ตำบลคลองชะอุ่น
อำเภอพนม
จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ตำบลคลองชะอุ่น
อำเภอพนม
จังหวัดสุราษฎร์ธานี
จัดทำโดย
นาย ธีรศักดิ์ มากแก้ว รหัสนักศึกษา 6116209001137
นาย เจษฎาวุฒิ ประดับสกุลวงศ์ รหัสนักศึกษา 6116209001200
กลุ่มเรียน 61036.164
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
"การปิดทองหลังพระนั้น เมื่อถึงคราวจำเป็นก็ต้องปิด ว่าที่จริงแล้วคนโดย
มาก ไม่ค่อยชอบปิดทองหลังพระกันนัก เพราะนึกว่าไม่มีใครเห็น แต่ถ้าทุก
คนพากันปิดทองแต่ข้างหน้า ไม่มีใครปิดทองหลังพระเลย พระจะเป็นพระที่
งามบริบูรณ์ไม่ได้"
พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพิธีพระราชทาน
ปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
25 กรกฎาคม 2506
คำนำผู้เขียน
หนังสือเล่มนี้ จัดทำขึ้นเพื่อการสำเร็จการศึกษาของนักศึกษาระดับประริญญาตรี
สาขารัฐประศาสนศาสตร์ วิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพทาง
รัฐประศาสนศาสตร์(BPA0602)โดยมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาความรู้เรื่องประวัติศาสตร์
ตำบลตลองชะอุ่น อำเภอพนม จังหวัด สุราษฎร์ธานี ซึ่งหนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับ
ข้อมูลพื้นฐานตำบล โครงสร้างชุมชน เศรษฐกิจและอาชีพ สถานที่สำคัญ การวิเคราะห์
ศักภาพชุมชน
หนังสือเล่มนี้สามารถดำเนินการจนประสบความสำเร็จลุล่วงด้วยดี เนื่องจากได้รับ
ความอนุเคราะห์และสนับสนุนเป็นอย่างดีจากอาจารย์อยับ ซาดัคคาน ที่ได้สละเวลาอันมี
ค่าแก่คณะผู้จัดทำ เพื่อให้คำปรึกษาและแนะนำตลอดจนตรวจทานแก้ไขข้อบกพร่อง
ต่างๆจนสำเร็จลุล่วงได้ด้วยดี ขอบคุณผู้ให้ข้อมูลตลอดจนอำนวยความสะดวกในการ
ลงพื้นที่รวมทั้งประสบการณ์ดีๆที่ได้จากชุมชน ขอบคุณสาขา รัฐประศาสนศาสตร์ที่มอบ
ความรู้อันเป็นประโยชน์รวมทั้งประสบการณ์ดีๆในการจัดทำหนังสือประวัติศาสตร์ตำบล
ตลองชะอุ่น สุดท้ายนี้คณะผู้จัดทำหวังว่าหนังสือเล่มนี้คงเป็นประโยชน์สำหรับหน่วยงานที่
เกี่ยวข้องและผู้ที่สนใจศึกษาต่อไป
คณะผู้จัดทำ
สารบัญ
1 ส่ ว น ที่ 1 ข้ อ มู ล พื้ น ฐ า น
1 1 . 1 ป ร ะ วั ติ ค ว า ม เ ป็ น ม า ข อ ง ตำ บ ล
2 1 . 2 ข น า ด แ ล ะ ที่ ตั้ ง ข อ ง ตำ บ ล
3 1 . 3 ท รั พ ย า ก ร ธ ร ร ม ช า ติ ที่ สำ คั ญ
4 1 . 4 ลั ก ษ ณ ะ ภู มิ ป ร ะ เ ท ศ แ ล ะ ภู มิ อ า ก า ศ
4 1 . 5 ก า ร เ ดิ น ท า ง / ก า ร ค ม น า ค ม
5 ส่ ว น ที่ 2 โ ค ร ง ส ร้ า ง ข อ ง ชุ ม ช น
6 2 . 1 ด้ า น ก า ร เ มื อ ง ก า ร ป ก ค ร อ ง
6 2 . 2 ข้ อ มู ล ป ร ะ ช า ก ร
6 2 . 3 ด้ า น ก า ร ศึ ก ษ า / ศ า ส น า / ส า ธ า ร ณ สุ ข
8 2 . 4 บ ริ บ ท ท า ง สั ง ค ม / ค ว า ม เ ป็ น อ ยู่
9 2 . 5 ค ว า ม เ ชื่ อ ป ร ะ เ พ ณี แ ล ะ พิ ธี ก ร ร ม
1 0 ส่ ว น ที่ 3 โ ค ร ง ส ร้ า ง เ ศ ร ษ ฐ กิ จ แ ล ะ อ า ชี พ
1 0 3 . 1 แ ห ล่ ง ทุ น ท า ง ธ ร ร ม ช า ติ
1 1 3 . 2 แ ห ล่ ง อ า ห า ร
1 2 3 . 3 ผ ลิ ต ภั ณ ฑ์ ชุ ม ช น ข อ ง ดี ขึ้ น ชื่ อ
1 3 3 . 4 ส ถ า น ภ า พ เ ส ร ษ ฐ กิ จ ข อ ง ป ร ะ ช า ช น
1 4 ส่ ว น ที่ 4 ส ถ า น ที่ สำ คั ญ ข อ ง ชุ ม ช น
1 4 4 . 1 แ ห ล่ ง ท่ อ ง เ ที่ ย ว
1 6 4 . 2 แ ห ล่ ง โ บ ร า ณ ส ถ า น
1 7 4 . 3 ศ า ส น ส ถ า น ข อ ง ทุ ก ศ า ส น า
1 9 4 . 4 แ ห ล่ ง เ รี ย น รู้ โ ร ง เ รี ย น ห้ อ ง ส มุ ด ชุ ม ช น
2 2 ส่ ว น ที่ 5 ก า ร วิ เ ค ร า ะ ห์ ศั ก ย ภ า พ ชุ ม ช น
2 2 5 . 1 สิ่ ง ที่ ชุ ม ช น ทำ ไ ด้ ดี
2 3 5 . 2 สิ่ ง ที่ ชุ ม ช น ต้ อ ง พั ฒ น า
2 4 5 . 3 โ อ ก า ส ข อ ง ชุ ม ช น
2 5 5 . 4 อุ ป ส ร ร ค แ ล ะ ค ว า ม ท้ า ท า ย
