงานที่จะแกะสลัก โดยเฉพาะการแกะสลักภาชนะจะ
ต้องเลือกรูปทรงและขนาดให้เหมาะสมกับการใช้งาน
6.เลือกให้สด สวยตามลักษณะของผลไม้ที่แกะสลัก ทั้งผิวพรรณ และอายุของผลไม้
แครอท ผักหัว สีส้มสด เนื้อแน่น ฉ่ำน้ำ เลือกหัวตรง ผิวเปลือกไม่เหี่ยว หัวสด ขั้ว
เขียว เนื้อละเอียด แน่นและเนียน ไม่เป็นเสี้ยน จะทำให้สลักเป็นลวดลายต่างๆได้ง่าย
ลวดลายที่สลักมีความคมชัดและสวยงามดังนั้นคนที่จะสลักต้องมีความชำนาญพอ
สมควร นอกจากนี้แล้วมีดที่ใช้สลักต้องคม จะทำให้ลวดลายที่ได้คมบางพลิ้ว ได้งาน
สลักที่มีความงดงาม สามารถเก็บได้นาน เพียงแต่นำงานที่สลักเสร็จแล้วแช่น้ำเย็น
สักครู่เก็บใส่กล่องพลาสติก ปิดฝาแช่ตู้เย็นช่องธรรมดา
วิธีรักษาผลไม้ที่นำมาจัด
1.ควรแยกผลไม้ออกตามประเภท และจัดเก็บให้เป็นกลุ่ม เพราะ
ในผลไม้บางชนิดที่สุกแล้วนั้น จะปล่อยก๊าซเอทิลีนออกมา ซึ่ง
จะทำให้ผลไม้ที่อยู่รอบข้างเกิดความเน่าเสียได้เร็วขึ้น ดังนั้นจึง
ควรจะแยกเก็บผลไม้ด้วยการวางแยกชั้นกันจะดีที่สุด
2.เก็บผลไม้ในตู้เย็น ซึ่งจะเก็บได้ในตู้เย็นที่มีอุณหภูมิ
ประมาณ 4℃ – 10℃ ไม่ควรแช่ผลไม้ที่อุณหภูมิต่ำกว่า
นี้เพราะจะทำให้วินตามินและแร่ธาตุถูกทำลายได้ หรือผล
ไม้บ้างชนิดก็ไม่เหมาะสมกับการแช่เย็น บางทีความเย็นจะ
ทำให้เนื้อผลไม้นั้นช้ำและเสียรสชาติได้
ข้อควรระวังในการเก็บผลไม้สด
1.ผลไม้ที่ล้างแล้วควรจะทานให้หมดในทันที
ผลไม้ที่ล้างแล้วจริงๆไม่ควรเก็บไว้ แต่ควรรับประทานให้หมดทันที เนื่องจากสารที่
ป้องกันเปลือกผิวของผลไม้ก็หลุดลอกออกไปแล้วเช่นกัน จึงทำให้ไม่เหมาะกับการเก็บ
รักไว้เป็นเวลานาน แต่ถ้าหากว่าจำเป็นต้องเก็บจริงๆ ก็สามารถทำได้ด้วยการห่อด้วย
กระดาษ แล้วนำไปแช่ในตู้เย็น ซึ่งกระดาษจะช่วยกักเก็บความชื้นไม่ให้ระเหยออกไป
จากผลไม้ และยังช่วยคงความสดของผลไม้ได้นานขึ้น
2.ควรเก็บผลไม้ที่ยังไม่ได้ไว้ในที่เก็บหรืออุปกรณ์ที่มีฝาปิดมิดชิด
เลือกเก็บผลไม้ที่ยังไม่ได้ล้างไว้ในกล่องสุญญากาศ ที่มีฝาปิดล็อกแนบสนิท ป้องกัน
อากาศเข้าออกได้ จะช่วยถนอมผลไม้ได้ยาวนานขึ้น โดยจะต้องเก็บไว้ในตู้เย็นที่มี
อุณหภูมิต่ำที่ -1 ถึง – 4 องศาเซลเซียส จึงจะช่วยให้ผลไม้ยังสดใหม่ และควรใช้
กล่องที่มีเทคโนโลยีไมโครแบน ก็สามารถช่วยยับยั้งเชื้อราและแบคทีเรียที่จะเข้าไปใน
ผลไม้ได้ ปลอดภัยต่อการใส่อาหาร ไร้สารก่อมะเร็ง (BPA Free) และยังมีวิตามินอยู่
โดยวิธีนี้สามารถช่วยให้เก็บผลไม้ได้ประมาณ 2-3 วัน
3.เก็บผลไม้ดิบไว้ในถุงกระดาษแทนการเก็บใส่กล่องที่มิดชิด
เก็บผลไม้ดิบที่ยังมีผลเป็นสีเขียว ให้ทำการเก็บใส่ถุงกระดาษเอาไว้แล้วเจาะรู เพื่อช่วย
ให้อากาศไหลเวียนและช่วยคงความสดได้ดี นอกจากนี้ยังช่วยให้ก๊าซเอทิลีนที่ทำให้ผล
ไม้สุกยังคงอยู่ภายในถุง และไม่ไปรบกวนผลไม้ชนิดอื่นๆ
คุณค่าทางโภชนาการ
มีวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ ที่มีความจำเป็นต่อร่างกายสูง ผลไม้มี
ส่วนประกอบหลักเป็นน้ำมากถึงร้อยละ 21-92 ( ขึ้นอยู่กับชนิด
