The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ART วารสาร ฉบับ เมษายน-มิถุนายน 67-E-Book

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Lhong Art, 2024-07-01 04:10:41

ART วารสาร ฉบับ เมษายน-มิถุนายน 67-E-Book

ART วารสาร ฉบับ เมษายน-มิถุนายน 67-E-Book

Keywords: วารสาร

1


2


‘สารพินิจ’ ฉบับแรกของปีงบประมาณ 2567 ถือว่าเป็นวาระพิเศษของเราชาวพินิจ รวมทั้งท่านผู้อ่านทุกท่าน ที่จะได้รับสารจากผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงยุติธรรม ถึง 2 ท่าน นั่นคือ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และนางพงษ์สวาท นีละโยธิน ปลัดกระทรวงยุติธรรม อีกทั้ง พ.ต.ท.ประวุธ วงศ์สีนิล อธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ซึ่งได้ให้เกียรติมอบนโยบายและแนวทางการปฏิบัติราชการแก่เราชาวพินิจ เพื่อให้มีทิศทางและ เป้าหมายเดียวกัน รวมถึงตระหนักถึงความส�ำคัญในการท�ำงานเพื่อเด็กและเยาวชน ซึ่งงานของเรานั้น ถือเป็นงานพัฒนาคน เพื่อให้คนหรือเด็กและเยาวชนที่เราดูแลอยู่นี้ ได้กลับออกไปเป็นก�ำลังส�ำคัญ ในการพัฒนาสังคมและประเทศชาติของเราต่อไปในอนาคต ดังสารที่ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ยุติธรรม ได้กล่าวไว้ในคอลัมน์ “สารจากผู้บริหาร” อีกหนึ่งประวัติศาสตร์ส�ำคัญของกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน คือ การได้เข้าร่วม “โครงการราชทัณฑ์ปันสุข ท�ำความ ดี เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์” ซึ่งถือเป็นงานที่บูรณาการร่วมกับ หลายหน่วยงานเพื่อดูแลสุขภาพเด็กและเยาวชน ของกรมพินิจฯ รวมทั้งผู้ต้องขังของกรมราชทัณฑ์ โดยปีนี้ถือเป็นปีแรกที่กรมพินิจฯ ได้มีโอกาส เข้าร่วมโครงการฯ และมีแผนในการด�ำเนินงาน โดยจะลงตรวจเยี่ยมพื้นที่ศูนย์ฝึกและอบรมฯ จ�ำนวน 20 แห่ง และสถานพินิจฯ อีกจ�ำนวน 38 แห่งกองบรรณาธิการของเราไม่รอช้า จึงได้ ประมวลภาพกิจกรรมนี้ไว้แล้วภายในสารพินิจ ฉบับนี้ค่ะ มาตรการพิเศษแทนการด�ำเนินคดีอาญาตามมาตรา 86 เป็นอีกหนึ่งประเด็นที่กรมพินิจฯ ให้ความส�ำคัญ เพื่อให้การปฏิบัติงานด้านกระบวนการยุติธรรมเด็กและเยาวชนเป็นไปโดยอาศัย หลักการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ เราเชื่อว่าหน่วยปฏิบัติของกรมพินิจฯ ที่ท�ำงานด้านนี้จะต้องพบเจอ กับอุปสรรคในการท�ำงานอยู่มาก จะเป็นอย่างไรนั้นติดตามอ่านได้ในคอลัมน์ “ความท้าทายในการ ผลักดันการใช้มาตรการพิเศษแทนการด�ำเนินคดีอาญาตามมาตรา 86 : ถอดบทเรียนจริง จากพื้นที่กรุงเทพมหานคร” แน่นอนค่ะ ! สารพินิจของเรายังมีเรื่องราวดีๆ และสาระความรู้อีกมากมายรอทุกท่านอยู่ ภายในเล่มนี้ อย่าพลาดอ่านแม้แต่หน้าเดียวเลยนะคะ และส�ำหรับท่านใดที่มีเรื่องราวอยากบอกต่อ หรือเผยแพร่ลงวารสารสามารถส่งมาได้ที่ E-Mail : prdjop2563@gmail.com แล้วพบกันอีกครั้ง ฉบับหน้าค่ะ สนทนาเปิดเล่ม 3


คณะผู้จัดท�ำ ที่ปรึกษา อธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน รองอธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนฝ่ายพัฒนา รองอธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนฝ่ายบริหาร รองอธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนฝ่ายปฎิบัติการ กองบรรณาธิการ เลขานุการกรม นางสาวจุรีพร โพธิฆัมพร นางสาวอันธิกา บุญชู นางอิสรานุช หนุนตะคุ ว่าที่ร้อยตรีหญิง อัสศิมา คังชะนัน ฝ่ายภาพและศิลปกรรม นายอมรชัย ศรีเสือลาน นางสาวศิริลักษณ์ ชัยมงคล นางสาวชมาพร น้อยเจริญ เจ้าของ กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน พิมพ์ที่ บริษัท เนชั่นไฮย์ 1954 จ�ำกัด 88/2 หมู่ 1 ต.บางไผ่ อ.เมือง จ.นนทบุรี โทร. 02-447-6280 มือถือ 095-5431238 แฟ็กซ์ 0-2447-6281 วรรณกรรม บทความ หรือข้อคิดที่ได้ปรากฏใน วารสาร “สารพินิจ”ที่เป็นผลงานของผู้เขียนโดยเฉพาะ กองบรรณาธิการไม่จ�ำเป็นต้องเห็นด้วย 5 สารจากผู้บริหาร 9 จากโครงการราชทัณฑ์ปันสุขฯ “ปันสุขจากพี่ (กรมราชทัณฑ์) สู่น้อง (กรมพินิจฯ)” 12 กิจกรรม Save ทุกดวงใจไทย 14 มุ่งมั่นสู่ความส�ำเร็จ 16 ถอดบทเรียนจริงจาก พื้นที่กทม. ต่อความท้าทาย ในการใช้ม.86 ของกรมพินิจฯ 18 การใช้ปัญญาประดิษฐ์เพื่อสนับสนุนการท�ำงาน อย่างมีจริยธรรม 20 YM - FASTIC 22 สถานีกฎหมาย By กรมพินิจฯ ตอน การจดทะเบียนรับรองบุตร 24 พืชผักต้านมะเร็ง 25 ข้อควรรู้เกี่ยวกับวินัย ตอน แนวทางการลงโทษ กรณีละทิ้งหน้าที่ราชการ 26 ประมวลภาพกิจกรรมในโครงการราชทัณฑ์ปันสุขฯ 28 คนพินิจฯ เราท�ำความดีด้วยหัวใจ 30 รอบรั้วกรมพินิจฯ 35 แวดวงกรรมการสงเคราะห์ 37 ผลิตภัณฑ์DJOP Centre ศูนย์สร้างโอกาสและ บริการด้านอาชีพเด็กและเยาวชน 38 ผลิตภัณฑ์สินค้าสวัสดิการกรมพินิจฯ 39 ข้อมูลข่าวสารของราชการ 40 ของฝากจากผู้อ่าน 41 ขอเชิญชวนส่งบทความ 42 แบบตอบรับวารสาร 4 Department of Juvenile Observation and Protection


ที่เราคิดจะพัฒนาสิ่งใดก็ตาม ต้อง เริ่มต้นจากการพัฒนาคนหรือ มนุษย์ก่อนเป็นล�ำดับแรก เพราะมนุษย์เป็น ทรัพยากรที่มีความส�ำคัญและมีคุณค่า โดยเฉพาะกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและ เยาวชนนั้น ถือได้ว่าเป็นหน่วยงานที่มีความ ส�ำคัญในการพัฒนาคนหรือทรัพยากรมนุษย์ ให้มีคุณภาพ เป็นผู้ดูแลเด็กและเยาวชน ที่ก้าวพลาดให้สามารถพัฒนาตนเองขึ้นมาได้ ในการบริหารงานของประเทศที่เจริญแล้ว จะให้ความส�ำคัญกับการสร้างหรือพัฒนาคน เพื่อให้คนไปสร้างและพัฒนาชาติ ดังนั้น การสร้างคนจึงมีความส�ำคัญมากกว่า การสร้างบ้านเมืองหรือสร้างวัตถุ และในทาง ศาสนาเปรียบเทียบความยากนี้ว่าเหมือนกับ การบูรณะ ซึ่งกรมพินิจฯ ก็คือผู้ที่บูรณะ ซ่อมแซมเด็กและเยาวชนที่ก้าวพลาด ให้กลับมาเป็นคนดี เป็นคนที่สังคมยอมรับ และต้องการ ในสถานการณ์ปัจจุบันอัตราการเกิดของคนไทยน้อยลง จากสถานการณ์เช่นนี้ในอีก 50 ปีข้างหน้าประชากรของประเทศเราก็จะ ลดน้อยลงเหลือประมาณ 33 ล้านคน ซึ่งจ�ำนวนคนคือความมั่นคง ที่แท้จริงของประเทศ และประเทศไทยมีจ�ำนวนคนที่กระท�ำผิดและ อยู่ในเรือนจ�ำเป็นอันดับ 6 ของโลก เวลาที่อยู่ในเรือนจ�ำ สถานพินิจฯ หรือแม้แต่คุมประพฤติ ในความเห็นของคนหลายคนถือเป็นเวลา ที่สูญหายไปส�ำหรับคนคนนั้น กรมพินิจฯ จึงเป็นกรมที่มีความส�ำคัญ อย่างยิ่ง คือเป็นกรมที่สร้างอนาคตให้กับประเทศไทย หน้าที่ของท่าน นอกจากจะกระท�ำตามกฎหมายแล้ว ยังมีหน้าที่ของการเป็นผู้ปกครอง ให้กับเด็ก คือ ท�ำหน้าที่ปกครองดูแลเด็กกลุ่มนี้ให้ได้รับการศึกษา มีอาชีพ และสร้างอนาคตที่ดีให้กับเด็กและเยาวชน ซึ่งถือเป็นโอกาสและ สิ่งท้าทาย ในการพัฒนา...เด็กและเยาวชน ที่ก้าวพลาด ต้องให้ความส�ำคัญกับสิทธิที่เขาพึงจะได้รับ ส่งเสริมให้เรียนวิชาชีวิต ที่ส�ำคัญ คือ ต้องร่วมท�ำงานกับชุมชน และสื่อสารกับสังคมให้มากขึ้น เราจะท�ำอย่างไรให้สถานพินิจฯ ที่เราดูแลอยู่เป็นสถานที่ที่มีคุณค่าให้ได้ นั่นคือ การเปลี่ยนมนุษย์จากคนไม่รู้ ให้รู้ และรู้ตามศักยภาพ เพราะคนที่มีความรู้จะช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ได้ ท่านต้องท�ำให้สถาบันที่ท่านอยู่เป็นสถาบันที่มีพลัง และต้องยึดโยงกับชุมชน สถานพินิจฯ อาจจะไม่ได้ดูแลแค่เด็กและเยาวชนที่อยู่กับท่าน แต่จะต้องดูแลและป้องกันไม่ให้ เด็กและเยาวชนเข้ามาสู่สถานพินิจฯ ด้วย และท่านต้องสอนให้เด็กและเยาวชนได้รู้ไม่ใช่แค่เพียงในด้านวิชาการ แต่ต้อง สอนให้เรียนรู้ในด้านวิชาชีวิตด้วย ขอฝากบุคลากรกรมพินิจฯ ว่า ให้ท�ำหน้าที่ที่รับผิดชอบด้วยความรัก ความตั้งใจ และความรอบคอบ และท้ายที่สุดขอฝากอนาคตของเด็กและเยาวชนที่ก้าวพลาดนี้ไว้กับกรมพินิจฯ ด้วย. 5 Department of Juvenile Observation and Protection


ทรวงยุติธรรมได้มีการก�ำหนดทิศทาง เป้าหมายของแผนปฏิบัติงาน ซึ่งแต่ละกรมนั้น มีพันธกิจและภารกิจไม่เหมือนกัน ส�ำหรับนโยบายของ กระทรวงยุติธรรม ในกลุ่มงานด้านพัฒนาพฤตินิสัย ได้มีการประกาศ ในปี พ.ศ. 2567 คือเราจะเป็นกระทรวง กฎหมายที่เข้มแข็งซึ่งไม่ใช่เพียงแค่การออกกฎหมาย การบังคับใช้ หรือการเข้าถึงอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ทั้งหมดนั้น ต้องรวมอยู่ในกระทรวงยุติธรรม คือ “เป็นกระทรวง กฎหมายที่มีความเข้มแข็งในการท�ำงานเชิงรุก ที่จะ อ�ำนวยความยุติธรรมให้กับสังคม” ท�ำไมเราต้องเป็นกระทรวงกฎหมายที่มีความ เข้มแข็ง และเพราะเหตุใดถึงต้องมีการก�ำหนดแบบนี้ นั่น เพราะการเป็นกฎหมายที่ดี มีการบังคับใช้ที่ดี และมีการ เข้าถึงที่ดีนั้นมาจากการก�ำหนดมาตรวัดทางสังคมว่าเรา นั้นไม่ได้รับความเชื่อมั่น และความเชื่อถือจากประชาชน ในองค์กรของเรา หากเป็นเช่นนี้จะส่งผลให้ การท�ำงานนั้นเป็นเรื่องยาก เราจึงต้องหาจุดแข็งของเรา ว่าเรามีเรื่องอะไรบ้างที่เป็นหลักในการอธิบายท�ำความ เข้าใจเพื่อฟื้นฟูความเชื่อมั่น สิ่งเหล่านี้จึงถูกจัดอยู่ใน แผนต่างๆ เพื่อท�ำการแก้ไขในจุดบกพร่องต่างๆ ซึ่งเรามีข้อบกพร่องอยู่ 3 ประเด็น ประเด็นแรก ความเชื่อมั่นในกระบวนการ ยุติธรรม ประเด็นที่สอง ความเชื่อมั่นในการเข้าถึง และประเด็นที่สาม ความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อกระบวนการยุติธรรม ส่งผลให้การท�ำงานนั้นไม่ราบรื่น ฉะนั้นในการขับเคลื่อนนโยบายของกระทรวงยุติธรรมจึงเน้นในเรื่องของการสร้างความ เชื่อมั่น กรมพินิจฯ ก็เช่นเดียวกัน เราจะสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนได้อย่างไร เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนการท�ำงานให้ เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยเฉพาะการบูรณาการของหน่วยงานด้วยกันเอง แม้ว่านโยบายการบริหารงานของกระทรวงยุติธรรมจะเปลี่ยนแปลงไป แต่อย่างไรก็ตามท่านต้องอย่าละทิ้งจุดยืน ของท่านเอง ว่าท่านคือใคร ค�ำว่า “กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน” นั้นมีความหมายในตัวและเป็นความหมายที่ดี ว่าเราจะต้องให้การช่วยเหลือ พินิจ คุ้มครอง และดูแลเด็กและเยาวชนให้เป็นคนดี และสามารถคืนสู่สังคมได้อย่างยั่งยืน ฉะนั้นไม่ว่ากระทรวงยุติธรรมจะมีการขับเคลื่อนหรือก�ำหนดนโยบายอย่างไรก็ตาม เราต้องขับเคลื่อนเพื่อให้เป็นไป ในทิศทางเดียวกันภายใต้จุดยืนนี้ ซึ่งกรมพินิจฯ ต้องรักษาในส่วนที่เป็นตัวตนหรือจุดแข็งนี้ และขอให้ท่านร่วมกันพิจารณา ในเรื่องของอายุเด็ก การดูแลเด็ก การใช้มาตรการต่างๆ กับเด็ก เนื่องจากสังคมนั้นมีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด เช่น เด็กอายุ 14 ปีในสมัยก่อนกับปัจจุบันไม่เหมือนกัน มีความเข้าใจต่อโลกต่อสังคมที่ต่างกันโดยสิ้นเชิง และ ในขณะเดียวกันท่านเองก็ต้องทันต่อโลกและสังคมด้วยเช่นเดียวกัน ฉะนั้นงานพัฒนาพฤตินิสัยนั้นจึงมีความส�ำคัญเป็นอย่างมาก หากมีการท�ำงานได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ นั่นแสดงให้เห็น ถึงการมีประสิทธิภาพในการท�ำงานของเจ้าหน้าที่ เช่น ในงานด้านการสืบเสาะ เพื่อหาสาเหตุแห่งการกระท�ำผิด ซึ่งเป็นงาน ที่มีคุณประโยชน์อย่างมาก เพราะท่านต้องใช้ก�ำลัง การทุ่มเท แรงกาย แรงใจ ดิฉันขอชื่นชมท่านที่ท�ำหน้าที่นี้เพราะถือเป็น งานที่ยาก และท้ายที่สุดนี้ขอฝากทุกท่านว่าเมื่อท่านได้มีโอกาสมาอยู่ในจุดนี้แล้ว ขอให้ใช้เวลาตรงนี้ให้เป็นประโยชน์และ สร้างสรรค์เพื่อให้งานนั้นประสบความส�ำเร็จ และพัฒนาเครื่องมือ นวัตกรรม และวิธีการใหม่ๆ ที่จะสามารถลดขั้นตอน ที่ยุ่งยากลงไปเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้ง่ายขึ้น หากท่านปฏิบัติได้จริงและมีความเคร่งครัดกับเรื่อง เหล่านี้ก็จะเป็นประโยชน์กับประชาชนในการอ�ำนวยความยุติธรรมและสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นได้ ฉะนั้นการเป็น กระทรวงที่กฎหมายดี มีการบังคับใช้ดี และการเข้าถึงดี จะส่งผลให้บรรลุผลในการท�ำงาน. 6 Department of Juvenile Observation and Protection