1
ส่วนที่ 1
ข้อมูลพื้นฐาน
1.1 ประวัติความเป็นมาของตำบลลองชะอุ่น อำเภอพนม
คลองชะอุ่นเป็นลำคลองที่อำนวยประโยชน์แก่เกษตรกร หมู่ที่ 6 หมู่ที่ 8 หมู่ที่ 5 หมู่ที่ 7
หมู่ที่ 3 และบางส่วนของหมู่ที่ 2 หมู่ที่ 13 และหมู่ที่ 1 ของตำบล ต้น น้ำมาจากภูเขาที่กั้น
ระหว่างอำเภอพนม กับอำเภอปลายพระยาจังหวัดกระบี่และรับน้ำจากห้วยน้ำแดง ห้วยบาง
บ้าน คลองบางทรายนวล คลองบางปริก คลองบางสีหมุด คลองศรีสุก คลองถ้ำเล่ย์ คลอง
โสโครก คลองหัวช้าง และคลองบางหินผุ
ผู้ เฒ่าผู้แก่เล่าให้ฟังว่าก่อนจะมีอำเภอพนมในปัจจุบันนี้ เรามีอำเภอคลองชะอุ่น มา
ก่อน พร้อมกับอำเภอท่าขนอน อำเภอท่าโรงช้าง ช่วงนั้นขึ้นกับมณฑลไชยา เป็นอำเภอ
ขนาดใหญ่อำเภอหนึ่งในสมัยนั้น เหตุที่อำเภอคลองชะอุ่นต้องเลิกร้างไปสร้างอำเภอพนม
นั้น เพราะเกิดโรคระบาด(โรคห่า) ผู้คนล้มตายเป็น อันมาก หมอไม่มีเพียงพอที่จะรักษา
ผู้คนที่เหลือก็อพยพหนีตายไปอยู่ที่อื่น ประกอบกับขณะนั้น พืชพันธุ์ป่าไม้อุดมสมบูรณ์
ผู้คนที่เหลืออยู่ประกอบอาชีพแบบชาวเขา คือทำไร่เลื่อนลอยปลูกข้าวเป็นอาหารหลัก แต่
ช้างป่าซึ่งมีอยู่มากก็มาทำลายพืชพันธุ์ ผู้คนจึงอพยพหนีไปอยู่ที่อื่นหมดเป็นเหตุให้ต้องย้าย
อำเภอไปอยู่ที่ปากคลอง พนม
ตำบลคลองชะอุ่น ได้รับการจัดตั้งเป็นตำบลเมื่อ พ.ศ.2526 แยกมาจากตำบลต้นยวน
ปัจจุบันแบ่งเขตการปกครองเป็น 13 หมู่บ้าน สำหรับชื่อตำบลนั้นเล่ากันว่าในพื้นที่มีจุดที่
น้ำจาก 2สายในลำคลองไหลมาพบกันในพื้นที่หมู่ที่ 1 ซึ่งน้ำในบริเวณนั้นเป็นน้ำอุ่น คน
สมัยนั้นจึงเรียกว่าคลองปะอุ่นต่อมาเพี้ยนมาเป็นคลองชะอุ่นจนถึงปัจจุบัน
2
1.2 ขนาดและที่ตั้งของตำบล
มีพื้นที่โดยประมาณ 160 ตารางกิโลเมตร หรือ 100,000 ไร่ ทิศเหนือ ติดต่อกับ
ตำบลต้นยวน ทิศใต้ ติดต่อกับ อําเภอปลายพระยา จังหวัดกระบี่ ทิศตะวันออก ติดต่อกับ
อำเภอพระแสงและอำเภอเคียนชา จังหวัดสุราษธานี ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตําบลพนม
ตำบลพังกาญจน์และตําบลพลูเถื่อน อําเภอ พนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตําบลคลองชะอุ่น
ตำบลคลองชะอุ่นมีด้วยกัน 13 หมู่บ้าน ได้แก่
หมู่ที่ 1 บ้านคลองชะอุ่น
หมู่ที่ 2 บ้านแสนสุข
หมู่ที่ 3บ้านทับคริสต์
หมู่ที่ 4 บ้านคลองหัวช้าง
หมู่ที่ 5 บ้านบางหิน
หมู่ที่ 6 บ้านบางคราม
หมู่ที่ 7 บ้านบางเตย
หมู่ที่ 8 บ้านบางบ้าน
หมู่ที่ 9 บ้านศรีถาวร
หมู่ที่ 10 บ้านถ้ำเลย์
หมู่ที่ 11 บ้านควนพน
หมู่ที่ 12 บ้านเขาเขียว
หมู่ที่ 13 บ้านบางหลุด
จำนวนประชากรในเขต อบต. 9,390 คน และจำนวนหลังคาเรือน 3,185 หลังคาเรือน
อาชีพหลัก - ทำสวน (ยางพารา ปาล์ม ผลไม้ ) - ทำไร่ (ปลูกผัก) อาชีพเสริม – ค้าขาย
ภาพ แผนที่ของเขตตำบลคลองชะอุ่น
ที่มา : shorturl.at/sEN28
3
1.3 ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ
ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของตำบลคลองชะอุ่น ประกอบไปด้วย
1.3.1 แหล่งน้ำ
น้ำตกสายพิณ ตั้งอยู่ในพท้นที่ หมู่ที่ 10 ตำบลคลองชะอุ่น อำเภอพนม จังหวัด
สุราษฎร์ธานี มีลักษณะเป็นน้ำตกที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ สวยงามมาก เหมาะเป็น
สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ และการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
โครงการอ่างเก็บน้ำบางทรายนวลอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พระราชดำริในพระองค์
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สถานที่ตั้ง บ้านทับคริสต์ตำบลคลอง
ชะอุ่น อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ความเป็นมา ทรงมีพระราชดำริกับ นาย
