1
2 แบบข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA) สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 นางละไม ฝั่งชลจิตต์ ตำแหน่งครู วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ โรงเรียนวัดพรหมโลก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต ๔
3 คำนำ แบบบันทึกข้อตกลงในการพัฒนางาน (Performance Agreement :PA) จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอข้อตกลงในการ พัฒนางาน สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู วิทยฐานะชำนาญการพิเศษประจำปี งบประมาณ 2566 ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2565 – 30 กันยายน 2566 แบบบันทึกข้อตกลงฉบับนี้ นำเสนอต่อ ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดพรหมโลก เพื่อเป็นข้อตกลงในการพัฒนาตนเอง ประกอบไปด้วย 2 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง 1. ภาระงาน 2. งานที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่งครู โดยระบุรายละเอียดงานที่จะปฏิบัติในแต่ละด้าน ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ของผู้เรียน ขอขอบพระคุณผู้อำนวยการโรงเรียนวัดพรหมโลก ที่ได้อนุเคราะห์ให้คำปรึกษาในการจัดทำบันทึกข้อตกลงใน การพัฒนางาน (PA) ฉบับนี้ ข้าพเจ้าจะนำข้อตกลงไปพัฒนาผู้เรียนและพัฒนาตนเองให้บรรลุเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ นางละไม ฝั่งชลจิตต์ ตำแหน่งครู วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ
4 สารบัญ รายการ หน้า ข้อมูลผู้จัดทำข้อตกลง 1 ประเภทห้องเรียนที่จัดการเรียนรู้ 1 ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง 1 ภาระงาน 1 งานที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่งครู 2 ด้านการจัดการเรียนรู้ 2 ด้านการส่งเสริมสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ 7 ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ 8 ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทาย 10 ประเด็นท้าทาย 10 สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้ 10 วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล 12 ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง 12 ความเห็นของผู้อำนวยการ 13
5 แบบข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA) สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ระหว่างวันที่ 1 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2565 ถึงวันที่ 30 เดือน กันยายน พ.ศ. 2566 ----------------------------------------------------------------------------- ผู้จัดทำข้อตกลง ชื่อ นางละไม นามสกุล ฝั่งชลจิตต์ ตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ สถานศึกษา โรงเรียนพรหมโลก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 รับเงินเดือนในอันดับ คศ. 3 อัตราเงินเดือน 59,570 บาท ประเภทห้องเรียนที่จัดการเรียนรู้ (สามารถระบุได้มากกว่า 1 ประเภทห้องเรียน ตามสภาพการจัดการเรียนรู้จริง) ห้องเรียนวิชาสามัญหรือวิชาพื้นฐาน ห้องเรียนปฐมวัย ห้องเรียนการศึกษาพิเศษ ห้องเรียนสายวิชาชีพ ห้องเรียนการศึกษานอกระบบ / ตามอัธยาศัย ข้าพเจ้าขอแสดงเจตจำนงในการจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางาน ตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ดำรงอยู่ในปัจจุบันกับผู้อำนวยการสถานศึกษา ไว้ดังต่อไปนี้ ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 1. ภาระงาน มีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด 1.1 ชั่วโมงสอนตามตารางสอน รวมจำนวน 23 ชั่วโมง/สัปดาห์ ดังนี้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้น ป. 4 จำนวน 4 ชั่วโมง/สัปดาห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้น ป. 5 จำนวน 4 ชั่วโมง/สัปดาห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้น ป. 6 จำนวน 4 ชั่วโมง/สัปดาห์ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ชุมนุมภาษาไทย ชั้น ป.4 จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ กิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารีชั้น ป. 4 จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ กิจกรรมแนะแนว ชั้น ป. 4 จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ 1.2 หัวหน้าโครงการอาหารกลางวัน จำนวน 5 ชั่วโมง/สัปดาห์ 1.3 งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา/โครงการหนึ่งคนหนึ่งนวัตกรรม จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์
