The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ
เอกสารเพื่อการศึกษา ห้ามจำหน่ายโดยเด็ดขาด

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ

คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ
เอกสารเพื่อการศึกษา ห้ามจำหน่ายโดยเด็ดขาด

Keywords: คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ

๑๙๒ พระครูปลัดบุญชวย โชติวํโส, ดร. (อุยวงค)

บทที่ ๘ การพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมสาํ หรับผูบริหารสถานศึกษา

สังคมทั้งในอดีตและปจจุบัน ผูบริหารมีคุณสมบัติตามหลักการของศาสนาทําให
สังคมอยูเย็นเปนสุข ซ่ึงจะไดศึกษาคุณสมบัติของพระมหากษัตริยในอดีตพุทธกาลและ
พระมหากษัตรยิ ไทยองคป จจุบนั มาศึกษาเปน ความรเู พียงบางสว น คอื

ก) คุณสมบัติที่กลาวมาน้ัน ไดสอดคลองกับพระเจาพรหมทัตข้ึนครองราชยสมบัติ
ในเมืองพาราณาสี พระองคเปนผูรังเกียจความไมดี วันหน่ึงทรงดําริวา “เราปกครองเมืองน้ี มี
ใครเดือนรอนและกลาวโทษของเราหรือเปลา” จึงทรงแสวงหาอยูทั้งในวังและนอกวังก็ไมพบ
เหน็ ใครกลา วโทษพระองคท รงปลอมพระองคไปตามหมูบา นตา ง ๆ ก็ไมพบเหน็ จึงแวะเขาไปใน
ปาหิมพานตทําทีเปน คนหลงทางเขา ไปสนทนาดวยกับพระโพธิสัตวท่ีเกิดเปนพระฤาษีบําเพ็ญ
เพียรอยูในปาหิมพานตในสมัยน้ัน มีรากไมและผลไมเปนอาหารฤาษีไดทําการตอ นรับดวยผลไม
ปานานาชนิด พระราชาปลอมไดเสวยผลไมปามีรสหวานอรอยดี ถามสาเหตุท่ีทําใหผลไมมีรส
หวาน ฤาษีทูลวา “ทานผูมีบุญเปนเพราะพระราชาครองราชยโดยธรรม ผลไมมีรสหวานอรอย
ดี” พระราชาปลอมสงสัยถามอีกวา “ ถาพระราชาไมครองราชยโดยธรรม ผลไมจะมีรสหวาน
หรือไม พระฤาษีตอบวา “ผลไมก็จะมีรสขม ฝาดหมดรสชาติไมอรอย”พระราชากลับเมือง ทรง
ทดลองคําพดู ของพระฤาษีดว ยการไมป ระพฤติ ปฏิบัติธรรมเปนปแลว กลับไปหาฤาษี ๆ ตอ นรับ
ดวยผลไม พอผลไมเขาปากมีรสฝาดตองคายท้ิงลงพ้ืน พระฤาษีไดแสดงธรรมวา เปนพระราชา
ไมครองราชยโดยธรรมแนเลย ธรรมดาฝูงโควายขามแมน้ําจาฝูงวายคด ฝูงโคก็วายคดตามไป
เหมือนหมูมนุษยถาผูบริหารไมประพฤติดีไมเปนธรรม ประชาชนก็ประพฤติไมเปนธรรม
เชนเดียวกัน พระราชาผูไมต้ังอยูในธรรม ทวยราษฎรก็เปนทุกขท่ัวกัน ถาจาฝูงโค วายน้ําตรง
ฝูงโคก็วายน้ําตรงเชนกัน เหมือนกันถาผูบริหารประพฤติเปนธรรมประชาชนตองประพฤติอยู
ในธรรมเชน กัน

ขอความขางตนท่ีไดกลาวถึงผูบริหารและผูปกครอง เกิดการวิตกวาผูบริหารหรือ
ผูปกครองไมมีศีลและปญญา จะเปนผูบริหารหรือผูปกครองที่ดีไมไดทําใหเกิดเสื่อมทรามเลว
ลงทําใหญาติพ่ีนอง รวมท้ังเพื่อนฝูงก็พากันรังเกียจ แตในทางตรงกันขามแลวผูบริหารหรือ
ผูปกครองมีทั้งศีลปญญาและสุตะอยูในตนแลวก็จะเปนประโยชนในการเปนผูบริหารที่ดี
ญาติพี่นองตลอดจนเพ่ือนฝูงก็ใหความเคารพดวยความออนนอมอยางแทจริง ซึ่งจะกลาวถึง

คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ ๑๙๓
พระครูปลัดบุญชวย โชติวํโส, ดร. (อุยวงค)

คุณสมบัติของพระมหากษัตริยอีกหน่ึงทานในพุทธกาลที่มีความสําคัญ เชน พระเจามหาวิชิต
ราชผูป กครองนครมี ๘ ประการดงั นค้ี ือ259๓๑

๑. ทรงเปนอุภโตสุชาต ทั้งฝายพระมารดาและพระบิดา มีพระครรภเปนท่ีปฏิสนธิ
หมดจดดี ตลอดเจ็ดชวั่ บรรพบรุ ษุ ไมมีใครจะคดั คานตเิ ตียนดว ยอา งถงึ พระชาติกําเนดิ ได

๒. ทรงมีพระรูปงาม นาดู นาเล่ือมใส ประกอบดวย พระฉวีวรรณ ผุดผอง ย่ิงนักมี
พระฉววี รรณะคลา ยพรหม มพี ระรูปคลายพรหมนา ดนู าชมไมนอ ย

๓. ทรงมัง่ คั่งมีทรัพยมาก มีโภคสมบัติมาก มีทองและเงินมาก มีเครื่องใชส อยอันนา
ปลม้ื ใจมาก มที รัพยและธัญญาหารมาก มีพระคลังและฉางเตม็ บรบิ ูรณ

๔. ทรงมกี ําลัง ทรงสมบูรณด วยเสนามีองค ๔ ซง่ึ อยูในวินัยคอยปฏิบัติตามพระราช
บัญชามพี ระบรมเดชานุภาพดังจะเผาผลาญราชศัตรไู ดดว ยพระราชอสิ ยยศ

๕. ทรงพระราชศรัทธาเปนทายก เปนทานบดี มิไดปดประตูเปนดุจโรงทานของ
สมณะ พราหมณ คนกําพรา คนเดินทาง วณพิ ก และยาจกทรงบําเพญ็ พระราชกศุ ล

๖. ไดท รงศกึ ษาทรงสดบั เรือ่ งนน้ั ๆ มาก
๗. ทรงทราบอรรถแหง ขอทที่ รงศกึ ษา และภาษิตนั้น ๆ วา น้อี รรถแหง ภาษติ นี้
๘. ทรงเปนบัณฑิต เฉียบแหลม ทรงพระปรีชาสามารถทรงพระราชดําริอรรถอัน
เปนอดตี อนาคตและปจจบุ นั
กลาวโดยสรุปประเด็นอันสําคัญคุณสมบัติของพระเจามหาวชิ ิตราชมี ๘ ประการท่ี
ได นํามาศึกษาเรียนรใู นบทนีไ้ ดด งั น้ีคือ
๑. ทรงมชี าติตระกูลดี
๒. ทรงมรี ูปรางงาม
๓. ทรงมีพระราชาทรัพยม าก
๔. ทรงมกี ําลงั รบท่ีพรอมพรั่ง
๕. ทรงมีพระราชศรทั ธาในการบรจิ าคทาน
๖. ทรงมีการศกึ ษาอบรมมามาก
๗. ทรงมีความรูกวางขวาง ละเอียดลึกซึ่งเขาใจความหมายภาษิตตาง ๆ สามารถ
อธิบายความหมายได

๓๑ ที.สี. (ไทย) ๙/๒๑๓-๒๑๔/๒๐๓ -๒๐๔.