ปราโมทย์ ไม้กลัด วิศวกรชลประทาน 8 กรมชลประทาน เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2527
ความสรุปว่า ให้กรมชลประทานพิจารณาก่อสร้างอ่างเก็บน้ำบางทรายนวล ปิดกั้นลำน้ำ
บางทรายนวล ซึ่งเป็นลำน้ำสาขาของคลองชะอุ่นให้สามารถมีน้ำใช้ทำไร่นาและทำสวน
รวมทั้งมีน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภคได้ตลอดปี
1.3.2 ป่าไม้
โครงการป่าชุมชนบ้านทับคริสต์ เริ่มโครงการ ปี 2551
ที่ตั้ง ม.3 บ้านทับคริสต์ ต.คลองชะอุ่น อ.พนม จ.สุราษฎร์ธานี เนื้อที่ 1664 ไร่ งาน
ตารางวา ประเภทป่าสงวนแห่งชาติ
โครงการป่าชุมชนบ้านควนพน เริ่มโครงการ ปี 2551 ตั้งอยู่ที่ ม.11 บ้านควนพล ต.คลอง
ชะอุ่น อ.พนม จ.สุราษฎร์ธานี มีเนื้อที่ 250 ไร่ งาน ตารางวา
โครงการป่าชุมชนบ้านบางเตยที่เริ่มโครงการ ปี 2551 ตั้งอยู่ที่ ม.7 ต.คลองชะอุ่น อ.พนม
จ.สุราษฎร์ธานี มีเนื้อที่ 125 ไร่ งาน ตารางวา
ประเภทป่าเป็น ป่าสงวนแห่งชาติ สถาพทั่วไป เป็นพื้นที่ราบ
โครงการป่าชุมชนบ้านบางหิน เริ่มโครงการปี 2550 มีเนื้อที่ 3362 ไร่ งาน ตารางวา
ประเภทป่าเป็น ป่าสงวนแห่งชาติ ตั้งอยู่หมู่บ้านบ้านบางหิน (หมู่ 5)
ป่าชุมชนบ้านคลองชะอุ่น เริ่มโครงการปี 2550
ที่ตั้ง ม.1 บ้านคลองชะอุ่น ต.คลองชะอุ่น อ.พนม จ.สุราษฎร์ธานี มีเนื้อที่ 962 ไร่ งาน ตารางวา
4
ประเภทป่าเป็น ป่าสงวนแห่งชาติ
โครงการป่าชุมชนบ้านแสนสุข ปีที่เริ่มโครงการ 2550
ที่ตั้ง หมู่บ้านแสนสุข (หมู่ 2) ต.คลองชะอุ่น อ.พนม จ.สุราษฎร์ธานี มีเนื้อที่ 1562 ไร่ งาน
ตารางวา ประเภทป่าเป็นป่าสงวนแห่งชาติ
1.4 ลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศ
1.4.1 ลักษณะภูมิประเทศ มีลักษณะเป็นที่ราบสูงประมาณ 80% พื้นที่ที่เป็นภูเขาสลับซับ
ซ้อน จะอยู่ในบริเวณทางด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตกของพื้นตำบล
1.4.2 ลักษณะภูมิอากาศ ตอนเช้าจะมีอากาศหนาวมีหมอกปกคลุมตลอดทั้งปีคล้าย
ลักษณะทางภาคเหนือของประเทศไทย จนกระทั่งหลัง 10.00 น. เป็นต้นไปอากาศจึง
กลับสู่ภาวะปกติ แต่ลักษณะภูมิอากาศโดยทั่วไปจะมีลักษณะอากาศร้อนและอบอุ่น มี 2
ฤดูคือ ฤดูร้อนและฤดูฝน ฤดูร้อนจะร้อนอบอ้าว เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม-เดือนเมษายน
ส่วนในฤดูฝน อากาศจะเย็น มีฝนตกและมีหมอกหนาแน่น
1.5 การเดินทาง การคมนาคม
องค์การบริหารส่วนตำบลคลองชะอุ่น อยู่ห่างจากศาลากลาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ประมาณ 96.8 กิโลเมตร ผ่านถนนหมายเลข 415 มีระยะห่างจากที่ว่าการอำเภอพนม
ประมาณ 22 กิโลเมตร มีถนนภายในเขตตำบล
5
ส่วนที่ 2
โครงสร้างของชุมชน
2.1 ด้านการเมืองการปกครอง
เขตการปกครอง
หมู่บ้าน ชื่อ – สกุล ตำแหน่ง
หมู่ที่ 1 บ้านคลองชะอุ่น นายธรรมนูญ ทับเมือง ผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่ 2 บ้านแสนสุข นายสมบูรณ์ ไกรสิทธิ์ ผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่ 3 บ้านทับคริสต์ นายอนุสรณ์ แซ่เล้า ผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่ 4 บ้านคลองหัวช้าง นายนรากร จันทร์คง ผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่ 5 บ้านบางหิน นายสายชล คงดี ผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่ 6 บ้านบางคราม นายสุนทร ทองผึ้ง ผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่ 7 บ้านบางเตย นายทวีป รัตนพันธ์ ผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่ 8 บ้านบางบ้าน นายกุศล สุดจะเสน ผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่ 9 บ้านถ้ำถาวร นายบำรุง หนูดำ ผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่ 10 บ้านถ้ำเล่ย์ นางนิศรา ทองจันทร์ ผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่ 11 บ้านควนพน นายสุธรรม จันทร์แสงกุล ผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่ 12 บ้านเขาเขียว นายสุพัฒน์ ทองด้วง ผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่ 13 บ้านบางหลุด นายพงศักดิ์ ทองกล่ำ ผู้ใหญ่บ้าน