การท�ำงานเราต้องยืดหลักความรวดเร็วและถูกต้องในการปฏิบัติ ราชการ รวดเร็ว คือ การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความกระตือรือร้น รวดเร็ว ว่องไว เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้มาติดต่อขอรับ บริการได้อย่างทันท่วงที โดยเฉพาะกรณีของเด็กและเยาวชนที่มีปัญหา หรือต้องการความช่วยเหลือต่าง ๆ ต้องเร่งให้ความช่วยเหลือและ แก้ไขปัญหาให้ได้อย่างรวดเร็ว โดยอาศัยการท�ำงานลักษณะบูรณาการ การท�ำงานร่วมกันของทีมสหวิชาชีพและเครือข่ายความร่วมมือในการ วางแผนให้ความช่วยเหลือหรือแก้ปัญหาร่วมกันอย่างเป็นระบบเพื่อให้ เกิดคุณภาพและประสิทธิภาพในการท�ำงาน ถูกต้อง คือ การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต มีความ เอาใจใส่ต่องาน ปฏิบัติงานด้วยความรอบคอบ และยึดหลักของความ ถูกต้องตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือข้อบังคับต่างๆ เพื่อลดข้อผิดพลาด ที่อาจเกิดขึ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและยกระดับ มาตรฐานการปฏิบัติงาน งานที่ส�ำคัญประจ�ำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 คือ การที่กรมพินิจฯ เข้าร่วม “โครงการ ราชทัณฑ์ปันสุข ท�ำความ ดี เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์” วัตถุประสงค์เพื่อให้มีการดูแลผู้ที่ถูก ควบคุมโดยเฉพาะเด็กและเยาวชนให้มีความ ทัดเทียมกับบุคคลภายนอก ซึ่งหากเป็นในเรือนจ�ำ จะเห็นภาพชัดเนื่องจากมีจ�ำนวนผู้ต้องขังเยอะ แต่แพทย์ที่เข้ามารักษามีจ�ำนวนน้อย ไม่เพียงพอต่อการให้บริการผู้ต้องขัง จึงมีการจัดท�ำแผนขึ้นเพื่อให้แพทย์เข้ามาดูแล รักษา หรือจัดหาอุปกรณ์ทางการแพทย์ ซึ่งกรมพินิจฯ จะใช้แนวคิดโครงการของราชทัณฑ์มาใช้ในโครงการของกรมพินิจฯ คือ การดูแลสุขภาพเป็นหลัก และหน่วยงานที่จะเข้าร่วมโครงการในครั้งนี้ ประกอบด้วย ศูนย์ฝึกฯ และอบรม 20 แห่ง และสถานพินิจฯ ที่มีแรกรับ 38 แห่ง และจะมี การตรวจงานโดยท่านองคมนตรี พลเอกไพบูลย์ คุ้มฉายา นโยบายด้านฝ่ายบริหาร >>> เน้นเรื่องการใช้งานระบบสารบรรณ อิเล็กทรอนิกส์ การจัดท�ำหนังสือราชการ บันทึกข้อความ การรับ-ส่งเอกสาร ต่าง ๆ ขอให้ใช้ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลัก นโยบายด้านฝ่ายปฏิบัติการ >>> มีการจัดตั้งคณะท�ำงาน โดยมีรองอธิบดีฝ่ายปฏิบัติการเป็นประธานเพื่อจัดท�ำแผนเผชิญเหตุ และมีการประชุมอย่างน้อยเดือนละครั้ง นโยบายด้านฝ่ายพัฒนา • งานด้านการป้องกัน เป็นการป้องกันกลุ่มเด็กและเยาวชน ที่จะเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ประกอบด้วยโครงการ 1 สถานพินิจฯ 6 สถานศึกษา , การปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเลขานุการ ศอ.กต. ในการบูรณาการ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการตรวจสอบสถานบริการหรือสถานประกอบการ ที่มีลักษณะคล้ายสถานบริการ, คลินิกให้ค�ำปรึกษาเด็กและครอบครัวอบอุ่น, 7 Department of Juvenile Observation and Protection


การพัฒนาขีดความสามารถของกรรมการ สงเคราะห์ และโครงการพิทักษ์และคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ และสวัสดิภาพของเด็กและเยาวชนไร้รัฐ ไร้สัญชาติ ซึ่งเป็นโครงการใหม่ มีพื้นที่ด�ำเนินการ 18 จังหวัด + 1 กทม. ประกอบด้วย จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ตาก กาญจนบุรี ชลบุรี สระแก้ว ระยอง จันทบุรี แม่ฮ่องสอน ตราด ราชบุรี นครปฐม ล�ำพูน ฉะเชิงเทรา ระนอง เลย ประจวบคีรีขันธ์ อุบลราชธานี และกรุงเทพมหานคร • งานด้านการพัฒนา ประกอบด้วย การ พัฒนาด้านสุขภาพกาย และสุขภาพจิต, การพัฒนา ด้านการศึกษา ส่งเสริมให้เรียนหลักสูตรในระยะสั้น, การพัฒนาด้านอาชีพ หลักสูตรระยะสั้นและส่งเสริม ทักษะพิเศษที่ใช้ในการประกอบอาชีพ เช่น การช่วยเหลือฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (CPR) การเรียนขับรถ และการสอบใบขับขี่, การลดการกระท�ำผิดซ�้ำของเด็กและเยาวชนในกลุ่มเด็กและเยาวชนที่อยู่ในศูนย์ฝึกและอบรมฯ และเด็กและเยาวชนที่อยู่ นอกศูนย์ฝึกและอบรมฯ • งานพัฒนาเครือข่าย พัฒนาศักยภาพเครือข่ายที่เข้ามาร่วมท�ำงานเพื่อเด็กและเยาวชน • งานกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์(มาตรา 86) เป้าหมาย คือ เพิ่มสถิติการน�ำกระบวนการดังกล่าว โดยใช้ การเจรจาไกล่เกลี่ยกับผู้เสียหายให้ประสบความส�ำเร็จอยู่ที่ 80% • การบริหารงบประมาณและการจัดซื้อจัดจ้าง เร่งเบิกจ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามแผนงาน และเป้าหมาย “กรมพินิจฯ เป็นองค์กรที่มีแสงสว่างในการด�ำเนินงานเเยอะมาก เพราะเรามีกระบวนการในการด�ำเนินงานที่มากมาย แต่สิ่งที่ท้าทาย คือ ใจของเยาวชนที่ก้าวพลาด เพราะหากเราสามารถเปลี่ยนใจเขาได้ เขาจะคิดใหม่ และเปลี่ยนพฤติกรรม สุดท้ายเขาจะสามารถ...อยู่รอดในสังคมได้” ขอบคุณข้อมูลจาก : กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน เรียบเรียง : นางสาวจุรีพร โพธิฆัมพร นักประชาสัมพันธ์ช�ำนาญการ กลุ่มประชาสัมพันธ์ฯ ภาพ : งานโสตฯ กลุ่มประชาสัมพันธ์ฯ การเบิกจ่ายที่คณะรัฐมนตรีก�ำหนด โดย จะต้องมีการควบคุมการใช้จ่าย การก่อหนี้ กับร้านค้า และจัดซื้อจัดจ้างให้เป็นไปตาม ระเบียบ • การบริหารทรัพย์สิน จัดท�ำ รายละเอียดมูลค่าทรัพย์สิน และการโอน ทรัพย์สินให้มีความถูกต้อง ชัดเจนและ เป็นปัจจุบัน • การบริหารทรัพยากรบุคคล ทบทวนอัตราก�ำลัง ให้มีความเหมาะสม ในแต่ละหน่วย และเน้นการรักษาวินัย ของข้าราชการ ประกอบด้วย การทุจริต การบกพร่องต่อหน้าที่ และแนวคิดเรื่อง กระบวนการเกี่ยวกับวินัยในพื้นที่ รวมถึง การส่งเสริมความก้าวหน้าในอาชีพ (Career Path) สิ่งส�ำคัญที่จะท�ำให้เด็กและเยาวชน ไปต่อได้ คือ วุฒิการศึกษา ส่วนทักษะความสามารถ ด้านต่างๆ นั้น ถือเป็นเรื่อง เฉพาะบุคคล ซึ่งอาจจะมีความ แตกต่างกันออกไป ดังนั้น...การศึกษาและการฝึก วิชาชีพ จึงควรให้เยาวชน ได้เรียนรู้และฝึกควบคู่กัน และสิ่งนี้จะท�ำให้เขา...มีชีวิตใหม่ ที่ดีขึ้นได้ 8 Department of Juvenile Observation and Protection


หนึ่งประวัติศาสตร์ส�ำคัญของกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน คือ การได้เข้าร่วม “โครงการราชทัณฑ์ ปันสุข ท�ำความ ดี เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์” ดังนั้นในวารสารฉบับนี้ ผู้เขียนขอเกริ่นให้ทราบถึงที่มาของโครงการ ดังกล่าวก่อน..... พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดี ศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ ประกาศพระบรมราชโองการแต่งตั้งคณะกรรมการ โครงการราชทัณฑ์ปันสุข ท�ำความ ดี เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2564 เนื่องจากทรงมีพระราชด�ำริว่า โรงพยาบาลราชทัณฑ์ เป็นโรงพยาบาล แห่งเดียวในสังกัดกระทรวงยุติธรรม ต้องให้บริการแก่ผู้ต้องขังเป็นจ�ำนวนมาก และ ยังขาดแคลนบุคลากร เครื่องมือแพทย์ และเวชภัณฑ์ ดังนั้นเพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงการรับการรักษาพยาบาล อย่างเท่าเทียมตามหลักมนุษยธรรม และเมื่อพ้นโทษ จะได้มีสุขภาพสมบูรณ์ทั้งกายและใจ ออกมาสู่สังคมภายนอกและ ประกอบอาชีพสุจริตได้อย่างมีคุณภาพ จึงทรงมีพระราชด�ำริ ที่จะพระราชทาน ความช่วยเหลือในเรื่องการจัดหาอุปกรณ์และ เครื่องมือทางการแพทย์ การรักษาพยาบาล การอบรมให้ความรู้ ในเรื่องต่างๆ เช่น การส่งเสริม สุขภาพ การป้องกันโรคและ การปฐมพยาบาลเบื้องต้น โดยกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ได้น�ำ แนวทางการด�ำเนินงานและแผนการด�ำเนินงานในโครงการ ราชทัณฑ์ปันสุขฯ ที่ใช้ในกรมราชทัณฑ์มาปรับใช้ในการ ดูแลสุขภาพเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็ก และเยาวชน ซึ่งจะด�ำเนินการในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน จ�ำนวน 20 แห่ง และสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน 38 แห่ง ครอบคลุมในหลากหลายด้าน อาทิ ด้านการป้องกันและ ควบคุมโรคที่ส�ำคัญ ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ จะมีการ ตรวจประเมินการปฏิบัติต่อเด็กและเยาวชนตามมาตรฐานองค์การ สหประชาชาติ 4 ด้าน (กินอยู่หลับนอน/ การศึกษา/ การจัดการ สภาพแวดล้อม/ การเคลื่อนย้ายเด็กและเยาวชน) ด้านการพัฒนา ระบบบริการสุขภาพ เป็นด�ำเนินงานร่วมกับโรงพยาบาลแม่ข่าย ที่ให้การดูแล การรักษา/ การส่งต่อ และการป้องกัน ด้านการพัฒนา บุคลากร และด้านการจัดบริการสุขภาพจิตและจิตเวชส�ำหรับเด็ก และเยาวชน เป็นต้น ซึ่งตลอดหลายเดือนที่ผ่านได้มีการลงพื้นที่ เพื่อตรวจเยี่ยมสถานพินิจฯ ที่เข้าร่วมโครงการ โดยได้รับค�ำแนะน�ำ และชี้แนะ เพื่อปรับปรุงทั้งวิธีการ และสถานที่ให้มีความถูกต้อง ตามหลักสุขอนามัยที่ดี 9 Department of Juvenile Observation and Protection