๑๙๔ พระครูปลัดบุญชวย โชติวํโส, ดร. (อุยวงค)

บทท่ี ๘ การพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมสําหรับผูบริหารสถานศึกษา

๘. ทรงเปน ผฉู ลาดมีปญ ญา
คุณสมบัติทั้ง ๘ ประการนี้ท่ีพระเจามหาวิชิตราชทรงมี ทําใหบานเมืองมีความ
เจริญรุงเรืองได เพราะพระองคทรงปกครองแผนดินโดยอาศัยพระปญญา และการศึกษาเปน
สําคัญ นอกจากนี้ พระองคยังทรงมีขาราชการบริหาร ที่มคี ุณสมบัติของพราหมณปุโรหิตท่ีดี ๔
ประการคอื
๑. เปนอุภโตสุชาต ทั้งฝายพระมารดาและพระบิดา มีครรภเปนที่ปฏิสนธิหมดจด
ตลอดเจด็ ชวั่ บรรพบุรษุ ไมมใี ครจะคัดคานติเตยี น ดว ยอา งถึงชาติกาํ เนิดได
๒. เปน ผคู งเรยี น ทรงจํามนต รูจ บไตรเภท
๓. เปนผูมศี ีล มศี ลี จําเรญิ ม่ันคง
๔. เปนบัณฑิตเฉียบแหลมมีปญญาเปนท่ี ๑ หรือที่ ๒ ของพวกปฏิคาหกผูรับการ
บูชาดวยกัน ขาราชการบริพารที่ดีเปนสวนสําคัญทําใหเจานายทํางานไดดีมีคุณภาพเปนท่ีเชิญ
ชูของปวงประชา ดังเชน พระเจามหาวิชิตราชมีขาราชการบริพารถึงพรอมดวยคุณสมบัติมี ๔
ประการโดยกลา วพอสังเขปไวดังน้ี

๑) ความเปนผูมีชาตติ ระกลู ดี
๒) ความเปน ผมู กี ารศึกษาสูง ชํานาญในหนาทีข่ องตน
๓) ความเปนผูม ศี ีล
๔) ความเปนผฉู ลาดมปี ญ ญามาก
ขา ราชการบริพารผสู นองงานทางการเมืองและการปกครองตอพระเจามหาวชิ ิตราช
อันเปนคุณสําคัญท่ีสงผลตอการถวายคําแนะนําที่กอประโยชนใหกับพระเจามหาวิชิตราชใน
การปกครอง ชาติบานเมอื ง เชน เดียวกันพระองคม พี ฤติกรรมที่แสดงออกมาภายนอกมีลกั ษณะ
การเปน นักปกครอง น้ันมลี ักษณะทางกายงดงาม สงา สวยงาม องอาจกลาหาญมาก ที่ไดกลาว
ไวในมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ ซึ่งถือวาบุคคลใดท่ีมีอวัยวะครบตามลักษณะท้ัง ๓๒
ประการ ยอมเปนผูมีบุญญาธิการมาก มีความรูความสามารถในการปกครองบานเมืองดวย
คุณธรรมนําความเจริญและความสงบสุขสูบานเมือง ซ่ึงลักษณะมหาปุริสลักษณะ ดังกลาว
นาํ มาศึกษาดังตอ ไปนี้260๓๒

๓๒ ที.ปา.(ไทย) ๑๑/๑๓๖/๑๕๗-๑๕๙.

คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ ๑๙๕
พระครูปลัดบุญชวย โชติวํโส, ดร. (อุยวงค)

๑. พน้ื ฝาเทา เรยี บเสมอกนั
๒. ฝาเทามลี ายจกั รมซี ี่กําลังขางละพันพรอ มทั้งกงและกระดุม
๓. สนเทา ยาวสมสวน
๔. นว้ิ มือและเทา เรยี วยาวสมสวน
๕. ฝา มอื และฝาเทา ออ นนมุ
๖. ลายฝามือฝา เทา ดจุ ตาขาย
๗. รูปเทาดุจสงั ขคว่ํา
๘. แขง ดุจแขง เน้ือทราย
๙. แมยนื ไมย อ ตวั ลง กส็ ามารถแตะเขาไดด วยมอื ทั้งสอง
๑๐. องคชาติต้ังอยูในฝก
๑๑. สผี วิ กายดจุ ทอง
๑๒. ผวิ หนังละเอียด ธลุ ีละอองจงึ ไมเกาะตดิ กาย
๑๓. ขนขมุ ละเสน
๑๔. ปลายขนซอนขึน้ มสี ดี จุ ดอกอญั ชนั ขึน้ เวยี นขวา
๑๕. กายตรงเหมือนกายพรม
๑๖. เนอ้ื เต็มในท่ี ๗ แหง ไดแก ทีห่ ลังมอื ๒ หลังเทา ๒ บา ๒ และคอ ๑
๑๗. กึง่ กายทอ นบนเหมอื นกึ่งกายทอ นหนา สหี ะ
๑๘. หลงั เตม็ บรบิ ูรณไ มเ ปนรอง
๑๙. รวดทรงดจุ ตนไทร คือกายกบั วาเทา กนั
๒๐. คอกลมเกล้ยี ง
๒๑. ประสาทรบั รสอนั เลศิ
๒๒. คางดจุ คางราชสีห
๒๓. ฟน ๔๐ ซี่บริบูรณ
๒๔. ฟนเรยี บเสมอกนั
๒๕. ฟนไมหาง
๒๖. เข้ยี วสขี าวงาม
๒๗. ลิน้ ใหญ (สามารถแผออกได)
๒๘. เสยี งดจุ เสียงพรหม สําเนยี งดงั นกการเวก

๑๙๖ พระครูปลัดบุญชวย โชติวํโส, ดร. (อุยวงค)

บทท่ี ๘ การพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมสาํ หรับผูบริหารสถานศึกษา