6
2.2 ข้อมูลประชากร
จำนวนครัวเรือนในตำบลคลองชะอุ่น 3,185 ครัวเรือน และประชากรทั้งหมด 9,390
คน แยกเป็นเพศชาย 4,721 คน และเพศหญิง 4,669 คน (ที่มา : สำนักงานทะเบียนอำเภอ
พนม ณ เดือนมิถุนายน 2559)
สัดส่วนประชากรตำบลคลองชะอุ่น
หมู่ที่ ชื่อหมู่บ้าน จำนวนประชากร(คน) จำนวนครัวเรือน
1. บ้านคลองชะอุ่น 650 174
2. บ้านแสนสุข 889 255
3. บ้านทับคริสต์ 624 243
4. บ้านคลองหัวช้าง 813 264
5. บ้านบางหิน 496 173
6. บ้านบางคราม 737 256
7. บ้านบางเตย 1,041 305
8. บ้านบางบ้าน 761 255
9. บ้านถ้ำถาวร 737 197
10. บ้านถ้ำเล่ย์ 308 130
11. บ้านควนพน 651 281
12. บ้านเขาเขียว 396 113
13. บ้านบางหลุด 512 136
2.3 ด้านการศึกษา/ศาสนา/วัฒนธรรม
1. การศึกษา
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 3 แห่ง คือ
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบางหิน
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบางคราม
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลคองชะอุ่น
7
โรงเรียนของรัฐ 5 แห่ง ได้แก่
โรงเรียนบ้านคลองชะอุ่น ตั้งอยู่ หมู่ที่ 1
โรงเรียนบ้านแสนสุข ตั้งอยู่ หมู่ที่ 2
โรงเรียนบ้านต้นยวน ตั้งอยู่ หมู่ที่ 4
โรงเรียนบ้านบางหิน ตั้งอยู่ หมู่ที่ 5
โรงเรียนบ้านอรุโณทัย ตั้งอยู่ หมู่ที่ 6
โรงเรียนเอกชน 1 แห่ง คือ
โรงเรียนอุปถัมภ์วิทยาพนม ตั้งอยู่ หมู่ที่ 3
2. สาธารณสุข
มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ จำนวน 1 แห่ง คือ
-โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองชะอุ่น
3. การนับถือศาสนา
ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ และมีศาสนาคริสต์บ้างประปราย
ตำบลคลองชะอุ่นมีวัด 5 แห่ง สำนักสงฆ์ 1 แห่ง ได้แก่
วัดถ้ำพระสีสุก
วัดเทพธาราราม (บางบ้าน)
วัดคลองชะอุ่น
วัดทุ่งฉาง
วัดต้นยวนธรรมาราม
สำนักสงฆ์บ้านควนพนพัฒนา
เนื่องด้วยบ้านทับคริสต์หมู่ 3 เป็นชุมชนชาวคริสต์ จึงมีสถานที่สำหรับ
ประกอบพิธีทางศาสนา จำนวน 1 แห่ง คือ “โบสถ์แม่พระองค์อุปถัมภ์”
8
2.4 บริบทสังคม/ความเป็นอยู่
1. ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ ดังนี้
อาชีพหลัก คือ อาชีพทำสวนยาง สวนปาล์ม
อาชีพรอง คือ รับจ้างทั่วไป ค้าขาย ประกอบธุรกิจส่วนตัว รับราชการ
2. หน่วยธุรกิจการพานิชย์และกลุ่มอาชีพ
สหกรณ์เครดิตยูเนียน 1 แห่ง โรงสีกาแฟ 7 แห่ง
ร้านซ่อมรถยนต์/จักรยานยนต์ 10 แห่ง ร้านจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง 2 ร้าน
ร้านถ่ายรูป 1 ร้าน ร้านจำหน่ายสินค้าการเกษตร 3 ร้าน
ร้านค้าขายของชำ 78 ร้าน ห้องพักให้เช่า 9 แห่ง
ร้านนวดแผนไทย 1 แห่ง ร้านซัก อบ รีด 1 แห่ง
ร้านซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้า 1 แห่ง ร้านจำหน่ายอาหาร 6 แห่ง
ร้านเชื่อมเหล็ก 1 แห่ง ร้านคอมพิวเตอร์ 1 แห่ง
รับซื้อเศษยางพารา 4 แห่ง ลานเทปาล์มน้ำมัน 13 แห่ง
ร้านจำหน่ายน้ำดื่มน้ำแข็ง 1 ร้าน โรงงานอุตสาหกรรม 2 แห่ง
โรงค้าไม้ 2 แห่ง โรงงานอุตสาหกรรม 2 แห่ง
ร้านเสริมสวย 6 ร้าน เครื่องเสียง 1 ร้าน
ร้านรับซื้อของเก่า 2 แห่ง ร้านจำหน่ายเครื่องสำอาง 3 ร้าน
โรงตีเหล็ก 1 แห่ง สถานีบริการน้ำมัน 3 แห่ง
ฟาร์มโรงเรือนเลี้ยงไก่ 7 โรงเรือน สถานีบริการน้ำมัน 3 แห่ง
