The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

งานระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

แผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา 2566-2570

งานระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

Keywords: งานระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2566-2570 โรงเรียนชุมชนวัดบ้านหว้า“ประชาประสาทวิทย์” สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ


คำนำ แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาโรงเรียนชุมชนวัดบ้านหว้า“ประชาประสาทวิทย์” เล่มนี้ จัดทำขึ้นเพื่อใช้ เป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนชุมชนวัดบ้านหว้า“ประชาประสาทวิทย์” ระยะ 5 ปี (ปีงบประมาณ 2566 – 2570) โดยความร่วมมือจากคณะครูและบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียน ซึ่งได้มีการ สัมมนาเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนพัฒนาสถานศึกษา โดยการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมขององค์กร ศึกษาสถานภาพ ของโรงเรียนทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมา รวมทั้ง รัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี(พ.ศ. 2561-2580) แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ(พ.ศ.2561-2580) แผนการปฏิรูปประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 (พ.ศ.2566-2570) กลยุทธ์การพัฒนา (ฉบับที่เกี่ยวข้องกับ การศึกษาขั้นพื้นฐาน) นโยบายและแผนแห่งชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติพ.ศ. 2566-2570 แผนการศึกษา แห่งชาติพ.ศ. 2560 – 2579 นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ 2566 นโยบายและจุดเน้นสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 แผนพัฒนา การศึกษาจังหวัดนครสวรรค์ (พ.ศ. 2566-2570) เพื่อกำหนดทิศทางการจัด การศึกษาในระยะเวลา 5 ปี โดยกำหนดเป็นวิสัยทัศน์ พันธกิจ และประเด็น ยุทธ์ศาสตร์ เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย กลยุทธ์ของแต่ละประเด็นยุทธศาสตร์ในการพัฒนาโรงเรียน มีการ จัดทำโครงการและกิจกรรมที่ จะพัฒนาโรงเรียนไปสู่วิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้อันจะทำให้โรงเรียนได้บรรลุเป้าหมาย ได้คุณภาพมาตรฐานการศึกษา ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณลักษณะตามที่สังคมและประเทศชาติมุ่งหวัง ต่อไป โรงเรียนชุมชนวัดบ้านหว้า“ประชาประสาทวิทย์” ขอขอบคุณผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดทำแผนพัฒนา การศึกษาเล่มนี้ประกอบด้วย คณะครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานทุกท่าน ตลอดจน ผู้ปกครองและนักเรียนที่มีส่วนร่วมจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาเล่มนี้ นายกิตติธัช จันทร์เพียร โรงเรียนชุมชนวัดบ้านหว้า“ประชาประสาทวิทย์”


สารบัญ เรื่อง หน้า ส่วนที่ 1 สภาพทั่วไปของโรงเรียน 1 - ข้อมูลทั่วไปของสถานศึกษา 1 - ข้อมูลนักเรียน 2 - ข้อมูลครูและบุคลากรทางการศึกษา 3 - สภาพชุมชนโดยรอบ 3 ส่วนที่ 2 กรอบแนวคิดและทิศทางการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา 4 - รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 4 - พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 4 - ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี(พ.ศ. 2561-2580) 5 - แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ(พ.ศ.2561-2580) 6 - แผนการปฏิรูปประเทศ 7 - แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 (พ.ศ.2566-2570) 9 - กลยุทธ์การพัฒนา (ฉบับที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาขั้นพื้นฐาน) 11 - นโยบายและแผนแห่งชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติพ.ศ. 2566-2570 13 - แผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2560 – 2579 14 - นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ 2566 14 - นโยบายและจุดเน้นสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 15 - แผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดนครสวรรค์(พ.ศ. 2566-2570) 18 ส่วนที่ 3 สาระสำคัญแผนพัฒนาการศึกษา 22 - การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมขององค์กร (SWOT Analysis) 22 - อำนาจหน้าที่ของโรงเรียน : ตามเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ 25 - ทิศทางการจัดการศึกษาของโรงเรียน 26 ส่วนที่ 4 กลยุทธ์การจัดการศึกษา( Strategy ) 27 - กลยุทธ์ระดับโรงเรียน ( Strategy ) 27 - โครงการที่สนับสนุนกลยุทธ์ 27 ส่วนที่ 5 การนำแผนพัฒนาการศึกษาไปสู่การปฏิบัติ ๓7 - แนวทางการบริหารแผนสู่การปฏิบัติ 37 ภาคผนวก - การให้ความเห็นชอบแผนพัฒนาการศึกษา - คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษา


๑ ส่วนที่ 1 สภาพทั่วไปของโรงเรียน ข้อมูลทั่วไปของสถานศึกษา โรงเรียนชุมชนวัดบ้านหว้า“ประชาประสาทวิทย์”เดิมชื่อ โรงเรียนประชาบาลยางตาล ๒ ก่อตั้งเมื่อวันที่ ๖ สิงหาคม ๒๔๖๕ ในสมัยของอำมาตย์โทหลวงศรีสิทธิรักษ์เป็นนายอำเภอ ขุนภักดี ศึกษากร (คงใจรัก) เป็น ธรรมการอำเภอ อาศัยศาลาการเปรียญวัดบ้านหว้าเป็นสถานศึกษา โดยมีพระภิกษุทอง จันทร์อินทร์เป็น ครูผู้สอน เปิดเรียนครั้งแรกมีนักเรียน ๒๑ คน เปิดเรียนเฉพาะชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ เงินค่าจ้างสอนของครูใช้ เงินศึกษาพลี ซึ่งเก็บจากประชาชนในท้องถิ่น ปี พ.ศ. ๒๔๘๕ ทางราชการได้แต่งตั้งนายคอย น้อยเอี่ยม มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่ มีครู ๔ คน นักเรียน ๑๙๒ คน เปิดสอนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ – ๔ และยังคงใช้ศาลาการเปรียญวัดบ้านหว้าเป็น สถานศึกษา ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ พระใบฎีกาเลี่ยม (ฉิม หวังโส) เจ้าอาวาสวัดบ้านหว้าและนายคอย น้อยเอี่ยม ครูใหญ่ ได้ประชุมประชาชน เพื่อปลูกศาลาการเปรียญและจัดทำโต๊ะ ม้านั่ง กระดานดำ ตู้เก็บเอกสารและอุปกรณ์ต่างๆ ปี พ.ศ. ๒๕๐๔ นายคอย น้อยเอี่ยมได้ประชุมวางโครงการปลูกสร้างอาคารเรียนระยะเวลา ๕ ปี พร้อม จัดทำโครงการเสนอ นายมนู เพ็ญศิริ นายอำเภอโกรกพระ พร้อมทั้งจัดหาสถานที่และที่ดินปลูกอาคารเรียน โดยซื้อที่ดินจากนายผูก นางทองก้อน น้อยเอี่ยม เนื้อที่ ๔ ไร่ ๑ งาน ๒๙ ตารางวา ในราคา ๑,๕๐๐ บาท โดยประชาชนร่วมกันบริจาคเงินเพื่อเป็นการเตรียมสร้างหล่อเสา เทคาน ก่ออิฐ เพื่อเป็นการรอเงิน งบประมาณ ยอดเงินที่ประชาชนร่วมกันบริจาคครั้งแรกเป็นเงิน ๙,๗๗๕.๗๕ บาท ปี พ.ศ. ๒๕๐๕ ได้รับเงินงบประมาณจำนวน ๔๐,๐๐๐ บาท เพื่อสร้างอาคารเรียน ประชาชนได้ร่วม บริจาค ๓๐,๐๐๐ บาทและรายนามผู้บริจาครายมากๆ ดังนี้ ๑. นายสมาน นาครัตน์ จำนวนเงิน ๕,๐๐๐ บาท ๒. นายฟอง นางเท มณฑป จำนวนเงิน ๑,๗๐๐ บาท ๓. นายคอย น้อยเอี่ยม จำนวนเงิน ๑,๐๐๐ บาท ๔. นายไสว ห่วงสุวรรณ จำนวนเงิน ๑,๐๐๐ บาท รวมเป็นอาคารเรียนหลังนี้สร้างด้วยเงินงบประมาณ ๘๗,๙๒๒.๖๗ บาท ซึ่งเป็นแบบ ป.๑ พิเศษ เริ่มสร้างเมื่อ วันที่ ๕ เมษายน ๒๕๐๖ เสร็จเมื่อวันที่ ๕ มิถุนายน ๒๕๐๖ พร้อมขออนุญาตเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนวัดบ้าน หว้า“ประชาประสาทวิทย์” เมื่อวันที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๐ ได้จัดทำพิธีรับมอบอาคารเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ จากนายฟอง นางเท มณฑป พร้อมอุปกรณ์ โต๊ะ ม้านั่ง กระดานดำ สิ้นงบประมาณการก่อสร้าง ๒๓,๕๖๑.๕๐ บาท ใช้ชื่อ ว่าอาคาร ฟอง-เท เพื่อใช้เป็นที่เรียนของชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ปี พ.ศ. ๒๕๑๑ ได้รับงบประมาณจากทางราชการอีก ๗๐,๐๐๐ บาท เพื่อสร้างต่อเติมอาคาร ฟอง – เท เพื่อใช้เป็นที่เรียนของชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖,๗ ปี พ.ศ. ๒๕๑๓ ได้รับเงินหมวดค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง จำนวน ๒๕,๐๐๐ บาท เพื่อสร้างห้องพักครู ๑ หลัง ปี พ.ศ. ๒๕๑๗ องค์การบริหารส่วนจังหวัดจัดสรรงบประมาณให้ ๔,๐๐๐ บาท สร้างส้วมแบบประหยัด จำนวน ๑ หลัง ๔ ที่นั่ง


๒ ปี พ.ศ. ๒๕๑๘ องค์การบริหารส่วนจังหวัดจัดสรรงบประมาณให้ ๕๐,๐๐๐ บาท สร้างโรงฝึกงาน ๑ หลัง ซึ่งเป็นแบบ ๓๑๒ กรมสามัญ ปี พ.ศ. ๒๕๑๙ ได้รับเงินค่าที่ดิน สิ่งก่อสร้าง สร้างบ้านพักครู ๑ หลัง เป็นเงิน ๘๐,๐๐๐ บาท พร้อมส้วม ๑ หลัง จำนวน ๑ ที่นั่ง เป็นเงิน ๒,๐๐๐ บาท ปี พ.ศ. ๒๕๒๐ ได้รับงบประมาณจาออนามัยจังหวัดนครสวรรค์ จำนวน ๑๐,๐๐๐ บาท เพื่อสร้างถังน้ำ แบบ ผ.๓๐ ซึ่งมีถังน้ำ คสล. จำนวน ๖ ถัง สูง ๓ เมตร เส้นผ่านูนย์กลาง ๑.๕๐ เมตร และในปีนี้ได้รับงบประมาณ จัดสรรอาคารเรียน แบบ ๐๑๗ ใต้ถุนสูง ๓ ห้องเรียน จำนวน ๑ หลัง เป็นเงินงบประมาณ ๒๐๐,๐๐๐ บาท ปี พ.ศ. ๒๕๒๑ ร้อยตรีเพิ่มสุข โสภาพันธ์ นายอำเภอโกรกพระ ได้จัดสรรงบประมาณให้ ๒๖,๐๐๐ บาท เพื่อสร้างถังน้ำ ฝ.๓๐ ให้ ๖ ถัง ปี พ.ศ. ๒๕๒๑ ทางโรงเรียนได้รับเกียรติ์จากองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์ ให้โรงเรียนวัดบ้าน หว้า เป็นโรงเรียนชุมชนวัดบ้านหว้า“ประชาประสาทวิทย์” ปี พ.ศ. 2555 ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียน แบบ สปช.1๐5 กรมทรัพยากรธรณี ก่อสร้างประปา พร้อมระบบระบายน้ำด้วย รังสีอุลตร้าไวโอเลท งบประมาณ ๑,๒๐๐,๐๐๐ บาท จัดผ้าป่าการศึกษาซื้อที่ดินเพิ่ม 3 ไร่ เป็นเงิน 33๐,๐๐๐ บาท ได้รับงบประมาณช่วยเหลือโรงเรียนประสบอุทกภัย เป็นเงิน 1,7๐๐,๐๐๐ บาท ทำถนนคอนกรีตรอบสนาม โรงเรียน, สร้างรั้วคอนกรีต, ทาสีอาคารเรียน ปัจจุบันเปิดสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล 1 ถึง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ข้อมูลนักเรียน ตารางที่ 1 แสดงจำนวนนักเรียน ประจำปีงบประมาณ 2565 ระดับชั้น จำนวนนักเรียน(คน) จำนวนห้องเรียน อนุบาล 1 8 1 อนุบาล 2 6 1 อนุบาล 3 ๑๑ 1 รวม อนุบาล ๑๕ 3 ป.1 14 1 ป.2 12 1 ป.3 9 1 ป.4 14 1 ป.5 11 1 ป.6 13 1 รวม ประถม 73 6 ม.1 16 1 ม.2 14 1 ม.3 15 1 รวม มัธยม 45 3


๓ ข้อมูลครูและบุคลากรทางการศึกษา ตารางที่ 2 แสดงจำนวนครูและบุคลากรทางการศึกษา ประจำปีงบประมาณ 2565 ที่ กลุ่มงาน/กลุ่มสาระการเรียนรู้ จำนวนครูและบุคลากรทางการศึกษา รวม ประจำการ อัตราจ้าง 1. ฝ่ายบริหาร 1 - 1 2. ปฐมวัย 2 - 2 3. ประถมศึกษา 1 - 1 4. ภาษาไทย 3 - 3 5. คณิตศาสตร์ 2 - 2 6. วิทยาศาสตร์ 1 - 1 7. สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม 1 1 2 8. ภาษาต่างประเทศ 2 - 2 9. คอมพิวเตอร์ 1 - 1 รวมครูและสำนักงาน 14 1 15 10. ลูกจ้างชั่วคราว - 1 1 รวมลูกจ้าง - 1 1 รวมครูและบุคลากรทั้งหมด 14 2 16 สภาพชุมชนโดยรอบ โรงเรียนชุมชนวัดบ้านหว้า“ประชาประสาทวิทย์”ตั้งอยู่ในเขตตำบลยางตาล อำเภอโกรกพระ จังหวัด นครสวรรค์ชุมชนรอบบริเวณ โรงเรียนมีลักษณะเป็นชุมชนชนบท สภาพพื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม ติดแม่น้ำเจ้าพระยา เนื่องจากที่ตั้งของโรงเรียนอยู่ห่างจากถนนสายเอเชียประมาณ 3 กิโลเมตร จึงทำให้การคมนาคมขนส่งสะดวกเอื้อ ต่อการจัดการศึกษาและเป็นศูนย์กลางของชุมชน ด้านภูมิประเทศ เป็นที่ราบเหมาะกับการเพาะปลูกพืช ทำสวน ทำนา และ โรงเรียนชุมชนวัดบ้านหว้า “ประชาประสาทวิทย์” ตั้งอยู่ห่างจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครสวรรค์ เขต 1 ประมาณ 14 กิโลเมตร ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลยางตาล อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ การเดินทางสะดวกถ้าผ่านสี่แยกหน้าค่าย จิรประวัติ ตรงมาประมาณ 10 กิโลเมตร กลับรถตรงสวนสวัสดี เข้าทางแยกวัดบ้านหว้า ตรงเข้ามาประมาณ 2 กิโลเมตร ด้านสังคม ประชากรในพื้นที่เขตบริการของโรงเรียนส่วนใหญ่มีฐานะยากจน ประกอบอาชีพเกษตรอาชีพ หลักของประชากรคือ รับจ้าง ทำไร่มัน ไร่ข้าวโพด ทำนา ด้านเศรษฐกิจ ประชากรส่วนใหญ่มีฐานะยากจน รายได้ต่ำ ด้านการปกครอง อยู่ในการปกครองขององค์การบริหารส่วนตำบลยางตาล มีหน้าที่ในการจัดงบประมาณ พัฒนาในพื้นที่นี้ จัดเก็บภาษีทุกประเภท เพื่อนำมาพัฒนาตำบลยางตาล