๒๙. นยั นตาดาํ สนิท (ดําคม)
๓๐. ขนตางอนดุจขนตาโค
๓๑. อณุ าโลมระหวางคิ้วขาวออนเปรยี บดังปุยนุน
๓๒. ศีรษะดจุ ประดับดว ยกรอบหนา (สดใสมีประกาย)
สมบัติของมหาปุริสลักษณะยอมเกิดข้ึนกับผูมีบุญท่ีไดสั่งสมบารมีมาเปนเวลานาน
โดยเฉพาะผูบริหารที่มีคุณธรรมเปนมูลเหตุเปนกุญแจนําไปสูประโยชนสุขของไพรฟาขา
แผนดินท้ังหมด พระราชาหรือผูปกครองประพฤติธรรม ไพรฟาขาแผนดินก็จะประพฤติธรรม
ตามไปดวยเมื่อมนุษยประพฤติธรรม พระอาทิตย พระจันทร และหมูดวงดาวบนทองฟาก็จะ
พากันโคจรไปอยางถูกตอง จากนั้นฤดูกาลทั้ง ๓ ก็จะหมุนเปลี่ยนเวียนไปอยางถูกตอง เมื่อ
ฤดูกาลหมุนเวียนไปถูกตอง ฝนก็ตกลง อยางดีงามตามฤดูกาลและมีปริมาณท่ีเหมาะสม
จากนน้ั พชื พันธุธญั ญาหารก็เจรญิ งอกงาม ออกดอก ออกผล ออกเมล็ด ออกรวง ออกราก ท่ีมี
แรธาตุและสารอาหารสมบูรณ หมูมนุษยเก็บเกี่ยวมาบริโภค เขาไป รางกายและสุขภาพก็จะ
แข็งแรงและมีอายุยืนยาว261๓๓ พลเมืองของประเทศนั้นอยูเย็นเปนสุขดวยการเกิดจากผูบริหาร
ประพฤตธิ รรมไพรฟาขา แผนดนิ อยใู นธรรม
ข) ประเทศไทยมีพระมหากษัตริยท่ีประชาชนใหความเคารพเทิดทูนคือ
พระบาทสมเด็จ พระเจา อยหู ัวภูมพิ ล (รชั กาลที่ ๙) พระองคทรงต้งั อยใู นธรรมหลกั พรหมวิหาร
ธรรม ทรงมีพระราช อัธยาศัยประกอบดวยความซื่อตรง ทรงสัตยไรมายา ทรงเจริญพระราช
ไมตรีกับนานาอารยประเทศ ดวยความชื่อตรงตลอดมา ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจลวนหล่ัง
มาจาก พระปรีชาสามารถไมประพฤติหลอกลวงประชาชน ไมมีเลหเหลี่ยมหรือสิ่งใดแอบแฝง
ตอคนท่ีอยูรวมกัน และประพฤติตอผูอื่นดวยความจริงใจในขณะที่เสด็จไปทรงศึกษาตอใน
ตา งประเทศ ระหวา งประทับรถพระท่ีน่ังเพื่อเสด็จไปขึ้นเครอื่ งบนิ น้นั ทรงมพี ระราชดํารัสตอบ
ประชาชนทเ่ี ฝา สงเสด็จในวันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๔๘๙ วา วันนี้ ถึงวันทเี่ ราจะตอ งจากไปแลว ตาม
ถนนผูคนชางมากเสียจริง ๆ ท่ีถนนราชดําเนินกลางราษฎรเขามาใกลชิดรถท่ีเราน่ัง กลัว
เหลือเกินวาลอรถของเราจะไปทับแขงขา ใครเขาบาง รถแลนฝา ฝูงคนไปไดอยางชาที่สดุ ถึงวัด
เบญจมบพิตร รถแลนเร็วข้ึนไดบางตามทางท่ีผาน มาไดยินเสียงใครคนหน่ึงรองขึ้นมาดัง ๆ
วา ในหลวงอยาทง้ิ ประชาชน อยากจะรองบอกเขาไปวา ถา ประชาชนไมทิง้ ขา พเจาแลวขาพเจา

๓๓ ท.ี ปา. (ไทย) ๑๑/๑๓๖/๑๕๗-๑๕๙.

คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ ๑๙๗
พระครูปลัดบุญชวย โชติวํโส, ดร. (อุยวงค)

จะท้ิงประชาชนไดอยางไร พระราชดํารัสในวันนั้นเปนเหมือนการพระราชทานสัจจะ ใหแก
พสกนิกรตลอดไป ๖๐ ป ทรงครองราชยชัดเจนแลวทรงรักษาสัจจะท่ีได พระราชทานใหแก
พสกนิกรอยางสมบูรณ ไมเคยทอดทิ้งประชาชนความทุกขเดือดรอนของพสกนิกร เปนความ
ทุกขเดือดรอนของพระองค ความเดือดรอนเกิดขึ้นในสวนใดของประเทศ พระองคจะเสด็จไป
ไมวาระยะทางจะใกล ไกลสักเพียงใด แมแดดจะแผดเผาหนทางจะคดเค้ียว ถึงฝนจะตก
กระหน่ําจนเหน็บหนาวนํ้าจะทวมขัง พระองคมิไดทรงยอทอเสด็จไปเปนม่ิงขวญั ของพสกนิกร
เพื่อดับรอนให รมเย็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ ทีท่ รงชวยเหลือประชาชน และได
เสด็จพระราชดําเนินไปเองไดทอดพระเนตรการประกอบอาชีพตาง ๆ ของประชาชน ทรงมุง
แกปญหาในจุดที่ตองการแกไข อยางรีบดวน ซ่ึงประชาชนไมสามารถท่ีจะรอได ท้ังเปนจุดท่ี
จําเปนตองการแกไขอยางแทจริง พระราชกรณียกิจที่ทรงปฏิบัติดวยความซื่อตรง ทรงยึดม่ัน
อยูในหลักธรรมโดยไมทรงเอนเอียงเปลี่ยนแปลง ตามสัจจะวาจาท่ีตรัสไว เปนเหตุใหพระองค
ทรงโดดเดนเปนสงาอยูในดวงใจของพสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอด เพราะทรงมีพระราช
อัธยาศัยซื่อตรงทรงสัตยไมมีมายา ทรงรักและหวงใยพสกนิกรชาว ไทยเสมอเหมือนกัน
พระองคทาํ งานอยา งหนกั

กลา วโดยสรปุ วา คุณสมบัติของคนดีมีความสําคัญสามารถกอประโยชนต อสงั คมไดมี
การ แบงบุคคลออกเปน ๓ กลุมคือ ๑) ผูไมมีความหวัง คือผูตกตํ่า ๒) ผูมีความหวัง คือราช
บุตร ผูรอการอภิเษก เปน ผูมศี ีล ๓) ผปู ราศจากความหวงั คือพระราชา ผูไดร ับการการอภิเษก
แลว รูแจงในส่งิ ทั้งปวงแลวปราศจากการเสาะแสวงหาใด ๆ เปนธรรมราชาอาศัยธรรม ใหการ
ปกปกรักษา มีความ สํารวมในการกระทําทางกาย วาจาและใจ262๓๔ มีพระสูตรกลาวดวยภาษา
พระบาลีวา “สพฺพํรฎฐํสุขํ เสติ ราชา เจ โหติ ธมฺมิโก แปลวา “ถาผูปกครองประพฤติธรรม
อาณาประชาราษฎรท้ังมวลกอ็ ยูเย็น เปนสุข”๓๕ การบรหิ ารงานการเมอื งเปน ไปโดยสะดวก

๓๔ ท.ี ปา. (ไทย) ๑๑/๑๓๖/๑๕๗-๑๕๙.
๓๕ พระศรปี ริยัติโมลี (สมชัย กุสลจิตโฺ ต), สงฆผนู ําสังคม, (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพม หาจฬุ า
ลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๗), หนา ๖๑.

๑๙๘ พระครูปลัดบุญชวย โชติวํโส, ดร. (อุยวงค)

บทท่ี ๘ การพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมสําหรับผูบริหารสถานศึกษา

๘.๔ การบรหิ ารสถานศึกษาแบบธรรมาธปิ ไตย จกั ขมุ า วธิ โู ร และนสิ สสมั ปน โน

โลกปจจุบนั มีความเจริญกา วหนาดานความรู วิทยาศาสตร และขอมูลขา วสารอยาง
รวดเร็ว ซึ่งสวนใหญเกิดจากความกาวหนาทางดานวิทยาศาสตรคอมพิวเตอรและเทคโนโลยี
ทาํ ใหส ังคมมีความซบั ซอนและเปล่ียนแปลงอยา งรวดเร็วอยูตลอดเวลา และสงผลใหเกดิ ปญหา
นอยใหญตามมามากมาย ผูที่จะดํารงอยูในสังคมอยางมีความสุขและสรางสรรคสังคมไดตอง
เปนบุคคลแหงการเรียนรูใฝดี และมีทักษะชีวิตที่เหมาะสมเพียงพอ ความสามารถในการ
ปรับตัวใหเหมาะสมกับสถานการณมีความจําเปนอยางย่ิง และระบบการศึกษาจะมีบทบาท
สําคัญตอการพัฒนาศักยภาพของสมาชิกของสังคมในสังคม เพ่ือใหสามารถดํารงชีวิตอยู
ทามกลางความเปลยี่ นแปลงอันรวดเร็วไดอยางราบรื่น ระเบยี บใหมข องโลกทัง้ ในระดบั ภูมภิ าค
และระดับนานาชาติมาพรอมกับโลกาภิวัฒนไดสรางความรุนแรงในการแขงขันข้ึน มีความ
จาํ เปนท่ีจะตอ งเสริมสรางฐานความรูท่ีเขมแข็งใหกบั ประเทศ เพ่ือความสามารถในการปรบั ตัว
รูเทาทันไมใหตกอยูในฐานะผูเสียเปรียบในภาวะการณปจจุบันคุณภาพการศึกษาของ
ประชากรไทย โดยเฉลี่ยลดต่ําลง และมีมาตรฐานคอนขางต่ําเม่ือเทียบกับอีกหลายประเทศใน
ระดบั เดยี วกนั 264๓๖