จำหน่ายอุปกรณ์ไฟฟ้า 1 ร้าน ฟาร์มเลี้ยงสุกร 1 ฟาร์ม
จำหน่ายเฟอร์นิเจอร์ 1 ร้าน บริการเต็นท์ให้เช่า 2 ราย
9
2.5 ความเชื่อ ประเพณี และพิธีกรรม
หมู่ที่ 1,2 และ หมู่ที่ 4-13
ทำบุญเลี้ยงพระ
ตักบาตรอาหารแห้ง
ตีกลองยาว
ประเพเณีวันสารทเดือนสิบ
ประเพณีรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุในวันปีใหม่ไทย
ประเพณีลอยกระทง
ประเพณีจบปีจบเดือน
หมู่ที่ 3 บ้านทับคริสต์
เนื่องด้วยบ้านทับคริสต์หมู่ 3 เป็นชุมชนชาวคริสต์ จึงมีสถานที่สำหรับประกอบพิธี
ทางศาสนา จำนวน 1 แห่ง คือ “โบสถ์แม่พระองค์อุปถัมภ์”
10
ส่วนที่ 3
โครงสร้างเศรษฐกิจและอาชีพ
3.1 แหล่งทุนทางธรรมชาติ
3.1.1 แหล่งน้ำ
แหล่งน้ำธรรมชาติ ลำน้ำ, ลำห้วย 13 สาย
คลองยวนสาว
คลองบางบ้าน
คลองบางหิน
คลองบางทรายนวล
คลองบางหินผุ
คลองหัวช้าง
คลองชะอุ่น
คลองบางคราม
คลองถ้ำเล่ย์
คลองศรีสุข
คลองโสโครก
คลองบางเลา
คลองบางศรีหมุด
คลองชะอุ่น
บึง, หนอง 10 แห่ง
น้ำตก 1 แห่ง
แหล่งน้ำที่สร้างขึ้นมา
ระบบประปาหมู่บ้าน 36 แห่ง
ฝาย 10 แห่ง
อ่างเก็บน้ำบางทรายนวล
อ่างเก็บน้ำบ้านบางหิน
11
3.2 แหล่งอาหาร
แหล่งอาหาร ในตำบล มาจากชาวบ้านบางส่วน เลี้ยงสัตว์เป็นอาชีพหลักและอาชีพ
เสริม เช่น การเลี้ยงไก่ เป็ด โค สุกร กระบือ
อาหารพื้นถิ่นได้แก่
แกงไตปลา ข้าวต้มมัด
ร้านอาหารขึ้นชื่อ
ครัวชมวิว ครัวคลองอุ่นบริการ
ครัวเจ๊อิ๊ว บายฮาร์ท
12
3.3 ผลิตภัณฑ์ชุมชน ของดีขึ้นชื่อ
ผลิตภัณฑ์เด่นของหมู่ที่ 13 บ้านบางหลุด มี 19 ชนิด
1) สบู่สมุนไพร 6 สูตร
2) แชมพู ครีมนวดผมสมุนไพร 3 สูตร
3) โลชั่นบำรุงผิว
4) น้ำมันนวดสมุนไพร
5) มันหอมระเหยสมุนไพร
6) สารสกัดสมุนไพร
7) สบู่เหลว 4 สูตร
โครงงานอาชีพหัตถกรรมเชือกกล้วย โรงเรียนบ้านบางหิน
ผลิตภัณฑ์จักสานย่านงด บ้านแสนสุข หมู่ที่ 2
13
3.4 สถานภาพเศรษฐกิจของประชาชน
ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ สวนปาล์ม สวนยางพารา และรับจ้างทั่วไป
ส่วนอาชีพรอง คือ ปลูกพืชสมุนไพร ปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ และแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการ
เกษตร
3.5 วิสาหกิจชุมชน
ชื่อ : วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านแสนสุขตำบลคลองชะอุ่น
รหัสทะเบียน : 5-84-10-06/1-0003
ที่อยู่ : เลขที่ 99 หมู่ที่ 2 ถนน - ตำบลคลองชะอุ่น อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี
โทรศัพท์ : 010851153
ผู้มีอำนาจทำการแทน : 1. นางสมร สงพัฒน์แก้ว 2. นางชุลี กลับผดุง
ชื่อ : วิสาหกิจชุมชนกลุ่มสมุนไพรภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชบ้านทุ่ง
ตาหนอน
รหัสทะเบียน : 8-84-10-06/1-0011
ที่ตั้ง : เลขที่ 23/1 หมู่ที่ 13 ถนน ตำบลคลองชะอุ่น อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี
โทรศัพท์ : 0936722099
ผู้มีอำนาจทำการแทน : 1. นางระเบียบ แตงขาว 2. นางหวานจิต จันทวงศ์
ชื่อ : วิสาหกิจชุมชนกลุ่มไม้ดอกไม้ประดับบ้านทับคริสต์
รหัสทะเบียน : 5-84-10-06/1-0002
ที่ตั้ง : เลขที่ 169 หมู่ที่ 3 ถนน - ตำบลคลองชะอุ่น อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี
โทรศัพท์ : 099701319
ผู้มีอำนาจทำการแทน : 1. นางสาลินี ว่องประชานุกูล 2. นางสำราญ ทนุผล
ชื่อ : เครือข่ายวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรไทยเพื่อเศรษฐกิจ
รหัสทะเบียน : 5-84-10-06/2-0010
ที่อยู่ : เลขที่ 23/1 หมู่ที่ 13 ถนน ตำบลคลองชะอุ่น อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี
โทรศัพท์ : 0652354496
ผู้มีอำนาจทำการแทน : 1. นางหวานจิต จันทวงศ์ 2. นางสาวณัฐธิญาณ์ ธัญญลักษณ์