6 1.4 งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น โครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 1.1 ชั่วโมงสอนตามตารางสอน รวมจำนวน 23 ชั่วโมง/สัปดาห์ ดังนี้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้น ป. 4 จำนวน 4 ชั่วโมง/สัปดาห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้น ป. 5 จำนวน 4 ชั่วโมง/สัปดาห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้น ป. 6 จำนวน 4 ชั่วโมง/สัปดาห์ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ชุมนุมภาษาไทย ชั้น ป.4 จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ กิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารีชั้น ป. 4 จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ กิจกรรมแนะแนว ชั้น ป. 4 จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ 1.2 หัวหน้าโครงการอาหารกลางวัน จำนวน 5 ชั่วโมง/สัปดาห์ 1.3 งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา/โครงการหนึ่งคนหนึ่งนวัตกรรม จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์ 1.4 งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น โครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ 2. งานที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่งครู (ให้ระบุรายละเอียดของงานที่จะปฏิบัติในแต่ละด้านว่าจะ ดำเนินการอย่างไร โดยอาจระบุระยะเวลาที่ใช้ในการดำเนินการด้วยก็ได้) ลักษณะงานที่ปฏิบัติ ตามมาตรฐานตำแหน่ง งาน (Tasks) ที่จะดำเนินการพัฒนา ตามข้อตกลง ใน 1 รอบ การประเมิน (โปรดระบุ) ผลลัพธ์ (Outcomes) ของงานตามข้อตกลง ที่คาดหวังให้เกิดขึ้น กับผู้เรียน (โปรดระบุ) ตัวชี้วัด (Indicators) ที่จะเกิดขึ้นกับผู้เรียนที่แสดง ให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงไป ในทางที่ดีขึ้นหรือมีการ พัฒนามากขึ้นหรือผลสัมฤทธิ์ สูงขึ้น (โปรดระบุ) 1. ด้านการจัดการเรียนรู้ ลักษณะงานที่เสนอให้ ครอบคลุมถึงการสร้างและ หรือพัฒนาหลักสูตร การออกแบบการจัดการ เรียนรู้ การจัดกิจกรรมการ เรียนรู้ การสร้างและหรือ พัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีและแหล่ง เรียนรู้ การวัดและ ด้านการจัดการเรียนรู้มีกระบวนการใน การดำเนินการดังนี้ 1.1 การสร้างและพัฒนาหลักสูตร - ดำเนินการวิเคราะห์หลักสูตร สถานศึกษา มาตรฐานการเรียนรู้ตัวชี้วัด จัดทำคำอธิบายรายวิชา หน่วยการ เรียนรู้ให้สอดคล้องกับหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2564) และหลักสูตรสถานศึกษา - ผู้เรียนได้เรียนรู้ตาม หลักสูตร มีมาตรฐานการ เรียนรู้ ตัวชี้วัด หน่วย การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับ หลักสูตรแกนกลางการ ศึกษาขั้นพื้นฐาน - ผู้เรียนได้พัฒนาตาม สมรรถนะและการเรียนรู้ เต็มตามศักยภาพ ส่งผล ให้ผู้เรียนมีคุณภาพ เป็นไปตามเป้าประสงค์ ของหลักสูตร
7 ลักษณะงานที่ปฏิบัติ ตามมาตรฐานตำแหน่ง งาน (Tasks) ที่จะดำเนินการพัฒนา ตามข้อตกลง ใน 1 รอบ การประเมิน (โปรดระบุ) ผลลัพธ์ (Outcomes) ของงานตามข้อตกลง ที่คาดหวังให้เกิดขึ้น กับผู้เรียน (โปรดระบุ) ตัวชี้วัด (Indicators) ที่จะเกิดขึ้นกับผู้เรียนที่แสดง ให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงไป ในทางที่ดีขึ้นหรือมีการ พัฒนามากขึ้นหรือผลสัมฤทธิ์ สูงขึ้น (โปรดระบุ) ประเมินผลการจัดการ เรียนรู้ การศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์เพื่อ แก้ปัญหาหรือพัฒนาการ เรียนรู้ การจัดบรรยากาศ ที่ส่งเสริมและพัฒนา ผู้เรียนและการอบรมและ พัฒนาคุณลักษณะที่ดีของ ผู้เรียน พ ุ ท ธ ศ ั ก ร า ช 2 5 5 1 (ฉบับปรับปรุง 2564) และหลักสูตรสถานศึกษา 1.2 การออกแบบการจัดการเรียนรู้ - ออกแบบจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผ่านสื่อหลาก หลายทั้งสื่อเทคโนโลยี โซเชียลมีเดียร์ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-BOOK) แบบ ฝึกทักษะทางภาษาฯลฯ ส่งเสริม กิจกรรมให้นักเรียนได้เรียนรู้ร่วมกัน เรียนรู้ด้วยตนเองตามศักยภาพและ ค้นพบความรู้ด้วยตนเอง โดยใช้ศักยภาพ ของเทคโนโลยีและสื่อที่นำมาใช้ - ผู้เรียนมีความรู้ความ เข้าในสาระการเรียนรู้ ผ่านการเรียนรู้ด้วยสื่อที่ หลากหลาย - นักเรียนมีความคิดเห็น