ผลงานหลายอยางของผูคนในอดีตสืบทอดมาใหคนรุนหลังไดเห็นอยางนาทึ่ง ไมวา
จะเปนอารยธรรมของอียิปตโบราณอารยธรรมกรีก หรือที่ใกลเขามาก็อยาง เชน การสราง
กําแพงเมืองจีนการสรางทัชมาฮาลในอินเดีย และปราสาทนครวัดในกัมพูชา ส่ิงที่ประจักษแก
สายตามากมายหลายอยางดังกลาวลวนเกิดขึ้นดวยฝมือมนุษยในยุคที่ไมมีเครื่องไมเครื่องมือ
ใด ๆ สิ่งตาง ๆ เหลานั้นสําเร็จไดดวยกําลังและฝมือของคน การรวบรวมทรัพยากรจํานวน
มาก วัสดุมากมายและขนาดใหญ การรวบรวมแรงงานอีกมากมายและทําอยางไรจึงประสบ
ความสําเร็จได การคิดโครงการ การจัดระบบการจัดการทรัพยากร การควบคุมคนงาน และ
การแบงงานเพื่อใหงานดาํ เนินไปจนประสบความสําเร็จ ตองใชฝมือและเทคนิคในการบริหาร

๓๖ อรทัย ทองยอย, พระมหาสุพจน สุเมโธ, ธีระพงษ สมเขาใหญ, “ภาวะผูนําตามหลัก
ธรรมาธปิ ไตยของผบู ริหารสถานศึกษาที่สงผลตอคุณภาพในการปฏิบตั ิงานของครูโรงเรยี นขยายโอกาสทาง
การศึกษาสังกัดสํานักงานเขตพื้นท่ีการศึกษาประถมศกึ ษานครศรธี รรมราช เขต ๔”, วารสารสังคมศาสตร
และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ ปท่ี ๒ ฉบับที่ ๒ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขต
นครศรธี รรมราช, (กรกฎาคม – ธนั วาคม ๒๕๖๐): ๒๙.

คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ ๑๙๙
พระครูปลัดบุญชวย โชติวํโส, ดร. (อุยวงค)

อยางยอดเยี่ยมเปนสิ่งที่แทบไมนาเชื่อวาเปนฝมือมนุษยที่นํามาซึ่งความสําเร็จลุลวงไปได
ดวยดี ผลงานที่ปรากฏจึงเปนสิ่งที่แสดงใหเห็นไดชัดวาเกิดขึ้นเพราะการบริหารงานที่ดี การ
บริหารจึงเปนศิลปะแหงการทํางานใหสําเร็จโดยอาศัยคนอื่น ผูบริหารจึงตองเปนผูที่มี
ความสามารถสงู จงึ สามารถบรหิ ารงานใหส ําเรจ็ ดว ยดีได265๓๗

การที่จะบริหารงานใหประสบความสําเร็จน้ัน จึงข้ึนอยูกับการมีผูบริหารที่มีทักษะ
ทางดานความคิดหรือเรียกวาวิสัยทัศนคือ มีการคิดกวาง มองไกล ใฝสูง หรือมองลึก นึกไกล
ใจกวาง ตองมีทักษะในการจัดการที่ดีและตองมีทักษะในการมีมนุษยสัมพันธท่ีดีเพื่อการสราง
บรรยากาศที่ดีในการทํางานรวมกัน ผูบริหารองคกร จึงจําเปนที่จะตองมีคุณลักษณะที่ดี
ดังกลาว เพื่อใหองคกรของตนน้ันบรรลุตามเปาหมายหรือวัตถุประสงคที่ต้ังไวมีความสามารถ
ในการอํานวยการใหภารกิจ หนาท่ีดําเนินไปดวยความเรียบรอยใหไ ดผลที่เรียกวาคนก็สําราญ
งานก็สาํ เรจ็ 266๓๘

ในโลกยุคโลกาภิวตั นในปจจุบัน หรอื ยุคโลกไรพ รหมแดนทขี่ ับเคลื่อนโลกดวยกระแส
ทุนนิยมน้ี ความกาวหนาทางขอมูลขาวสารตลอดจนเทคโนโลยีตาง ๆ ยอมสงผลใหศักยภาพใน
การแขงขันของทุก ๆ องคกรสูงข้ึนตามลําดับ ไมวาจะเปนไปในระดับโลก ระดับประเทศใน
สถาบันภาครัฐหรือเอกชน ความอยูรอดขององคกรดังกลาวยอมข้ึนอยูกับการตัดสินใจอยาง
ถูกตองรอบคอบและทันตอเหตุการณ ของผูบริหารที่จะตองพิจารณาทั้งงานและคนใหมี
ความสุขและความสําเร็จของงานไปพรอมกัน267๓๙ ในปจจุบันการบริหารขององคกรตาง ๆ ของ
ไทยเปนการบริหารตามแนวทุนนิยมโดย เลียนแบบปรชั ญาและแนวทางการบริหารของประเทศ
ท่ีพัฒนาแลวโดยเฉพาะการนําเอาทฤษฏีการบริหารจากองคกรของประเทศท่ีทันสมัย
(Modernization Theory) มาเปนตัวแบบของการบริหารการนําเอาทฤษฏีการบริหารของ
ประเทศที่ทันสมัยซึ่งใชตัวแบบของทุนนิยมในการบริหารองคกรน้ันมี ความจําเปน เพราะเปน
กระแสหลักในการบริหารองคกรของโลกในปจจุบัน ถาองคกรของไทยไม กาวลงไปรวมใน

๓๗ กมล ฉายาวัฒนะ, บริหารคนและงานดวยวิธีการของพระพุทธเจา, (กรุงเทพมหานคร:
บรษิ ัท พมิ พด ีการพมิ พ จํากัด, ๒๕๕๔), หนา ๑.

๓๘ เร่อื งเดยี วกนั , หนา ๒.
๓๙ สุรัตน กลั่นประเสริฐ, "ภาวะผูนาํ ทางการบริหาร โดยการประยุกตใชตามหลักสัปปรุ ิสธรรม
๗ : กรณีศึกษา บริษัท ทรูคอรปอเรชั่น จํากัด มหาชน", วิทยานิพนธพุทธศาสตรมหาบัณฑิต, (บัณฑิต
วทิ ยาลยั : มหาวทิ ยาลัยมหาจฬุ าลงกรณราชวทิ ยาลยั , ๒๕๕๓).