และเพื่อการพัฒนาต่อยอดในการด�ำเนินงานโครงการราชทัณฑ์ปันสุขฯ ของกรมพินิจฯ ให้มีประสิทธิภาพและ ประสิทธิผล บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ได้ก�ำหนดไว้ กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จึงได้จัด โครงการราชทัณฑ์ ปันสุข ท�ำความ ดี เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ “ปันสุขจากพี่ (กรมราชทัณฑ์) สู่น้อง (กรมพินิจฯ)” : สอนในสิ่งที่ไม่รู้ แนะน�ำเพื่อให้สมบูรณ์ ช่วยเหลือในสิ่งที่ขาด แลกเปลี่ยนประสบการณ์เพื่ออนาคต ขึ้น นับเป็นจุดเริ่มต้นของ ความร่วมมือระหว่างกรมพินิจฯ และกรมราชทัณฑ์ ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แบ่งปันประสบการณ์กันและกัน ในลักษณะ พี่สอนน้อง โดยมีแนวคิดหลัก 4 ประการคือ การสอน คือ สอนในสิ่งที่กรมพินิจฯ ยังไมรู ใหรู และเขาใจ กอนลงมือทำ การแนะนำ คือ การแนะนำเพิ่มเติมถึงประเด็น การดำเนินงานของกรมพินิจฯ โดยพิจารณา จากสิ่งที่กรมพินิจฯ มี และใหคำแนะนำตอยอด เพื่อใหการดำเนินงานนั้นมีความสมบูรณมากยิ่งขึ้น การชวยเหลือ คือ การชวยเหลือ/ สนับสนุน ในสิ่งที่กรมพินิจฯ ยังขาด อาทิ ขอความชวยเหลือ ใหผูตองขังของกรมราชทัณฑรวมปรับภูมิทัศนของ สถานที่ควบคุม การแลกเปลี่ยน คือ การแลกเปลี่ยนประสบการณ การดำเนินงานจริงโดยเฉพาะการทำงานรวมกับ โรงพยาบาลแมขาย เพื่อใหการดำเนินงานมีประสิทธิภาพ เปนไปตามวัตถุประสงคของโครงการราชทัณฑปนสุขฯ ซึ่งในวันที่ 9 เมษายน 2567 นางพงษ์สวาท นีละโยธิน ปลัดกระทรวงยุติธรรม ได้มอบนโยบายดังกล่าว ให้แก่บุคลากรในสังกัดกระทรวงยุติธรรม พร้อมท�ำกิจกรรมร่วมกับเยาวชนของกรมพินิจฯ และผู้ต้องขังของกรมราชทัณฑ์ ณ ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนบ้านบึง จังหวัดชลบุรี 10 Department of Juvenile Observation and Protection


โดยปลัดกระทรวงยุติธรรม ได้กล่าวในช่วงหนึ่งว่า “ในการท�ำงานราชการ เรามักแสวงหาค�ำว่า บูรณาการความ ร่วมมือมาโดยตลอด ดังเช่นโครงการราชทัณฑ์ปันสุข ท�ำความ ดี เพื่อ ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ซึ่งถือเป็นโอกาสดี ที่กรมพินิจฯ ได้มาเข้าร่วมโครงการในปีนี้ และเป็นการ ตอบโจทย์...ค�ำว่าบูรณาการได้อย่างแท้จริง ทั้งสองกรมเป็น เสมือนพี่น้อง ดังชื่องาน “ปันสุขจากพี่ (กรมราชทัณฑ์) สู่น้อง (กรมพินิจฯ) ที่จะช่วย “สอนในสิ่งที่ไม่รู้ แนะน�ำ เพื่อให้สมบูรณ์ ช่วยเหลือในสิ่งที่ขาด แลกเปลี่ยน ประสบการณ์เพื่ออนาคต และอีกค�ำสัญญาคือ ค�ำว่า เสริมสร้างจุดแข็ง ดิฉันเชื่อว่า... หากทั้งสอง หน่วยงานร่วมมือร่วมใจกันได้อย่าง ดีแล้ว โครงการนี้ก็จะส�ำเร็จได้” ทั้งนี้หากท่านผู้อ่านสนใจติดตามการด�ำเนินโครงการราชทัณฑ์ปันสุขฯ ของกรมพินิจฯ สามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่ แฟนเพจ : กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน และในฉบับถัดไป ผู้เขียนจะน�ำเรื่องราวใดมาฝากท่านผู้อ่านอีก อย่าลืมติดตามกันนะคะ ข้อมูล: http://www.correct.go.th เรียบเรียง: นางสาวอันธิกา บุญชู นักประชาสัมพันธ์ปฏิบัติการ กลุ่มประชาสัมพันธ์ฯ ภาพประกอบ: งานโสตฯ กลุ่มประชาสัมพันธ์ฯ 11 Department of Juvenile Observation and Protection


ารสาร “สารพินิจ” ฉบับนี้จะพาท่านผู้อ่านไป รู้จักกับอีกหนึ่งกิจกรรมภายใต้ “โครงการ ราชทัณฑ์ปันสุข ท�ำความ ดี เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์” นั่นคือ กิจกรรม Save ทุกดวงใจไทย ซึ่งกิจกรรมนี้ เป็นความร่วมมือที่เกิดขึ้นจากภาคีเครือข่ายของ กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ประกอบด้วย คณะศูนย์อ�ำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน กรมควบคุมโรค กรมสุขภาพจิต สมาคมบอร์ดเกม แห่งประเทศไทย ทีม MACTT ศูนย์สุขภาพจิตในพื้นที่ และกลุ่มอินพุทธ โดยจัดกิจกรรมภายใต้แนวคิด 3 C คือ ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวจัดเพื่อส่งเสริมความรอบรู้ด้าน สุขภาพจิต ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ การตัดสินใจและมีความ สามารถในการดูแลสุขภาพจิตด้วยวิธีที่ถูกต้องและเหมาะสม น�ำไปสู่การเสริมสร้างความเข้มแข็งทางด้านจิตใจ ส่งผลให้เกิด บุคคลที่มีความเข้มแข็ง มีความใจดี รู้จักการชื่นชมและเห็น คุณค่าในตนเอง และสามารถพัฒนาตนเองให้กลายเป็นเพื่อน ที่พร้อมจะช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ในสังคมด้วยการรับฟังอย่าง ตั้งใจ ไม่มีการตัดสิน โดยมีกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย ดังนี้ C: Collaborate ร่วมมือ สรรค์สร้าง C: Correct แก้ไขในสิ่งที่ผิด C: Connect เชื่อมโยง สานสัมพันธ์ 12 Department of Juvenile Observation and Protection


การบรรยายพิเศษหัวข้อ “พัฒนาชีวิต (ดี) แค่คบกัลยาณมิตร (ดี)” จากนักพูดสร้างแรงบันดาลใจ คุณวนิดา บุญประเสริฐ (วนิ อินพุทธ) กิจกรรม “ตรวจสุขภาพกายเด็กและเยาวชน” โดย กรมควบคุมโรค เรียบเรียง: นางสาวอันธิกา บุญชู นักประชาสัมพันธ์ปฏิบัติการ กลุ่มประชาสัมพันธ์ฯ ภาพประกอบ: งานโสตฯ กลุ่มประชาสัมพันธ์ฯ และนี่เป็นเพียงภาพบางส่วนของกิจกรรม “Save ทุกดวงใจไทย” เท่านั้น หากท่านผู้อ่านสนใจสามารถติดตาม เพิ่มเติมได้ที่ แฟนเพจ : กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กิจกรรมการฝึกปฏิบัติการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน ซึ่งได้รับเกียรติจาก พล.อ.อ.สุบิน ชิวปรีชา กรมวังผู้ใหญ่ ในพระองค์ 904 และกรรมการมูลนิธิราชทัณฑ์ปันสุข ท�ำความ ดี เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นผู้ฝึกสอน กิจกรรมกลุ่มบอร์ดเกม “เพื่อนดีดูแลใจ” โดย สมาคมบอร์ดเกมแห่งประเทศไทย กิจกรรมเติมพลังใจบุคลากร “เล่าได้นะ เราเพื่อนกัน” 13 Department of Juvenile Observation and Protection


หน้าที่ของข้าราชการทุกฝ่ายนั้น อาจแบ่งได้เป็น ๒ ส่วน ส่วนหนึ่งคือการปฏิบัติงานตามภาระรับผิดชอบ ของตน ให้ส�ำเร็จผลอย่างมีประสิทธิภาพ อีกส่วนหนึ่งคือ การร่วมกับชาวไทยทุกคน ในอันที่จะจรรโลงรักษา ความดีงามในชาติบ้านเมือง จึงขอให้ข้าราชการทุกคนทุกฝ่าย ตั้งใจขวนขวายปฏิบัติหน้าที่ทั้งนั้นให้ครบถ้วน สมบูรณ์” พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวันข้าราชการพลเรือน ประจ�ำปี พ.ศ. 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 1 เมษายน ของทุกปี คอลัมน์ ‘มุ่งมั่นสู่ความส�ำเร็จ’ จึงขอน้อมน�ำพระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อน�ำมาย�้ำเตือนและสร้างการตระหนักรู้ถึงบทบาทหน้าที่ ในการปฏิบัติงานราชการ โดยเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา กระทรวงยุติธรรม จัดงานครบรอบวันคล้ายวันสถาปนา 133 ปี และได้จัดพิธีมอบเข็มเชิดชูเกียรติและโล่ประกาศเกียรติคุณ แก่ข้าราชการพลเรือนดีเด่น ประจ�ำปี 2566 ทั้งนี้มีบุคลากรของกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนได้รับรางวัลดังกล่าว จ�ำนวน 2 ท่าน และแน่นอน สารพินิจ ของเราจึงไม่พลาดที่จะท�ำการสัมภาษณ์ทั้งสองท่านเพื่อน�ำแนวคิดและคติประจ�ำใจในการปฏิบัติหน้าที่คืนเด็กดีสู่สังคม มาฝากท่านผู้อ่านอีกเช่นเคย จะเป็นบุคคลท่านใดบ้างนั้นไปติดตามอ่านกันต่อเลยค่ะ คติประจ�ำใจในการท�ำงาน : รับผิดชอบหน้าที่ด้วยความ มุ่งมั่น พัฒนาความรู้ คู่คุณธรรม สิ่งที่ยากและท้าทายในการท�ำงานเพื่อเด็กและ เยาวชน : การแก้ไขและพัฒนาให้เด็กและเยาวชนที่ก้าวพลาด มีทักษะในการใช้ชีวิตมีโอกาสทางการศึกษา การประกอบอาชีพ สามารถรับผิดชอบตนเองให้อยู่ในสังคมได้อย่างปลอดภัย และ ไม่ก้าวพลาด สารที่อยากฝากถึงชาวกรมพินิจฯ เพื่อสร้าง แรงบันดาลใจในการปฏิบัติงาน : ขอให้ชาวพินิจ ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความมุ่งมั่น พัฒนาตนเอง และผู้ใต้บังคับบัญชาให้มีความรู้ มีความเชี่ยวชาญ เป็นมืออาชีพในการแก้ไข พัฒนาเด็กและเยาวชนและพิทักษ์ผู้เยาว์ โดยยึดถือกฎระเบียบและมีคุณธรรม น�ำความรู้ไปใช้ในทางที่ถูกต้อง ค�ำนึงถึงประโยชน์ของราชการ เรียบเรียง : นางสาวจุรีพร โพธิฆัมพร นักประชาสัมพันธ์ช�ำนาญการ กลุ่มประชาสัมพันธ์ฯ ภาพ : งานโสตฯ กลุ่มประชาสัมพันธ์ฯ 14 Department of Juvenile Observation and Protection


คติประจ�ำใจในการท�ำงาน : ตั้งใจและเอาใจใส่ ในงานที่รับผิดชอบทุกๆ งาน เต็มก�ำลังสติปัญญาและความ สามารถ โดยค�ำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมเป็นส�ำคัญ และ พร้อมให้ความช่วยเหลือเพื่อนร่วมงานทุกฝ่ายด้วยความ เต็มใจ อย่างเต็มความสามารถเช่นกัน สิ่งที่ยากและท้าทายในการท�ำงานเพื่อเด็กและ เยาวชน : เด็กและเยาวชนที่ก้าวพลาดเข้ามาสู่กระบวนการ ยุติธรรม ส่วนใหญ่ล้วนมาจากสภาพครอบครัวที่มีปัญหา เกือบทั้งสิ้น ไม่ว่าจะด้วยสภาพครอบครัวแตกแยก ขาดความรักความอบอุ่น ถูกท�ำร้ายหรือมีการใช้ความรุนแรง หรือประสบภาวะเศรษฐกิจ ความยากจน ประกอบกับสภาพ สังคมในปัจจุบันที่มีความทันสมัยและเจริญก้าวหน้า นายพิทยานนท์ ศัลยพงษ์ พนักงานคุมประพฤติช�ำนาญการ สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดพิษณุโลก ทางเทคโนโลยีมากขึ้น การอบรมเลี้ยงดูบุตรหลานจึงมุ่งเน้นให้ความส�ำคัญต่อวัตถุสิ่งของจนละเลยต่อเรื่องทางจิตใจ หรือการปลูกฝังศีลธรรมจรรยา ส่งผลให้เด็กและเยาวชนที่กระท�ำความผิดมีอายุน้อยลง มีพฤติกรรมที่รุนแรงมากขึ้น หรือ ก่อคดีที่มีความสลับซับซ้อนของปัญหามากกว่าเมื่อก่อน ในการที่จะแก้ไขเด็กและเยาวชนเหล่านั้น นอกจากการให้ความรัก ความเมตตา ความใกล้ชิดและเข้าใจสภาพปัญหาของเด็กและเยาวชนจนคล้ายประหนึ่งเป็นคนในครอบครัวแล้ว ควรอย่างยิ่ง ที่จะพยายามปรับเปลี่ยนแนวคิดที่ไม่ถูกต้อง และปลูกฝังเรื่องคุณธรรมจริยธรรม เพื่อให้เด็กและเยาวชนเหล่านั้น เกิดความส�ำนึกต่อการกระท�ำของตนอย่างแท้จริง จนน�ำไปสู่การเปลี่ยนแปลงตนเองไปในทางที่ดี โดยไม่หวนกลับมา กระท�ำความผิดซ�้ำอีก สารที่อยากฝากถึงชาวกรมพินิจฯ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการปฏิบัติงาน : ประเทศของเราต้องการความ เจริญก้าวหน้าทัดเทียมกับประเทศอื่นๆ จึงต้องเร่งพัฒนาในทุกๆ ด้าน ก่อให้เกิดนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งขับเคลื่อน และพัฒนาประเทศเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน เราในฐานะข้าราชการ มีความจ�ำเป็นต้องปรับตัวให้ทัน ต่อการเปลี่ยนแปลง และตอบสนองนโยบายต่างๆ ส่งผลกระทบต่อผู้ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง หรือปรับตัวไม่ทัน เกิดเป็น ความเหน็ดเหนื่อย อ่อนล้า หมดแรงและหมดไฟในที่สุด ดังนั้นความใฝ่ฝัน หรืออุดมการณ์จึงเป็นสิ่งส�ำคัญที่จะเป็น แรงผลักดัน เป็นก�ำลังใจให้กับเราได้อย่างดียิ่ง การที่เราตั้งใจท�ำงานโดยเชื่อว่าสิ่งที่กระท�ำไปเพื่อช่วยกันเปลี่ยนแปลง แก้ไขให้เด็กและเยาวชนที่หลงก้าวพลาดได้กลับมาเป็นคนดีของครอบครัว ชุมชน และประเทศชาติ แม้ว่าจะเป็นฟันเฟือง เล็กๆ ไม่ว่าจะล�ำบากยากเย็น หรือเหนื่อยล้าเพียงใด แต่ก็เป็นสิ่งที่คุ้มค่า สร้างความสุข ความภาคภูมิใจที่เราได้มีส่วนท�ำให้ ประเทศของเรามีความเจริญและผาสุกตลอดไป 15 Department of Juvenile Observation and Protection