๔ ส่วนที่ 2 กรอบแนวคิดและทิศทางการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560ได้มีการประกาศใช้ตั้งแต่วันที่ 6 เมษายน 256ซึ่ง ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา มีบทบัญญัติไว้ใน มาตรา 54 รัฐต้องดำเนินการให้เด็กทุกคนได้รู้การศึกษา เป็นเวลาสิบสองปี ตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับอย่างมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายรัฐต้อง ดำเนินการให้เด็กเล็กได้รับการดูแลและพัฒนาก่อนเข้ารับการศึกษาตามวรรคที่หนึ่งเพื่อพัฒนาร่างกายจิตใจ วินัย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาให้สมกับวัย โดยส่งเสริมและสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคเอกชน เข้ามีส่วนร่วมในการดำเนินการด้วย รัฐต้องดำเนินการให้ประชาชนได้รับการศึกษาตามความต้องการในระบบต่าง ๆ รวมทั้งส่งเสริม ให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต และจัดให้มีการร่วมมือกันระหว่างรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชน ในการจัดการศึกษาทุกระดับ โดยรัฐมีหน้าที่ดำเนินการ กำกับ ส่งเสริม และสนับสนุนให้การจัดการศึกษา ดังกล่าวมีคุณภาพและได้มาตรฐานสากล ทั้งนี้ ตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ ซึ่งอย่างน้อย ต้องมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการจัดทำแผนการศึกษาแห่งชาติ การดำเนินการและตรวจสอบการดำเนินการ ให้เป็นไปตามแผนการศึกษาแห่งชาติด้วย การศึกษาทั้งปวงต้องมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีวินัย ภูมิใจในชาติ สามารถเชี่ยวชาญได้ ตามความถนัดของตนและมีความรับผิดชอบต่อครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ ในการดำเนินการให้เด็กเล็กได้รับการดูแลและพัฒนาตามวรรคสอง หรือให้ประชาชนได้รับการศึกษาตาม วรรคสาม รัฐต้องดำเนินการให้ผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการศึกษาตามความถนัดของ ตน พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้กำหนดคํานิยามการศึกษาขั้นพื้นฐาน หมายถึง การศึกษาระดับก่อนอุดมศึกษา และกำหนดในมาตรา 10 การจัดการศึกษา ต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาส เสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บ ค่าใช้จ่าย การจัดการศึกษาสำหรับบุคคลซึ่งมีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม การสื่อสารและการเรียนรู้ หรือมีร่างกายพิการ หรือทุพพลภาพหรือบุคคลซึ่งไม่สามารถพึ่งตนเองได้ หรือไม่มีผู้ดูแลด้อยโอกาส ต้องจัดให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิและโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ การศึกษาสำหรับคนพิการ ให้จัดตั้งแต่แรกเกิดหรือพบความพิการโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายและให้บุคคล ดังกล่าวมีสิทธิได้รับสิ่งอํานวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษาตามหลักเกณฑ์และ วิธีการ ที่กำหนดในกฎกระทรวง การจัดการศึกษาสำหรับบุคคลซึ่งมีความสามารถพิเศษ ต้องจัดด้วยรูปแบบที่เหมาะสม โดยคํานึง ถึงความสามารถของบุคคลนั้น


๕ ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี(พ.ศ. 2561 – 2580) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กําหนดให้รัฐมียุทธศาสตร์ชาติ เป็นเป้าหมาย การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนตามหลักธรรมาภิบาล เพื่อใช้เป็นกรอบในการจัดทำแผนต่าง ๆ ให้สอดคล้อง และ บูรณาการกัน ต่อมาได้มีการตราพระราชบัญญัติการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560 ซึ่งกําหนดให้หน่วยงานรัฐ ทุกหน่วยมีหน้าที่ดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ในยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 -2580 โดยมี วิสัยทัศน์ คือ“ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง”โดยการประเมินผลการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 - 2580 ประกอบด้วย ความอยู่ดีมีสุขของคนไทยและสังคมไทย ขีดความสามารถในการแข่งขัน การพัฒนาเศรษฐกิจและการกระจาย รายได้ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ ความเท่าเทียมและความเสมอภาคของสังคม ความหลากหลาย ทางชีวภาพคุณภาพสิ่งแวดล้อม และความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติ และประสิทธิภาพการบริหารจัดการและ การเข้าถึงการให้บริการของภาครัฐการพัฒนาประเทศในช่วงเวลาของยุทธศาสตร์ชาติ จะมุ่งเน้นการสร้างสมดุล ระหว่างการพัฒนาความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในรูปแบบ “ประชารัฐ” ซึ่งยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ 6 ยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย 1) ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง 2) ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน 3) ยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและ เสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ 4) ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม 5) ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และ 6) ยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ เพื่อให้ทรัพยากรมนุษย์ในทุกมิติและในทุกช่วงวัยสามารถได้รับการพัฒนาและยกระดับได้เต็มศักยภาพ และเหมาะสม ยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์จึงได้กำหนดประเด็น ยุทธศาสตร์ที่เน้นทั้งการแก้ไขปัญหาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในปัจจุบันและการเสริมสร้างและยกระดับการ พัฒนา ที่ให้ความสำคัญที่ครอบคลุมทั้งในส่วนของการพัฒนาทุนมนุษย์และปัจจัยและสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างระบบนิเวศที่เอื้อต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างครอบคลุม ประกอบด้วย การพัฒนาศักยภาพคน ตลอดช่วงชีวิต ควบคู่กับการปฏิรูปที่สำคัญทั้งในส่วนของการปรับเปลี่ยนค่านิยมและวัฒนธรรม เพื่อให้คนมีความดี อยู่ใน ‘วิถี’ การดำเนินชีวิตและมีจิตสํานึกร่วมในการสร้างสังคมที่น่าอยู่ และมีการปฏิรูปการเรียนรู้แบบพลิกโฉม ในทุกระดับตั้งแต่ระดับปฐมวัยจนถึงการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยการพัฒนาระบบการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อการ เปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 มีการออกแบบระบบการเรียนรู้ใหม่ การเปลี่ยนบทบาทครูการเพิ่มประสิทธิภาพ ระบบบริหารจัดการศึกษา และการพัฒนาระบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้สามารถกำกับการเรียนรู้ ที่เหมาะสมกับตนเองได้อย่างต่อเนื่องแม้จะออกจากระบบการศึกษาแล้ว รวมถึงความตระหนักถึงพหุปัญญาของ มนุษย์ที่หลากหลาย ตลอดจนพัฒนาและรักษากลุ่มผู้มีความสามารถพิเศษของพหุปัญญาแต่ละประเภท เพื่อให้การขับเคลื่อนการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพ ทรัพยากรมนุษย์ สามารถขับเคลื่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้มีการกำหนดแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ขึ้นเพื่อให้เห็นกรอบแนวทางในการดำเนินการที่ชัดเจนขึ้น


๖ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 - 2580) แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ เป็นแผนระดับสองที่จัดทำไว้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ ชาติ โดยจะมีผลผูกพันต่อหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องจะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้น รวมทั้งการจัดทำงบประมาณ รายจ่ายประจำปีงบประมาณจะต้องสอดคล้องกับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งประเด็นแผนแม่บทภายใต้ ยุทธศาสตร์ชาติ 23 ประเด็น ประกอบด้วย 1) ความมั่นคง 2) การต่างประเทศ 3) การพัฒนาการเกษตร 4)อุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต 5) การท่องเที่ยว 6) การพัฒนาพื้นที่และเมืองน่าอยู่อัจฉริยะ 7) โครงสร้างพื้นฐานระบบโลจิสติกส์และดิจิทัล 8) ผู้ประกอบการและวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมยุคใหม่ 9)เขตเศรษฐกิจพิเศษ 10) การปรับเปลี่ยนค่านิยมและวัฒนธรรม 11) การพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต 12)การพัฒนาการเรียนรู้ 13) การสร้างให้คนไทยมีสุขภาวะที่ดี 14) ศักยภาพการกีฬา 15) พลังทางสังคม 16)เศรษฐกิจฐานราก 17) ความเสมอภาคและหลักประกันทางสังคม 18) การเติบโตอย่างยั่งยืน 19) การบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ 20) การบริการประชาชนและประสิทธิภาพภาครัฐ 21) การต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ 22)กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม และ 23) การวิจัยและพัฒนานวัตกรรม โดยมีแผนแม่บทที่ กระทรวงศึกษาธิการได้รับมอบหมายให้ดำเนินการ 2 แผนแม่บท ดังนี้ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (11) การพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต แผนแม่บทประเด็นศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต ได้กำหนดแผนย่อยไว้ 5 แผนย่อย เพื่อพัฒนาและ ยกระดับทรัพยากรมนุษย์ในทุกมิติและในทุกช่วงวัยให้เต็มศักยภาพและเหมาะสม ดังนี้ 1) การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพมนุษย์


๗ 2) การพัฒนาเด็กตั้งแต่ช่วงการตั้งครรภ์จนถึงปฐมวัย 3) การพัฒนาช่วงวัยเรียน/วัยรุ่น 4) การพัฒนาและยกระดับศักยภาพวัยแรงงาน 5) การส่งเสริมศักยภาพวัยผู้สูงอายุ โดยกระทรวงศึกษาธิการได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วยงานสนับสนุน แผนแม่บทดังกล่าวโดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จะมีความเกี่ยวข้องกับแผนแม่บทย่อยที่ 2) และ 3) แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (12) ประเด็น การพัฒนาการเรียนรู้ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็น การพัฒนาการเรียนรู้ ได้กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ที่เน้น ทั้งการแก้ไขปัญหาในปัจจุบันและการเสริมสร้างและยกระดับการพัฒนาการศึกษาและการเรียนรู้ทั้งการศึกษาใน ระบบ นอกระบบ และการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยการพัฒนาระบบการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงใน ศตวรรษที่ 21 มีการออกแบบระบบการเรียนรู้ใหม่ การเปลี่ยนบทบาทครูการเพิ่มประสิทธิภาพระบบบริหารจัด การศึกษา และการพัฒนาระบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้สามารถกำกับการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับ ตนเองได้อย่างต่อเนื่องแม้จะออกจากระบบการศึกษาแล้ว ควบคู่กับการส่งเสริมการพัฒนาคนไทยตามพหุปัญญา ให้เต็มตามศักยภาพ รวมถึงการสร้างเสริมศักยภาพผู้มีความสามารถพิเศษให้สามารถต่อยอดการประกอบอาชีพได้ อย่างมั่นคง โดยประกอบด้วย 2 แผนย่อย ดังนี้ 1)การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงใน ศตวรรษที่ 21 และ 2)การตระหนักถึงพหุปัญญาของมนุษย์ที่หลากหลาย โดยกระทรวงศึกษาธิการได้รับ มอบหมายให้เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการแผนแม่บทดังกล่าว ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้น พื้นฐาน มีความเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบและปัจจัยภายใต้แผนแม่บทดังกล่าวทุกองค์ประกอบ แผนการปฏิรูปประเทศ แผนการปฏิรูปประเทศ เป็นแผนระดับสองที่จัดทำขึ้นเพื่อกำหนดกลไก วิธีการ และขั้นตอนการปฏิรูป ประเทศในด้านต่าง ๆ โดยการปฏิรูปประเทศต้องดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ประกอบด้วย ประเทศชาติมีความสงบเรียบร้อย มีความสามัคคี สังคมมีความสงบสุข เป็นธรรม และมีโอกาสอัน ทัดเทียมกัน เพื่อขจัดความเหลื่อมล้ำ มีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ ทั้งนี้ การปฏิรูป ประเทศต้องสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งแผนการปฏิรูปประเทศ ประกอบด้วย 12 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการเมือง 2) ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน 3) ด้านกฎหมาย 4) ด้านกระบวนการ ยุติธรรม 5) ด้านเศรษฐกิจ 6) ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 7) ด้านสาธารณสุข 8) ด้าน สื่อสารมวลชนและเทคโนโลยีสารสนเทศ 9) ด้านสังคม 10) ด้านพลังงาน 11) ด้านการป้องกันและปราบปราม การทุจริตและประพฤติมิชอบ 12) ด้านการศึกษา โดยแผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษามีแผนงานเพื่อการ ปฏิรูป5 เรื่อง ได้แก่ 1) การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาตั้งแต่ระดับปฐมวัย 2) การพัฒนาการ จัดการ เรียนการสอนสู่การเรียนรู้ฐานสมรรถนะ เพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 3) การปฏิรูปกลไก และระบบการผลิตและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพมาตรฐาน 4) การจัดการอาชีวศึกษา ระบบทวิภาคีและระบบอื่น ๆ ที่เน้นการฝึกปฏิบัติอย่างเต็มรูปแบบ นําไปสู่การจ้างงานและการสร้างงาน 5) การ


๘ ปฏิรูปบทบาทการวิจัยและระบบธรรมาภิบาลของสถาบันอุดมศึกษา เพื่อสนับสนุนการพัฒนาประเทศไทยออก จากกับดักรายได้ปานกลางอย่างยั่งยืน แผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา ด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 258 จ. โดยสรุปได้บัญญัติให้มีการ ดำเนินการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา ครอบคลุมให้เด็กเล็กได้รับการดูแลและพัฒนาก่อนเข้ารับการศึกษา เพื่อให้เด็กเล็กได้รับการพัฒนาร่างกาย จิตใจ วินัย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาให้สมกับวัยโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ให้ดำเนินการตรากฎหมายเพื่อจัดตั้งกองทุนเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาให้มีกลไกและระบบการผลิต คัด กรอง และพัฒนาผู้ประกอบวิชาชีพครูและอาจารย์ ให้ได้ผู้มีจิตวิญญาณของความเป็นครูมีความรู้ความสามารถ อย่างแท้จริง ได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสมกับความสามารถและประสิทธิภาพในการสอนรวมทั้งมีกลไกสร้างระบบ คุณธรรมในการบริหารงานบุคคลของผู้ประกอบวิชาชีพครูให้มีการปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนทุกระดับ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ตามความถนัดและปรับปรุงโครงสร้างของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อบรรลุเป้าหมาย ดังกล่าว โดยสอดคล้องกันทั้งในระดับชาติและระดับพื้นที่ ทั้งนี้บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญฯมาตรา 261 กําหนดให้การปฏิรูปตามมาตรา 258 จ. ด้านการศึกษามีคณะกรรมการที่มีความเป็นอิสระคณะหนึ่งที่ คณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง ดำเนินการศึกษาและจัดทำข้อเสนอแนะและร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการให้ บรรลุเป้าหมายเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีดำเนินการต่อไป นอกจากนี้ การปฏิรูปการศึกษายังเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปประเทศเพื่อสนับสนุนการบรรลุ ตามยุทธศาสตร์ชาติที่กำหนดไว้ในด้านต่างๆ เนื่องด้วยการศึกษาเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการพัฒนา ประเทศดังนั้นแผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษาจึงเป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะสนับสนุนการดำเนินการ ตามยุทธศาสตร์ชาติทุกด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ ด้านความเท่าเทียม และความเสมอภาคของสังคม และด้านขีดความสามารถในการแข่งขัน การพัฒนาเศรษฐกิจและการกระจาย รายได้ ปัญหาและความท้าทายที่สำคัญในการปฏิรูปการศึกษา ปัญหาของระบบการศึกษาของไทยมีความ ซับซ้อนสูง คุณภาพของการศึกษาต่ำ ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาสูง ปัญหาของระบบการศึกษาเป็นอุปสรรค อย่างยิ่งต่อการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ การใช้ทรัพยากรทางการศึกษายังไม่มี ประสิทธิภาพ การกำกับดูแลและการบริหารจัดการระบบการศึกษาของภาครัฐในด้านธรรมาภิบาลเป็นอุปสรรค สำคัญที่บั่นทอนประสิทธิผลของการนําประเด็นการปฏิรูปการศึกษาสู่การปฏิบัติ รวมถึงบริบทของประเทศและ ของโลกกําลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จากปัญหาและความท้าทายของระบบการศึกษาของไทยที่ได้วิเคราะห์ไว้ในข้อเสนอเพื่อการปฏิรูป การศึกษาจากหน่วยงานต่างๆ ข้อเสนอจากการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะในภูมิภาคต่างๆ เวทีทางวิชาการ มา ประกอบการพิจารณาปรับปรุงแผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา ทำให้แผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษานี้ ประกอบด้วยวัตถุประสงค์ของการปฏิรูป 4 ด้าน 1) ยกระดับคุณภาพของการจัดการศึกษา(Enhance quality of education) 2) ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา (Reduce disparity in education)3) มุ่งความเป็นเลิศและ สร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (Leverageexcellence andcompetitiveness) 4) ปรับปรุง