๒๐๐ พระครูปลัดบุญชวย โชติวํโส, ดร. (อุยวงค)

บทท่ี ๘ การพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมสําหรับผูบริหารสถานศึกษา

กระแสหลักของทุนนิยมน้ี ก็จะถูกทอดท้ิงใหลาหลังและจะเสียเปรียบไมสามารถแขงขันกับ
องคกรของประเทศอื่น ๆ ไปอีกยาวนาน268๔๐ แตอยางไรก็ตามหากองคกรยังคงใชตัวแบบของ
บริหารที่มีทุนนิยมเปนตัวขับเคลื่อนองคกรโดยไมสนใจตัวแบบทางพระพุทธศาสนามาเปนตัว
แบบในการบริหารรวมก็จะประสบกับภาวะท่ีองคกรไดกําไรแตองคกรสอบตกทางดานคุณคา
ของความเปน มนุษย ในปจจุบันเราจะเห็นองคกรท้ังของภาครัฐและเอกชนมากมายที่คิดเพียง
แคแสวงหากําไรให ไดมากท่ีสุดแตขาดการดูแลความรับผิดชอบตอสังคม (Corporate social
responsibility) สงผลใหภาพลักษณข ององคกรพลอยเสยี หายไปดวย องคกรถกู ตง้ั คําถามจาก
ประชาชน ถูกทาทายจากภัย ธรรมชาติ ขาดการมีสวนรวมจากภาคประชาชนท่ีจะยอมให
องคก รอยูร ว มกบั ชุมชนน้ันหรือสังคมนน้ั ๆ ตอไป

เพราะฉะน้ันการสรางความสมดุลในการบริหารเพื่อการพัฒนาประสิทธิภาพของ
การบริหาร องคกรจึงมีความจําเปนที่จะตองแกไขปญหาการบริหารท่ีมีแนวทางทุนนิยมเพียง
แนวทางเดียว โดยการนําเอาแนวทางการบริหารตามหลักธรรมทางของพระพทุ ธศาสนามาเปน
แนวทางในการบรหิ าร และแนวทางการบริหารทเ่ี ปนทางเลือกอนื่ ๆ ใชเ ปนตวั แบบสําหรบั การ
บริหาร269๔๑ เราจะเห็นวาแมมี หลักฐานวามีการบริหารงานขนาดใหญมาแตครั้งโบราณ แตก็ไม
ปรากฏขอมูลเก่ียวกับทฤษฎี และระบบการบริหารวาดําเนินการอยางไร ในซีกโลกตะวันตกมี
ทฤษฎีและระบบเก่ียวกับการบริหาร ปรากฏเปนเรื่องเปนราวตั้งแตยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม ใน
คริสตศตวรรษ ท่ี ๑๙ เปนตน มา และมีการพัฒนาทฤษฎกี ารบริหารมาเปนลําดับ แตทางพุทธ
ศาสนากลบั มีหลักธรรมทน่ี าํ มาใชใ นการบรหิ ารไดเ ปน อยางดีกอนหนา นน้ั เปน อนั มาก270๔๒

ปจจุบันในยุคที่ธุรกิจท่ัวโลกต่ืนตัวกับกระแสธรรมาภิบาล หรือ Good Governance
กนั อยางเขมขน ทาํ ใหหลกั ธรรมะถูกใหความสําคญั ในการบรหิ ารองคกร และคนเพ่ิมมากขึน้ โดย
หลักการที่คุนเคยกันมากที่สุดในแวดวงนักบริหาร-นักปกครอง คือ พรหมวิหาร ๔ ซ่ึงมุงสอนให
ผูนํามี ความเมตตา-กรุณา-มุทิตา-อุเบกขาตอผูใตบังคับบัญชา แตสําหรับนักบริหารธุรกิจท่ีมุง

๔๐ พระครูวิสุทธิ์ธีรคุณ (ธีระ จิตฺตวิสุทฺธิ), “การพัฒนาทรัพยากรมนุษยตามหลักไตรสิกขาของ
โรงเรียนวิถีพุทธ ในอําเภอกําแพงแสน จังหวัดนครปฐม”, วิทยานิพนธพุทธศาสตรมหาบัณฑิต, (บัณฑิต
วิทยาลยั : มหาวิทยาลัยมหาจฬุ าลงกรณราชวทิ ยาลยั , ๒๕๕๔).

๔๑ เร่ืองเดียวกัน, หนา ๓.
๔๒ กมล ฉายาวฒั นะ, บรหิ ารคนและงานดว ยวิธกี ารของพระพทุ ธเจา , หนา ๒.

คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ ๒๐๑
พระครูปลัดบุญชวย โชติวํโส, ดร. (อุยวงค)

แสวง ความสําเร็จในการทํางานใหลุลวงและตองการการพัฒนาประสิทธิภาพขององคกร ผูวิจัย
เห็นวายังมี หลักการท่ีนาจะเปนประโยชนคือหลัก “ทุติยปาปณิกสูตร” พระสูตรที่วาดวย
คุณสมบัติที่ดีของพอคา ๔๓271 ทุติยปาปณิกสูตรเปนพระสูตรที่ปรากฏอยูในคัมภีรทาง
พระพุทธศาสนาคือพระไตรปฎก ไดกลาวถึงคุณลักษณะของผูบริหารท่ีดีไววาขอท่ี ๑ ตองมีจักขุ
มาตรงกับภาษาอังกฤษวา Conceptual Skill หมายถงึ มวี ิสยั ทัศนก วา งไกล

ขอที่ ๒ วิธูโรตรงกับคําวา Technical Skill หมายถึง มีการจัดการที่ดี และขอท่ี ๓
นิสสยสัมปนฺโน ตรงกับคําวา Human Relation Skill หมายถึง การมีมนุษยสัมพันธ โดย
หลักการทุติยปาปณิกสูตรทั้งสามเปนสิ่งสําคัญตอผูบริหารมาก โดยเฉพาะการมีวิสัยทัศนหรือ
จักขุมา ถือวาเปนหลักการของนักบริหารที่ทันสมัยท่ีสุด เพราะการมองการณไกล มีสายตา
ปญญาในการวิเคราะหอนาคตทําใหนักบริหารนั้นมีโอกาสประสบความสําเร็จ สามารถแขงขัน
อยรู อดในธุรกจิ ได ขณะท่ี วธิ ูโร หรือ การจดั การธุระโดยมีความชํานาญเฉพาะดาน เปรียบเทียบ
ไดกบั หลัก Competency ความสามารถที่จะเขา มาสรางความเปนผบู ริหารทเ่ี ปน ผูนําช้ันยอดได

สวนหลกั นิสสยสมั ปนโน เปนความสามารถดา นมนุษยสัมพันธท่จี ะสรางความเขาใจ
ท่ีดี รวมกันระหวางสมาชิกในองคกรซึ่งจะสงผลตอรูปงานท่ีมีประสิทธิภาพคุณลักษณะของ
ผบู ริหารทัง้ ๓ ลักษณะน้ี จะมคี วามสําคญั มากนอยแตกตางกันข้ึนอยูก ับ "ระดับของนกั บริหาร"
ถาหากเปน "นัก บริหารระดับสูง" ท่ีตองรับผิดชอบในการวางแผนและควบคุมคนจํานวนมาก
คุณสมบัติขอที่ ๑ และ คุณสมบัติขอท่ี ๓ ถือวาสําคัญมาก สวนคุณสมบัติของขอท่ี ๒ มี
ความสําคัญนอยเพราะเขาสามารถใชผ ูใตบ ังคับบญั ชาที่มคี วามสามารถเฉพาะดานได สําหรับ"
นักบริหารระดับกลาง" คุณลักษณะ ท้ัง ๓ ขอ นี้มีความสําคัญมากพอๆกัน นั่นคือ เขาตองมี
ความชาํ นาญเฉพาะดา นและมนษุ ยสัมพนั ธทดี่ ตี อเพ่ือนรว มงานและผใู ตบ งั คบั บญั ชา

ในขณะเดียวกันตองมีปญญาที่มองภาพกวางและไกลเพ่ือเตรียมตัวสําหรับเปนนัก
บริหารระดับสูง นอกจากน้ันตองมีความสามารถในการส่ือสารประสานงานในการถายทอด
นโยบายและยุทธศาสตรจากผูบริหารระดับสูงมาสูการปฏิบัติในผูบริหารและพนักงานระดับ
ลาง และนําผลการดําเนินงานที่ไดจากการปฏิบัติงานมาสรุปและนําเสนอตอ สําหรับ"นัก
บริหาร ระดับตน" หมายถึง ระดับหัวหนางาน คุณลักษณะสําคัญตองมีขอ ๒ และขอ ๓ คือ