เชิงบวกและพึงพอใจกับ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ผ่านสื่อที่หลากหลาย โดยพิจารณาจากการ สัมภาษณ์ สังเกต การทำ แบบฝึกทักษะแต่ละเรื่อง แบบทดสอบก่อนเรียน และหลังเรียนเมื่อเรียน จบแต่ละเรื่อง -ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะ คุณลักษณะอันพึง ประสงค์และสมรรถนะ สำคัญตามหลักสูตร มีกระบวนการคิดและ ค้นพบองค์ความรู้ด้วย ตนเอง และสร้างแรง บันดาลใจ 1.3 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ - จัดกิจกรรมการเรียนตามหน่วย การเรียนรู้ บูรณาการกับเหตุการณ์ สำคัญ เน้นการปฏิบัติจริง ส่งเสริม ทักษะกระบวนการทำงานและสร้าง ทักษะการคิด - ผู้เรียนได้เรียนรู้กิจกรรม การเรียนรู้ที่หลากหลาย เพื่อให้สามารถพัฒนา แก้ไขปัญหาในการจัด การเรียนรู้ - ผู้เรียนได้พัฒนาตาม ศักยภาพ เรียนรู้และ ทำงานร่วมกันอย่างมี ความสุข มีกระบวนการ คิดและค้นพบองค์ความรู้ ด้วยตนเอง และสร้างแรง บันดาลใจและเป็น แบบอย่างที่ดีในการจัด กิจกรรมการเรียนรู้
8 ลักษณะงานที่ปฏิบัติ ตามมาตรฐานตำแหน่ง งาน (Tasks) ที่จะดำเนินการพัฒนา ตามข้อตกลง ใน 1 รอบ การประเมิน (โปรดระบุ) ผลลัพธ์ (Outcomes) ของงานตามข้อตกลง ที่คาดหวังให้เกิดขึ้น กับผู้เรียน (โปรดระบุ) ตัวชี้วัด (Indicators) ที่จะเกิดขึ้นกับผู้เรียนที่แสดง ให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงไป ในทางที่ดีขึ้นหรือมีการ พัฒนามากขึ้นหรือผลสัมฤทธิ์ สูงขึ้น (โปรดระบุ) 1.4 การสร้างหรือพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีและแหล่งเรียนรู้ - การสร้างหรือพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีและแหล่งเรียนรู้เน้นความ หลากหลาย สอดคล้องกับเนื้อหาสาระ โดยสื่อเด่นที่พัฒนาในข้อตกลงฉบับนี้คือ การพัฒนาสื่อประสมชุด รู้รักษ์หลัก ภาษาและนำมาใช้จัดการเรียนการสอน ใ น ร ะ บ บ อ อ น ไ ล น์แ ล ะอ อ ฟ ไ ล น์ ประกอบด้วยแบบฝึกทักษะทางภาษา พัฒนาต่อเป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-BOOK) เพื่อใช้ในการเรียนรู้สาระ หลักการใช้ภาษาไทย โดยเรียนรู้ใน ระบบออฟไลน์ผ่านแบบฝึกทักษะทาง ภาษาในห้องเรียน เวลาว่างทั้งที่บ้าน โรงเรียนและเรียนรู้ออนไลน์โดยใช้Line ผ่านโทรศัพท์มือถือ - สื่อประสมชุด รู้รักษ์หลักภาษา ประกอบด้วยแบบฝึกทักษะทางภาษา จำนวน ๙ เรื่อง และพัฒนาต่อยอดเป็น หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-BOOK) ชุด รู้รักษ์หลักภาษา ประกอบเนื้อหาย่อย 9 เรื่อง ได้แก่ 1) อักษรควบ 2) คำนาม 3) คำพ้อง 4) คำเป็นคำตาย 5) เครื่องหมายวรรคตอน 6) คำราชาศัพท์ 7) สำนวนที่เป็นคำพังเพยและ สุภาษิต - ครูมีสื่อที่น่าสนใจและ เพียงพอในการจัด กิจกรรมการเรียนการ สอน เป็นสื่อที่ทันสมัย เพิ่มทักษะทางเทคโนโลยี ให้เกิดกับผู้เรียน สามารถดึงดูดความสนใจ ของผู้เรียน ผู้เรียน สามารถเรียนรู้ได้ตาม ศักยภาพ สามารถแก้ไข ปัญหาการเรียนรู้ของ ผู้เรียน - ผู้เรียนได้พัฒนาเต็มตาม ศักยภาพ เรียนรู้บูรณา การเทคโนโลยี ส่งเสริม ความรับผิดชอบต่อการ เรียน เสริมกระบวนการ คิดและค้นพบองค์ความรู้ ด้วยตนเองและสร้างแรง บันดาลใจและเป็น แบบอย่างที่ดีในการจัด กิจกรรมการเรียนรู้
9 ลักษณะงานที่ปฏิบัติ ตามมาตรฐานตำแหน่ง งาน (Tasks) ที่จะดำเนินการพัฒนา ตามข้อตกลง ใน 1 รอบ การประเมิน (โปรดระบุ) ผลลัพธ์ (Outcomes) ของงานตามข้อตกลง ที่คาดหวังให้เกิดขึ้น กับผู้เรียน (โปรดระบุ) ตัวชี้วัด (Indicators) ที่จะเกิดขึ้นกับผู้เรียนที่แสดง ให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงไป ในทางที่ดีขึ้นหรือมีการ พัฒนามากขึ้นหรือผลสัมฤทธิ์ สูงขึ้น (โปรดระบุ) 8) ประโยคและส่วนประกอบ ของประโยค 9) คำภาษาต่างประเทศที่ใช้ใน ภาษาไทย โดยเนื้อหาของสื่อประสมชุด รู้รักษ์หลัก ภาษา สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษา ขั้นพื้นฐานกลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย มาตรฐาน ท 4.1 การใช้หลัก ภาษา 1.5 พัฒนาแบบวัดและประเมินผล - การพัฒนาแบบวัดและประเมินผล การเรียนรู้ เน้นการวัดและประเมินตาม สภาพจริง โดยพิจารณาจากการเข้าร่วม กิจกรรมในชั้นเรียน การทำงานกลุ่ม การนำเสนอ ผลการปฏิบัติจริง การ ทดสอบย่อยหลังจากเรียนรู้จบในแต่ละ เรื่อง การสรุปความรู้ในรูปแบบของ แผนผังความคิดหลังจากการเรียนด้วย สื่อประสมชุด รู้รักษ์หลักภ าษา ดำเนินการแก้ไขปรับปรุงนักเรียนที่มีผล การเรียนรู้ยังไม่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดจน ผ่านเกณฑ์ - วัดและประเมินผลการ เรียนรู้ตามสภาพจริง ด้วย วิธีการที่หลากหลายและ สอดคล้องกับมาตรฐาน การเรียนรู้ นำผลการวัด และประเมินผลการเรียน รู้มาใช้แก้ไขปัญหาการ จัดการเรียนรู้ - ผู้เรียนพัฒนาการเรียนรู้ อย่างต่อเนื่องและเป็น แบบอย่างที่ดีในการวัด และประเมินผลการ เรียนรู้ - นักเรียนมีความพึงพอใจ ต่อการจัดการเรียนการ สอนที่มีสื่อประสมที่ หลากหลาย ผู้เรียนใช้ ศักยภาพได้เต็มที่ สอดคล้องกับความถนัด และความสามารถของ ตนเอง 1.6 ศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์ สังเคราะห์ งานวิจัย - ศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์ สังเคราะห์ งานวิจัยที่เกี่ยวกับหลักการใช้ภาษา และ นำความรู้ที่ได้มาวางแผนในการจัดทำ วิจัยในชั้นเรียน เพื่อแก้ปัญหานักเรียนที่ มีผลการเรียนรู้ไม่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด - ผู้เรียนที่มีผลการ ประเมินไม่ผ่านเกณฑ์ที่ กำหนดได้รับการพัฒนา แก้ปัญหาตามความ แตกต่างระหว่างบุคคล - ผู้เรียนได้รับการพัฒนา เติมเต็มศักยภาพการ เรียนรู้ มีเจตคติที่ดีเป็น ฐานที่ดีต่อการเรียนใน ระดับที่สูงขึ้น
10 ลักษณะงานที่ปฏิบัติ ตามมาตรฐานตำแหน่ง งาน (Tasks) ที่จะดำเนินการพัฒนา ตามข้อตกลง ใน 1 รอบ การประเมิน (โปรดระบุ) ผลลัพธ์ (Outcomes) ของงานตามข้อตกลง ที่คาดหวังให้เกิดขึ้น กับผู้เรียน (โปรดระบุ) ตัวชี้วัด (Indicators) ที่จะเกิดขึ้นกับผู้เรียนที่แสดง ให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงไป ในทางที่ดีขึ้นหรือมีการ พัฒนามากขึ้นหรือผลสัมฤทธิ์ สูงขึ้น (โปรดระบุ) 1.7 จัดบรรยากาศในชั้นเรียนให้ เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน - จัดบรรยายกาศในชั้นเรียนให้ เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน เน้นแนวคิด บรรยากาศห้องเรียนเชิงบวกที่ส่งเสริม การเรียนรู้ของนักเรียน ส่งเสริมให้ นักเรียนรักห้องเรียน ภูมิใจในโรงเรียน ทำให้นักเรียนรู้สึกสนุก เร้าใจ กระตุ้นให้ นักเรียนต้องการมีส่วนร่วมกับกิจกรรม ส่งเสริมนักเรียนทุกคนให้มีโอกาส นำเสนอความคิดเห็น และออกมา นำเสนอหน้าชั้นเรียนเป็นประจำ สร้าง แรงบันดาลใจในการเรียนและเชื่อมโยง กับชีวิตประจำวัน เพื่อให้นักเรียนเห็น คุณค่าในการเรียน และประโยชน์ที่ เกิดขึ้นจากการเรียนรู้ - ผู้เรียนได้รับเรียนรู้ใน ห้องเรียนที่มีบรรยากาศ เชิงบวก ส่งเสริม พัฒนาการเรียนรู้ สร้าง วินัยเชิงบวก ภูมิใจใน โรงเรียน รักการเรียนรู้ และอยากมาโรงเรียน การจัดบรรยากาศ ที่ เหมาะสมสอดคล้องกับ ความแตกต่างผู้เรียนเป็น รายบุคคล สามารถแก้ไข ปัญหาการเรียนรู้ และ สร้างแรงบันดาลใจ ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียน - พัฒนาผู้เรียนให้เกิด กระบวนการคิด ทักษะ ชีวิต ทักษะการทำงาน ทักษะการเรียนรู้และ นวัตกรรม ทักษะด้าน สารสนเทศ สื่อ และ เทคโนโลยี นักเรียนรัก ห้องเรียน ภูมิใจใน โรงเรียน ทำให้นักเรียน รู้สึกสนุก มีส่วนร่วมกับ กิจกรรมและบรรยากาศ การเรียนรู้ เป็นแนวทาง หนึ่งในการสร้างให้มี ความรัก เห็นความสำคัญ ของการเรียนและรักการ เรียนในอนาคต 1.8 อบรมและพัฒนาคุณลักษณะที่ดี ของผู้เรียน - จัดกิจกรรมอบรมบ่มนิสัยให้ผู้เรียน มีคุณธรรมจริยธรรม คุณลักษณะอันพึง ประสงค์และค่านิยมความเป็นไทยที่ดี งามสอดแทรกผ่านกิจกรรมการเรียนการ สอน และร่วมกิจกรรมตามปฏิทิน ปฏิบัติงานของฝ่ายกิจกรรมตามวาระวัน สำคัญต่างๆ - ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม คุณลักษณะ อันพึงประสงค์และ ค่านิยมความเป็นไทยที่ดี ตามความแตกต่างของ ผู้เรียน สามารถแก้ไข ปัญหาและพัฒนาผู้เรียน ให้เกิดคุณลักษณะที่ดีได้ - ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม คุณลักษณะ อันพึงประสงค์ และ ค่านิยมความเป็นไทยที่ดี ตามความแตกต่างของ ผู้เรียน และสามารถแก้ไข ปัญหาและพัฒนาผู้เรียน ได้ เกิดคุณลักษณะที่ดี ของผู้เรียนได้ในระดับดี