๙ ระบบการศึกษาให้มีประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากร เพิ่มความคล่องตัวในการรองรับความหลากหลายของการจัด การศึกษา และสร้างเสริมธรรมาภิบาล (Improve Efficiency, agilityand good governance) โดยได้กำหนด แผนงานเพื่อการปฏิรูปการศึกษา 7 เรื่อง 1) การปฏิรูประบบการศึกษาและการเรียนรู้โดยรวมของประเทศ โดย พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่และกฎหมายลำดับรอง 2) การปฏิรูปการพัฒนาเด็กเล็กและเด็กก่อน วัยเรียน 3) การปฏิรูปเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา 4) การปฏิรูปกลไกและระบบการผลิต คัดกรอง และ พัฒนาผู้ประกอบวิชาชีพครู และอาจารย์ 5)การปฏิรูปการจัดการเรียนการสอนเพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงใน ศตวรรษที่ 21 6) การปรับโครงสร้างของหน่วยงานในระบบการศึกษา เพื่อบรรลุเป้าหมายในการ ปรับปรุงการ จัดการเรียนการสอน และยกระดับคุณภาพของการจัดการศึกษา 7) การปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้โดยการ พลิกโฉมด้วยระบบดิจิทัล (Digitalizationfor Educational and Learning Reform) แผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา (ฉบับปรับปรุง) แผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา ฉบับปรับปรุง มุ่งเน้นกิจกรรมปฏิรูปที่จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของ ภาคการศึกษาที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียน ประชาชนอย่างมีนัยสําคัญ 5 กิจกรรมโดยพิจารณาความ เชื่อมโยงกับแผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษาที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่7 พฤษภาคม 2562 ซึ่งหน่วยงาน รับผิดชอบได้ขับเคลื่อนการดำเนินการบางกิจกรรมไปแล้ว โดยในแผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษาฉบับเดิมที่ กำหนดเรื่องและประเด็นปฏิรูปไว้ 7 เรื่อง ซึ่งมีสถานะบรรลุเป้าหมายประจำปี 2563 ในระดับใกล้เคียงในการ บรรลุเป้าหมาย 3 เรื่อง และอยู่ในระดับที่มีความเสี่ยงในการบรรลุเป้าหมาย 4 เรื่อง นั้น ได้นํามาดำเนินการ ต่อเนื่องในแผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) ผ่านกิจกรรม Big Rock จำนวน 6 เรื่อง และประเด็นปฏิรูป และอีก 1 เรื่องและประเด็นปฏิรูป เป็นกิจกรรมที่มีส่วนร่วมสนับสนุนการขับเคลื่อนกิจกรรม Big Rock ให้บรรลุ ผลสัมฤทธิ์ได้ตามเป้าประสงค์ที่กำหนดไว้กิจกรรมปฏิรูป 5 กิจกรรมที่กำหนดใหม่และแผนงานเดิมยังมุ่งเน้นการ ยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษา ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาและมุ่งสู่ความเป็นเลิศและสร้างขีด ความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ประกอบด้วย1) การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาตั้งแต่ ระดับปฐมวัย 2) การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนสู่การเรียนรู้ฐานสมรรถนะเพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงใน ศตวรรษที่ 21 3) การปฏิรูปกลไกและระบบการผลิตและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพ มาตรฐาน 4) การจัดอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีและระบบอื่นๆ ที่เน้นการฝึกปฏิบัติอย่างเต็มรูปแบบนําไปสู่การจ้าง งานและการสร้างงาน 5) การปฏิรูปบทบาทการวิจัยและระบบธรรมาภิบาลของสถาบันอุดมศึกษาเพื่อสนับสนุน การพัฒนาประเทศไทยออกจากกับดักรายได้ปานกลางอย่างยั่งยืน แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ.2566 - 2570) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570) เป็นแผนระดับสอง ซึ่งเป็น พัฒนาที่จัดทำโดยคำนึงถึงความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ นโยบายของรัฐบาล และสภาพการณ์ทางเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศและโลก รวมถึงมีความสำคัญต่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาประเทศในระยะยาวที่จะ ช่วยสนับสนุนให้การพัฒนาประเทศได้รับการสนับสนุนจากทุกภาคส่วนบนเป้าหมายร่วมที่ชัดเจน และยังเอื้อ ประโยชน์ต่อการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลความสำเร็จของแผน เพื่อนํามาปรับปรุงกระบวนการและ วิธีการดําเนินงานให้บรรลุเป้าหมายตามที่มุ่งหวังได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13


๑๐ (พ.ศ. 2566 - 2570) ประกอบด้วย 13 หมุดหมาย ได้แก่ หมุดหมายที่ 1 ไทยเป็นประเทศชั้นนําด้านสินค้า เกษตรและเกษตรแปรรูปมูลค่าสูง หมุดหมายที่ 2 ไทยเป็นจุดหมายของการท่องเที่ยวที่เน้นคุณภาพและความ ยั่งยืน หมุดหมายที่ 3 ไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าที่สำคัญของโลก หมุดหมายที่ 4 ไทยเป็นศูนย์กลางทาง การแพทย์และสุขภาพมูลค่าสูง หมุดหมายที่ 5 ไทยเป็นประตูการค้าการลงทุนและยุทธศาสตร์ทางโลจิสติกส์ที่ สำคัญของภูมิภาค หมุดหมายที่ 6 ไทยเป็นฐานการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะที่สำคัญของโลก หมุด หมายที่ 7 ไทยมีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่เข้มแข็ง มีศักยภาพสูงและสามารถแข่งขันได้ หมุดหมายที่ 8 ไทยมีพื้นที่และเมืองอัจฉริยะที่น่าอยู่ ปลอดภัย เติบโตได้อย่างยั่งยืน หมุดหมายที่ 9 ไทยมีความยากจนข้ามรุ่น ลดลง และคนไทยทุกคนมีความคุ้มครองทางสังคมที่เพียงพอ เหมาะสมหมุดหมายที่ 10 ไทยมีเศรษฐกิจหมุนเวียน และสังคมคาร์บอนต่ำ หมุดหมายที่ 11 ไทยสามารถลดความเสี่ยงและผลกระทบจากภัยธรรมชาติ และการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หมุดหมายที่ 12 ไทยมีกําลังคนสมรรถนะสูง มุ่งเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ตอบโจทย์การ พัฒนาแห่งอนาคต และหมุดหมายที่ 13 ไทยมีภาครัฐที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพ และตอบโจทย์ประชาชน โดย หมุดหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานมากที่สุด นั่นคือ หมุดหมายที่ 12 ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ หมุดหมายที่12 ไทยมีกําลังคนสมรรถนะสูง มุ่งเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ตอบโจทย์การพัฒนาแห่งอนาคต หมุดหมายที่12 มีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติใน 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ในประเด็นเป้าหมาย ประเทศไทยมีขีดความสามารถในการ แข่งขันสูงขึ้น 2) ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ในประเด็นเป้าหมาย คนไทยเป็นคนดี คนเก่ง มีคุณภาพพร้อมสำหรับวิถีชีวิตในศตวรรษที่ 21 และสังคมไทยมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อและสนับสนุนต่อการพัฒนา คนตลอดช่วงชีวิต 3) ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม ในประเด็นเป้าหมาย สร้างความเป็นธรรม และลดความเหลื่อมล้ำในทุกมิติ และกระจายศูนย์กลางความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคมเพิ่มโอกาสให้ทุกภาค ส่วนเข้ามาเป็นกําลังของการพัฒนาประเทศในทุกระดับ หมุดหมายที่ 12 มุ่งตอบสนองเป้าหมายหลักของแผน 2 เป้าหมาย ได้แก่ 1) การพัฒนาคนสำหรับยุคใหม่ โดยการพัฒนาคนทุกช่วงวัยได้รับการพัฒนาในทุกมิติ การพัฒนา กําลังคนสมรรถนะสูงสอดคล้องกับความต้องการของภาคการผลิต เป้าหมาย สามารถสร้างงานอนาคต และสร้าง ผู้ประกอบการอัจฉริยะที่มีความสามารถในการสร้างและใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม 2) การมุ่งสู่สังคมแห่งโอกาสและความเป็นธรรม ด้วยการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ทั้งการพัฒนา ระบบนิเวศเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และพัฒนาทางเลือกในการเข้าถึงการเรียนรู้สำหรับผู้ที่ไม่สามารถเรียนใน ระบบการศึกษาปกติโดยมีเป้าหมายระดับหมุดหมาย และตัวชี้วัด ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังนี้ เป้าหมายที่ 1 คนไทยได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพในทุกช่วงวัย มีสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับโลกยุค ใหม่ มีคุณลักษณะตามบรรทัดฐานที่ดีของสังคม มีคุณธรรม จริยธรรม และมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงอย่าง พลิกโฉมฉับพลันของโลก สามารถดำรงชีวิตร่วมกันในสังคมได้อย่างสงบสุข ตัวชี้วัดที่1.1 ดัชนีพัฒนาการเด็กสมวัยเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 88 ณ สิ้นสุดแผนฯ


๑๑ ตัวชี้วัดที่ 1.2 ร้อยละของนักเรียนที่มีสมรรถนะไม่ถึงระดับพื้นฐานของทั้ง 3 วิชาในแต่ละกลุ่มโรงเรียน ลดลงร้อยละ 8 เมื่อสิ้นสุดแผนฯ ตัวชี้วัดที่1.3 ทุนชีวิตเด็กและเยาวชนไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 เมื่อสิ้นสุดแผนฯ เป้าหมายที่ 2 กําลังคนมีสมรรถนะสูง สอดคล้องกับความต้องการของภาคการผลิตเป้าหมายและ สามารถสร้างงานอนาคต ตัวชี้วัดที่ 2.1 ดัชนีความสามารถในการแข่งขันของสภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Form: WEF) 6 ด้านทักษะ คะแนนเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 เมื่อสิ้นสุดแผนฯ เป้าหมายที่ 3 ประชาชนทุกกลุ่มเข้าถึงการเรียนรู้ตลอดชีวิต ตัวชี้วัดที่ 3.2 กลุ่มประชากรอายุ15 – 24 ปี ที่ไม่ได้เรียน ไม่ได้ทำงาน หรือไม่ได้ฝึกอบรม ไม่เกินร้อย ละ 5 เมื่อสิ้นแผนฯ กลยุทธ์การพัฒนา (เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาขั้นพื้นฐาน) กลยุทธ์ที่ 1 การพัฒนาคนไทยทุกช่วงวัยในทุกมิติ กลยุทธ์ย่อยที่ 1.1 พัฒนาเด็กช่วงตั้งครรภ์จนถึงปฐมวัยให้มีพัฒนาการรอบด้าน มีอุปนิสัยที่ดี โดยการเตรียมความพร้อมพ่อแม่ผู้ปกครองและสร้างกลไกประสานความร่วมมือ เพื่อดูแลหญิงตั้งครรภ์ให้ได้รับ บริการที่มีคุณภาพ และดูแลเด็กให้มีพัฒนาการสมวัย ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ – 6 ปี การพัฒนาครูและผู้ดูแลเด็ก ปฐมวัยให้มีความรู้และทักษะการดูแลที่เพียงพอ มีจิตวิทยาการพัฒนาการของเด็กปฐมวัย สามารถทำงาน ร่วมกับพ่อแม่ผู้ปกครองในการส่งเสริมพัฒนาการด้านการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยให้มีพัฒนาการสมวัยตาม หลักการพัฒนาสมองและกระบวนการเรียนรู้แก่เด็ก ควบคู่กับการพัฒนาการด้านร่างกาย สาธารณสุข และ โภชนาการ เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีอย่างรอบด้านก่อนเข้าสู่วัยเรียน การยกระดับสถานพัฒนาเด็ก ปฐมวัยให้ได้มาตรฐาน และจัดสรรทรัพยากรที่เพียงพอสาหรับการดําเนินงาน เพื่อให้เป็นกลไกการพัฒนาเด็ก ปฐมวัยรายพื้นที่ที่มีคุณภาพ การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้และการดูแลปกป้องเด็กปฐมวัย ให้มี พัฒนาการที่ดีรอบด้าน สติปัญญาสมวัย โดยการมีส่วนร่วมของครอบครัว ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคประชาสังคม และภาคเอกชน รวมถึงพัฒนาระบบสารสนเทศเด็กรายบุคคลเพื่อการส่งต่อไปยังสถานศึกษา และการพัฒนาที่ต่อเนื่อง กลยุทธ์ย่อยที่1.2 พัฒนาผู้เรียนระดับพื้นฐานให้มีความตระหนักรู้ในตนเอง มีสมรรถนะที่ จําเป็นต่อการเรียนรู้ การดำรงชีวิตและการทำงาน โดยการพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะและขับเคลื่อนสู่ การปฏิบัติ การยกระดับการผลิตและพัฒนาครูทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ การปรับปรุงระบบวัดและ ประเมินผู้เรียนให้มีความหลากหลายตามสภาพจริง ตลอดจนมีการประเมินการเรียนรู้เพื่อปรับปรุงและ พัฒนาการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนเป็นรายบุคคล การพัฒนาระบบสนับสนุนการเรียนรู้ โดย 1) การแก้ไขภาะการถดถอยของความรู้ในวัยเรียน โดยสถานศึกษาพัฒนาแนวปฏิบัติและระบบสนับสนุน ที่เหมาะสม รวมทั้งส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน และการเรียนรู้ที่บ้านในสถานการณ์ฉุกเฉิน 2) การพัฒนาระบบแนะแนวให้มีประสิทธิภาพ โดยพัฒนาครูและผู้ประกอบอาชีพแนะแนวให้สามารถ ร่วมวางแผนเส้นทางการเรียนรู้ การประกอบอาชีพ และการดาเนินชีวิตของผู้เรียนได้ตามความสนใจ ความถนัด