๔๓ อง.ติก. (ไทย) ๑/๑/๕๑

๒๐๒ พระครูปลัดบุญชวย โชติวํโส, ดร. (อุยวงค)

บทท่ี ๘ การพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมสําหรับผูบริหารสถานศึกษา

ความชํานาญเฉพาะดาน และมนุษยสัมพันธสําคัญมาก อีกทั้งยังตองลงมือปฏิบัติงานรวมกับ
พนักงานหรอื ผูใตบังคบั บัญชาอยางใกลชิด อยางไรก็ตามเขายังคงตองพัฒนาคณุ ลักษณะขอที่
๑ ทักษะดาน ความคิดหรือวิสัยทัศน เพื่อเตรียมตัวเลื่อนสูระดับกลางตอไป โดยหลัก ๓ ขอ
ควรมีอยูภายในของนักบริหาร และหากหลอมรวมกันก็จะเปนภูมิคุมกันที่มีประสิทธิภาพใน
การบรหิ ารธุรกิจใหก จิ การประสบความสําเร็จหรือผานพน วิกฤติตาง ๆ ไปได ๔๔
272

๘.๕ การบริหารตามหลกั ธรรมาธิปไตย

ผูบริหารตามหลักธรรมาธิปไตยของผูบริหารสถานศึกษา ท่ีสงผลตอคุณภาพในการ
ปฏิบัติงานของครูโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นท่ีการศึกษา
ประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต ๔ จากผลการศกึ ษาพบวา ภาวะผนู ําตามหลักธรรมาธิปไตย
ของผูบริหารสถานศึกษา ที่สงผลตอคุณภาพในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนขยายโอกาสทาง
จาํ นวน ๑ ดา น คอื ดานวริ ิยะพละ ผบู รหิ ารสถานศกึ ษามคี วามขยันหม่ันเพียร สว นดา นปญ ญา
พละ ผูบริหารสถานศึกษามีความรูเร่ือง การครองตน ครองคน ครองงาน ดานอนวัชชพละ
ผูบริหารสถานศึกษามีความซื่อสัตยสจุ รติ ดานสงั คหพละ ผูบริหารสถานศึกษามมี นษุ ยส ัมพันธ
ท่ีดีไมสอดคลองตอคุณภาพในการปฏิบัติงานของครูอยางมีนัยสําคัญทางสถิติท่ีเปนไปตาม
สมมติฐานท่ีต้ังไว ภาวะผูนําท่ีพึงประสงคในยุคโลกาภิวัฒน:ศึกษาจากหลักพุทธธรรม”
ผลการศึกษาพบวา บทบาทผูนําท่ีดีตามแนวคิดทฤษฎีตะวันตกตองประกอบดวยบทบาท
พื้นฐาน สําคัญ ๔ ประการคือ ๑. การกําหนดทิศทางเปนการกําหนดทิศทางขององคกรให
เปนไปตาม วิสัยทัศนท่ีไดวางไว ๒. การจัดระบบการทํางาน ๓. การมอบอํานาจท้ังในการ
มอบหมายอํานาจ ความรับผิดชอบใหแกบุคคลท่ีเหมาะสมเพื่อใหการทํางานเปนไปอยางมี
ประสิทธิภาพ ๔. แบบอยางการเปนผูนําสําหรับภาวะผูนําที่ดีตามหลักพุทธธรรม ผูนําที่ดี
จะตองยึดหลักธรรม “ธรรม” เชน พรหมวิหาร ๔ ธรรมาธิปไตย พละ ๔ และสัปปุริสธรรม ๗
เปน คุณธรรมสําคญั สาํ หรบั การปฏิบัติหนาท่ขี องตน เพื่อใหสามารถดําเนินกิจการงานทุกอยาง
ใหบรรลุผลสําเร็จท่ีวางไวและนําพาหมูคณะและสังคมไปสูความสงบสุขและมั่นคงตลอดไป
และรูปแบบผูนําท่ีพึงประสงคในยุคโลกาภิวัฒนท่ีเกิดจากการประยุกตของภาวะผูนําตาม

๔๔ พระธรรมโกศาจารย (ประยรู ธมมฺ จิตฺโต), พทุ ธวิธีการบรหิ าร, (กรงุ เทพมหานคร: โรงพิมพ
มหา จุฬาลงกรณราชวทิ ยาลยั , ๒๕๔๙), หนา ๑๐.

คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ ๒๐๓
พระครูปลัดบุญชวย โชติวํโส, ดร. (อุยวงค)

แนวคิดตะวันตกและหลักพุทธธรรมยอมประกอบดวยหลักการ ๓ ประการ คือ หลักการครอง
ตน ครองตนและครองงาน โดยมุงเนนใหผูนําเกิดการพัฒนาตน การพัฒนาคน และการพัฒนา
ระบบงานใหมคี ณุ ภาพท่ีสมบรู ณแบบทั้ง ๒ ดาน คือ

๑. คุณภาพดานความสามารถเพ่ือใหผูนําคุณภาพบุคลากรในองคกร และคุณภาพ
ขององคก รใหมคี วามเหมาะสมกับการเปลยี่ นแปลงในยุคโลกาภวิ ัฒนอ ยเู สมอ

๒. คุณภาพดานจิตใจเพ่ือทําใหเกิดการยกระดับจิตใจของผูนําใหมีคุณธรรม
จริยธรรม เห็นแกประโยชนสขุ สวนรวมเปนหลกั เพือ่ สามารถนําหมูคณะองคกร และสงั คมไปสู
ความเจริญกาวหนา ท่ียง่ั ยนื และมั่นคงตลอดไป273๔๕

ผูบริหารสถานศึกษาไดบริหารงานที่เนนการนําหลักธรรมมาใชในการบริหารตน
ตามหลักของสัปปุรสิ ธรรม (ธรรมของคนด)ี ทง้ั ๗ ประการ คอื ธมั มัญตุ า (รจู ักเหต)ุ อตั ถัญุ
ตา (รจู กั ผล) อัตตัญุตา (รูจักตน) มัตตญั ุตา (รูจักประมาณ) กาลญั ุตา (รูจักกาล) ปริสัญุ
ตา (รูจักชุมชน) และปุโรปรัญุตา (รูจักเลือกคบคน) การบริหารคนตามหลักพลธรรม (ธรรม
เปนกาํ ลังใจในการบรหิ ารงาน) ทงั้ ๔ ประการ คือ ปญ ญาพละ (ใชปญญา) วิรยิ ะพละ (ใชค วาม
เพียร) อนวัชชพละ (ใชความสุจริต) สังคหพละ (ใชมนุษยสัมพันธ) และการบริหารงานตาม
หลักอิทธิบาทธรรม (ธรรมท่ีนําทางสูความสําเร็จ) ท้ัง ๔ ประการคือ ฉันทะ (มีความสนใจ)
วิริยะ (มีความเพียรพยายาม) จิตตะ (ความเอาใจใส) วิมังสา (หม่ันทบทวนความงาม) รวมถึง
การบริหารงานตาม หลักฆราวาสธรรม (ธรรมสําหรับผูครองเรือน) ท้ัง ๔ ประการ คือ สัจจะ
(มีความจริงใจ) ทมะ (มี ความขมใจ) ขันติ (มีความอดทน) และจาคะ (มีความเสียสละ)
สอดคลองกับท่ี พฤติกรรมดานคุณธรรมและจริยธรรมผูบริหารสถานศึกษา ผูบริหาร
สถานศึกษา ประพฤติปฏิบัติตนในดานคุณธรรม จริยธรรมดานการครองตน ครองคน และ
ครองงาน ในการพัฒนางานของตนเองเพื่อสังคมเต็มตามศักยภาพ เพ่ือความเจริญกาวหนา
ทางการศึกษาและ การเปนแบบอยางท่ีดีตอตนเอง ครอบครัว และสวนรวม รวมทั้งมีความ
ซอื่ สัตย ตรงตอ เวลา มีความรบั ผดิ ชอบโดยยดึ ประโยชนของสว นรวมเปนหลักมคี วามบรสิ ทุ ธ์ิใจ
เตม็ ใจและมีเปาหมายทีด่ ใี นการทาํ งาน

๔๕ นันทวรรณ อิสรานุวัฒนชัย. “ภาวะผูนําที่พึงประสงคในยุคโลกาภิวัฒน: ศึกษาจากหลัก
พุทธธรรม”, การประชมุ วชิ าการระดบั ชาติ ครงั้ ที่ ๔ และนานาชาติ ครง้ั ที่ ๒ (๙ ธันวาคม ๒๕๖๒): ๔๓.