เรื่องมาตรการพิเศษแทนการด�ำเนินคดีอาญาตามมาตรา 86 ก�ำลังเป็นหนึ่งในประเด็นที่กรมพินิจและ คุ้มครองเด็กและเยาวชนให้ความส�ำคัญเป็นอย่างมาก เพื่อให้การปฏิบัติงานด้านกระบวนการยุติธรรม เด็กและเยาวชนเป็นไปโดยอาศัยหลักการสมานฉันท์ ไม่มุ่งเน้นแก้แค้นทดแทน แต่มุ่งเน้นการแก้ไขบ�ำบัดฟื้นฟู และการน�ำเด็กและเยาวชนที่ดีกลับคืนสู่สังคมได้อย่างเต็มภาคภูมิ อย่างไรก็ตาม ในพื้นที่ที่มีความท้าทายสูงอย่างกรุงเทพมหานครเป็นพื้นที่สังคมเมือง (Urban) คดีอาญาเกิดขึ้นมาก และคดีที่เข้าเกณฑ์การใช้มาตรการพิเศษแทนการด�ำเนินคดีอาญาก็มากตามไปด้วย แต่คดีที่ได้รับการพิจารณาให้ใช้มาตรการพิเศษแทนการด�ำเนินคดีอาญา มีอัตราส่วนที่ต�่ำมากเมื่อเทียบกับจ�ำนวนคดีที่เข้าเกณฑ์การใช้มาตรการ พิเศษแทนการด�ำเนินคดีอาญาซึ่งคดีที่พบได้บ่อยและเข้าเกณฑ์ การใช้มาตรการพิเศษแทนการด�ำเนินคดีอาญาเกิดขึ้นในพื้นที่ กรุงเทพมหานครจะเป็นคดีขับรถโดยประมาท คดีฉ้อโกง รับจ้าง เปิดบัญชีม้า (เพื่อรับเงิน 300 บาทหรือมากกว่านั้น) และการท�ำร้าย ร่างกายที่เป็นอันตรายแก่กายหรือจิตใจที่ไม่ถึงขนาดเป็นบาดเจ็บ สาหัส (ซึ่งมักเกิดระหว่างญาติพี่น้อง เพื่อน รุ่นพี่รุ่นน้อง คนรู้จัก ไปจนถึงคู่อริที่มีความบาดหมางมาก่อนหรือไม่เคยบาดหมางกัน มาก่อนก็ตาม แต่แค่รู้สึก “ไม่ชอบขี้หน้า”) สาเหตุหลักที่ส�ำคัญที่สุด ที่ท�ำให้ไม่เกิดการเสนอให้ใช้มาตรการพิเศษแทนการด�ำเนินคดี อาญา คือ การที่ผู้เสียหายไม่ยินยอม โดยฝ่ายผู้เสียหายมักจะก�ำหนดเงื่อนไข ให้ฝ่ายเด็กและเยาวชนจ่ายหรือร่วมกันจ่ายเงินก้อนจ�ำนวนหนึ่ง “ในคราวเดียว” เพื่อแลกกับการที่จะไม่ด�ำเนินคดีอาญา กับเด็กและเยาวชนและยินยอมเข้าสู่กระบวนการมาตรการพิเศษแทนการด�ำเนินคดีอาญาต่อไป ซึ่งหากฝ่ายผู้เสียหาย และฝ่ายเด็กและเยาวชนสามารถตกลงกันและชดใช้ค่าเสียหายได้ตามที่ฝ่ายผู้เสียหายประสงค์แล้วนั้นมาตรการพิเศษ แทนการด�ำเนินคดีอาญาก็บรรลุผล แต่ทว่า ความท้าทายที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง คือ ความไม่ลงตัวกันระหว่างความต้องการของฝ่ายผู้เสียหายและความ สามารถในการชดใช้ค่าเสียหายของฝ่ายเด็กและเยาวชนซึ่งหลายครั้งพบว่า ครอบครัวของเด็กและเยาวชนมีฐานะยากจนและไม่มีความสามารถใน การหารายได้มาชดใช้ในคราวเดียวได้ บางรายได้ขอเจรจาต่อรองเพื่อที่ จะทยอยจ่ายเป็นงวด ๆ ไป แต่ทว่าหลายครั้งเลยทีเดียวที่ฝ่ายผู้เสียหาย ไม่ยินยอมด้วย เพราะประสงค์จะให้เกิดการชดใช้เพียงครั้งเดียว (อาจจะเป็น เพราะด้วยความต้องการให้ฝ่ายเด็กและเยาวชนเข็ดหลาบหรือความขัดสน ทางการเงินของฝ่ายผู้เสียหายที่สูญเงินจ�ำนวนมากก็ตาม) 16 Department of Juvenile Observation and Protection


ความท้าทายอีกประการหนึ่งส�ำหรับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน คือ การรับมือกับอารมณ์ ความรู้สึกและความน้อยเนื้อต�่ำใจของ ผู้เสียหาย เพราะผู้เสียหายเป็นปัจจัยส�ำคัญที่จะท�ำให้กระบวนการนี้ ประสบความส�ำเร็จ ซึ่งหลายครั้งพบว่าผู้เสียหายได้รับความบอบช�้ำ ทางจิตใจอย่างมากทั้งยังรู้สึกว่า กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ไม่ให้ความเห็นใจผู้เสียหาย (โดยเฉพาะผู้เสียหายที่สูญเงินไปจ�ำนวน มากจากคดีฉ้อโกง ซึ่งยังไม่มีกฎหมายหรือมาตรการใดมาให้ความ ช่วยเหลือได้ ต่างกับกรณีที่ถูกท�ำร้ายร่างกายที่ฝ่ายผู้เสียหายสามารถ ขอรับความช่วยเหลือได้ตามพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จ�ำเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544) พาลจะท�ำให้ผู้เสียหายไม่เปิดใจและไม่ยอมรับการใช้มาตรการพิเศษ แทนการด�ำเนินคดีอาญา จนบางครั้งผู้ปฏิบัติงานเองก็อับจนหนทาง ที่จะเจรจาโน้มน้าวหรือไกล่เกลี่ย นอกจากนี้หากพิจารณาบริบทของ กรุงเทพมหานครแล้ว เรื่องของความเห็นอกเห็นใจ (Empathy) อาจจะเอามาเสวนากันไม่ได้เท่าใดนักในสังคมเมืองแบบ กรุงเทพมหานคร เพราะทุกคนก็ต่างกระเบียดกระเสียรกันเอาตัวรอด ดังนั้นการคานผลประโยชน์ระหว่างฝ่ายผู้เสียหาย กับฝ่ายเด็กและเยาวชนจึงเป็นเรื่องท้าทายที่ต้องจับตามองและพัฒนากันต่อไป ซึ่งฝ่ายผู้ปฏิบัติงานเห็นว่า ถ้าแก้ปัญหา ตรงจุดนี้ได้ จะท�ำให้การท�ำงานง่ายขึ้นและเป็นผลดีต่อทุก ๆ ฝ่ายอย่างแน่นอน และเพื่อพัฒนาการผลักดันมาตรการพิเศษแทนการด�ำเนินคดีอาญาดังกล่าว อีกทั้งเพื่อส่งเสริมขวัญและก�ำลังใจ ให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน อาจจะต้องมีการพิจารณาตัวชี้วัดผลส�ำเร็จของการผลักดัน การใช้มาตรการพิเศษแทนการด�ำเนินคดีอาญาใหม่ โดยมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ ของคดีที่ได้รับการเสนอให้ใช้มาตรการพิเศษแทนการด�ำเนินคดี อาญามากกว่าจ�ำนวนคดีที่ได้รับการเสนอให้ใช้มาตรการพิเศษ แทนการด�ำเนินคดีอาญา หรืออาจจะมีการจัดตั้งหน่วยงาน ที่มีบุคลากรผู้เชี่ยวชาญด้านการไกล่เกลี่ยมาช่วย สนับสนุน หรือสร้างบุคลากรของกรมพินิจและคุ้มครอง เด็กและเยาวชนด้านนี้โดยตรงเพื่อปฏิบัติงานด้านการ เจรจาไกล่เกลี่ยโดยเฉพาะให้เกิดผลสัมฤทธิ์มากขึ้น เนื่องจากบริบทการท�ำงานของกรมพินิจและคุ้มครอง เด็กและเยาวชนท�ำงานเป็นลักษณะสหวิชาชีพที่มี ผู้ที่ศึกษาจบสาขาเฉพาะด้านมาท�ำงานร่วมกันเพื่อ แก้ไขบ�ำบัดฟื้นฟูเด็กและเยาวชน จึงน่าสนใจว่า หากมีการผลักดันและเปลี่ยนแปลงในทิศทาง ดังกล่าวก็อาจจะสร้างความเปลี่ยนแปลงชนิด ที่ท�ำให้เกิดผลลัพธ์และภาพลักษณ์ใหม่ของกรมพินิจ และคุ้มครองเด็กและเยาวชน รวมถึงกระบวนการ ยุติธรรมเด็กและเยาวชนของประเทศไทย ที่พิทักษ์คุ้มครอง สิทธิของเด็กและเยาวชน ในขณะเดียวกันก็ไม่ทอดทิ้งและ ช่วยบรรเทาผลร้ายแก่ผู้เสียหายเช่นกัน 17 Department of Juvenile Observation and Protection


บทน�ำ ก�ำลังเผชิญกับช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างอย่างลึกซึ้งอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนผ่านสู่ ยุคดิจิทัล ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) เป็นเทคโนโลยีที่มีพัฒนาการที่ดีขึ้น อย่างต่อเนื่องและ รวดเร็ว ซึ่งส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโลกของเราไปอย่างมากมาย ปัญญาประดิษฐ์สามารถน�ำมาใช้เพื่อสนับสนุนการ ท�ำงานในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านการผลิต บริการ การแพทย์ การศึกษา เป็นต้น และที่ส�ำคัญที่สุดคือระบบงาน ราชการซึ่งในบริบทของกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนสามารถประยุกต์ใช้ได้ เช่น การติดตามและการวิเคราะห์ พฤติกรรมเด็กและเยาวชน (Behavioral Tracking and Analysis) การพัฒนาทักษะทั่วไป (General Skill Development) เป็นต้น อย่างไรก็ดีการใช้ปัญญาประดิษฐ์อย่างมีจริยธรรมในบริบทของการปฏิบัติงานนั้นก็เป็นสิ่งที่ส�ำคัญเช่นกันเพื่อให้ แน่ใจว่าปัญญาประดิษฐ์จะถูกใช้เพื่อประโยชน์ของมนุษยชาติและไม่ก่อให้เกิดผลกระทบเชิงลบต่อสังคมอีกทั้งยังเป็นการ ตอบสนองต่อความต้องการของมนุษย์อย่างแท้จริง การตระหนักรู้และให้ความส�ำคัญต่อการใช้ปัญญาประดิษฐ์อย่างมี จริยธรรม จะช่วยส่งเสริมให้ปัญญาประดิษฐ์ถูกใช้เพื่อประโยชน์ของมนุษยชาติและสร้างโลกที่ดีขึ้นประกอบกับเป็นการ สร้างผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานให้ออกมาตรงตามความต้องการที่แท้จริงต่อไป การใช้ปัญญาประดิษฐ์ “ปัญญาประดิษฐ์” คือ การผสมผสานระหว่าง “ชุดข้อมูลขนาดใหญ่” กับ “ชุดล�ำดับ ค�ำสั่งที่ใช้แก้ล�ำดับชั้นปัญหา” และ “ค�ำสั่งการท�ำให้ระบบคอมพิวเตอร์เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง” จึงอาจกล่าวได้ว่า “ปัญญาประดิษฐ์” คือ ระบบ คอมพิวเตอร์ ที่โดยสภาพมีความเป็น เครื่องจักรหรือชุดค�ำสั่งที่มีความ สามารถในการท�ำการคาดการณ์ ให้ ค�ำแนะน�ำ หรือตัดสินใจที่มีอิทธิพล ต่อสภาพแวดล้อมจริงหรือเสมือน ตามชุดของวัตถุประสงค์ที่ก�ำหนดไว้ โดยมนุษย์หรือค�ำสั่งเป็นข้อความ ที่น�ำเข้าสู่ระบบ AI Department of Juvenile Observation and Protection 18