๑๒ 3) พัฒนาสถานศึกษาให้เป็นพื้นที่ปลอดภัยของผู้เรียนทุกคน โดยพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพที่ เหมาะสมกับการเรียนรู้ สร้างความรู้ความเข้าใจแก่ครู บุคลากรทางการศึกษา และผู้เรียน ถึงแนวทางการอยู่ ร่วมกันในสังคมอย่างสงบสุขบนหลักของการเคารพ ความหลากหลายทั้งทางความคิด มุมมองของคนระหว่างรุ่น และอัตลักษณ์ส่วนบุคคลเพื่อการวางอนาคต ในการพัฒนาประเทศร่วมกัน การส่งเสริมการเรียนรู้วิชาชีวิตใน โรงเรียน และมีแนวปฏิบัติในการคุ้มครอง สวัสดิภาพของผู้เรียน โดยเฉพาะจากการถูกกระทำโดยวิธีรุนแรงทั้งกาย วาจา และการกลั่นแกล้ง 4) การปรับปรุงระบบการจัดสรรงบประมาณและทรัพยากรทางการศึกษา ที่มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพ ผู้เรียนเป็นสำคัญ และอยู่บนหลักความเสมอภาคและเป็นธรรม รวมถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทาง เทคโนโลยีและดิจิทัลให้มีความครอบคลุมในทุกพื้นที่ 5) การกระจายอำนาจ ไปสู่สถานศึกษาและเพิ่มบทบาท ของภาคเอกชน และภาคประชาสังคมในการจัดการศึกษา โดยปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบ ที่เอื้อให้สถานศึกษามี ความเป็นอิสระในการบริหารด้านการจัดการศึกษา ด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ และด้านบุคลากร รวมทั้ง ขับเคลื่อนการสร้างนวัตกรรมทางการศึกษาตามบริบทของโรงเรียนและพื้นที่ ตลอดจนส่งเสริมบทบาทของ ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคประชาสังคมในการจัดการเรียนรู้ และการร่วมลงทุนเพื่อ การศึกษา 6) การส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษ โดยพัฒนาระบบเสาะหาและกลไกการการบริหารจัดการและ ส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษตามแนวคิดพหุปัญญาอย่างเป็นระบบ อาทิ การสนับสนุนทุนการศึกษาต่อ ฝึก ประสบการณ์ทางานวิจัยในองค์กรชั้นนํา ตลอดจนส่งเสริมการทางานที่ใช้ความสามารถพิเศษอย่างเต็มศักยภาพ 7) ผู้มีความต้องการพิเศษได้รับโอกาสและเข้าถึงการศึกษาและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย โดยสถานศึกษา จัดการศึกษาที่หลากหลายและเหมาะสมเฉพาะกลุ่ม ให้เป็นทางเลือกแก่ผู้เรียนเพื่อยุติการออกกลางคัน และ พัฒนากลไกสนับสนุนรวมถึงการปรับกฎระเบียบให้เอื้อต่อภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และองค์การที่ไม่แสวงหา กําไรในการดูแลกลุ่มผู้มีความต้องการพิเศษ อาทิ การวางแนวทางให้เอกชนสามารถจัดตั้งสถานฝึกอบรมหรือมี ส่วนร่วมรับผิดชอบในการพัฒนาผู้ต้องคําพิพากษา กลยุทธ์ที่2 การพัฒนากําลังคนสมรรถนะสูง กลยุทธ์ย่อยที่ 2.1 พัฒนากําลังคนสมรรถนะสูง สอดคล้องกับความต้องการของภาคการผลิต เป้าหมาย และสามารถสร้างงานอนาคต โดยส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนบูรณาการและเชื่อมโยงความร่วมมือด้าน การศึกษาฝึกอบรม และร่วมจัดการเรียนรู้ตามโลกสมัยใหม่ที่ครอบคลุมทั้งความสามารถในงาน ทักษะในการใช้ ชีวิต สมรรถนะดิจิทัลเพื่อการประกอบอาชีพ การดำเนินชีวิตประจาวัน และการใช้สิทธิในการเข้าถึงบริการพื้นฐาน ภาครัฐและสินค้าบริการได้อย่างเท่าทัน การแก้ปัญหา การมีแนวคิดของผู้ประกอบการ รวมถึงความสามารถใน การบริหารตัวเอง และการบริหารคนเพื่อนําทักษะของสมาชิกทีมที่หลากหลายมาประสานพลัง รวมกัน ในการปฏิบัติงานได้อย่างสร้างสรรค์ รวมทั้งกำหนดมาตรการจูงใจ และกลไกการสนับสนุนการ ฝึกอบรมและร่วมจัดการเรียนรู้ พัฒนาระบบข้อมูลเพื่อการวางแผนและพัฒนากําลังคน ทั้งข้อมูลอุปสงค์ อุปทานของแรงงาน และการเชื่อมโยงกับสมรรถนะตลอดห่วงโซ่การผลิตและห่วงโซ่คุณค่าตามรายอุตสาหกรรม ของการผลิตและบริการเป้าหมาย รวมถึงการเชื่อมโยงระบบสมรรถนะกับค่าจ้าง กำหนดมาตรการในการผลิต


๑๓ กำลังคนแบบเร่งด่วน โดยจัดการศึกษารูปแบบจําลอง ในสาขาที่จําเป็นต่อการพัฒนาประเทศ อาทิ ด้าน ปัญญาประดิษฐ์ และด้านการวิเคราะห์ข้อมูล กลยุทธ์ที่3 การส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต กลยุทธ์ย่อยที่ 3.1 พัฒนาระบบนิเวศเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยส่งเสริมให้ภาคส่วนต่างๆ สร้างและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย โดยกำหนดมาตรการจูงใจที่เหมาะสมเพื่อให้สถาบันการศึกษา หน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่น องค์กรพัฒนาเอกชน ภาคประชาสังคม ภาคเอกชนโดยเฉพาะผู้ประกอบการ startup สร้างและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย มีสาระที่ทันสมัย สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน ทุก กลุ่ม ครอบคลุมทุกพื้นที่ เข้าถึงได้ง่ายทั้งพื้นที่กายภาพ และพื้นที่เสมือนจริง สร้างสื่อการเรียนรู้ที่ไม่ทิ้งใครไว้ ข้างหลัง โดยการสร้างสื่อที่ใช้ภาษาถิ่นเพื่อให้ประชาชนที่ไม่ได้ใช้ภาษาไทยกลางเป็นภาษาหลักเข้าถึงได้ สื่อ ทางเลือกสำหรับผู้พิการทางสายตาและผู้พิการทางการได้ยิน รวมถึงสนับสนุนกลุ่มประชากรที่มีข้อจํากัดทาง เศรษฐกิจให้เข้าถึงสื่อในราคาที่เข้าถึงได้ การพัฒนาระบบธนาคารหน่วยกิต ของประเทศให้เกิดขึ้นอย่างเป็น รูปธรรม ที่สามารถเชื่อมโยงการเรียนรู้ในทุกระดับและประเภททั้งในระบบสายสามัญ สายอาชีพ การศึกษานอก ระบบและตามอัธยาศัย ตั้งแต่มัธยมศึกษา อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา และนอกระบบ เพื่อสร้างความคล่องตัว และเปิดทางเลือกในการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนทุกระดับ กำหนดมาตรการจูงใจให้ประชาชนพัฒนาตนเองด้วยการ เรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยจัดให้มีแหล่งเงินทุนเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต อาทิ การพัฒนาเครดิตการ ฝึกอบรมสำหรับคนทุกกลุ่ม การจัดสรรสิทธิพิเศษในการเข้ารับบริการฝึกอบรม การเข้าชมแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ส่งเสริมให้เอกชนที่ผลิตนวัตกรรมทางการศึกษา จัดทากิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร โดยกาหนด เงื่อนไขการให้ใช้ผลิตภัณฑ์โดยไม่มีค่าใช้จ่าย กลยุทธ์ย่อยที่ 3.2 พัฒนาทางเลือกในการเข้าถึงการเรียนรู้สำหรับผู้ที่ไม่สามารถเรียนใน ระบบการศึกษาปกติโดยจัดทาข้อมูลและส่งเสริมการจัดทำแผนการเรียนรู้ที่มีความยืดหยุ่นและหลากหลาย ของกลุ่มเป้าหมายเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม เพื่อให้ผู้เรียนสามารถวางเส้นทางการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อ จุดมุ่งหมายในอนาคตของตนเอง และสามารถเทียบโอนประสบการณ์ได้ ทั้งนี้ ให้มีการพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ในทุกระดับให้มีความเข้าใจและมีสมรรถนะในการพัฒนาผู้เรียนกลุ่มเป้าหมายพิเศษที่มีความต้องการที่ซับซ้อน นโยบายและแผนแห่งชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ. 2566 - 2570 เป็นแผนระดับที่ 2อีกแผนหนึ่ง รองรับยุทธศาสตร์ชาติ ด้านความมั่นคง จัดทำเพื่อเป็นกรอบทิศทางใน การป้องกัน แจ้งเตือน แก้ไข ระงับยับยั้งภัยคุกคาม เพื่อธํารงไว้ซึ่งความั่นคงแห่งชาติและรักษาผลประโยชน์ แห่งชาติ ซึ่งมิได้จํากัดเฉพาะความมั่นคงของรัฐ แต่รวมถึงความมั่นคงของมนุษย์และการเสริมสร้างความร่วมมือ ระหว่างประเทศทั้งทวิภาคีและพหุภาคี ซึ่ง(ร่าง)นโยบายและแผนแห่งชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ เสนอร่าง โดยสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ และได้กําหนดให้มีหมวดประเด็น 2 หมวดประเด็น คือ หมวดประเด็น ความมั่นคง ซึ่งประกอบด้วย 13 นโยบายและแผนความมั่นคง ได้แก่ 1) การเสริมสร้างความมั่นคงของสถาบัน หลักของชาติ 2) การปกป้องอธิปไตยและผลประโยชน์ของชาติและการพัฒนาศักยภาพการป้องกันประเทศ 3) การรักษาความมั่นคงและผลประโยชน์ของชาติพื้นที่ชายแดน 4) การรักษาความมั่นคงและผลประโยชน์ของ ชาติทางทะเล 5) การป้องกันและแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ 6) การบริหารจัดการผู้หลบหนีเข้าเมือง 7)


๑๔ การป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ 8) การป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติด 9) การป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัย 10) การป้องกันและแก้ไขปัญหาความมั่นคงทางไซเบอร์ 11) การป้องกันและแก้ไข ปัญหาการก่อการร้าย 12) การสร้างดุลยภาพระหว่างประเทศ 13) การบริหารจัดการความเสี่ยงโรคติดต่ออุบัติ ใหม่ และหมวดประเด็นศักยภาพความมั่นคงประกอบด้วย 4 นโยบายและแผนความมั่นคง ได้แก่ 14) การพัฒนา ศักยภาพการเตรียมพร้อมแห่งชาติ และบริหารวิกฤตการณ์ระดับชาติ 15) การพัฒนาระบบข่าวกรองแห่งชาติ 16) การบูรณาการข้อมูลด้านความมั่นคง 17) การเสริมสร้างความมั่นคงเชิงพื้นที่ แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579 เป็นแผนยุทธศาสตร์ด้านการศึกษาระยะยาว โดยมุ่งจัดการศึกษาให้คนไทยทุกคนสามารถเข้าถึงโอกาส และความเสมอภาคในการศึกษาที่มีคุณภาพ พัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพพัฒนากําลังคน ให้มีสมรรถนะในการทำงานที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดงาน และการพัฒนาประเทศเพื่อให้หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาได้นําไปเป็นกรอบและแนวทาง การพัฒนาการศึกษาและการเรียนรู้สำหรับพลเมือง ทุกช่วงวัยตั้งแต่แรกเกิดจนตลอดชีวิต ภายใต้บริบทเศรษฐกิจและสังคมของประเทศและของโลกที่ขับเคลื่อนด้วย นวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ รวมทั้งความเป็นพลวัตเพื่อให้ประเทศไทยสามารถก้าวข้ามกับดักประเทศที่มี รายได้ปานกลางไปสู่ประเทศที่พัฒนาแล้วซึ่งภายใต้กรอบแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579 ได้กำหนด สาระสำคัญสำหรับบรรลุเป้าหมายของการพัฒนาการศึกษาใน 5 ประการ ได้แก่ การเข้าถึงโอกาสทางการศึกษา (Access) ความเท่าเทียมทางการศึกษา (Equity) คุณภาพการศึกษา (Quality) ประสิทธิภาพ (Efficiency) และ ตอบโจทย์บริบทเปลี่ยนแปลง (Relevancy) ในระยะ 20 ปีข้างหน้า และมียุทธศาสตร์ 6 ประการ คือ 1) การ จัดการศึกษาเพื่อความมั่นคงของสังคม และประเทศชาติ 2) การผลิตและพัฒนากําลังคน การวิจัยและนวัตกรรม เพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ 3) การพัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงวัย และการสร้างสังคม แห่งการเรียนรู้ 4) การสร้างโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการศึกษา 5) การจัดการศึกษาเพื่อ สร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 6) การพัฒนาประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการศึกษาและ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติได้กำหนด ประเด็นการพัฒนาไว้ 23 ประเด็น มีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา โดยเฉพาะ คือ ประเด็นที่ 11การพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต และประเด็นที่ 12 การพัฒนาการเรียนรู้ นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 กระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศนโยบายและจุดเน้นประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ใน 7 เรื่อง ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้แก่ 1) การจัดการศึกษาเพื่อความปลอดภัย โดยเร่งสร้าง ความปลอดภัยให้สถานศึกษา ป้องกันสถานศึกษาจากภัยคุกคามในชีวิตรูปแบบใหม่ และอื่นๆ เร่งปลูกฝังทัศนคติ พฤติกรรม และองค์ความรู้บูรณาการในกระบวนการจัดการเรียนรู้ เสริมสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ ความตระหนัก และส่งเสริมคุณลักษณะและพฤติกรรมที่พึงประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อม เร่งพัฒนาบทบาทและภารกิจของหน่วยงาน ด้านความปลอดภัย ให้คล่องตัวและมีประสิทธิภาพ 2) การยกระดับคุณภาพการศึกษา โดยส่งเสริมสนับสนุนให้ สถานศึกษานําหลักสูตรฐานสมรรถนะ ไปสู่การปฏิบัติอย่างเต็มรูปแบบ จัดการเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริง พัฒนาและบูรณาการกระบวนการจัดการเรียนรู้และวัดประเมินผลฐานสมรรถนะ พัฒนาทักษะดิจิทัล


๑๕ และภาษาคอมพิวเตอร์ พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง และศีลธรรมจัดการ เรียนรู้ตามความสนใจรายบุคคลของผู้เรียน ผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์มที่หลากหลาย ส่งเสริมการให้ความรู้และทักษะ ด้านการเงินและการออมให้กับผู้เรียน ส่งเสริมสนับสนุนสถานศึกษาให้มีการนําผลการทดสอบทางการศึกษา แห่งชาติ ไปใช้ในการวางแผนพัฒนาการจัดการเรียนการสอน 3) การสร้างโอกาส ความเสมอภาค และความเท่า เทียมทางการศึกษาทุกช่วงวัย โดยพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศของนักเรียนเป็นรายบุคคล ส่งเสริมสนับสนุนเด็ก ปฐมวัยที่มีอายุตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไปทุกคน เข้าสู่ระบบการศึกษาเพื่อรับการพัฒนาอย่างรอบด้าน มีคุณภาพ พัฒนา ข้อมูลและทางเลือกที่หลากหลายให้กับผู้เรียนกลุ่มเป้าหมายพิเศษ และกลุ่มเปราะบาง รวมทั้งกลุ่ม NEETs ในการ เข้าถึงการศึกษา การเรียนรู้ และการฝึกอาชีพอย่างเท่าเทียม 4) การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพและเพิ่มขีด ความสามารถในการแข่งขัน โดยพัฒนาสมรรถนะอาชีพที่สอดคล้องกับความถนัด ความสนใจโดยการ Re-skill Up-skill และ New skill 5) การส่งเสริมสนับสนุนวิชาชีพครู บุคลากรทางการศึกษา และบุคลากรสังกัด กระทรวงศึกษาธิการ โดยส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินการ พัฒนาสมรรถนะทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัลตามกรอบ ระดับสมรรถนะดิจิทัล สำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พัฒนาครูให้มีความพร้อม ด้านวิชาการและทักษะการจัดการเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ รวมทั้งให้ เป็นผู้วางแผนเส้นทางการเรียนรู้ การประกอบอาชีพ และการดำเนินชีวิตของผู้เรียนได้ตามความสนใจและความ ถนัดของแต่ละบุคคล พัฒนาขีดความสามารถของข้าราชการพลเรือนในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ให้มีสมรรถนะ ที่สอดคล้องและเหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและการเปลี่ยนแปลงของโลกอนาคต 6) การพัฒนาระบบ ราชการและการบริการภาครัฐยุคดิจิทัล โดยขับเคลื่อนการพัฒนาระบบราชการ 4.0 ด้วยนวัตกรรม และการนํา เทคโนโลยีดิจิทัลมาเป็นกลไกหลัก ในการดําเนินงาน การเชื่อมโยงและการแบ่งปันข้อมูล การส่งเสริมความร่วมมือ บูรณาการกับภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกปรับปรุงประสิทธิภาพของเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศให้ สามารถใช้งานเครือข่ายสื่อสารข้อมูลเชื่อมโยงหน่วยงานภาครัฐได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อรองรับระบบราชการ 4.0 สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้ในทุกเวลา ทุกสถานที่ ทุกอุปกรณ์และทุกช่องทาง ปรับปรุง ระบบการจัดสรรงบประมาณและทรัพยากรทางการศึกษา โดยยึดหลักความจําเป็นและใช้พื้นที่เป็นฐาน ที่มุ่งเน้น การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนเป็นสำคัญ นําเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในระบบการคัดเลือกข้าราชการครูและบุคลากร ทางการศึกษาในตำแหน่งและสายงานต่าง ส่งเสริมสนับสนุนการดําเนินงานของส่วนราชการให้เป็นไปตามกลไก การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดําเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ และ 7) การขับเคลื่อนกฎหมาย การศึกษาและแผนการศึกษาแห่งชาติ โดยเร่งรัดการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองและแผนการศึกษา แห่งชาติเพื่อรองรับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติควบคู่กับการสร้างการรับรู้ให้กับประชาชนได้รับทราบอย่าง ทั่วถึง นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตระหนักถึงนโยบายด้านการศึกษา ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญยิ่ง ในการพัฒนาประเทศให้บรรลุเป้าหมายอย่างยั่งยืน เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วในทุกด้าน ดังนั้น เพื่อให้การ ดำเนินการเกิดผลสัมฤทธิ์และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนการปฏิรูป ประเทศร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 และแผนอื่นๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับสำนักงาน


๑๖ คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงกำหนดนโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปี งบประมาณพ.ศ. 2566 เป็น 4 ด้าน ได้แก่ ด้านความปลอดภัย ด้านโอกาส ด้านคุณภาพ และด้านประสิทธิภาพ และกำหนดจุดเน้นใน 9 เรื่อง ดังนี้ นโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 1. ด้านความปลอดภัย 1.1 พัฒนาสถานศึกษาให้เป็นพื้นที่ปลอดภัยของผู้เรียนทุกคน พร้อมเสริมสร้างระบบและ กลไกในการดูแลความปลอดภัยอย่างเข้มข้น ให้กับผู้เรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา จากโรคภัยต่าง ๆ ภัย พิบัติและภัยคุกคามทุกรูปแบบ 1.2 ส่งเสริมการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะที่ดีและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 1.3 สร้างภูมิคุ้มกัน การรู้เท่าทันสื่อและเทคโนโลยี ในการดำเนินชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) และชีวิตวิถีปกติต่อไป (Next Normal) 2. ด้านโอกาสและลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา 2.1 ส่งเสริม สนับสนุน ให้เด็กปฐมวัยที่มีอายุ 3 - 6 ปีทุกคน เข้าสู่ระบบการศึกษาสร้าง สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้และการดูแลปกป้อง เพื่อให้มีพัฒนาการครบทุกด้าน โดยการมีส่วนร่วมของ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2.2 จัดการศึกษาให้ผู้เรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้เข้าถึงโอกาส ความเสมอภาค และได้รับการพัฒนาให้มีสมรรถนะสำหรับการศึกษาต่อ และการประกอบอาชีพในอนาคตให้สอดคล้องกับความ ต้องการของตลาดงานและการพัฒนาประเทศ 2.3 จัดการศึกษาให้ผู้เรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้เข้าถึงโอกาส ความเสมอภาค และ ได้รับโอกาสในการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ 2.4 ส่งเสริมเด็กพิการและเด็กด้อยโอกาส ให้ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพและจัดหาทางเลือก ในการเข้าถึงการเรียนรู้ การฝึกอาชีพ เพื่อให้ทักษะในการดำเนินชีวิต สามารถพึ่งตนเองได้ 2.5 พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นรายบุคคล เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการบริหารจัดการศึกษา โดยเฉพาะการดูแลและป้องกันไม่ให้นักเรียนออกจาก ระบบการศึกษา และช่วยเหลือเด็กตกหล่น เด็กออกกลางคันให้กลับเข้าสู่ระบบ 3. ด้านคุณภาพ 3.1 ส่งเสริม สนับสนุน สถานศึกษาที่มีความพร้อม ให้นําหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้พื้นฐาน ที่เน้นสมรรถนะไปใช้ตามศักยภาพของสถานศึกษา ให้สามารถออกแบบหลักสูตรที่เหมาะสมกับความต้องการและ บริบท 3.2 พัฒนาผู้เรียนให้เกิดสมรรถนะที่เหมาะสมตามช่วงวัย สามารถจัดการตนเอง มีการคิดขั้นสูง มีความสามารถในการสื่อสาร สามารถจัดระบบและกระบวนการทำงานของตนเองและร่วมกับผู้อื่นโดยใช้การรวม พลังทำงานเป็นทีม เป็นพลเมืองที่ดี มีศีลธรรม และอยู่ร่วมกับธรรมชาติและวิทยาการอย่างยั่งยืนรวมทั้งมีความ จงรักภักดีต่อสถาบันหลักของชาติ ยึดมั่นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุข


๑๗ 3.3 จัดการศึกษาให้ผู้เรียนมีทักษะที่จําเป็นในศตวรรษที่ 21 นําไปสู่การมีอาชีพ มีงานทำ และส่งเสริมความเป็นเลิศของผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน 3.4 ส่งเสริม และพัฒนาระบบการวัดและประเมินผลคุณภาพผู้เรียน ให้ควบคู่การเรียนรู้ นําไปสู่การพัฒนาการเรียนรู้และสมรรถนะของผู้เรียนเป็นรายบุคคล รวมทั้งส่งเสริมการนําระบบธนาคารหน่วยกิต มาใช้ในการเทียบโอนผลการเรียนรู้และประสบการณ์ต่าง ๆ ของผู้เรียนในสถานศึกษา 3.5 พัฒนา ส่งเสริม ผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา รวมทั้งบุคลากรสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้มีสมรรถนะตามมาตรฐานตำแหน่ง และมาตรฐานวิชาชีพ 4. ด้านประสิทธิภาพ 4.1 เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษา โดยการกระจายอำนาจและใช้พื้นที่เป็นฐาน ที่มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนเป็นสำคัญ ตามหลักธรรมาภิบาล 4.2 นําเทคโนโลยีดิจิทัลและการจัดการฐานข้อมูล มาใช้เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหาร จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน และการเรียนรู้ของผู้เรียน 4.3 ส่งเสริม สนับสนุน การพัฒนาโรงเรียนคุณภาพ ใช้พื้นที่เป็นฐาน ใช้นวัตกรรมในการ ขับเคลื่อนบริหารจัดการโดยใช้ทรัพยากรร่วมกัน และแสวงหาการมีส่วนร่วมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกระดับ เพื่อให้ประสบผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม 4.4 ส่งเสริม สนับสนุน การจัดการศึกษาที่มีคุณภาพในโรงเรียนที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะ โรงเรียน ที่ตั้งในพื้นที่ลักษณะพิเศษ และโรงเรียนในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา 4.5 เพิ่มประสิทธิภาพการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา และปรับกระบวนการนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้สอดรับกับชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) และชีวิตวิถีปกติต่อไป (Next Normal) จุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จุดเน้นที่ 1 เร่งแก้ปัญหากลุ่มผู้เรียนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงการศึกษา ฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ (Learning Loss Recovery) ให้กับผู้เรียนทุกระดับ รวมทั้งลดความเครียดและสุขภาพจิตของผู้เรียน จุดเน้นที่ 2 เสริมสร้างระบบและกลไกในการดูแล ความปลอดภัยนักเรียน ด้วยระบบมาตรฐาน ความปลอดภัยกระทรวงศึกษาธิการ (MOE Safety Platform) จุดเน้นที่ 3 ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยที่มีอายุ 3 - 6 ปี และผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เข้าถึงโอกาสทางการศึกษา และป้องกันการหลุดออกจากระบบ รวมทั้งช่วยเหลือเด็กตกหล่น เด็กออกกลางคัน และเด็กพิการ ที่ค้นพบจากการปักหมุดบ้านเด็กพิการ ให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษา จุดเน้นที่ 4 พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่เน้นสมรรถนะ และการจัดทำกรอบหลักสูตร รวมทั้ง จัดกระบวนการเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมืองและศีลธรรม ให้เหมาะสมตามวัยของผู้เรียน


๑๘ จุดเน้นที่ 5 จัดการอบรมครูโดยใช้พื้นที่เป็นฐานควบคู่กับการให้ความรู้ด้านการวางแผนและการสร้างวินัย ด้านการเงินและการออม เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินครู จุดเน้นที่ 6 ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ ผ่านกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม และมีปฏิสัมพันธ์ กับกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติ ที่หลากหลายรูปแบบ (Active Learning) มีการวัด และประเมินผล เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน (Assessment for learning) เพื่อให้เกิดสมรรถนะกับผู้เรียนทุก ระดับ จุดเน้นที่ 7 ยกระดับคุณภาพของนักเรียนประจำพักนอน สำหรับโรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่สูงห่างไกล และ ถิ่นทุรกันดาร จุดเน้นที่ 8 มุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ทุกระดับ จุดเน้นที่ 9 เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษา โดยการกระจายอำนาจและใช้พื้นที่เป็นฐานเพื่อ สร้างความเข้มแข็ง โดยการจัดสรรกรอบวงเงินงบประมาณ (Block Grant) ตามหลักธรรมาภิบาล ให้กับ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา แผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดนครสวรรค์ (พ.ศ. 2566-2570) วิสัยทัศน การบริหารตามหลักธรรมมาภิบาล มุ่งพัฒนาคุณภาพการศึกษา ใชเทคโนโลยีอย่างสรรค์สรรค สืบสานวัฒนธรรม นอมนําศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน พันธกิจ 1. สงเสริม สนับสนุน ประชากรทุกระดับใหไดรับการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึงและเทาเทียม 2. สงเสริม สนับสนุน และพัฒนาผู้เรียนใหมีทักษะการเรียนรูในศตวรรษที่ 21 3. สงเสริม สนับสนุน และพัฒนาทักษะด้านแรงงาน เป็นแรงงานสมรรถนะสูง ตรงกับความตองการ ของตลาดแรงงาน 4. สงเสริมศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาด้านเทคโนโลยีทางการศึกษา 5.สงเสริมใหผู้เรียนสามารถใชเทคโนโลยีได้อย่างถูกตองและสร้างสรรค์เกิดประโยชนตอตนเองและสังคม 6. สงเสริมสถานศึกษาจัดการเรียนรูที่สืบสานวัฒนธรรม น้อมนำศาสตร์พระราชาสู่การปฏิบัติ 7. สงเสริมภาคีเครือขายทุกภาคสวน มีสวนร่วมในการบริหารและการจัดการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ ตามหลักธรรมาภิบาล เป้าประสงค 1. ประชากรไดรบั โอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพทุกระดับ ทุกประเภท อย่างต่อเนื่องและพอเพียง 2. ผู้เรียนมีทักษะการเรียนรในศตวรรษที่21 3. ผู้เรียนมีทักษะทางอาชีพ เป็นแรงงานที่มีคุณภาพ ตรงตามมาตรฐานแรงงาน 4. ผู้เรียนสามารถใชเทคโนโลยีได้อย่างถูกตองและสร้างสรรค์เกิดประโยชนตอตนเองและสังคม 5. ครูและบุคลากรทางการศึกษามีสมรรถนะในด้านเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอนอยางมี


๑๙ ประสิทธิภาพ 6. ผู้เรียนได้เรียนรู้สืบสานวัฒนธรรมที่สำคัญของทองถิ่น และนอมนำศาสตร์พระราชามาใชใน การดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข 7. สถานศึกษาและสถาบันการศึกษาไดรับการพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา และภาคีเครือข่าย ทุกภาคสวนมีสวนร่วม ในการจัดการศึกษาอย่างยั่งยืน ประเด็นยุทธศาสตร์ 1. การจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคง 2. การสรางขีดความสามารถในการแขงขันของจังหวัดและประเทศ 3. การพัฒนาศักยภาพคนทุกชวงวัยใหมีคุณภาพ และสงเสริมการเรียนรูตลอดชีวิต 4. การสรงโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา 5. การจัดการศึกษาเพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดลอม 6. การพัฒนาการบริหารและการจัดการศึกษาใหมีประสิทธิภาพ ตัวชี้วัดและคาเป้าหมาย ยุทธศาสตร์ที่ 1 การจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคง เป้าหมาย 1. ผู้เรียนมีความจงรักภักดีตอสถาบันหลักของชาติ และเลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีคุณธรรม จริยธรรม ในการดำเนินชีวิต 2. ผู้เรียนได้รับการศึกษาที่สามารถสรงเสริมภูมิคุ้มกันจากภัยคุกคามในรูปแบบใหม่ แนวทางการพัฒนา 1. สงเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความจงรักภักดีตอสถาบันหลักของชาติ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 2. สงเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และนําแนวคิดตามหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สูการปฏิบัติในการดำเนินชีวิต 3. สงเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาเพื่อปองกันและแกไขปญหาภัยคุกคามในรูปแบบใหม่เชน อาชญากรรมและความรุนแรงในรูปแบบต่างๆ ยาเสพติด ภัยพิบัติจากธรรมชาติ ภัยโรคอุบัติใหม่ภัยจากไซเบอร์ เป็นต้น ยุทธศาสตร์ที่ 2 การสรางขีดความสามารถในการแขงขันของจังหวัดและประเทศ เป้าหมาย 1. หน่วยงานทางการศึกษาพัฒนาศักยภาพในการพัฒนาองคความรูนวัตกรรม 2. สงเสริมและพัฒนาผู้เรียนใหมีทักษะและสมรรถนะทางอาชีพที่มีคุณภาพสูง ตรงกับความตองการ ของตลาดแรงงาน แนวทางการพัฒนา 1. สงเสริมพัฒนาสื่อการเรียนรูผานเทคโนโลยีที่เหมาะสมตอการเขาถึงและพัฒนาการเรียนรู อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต


๒๐ 2. ผลิตและพัฒนากําลังคนใหมีสมรรถนะในสาขาที่ตรงตามความตองการของตลาดแรงงานและการ พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ 3. สงเสริมและพัฒนาผู้เรียนใหมีคุณภาพและมีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาศักยภาพคนทุกชวงวัยใหมีคุณภาพ และสงเสริมการเรียนรูตลอดชีวิต เป้าหมาย 1. หน่วยงานทางการศึกษาทุกระดับ ทุกประเภท จัดการศึกษาและกระบวนการเรียนรูตามหลักสูตร อย่างมีคุณภาพและมาตรฐาน 2. ผู้เรียนมีทักษะการเรียนรูในศตวรรษที่ 21 สมรรถนะตามมาตรฐานการศึกษา และมาตรฐาน วิชาชีพ สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตไดเต็มตามศักยภาพ แนวทางการพัฒนา 1. สงเสริม สนับสนุนใหคนทุกชวงวัยมีทักษะ ความรูความสามารถ และการพัฒนาคุณภาพชีวิต อย่างเหมาะสม เต็มตามศักยภาพในแต่ละช่วงวัย 2. พัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่สงผลตอการพัฒนาทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ด้วยรูปแบบที่หลากหลาย 3. สงเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษาผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลและเครือข่ายสังคมรูปแบบต่างๆเพื่อสร้าง สังคมแหงการเรียนรูและการเรียนรตลอดชีวิตของคนทุกชวงวัย ยุทธศาสตร์ที่ 4 การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา เป้าหมาย 1. หน่วยงานทางการศึกษาทุกระดับ ทุกประเภท จัดการศึกษาและกระบวนการเรียนรูตามหลักสูตร อย่างมีคุณภาพและมาตรฐาน 2. ผู้เรียนได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างทั่วถึงและเสมอภาคตามศักยภาพด้วยรูปแบบที่หลากหลาย แนวทางการพัฒนา 1. สร้างโอกาสการจัดการศึกษาทุกระบบ (ในระบบ นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย) ใหผูเรียน สามารถเขาถึงการเรียนรูอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตทุกบริบทพื้นที่ 2. ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ยุทธศาสตร์ที่ 5 การจัดการศึกษาเพื่อคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดลอม เป้าหมาย หน่วยงานและสถานศึกษามีการสงเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดลอม แนวทางการพัฒนา สงเสริมสนับสนุนการสร้างสังคมคุณภาพชีวิตจิตสํานึกรักษสิ่งแวดลอม ยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาการบริหารและการจัดการศึกษาใหมีประสิทธิภาพ เป้าหมาย 1. หน่วยงานทางการศึกษาและสถานศึกษา พัฒนาการจัดการศึกษาและพัฒนาระบบบริหารได้อย่างมี ประสิทธิภาพ