14
ส่วนที่ 4
สถานที่สำคัญ
4.1 แหล่งท่องเที่ยว
4.1.1 น้ำตกสายพิน
ตั้งอยู่ในพื้นที่ หมู่ที่ 10 ตำบลคลองชะอุ่น อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี มี
ลักษณะเป็นน้ำตกที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ สวยงามมาก เหมาะเป็นสถาน
ที่พักผ่อนหย่อนใจ และการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
4.1.2 สระน้ำบ้านทับคริสต์
ตั้งอยู่ในพื้นที่ หมู่ที่ 3 ตำบลคลองชะอุ่น อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี
เหมาะสำหรับการพักผ่อนหย่อนใจ ชมธรรมชาติยามเช้า
15
4.1.3 อ่างเก็บน้ำบางทรายนวล
อ่างเก็บน้ำบางทรายนวลตั้งอยู่หมู่ที่ 3 สร้างขึ้นเพื่อช่วยเหลือราษฎรบ้านทับคริสต์
ซึ่งเป็นราษฎรที่นับถือศาสนาคริสต์จากภาคกลาง แถบจังหวัดราชบุรีและ
สมุทรสงคราม ย้ายมาตั้งถิ่นฐานที่อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตั้งแต่ปี 2512
ตามนโยบายขยายพื้นที่ทำกินรองรับการเติบโตของประชากรของรัฐบาลในสมัย
นั้น เหมาะกับการไปวิ่งออกกำลังการ และท่องเที่ยว
4.1.4 น้ำตกธารบางคุย
น้ำตกธารพฤกษา (น้ำตกบางคุย) เป็นธารน้ำที่มีน้ำไหลผ่านโขดหิน มีป่าไม้
และลำธารที่สวยงาม เนื้อที่ 25 ไร่ น้ำตกธารพฤกษาหรือน้ำตกบางคุย เป็น
น้ำตกขนาดเล็กมีธารน้ำไหลผ่านโขดหินสวยงามมาก มีต้นกำเนิดมาจากต้นน้ำ
ผุด ไหลสู่คลองชะอุ่น มีต้นไม้ใหญ่น้อยปกคลุมทั่วบริเวณ บรรยากาศร่มรื่น
16
4.2 แหล่งโบราณสถาน
วัดป่าถ้ำเพชร
ที่แห่งนี้สงบมาก เหมาะแก่การปฏิบัติธรรมเจริญสมาธิ วิปัสสนากรรมฐาน
17
4.3 ศาสนสถานของทุกศาสนา
วัดถ้ำพระสีสุก
วัดถ้ำพระสีสุก เป็นวัดราษฎร์
สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่ที่
หมู่ที่ 7 ตำบลคลองชะอุ่น อำเภอ
พนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี
วัดเทพธาราราม (บางบ้าน)
วัดเทพธาราราม เป็นวัดราษฎร์
สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่ที่
หมู่ที่ 5 ตำบลคลองชะอุ่น อำเภอ
พนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี
วัดคลองชะอุ่น
ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 1 ตำบลคลองชะอุ่น
อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี
18
วัดทุ่งฉาง
ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 6 ตำบลคลองชะอุ่น อำเภอพนม
จังหวัดสุราษฎร์ธานี นิกาย : มหานิกาย
วัดต้นยวนธรรมาราม
นิกาย :มหานิกาย
ประเภทวัด :วัดราษฎร์
ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 4 ตำบล
คลองชะอุ่น อำเภอ
พนม จังหวัด
สุราษฎร์ธานี
สำนักสงฆ์บ้านควนพนพัฒนา
19
4.4 แหล่งเรียนรู้ โรงเรียน ห้องสมุดชุมชน
4.4.1 แหล่งเรียนรู้
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ หมู่ที่ 13 ตำบลคลอง
ชะอุ่น อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชกระแสกับดร.พิศิษฐ์
วรอุไร
เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2537 ณ อาคารชัยพัฒนามีสาระสำคัญสรุปได้ว่าได้
ทรงสังเกตเห็นจังหวัดต่างๆ ในภาคใต้ของประเทศมีการใช้ไม้ดอกกันมากและดอกไม้
เหล่านั้น มากชนิดต้องซื้อเข้ามาจากต่างประเทศหากจะมีการผลิตดอกไม้เสียเองใน
ภาคใต้ ก็จะเกิดประโยชน์มาก ดร. พิศิษฐ์ วรอุไรได้กราบบังคมทูลทรงทราบว่า มีพื้นที่
ดินของนิคมสหกรณ์อยู่บนเส้นทางหลวง ระหว่างสุราษฎร์ธานี – ตะกั่วป่า ใกล้กับ
อุทยานแห่งชาติเขาสก เหมาะสำหรับผลิตดอกไม้เมืองหนาว หากแต่ต้องได้รับอนุญาต
จากกรมส่งเสริมสหกรณ์ก่อน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จึง
ทรงมีพระราชประสงค์จะทราบรายละเอียดเกี่ยวกับพื้นที่ดังกล่าว ดังนั้น สำนักงาน กปร.