ของผลไม้ ) การที่ผลไม้มีปริมาณน้ำสูง จึงทำให้เวลาทานผลไม้
เข้าไปนั้น ผู้ทานจะรู้สึกสดชื่น และลดการกระหายได้ นอกจากน้ำ
แล้ว ผลไม้ยังสามารถให้พลังงานประเภทคาร์โบไฮเดรต และ
น้ำตาลธรรมชาติที่จะเปลี่ยนเป็นพลังงานจากกลไกภายในร่างกาย
ของมนุษย์ เช่น น้ำตาลกลูโคส ฟรักโตส และซูโครส ยังไม่หมด
แค่นี้ เพราะผลไม้ ยังมีคุณประโยชน์ที่สำคัญต่อร่างกายอีกหลาย
ประการ เช่น มีใยอาหารหรือไฟเบอร์ ที่ช่วยในเรื่องของการย่อย
อาหารและการขับถ่ายได้เป็นอย่างดี รวมถึงมีสารต้านอนุมูลอิสระ
ที่จะช่วยลดริ้วรอยและชะลอความแก่ได้
คุณค่าทางโภชนาการ
1. วิตามิน ในผลไม้มีวิตามินซีและเบต้าเคโรทีน ช่วยควบคุมระบบการทำงานของร่างกาย
และช่วยต้านอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งชนิดต่างๆ
2. แร่ธาตุ ในผลไม้มีโปแตสเซียม ช่วยรักษาสมดุลของน้ำและความเป็นกรด-ด่างภายใน
ร่างกาย ช่วยในการยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อและระบบประสาท
3. น้ำ ในผลไม้มีน้ำเป็นส่วนประกอบสำคัญ 70 – 90 % ทำให้กินแล้วรู้สึกชุ่มคอ สดชื่น
และช่วนให้ผิวพรรณสดใส
4. ใยอาหาร ในผลไม้ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ
• ใยอาหารชนิดละลายน้ำ ( soluble dietary fiber ) มีประโยชน์ในเรื่องของการลด
คอเลสเตอรอลชนิดเลว ( LDL cholesterol ) ในเลือด ที่เป็นสาเหตุของโรคไขมันอุด
ตันในเส้นเลือด และยังช่วยให้ร่างกายดูดซึมคาร์โบไฮเดรตได้ช้าลง ซึ่งจะช่วยให้รู้สึกอิ่ม
ได้นาน ดีต่อผู้ป่วยเบาหวาน
• ใยอาหารชนิดไม่ละลายในน้ำ ( insoluble dietary fiber ) มีประโยชน์ในเรื่องของ
ระบบขับถ่าย บรรเทา อาการท้องผูก นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่พบว่า การบริโภคใย
อาหารชนิดนี้ ยังช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้อีกด้วย
5. พลังงาน ในผลไม้จะมีคาร์โบไฮเดรตและน้ำตาลซึ่งเป็นแหล่งให้พลังงานแก่ร่างกาย
ซึ่งผลไม้จะมีคารืโบไฮเดรต 10 – 35 % และผลไม้ที่มีคาร์โบไฮเดรตสูงจะมีรสหวานจัด
เทคนิคการปอกหรือ
การคว้านผลไม้
1. ปอกเปลือกแตงโมออกครึ่งลูก
2.วาดวงกลมและเซาะเนื้อออก เกลาให้มีลักษณะโค้ง
3. เซาะรองเกสร
4. วาดกลีบและเซาะเนื้อข้างกลีบออกให้กลีบเด่นชัดขึ้น
5. แกะเกสรสับหว่างกันไปเรื่อยๆจนถึงตรงกลางเกสร
6. เซาะร่องเพื่ อทำกลีบนอก
7.วาดกลีบให้ปลายแหลม และเซาะเนื้อข้างกลีบออกให้กลีบเด่นชัดขึ้น
เทคนิคการปอกหรือ
การคว้านผลไม้
8.ชั้นที่สองสับหว่างกับชั้นแรก
9.แกะสับหว่างกันไปเรื่อยๆ
10.ชั้นสุดท้ายให้แกะติดเปลือกตรง
ปลายกลีบเล็กน้อย
11.หยักขอบรอบดอกที่แกะสลัก
แหล่งที่มา
https://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/2915/
type-of-fruit-ประเภทของผลไม้
https://www.micronware.co.th/บล็อกน่ารู้/แชร์วิธี
เก็บผลไม้ให้ตร
https://amprohealth.com/nutrition/fruit/
http://poope34.blogspot.com/2016/09/blog-post_28.html
http://www.thaicarvingfruit.com/rakrae_tangmo.html