โดยขอให้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ช่วยสร้างการท�ำงานใดงานหนึ่ง (Prompt) โดย AI จะประมวลผลการรับรู้ดังกล่าวเป็นแบบจ�ำลองต่าง ๆ ผ่านการวิเคราะห์ในลักษณะอัตโนมัติ และสามารถใช้การอนุมานหรือ การคาดคะเน ตามหลักเหตุผลด้วยแบบจ�ำลอง (Model Inference) เพื่อ ก�ำหนดตัวเลือกส�ำหรับข้อมูลหรือการกระท�ำโดยระบบปัญญาประดิษฐ์ จะได้รับการออกแบบให้ท�ำงานด้วยความเป็นอิสระ (Autonomy) ที่แตก ต่างกัน” ส�ำหรับการใช้ปัญญาประดิษฐ์เพื่อสนับสนุนการท�ำงานสามารถน�ำมาประยุกต์ใช้ในการใช้ AI สร้างนวัตกรรม เพื่อปรับปรุงได้ เช่น สร้างสรรค์นวัตกรรม AI ใหม่ ๆ การให้บริการประชาชนและการแก้ไขปัญหาของสังคม เช่น การน�ำ AI ไปใช้กับระบบการคัดเลือกบุคลากร การน�ำ AI ไปใช้กับระบบตรวจจับการทุจริตอัตโนมัติ การใช้ AI สร้างระบบการเรียนรู้ เพื่อปรับปรุงคุณภาพการศึกษาส�ำหรับการเตรียมความพร้อมในการใช้ AI ของหน่วยงานภาครัฐ ผู้บริหารจะต้องเป็น ผู้น�ำการเปลี่ยนแปลง โดยมีการปลูกฝังแนวคิดการพัฒนาและการใช้ประโยชน์จาก AI ในหน่วยงาน ตลอดจนพัฒนา แนวทางการจัดการข้อมูลและเครื่องมือเกี่ยวกับ AI อย่างมีแบบแผนและมีระบบ จริยธรรมในการใช้ปัญญาประดิษฐ์ ค�ำว่า “จริยธรรม” หมายถึง หลักแห่งความประพฤติที่ดีงาม ทั้งกาย วาจา ที่เกี่ยวข้องกับหลักค�ำสอนของศาสนาหรืออื่น ๆ และยังรวมถึงขนบธรรมเนียมประเพณี ที่ยอมรับกันว่าดีงามของสังคม โดยรวม เพื่อให้ตนเองและสังคมรอบข้างมีความสุข สันติสุข ก่อให้เกิดความรักความสามัคคี เมื่อจะให้กล่าวถึงการน�ำ ปัญญาประดิษฐ์มาปรับใช้เพื่อสนับสนุนการท�ำงานกันแล้วนั้น ปัญญาประดิษฐ์สามารถน�ำมาสนับสนุนการท�ำงาน ได้ทุกบริบทโดยสามารถน�ำมาใช้เป็นเครื่องมือในการป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับองค์กร เช่น ในงานที่เกี่ยวข้องกับ ด้านงานข้อมูล จากค�ำกล่าวที่ว่า “Data is a new oil” ข้อมูลกลายเป็นขุมทรัพย์แห่งใหม่ที่มีมูลค่าไม่ต่างอะไรจาก “น�้ำมัน” ปัจจุบันความเสี่ยงด้านข้อมูล (Data risk) มีสูงมากขึ้นแม้ประเทศไทยเองจะมีพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 แล้วก็ตาม กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนเองเป็นองค์กรที่มีบุคลากรและผู้รับบริการเป็นจ�ำนวนมาก หากน�ำปัญญาประดิษฐ์มาใช้เป็นเครื่องมือในการประมวลผลจะส่งผลให้การท�ำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นโดยเป็นการ ลดภาระงานของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง หรือในประเด็นความเสี่ยงด้านความไม่เป็นธรรมและการเลือกปฏิบัติ (Unfairness and Discrimination) ที่อาจเกิดขึ้นได้ในการปฏิบัติงาน น�ำไปสู่ความไม่เป็นธรรมและการเลือกปฏิบัติจะส่งผลให้เกิด ความเป็นธรรมในการปฏิบัติงานมากขึ้น หรืองานที่เกี่ยวข้องกับ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในประเด็นความเสี่ยงด้านภัยคุกคาม ทางไซเบอร์ (Cyber Attack) ส่งผลให้เกิดความปลอดภัยในงาน ระบบขององค์กร ปัจจุบันประเทศไทยมีการก�ำหนดหลักการ จริยธรรมปัญญาประดิษฐ์ของไทยตามแนวทางของส�ำนักงาน คณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ อยู่ด้วยกัน 6 ประการ ซึ่งประกอบไปด้วย 1. ความสามารถในการแข่งขันและการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Competitiveness and Sustainable Development) 2. ความสอดคล้องกับกฎหมาย จริยธรรม และมาตรฐานสากล (Laws, Ethics, and International Standards) 3. ความโปร่งใสและความรับผิดชอบต่อผลของการกระท�ำ (Transparency and Accountability) 4. ความมั่นคงปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว (Security and Privacy) 5. ความเท่าเทียม หลากหลาย ครอบคลุมและเป็นธรรม (Fairness) 6. ความน่าเชื่อถือ (Reliability) Department of Juvenile Observation and Protection 19


ตามนโยบายรัฐบาลที่ก�ำหนดให้มีการพัฒนาระบบบ�ำบัดฟื้นฟู ผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดภายใต้ทิศทางนโยบาย ยาเสพติดโลก และการเปลี่ยนแปลงในระดับสากลไปสู่การใช้หลักการสาธารณสุขและสิทธิมนุษยชน โดยปรับมุมมอง ผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด คือ “ผู้ป่วย” ที่ต้องได้รับการรักษาและเพื่อให้สอดรับกับประมวลกฎหมาย ยาเสพติด พ.ศ. 2564 ทันต่อสถานการณ์ปัญหายาเสพติดในปัจจุบันที่มีการแพร่ระบาดเป็นวงกว้าง รวมถึงพฤติการณ์การใช้ยาเสพติดของเด็ก และเยาวชนที่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ซึ่งกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนมีภารกิจ ในการแก้ไขบ�ำบัดฟื้นฟูเด็ก และเยาวชนในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีแก่เด็กและเยาชนให้สามารถ กลับไปใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุข ไม่หวนกลับไปเสพซ�้ำหรือกระท�ำผิดซ�้ำ กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จึงได้ร่วมมือกับสถาบันบ�ำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติ บรมราชชนนี (สบยช.) ในการปรับปรุงและพัฒนากระบวนงานด้านการบ�ำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ที่เหมาะสมกับเด็กและเยาวชนในสถานที่ควบคุม โดยการพัฒนาและต่อยอด จากกระบวนงานเดิมในสถานที่ควบคุม ปรับกิจกรรมให้มีความเข้มข้นขึ้นภายในระยะเวลาที่สั้นลง ให้ความส�ำคัญกับการส่งเสริมความรับผิดชอบของครอบครัว (Family) กิจกรรมทางเลือก (Alternative Activities) กิจกรรมการเรียนรู้เพื่อช่วยตนเอง (Self-help) กิจกรรมชุมชนบ�ำบัด (Therapeutic Community) กิจกรรมการแก้ไขบําบัดฟื้นฟูแบบเข้มข้น (Intensive Interventions) และกิจกรรมการจัดการ รายกรณี (Case Management) และเกิดเป็น “แนวทางการบ�ำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพเด็กและเยาวชน ที่เกี่ยวข้องกับยาและสารเสพติดในสถานที่ควบคุม (YM- FASTIC)” เรียบเรียง : นายไชยวัฒน์ อิงไธสง พยาบาลวิชาชีพช�ำนาญการ ภาพ : กลุ่มป้องกัน แก้ไข บ�ำบัด ยาเสพติด Department of Juvenile Observation and Protection 20


ปีงบประมาณ 2566 น�ำไปทดลองใช้ในหน่วยงานน�ำร่อง จ�ำนวน 5 แห่ง ได้แก่ (1) สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดขอนแก่น (2) สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดเชียงใหม่ (3) สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัด พระนครศรีอยุธยา (4) สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดสงขลา (5) สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดอุดรธานี ผลการน�ำ YM-FASTIC ไปทดลองใช้ 1. เด็กและเยาวชนมีพฤติกรรม และเจตคติต่อตนเองและผู้อื่นดีขึ้น 2. เด็กและเยาวชนกล้ายอมรับข้อผิดพลาด และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับตนเองและผู้อื่นในเชิงสร้างสรรค์ ใช้วิธีการที่เหมาะสม ไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้ง 3. เด็กและเยาวชนปรับปรุงพัฒนาตนเองไปในทางที่ดีขึ้น มีระเบียบเรียบร้อย จัดการและควบคุมอารมณ์ตนเองได้ดี มีความรับผิดชอบ สามารถเลื่อนระดับสู่ผู้มีต�ำแหน่งตามโครงสร้างของชุมชนบ�ำบัดได้ ปีงบประมาณ 2567 พันต�ำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม มอบนโยบายด้านการบ�ำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดของ กระทรวงยุติธรรม ในหัวข้อ “การจัดการปัญหายาเสพติดการสร้าง ภูมิคุ้มกันด้านยาเสพติดทุกรูปแบบให้เด็กและเยาวชน และการบ�ำบัด รักษาผู้ติดยาเสพติดอย่างเหมาะสม” และก�ำหนดให้โครงการพัฒนา รูปแบบการบ�ำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพเด็กและเยาวชน ที่เกี่ยวข้องกับยา และสารเสพติดในสถานที่ควบคุม รูปแบบ Youth-Modified FASTIC (YM-FASTIC) เป็นแผนปฏิบัติการเร่งรัด (Quick Win) ของกระทรวงยุติธรรม และขยายผล การด�ำเนินงานไปยังสถานแรกรับเด็กและเยาวชนทั่วประเทศ Department of Juvenile Observation and Protection 21


…..บุตรที่เกิดจากพ่อแม่ที่แต่งงานแต่ไม่ได้จดทะเบียน สมรสกัน จะนับว่าบุตรที่เกิดมานั้น เป็นบุตรของหญิง ไม่ใช่บุตรของชาย ส่งผลให้ไม่มีสิทธิเป็นทายาท โดยธรรมของบิดา นั้นท�ำให้เสียสิทธิต่าง ๆ ใน อนาคตได้ ดังนั้นวิธีการที่จะแก้ปัญหานี้ได้ คือ การจดทะเบียนรับรองบุตร แล้วการจดทะเบียนรับรองบุตรนี้จะ มีความส�ำคัญอย่างไร สถานีกฎหมาย By กรมพินิจฯ มีค�ำตอบ มาฝากท่านผู้อ่านค่ะ การแต่งงานที่ไม่จดทะเบียน ตามกฎหมายถือว่าไม่ใช่ การสมรสโดยชอบด้วยกฎหมาย นั้นคือ ไม่ใช่การสมรสตามกฎหมาย แม้ว่าจะเป็นสามีภรรยากันจริงๆ ก็ไม่ใช่สามีภรรยาตามกฎหมาย ดังนั้น บุตรที่เกิดมาจากสามีภรรยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน บุตรที่เกิดมานั้น และถ้าผู้ชายต้องการจะให้เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายจะต้อง จดทะเบียนรับรองเป็นบุตร เพื่อให้เด็กที่เป็นบุตรนอกสมรสกลายเป็นบุตร ที่ถูกต้องตามกฎหมายของบิดา แม้บิดามารดาจะไม่ได้จดทะเบียนสมรส ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1547 “เด็กเกิดจากบิดามารดา ที่มิได้สมรสกันจะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายต่อเมื่อบิดามารดาได้สมรสกัน ในภายหลัง หรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเด็กเป็นบุตร หรือศาลพิพากษา ว่าเป็นบุตร” ซึ่งก็มีแนวทางในการด�ำเนินการให้เด็กเป็นบุตรโดยชอบ ด้วยกฎหมายในกรณีที่บิดามารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน ดังนี้ Department of Juvenile Observation and Protection ถือว่าเป็นบุตรของ “หญิง” ไม่ใช่บุตรของ “ชาย” ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546 ระบุว่า “เด็กที่เกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชาย ถือเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของ ผู้หญิงเพียงฝ่ายเดียว ยกเว้นเมื่อมีกฎหมายบัญญัติไว้ให้เป็นอย่างอื่น” ซึ่งการไม่จดทะเบียน รับรองบุตรจะส่งผลให้ - เด็กเสียสิทธิที่ควรจะได้จากบิดา เช่น การใช้นามสกุลบิดา หรือการรับมรดก - เรียกร้องให้บิดาจ่ายค่าเลี้ยงดูไม่ได้ - หากจะรับมรดกของบิดาก็ต้องด�ำเนินการพิสูจน์ตัวตนว่าเป็นบุตรที่แท้จริง - หากจะรับบ�ำเหน็จตกทอดจากบิดาที่เป็นราชการและเสียชีวิต จะต้องยื่นค�ำร้อง ต่อศาลก่อน - ไม่สามารถฟ้องร้องสิทธิ หรือไม่มีอ�ำนาจตัดสินใจให้ด�ำเนินการตามกฎหมาย ในกรณี ที่หากบิดาเสียชีวิตจากการถูกผู้อื่นกระท�ำ - บุตรและบิดาต่างใช้สิทธิลดหย่อนภาษีไม่ได้ 22


1. เมื่อบิดามารดาได้จดทะเบียน สมรสกันในภายหลัง มีผลนับแต่วันที่ เด็กเกิด 2. บิดามารดาจดทะเบียน รับรองว่าเด็กเป็นบุตรมีผลนับแต่วัน ที่เด็กเกิด มีเงื่อนไขตามกฎหมาย คือ ต้องได้รับความยินยอมจากมารดาและ ตัวเด็กต่อหน้านายทะเบียน แต่หากบุคคล ทั้ง 2 ไม่อยู่ในสถานภาพที่ยินยอมได้ เช่น มารดา เสียชีวิตหรือเด็กอายุน้อยเกินไป นายทะเบียนจะจดรับรองบุตรไม่ได้ จนกว่าจะมีค�ำสั่งของศาล 3. ศาลพิพากษาว่าเด็กเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดา มีผลนับแต่วันที่เด็กเกิด โดยการจดทะเบียนรับรองบุตรสามารถด�ำเนินการได้ 2 วิธีคือ การไปจดทะเบียนที่อ�ำเภอ/ เขต และจดนอกส�ำนักทะเบียน ซึ่งต้อง เสียค่าธรรมเนียม นอกจากนี้ยังมีเรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับการจดทะเบียน รับรองบุตรอีก คือ เมื่อด�ำเนินการจดทะเบียนรับรองบุตรเรียบร้อยแล้ว จะไม่สามารถถอนหรือยกเลิกได้ และสิทธิต่าง ๆ ที่บุตรจะได้รับจะมีผล ย้อนหลังไปตั้งแต่เด็กเกิด ถึงแม้การจดทะเบียนรับรองบุตรจะเกิดขึ้น เมื่อไหร่ก็ตาม ส่วนในกรณีที่บิดามารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน แต่มีชื่อของบิดาในใบเกิดของเด็กก็ยังถือว่าเป็นการรับรองว่าเด็กคนนั้น เป็นบุตรที่ถูกต้องตามกฎหมายของบิดา ข้อมูล : สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดสมุทรปราการ ภาพประกอบ : www.freepik.com Department of Juvenile Observation and Protection ผู้เขียนเข้าใจถึงความจ�ำเป็นบางประการของคู่สามีภรรยาที่ไม่สามารถ จดทะเบียนสมรสได้ ซึ่งอาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตของบุตรที่เกิดมา ดังนั้น การจดทะเบียนรับรองบุตรจึงเป็นทางออกที่จะท�ำให้เด็กที่เกิดมานั้นได้รับ สิทธิต่าง ๆ ตามที่ควรจะได้รับ เพราะฉะนั้นอย่ามองข้ามเรื่องนี้ไปนะคะ และหากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกให้ค�ำปรึกษา เด็กและครอบครัวอบอุ่น ที่ตั้งอยู่ในสถานพินิจและคุ้มครองเด็ก และเยาวชนทั้ง 77 แห่ง หรือศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนทั้ง 20 แห่ง ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศได้เลยค่ะ ส่วนในฉบับถัดไปทางผู้เขียนจะน�ำเรื่อง อะไรมาฝากผู้อ่านอย่าลืมติดตามกันนะคะ 23