๒๐๔ พระครูปลัดบุญชวย โชติวํโส, ดร. (อุยวงค)

บทท่ี ๘ การพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมสําหรับผูบริหารสถานศึกษา

(ก) บทบาทเปนผูนําองคการ บทบาทเปนผูสรางความสัมพันธ และบทบาทผูสราง
ทมี งาน

(ข) กลุมบทบาทเชิงสารสนเทศ ประกอบดวย บทบาทเปนผูกํากับ ติดตามผล
บทบาทเปน ผเู ผยแพรขอมูลขาวสาร บทบาทเปนผูประชาสัมพันธ และบทบาทเปน ผนู ิเทศงาน
และ

(ค) กลุมบทบาทการตัดสินใจประกอบดวยบทบาทเปนผูประกอบการ บทบาท
เปนผูขจัดสิ่งกอกวน บทบาทเปนผูแกปญหา บทบาทเปนผูจัดสรรทรัพยากร และบทบาทเปน
ผูเจรจาตอ รอง (ทองอนิ ทร เตชะแกว และคณะ)

นักบริหารจะทําหนาที่สําเร็จลุลวงไปดวยดีถามีคุณลักษณะ ๓ ประการ ดังท่ี
พระพทุ ธเจา ตรสั ไวใ น ทุตยิ ปาปณกิ สูตร๒ ดงั น้ี

๑) จกั ขุมา หมายถึง มปี ญ ญามองการณไกล เชน ถาเปน พอคา หรอื นักบรหิ ารธรุ กิจ
ตอ งรูวาซื้อสินคาที่ไหนไดราคาถูก แลวนําไปขายที่ไหนจึงไดราคาแพง ในสมัยนี้ตองรูวาหุนจะ
ขน้ึ หรือจะตก ถาเปน นักบริหารท่ัวไป ตองสามารถวางแผนและฉลาดในการใชคน คณุ ลักษณะ
ขอ แรกนตี้ รงกับภาษาองั กฤษวา Conceptual Skill คอื ความชํานาญในการใชค วามคดิ

๒) วิธูโร หมายถึง จัดการธุระไดดีมีความเช่ียวชาญเฉพาะดาน เชน พอคาเพชร
ตองดูออกวาเปนเพชรแทหรือเพชรเทียม แพทยหัวหนาคณะผาตัดตองเชี่ยวชาญการผาตัด
คณุ ลกั ษณะทสี่ องนตี้ รงกับคําวา Technical Skill คือ ความชาํ นาญดานเทคนคิ

๓) นิสสยสัมปนโน หมายถึง พึ่งพาอาศัยคนอื่นไดเพราะเปนคนมีมนุษยสัมพันธดี
เชน พอคาเดินทางไปคาขายตางเมืองก็มีเพื่อนพอคาในเมืองนั้น ๆ ใหที่พักอาศัยหรือใหกูยืม
เงิน เพราะมีเครดิตดี นักบริหารท่ีดีตองผูกใจคนไวได คุณลักษณะท่ีสามน้ีสําคัญมาก "นกไมมี
ขน คนไมมีเพ่ือน ขึ้นสูที่สูงไมได" ขอนี้ตรงกับคําวา Human Relation Skill คือความ
ชํานาญดานมนุษยสัมพันธ คุณลักษณะทั้งสามประการ มีความสําคัญมากนอยตางกัน น่ัน
ข้ึนอยูกับระดับของนักบริหาร ถาเปนนักบริหารระดับสูงที่ตองรับผิดชอบในการวางแผนและ
ควบคุมคนจํานวนมาก หลกั แหงการใชค นใหเหมาะกับงาน

๔) การอํานวยการ (Directing) คือกํากับส่ังการและมอบหมายใหแตละฝายได
ปฏิบตั ิงานตามแผนทว่ี างไว

๕) การควบคุม (Controlling) คือการติดตามดูวาแตละฝายปฏิบัติงานไปถึง
ไหน มีปญหาและอุปสรรคเกิดขึ้นที่ใด และท่ีสําคัญคือการปองกันไมใหยอหยอนตอหนาที่ละ
ทงิ้ หนา ทีห่ รอื ทจุ รติ ตอ หนาที่

คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ ๒๐๕
พระครูปลัดบุญชวย โชติวํโส, ดร. (อุยวงค)

๘.๖ สรุป

การพัฒนาคุณธรรมของมนุษยมีการพัฒนาเปนลําดับจากวัยทารกจนถึงตลอดชีวิต
ตนกาํ เนิดของแหลง ท่กี อใหเกิดการพฒั นาทางคุณธรรมมาจากอิทธิพลของสงั คมและพนั ธุกรรม
คาํ วา สังคม ในที่นีค้ ือ ส่ิงแวดลอมรอบตัวเด็กทง้ั ทเ่ี ปนบุคคล และสภาพแวดลอ มตามธรรมชาติ
อ่ืน ๆ สวนคือ ความสามารถในการรูคิด และพัฒนาขึ้นตามลําดับขั้นอายุ วุฒิภาวะหรือ
ประสบการณและการพัฒนาการสรางลักษณะความเปนผูบริหารใหกับตนเองเปนพื้นฐานเปน
สง่ิ สาํ คัญโดยเฉพาะอยางยงิ่ การวางตนใหเหมาะสม เอาชนะอกุศลในใจตนได มธี รรมประจําตน
กส็ ามารถยดึ เหน่ียวนา้ํ ใจของผใู ตปกครองได จงึ เปน มรรควธิ นี าํ ไปสูเปา หมายการปกครอง

ผูบริหารประสานคนภายในดุลยภาพแหงธรรม หลักธรรมสําคัญที่ชาวพุทธรูจักกันดี
ซ่งึ ผบู ริหาร แนนอนวาจะตอ งมีแมจ ะเปน เร่ืองงาย ๆ พื้น ๆ ก็ขาดไมไดหลกั ธรรมนนั้ เรารูกนั ดีวา
คือ พรหมวิหาร ๔ ประการ พรหมวิหารเปนธรรมสําหรับทุกคนที่จะอยูรวมกับผูอื่นในสังคมใน
ฐานะเปน “พรหม” คือเปนผูมีศักยภาพในการท่ีจะสรางสรรคและธํารงรักษาสังคมไว
โดยเฉพาะสําหรับผูบริหารนั้น แนนอนวาจะตองเปนแบบอยางที่จะตองมีพรหมวิหาร ๔
ประการ เพราะพรหมวิหารนั้นเปนธรรมประจําใจของคนท่ีมีจิตใจยิ่งใหญ เปนผูประเสริฐอัน
แสดงถึงความเปนบุคคลท่ีมีการศึกษา ไดพัฒนาตนแลวพรหมวิหาร ๔ ประการเปนคุณธรรม
พ้ืนฐานที่จะตองใหมีอยูประจําในจิตใจและเปนทาทีของจิตใจทจ่ี ะทําใหแสดงออกหรอื ปฏบิ ัติตอ
ผูอ่นื อยางถกู ตอง