11 ลักษณะงานที่ปฏิบัติ ตามมาตรฐานตำแหน่ง งาน (Tasks) ที่จะดำเนินการพัฒนา ตามข้อตกลง ใน 1 รอบ การประเมิน (โปรดระบุ) ผลลัพธ์ (Outcomes) ของงานตามข้อตกลง ที่คาดหวังให้เกิดขึ้น กับผู้เรียน (โปรดระบุ) ตัวชี้วัด (Indicators) ที่จะเกิดขึ้นกับผู้เรียนที่แสดง ให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงไป ในทางที่ดีขึ้นหรือมีการ พัฒนามากขึ้นหรือผลสัมฤทธิ์ สูงขึ้น (โปรดระบุ) 2. ด้านการส่งเสริมและ สนับสนุน การจัดการ เรียนรู้ ลักษณะงานที่เสนอให้ ครอบคลุมถึงการจัดทำ ข้อมูลสารสนเทศของ ผู้เรียนและรายวิชา การดำเนินการตามระบบ ดูแลช่วยเหลือผู้เรียน การปฏิบัติงานวิชาการ และงานอื่น ๆ ของ สถานศึกษาและการ ประสานความร่วมมือกับ ผู้ปกครอง ภาคีเครือข่าย และสถานประกอบการ 2.1 พัฒนาการจัดเก็บข้อมูล และ สรุปสารสนเทศของผู้เรียนรายบุคคล - ดำเนินการพัฒนาการจัดเก็บ ข้อมูลโดยการเยี่ยมบ้าน สัมภาษณ์ครู ดูผลการเรียนปีที่ผ่านมาและสรุปเป็น สารสนเทศของผู้เรียนรายบุคคล พร้อม ประเมินจุดแข็งจุดอ่อน จุดที่ควรพัฒนา จุดที่ควรได้รับการส่งเสริม ด้วยระบบ สำรวจแววผู้มีความสามารถพิเศษระดับ ประถมศึกษา ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ผ่าน การวิจัยมาแล้วว่ามีประสิทธิภาพในการ คัดกรองปัญหาเด็กได้ดี สามารถ ช่วยเหลือครูในการคัดกรอง ปัญหาและ ให้การช่วยเหลือเบื้องต้นแก่เด็กใน โรงเรียน ดำเนินประเมินผู้เรียน รายบุคคล จัดกลุ่มผู้เรียนเป็นกลุ่มเก่ง ปานกลาง อ่อน เพื่อดำเนินการพัฒนา ส่งเสริมสนับสนุนให้สอดคล้องกับ ความสามารถและรายงานผลสะท้อน กลับให้นักเรียนทราบ - นักเรียนได้รับการ ปรับปรุง แก้ไข และ พัฒนา เป็นรายบุคคล และเติมเต็มศักยภาพตาม ข้อมูลสารสนเทศที่ได้จาก การประเมิน - นักเรียนทุกคนได้รับการ ปรับปรุง แก้ไข ส่งเสริม และพัฒนาตามศักยภาพ 2.2 มีการดำเนินการช่วยเหลือผู้เรียน - บันทึกข้อมูลส่วนตัวของนักเรียน แต่ละคนที่สอน นำข้อมูลจากการเยี่ยม บ้าน ข้อมูลจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ปีที่ผ่านมา ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ครู ประจำชั้น เพื่อน ผู้ปกครอง วางแผนใน การพัฒนานักเรียนมีผลการเรียนที่ไม่ถึง เกณฑ์โดยจัดกิจกรรมซ่อมเสริม - นักเรียนที่มีผลการ เรียนรู้ไม่ผ่านเกณฑ์ ได้รับการพัฒนา - นักเรียนทุกคนของกลุ่ม นักเรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์ ได้รับการแก้ไข ปรับปรุง จนผ่านเกณฑ์ที่กำหนด
12 ลักษณะงานที่ปฏิบัติ ตามมาตรฐานตำแหน่ง งาน (Tasks) ที่จะดำเนินการพัฒนา ตามข้อตกลง ใน 1 รอบ การประเมิน (โปรดระบุ) ผลลัพธ์ (Outcomes) ของงานตามข้อตกลง ที่คาดหวังให้เกิดขึ้น กับผู้เรียน (โปรดระบุ) ตัวชี้วัด (Indicators) ที่จะเกิดขึ้นกับผู้เรียนที่แสดง ให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงไป ในทางที่ดีขึ้นหรือมีการ พัฒนามากขึ้นหรือผลสัมฤทธิ์ สูงขึ้น (โปรดระบุ) 2.3 ปฏิบัติงานเพื่อพัฒนาคุณภาพ การศึกษาของโรงเรียน - ปฏิบัติหน้าที่ครูผู้สอนกลุ่มสาระการ เรียนรู้ภาษาไทย ชั้น ป.4 – ป. 6 ร่วมกับ ครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นจัดกิจกรรม ต่าง ๆ ช่วยส่งเสริมมโนทัศน์ทาง ภาษาไทยให้กับนักเรียน โดยใช้สื่อ นวัตกรรมที่ครูสร้างขึ้นให้เหมาะสมกับ การเรียนรู้ของนักเรียน บูรณาการการ เรียนรู้เพื่อนส่งเสริมศัยกภาพของผู้เรียน ผ่านกิจกรรมวันสำคัญต่างๆ ที่โรงเรียน จัดขึ้น เช่น กิจกรรมวันสุนทรภู่, กิจกรรม วันวิทยาศาสตร์, กิจกรรมงานวัน ชาวสวน และกิจกรรมอื่นตามโอกาส - ผู้เรียนทุกคนได้รับการที่ ครอบคลุมเพื่อพัฒนาการ เรียนรู้ผ่านกิจกรรม ผ่านสื่อ รวมทั้งกิจกรรม บูรณาการที่ครูจัดขึ้น - ผู้เรียนทุกคนมีผลการ ประเมินผ่านเกณฑ์การ ประเมินการเลื่อนของ โรงเรียน มีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนตามตัวชี้วัด และเป็นไปตามเป้าของ โรงเรียน 3. ด้านการพัฒนาตนเอง และวิชาชีพ ลักษณะงานที่เสนอให้ ครอบคลุมถึง การพัฒนา ตนเองอย่างเป็นระบบ และต่อเนื่อง การมีส่วน ร่วม ในการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อ พัฒนาการจัดการเรียนรู้ และการนำความรู้ ความสามารถ ทักษะที่ได้ 3.1 พัฒนาตนเองอย่างเป็นระบบและ ต่อเนื่อง - อบรมพัฒนาเองเกี่ยวกับความรู้ การสอนภาษาไทย อบรมการใช้ เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา เช่น การสร้างแบบทดสอบออนไลน์, การ สร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-BOOK) เผยแพร่ตัวอย่างผลงานที่ได้จากการ พัฒนา หรือตัวอย่างสื่อนวัตกรรมที่ใช้ใน การจัดการเรียนรู้ให้ครูในกลุ่มสาระการ เรียนรู้ได้นำไปเป็นแนวทาง - นักเรียนได้รับการ พัฒนาทักษะทางภาษา และยกระดับผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนผ่านองค์ ความรู้ที่ครูได้ถ่ายทอด ผ่านการอบรม การพัฒนา ตนเองตามวิชาชีพ - นักเรียนทุกคนได้รับการ พัฒนาทักษะทางภาษา ผ่านการจัดการเรียนรู้ ด้วยองค์ความรู้เป็นไป ตามเป้าหมายที่กำหนด