จึงได้กราบบังคมทูลเบื้องต้น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จึง
ทรงมีพระราชดำริเพิ่มเติม เมื่อ 4 ตุลาคม 2537 ว่าการทดลองปลูกไม้ดอกไม้ประดับ
ในเขต จังหวัดสุราษฎร์ธานีควรเลือกพื้นที่ดำเนินการทดลองในบริเวณบ้านทุ่งหนอน
ผลการดำเนินงาน
การอนุรักษ์พันธุ์ไม้ และ การพัฒนาพันธุ์ไม้
ประโยชน์ที่ได้รับ
เพื่อให้เข้าใจและเห็นความสำคัญของพันธุกรรมพืช
เพื่อให้ร่วมคิด ร่วมปฏิบัติจนเกิดประโยชน์ถึงมหาชนชาวไทย
เพื่อให้มีระบบข้อมูลพันธุกรรมพืช สื่อถึงกันได้ทั่วประเทศ
4.4.2 โรงเรียน 20
โรงเรียนบ้านคลองชะอุ่น
ตั้งอยู่หมู่ที่ 1
โรงเรียนบ้านแสนสุข
ตั้งอยู่หมู่ที่ 2
โรงเรียนบ้านต้นยวน
ตั้งอยู่ หมู่ที่ 4
โรงเรียนบ้านบางหิน
ตั้งอยู่ หมู่ที่ 5
21
โรงเรียนบ้านอรุโณทัย
ตั้งอยู่หมู่ที่ 6
โรงเรียนอุปถัมป์วิทยาพนม
ตั้งอยู่หมู่ที่ 3
(โรงเรียนเอกชน)
22
ส่วนที่ 5
การวิเคราะห์ศักยภาพชุมชน
5.1 สิ่งที่ชุมชนทำได้ดี (จุดแข็ง)
5.1.1 ด้านสภาพแวดล้อม
ประชาชนมีความสามัคคี เอื้อเฟื้อเกื้อกูล มีกลุ่มส่งเสริมอาชีพ กลุ่มออมทรัพย์
อนุรักษ์ป่าชุมชน ปลูกฝังให้ชุมชนรักป่า มีระบบจัดการขยะ บ้านเรือนสะอาดเรียบร้อย มี
การทำงานแบบรวมกลุ่ม ร่วมอนุรักษ์ น้ำตกให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
5.1.2 ด้านเศรษฐกิจ
ชุมชนพึ่งพาตนเองได้ เป็นชุมชนแห่งการท่องเที่ยว เป็นชุมชนถ่ายทอดความรู้ให้กับ
คณะศึกษาดูงาน หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง คนในท้องถิ่นมีงานทำ เศรษฐกิจในชุมชนดี
ไม่มีปัญหาทางสังคม คนในชุมชนมีความสุข ชุมชนมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกัน ส่งเสริม
เศรษฐกิจชุมชนให้คนในชุมชนมีอาชีพและต่อยอดมาเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน ส่งผลให้ชาว
บ้านมีรายได้จากในชุมชนเป็นของตัวเองเป็นรายได้ที่มาจากการประกอบอาชีพในชุมชน
ทั้งนี้ชาวบ้านโดยส่วนใหญ่มีรายได้หลักมาจากการทำสวนยางพาราและสวนปาล์มน้ำมัน
5.1.3 ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
ระบบการบริหารจัดการ มีการจัดโครงสร้างภายในที่เหมาะสมสอดคล้องกับภารกิจ
การมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงาน การบริหารจัดการยึดหลักธรรมาภิ
บาล มีการแบ่งงาน มอบหมายหน้าที่รับผิดชอบ
ระบบข้อมูล มีการจัดเก็บข้อมูลในการดำเนินการ
อัตรากำลัง (พนักงานเทศบาลตำบล/ลูกจ้าง) บุคลากรมีความรู้ความสามารถในการ
ปฏิบัติหน้าที่ ได้รับการฝึกอบรม อย่างต่อเนื่อง มีการกำหนดแผนอัตรากำลังตามโครง
สราง
การเงิน/งบประมาณ การบริหารงบประมาณเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
5.1.4 ด้านคุณภาพชีวิต
ชาวบ้านมีคุณภาพที่ดี มีแหล่งอาหารภายในชุมชน มีการพัฒนาถนนหนทำงและ
ระบบสวัสดิการของชุมชนได้รับการพัฒนาที่ดีขึ้นและชาวบ้านมีการประกอบอาชีพที่เป็น
หลักทำให้มีรายได้เข้าสู่ครัวเรือน มีกองทุนต่าง ๆในหมู่บ้านและตำบล เช่น กองทุน
หมู่บ้าน กองทุนสวัสดิการชุมชน
23
5.2 สิ่งที่ชุมชนต้องพัฒนา (จุดอ่อน)
5.2.1 ด้านสภาพแวดล้อม
ชาวบ้านขาดแคลนน้ำอุปโภค บริโภคในฤดูแล้ง 2 ปีที่ผ่านมา มีต้นไม้ริมคลองโดน
ทำลาย ขาดจิตสำนึกในการรับผิดชอบร่วมกัน ในการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ง
แวดล้อม
5.2.2 ด้านเศรษฐกิจ
กลุ่มอาชีพขาดโรงเรือนในการผลิต สถานที่ทำการคับแคบไม่เพียงพอ ขาดความรู้
ความเข้าใจ ความเชี่ยวชาญ ในเชิงวิทยาการ สมาชิกส่วนหนึ่งยังขาดความร่วมมือและ
พัฒนา ขาดผู้สืบทอดประเพณีและวัฒนธรรม ไม่มีการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องของ
กิจกรรม โครงสร้างพื้นฐานยังไม่สมบูรณ์ตามความต้องการ ไม่มีหน่วยงานของรัฐเข้ามา
ดูแล
5.2.3 ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
ระบบการบริหาร กฎระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ มีการปรับปรุงแก้ไขตลอดเวลา ทำให้
ศึกษาไม่ทัน ขาดความชัดเจนในการดำเนินงาน พื้นที่รับผิดชอบมาก ไม่สามารถ
บริการ การพัฒนาได้ทั่วถึง ปริมาณงานมีมาก เนื่องจากได้รับการถ่ายโอน แต่ไม่มีเจ้า
หน้าที่รับผิดชอบ ทำให้ผลงานไม่ได้ประสิทธิภาพเท่าที่ควร ประชากรบางส่วน ยังขาด
การมีส่วนร่วม
ระบบข้อมูล ขาดความรู้ความชำนาญในการจัดเก็บข้อมูล
อัตรากำลัง (พนักงานเทศบาลตำบล/ลูกจ้าง) มีบุคลากรไม่เพียงพอ บุคลากรได้รับ