๒๑ 2. การจัดการศึกษาตอบสนองความตองการของผู้เรียนและประชาชนในทุกพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ โดยภาคีเครือขายทุกภาคสวนมีสวนร่วมสนับสนุนการจัดการศึกษา แนวทางการพัฒนา 1. พัฒนาระบบบริหารจัดการศึกษาและองคกรตามหลักธรรมาภิบาล 2. สงเสริมใหทุกภาคสวนเขามามีสวนร่วมในการจัดการศึกษา ส่วนที่ 3


๒๒ สาระสำคัญแผนพัฒนาการศึกษา 1. การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมขององค์กร (SWOT Analysis) 1.1 สภาพแวดล้อมภายนอกสถานศึกษา สภาพแวดล้อมภายนอกของโรงเรียนชุมชนวัดบ้านหว้า“ประชาประสาทวิทย์” จาก 4 ปัจจัย คือ 1.1.1 ปัจจัยด้านสังคมและวัฒนธรรม ที่ตั้งของโรงเรียนอยู่ในชนบท และสภาพแวดล้อมทางกายภาพ เป็นชุมชนขนาดเล็ก แนวโน้มของประชากรที่จะต้องได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่บริการ มีจำนวนลด น้อยลง เนื่องจากอัตราการเกิดของเด็กและค่านิยมของผู้ปกครองในการส่งเด็กเข้าไปเรียนในโรงเรียนยอดนิยม ภายในตัวเมืองทำให้จำนวนนักเรียนในสถานศึกษามีจำนวนน้อยลง ผู้ปกครองและชุมชน ให้ความสำคัญต่อการ จัดกิจกรรมการศึกษาของโรงเรียน ทำให้การดำเนินงานต่างๆเป็นไปด้วยความราบรื่น ถือได้ว่าปัจจัยด้านสังคมและ วัฒนธรรมเป็นปัจจัยที่ เป็นโอกาสมากกว่าอุปสรรคต่อการดำเนินภารกิจของโรงเรียน กล่าวคือคณะกรรมการ สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้นำชุมชน ผู้ปกครองเห็นความสำคัญของการศึกษา สนับสนุนการจัดกิจกรรมต่างๆ โรงเรียน จึงจัดการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้ง ผู้ปกครองมีการประกอบอาชีพต่างๆอย่างหลากหลาย สามารถใช้เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นให้นักเรียนได้ศึกษาและเรียนรู้จากประสบการณ์จริง ส่วนปัจจัยที่เป็นอุปสรรคใน การจัดการศึกษาคือ ผู้ปกครองบางส่วนมีอาชีพที่ไม่มั่นคง มีฐานะยากจน ครอบครัวหย่าร้างและต้องย้ายที่อยู่ เพื่อประกอบอาชีพบ่อยๆ ทำให้นักเรียน เรียนไม่ต่อเนื่อง บางส่วนต้องอยู่กับญาติพี่น้อง ส่งผลกระทบต่อ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนโดยรวม ตลอดจนปัญหาด้านสังคมที่ทำให้ นักเรียนอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการเกี่ยวข้อง เช่น ปัญหายาเสพติด ปัญหาการพนัน ปัญหาการติดเกม เป็นต้น 1.1.2 ปัจจัยทางด้านเทคโนโลยี โครงสร้างพื้นฐานและการแพร่กระจายของเทคโนโลยีในชุมชนไม่ว่า จะเป็นโทรศัพท์ ไฟฟ้า เครือข่ายการสื่อสารและอินเทอร์เน็ต ทำให้การเข้าถึงเทคโนโลยีของนักเรียนและ ผู้ปกครองทำได้ง่ายและสะดวก ตลอดจนความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสามารถนำมาใช้ ประโยชน์ทั้งในการบริหารจัดการ การให้บริการและการพัฒนาการศึกษาให้มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น สามารถช่วยลดความซ้ำซ้อนในการปฏิบัติงาน เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ประสิทธิภาพในการติดต่อสื่อสาร รวดเร็วขึ้น โดยไม่มีข้อจำกัดด้านสถานที่และเวลา สำหรับด้านการศึกษา สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ ของนักเรียน การให้บริการแก่ผู้ปกครอง ประชาชน ชุมชนและสังคม ให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อ การพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิต เป็นปัจจัยที่เป็นโอกาสต่อการดำเนินภารกิจของโรงเรียนเป็นอย่างมาก โดย โรงเรียนได้ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีมาพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของนักเรียนให้เกิดประสิทธิภาพตอบสนองต่อ ความต้องการของผู้ปกครองชุมชนและสังคม ที่ต้องการให้นักเรียนได้เรียนรู้และทันต่อความก้าวหน้าทาง เทคโนโลยีเพื่อโอกาสที่ดีในอนาคต ประกอบกับการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ามาร่วมจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ทำให้ เกิดการเรียนรู้และประสบการณ์ต่างๆอย่างหลากหลาย ส่วนปัจจัยที่เป็นอุปสรรค คือ ระบบสัญญาณของเครือข่าย ผู้ให้บริการไม่เสถียรทำให้สัญญาณอินเตอร์เน็ตไม่ดีพอ นอกจากนี้ การซ่อมบำรุง วัสดุ อุปกรณ์ ด้านเทคโนโลยี มี ราคาค่อนข้างสูงทำให้การดำเนินการมีค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก 1.1.3 ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ ภาวะทางเศรษฐกิจและฐานะทางเศรษฐกิจ ได้แก่ รายได้ของ ผู้ปกครองและประชากรกลุ่มเป้าหมาย ผู้ปกครอง นักเรียนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป มีผู้ปกครองส่วน หนึ่งอพยพมาจากต่างจังหวัดเพื่อมารับจ้างทำงาน การกระจายรายได้ในชุมชนจึงเป็นไปในลักษณะที่มีนายจ้างและ ลูกจ้าง แหล่งทรัพยากรทางเศรษฐกิจที่เอื้ออำนวยต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนคือ ภาวะของการมีงานทำ/ การว่างงานของผู้ปกครอง/ครัวเรือน กลุ่มเป้าหมายความต้องการของตลาดแรงงานและช่องทางการประกอบ อาชีพ เป็นปัจจัยที่เป็นโอกาสในการจัดการศึกษา ประกอบกับนโยบายเรียนฟรี 15 ปี ไม่เสียค่าใช้จ่ายของ


๒๓ รัฐบาล ทำให้แบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของผู้ปกครอง นักเรียนมีโอกาสมากขึ้น ผู้ปกครองส่วนใหญ่ มีฐานะทาง เศรษฐกิจในระดับยากจนถึงปานกลาง จึงช่วยส่งเสริมและสนับสนุนด้านสื่อ อุปกรณ์ อาคารสถานที่ ที่เอื้อต่อ การจัดการเรียนการสอนและการดำเนินการของโรงเรียนได้ไม่มากนัก ส่วนอุปสรรคในการดำเนินงานคือ งบประมาณที่ได้รับการจัดสรรจากรัฐในการจัดการศึกษามีจำนวนจำกัดและผู้ปกครองมีฐานะยากจน 1.1.4 ปัจจัยทางด้านการเมืองและกฎหมาย เป็นปัจจัยที่ เป็นโอกาสต่อการดำเนินงานของโรงเรียน เป็นอย่างมากเพราะ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ .ศ. 2542 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2545 และ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2553 ทำให้ครูมีการพัฒนาตนเองและจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลายมากขึ้น นักเรียนได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ ตลอดจนการได้รับการสนับสนุนในด้านต่างๆจากองค์กรส่วนท้องถิ่น และชุมชน อันเนื่องมาจากพระราชบัญญัติการกระจายอำนาจส่งผลให้เกิดการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพในการ จัดการศึกษามากยิ่งขึ้น ส่วนอุปสรรคในการดำเนินงานตามภารกิ จ คือ ความไม่ต่อเนื่องของนโยบายจัด การศึกษาเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหารจัดการศึกษาและการปฏิรูปการศึกษาที่ยังไม่แล้วเสร็จ ผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกตามปัจจัย 4 ด้าน ดังกล่าวข้างต้น สรุปได้ว่า โรงเรียนชุมชน วัดบ้านหว้า“ประชาประสาทวิทย์” มีปัจจัยที่เป็นโอกาสมากกว่าปัจจัยที่เป็นอุปสรรค กล่าวคือ มีความพร้อมใน การจัดการศึกษา โดยได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจากชุมชนและหน่วยงานต้นสังกัด สามารถพัฒนาคุณภาพ ของผู้เรียนให้เกิดผลตามเป้าหมายของโรงเรียน แต่ก็ยังมีอุปสรรคอยู่ บ้างคือ การเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมและ วัฒนธรรม เทคโนโลยีการสื่อสาร ทำให้พฤติกรรมของเยาวชนปรับเปลี่ยนตามไปด้วย 1.2 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในสถานศึกษา สภาพแวดล้อมภายในสถานศึกษาโรงเรียนชุมชนวัดบ้านหว้า“ประชาประสาทวิทย์” พิจารณาจากจุดแข็ง และจุดอ่อน จาก 6 ปัจจัย ดังนี้ 1.2.1 ปัจจัยทางด้านโครงสร้างและนโยบาย เป็นจุดแข็งมากกว่าจุดอ่อน กล่าวคือ โรงเรียน ชุมชนวัดบ้านหว้า“ประชาประสาทวิทย์” มีการบริหารงาน กำหนดวิสัยทัศน์ นโยบาย เป้าหมาย และภารกิจที่ ชัดเจน ทำให้บุคลากรมีการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ เน้นการทำงานเป็นหมู่คณะ ทุกคนมีส่วนร่วมรับผิดชอบ สร้างขวัญและกำลังใจลดการขัดแย้ง ทำให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพ แต่ยังมีจุดอ่อนอยู่ บ้างในเรื่องของการ ปฏิบัติตามนโยบายบางส่วน ยังไม่ได้ประสิทธิภาพตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ เนื่องจากการมีครู จำนวนจำกัดและมี ความจำเป็นที่ครูส่วนหนึ่งต้องทำการสอนไม่ตรงกับสาขาวิชาเอก แต่ก็ได้รับการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน อย่างต่อเนื่อง ตลอดจนต้องปฏิบัติหน้าที่อื่นๆไม่เกี่ยวกับการเรียนการสอนควบคู่ไปด้วย 1.2.2 ปัจจัยด้านผลผลิตและการให้บริการ ถือว่าเป็นจุดแข็ง มากกว่าจุดอ่อน กล่าวคือ คุณภาพ ของนักเรียนซึ่งถือว่าเป็นผลผลิตจากการให้บริการโดยเฉลี่ยมีคุณภาพตามมาตรฐาน นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์และ ผลการทดสอบระดับชาติอยู่ ในเกณฑ์ที่ น่าพึงพอใจ อัตราการเรียนต่อของนักเรียนในระดับที่ สูงขึ้น ผู้ปกครองพึงพอใจ รวมไปถึงการให้บริการทางด้านปริมาณ ถือว่า เป็นจุดแข็ง เนื่องจากสามารถให้บริการได้ ครอบคลุมพื้นที่เขตบริการ และประชากรทุกกลุ่มเป้าหมาย จุดอ่อนอยู่ที่จำนวนนักเรียนในเขตพื้นที่บริการมีน้อย เนื่องจากประชากรวัยเรียนลดลง ค่านิยมการเข้าไปเรียนในโรงเรียนยอดนิยม การประกอบอาชีพและการอพยพ ย้ายถิ่นของผู้ปกครอง เป็นต้น 1.2.3 ปัจจัยด้านบุคลากร เป็นปัจจัยที่ มีจุดแข็งมากกว่าจุดอ่อนเนื่องจากผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ สามารถบริหารจัดการครูและบุคลากรให้จัดการเรียนการสอนแก่นักเรียนได้อย่างเต็มศักยภาพ ครูและบุคลากร ทางการศึกษามีความรู้ความสามารถเฉพาะด้านและมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง สามารถจัดกระบวนการ เรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 1.2.4 ปัจจัยด้านการเงิน เป็นปัจจัยที่มีจุจุดแข็งมากกว่าจุดอ่อน กล่าวคือ ผู้บริหารโรงเรียน


๒๔ มีความสามารถในการบริหารงบประมาณและการเงินแบบมุ่งเน้นผลงาน ทำให้เกิดความโปร่งใส คล่องตัว ตรง ตามความต้องการของนักเรียน ผู้ปกครองและครู มีการจัดทำบัญชีการเงินอย่างเป็นระบบ ทำให้สะดวกต่อการ ค้นหาและตรวจสอบได้ มีการระดมทรัพยากรเพื่อใช้ในการบริหารจัดการศึกษาอย่างต่อเนื่อง 1.2.5 ปัจจัยด้านวัสดุอุปกรณ์ มีจุดแข็งมากกว่าจุดอ่อน คือ การสำรวจความต้องการวัสดุอุปกรณ์ อย่างมีระบบส่งผลให้ครูผู้สอนได้รับวัสดุอุปกรณ์ตามที่ต้องการอย่างมีคุณภาพ การจัดสถานที่แหล่งเรียนรู้ภายใน สถานศึกษาที่พร้อมสำหรับจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเป็นอย่างดี ส่วนที่เป็นจุดอ่อนคือ วัสดุ ครุภัณฑ์ บางอย่างต้องใช้งบประมาณการซ่อมบำรุง ดูแลรักษาเป็นจำนวนมาก เช่น ระบบเครือข่ายสัญญาณอินเทอร์เน็ต เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องปริ๊นเตอร์ เป็นต้น 1.2.6 ปัจจัยด้านการบริหารจัดการ มีจุดแข็งมากกว่าจุดอ่อน คือ โรงเรียนมีการมอบอำนาจและ หน้าที่ทำให้ลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน มีการจัดทำแผนปฏิบัติการและโครงการประกอบการบริหารงานทั้งระยะสั้น และระยะยาว ทำให้บุคลากรปฏิบัติงานได้ตรงตามเป้าหมาย คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีส่วนร่วมใน การวางแผนการจัดการศึกษาทุกขั้นตอน ผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน ตามปัจจัยทั้ง 6 ด้านข้างต้น สรุปได้ว่าโรงเรียนชุมชนวัดบ้าน หว้า“ประชาประสาทวิทย์” มีจุดแข็งมากกว่าจุดอ่อน กล่าวคือ คุณภาพของนักเรียนซึ่งถือว่าเป็นผลผลิตจาก การให้บริการโดยเฉลี่ยมีคุณภาพตามมาตรฐานนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์และผลการทดสอบระดับชาติอยู่ในเกณฑ์ที่น่า พึงพอใจ อัตราการศึกษาต่อของนักเรียนในระดับที่ สูงขึ้น ผู้ปกครองพึงพอใจ มีการบริหารและปฏิบัติงานอ ย่าง เป็นระบบ บุคลากร มีความสามารถเฉพาะด้าน การบริหารงบประมาณตรงตามความต้องการของการจัด การศึกษา มีความพร้อมในด้านวัสดุ อุปกรณ์ และสามารถระดมทุนทรัพยากรต่างๆมาสนับสนุนกิจกรรมการ เรียนการสอนได้เป็นอย่างดี แต่มีจุดอ่อนคือ จำนวนประชากรวัยเรียนลดลง งบประมาณได้รับการจัดสรรตาม จำนวนนักเรียน ทำให้มีผลกระทบต่อการจัดเรียนการสอนพอสมควร 1.3 การประเมินสถานภาพของโรงเรียนชุมชนวัดบ้านหว้า“ประชาประสาทวิทย์” จากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกและภายในของโรงเรียนชุมชนวัดบ้านหว้า“ประชา ประสาทวิทย์” ที่ได้นำเสนอไปในเบื้องต้นแล้วนั้น กล่าวโดยสรุปว่า โรงเรียนชุมชนวัดบ้านหว้า“ประชา ประสาทวิทย์” มีปัจจัยที่เป็นโอกาสจากสภาพแวดล้อมภายนอกที่เอื้อต่อการดำเนินภารกิจในการจัดการศึกษา ของโรงเรียนได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะการส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมต่างๆจากคณะกรรมการสถานศึกษาขั้น พื้นฐาน ผู้ปกครอง ชุมชนและองค์กรส่วนท้องถิ่น ปัจจัยที่เป็นอุปสรรค คือ การเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมและ วัฒนธรรม ประชากรวัยเรียนลดลง ผู้ปกครองมีฐานะยากจน ครอบครัวหย่าร้าง ส่งผลกระทบต่อการเรียนของ นักเรียน และผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในมีจุดแข็งมากกว่าจุดอ่อน กล่าวคือ นักเรียนมีคุณภาพตาม มาตรฐาน มีการบริหารและปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ ครูและบุคลากรทางการศึกษามีศักยภาพต่อการจัดการ เรียนรู้ แต่มีจุดอ่อนคือ ข้าราชการครูส่วนใหญ่อยู่ในช่วงวัยใกล้เกษียณอายุ ดังนั้นสถานภาพของโรงเรียนชุมชนวัด บ้านหว้า“ประชาประสาทวิทย์” จึงอยู่ในลักษณะ “ เอื้อและแข็ง ”