“มะเร็ง” เป็นโรคที่คุกคามชีวิตมนุษย์ แต่อย่างไรก็ตาม การบริโภคพืชผักสวนครัวต่าง ๆ ควรเป็นส่วนหนึ่งของการรับประทานอาหารที่สมดุลและหลากหลาย เพื่อให้ร่างกายได้รับ ประโยชน์ทางสารอาหารจากพืชผักนั้น ๆ ได้อย่างครบถ้วนและสมบูรณ์มากที่สุดนะจ้ะ ... เพราะเป็นโรคที่ต้องอาศัยการดูแลรักษาเป็นระยะเวลายาวนานและมีผลข้างเคียงของการรักษาค่อนข้างรุนแรง รวมทั้ง สาเหตุที่แท้จริงของการเกิดมะเร็งนั้นไม่สามารถทราบแน่นอน ถึงแม้ว่ามะเร็งบางชนิดจะมีบทบาททางพันธุกรรมเป็นส่วนส�ำคัญ ในการเกิดโรค แต่สาเหตุของการเกิดมะเร็งร้อยละ 80 % เกิดจากวิถีการด�ำรงชีวิตและสภาพแวดล้อม เช่น พฤติกรรมการบริโภค การมีโภชนาการที่ไม่เหมาะสม สิ่งแวดล้อมที่เต็มไปด้วยสารพิษ อากาศที่ใช้หายใจ ต�ำแหน่งที่อยู่อาศัยและการประกอบอาชีพ รวมทั้งการขาดการออกก�ำลังกาย จากสาเหตุเหล่านี้พบว่าอุบัติการณ์ของโรคมะเร็งเพิ่มสูงขึ้นในทุกประเทศ สมุนไพรเป็นสิ่งหนึ่งที่จะช่วยในการส่งเสริมสุขภาพ ซึ่งสามารถใช้ป้องกันหรือชะลอการเกิดมะเร็ง ตลอดจนยับยั้งหรือ ท�ำลายเซลล์มะเร็งบางชนิดได้ ในบทความนี้จะกล่าวถึงพืช ผัก สมุนไพร ที่มีสารที่สามารถต่อต้านหรือป้องกันการเกิดโรคมะเร็งได้ ซึ่งสารดังกล่าวเรียกว่า สารต่อต้านการก่อมะเร็ง (anti-carcinogen) และสารต่อต้านการส่งเสริมมะเร็ง (anti-tumor promoter) “พืชผักสวนครัว” ที่มีคุณสมบัติในการต่อต้านหรือป้องกันการเกิดมะเร็ง มีดังนี้ ผักกาดหอม (Lettuce) : ผักกาดหอมเป็นพืชผักสวนครัวที่พบได้ง่ายทั่วไปในท้องถิ่น มีสาร ต้านอนุมูลอิสระและเส้นใยอาหารที่ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งบางประเภท เช่น มะเร็งเต้านม (breast cancer) และมะเร็งล�ำไส้ใหญ่ (colorectal cancer) ผักคะน้า (Chinese Kale) : ผักคะน้าเป็นพืชผักสีเขียวเข้มที่สามารถหาได้ง่าย ให้วิตามินเอสูง และเป็นแหล่งของเบต้าแคโรทีน (Beta- Carotene ) ซึ่งเป็นสารยับยั้งการก่อมะเร็ง มีสารต้านอนุมูลอิสระที่สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งได้ รวมถึงการรักษาเซลล์มะเร็ง ผักกาดแก้ว (Kale) : ผักกาดแก้วเป็นพืชผักที่มีสารต้านออกซิเดชั่นสูง (oxidation) เช่น ฟิโทคีนส์ (phytochemicals) ที่มีฤทธิ์ต้านการเกิดมะเร็ง และวิตามินเอ ที่ถือว่ามีคุณสมบัติต้านมะเร็งได้ ผักชี (Coriander) : ผักชีเป็นพืชผักสวนครัวที่ง่ายต่อการหาและปลูก มีสารสกัด ที่ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง เช่น สารแอลดีไฮโดรกซีค์ (Apigenin) ที่มีฤทธิ์ต้านมะเร็ง ผักชีลูกไก่ (Parsley) : ผักชีลูกไก่เป็นพืชผักที่นิยมใช้เป็นส่วนผสมในอาหาร มีสารต้าน อนุมูลอิสระและสารสกัดที่อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งบางประเภท ผักบุ้งจีน (Chinese Spinach) : เป็นพืชผักที่นิยมรับประทานในอาหารจีน มีสารต้าน อนุมูลอิสระที่ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเพราะมีสารเลซิทิน (Lecithin) ที่มีฤทธิ์ต้านมะเร็ง Department of Juvenile Observation and Protection 24


25 จากกรณีดังกล่าว เมื่อได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่เวรจุด ระหว่างเวลา 08.00-16.00 นาฬิกา มีหน้าที่ ป้องกันเด็กและเยาวชนในความควบคุมมิให้หลบหนี และสังเกตความเคลื่อนไหวของเด็กและเยาวชนในเขตรับผิดชอบ ของตนเองขณะปฏิบัติหน้าที่เวรยาม แต่ได้ออกจากจุดรับผิดชอบไปนอกสถานพินิจฯ ขณะมีเยาวชนอยู่ในความควบคุม โดยไม่ขออนุญาตหรือแจ้งผู้บังคับบัญชา พฤติการณ์ดังกล่าวเป็นการกระท�ำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ฐานไม่ปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบของ ทางราชการ มติของคณะรัฐมนตรี นโยบายของรัฐบาล และไม่ปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ และฐานไม่อุทิศเวลาของตน ให้แก่ราชการ ละทิ้งหน้าที่ราชการ ตามมาตรา 82 (2) (5) และมาตรา 84 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 ประกอบข้อ 23 ของระเบียบส�ำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ.2547 และข้อ 3 วรรคหนึ่ง ของประการกรมพินิจ และคุ้มครองเด็กและเยาวชน เรื่อง การปฏิบัติราชการ วินัยและการรักษาวินัยของพนักงานราชการลงวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ.2549 โทษ ตัดเงินค่าตอบแทน ในอัตราร้อยละ 2 เป็นเวลาหนึ่งเดือน ผมขอโทษครับ ผมจะไมทำอะไรแบบนี้ อีกแลวครับ มาอยูเวรประจำจุด ทำงานที่เรารักกันเถอะ วันนี้เยาวชนเรียบรอยดีมาก ออกไปขางนอกสักครู คงไมมีใครรู คนที่ประจำจุดตรงนี้ไปไหน ทำไมไมดูแลเยาวชน คุณรูไหมวาที่ทำมันผิด คุณละทิ้งหนาที่ราชการ ถึงแมพฤติการณของคุณ จะเปนการกระทำความผิดวินัย อยางไมรายแรง แตก็ตองมี การลงโทษ ซึ่งคุณจะโดน ตัดเงินคาตอบแทน ในอัตรารอยละ 2 เปนเวลา หนึ่งเดือน Department of Juvenile Observation and Protection


สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดล�ำปาง วันที่ 19 เมษายน 2567 สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จังหวัดล�ำปาง ได้ด�ำเนินการจัดกิจกรรม “มุมราชทัณฑ์ปันสุข” ให้กับ เด็กและเยาวชนได้ใช้บริการ ในรูปแบบ ห้องสมุดปันสุข โดยภายในห้องสมุด มีหนังสือหลากหลายประเภท ให้เด็กและเยาวชนได้หยิบยืมไปอ่าน เพิ่มพูน ความรู้ ผ่อนคลายความเครียด รู้จักการใช้เวลา ว่างให้เกิดประโยชน์ อาทิ หนังสือการ์ตูน หนังสือนวนิยาย หนังสือเกร็ดความรู้ นอกจากนี้เด็กและ สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดตาก เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2567 สถานพินิจคุ้มครองเด็กและเยาวชน จังหวัดตาก ซึ่งได้รับความอนุเคราะห์จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ บ้านน�้ำโจน ต�ำบลวังหิน อ�ำเภอเมือง จังหวัดตาก ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ให้แก่ เจ้าหน้าที่ จ�ำนวน 5 ราย เด็กและเยาวชน จ�ำนวน 30 ราย ณ สถานแรกรับ เด็กและเยาวชน สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดตาก ต�ำบลวังหิน อ�ำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก เยาวชนยังสามารถเข้าไปใช้บริการห้องสมุดในการท�ำกิจกรรมอื่น เช่น การเรียนการสอน ซึ่งได้รับความสนใจจากเด็กและ เยาวชนเป็นอย่างดี ณ สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดล�ำปาง ต�ำบลพิชัย อ�ำเภอเมืองล�ำปาง จังหวัดล�ำปาง 26


ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนชายบ้านอุเบกขา วันที่ 4 เมษายน 2567 ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนชาย บ้านอุเบกขา จัดกิจกรรม “รับขวัญสู่เหย้า บ้านเรา อุเบกขา” ซึ่งเป็น กิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อเด็กและเยาวชนที่รับตัวใหม่จากศูนย์ฝึกและ อบรมเด็กและเยาวชนอื่น มารับการฝึกอบรมต่อที่ศูนย์ฝึกและ ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนเขต 4 วันที่ 26 มีนาคม 2567 ศูนย์ฝึกและอบรมเด็ก และเยาวชนเขต 4 โดยส่วนงานแก้ไข บ�ำบัด ฟื้นฟู จัดโครงการฟันสวย ยิ้มใส ใส่ใจสุขภาพช่องปาก ร่วมกับเครือข่ายด้านสุขภาพโดยคณะอาจารย์ สาขาวิชาทันตสาธารณสุข วิทยาลัยสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น เพื่อให้ความรู้การดูแลสุขอนามัย ช่องปากและฟันให้กับเด็กและเยาวชน รวมทั้ง การเยียวยาทางจิตใจ รู้สึกอบอุ่นใจและปลอดภัยเมื่อเปลี่ยนสภาพแวดล้อมใหม่ อีกทั้งเป็นการเรียกขวัญสร้างก�ำลังใจให้แก่เด็กและเยาวชนในการเริ่มต้นชีวิตใหม่ พร้อมที่จะรับการฝึกอบรมและด�ำเนินชีวิตในสถานควบคุมต่อไป ณ ศูนย์ฝึกและอบรมเด็ก ร่วมตรวจสุขภาพช่องปากและฟันให้กับเด็กและเยาวชนจ�ำนวน 82 ราย ณ ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนเขต 4 ต�ำบลศิลา อ�ำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น Department of Juvenile Observation and Protection อบรมเด็กและเยาวชนชายบ้านอุเบกขา มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เยาวชนได้รับ และเยาวชนชายบ้านอุเบกขา ต�ำบลคลองโยง อ�ำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 27


สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จังหวัดสุราษฎร์ธานี วันที่ 1 มกราคม 2567 เจ้าหน้าที่ เด็กและเยาวชนของ สถานพินิจฯ จังหวัดสุราษฎร์ธานี และประชาชนทั่วไป รวม 36 คน ร่วมเก็บกวาด และท�ำความสะอาดกุฏิ โบสถ์ ศาลา และบันได ส�ำหรับขึ้นเขาเพื่อไหว้พระความยาว 150 เมตร ณ วัดวิชิตดิตถาราม (วัดคอกช้าง) ต�ำบลท่าชนะ อ�ำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี Department of Juvenile Observation and Protection วันที่ 30 ธันวาคม 2566 เจ้าหน้าที่ เด็กและเยาวชน ของสถานพินิจฯ จังหวัดนราธิวาส จ�ำนวน 17 คน ร่วมกันท�ำ ความสะอาดบ้านของประชาชนที่ประสบอุทกภัย ส่งผลให้เด็กและเยาวชนเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง และใช้เวลาว่าง เพื่อท�ำประโยชน์ให้กับชุมชน ณ ต�ำบลมะนังตายอ อ�ำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดนราธิวาส สถานพินิจและคุ้มครองเด็ก และเยาวชนจังหวัดสุโขทัย วันที่ 4 มกราคม 2567 จิตอาสา 904 ร่วมกับเจ้าหน้าที่ ของสถานพินิจฯ จังหวัด สุโขทัย เป็นวิทยากรให้ความรู้พื้นฐานเรื่อง “จิตอาสา 9 ค�ำพ่อสอน” ในกิจกรรมเตรียมความพร้อมก่อนพิจารณาคดี โดยมีเด็กและเยาวชน จ�ำนวน 25 คน เข้าร่วม ณ สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดสุโขทัย ต�ำบลบ้านกล้วย อ�ำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย 28


ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนบ้านบึง วันที่ 8 มีนาคม 2567 เจ้าหน้าที่ เด็กและเยาวชน รวม 57 คน ร่วมท�ำความสะอาดและปรับภูมิทัศน์ ภายในสถานที่ควบคุม เพื่อให้สถานที่มีความสะอาด และ เรียบร้อย ณ ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนบ้านบึง ต�ำบลหนองอิรุณ อ�ำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี Department of Juvenile Observation and Protection สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดจันทบุรี วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2567 เจ้าหน้าที่ เด็กและเยาวชนของสถานพินิจฯ จังหวัดจันทบุรี รวม 48 คน ร่วมกิจกรรมจิตอาสา “เราท�ำความดี ด้วยหัวใจ” เพื่อท�ำความสะอาดและปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณภายในและภายนอกอาคาร สถานแรกรับเด็กและเยาวชนชาย/หญิง เพื่อให้มีความสะอาด เรียบร้อย และสวยงามณ สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดจันทบุรี ต�ำบลตลาด อ�ำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดชัยนาท วันที่ 19 มีนาคม 2567 เจ้าหน้าที่ของสถานพินิจฯ จังหวัดชัยนาท จ�ำนวน 6 คน ร่วมบริจาคโลหิตในกิจกรรม “พินิจ-จิตอาสา ท�ำดีด้วยหัวใจ” เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ณ โรงพยาบาลชัยนาทนเรนทร อ�ำเภอเมืองชัยนาท จังหวัดชัยนาท 29