การมอบหมายงานมากเกินไป เนื่องจากมีการถ่ายโอนงานเพิ่มมากขึ้น
การเงิน/งบประมาณ งบประมาณไม่เพียงพอต่อการพัฒนา ในการขยายจากชนบท
เป็นเมือง
5.2.4 ด้านคุณภาพชีวิต
ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพหลักและไม่ค่อยสนใจอาชีพเสริมและประชาชน
ส่วนใหญ่ขาดการส่งเสริมในเรื่องสุขภาพอนามัยที่ชัดเจน การบริการทางด้านสาธารณะ
สุขไม่ทั่วถึงเนื่องจากงบประมาณไม่เพียงพอกับการบริการ ประชาชนในพื้นที่บางส่วน
ไม่มีอาชีพที่ตายตัวส่งผลให้ขาดรายได้ที่จะเข้ามาสู่ครอบครัว
24
5.3 โอกาสของชุมชน
5.3.1 ด้านสภาพแวดล้อม
ได้รับการช่วยเหลือเพื่อให้เข้าถึงการใช้ไฟฟ้าและน้ำประปารวมไปถึงชาวบ้านควร
ร่วมมือกันปรับปรุงแหล่งน้ำและพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวและที่สำคัญช่วยกันปลูกจิต
สำนึกให้ชาวบ้านนึกรักผืนป่า ช่วยกันดูแลไม่ทำลายผืนป่า ซึ่ง เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้
การบริหารจัดการผลิตภัณฑ์สมุนไพรและมีการเผยแพร่ข้อมูลความรู้แก่ผู้ที่มาศึกษาดู
งาน การเรียนรู้สมุนไพรในชุมชน การพัฒนาคน เพื่อพัฒนาอาชีพ ส่งเสริมรายได้
5.3.2 ด้านเศรษฐกิจ
มีการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว สืบสานประเพณีวัฒนธรรมชุมชน ให้ความรู้แก่ผู้นำ
ชุมชนและสมาชิกฝึกทักษะกับประสบการณ์ชาวบ้านควรได้รับการแนะนำในการประกอบ
อาชีพใหม่ๆ เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพบ้านเมืองในปัจจุบันและควรจะมีการแปรรูป
ผลิตภัณฑ์ เช่น สมุนไพร น้ำมาประยุกต์ เป็นได้ หลายผลิตภัณฑ์ และเพื่อรองรับราคา
ผลผลิตที่ตกต่ำเมื่อมีการแปรรูปจะเพิ่มมูลค่าแก่ผลิตภัณฑ์ได้
5.3.3 ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
ชุมชนหรือผู้นำควรมีวิธีการส่งเสริมให้ชาวบ้านมีความร่วมมือกับชุมชนและชาวบ้าน
ช่วยกันดูแลไม่ให้เกิดการทุจริตคอรัปชั่นและควรมีเวลาให้ชาวบ้านได้แสดงความคิดเห็น
เพื่อนำแนวคิดไปพัฒนาชุมชนต่อไป
นโยบายของรัฐบาล/จังหวัด ที่สนับสนุนส่งเสริมด้าน เศรษฐกิจ สังคม คุณภาพชีวิต
สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ตำบล การสร้างความเข้มแข็งตามระบบเศรษฐกิจพอเพียง การ
แก้ไขปัญหาความยากจน ปัญหายาเสพติด ตามนโยบายรัฐบาล
5.3.4 ด้านคุณภาพชีวิต
เกิดการพัฒนาชุมชนที่เข้มแข็งขึ้น ส่งเสริมให้ประชาชนมีความรักความสามัคคีใน
ชุมชน มีจิตสาธารณะ รักธรรมชาติ สืบทอดประเพณี มีการบริการจัดการกลุ่มต่างๆ อย่างมี
ระบบ เป็นศูนย์รวมในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชน เช่น กิจกรรมทางศาสนา การจัด
แข่งขันกีฬา
25
5.4 อุปสรรคและความท้าทาย
5.4.1 ด้านสิ่งแวดล้อม
ทรัพยากรธรรมชาติบางส่วนถูกทำลายเนื่องจากภัยธรรมชาติ ปัจจุบันในส่วนของภัย
ธรรมชาติและสถานการณ์โควิดทำให้หลายหน่วยงานชะลอการลงมาทำงานเพื่อพัฒนา
ชุมชนและสภาพพื้นที่เป็นภูเขาและเนินสูงทำให้ลำบากต่อการเข้าไปพัฒนา
5.4.2 ด้านเศรษฐกิจ
ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ การแข่งขันในชุมชนสูง ไม่มีเวลาร่วมกิจกรรม ขาดความรู้และ
ทักษะในการประกอบอาชีพ พื้นที่เป็นที่ราบสูง ขุดบ่อเลี้ยงปลาไม่ได้ ถนนใช้งานด้าน
การเกษตรค่อนข้างลำบาก สถานกำรณ์โควิดในตอนนี้ทำให้หลายอาชีพเกิดความ
ลำบากในการประกอบอาชีพ
5.4.3 ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
กฎหมายระเบียบ ข้อบังคับ มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การจัดสรรงบประมาณ และ
ระยะการเบิกจ่ายไม่เหมาะสมกับเวลาดำเนินการ ภาระหน้าที่เพิ่มมากขึ้นตามภารกิจที่
ได้รับการถ่ายโอน และการขาดแคลนเครื่องมือที่ทันสมัย ปัญหาการสื่อสาร และการ
ขาดช่างชำนาญการเฉพาะทาง
5.4.4 ด้านคุณภาพชีวิต
ประชาชนส่วนใหญ่มีค่านิยมและทัศนคติไม่ตรงกัน การดำรงชีวิตในชุมชนมีความแตก
ต่างกันปัญหาของแต่ละครอบครัวแตกต่างกันและขาดการอบรมด้านวินัย ประชาชนบาง
ส่วนไม่ให้ความสำคัญด้านการศึกษา ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำซึ่งเป็นปัญหาใหญ่
ประชาชนขาดความรู้ในการดูแลสุขภาพ ขำดงบประมาณในกำรจัดหาเครื่องมือที่ทัน
สมัยด้านสาธารณสุข สถานการณ์โควิดส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของทุกครัวเรือนให้ต่างไป
จากเดิมและรวมไปถึงราคาสินค้าทางการเกษตรตกต่ำทำให้ชาวบ้านมีรายได้น้อยกว่า
เดิมอีก