๒๕ 1.4 ผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม/SWOT โรงเรียนชุมชนวัดบ้านหว้า“ประชาประสาทวิทย์” จุดแข็ง ( strengths ) - คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมีส่วนร่วมวาง แผนการจัดการศึกษา - การบริหารงาน กำหนดวิสัยทัศน์ นโยบาย เป้าหมาย และภารกิจที่ชัดเจน การปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ ทำงานเป็นหมู่คณะ - มอบอำนาจหน้าที่ ลดขั้นตอนการทำงาน - นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ และผลการทดสอบระดับชาติเป็น ที่น่าพอใจ - ให้บริการครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย -ได้รับการสนับสนุนทั้งจาก ท้องถิ่นและชุมชน จุดอ่อน ( weekness ) -จำนวนประชากรวัยเรียนลดลงและผู้ปกครองบางส่วน มีค่านิยมในการส่งนักเรียนไปเรียนโรงเรียนยอดนิยม - ความเจริญด้านเทคโนโลยี ทำให้พฤติกรรม ค่านิยม ในการใช้เทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสม เช่น การเล่นเกม ออนไลน์ ของนักเรียนส่งผลต่อการเรียน - วัสดุอุปกรณ์ ด้านเทคโนโลยี ใช้งบประมาณซ่อม บำรุงและดูแลรักษา จำนวนมาก - การใช้เทคโนโลยีมากขึ้นทำให้ค่าใช้จ่าย ด้านสาธารณูปโภคสูง โอกาส ( opportunities ) - ผู้ปกครองประกอบอาชีพหลากหลาย / มีภูมิปัญญา ท้องถิ่นและแหล่งเรียนรู้ที่ใช้จัดการเรียนการสอนเพียงพอ - นโยบายการปฏิรูปการศึกษา ทำให้ครูมีการพัฒนา ตนเองและจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลาย มากขึ้น นักเรียนได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ - คณะกรรมการสถานศึกษา ชุมชน ผู้ปกครองให้ ความสำคัญพร้อมสนับสนุนการจัดการศึกษา อุปสรรค ( threats ) - ผู้ปกครองส่วนหนึ่งมีอาชีพไม่มั่นคง ย้ายที่อยู่บ่อย ครอบครัวหย่าร้าง ส่งผลกระทบต่อการเรียนของ นักเรียนพอสมควร - เสถียรภาพทางเศรษฐกิจโดยรวมไม่แน่นอน ผู้ปกครองมีฐานะยากจน - นโยบายการศึกษาเปลี่ยนแปลงบ่อย 2. อำนาจหน้าที่ของโรงเรียน : ตามเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ เพื่อให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติสถานศึกษามีบทบาทหน้าที่ดังนี้ 1) จัดทานโยบาย แผนพัฒนาการศึกษาของสถานศึกษาให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนของ กระทรวงศึกษาธิการ สานักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน สานักงานเขตพื้นที่การศึกษา ตลอดจนบริบทและ ความต้องการของชุมชนและท้องถิ่น 2) จัดตั้งงบประมาณ และรับผิดชอบการใช่จ่ายงบประมาณของสถานศึกษา 3) พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน และความ ต้องการของนักเรียน ชุมชน และท้องถิ่น 4) จัดการเรียนการสอน สภาพแวดล้อม บรรยากาศการเรียนการสอนที่เหมาะสม และส่งเสริม กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ตลอดจนการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาอย่าง ต่อเนื่อง 5) ออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศและแนวปฏิบัติต่าง ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด 6) กำกับ ติดตาม ประเมินผลงานตามแผนงาน โครงการและประเมิน ผลการปฏิบัติงานตลอดจนการ พิจารณาความดีความชอบ การพัฒนา และการดาเนินการทางวินัยกับครูและบุคลากร ทางการศึกษาใน สถานศึกษาตามที่กฎหมายกำหนด 7) ระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา รวมทั้งปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ใช้และจัดหาผลประโยชน์จาก ทรัพย์สินของสถานศึกษา


๒๖ 8) จัดให้มีระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาและให้ความร่วมมือในการประเมินคุณภาพการศึกษา จากหน่วยงานภายนอกสถานศึกษา รวมทั้ง การรายงานผลการประเมินต่อคณะกรรมการสถานศึกษาและสา นักงานเขตพื้นที่การศึกษา 3. ทิศทางการจัดการศึกษา วิสัยทัศน์(Vision) โรงเรียนชุมชนวัดบ้านหว้า “ประชาประสาทวิทย์”จัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ คู่คุณธรรม สำนึกความเป็นไทย ก้าวไกลเทคโนโลยีน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง สู่การปฏิบัติ พันธกิจ (Mission) 1. ส่งเสริมการจัดการศึกษาทุกระดับให้มีคุณภาพเป็นไปตามหลักสูตรสถานศึกษา 2. ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณธรรมจริยธรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค์และค่านิยมหลักคนไทย 12 ประการ 3. พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้เป็นครูมืออาชีพ 4. พัฒนาและส่งเสริมการผลิตการใช้สื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีทางการศึกษา 5. พัฒนาระบบบริหารจัดการสู่มาตรฐานสากลบนความร่วมมือของทุกภาคส่วนตามหลักธรรมาภิบาล 6. ขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาล กระทรวงและหน่วยงานต้นสังกัดที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา เป้าประสงค์(Goal) 1. ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาปฐมวัยและมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้เป็นไปตาม มาตรฐานการศึกษาชาติ 2. ผู้เรียนมีคุณธรรมจริยธรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค์ค่านิยมหลักคนไทย 12 ประการและมี คุณภาพชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3. ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีสมรรถนะตรงตามสายงานและมีวัฒนธรรมการทำงานที่มุ่งเน้น สัมฤทธิ์ผล มีความก้าวหน้าในอาชีพ 4. ผู้เรียนใช้สื่อเทคโนโลยีทางการศึกษาให้เกิดประสิทธิผลและมีประสิทธิภาพอย่างสูงสุด 5. สถานศึกษามีระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ แบบมีส่วนร่วมตามหลักธรรมาภิบาล สู่คุณภาพ ระดับมาตรฐานสากล 6. สถานศึกษาสามารถขับเคลื่อนการดำเนินงานตอบสนองนโยบายของรัฐบาล กระทรวงและหน่วยงาน ต้นสังกัดที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา กลยุทธ์(Strategy) 1. พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา 2. เพิ่มโอกาสการถึงบริการทางการศึกษาอย่างทั่วถึงเท่าเทียม 3. ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค์และวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง 4. เพิ่มศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาตามมาตรฐานวิชาชีพ 5. สนับสนุนการผลิตและการใช้สื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีทางการศึกษา 6. พัฒนาระบบการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมตามหลักธรรมาภิบาล


๒๗ ส่วนที่ 4 กลยุทธ์การจัดการศึกษา( Strategy ) 4.1 กลยุทธ์ระดับโรงเรียน ( Strategy ) โรงเรียนชมชนวัดบ้านหว้า“ประชาประสาทวิทย์” มีกลยุทธ์หลัก 6 กลยุทธ์ ดังนี้ 1. พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา 2. เพิ่มโอกาสการถึงบริการทางการศึกษาอย่างทั่วถึงเท่าเทียม 3. ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค์และวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง 4. เพิ่มศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาตามมาตรฐานวิชาชีพ 5. สนับสนุนการผลิตและการใช้สื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีทางการศึกษา 6. พัฒนาระบบการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมตามหลักธรรมาภิบาล ๕.2 โครงการที่สนับสนุนกลยุทธ์ ลำดับที่ กลยุทธ์ งาน/โครงการ 1 พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตาม มาตรฐานการศึกษา 1. โครงการพัฒนาห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ 2. โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3. โครงการส่งเสริมทักษะอาชีพ 4. โครงการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา 2 เพิ่มโอกาสการถึงบริการทางการศึกษา อย่างทั่วถึงเท่าเทียม 1. โครงการส่งเสริมสุขภาพนักเรียน 2. โครงการอาหารกลางวัน 3. โครงการส่งเสริมแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น 4. โครงการพัฒนาอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมภายใน สถานศึกษา 5. โครงการส่งเสริมพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 3 ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค์และวิถีชีวิต ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 1. โครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม 2. โครงการส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียง 4 เพิ่มศักยภาพครูและบุคลากรทางการ ศึกษาตามมาตรฐานวิชาชีพ 1. โครงการพัฒนาครูและบุคลากร


๒๘ ลำดับที่ กลยุทธ์ งาน/โครงการ 5 สนับสนุนการผลิตและการใช้สื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีทางการศึกษา 1. โครงการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ 6 พัฒนาระบบการบริหารจัดการแบบมี ส่วนร่วมตามหลักธรรมาภิบาล 1. โครงการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการสู่ คุณภาพการศึกษา 2. โครงการพัฒนาระบบงานธุรการ การเงิน พัสดุ 3. โครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ของคณะกรรมการสถานศึกษาและชุมชน 4. โครงการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายใน สถานศึกษา 5. โครงการโรงเรียนสุจริต


๕.3 กรอบกลยุทธ์และแนวทางการพัฒนา กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา ที่ โครงการ ตัวชี้วัดตัวชี้วัดค1. โครงการพัฒนาห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ ๑. ร้อยละของนักเรียนเป็นบุคคลแห่งกา ค้นคว้า เกิดการใฝ่รู้และนำไปสู่การ๒. ร้อยละของนักเรียนมีทักษะกระบวน และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง 3. ร้อยละของนักเรียนใช้เวลาว่างให้เกิด4. ร้อยละของนักเรียนรู้จักเลือกอ่านหนั นำไปพัฒนาทักษะการเขียนบันทึกค ของนักเรียน ๒. โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ๑. ร้อยละของนักเรียนมีระดับผลการเรี หลักสูตรสถานศึกษา ๒. ร้อยละของนักเรียนชั้น ม.๓ และ ม สูงขึ้นไม่น้อยกว่า0.5 ในทุกกลุ่มสา๓. ร้อยละของนักเรียนทุกคนผ่านเกณฑ ด้านตามเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนด 4. ร้อยละของนักเรียนมีทักษะการท่องส เกณฑ์ 5. ร้อยละของนักเรียนมีทักษะการสื่อสา


๒๙ ความสำเร็จ เป้าหมาย 2566 2567 25๖8 25๖9 2570 ารเรียนรู้ มีนิสัยรักการอ่าน รักการ รปฏิบัติในชีวิตประจำวัน นการแสวงหาความรู้ รักการเรียนรู้ ดประโยชน์ นังสือที่ดีมีประโยชน์อย่าหลากหลาย วามรู้จากเรื่องที่อ่านตามความคิด 80 82 84 86 ๘8 รียนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ตาม .๖ มีผลการทดสอบระดับชาติเฉลี่ย าระ ฑ์การประเมินสมรรถนะสำคัญ ๕ สูตรคูณและการคิดคำนวณตาม ารภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน 75 77 79 81 82


ที่ โครงการ ตัวชี้วัดตัวชี้วัดค6. ร้อยละของนักเรียนมีความสามารถใน7. ร้อยละของครูจัดการเรียนรู้ให้นักเรีย โดยการปฏิบัติจริง 8. ร้อยละของครูมีเครื่องมือในการวัด ป เป้าหมาย 9. ร้อยละของครูมีการแลกเปลี่ยนเรียน3. โครงการส่งเสริมทักษะอาชีพ ๑. ร้อยละของนักเรียนมีความรู้และทักษ อาชีพ ๒. ร้อยละของนักเรียนมีความสามารถใน๓. ร้อยละของนักเรียนทำงานอย่างมีคว ผลงานของตนเอง ๔. ร้อยละของนักเรียนสามารถทำงานร่5. ร้อยละของนักเรียนมีความรู้สึกที่ดีต่อ อาชีพที่ตนเองสนใจ 4. โครงการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา 1. ระดับคุณภาพของหลักสูตรสถานศึก กับท้องถิ่น 2. ระดับคุณภาพของการจัดรายวิชาเพิ่ม เรียนตามความถนัด ความสามารถแล3. ระดับคุณภาพของการจัดกิจกรรมพัฒ ความต้องการ ความสามารถ ความถน4. ระดับคุณภาพของการสนับสนุนให้ค


๓๐ ความสำเร็จ เป้าหมาย 2566 2567 25๖8 25๖9 2570 นการสร้างนวัตกรรม ยนเรียนรู้ ประเมินผลนักเรียนที่สอดคล้องกับ นรู้ในรูป PLC ษะพื้นฐานและเจตคติที่ดีต่องาน นการจัดการและทำงานจนสำเร็จ วามสุข มุ่งมั่นพัฒนาและภูมิใจใน วมกับผู้อื่นได้ ออาชีพสุจริตและหาความรู้เกี่ยวกับ 80 82 84 86 ๘8 ษาเหมาะสมและสอดคล้อง มเติมที่หลากหลายให้ผู้เรียนเลือก ละความสนใจ ฒนาผู้เรียนที่ส่งเสริมและตอบสนอง นัดความสนใจของผู้เรียน รูจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียน 80 82 84 86 ๘8


กลยุทธ์ที่ 2 เพิ่มโอกาสการถึงบริการทางการศึกษาอย่างทั่วถึงเท่าเทียม ได้ลงมือปฏิบัติจริงจนสรุปความรู้ได้ด5. ระดับคุณภาพของการนิเทศภายใน ก ไปปรับปรุงการเรียนการสอนอย่างสที่ โครงการ ตัวชี้วัดตัวชี้วัดค1. โครงการส่งเสริมสุขภาพนักเรียน ๑. ร้อยละของนักเรียนมีสุขภาพร่างกาย๒. ร้อยของนักเรียนสามารถอยู่ร่วมกับค๓. ร้อยละของนักเรียนไม่เกี่ยวข้องกับ ๒. โครงการอาหารกลางวัน 1. ร้อยละของนักเรียนได้รับประทานอา คุณค่าครบทางโภชนาการ ๒. ร้อยละของนักเรียนมีน้ำหนัก ส่วนสูง เกณฑ์ ๓. ร้อยละของนักเรียนมีสุขภาพอนามัย ไข้เจ็บ 3. โครงการส่งเสริมแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญา ท้องถิ่น ๑. 1. ร้อยละของนักเรียนมีทักษะกระบวน จริงจากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ๒. ร้อยละของนักเรียนได้รับประสบการณ


๓๑ ด้วยตนเอง กำกับ ติดตามตรวจสอบ และนำผล ม่ำเสมอ ความสำเร็จ เป้าหมาย 2566 2567 25๖8 25๖9 2570 ยแข็งแรง คุณครูและเพื่อนๆอย่างมีความสุข ยาเสพติด 80 82 84 86 ๘8 าหารและอาหารเสริม (นม) ที่มี งและมีสมรรถภาพทางกายตาม ที่สมบูรณ์แข็งแรง ปราศจากโรคภัย 80 82 84 86 ๘8 นการแสวงหาความรู้ ได้ศึกษาสภาพ ณ์และความรู้ใหม่ๆ 80 82 84 86 ๘8