รมว.ยธ. มอบนโยบายการปฏิบัติราชการของกระทรวงยุติธรรม วันที่ 4 ตุลาคม 2566 พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม “มอบนโยบายการปฏิบัติราชการ ของกระทรวงยุติธรรม” โดยมี นางพงษ์สวาท นีละโยธิน ปลัดกระทรวงยุติธรรม พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่หน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรมเข้าร่วม โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้มอบนโยบายหลัก 5 ประการ ประกอบด้วย 1. น�ำความยุติธรรมเข้าหาประชาชนอย่างทั่วถึงและถ้วนหน้า 2. แก้ไขและปรับปรุงให้เกิดความ เป็นธรรมทางกฎหมายอย่างแท้จริง 3. ฝึกฝนอบรมบุคลากรให้มีความพร้อมปฏิบัติการกับอาชญากรรมที่เกิดขึ้น พิธีเทิดพระเกียรติเนื่องในโอกาส “วันนวมินทรมหาราช” วันที่ 10 ตุลาคม 2566 พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม น�ำคณะผู้บริหารกระทรวงยุติธรรม ร่วมพิธีเทิดพระเกียรติเนื่องในโอกาส “วันนวมินทรมหาราช” ประจ�ำปี พ.ศ.2566 โดยถวายความเคารพเบื้องหน้าพระบรม ฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถพิตร และยืนสงบนิ่งน้อมร�ำลึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นเวลา 89 วินาที พร้อมถ่ายภาพหมู่ร่วมกัน จากนั้นร่วมกันถ่ายภาพหมู่บริเวณหน้าป้ายบริจาคโลหิต และร่วมให้ก�ำลังใจแก่ผู้บริจาคโลหิต โอกาสนี้กรมพินิจฯ เข้าร่วมพิธีด้วย ซึ่งกิจกรรม ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรมจิตอาสา “เราท�ำความดี ด้วยหัวใจ” เพื่อเป็นการ น้อมร�ำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จ พระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถพิตร ณ ห้องรับรอง ชั้น 2 อาคารกระทรวงยุติธรรม ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 4. ธ�ำรงไว้ซึ่งความสูงสุดของรัฐธรรมนูญและสร้างความเข้มแข็งให้หลักนิติธรรม และ 5. ยึดคติพจน์ ‘กันไว้ดีกว่าแก้’ ภายใต้แนวคิด “การบริหารและขับเคลื่อนกระทรวง ยุติธรรมเข้าสู่ยุคความยุติธรรมส�ำหรับทุกคน หรือ ความยุติธรรมน�ำประเทศ” ณ ห้องประชุมกระทรวงยุติธรรม 10-09 (Auditorium) ชั้น 10 อาคารกระทรวง ยุติธรรม ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ และผ่านระบบออนไลน์ Department of Juvenile Observation and Protection 30


งานการมอบรางวัลธัญญารักษ์อวอร์ดและ มอบใบประกาศนียบัตรประจ�ำปี 2566 วันที่ 16 พฤศจิกายน 2566 นางนลินนาถ ไกรนรา รองอธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็ก และเยาวชนฝ่ายปฏิบัติการ เป็นผู้แทนกรมพินิจฯ น�ำหัวหน้าส่วนราชการเข้าร่วม “งานการมอบรางวัล ธัญญารักษ์อวอร์ดและมอบใบประกาศนียบัตร” ในการประชุมวิชาการยาเสพติดแห่งชาติ ครั้งที่ 23 ประจ�ำปี 2566 ทิศทางการบ�ำบัดยาเสพติดในอนาคต : ประมวลกฎหมายยาเสพติดสู่การปฏิบัติ (The Future Trends in Drug Treatment: The Narcotics Code to Practice) โอกาสนี้หน่วยงานในสังกัดกรมพินิจฯ จ�ำนวน 12 แห่ง ประกอบด้วย ศฝ.ชายบ้านมุทิตา, ศฝ. เขต 1, ศฝ.เขต 3, ศฝ. เขต 7, สพ.กรุงเทพมหานคร, สพ.จ.นครปฐม, สพ.จ.นครพนม, สพ.จ.ปัตตานี, สพ.จ.พิษณุโลก, สพ.จ.สมุทรปราการ, สพ.จ.สระบุรี และสพ.จ.สุราษฏร์ธานี ได้รับประกาศนียบัตร สถานบ�ำบัดฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดระบบต้องโทษ ที่ผ่านการรับรองคุณภาพด้วยณ ห้องแกรนด์ไดมอนด์ บอลรูม อาคารอิมแพ็คฟอรั่ม เมืองทองธานี จังหวัด นนทบุรี พิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทานของกระทรวงยุติธรรม ประจ�ำปี 2566 วันที่ 23 พฤศจิกายน 2566 พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ยุติธรรม พร้อมด้วย นางพงษ์สวาท นีละโยธิน ปลัดกระทรวงยุติธรรม ผู้บริหาร ระดับสูงของกระทรวงยุติธรรม และผู้บริหารกรมพินิจฯ เข้าร่วมพิธีถวายผ้าพระกฐิน พระราชทานของกระทรวงยุติธรรม ประจ�ำปีพุทธศักราช 2566 เพื่อถวาย พระสงฆ์จ�ำพรรษา ณ วัดชุมพลนิกายาราม ราชวรวิหาร ต�ำบลบ้านเลน อ�ำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยในปีนี้กระทรวงยุติธรรม ได้ถวายปัจจัยทั้งสิ้น 1,701,022.40 บาท (หนึ่งล้านเจ็ดแสนหนึ่งพันยี่สิบสองบาท สี่สิบสตางค์) Department of Juvenile Observation and Protection 31


โครงการจิตอาสาพัฒนา “ยุติธรรมท�ำความดี ด้วยหัวใจ ครั้งที่ 2” วันที่ 29 พฤศจิกายน 2566 กรมพินิจและคุ้มครองเด็ก และเยาวชน จัดโครงการจิตอาสาพัฒนา “ยุติธรรมท�ำความ ดีด้วยหัวใจ ครั้งที่ 2” ร่วมกับ มูลนิธิมิตรภาพสงเคราะห์ วันสร้างสุข สร้างความสุข เติมโอกาส เพิ่มรอยยิ้ม เพื่อน้องสถานพินิจ วันที่ 13 ธันวาคม 2566 กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน โดย สถานแรกรับเด็กและเยาวชนชายบ้านเมตตา สถานพินิจและคุ้มครองเด็ก และเยาวชนกรุงเทพมหานคร เข้าร่วมโครงการ “วันสร้างสุข สร้างความสุข เติมโอกาส เพิ่มรอยยิ้ม เพื่อน้องสถานพินิจ” ซึ่งจัดขึ้นโดยบริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จ�ำกัด (มหาชน) หรือ ONEE เพื่อส่งมอบความสุขสร้าง แรงบันดาลใจให้กับเยาวชน ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย โอกาสนี้ได้มอบ ความสุขผ่านเสียงเพลงจากศิลปินของบริษัท GRAMMY GOLD ด้วย ณ สถานแรกรับเด็กและเยาวชนชายบ้านเมตตา สถานพินิจและคุ้มครองเด็ก และเยาวชนกรุงเทพมหานคร แขวงบางนาเหนือ เขตบางนา กรุงเทพฯ บ้านพักคนชราหญิง และมูลนิธิชลลดา โดยได้จัดกิจกรรมเพื่อขับเคลื่อนงานจิตอาสากระทรวงยุติธรรมด้านที่ 1 จิตอาสาพัฒนา มุ่งเน้นเกี่ยวกับการบ�ำเพ็ญประโยชน์เพื่อสาธารณะ โอกาสนี้ คุณอัญชลี นทีธ�ำรงสุทธิ์ ประธานมูลนิธิ มิตรภาพสงเคราะห์ บ้านพักคนชราหญิง คุณชลลดา พรหมเดชไพบูลย์ ประธานมูลนิธิชลลดา พร้อมด้วยบุคลากรในสังกัด กระทรวงยุติธรรม รวมทั้งสิ้น 100 คน ได้ร่วมท�ำความสะอาดบริเวณอาคารกลาง ลานจอดรถ สนามหญ้าทางเดินรอบอาคาร ที่พักอาศัย รวมถึงพัฒนาบริเวณรั้วรอบมูลนิธิ และทาสีบริเวณห้องน�้ำด้วย จากนั้นได้จัดกิจกรรมนันทนาการคลายเครียด ส�ำหรับผู้สูงอายุ พร้อมทั้งร่วมบริจาคเงินและสิ่งของให้แก่ผู้สูงอายุ ณ มูลนิธิมิตรภาพสงเคราะห์ บ้านพักคนชราหญิง อ.เมืองปทุมธานี จ.ปทุมธานี Department of Juvenile Observation and Protection 32


วันเด็กแห่งชาติ ประจ�ำปี 2567 วันที่ 10 มกราคม 2567 พ.ต.ท.ประวุธ วงศ์สีนิล อธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน น�ำเด็ก และเยาวชนในความดูแลของกรมพินิจฯ เข้าเยี่ยมคารวะและรับโอวาทจาก นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เนื่องในโอกาส “วันเด็กแห่งชาติ ประจ�ำปี 2567” โอกาสนี้เยาวชนของกรมพินิจฯ จากศูนย์ฝึกและอบรมฯ บ้านมุทิตา, บ้านปรานี, สิรินธร, บ้านบึง, พระนครศรีอยุธยา, เขต 1, เขต 2, เขต 4, เขต 5, เขต 7, เขต 9, เขต 10 และเขต 11 ที่ได้รับ การคัดเลือกเป็น “เด็กและเยาวชนดีเด่น เด็กและเยาวชนที่น�ำชื่อเสียงมาสู่ประเทศชาติ ประจ�ำปี 2567” ของกระทรวง ศึกษาธิการ เข้ารับใบประกาศนียบัตรและโล่รางวัลฯ จาก พ.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ศึกษาธิการ ณ ตึกสันติไมตรี ท�ำเนียบรัฐบาล เขตดุสิต กรุงเทพฯ กรมพินิจฯ เข้าศึกษาดูงานเรือนจ�ำพิเศษธนบุรี วันที่ 31 มกราคม 2567 กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน น�ำโดย พ.ต.ท.ประวุธ วงศ์สีนิล อธิบดีกรมพินิจฯ พร้อมด้วยบุคลากร ในสังกัดกรมพินิจฯ และประธานกรรมการสงเคราะห์ส�ำหรับสถานพินิจและ คุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดเชียงใหม่ รวม 21 คน เข้าศึกษาดูงาน ณ เรือนจ�ำพิเศษธนบุรี ถนนเอกชัย แขวงบางบอน เขตบางบอน กรุงเทพมหานคร เพื่อศึกษาเรื่องการพัฒนางานด้านการจัดการศึกษาอบรม การฝึกวิชาชีพ และ การพัฒนาปรับปรุงแก้ไขพฤติกรรม โดยเฉพาะงานศิลปะแบบส�ำนักช่างสิบหมู่ น�ำไปสู่การยกระดับการจัดการด้านการศึกษาอบรม การฝึกวิชาชีพ และการพัฒนา ปรับปรุงแก้ไขพฤติกรรมของเด็กและเยาวชนที่อยู่ในกระบวนการยุติธรรม โอกาสนี้ได้รับเกียรติจาก นายอ�ำนวย เปรมกิจกรพัฒนา ผู้บัญชาการเรือนจ�ำพิเศษ ธนบุรี และคณะให้การต้อนรับ พร้อมทั้งเป็นวิทยากรบรรยายตลอดการศึกษา ดูงาน Department of Juvenile Observation and Protection 33


โครงการอบรมฯ หลักสูตรยุทธวิธีการตรวจค้น และการระงับเหตุจลาจล รุ่น1 วันที่ 21 มีนาคม 2567 พ.ต.ท.ประวุธ วงศ์สีนิล อธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน เข้าร่วม สังเกตการณ์ “โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรยุทธวิธีการตรวจค้นและการระงับเหตุจลาจล รุ่นที่ 1” พร้อมทั้ง พูดคุยกับผู้เข้ารับการอบรมฯ ซึ่งโครงการดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมที่ปฏิบัติงานในด้านงานอภิบาลและ การพินิจของศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน ได้ฝึกเทคนิค ทักษะ และยุทธวิธีการตรวจค้นและการระงับเหตุ จลาจล รวมทั้งฝึกทักษะการท�ำงานเป็นทีม น�ำไปสู่การเสริมสร้างทักษะ และความช�ำนาญในการปฏิบัติหน้าที่ ยังสถานที่ควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพ และมีความปลอดภัยเมื่อเกิดเหตุจลาจลโดยฉับพลัน โดยได้รับเกียรติจาก พ.ต.ต. สุทศธวรรศ อารีย์รัตนะนคร ผู้อ�ำนวยการกองปฏิบัติการพิเศษ และคณะ กรมสอบสวนคดีพิเศษ เป็นวิทยากร ณ สถาบันการสอบสวนคดีพิเศษ กรมสอบสวนคดีพิเศษ ถ.สุวินทวงศ์ แขวงล�ำผักชี เขตหนองจอก กรุงเทพฯ งานครบรอบวันคล้ายวันสถาปนากระทรวงยุติธรรม 133 ปี วันที่ 25 มีนาคม 2567 กระทรวงยุติธรรมจัดงานครบรอบ วันคล้ายวันสถาปนากระทรวงยุติธรรม 133 ปี ภายใต้แนวคิด “กระทรวง ยุติธรรม ลดความเหลื่อมล�้ำ สร้างความยุติธรรมน�ำประเทศ” โดยได้รับเกียรติจาก พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวง Department of Juvenile Observation and Protection ยุติธรรม เป็นประธานในพิธี ซึ่งภายในงานได้จัดพิธีสงฆ์ กิจกรรมร่วมบริจาคทรัพย์ และพิธีมอบเข็มเครื่องหมายยุติธรรม ธ�ำรงแก่ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของกระทรวงยุติธรรม บุคคลภายนอกผู้ท�ำคุณประโยชน์หรือให้การสนับสนุนกิจการ หรือราชการของกระทรวงยุติธรรม โอกาสนี้มีข้าราชการของกรมพินิจฯ ได้รับรางวัลข้าราชการพลเรือนดีเด่น จ�ำนวน 2 ราย และพิธีรับมอบเข็มเครื่องหมายยุติธรรมธ�ำรง เป็นบุคลากรของกรมพินิจฯ จ�ำนวน 5 รางวัล และเป็นบุคคลภายนอก จ�ำนวน 2 ราย ทั้งนี้ กรมพินิจฯ ยังได้รับรางวัลงานวิจัยดีเด่น อีกจ�ำนวน 2 รางวัล ณ อาคารกระทรวงยุติธรรม ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 34