13 ลักษณะงานที่ปฏิบัติ ตามมาตรฐานตำแหน่ง งาน (Tasks) ที่จะดำเนินการพัฒนา ตามข้อตกลง ใน 1 รอบ การประเมิน (โปรดระบุ) ผลลัพธ์ (Outcomes) ของงานตามข้อตกลง ที่คาดหวังให้เกิดขึ้น กับผู้เรียน (โปรดระบุ) ตัวชี้วัด (Indicators) ที่จะเกิดขึ้นกับผู้เรียนที่แสดง ให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงไป ในทางที่ดีขึ้นหรือมีการ พัฒนามากขึ้นหรือผลสัมฤทธิ์ สูงขึ้น (โปรดระบุ) จากการพัฒนาตนเอง และ วิชาชีพมาใช้ในการพัฒนา การจัดการเรียนรู้ การ พัฒนาคุณภาพผู้เรียน และการพัฒนานวัตกรรม การจัดการเรียนรู้ 3.2 มีส่วนในการเป็นผู้นำชุมชนการ เรียนรู้ทางวิชาชีพ - ร่วมกับเพื่อนครูในสังกัดเขตพื้นที่ การศึกษา ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทยทั้งในและนอกสถานศึกษา เพื่อนครูผู้ร่วมวิชาชีพ เช่น คณะกรรมการชมรมครูภาษาไทย สพป.นศ.4 จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ใน การพัฒนาทักษะทางภาษาให้กับ นักเรียน สร้างกลุ่มในการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ทางวิชาชีพผ่านกิจกรรมนิเทศการ จัดการเรียนรู้ และนำผลจากการประชุม PLC ไปสร้างเป็นสื่อ นวัตกรรม เพื่อ นำมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน หรือแก้ไขนักเรียนที่มีผลการเรียนรู้ไม่ ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด - นักเรียนได้รับการปรับ ปรุงการเรียน ส่งเสริม และพัฒนาการเรียนรู้โดย ครูประยุกต์ความรู้ที่ได้ จากการเข้าร่วม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ทาง วิชาชีพมาประยุกต์ใช้ใน การพัฒนาคุณภาพ การศึกษา - นักเรียนคุณภาพและ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ผ่าน ตัวชี้วัดครบทุกคน 3.3 นำความรู้ความสามารถ ทักษะ ที่ได้จากการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ มาใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ - นำความรู้ที่ได้รับจากการพัฒนา ตนเอง การเข้ารับการอบรม ประยุกต์ใช้ พัฒนาคุณภาพผู้เรียน รวมถึงการพัฒนา นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่มีผลต่อ คุณภาพผู้เรียนและเป็นแบบอย่างที่ดี - ผู้เรียนคุณภาพเป็นไป ตามเป้าของโรงเรียนและ หลักสูตร - นักเรียนคุณภาพและ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ผ่าน ตัวชี้วัดครบทุกคน หมายเหตุ 1. รูปแบบการจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางานตามแบบให้เป็นไปตามบริบทและสภาพการจัดการเรียนรู้ของ แต่ละสถานศึกษา โดยความเห็นชอบร่วมกันระหว่างผู้อำนวยการสถานศึกษาและข้าราชการครูผู้จัดทำข้อตกลง 2. งาน (Tasks) ที่เสนอเป็นข้อตกลงในการพัฒนางาน ต้องเป็นงานในหน้าที่ความรับผิดชอบหลักที่ส่งผล โดยตรงต่อผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนและให้นำเสนอรายวิชาหลักที่ทำการสอน โดยเสนอในภาพรวมของรายวิชาหลัก
14 ที่ทำการสอนทุกระดับชั้น ในกรณีที่สอนหลายรายวิชา สามารถเลือกรายวิชาใดวิชาหนึ่งได้ โดยจะต้องแสดงให้เห็นถึง การปฏิบัติงานตามมาตรฐานตำแหน่ง และคณะกรรมการประเมินผลการพัฒนางาน ตามข้อตกลงสามารถประเมินได้ ตามแบบการประเมิน PA 2 3. การพัฒนางานตามข้อตกลงตามแบบ PA 1 ให้ความสำคัญกับผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน (Outcomes) และตัวชี้วัด (Indicators) ที่เป็นรูปธรรมและการประเมินของคณะกรรมการประเมิน ผลการพัฒนางานตามข้อตกลง ให้ คณะกรรมการดำเนินการประเมิน ตามแบบ PA 2 จากการปฏิบัติงานจริง สภาพการจัดการเรียนรู้ในบริบทของ แต่ละสถานศึกษาและผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนที่เกิดจากการพัฒนางานตามข้อตกลงเป็นสำคัญ โดยไม่เน้นการ ประเมินจากเอกสาร ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน ประเด็นที่ท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน ของผู้จัดทำข้อตกลง ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ ต้องแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวัง คือ การริเริ่ม พัฒนา การจัดการเรียนรู้ และการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหรือมีการพัฒนามากขึ้น (ทั้งนี้ ประเด็นท้าทายอาจจะแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังที่สูงกว่าได้)