ที่ โครงการ ตัวชี้วัดตัวชี้วัดค4. โครงการพัฒนาอาคารสถานที่และ สิ่งแวดล้อมภายในสถานศึกษา 1. 1.โรงเรียนมีสภาพแวดล้อมที่ดี สะอาดบ๒. อาคารเรียนได้รับการดูแลให้อยู่ในสภ การสอน 5. โครงการส่งเสริมพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือ นักเรียน 1. นักเรียนโรงเรียนบ้านม่วงยายทุกคน ผู้ปกครอง ครู และบุคคลที่เกี่ยวข้อง ทักษะชีวิตที่ดี ตามคุณลักษณะอันพึง2. ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรง ป้องกัน และแก้ไขปัญหาให้กับนักเรี


๓๒ ความสำเร็จ เป้าหมาย 2566 2567 25๖8 25๖9 2570 บรรยากาศร่มรื่น ภาพดีเหมาะในการจัดการเรียน ได้รับการดูแลช่วยเหลือจาก อย่างทั่วถึงตรงตามสภาพปัญหา มี งประสงค์ งเรียนมีประสิทธิภาพสามารถ รียนได้อย่างเหมาะสม 80 82 84 86 ๘8


กลยุทธ์ที่ 3 ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค์และวิถีชีวิตตามหลัที่ โครงการ ตัวชี้วัดตัวชี้วัดค1. โครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ๑. ร้อยละของนักเรียนมีคุณลักษณะที่พึ 12 ประการ ๒. ร้อยละของนักเรียนมีความภาคภูมิใจ๓. ร้อยละของนักเรียนยอมรับที่จะอยู่ร่ว หลากหลาย ๔. ร้อยละของนักเรียนทุกคนมีส่วนร่วม กิจกรรมประเพณีท้องถิ่น 5. ร้อยละของนักเรียนมีจิตอาสาช่วยงา ผลประโยชน์ของส่วนรวมและของชา๒. โครงการส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียง ๑.ร้อยละของผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใ นำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ ๒. ร้อยละของผู้เรียนไปสามารถปลูกพืช ในการเกษตรของโรงเรียนได้ ๓. ร้อยละของผู้เรียนมีความขยัน อดท การปลูกผัก คัดแยกขยะและทำปุ๋ยชี๔. ร้อยละของผู้เรียนมีการออมทรัพย์สม


๓๓ ักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ความสำเร็จ เป้าหมาย 2566 2567 25๖8 25๖9 2570 พึงประสงค์ตามหลักสูตรและค่านิยม จในท้องถิ่นและความเป็นไทย วมกันบนความแตกต่างและ กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์และ านโรงเรียนและชุมชน คำนึงถึง าติ 80 82 84 86 ๘8 ใจหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ชผักคัดแยกขยะและทำปุ๋ยชีวภาพ นมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ใน ชีวภาพได้ ม่ำเสมอ 80 82 84 86 ๘8


กลยุทธ์ที่ 4 เพิ่มศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาตามมาตรฐานวิชาชีพ กลยุทธ์ที่ 5 สนับสนุนการผลิตและการใช้สื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีทางการศึกษา ที่ โครงการ ตัวชี้วัดตัวชี้วัดค1. โครงการพัฒนาครูและบุคลากร ๑. ร้อยละของครูนำความรู้ไปพัฒนาผู้เรี๒. ร้อยละของครูและบุคลากรทุกคนได้ร๓. ร้อยละของครูได้ขวัญและกำลังใจในที่ โครงการ ตัวชี้วัดตัวชี้วัดค1. โครงการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ 1. โรงเรียนมีห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอ สามารถจัดการเรียนรู้แก่นักเรียนในโร2. นักเรียนได้รับบริการสารสนเทศในกา3. นักเรียนมีความสามารถในการใช้เทค


๓๔ ความสำเร็จ เป้าหมาย 2566 2567 25๖8 25๖9 2570 รียนได้เต็มศักยภาพของแต่ละบุคคล รับการพัฒนาทางวิชาชีพ การปฏิบัติหน้าที่ 80 82 84 86 ๘8 ความสำเร็จ เป้าหมาย 2566 2567 25๖8 25๖9 2570 อร์ที่มีระบบการอินเทอร์เน็ตที่ รงเรียนได้ ารสืบค้นข้อมูลบนระบบเครือข่ายได้ คโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 80 82 84 86 ๘8


กลยุทธ์ที่ 6 พัฒนาระบบการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมตามหลักธรรมาภิบาล ที่ โครงการ ตัวชี้วัดตัวชี้วัดค1. โครงการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหาร จัดการสู่คุณภาพการศึกษา ๑. โรงเรียนมีการจัดโครงสร้างงาน แผน ทำงาน ๒. โรงเรียนดำเนินภารกิจงานมีประสิทธิ2. โครงการพัฒนาระบบงานธุรการ การเงิน พัสดุ ๑. การบริหารการเงิน พัสดุ มีคุณภาพต และความจำเป็นสามารถตรวจสอบไ3. โครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการจัด การศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาและ ชุมชน ๑. คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปก บทบาทหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ แ๒. คณะกรรมการสถานศึกษากำกับ ติด ดำเนินงานของสถานศึกษาให้บรรลุผ๓. ผู้ปกครองและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม4. โครงการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายใน สถานศึกษา ๑. ระดับคุณภาพของมาตรฐานการศึกษ2. ระดับคุณภาพของการจัดระบบข้อมูล การบริหารจัดการเพื่อพัฒนา คุณภา3. ระดับคุณภาพของการติดตามตรวจส ตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึก


๓๕ ความสำเร็จ เป้าหมาย 2566 2567 25๖8 25๖9 2570 นงานโครงการเป็นเครื่องมือในการ ธิภาพและประสิทธิผลเป็นที่น่าพอใจ 80 82 84 86 ๘8 ตรงตามความต้องการ ได้ 100 100 100 100 100 กครอง ชุมชน ปฏิบัติงานตาม และเกิดประสิทธิผล ดตาม ดูแล และขับเคลื่อนการ ผลสำเร็จตามเป้าหมาย มในการพัฒนาสถานศึกษา 80 82 84 86 ๘8 ษา ของสถานศึกษา ลสารสนเทศและใช้สารสนเทศใน าพสถานศึกษา สอบ และประเมินคุณภาพภายใน กษา 80 82 84 86 ๘8


4. ระดับคุณภาพของการนำผลการประ ไปใช้วางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษ5. ระดับคุณภาพของการจัดทำรายงาน คุณภาพภายใน 5. โครงการโรงเรียนสุจริต 1. ร้อยละของนักเรียนชั้นอนุบาล 1 – มีวินัย ซื่อสัตย์สุจริต อยู่อย่างพอเพีย2. ร้อยละของนักเรียนชั้นอนุบาล 1 – ร่วมสร้างเครือข่ายในชุมชน สังคม ใน3. ร้อยละของนักเรียนชั้นอนุบาล 1 – กระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ สาม ชีวิตประจำวัน 4. ร้อยละของนักเรียนชั้นอนุบาล 1 – สังคม ได้แก่ การอยู่ร่วมกัน การทำง ซึ่งกันและกัน


๓๖ ะเมินคุณภาพทั้งภายในและภายนอก ษา ประจำปีที่เป็นรายงานการประเมิน มัธยมศึกษาปีที่ 3 มีทักษะการคิด ยง และมีจิตสาธารณะ มัธยมศึกษาปีที่ 3 มีจิตสำนึกและ นการต่อต้านการทุจริตทุกรูปแบบ มัธยมศึกษาปีที่ 3 มีทักษะ มารถนำกระบวนการคิดไปใช้ใน มัธยมศึกษาปีที่ 3 มีทักษะทาง านร่วมกัน ยอมรับฟังความคิดเห็น 80 82 84 86 ๘8


๓๗ ส่วนที่ 5 การขับเคลื่อนแผนพัฒนาการศึกษาสู่การปฏิบัติ แนวทางการบริหารแผนสู่การปฏิบัติ โรงเรียนกำหนดแนวทางในการบริหารแผนสู่การปฏิบัติดังนี้ การนำแผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระยะ 5 ปีสู่การปฏิบัตินับเป็นขั้นตอนที่สำคัญมากเพราะเป็น ความสามารถที่จะผลักดันการทำงานสำคัญทั้งหมดให้สามารถบรรลุผลลัพธ์ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้การดำเนินงาน จะเกิดผลอย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องผลักดันให้มีการปรับแนวคิด ค่านิยม เป้าหมาย รวมถึงวิธี และกระบวนการทำงาน การนำแผนไปสู่การปฏิบัติจะต้องทำให้หน่วยงาน บุคลากร ชุมชน องค์กรต่าง ๆ ยอมรับ แนวทาง แผนงาน โครงการนั้น และพร้อมที่นำแนวทางนั้นไปดำเนินการได้อย่างเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและ วิธีการปฏิบัติงานของตน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการระดมกำลังแสวงหาการสนับสนุน เพื่อให้เกิดการปฏิบัติและ สร้างความเป็นปึกแผ่นให้เกิดขึ้น เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องมีความรู้สึกเป็นเจ้าของและมีส่วนร่วม ดังนั้นเพื่อให้บรรลุ วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการพัฒนาคุณภาพการศึกษาจึงกำหนดแนวทาง การนำแผนไปสู่ปฏิบัติโดยสังเขป ดังนี้ 1. ผู้บริหารการศึกษาต้องเข้าใจและผลักดันให้มีการดำเนินงานตามแผนพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพและ สม่ำเสมอ 2. สร้างการรับรู้และความเข้าใจ โดยการประชุม ชี้แจงให้แก่ครูและบุคลากรทางการศึกษา และผู้มีส่วน ได้ส่วนเสียด้านการจัดการศึกษา (Stakeholders) ร่วมกันวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางการศึกษาตามบริบทของ โรงเรียน ที่เป็นจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ของการจัดการศึกษาเพื่อนนำมา ประกอบการกำหนดทิศ ทางการพัฒนา การกำหนดวิสัยทัศน์พันธกิจ เป้าประสงค์กลยุทธ์ตัวชี้วัด เป้าหมาย โครงการ/กิจกรรม แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน (พ.ศ. 2566 - 2570) โรงเรียนชุมชนวัดบ้านหว้า“ประชาประสาทวิทย์” สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์เขต 1 3. สร้างความเชื่อมโยงระหว่างแผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน (พ.ศ. 2566 - 2570) โรงเรียนชุมชน วัดบ้านหว้า“ประชาประสาทวิทย์” สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์เขต 1กับนโยบาย รัฐบาล, จุดเน้นและนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 4. โรงเรียนวัดชุมชนวัดบ้านหว้า“ประชาประสาทวิทย์” สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครสวรรค์เขต 1 จัดทำแผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระยะ 5 ปี(พ.ศ.2566 - 2570) และดำเนินการตาม แผน มีการกำกับติดตาม ประเมินผลคุณภาพ ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ประสบผลสำเร็จตามที่ มุ่งหวังไว้ 5. เร่งรัดดำเนินงาน เพื่อเผยแพร่และเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับสาระสำคัญของแผนงาน/ โครงการ/กิจกรรม ให้ครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้องได้ทราบ และมีส่วนร่วมตลอดจนให้การสนับสนุนอย่างกว้างขวาง เพื่อให้การนำสู่การปฏิบัติเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดความเป็นปึกแผ่นต่อเนื่องมีการกำหนดภารกิจ ความ รับผิดชอบให้ชัดเจน สอดคล้องกับแผนงาน โครงการ และเกิดความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน 6. วางแนวปฏิบัติเพื่อให้เกิดความคล่องตัวและชัดเจนแก่ผู้เกี่ยวข้อง รวมทั้งลดขั้นตอนที่ซ้ำซ้อนในการ ปฏิบัติงานเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 7. พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษาให้เป็นปัจจุบัน และสามารถให้บริการได้ตรงกับความ ต้องการและทันต่อการเปลี่ยนแปลง


๓๘ 8. พัฒนาระบบการกำกับติดตาม และการประเมินผล ที่มุ่งการประเมินเพื่อการพัฒนาและปรับปรุงการ ดำเนินงานโดยมีการพัฒนาตัวชี้วัดผลสำเร็จการดำเนินงานทั้งในด้านปริมาณ คุณภาพ ระยะเวลาในการประเมิน ผู้ ประเมิน และแนวทางในการจัดเก็บรวบรวมข้อมูล ทั้งนี้แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานฉบับนี้ได้กำหนดเป้าหมายภาพรวมและตัวชี้วัดปลายทางในปี 2570 มีจำนวนตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย ที่สถานศึกษา สามารถนำไปกำหนดแผนปฏิบัติการประจำปีในการ ขับเคลื่อนให้เหมาะสมในแต่ละปีและสามารถนำแนวทาง มาตรการ ที่กำหนดไว้ไปปรับใช้กับบริบทของ สถานศึกษา เพื่อให้บรรลุค่าเป้าหมายภายในปี2570 ต่อไป เงื่อนไขความสำเร็จ แผนพัฒนาการศึกษา พ.ศ. 2566-2570 ของโรงเรียนชุมชนวัดบ้านหว้า“ประชาประสาทวิทย์” สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์เขต 1 มีเงื่อนไขความสำเร็จ ดังนี้ 1. ผู้บริหารโรงเรียน มีวิสัยทัศน์และนโยบายที่ชัดเจนในการดำเนินงานโดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมและ กระจายอำนาจใช้ความไว้วางใจในการเสริมสร้างบรรยากาศเป็นมิตรมีการจัดสภาพและบรรยากาศการทำงาน 2. ผู้บริหารโรงเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องมีความรู้มีความสามารถในการเรียนรู้พัฒนา นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อใช้ในการปฏิบัติงานให้มีคุณภาพ 3. ระบบบริหารจัดการโดยมีการจัดการเชิงคุณภาพมีการพัฒนาปรับปรุงระบบการทำงานอย่างต่อเนื่อง เน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์การเปิดโอกาสให้บุคคลมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานและการจัดสภาพการเรียนรู้มี การปรับปรุงกลยุทธ์การจัดการเรียนการสอนและการจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ 4. นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ใช้ในการบริหารและการเรียนการสอนมีการพัฒนาอย่างสร้างสรรค์เพื่อให้ บรรลุตามวัตถุประสงค์ 5. หลักสูตรของโรงเรียนมีลักษณะยืดหยุ่นสอดคล้องตามสถานการณ์และเป้าประสงค์การเรียนรู้อย่าง หลากหลาย 6. การมีส่วนร่วมของเครือข่ายการศึกษา ได้แก่ โรงเรียนเครือข่ายโกรกพระ 1 คณะกรรมการ สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง ชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมกำหนดแนวทางการพัฒนาตามกล ยุทธ์ทั้ง 6 กลยุทธ์ต้องใช้แผนปฏิบัติการประจำปีดำเนินการอย่างสอดคล้องเป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งระบบ กล ยุทธ์ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลสามารถเลือกปรับและบูรณาการ เพื่อพัฒนาตามบริบทสภาพ สังคมข้อมูลและจุดเน้นแต่ละปีให้เป็นองค์รวมโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ใช้โรงเรียนเป็นฐาน เน้นการมีส่วนร่วม เป็นแรงผลักดันที่สำคัญ มีเครือข่ายและทีมงานเป็นปัจจัยหลักที่จะช่วยให้เกิดกำลังพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ยั่งยืน ตามเป้าประสงค์ของการปฏิรูปการศึกษากระทรวงศึกษาธิการที่สร้างโอกาสการเรียนแก่ทุกคนอย่างมีคุณภาพเท่า เทียมกันและให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมเพื่อเป้าหมายการศึกษาตลอดชีวิต 7. การดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ เกิดประสิทธิผล โปร่งใส เป็นธรรม มีผลผลิตและผลลัพธ์ที่ชัดเจนและ ให้ความสนับสนุนทรัพยากรอย่างต่อเนื่อง


ภาคผนวก


Click to View FlipBook Version