แวดวงกรรมการสงเคราะห์ วัสดีค่ะท่านผู้อ่านวารสาร “สารพินิจ” ส�ำหรับวารสารปีที่ 22 ฉบับที่ 1 ประจ�ำเดือนเมษายน-มิถุนายน 2567 กองบรรณาธิการ ขอประมวลภาพกิจกรรมวันสงกรานต์ ประจ�ำปี 2567 ของท่านคณะกรรมการสงเคราะห์เด็ก และเยาวชน ที่ได้อนุเคราะห์จัดกิจกรรมวันสงกรานต์ประจ�ำปี 2567 ให้แก่เด็กและเยาวชนในความดูแลของกรมพินิจและ คุ้มครองเด็กและเยาวชน เริ่มกันที่... ท่านสุฟ้าง แซ่หว่อง ประธานคณะกรรมการสงเคราะห์เด็กและเยาวชน ส�ำหรับสถานพินิจฯ จังหวัดสุราษฎร์ธานี พร้อมด้วย คณะกรรมการสงเคราะห์ จัด โครงการวันสงกรานต์ วันครอบครัวและวันผู้สูงอายุ ประจ�ำปี 2567 ให้แก่เด็ก และเยาวชน โอกาสนี้ ท่านรจนา ธนเกียรติวงศ์ ท่านเกียรติพรรณ ดอกไม้ กรรมการ สงเคราะห์ฯ ให้การสนับสนุนน�้ำอัดลม และขนมไข่ ส�ำหรับเป็นอาหารว่างให้กับเด็ก และเยาวชนในการจัดกิจกรรมดังกล่าว คณะกรรมการสงเคราะห์เด็กและเยาวชนส�ำหรับสถานพินิจฯ จังหวัดพังงา ร่วมโครงการวันสงกรานต์ ประจ�ำปี งบประมาณ พ.ศ.2567 พร้อมทั้งมอบอาหารและเครื่องดื่มให้แก่เด็กและเยาวชน ณ ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนเขต 10 ท่านสุวิทย์ พิมพ์มีลาย ประธานคณะกรรมการสงเคราะห์ เด็กและเยาวชนส�ำหรับสถานพินิจฯ จังหวัดสกลนคร พร้อมคณะกรรมการ สงเคราะห์ ร่วมโครงการวันสงกรานต์ ประจ�ำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 โอกาสนี้ ได้มอบอาหารและเครื่องดื่ม ให้แก่เด็กและเยาวชน ณ สถานพินิจ และคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัด สกลนคร Department of Juvenile Observation and Protection 35


นอกจากนี้ ยังมีท่านคณะกรรมการสงเคราะห์ฯ อีกหลายท่านที่ได้อนุเคราะห์จัดกิจกรรมให้แก่เด็กและเยาวชนใน ศูนย์ฝึกฯ และสถานพินิจฯ...กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ขอขอบคุณผู้ใหญ่ใจดี ทุกท่าน มา ณ โอกาสนี้.. ท่านอติภา ประภาสะวัต ประธานคณะกรรมการสงเคราะห์เด็ก และเยาวชนส�ำหรับศูนย์ฝึกและอบรมฯ บ้านปรานี เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรม วันสงกรานต์สืบสานวัฒนธรรมไทย ประจ�ำปี 2567 โอกาสนี้คณะกรรมการสงเคราะห์ฯ ได้มอบอาหารและเครื่องดื่มให้แก่เด็กและเยาวชน ณ ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและ เยาวชนหญิงบ้านปรานี ท่านศุภศักดิ์ นุ่นสังข์ ประธานคณะกรรมการสงเคราะห์เด็กและเยาวชนส�ำหรับสถานพินิจฯ จังหวัดภูเก็ต เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการสงกรานต์ประสานใจสานสายใยรักสู่ครอบครัว โอกาสนี้ คณะกรรมการสงเคราะห์ฯ ได้จัดเลี้ยงอาหารแก่เด็กและเยาวชน ในโครงการเด็กอิ่มท้องผู้ใหญ่อิ่มบุญ ณ สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จังหวัดภูเก็ต Department of Juvenile Observation and Protection 36


“ผลิตภัณฑ์ DTOP Center ศูนย์สร้างโอกาสและบริการด้านอาชีพเด็กและเยาวชน” Department of Juvenile Observation and Protection 37


Department of Juvenile Observation and Protection 38


เรื่องนี้เป็นการขอหารือ กรณีมีหน่วยงานเอกชนและหน่วยงานรัฐ ขอข้อมูลส่วนบุคคลจากหน่วยงานรัฐที่ครอบครองข้อมูล ส่วนบุคคลของเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อน�ำไปประกอบการวางแผนการด�ำเนินงานตามภารกิจของหน่วยงาน กรณีนี้จะขัดกับ พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ในส่วนของการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลหรือไม่ อย่างไร หน่วยงาน A ซึ่งมีอ�ำนาจหน้าที่ในการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าหน้าที่รัฐ และข้อมูลของผู้สูงอายุที่อยู่ในระบบ เบี้ยหวัด บ�ำเหน็จบ�ำนาญ ได้ขอหารือ 2 กรณี ดังนี้ 1. หน่วยงาน B ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติกองทุนส�ำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 ได้มีหนังสือขอให้หน่วยงาน A จัดส่ง ข้อมูลเกี่ยวกับเลขประจ�ำตัวประชาชน ชื่อ นามสกุล วัน เดือนปีเกิดของลูกจ้างหน่วยงานรัฐเพื่อน�ำไปประชาสัมพันธ์เชิญชวนสมัคร เป็นสมาชิกกองทุนส�ำรองเลี้ยงชีพ 2. หน่วยงาน C ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐได้ขอข้อมูลส่วนบุคคลของผู้สูงอายุที่อยู่ในระบบเบี้ยหวัด บ�ำเหน็จบ�ำนาญ เพื่อน�ำไป เป็นฐานข้อมูลตั้งต้นในการจัดท�ำฐานข้อมูลผู้สูงอายุไทย และน�ำไปวางแผนการด�ำเนินงานด้านผู้สูงอายุโดยหน่วยงาน A หารือว่า จะเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลให้กับหน่วยงาน B และหน่วยงาน C ได้หรือไม่ อย่างไร คณะอนุกรรมการตอบข้อหารือตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการในคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ พิจารณาแล้ว มีความเห็น ดังนี้ กรณีตามข้อ 1 การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลให้กับหน่วยงาน B ซึ่งเป็นนิติบุคคลเอกชนที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติกองทุน ส�ำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ.2530 นั้นอาจไม่สมควร เนื่องจาก หน่วยงาน B สามารถประชาสัมพันธ์เชิญชวนลูกจ้างของรัฐโดยใช้ช่องทาง การประชาสัมพันธ์แก่ผู้ที่สนใจผ่านหน่วยงานของรัฐในสังกัดให้เป็นที่รับรู้โดยทั่วไปได้ ไม่จ�ำเป็นต้องน�ำข้อมูลข่าวสาร ส่วนบุคคลจากหน่วยงาน A ที่ครอบครองไปเพื่อประชาสัมพันธ์โดยตรงกับลูกจ้างหน่วยงานรัฐแต่อย่างใด กรณีตามข้อ 2 หน่วยงาน C ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐได้ขอข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลเพื่อน�ำไปเป็นฐานข้อมูล ตั้งต้นในการจัดท�ำฐานข้อมูลผู้สูงอายุไทย และน�ำไปวางแผนการด�ำเนินงานด้านผู้สูงอายุซึ่งเป็นการ พัฒนาศักยภาพการจัดสวัสดิการและการคุ้มครองพิทักษ์สิทธิผู้สูงอายุ อันเป็นการปฏิบัติตาม อ�ำนาจหน้าที่ของหน่วยงาน C หน่วยงาน A จึงสามารถเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลหน่วยงาน C เพื่อประโยชน์แก่ผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นเจ้าของข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลโดยตรง การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารดังกล่าวจึงไม่เป็นการรุกล�้ำสิทธิส่วนบุคคล โดยไม่สมควร อย่างไรก็ดีคณะอนุกรรมการฯ มีข้อสังเกตเพิ่มเติมว่า กรณีที่ หน่วยงาน A จะจัดส่งข้อมูลหรืออนุญาตให้หน่วยงาน C เชื่อมโยงข้อมูลที่อยู่ ในระบบควรท�ำข้อตกลงว่า หากหน่วยงาน C ได้ข้อมูลไปแล้วจะจัดเก็บข้อมูล และใช้ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลโดยค�ำนึงถึงการรักษาความปลอดภัย ของข้อมูล และมีหลักเกณฑ์ในการจัดเก็บ ขอบเขตและข้อจ�ำกัดในการเข้าถึง รวมทั้งรูปแบบของรายงาน การใช้ และการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลดังกล่าว ทั้งนี้ เป็นไปตามมาตรา 23 และมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติข้อมูล ข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ที่มา : บทความของนางสาววัชรา อ่อนละมุน นักประชาสัมพันธ์ช�ำนาญการ ส่วนส่งเสริมและเผยแพร่สิทธิรับรู้ข้อมูลข่าวสาร Department of Juvenile Observation and Protection 39


“มีสาระและมีประโยชน์มาก สามารถนำ�ความรู้ไป พัฒนาสู่ความสำ�เร็จได้” นันทพร น้อยสง่า กรรมการสงเคราะห์ฯ สถานพินิจฯ จังหวัดนนทบุรี กองบรรณาธิการขอขอบพระคุณ มา ณ โอกาสนี้ และจะน�ำความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของท่านผู้อ่านมาปรับปรุง และพัฒนาการผลิตวารสารให้ดียิ่งขึ้นต่อไป “ได้รับข้อมูลและข่าวสารที่เป็น ประโยชน์และหลายมิติดีมาก อีกทั้งเป็นประโยชน์ต่อสังคมอีกด้วย” วิทยา วิทยารัฐ กรรมการสงเคราะห์ฯ สถานพินิจฯ กรุงเทพมหานคร “เป็นวารสารที่ดี มีเนื้อหา ที่ให้ความรู้น่าสนใจ สามารถ เผยแพร่ไปยังเยาวชนได้” ปนิตา อัครบุญพาท�ำ กรรมการสงเคราะห์ฯ สถานพินิจฯ จังหวัดแพร่ “ได้รับความรู้ที่ เป็นประโยชน์มาก” กัญญาวีร์ ฮวดจึง กรรมการสงเคราะห์ฯ สถานพินิจฯ จังหวัดสกลนคร **หมายเหตุ** กองบรรณาธิการรวบรวมข้อมูลแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ จากท่านผู้อ่านผ่านการสแกน QR Code แบบตอบรับวารสาร “สารพินิจ” “เป็นวารสารที่ดี มีประโยชน์” ห้องสมุดโรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล “ได้รับข้อมูลข่าวสาร สารประโยชน์ ที่น่าสนใจมาก” ราตรี อนรรฆคณิต กรรมการสงเคราะห์ฯ สถานพินิจฯ จังหวัดราชบุรี Department of Juvenile Observation and Protection ตามที่กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ได้จัดท�ำวารสาร “สารพินิจ” เพื่อเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมเด็กและเยาวชน ในโอกาสนี้ มีท่านผู้อ่าน ให้ความกรุณาแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับวารสาร “สารพินิจ” เข้ามาหลายท่าน อาทิ 40


องบรรณาธิการ “สารพินิจ”กลุ่มประชาสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร สำ�นักงานเลขานุการกรม ขอเชิญชวนบุคลากรของหน่วยงานในสังกัดกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน หรือ ท่านผู้อ่านที่สนใจงานเขียนหรือต้องการเผยแพร่บทความ/สารคดีที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับ กระบวนการยุติธรรมเด็กและเยาวชน การศึกษา หรือการค้นคว้าวิจัย การศึกษาดูงานต่างๆ ที่เกี่ยวกับภารกิจของกรมพินิจฯ หรือเรื่องราวอื่นๆ ที่น่าสนใจ เพื่อเป็นการแบ่งปันประสบการณ์ และความรู้แก่บุคลากรกรมพินิจฯ องค์กรที่เกี่ยวข้อง และประชาชนทั่วไป และเพื่อให้ “สารพินิจ” มีเนื้อหาสาระและข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับเด็กและเยาวชน (วัยรุ่น) ครอบคลุม ในทุกๆ ด้านโดยส่งทาง E-mail: prdjop2563@gmail.co กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กระทรวงยุติธรรม ได้เปิดรับฟังความคิดเห็น ของผู้รับบริการและประชาชนทั่วไปให้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบราชการของ กรมพินิจฯ และการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ อาทิ ไม่ได้รับบริการที่ดี เจ้าหน้าที่พูดจา ไม่สุภาพ พบเห็นข้าราชการ หรือเจ้าหน้าที่กรมพินิจฯ ทุจริต มีความประพฤติไม่เหมาะสม ระหว่างปฏิบัติหน้าที่ หรือต้องการแนะนำ�บริการด้านต่างๆ ให้ดีและมีความสะดวกมากขึ้น โปรดแจ้งหรือส่งความคิดเห็นของท่านไปได้ที่ กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กระทรวง ยุติธรรม ชั้น 6 เลขที่ 404 หมู่ 3 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210 โทร. 0 2141-6471 หรือตู้รับฟังความคิดเห็นของหน่วยงานในสังกัดทั่วประเทศ (สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัด และ ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน) หรือ http://www.djop.go.th พินิจด้วยรัก พิทักษ์ด้วยใจ Department of Juvenile Observation and Protection 41


กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ได้จัดท�ำวารสาร “สารพินิจ” ปีที่ 22 เพื่อเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมเด็กและเยาวชน จึงขอมอบวารสาร “สารพินิจ” เพื่อให้ท่าน/หน่วยงานของท่านได้น�ำไปใช้ประโยชน์ต่อไป หากได้รับวารสารเป็นที่เรียบร้อยแล้ว กรุณาตอบ แบบตอบรับวารสาร “สารพินิจ” โดยสแกนผ่าน QR Code หรือตอบแบบตอบรับ ส่งไปยัง กลุ่มประชาสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร ส�ำนักงานเลขานุการกรม กรมพินิจและคุ้มครองเด็ก และเยาวชน อาคารกระทรวงยุติธรรม ชั้น 6 เลขที่ 404 หมู่ 3 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210 ชื่อ-สกุล.................................................................................................................................... หน่วยงาน........................................................................................................................................... (หากท่านเป็นกรรมการสงเคราะห์ของสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน หรือ ศูนย์ฝึกและ อบรมเด็กและเยาวชน โปรดระบุว่าที่ใด) ที่อยู่ ................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................... โทรศัพท์ ..................................................................................................................................... หากมีการเปลี่ยนแปลงที่อยู่โปรดระบุ ................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................. ความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับวารสาร “สารพินิจ”.................................................... ................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................. ขอความร่วมมือตอบแบบตอบรับ แบบตอบรับวารสาร“สารพินิจ” Department of Juvenile Observation and Protection 42


Department of Juvenile Observation and Protection 43


44


Click to View FlipBook Version