15 ประเด็นท้าทาย เรื่อง การพัฒนาสื่อประสม ชุด รู้รักษ์หลักภาษา สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2566 1. สภาพปัญหาของผู้เรียนและการจัดการเรียนรู้ จากรายงานผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนวัดพรหมโลก ปีการศึกษา 2565 พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ได้คะแนนเฉลี่ย 54.46 สูงกว่าระดับประเทศ (53.89) และสูงกว่าระดับสังกัด (52.80) เมื่อพิจารณาเป็นมาตรฐานการเรียนรู้ มีคะแนนดังนี้ การอ่าน มาตรฐาน ท 1.1 ได้คะแนน 70.24 การเขียน มาตรฐาน ท 2.1 ได้คะแนน 57.78 การฟังการดูและการพูด มาตรฐาน ท 3.1 ได้คะแนน 60.90 หลักการใช้ภาษา มาตรฐาน ท 4.1 ได้คะแนน 32.14 วรรณคดีและวรรณกรรม มาตรฐาน ท 5.1 ได้ 52.38 จากข้อมูลผลการทดสอบพบว่า มาตรฐานการเรียนรู้ที่นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ ไม่ถึงต้องละ 50.00 คือมาตรฐาน 4.1 หลักการใช้ภาษา ได้คะแนนร้อยละ 32.14 ต่ำกว่าระดับสังกัด (36.48) และระดับ ประเทศ (37.85) และสทศ.เสนอแนะให้เร่งพัฒนาเนื่องจากคะแนนต่ำกว่าระดับเทศ จากการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอน เนื้อหาหลักการใช้ภาษา พบว่าครูควรใช้สื่อที่ หลากหลายประกอบการสอน เพื่อให้นักเรียนตกผลึกองค์ความรู้จากการค้นคว้าและเรียนรู้ด้วยตนเอง และจากการสรุป ปัญหาจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยตัวผู้สอน พบปัญหาบางประการสรุปได้ดังนี้ ปัญหาด้านสื่อการสอน พบว่า การจัดการเรียนการสอนยังขาดสื่อที่จะให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าหรือช่วย พัฒนานักเรียนในสาระที่มีผลสัมฤทธิ์ต่ำ เอกสารหรือสื่อที่มีอยู่ไม่เหมาะสมกับวัยและความต้องการของผู้เรียน เอกสาร ขาดสีสันที่สวยงาม รูปเล่มไม่เหมาะสม ไม่ดึงดูดใจในการเรียน ภาพประกอบไม่น่าสนใจ เนื้อหาไม่ครอบคลุมหลักสูตร และมีเนื้อหาน้อยเกินไป สื่อที่มีอยู่ไม่รอบรับการพัฒนาที่ก้าวไกลของเทคโนโลยีดิจิทัล ปัญหาด้านครู พบว่า การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนยังไม่เน้นนักเรียนเป็นรายบุคคล ขาดสื่อเทคโนโลยีที่ จะช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้แม้อยู่ที่บ้าน ปัญหาด้านตัวนักเรียน พบว่า นักเรียนมีความแตกต่างกันในด้านต่าง ๆ ค่อนข้างมาก ตั้งแต่ด้านสติปัญญา ความพร้อมในการเรียน นักเรียนส่วนหนึ่งขาดความสนใจในการเรียน มีปัญหาด้านครอบครัว เช่น ครอบครัวมีฐานะ ยากจน พ่อแม่แตกแยก ไม่มีเวลาให้กับนักเรียน นักเรียนขาดทักษะพื้นฐานในการเรียนรู้ อันเป็นสาเหตุหนึ่งที่ส่งผล กระทบโดยตรงต่อปัญหา จากปัญหาที่กล่าวมา ผู้สอนพิจารณาเห็นว่าปัญหาด้านสื่อ เป็นปัญหาที่ผู้สอนสามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตัว อีก ทั้งยังเป็นการพัฒนาและยกระดับมาตรฐานวิชาชีพ จึงมีแนวคิดที่จะพัฒนาสื่อประสมเพื่อนำมาใช้กับนักเรียน สื่อประสม ชุด รู้รักษ์หลักภาษา เป็นสื่อที่มีเป้าหมายสำคัญในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมี ประสิทธิภาพ สามารถดึงดูดความสนใจของผู้เรียนและสร้างให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นอยากเรียนรู้ และเรียนรู้ได้ ด้วยตนเองตามศักยภาพ ผู้สอนจึงพัฒนาสื่อประสมชุด รู้รักษ์หลักภาษา สื่อประสมชุด รู้รักษ์หลักภาษา ประกอบด้วยแบบฝึกทักษะทางภาษา จำนวน 9 เรื่อง หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-BOOK) จำนวน 9 เรื่อง บูรณาการการจัดการเรียนการสอนผ่านเทคโนโลยีทันสมัยทั้งโทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ แอบพลิเคชั่นไลน์ และระบบอินเตอร์เน็ต ทั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อประยุกต์ใช้เทคโนโลยีซึ่งมีประสิทธิภาพมาบูรณาการใช้
16 จัดการเรียนให้เหมาะสมกับผู้เรียน โดยใช้ทั้งเป็นสื่อหลักและสื่อเสริมสอดคล้องกับแนวคิดที่ว่า Lifelong Learning Skills คือ ทักษะที่น่าสนใจของการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่ครูควรต้องมีเพื่อที่จะเตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ในอนาคต อยู่ที่ไหนก็เรียนรู้ได้ผ่านศักยภาพของเทคโนโลยี (E-Learning Anyone, Anywhere and Anytime) โดยเนื้อหาสาระในเล่มจะประกอบไปด้วยกิจกรรมนำเข้าสู่บทเรียน ให้ข้อมูลพื้นฐานก่อนการเริ่มเรียน เพื่อให้ ผู้เรียนมีความพร้อมและเกิดความสนใจที่จะเรียนรู้ มีการทบทวนความรู้เดิมหรือให้ความรู้เพิ่มเติมก่อนที่จะศึกษา เนื้อหาใหม่ มีการประเมินในรูปของแบบฝึกหัดหรือการทดสอบ ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญหลังจากที่ผู้เรียนได้ศึกษา เนื้อหาเป็นช่วง ๆ ตามความเหมาะสม สื่อประสม ชุด รู้รักษ์หลักภาษา จึงเป็นนวัตกรรมที่จะนำมาใช้เพื่อแก้ปัญการ เรียนการสอนตามข้อตกลงพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้ายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนในครั้งนี้ สื่อประสม ชุด รู้รักษ์หลักภาษา ประกอบด้วยแบบฝึกทักษะ 9 เรื่อง, หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) 9 เรื่อง ได้แก่ 1) อักษรควบ 2) คำนาม 3) คำพ้อง 4) คำเป็นคำตาย 5) เครื่องหมายวรรคตอน 6) คำราชาศัพท์ 7) สำนวนที่เป็นคำพังเพยและสุภาษิต 8) ประโยคและส่วนประกอบของประโยค 9) คำภาษาต่างประเทศที่ใช้ในภาษาไทย เนื้อหาทั้งหมดสอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2564) และหลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มาตรฐาน ท 4.1 การใช้หลักภาษา 2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล 2.1 วิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุงพุทธศักราช 2564) และหลักสูตรสถานศึกษา มาตรฐานการเรียนและตัวชี้วัดของเนื้อหา 2.2 ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนวัดพรหมโลก ปีการศึกษา 2565 2.3 จัดทำโครงร่างของเนื้อหาหลักการใช้ภาษาไทย เพื่อพัฒนาสื่อประสม ชุด รู้รักษ์หลักภาษา โดยแบ่งเนื้อหาออกเป็นส่วน ๆ พร้อมตัวอย่างกิจกรรม และแบบฝึกหัด 2.4 ให้คุณครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ช่วยกันตรวจสอบโครงร่างของเนื้อหาเพื่อตรวจสอบ ความถูกต้องเนื้อหา การเฉลยของตัวอย่าง กิจกรรม และแบบฝึกหัด พร้อมทั้งเสนอแนะเพื่อปรับปรุง แก้ไข 2.5 ครูผู้สอนพัฒนาสื่อประสม ชุด รู้รักษ์หลักภาษา ให้คุณครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตรวจสอบความถูกต้องในเนื้อหา การเฉลย ตัวอย่างกิจกรรม และแบบฝึกหัด พร้อมทั้งนำข้อเสนอแนะมาแก้ไข ปรับปรุงตามคำแนะนำ 2.6 นำสื่อประสม ชุด รู้รักษ์หลักภาษา จัดกิจกรรมการเรียนรู้กับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ทั้งในรูปแบบ ONLINE, OFFLINE โดยปรับกิจกรรมให้เหมาะสมกับบริบท
17 2.7 บันทึกผลการเรียนรู้ของนักเรียน ที่เกิดขึ้นจากการกิจกรรมการเรียนรู้ ในโปรแกรม Microsoft Excel และสะท้อนผลการเรียนรู้ให้นักเรียนทราบเป็นระยะ หากมีนักเรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินในเรื่องใด ครูทำ การสอนซ่อมเสริม และทำการทดสอบใหม่ จนนักเรียนมีผลการเรียนรู้ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด 3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง 3.1 เชิงปริมาณ 1. นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ทุกคนได้รับการเรียนรู้สาระหลักการใช้ภาษาโดยใช้สื่อ ประสม ชุด รู้รักษ์หลักภาษา มีคะแนนทดสอบหลังเรียนผ่านตัวชี้วัดและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นไปตามเป้าของ โรงเรียน 2. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อประสม ชุด รู้รักษ์หลักภาษา ในระดับมาก 3.2 เชิงคุณภาพ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สามารถนำความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ไปเชื่อมต่อในระดับชั้นที่ สูงขึ้น เชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันและใช้สื่อสารได้ ลงชื่อ........................................................................ (นางละไม ฝั่งชลจิตต์) ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ ผู้จัดทำข้อตกลงในการพัฒนางาน 1 ตุลาคม 2565 ความเห็นของผู้อำนวยการสถานศึกษา ( ) เห็นชอบให้เป็นข้อตกลงในการพัฒนางาน ( ) ไม่เห็นชอบให้เป็นข้อตกลงในการพัฒนางาน โดยมีข้อเสนอแนะเพื่อนำไปแก้ไข และเสนอเพื่อพิจารณาอีกครั้ง ดังนี้ ............................................................................................................................. ................................................. ............................................................................................................................. ................................................. .............................................................................................................................................................................. ลงชื่อ........................................................................ (นางโชคดี จันทร์ทิพย์) ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดพรหมโลก ................/.............../...................
18