ลักษณะสําคัญของผูบริหารในฐานะเทวราชา คือ การยกอํานาจสิทธ์ิขาดใหเปน
ผูยิ่งใหญ เปนผูดูแลรักษาความสงบ ปราบปรามเหตุการณใหอยูในความสงบ ดําเนินการ
บริหารกิจกรรมตาง ๆ เพื่อประโยชนสวนรวม หรือสมาชิกภายใตการดูแลบนพ้ืนฐานของหลัก
พุทธธรรม พระองคผูเปนเทวราชา มีคุณธรรมท่ีเปนเอกลักษณสําคัญ คือมีความกลาหาญ
เฉพาะในส่ิงที่เปนธรรมตามทศพิธราชธรรม ส่ิงที่เหมือนกันในเทวราชา และธรรมราชา มิใช
เพียงสถานสูงสุดในสังคม แตข้ึนกับเงื่อนไขที่เทาเทียมกันกับทุก ๆ คนในฐานะสมาชิกอยูรวม
ในสังคม คือ การประพฤติธรรม ในฐานะผูบริหาร คือ พันธกรณีในการดูแลทุกขสุขของอาณา
ประชาราษฎรดังนั้นกลาวโดยสรุปประชาชนคนธรรมดา ถากระทําความดีก็อาจไดรับการยก
ยองยอมรับนับถือสมมติเปนเทพ ไดแกกษัตริยในยุคนั้น เปนการปฏิรูปความคิดของลัทธิ
พราหมณท่ีวาคนธรรมดาก็อาจเปน เทพเจาได ถาเขาปฏิบัติตนเปนคนดี จนเปน ท่ียอมรับนบั ถือ
ของคนโดยทั่วไปในกระบวนการบริหารเปนท่ียอมรับกันวาผูบริหารหรือผูบริหารมีบทบาทอัน

๒๐๖ พระครูปลัดบุญชวย โชติวํโส, ดร. (อุยวงค)

บทท่ี ๘ การพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมสําหรับผูบริหารสถานศึกษา

สําคัญยิ่งในการทจี่ ะทาํ ใหง านบรรลผุ ลสําเร็จตามเปาหมาย ผูบ ริหารมีความสําคัญอยางมากท้ัง
ในแงการบริหารงานคือ มีการวางแผนการทํางานการนําแผนไปปฏิบัติ และการประเมินผล
ขนั้ ตอน หรือวิธกี ารดังกลาวน้ี มีความแตกตา งกันไปตามภาวะผบู ริหารแตละบุคคล แตส่ิงที่จะ
แสดงถึงภาวะผูบรหิ ารท่ีพึงประสงคตาม หลักธรรมอันนําไปประยุกตใหเกิดผล มิใชเพยี งสราง
ความม่ันคงกับฐานอํานาจหรือตําแหนง สถานะ ของผูบริหารในกลุมเทานั้น แกนแทของ
หลักธรรมไดแสดงใหเห็นภาวะของผูบริหาร ซึ่งตองเปนบุคคลที่ฉลาด รอบรู มีความมุงหมาย
ในการทํากจิ กรรมตาง ๆ เพ่ือประโยชนแกสวนรวมและมวลสมาชกิ

บทที่ ๙
กฎหมายเกย่ี วกบั จรรยาบรรณวิชาชีพ

สําหรบั ผบู ริหารสถานศึกษา

๙.๑ พระราชบญั ญตั ิ การศึกษาแหง ชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒

ใหไ ว ณ วนั ที่ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๔๒ ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๔๒
• มีผลบังคับใชเมื่อวันท่ี ๒๐ สิงหาคม ๒๕๔๒ รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ
รักษาการ
• เกิดจากหมวด ๕ มาตรา ๘๑ ของกฎหมายรัฐธรรมนูญ (จัดใหม ีกฎหมายเก่ียวกับ
การศกึ ษาแหงชาต)ิ
มาตรา ๔ การศึกษา หมายความวา กระบวนการเรียนรู เพ่ือความเจริญงอกงาม
ของบุคคล และสังคม โดยการถายทอดความรู การฝก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม
การสรรคสราง จรรโลงความกาวหนาทางวิชาการ การสรางองคความรู อันเกิดจากการจัด
สภาพแวดลอม สังคมการเรยี นรู และปจจยั เกอื้ หนนุ ใหบคุ คลเรยี นรอู ยา งตอเนอื่ ง ตลอดชวี ติ
• การศกึ ษาขั้นพน้ื ฐาน หมายความวา การศกึ ษากอ นระดบั อุดมศึกษา
• การศึกษาตลอดชีวิต หมายความวา การศึกษาอันเกิดจากการผสมผสานระหวาง
การศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย เพื่อใหสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตไดอยาง
ตอ เนือ่ งตลอดชวี ิต
• การประกันคุณภาพภายใน หมายความวา การประเมินผล และการติดตาม
ตรวจสอบคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายใน โดยบุคลากรใน
สถานศึกษา/หนว ยงานตน สงั กดั
• การประกันคุณภาพภายนอก หมายความวา การประเมินผลและการติดตาม
ตรวจสอบคณุ ภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายนอก โดยสํานักงานรับรอง
มาตรฐาน และประเมนิ คุณภาพทางการศกึ ษา (สมศ.)
• ผูสอน หมายความวา ครู และคณาจารยในสถานศึกษาตา ง ๆ
• ครู หมายความวา บุคลากรวิชาชีพ ซ่ึงท่ีมีหนาที่หลักทางดานการเรียนการสอน
และการสง เสริมการเรียนรูของผเู รยี น ในสถานศึกษา ท้ังรฐั และเอกชน

๒๐๘ พระครูปลัดบุญชวย โชติวํโส, ดร. (อุยวงค)

บทที่ ๙ กฎหมายเกี่ยวกับจรรยาบรรณวิชาชีพสาํ หรับผูบริหารสถานศึกษา

• คณาจารย หมายความวา บุคลากร ซึ่งทําหนาท่ีหลักทางดานการสอน และการ
วิจัย ในสถานศึกษา ระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาของรัฐ/เอกชน (ขอสังเกต ไมมีคําวา
วชิ าชพี /การเรียน/การสง เสรมิ )

• ผูบริหารสถานศึกษา หมายความวา บุคลากรวิชาชีพ ท่ีรับผิดชอบการบริหาร
สถานศึกษา ทงั้ รัฐ และเอกชน

• ผูบริหารการศึกษา หมายความวา บุคลากรวิชาชีพ ที่รับผิดชอบการบริหาร
การศึกษานอกสถานศึกษา ตงั้ แตร ะดับเขตพืน้ ทกี่ ารศึกษาข้ึนไป

• บุคลากรทางการศึกษา หมายความวา ผูบริหารสถานศึกษา ผูบริหารการศึกษา
และผสู นับสนุนการศกึ ษาซึง่ ทําหนาทใี่ นการใหบ ริการจัดกระบวนการเรียนการสอน การนิเทศ

พระราชบัญญัติการศึกษาแหงชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ มี ๙ หมวด ๗๘ มาตรา ๑ บท
เฉพาะกาล

หมวดที่ ๑ บททัว่ ไป ความมุงหมาย และหลักการ (มาตรา ๑ – ๙)
มาตรา ๖ การจัดการศึกษาตองเปนไปเพ่ือพัฒนาคนไทย ใหเปนมนุษยท่ีสมบูรณ
ทงั้ รางกาย จติ ใจ สติปญญา ความรู และคณุ ธรรม มีจริยธรรม และวฒั นธรรมในการดํารงชวี ิต
สามารถอยูรว มกับผูอน่ื ไดอ ยา งมคี วามสขุ
มาตรา ๘ หลักการจดั การศึกษา มอี งคประกอบ ดงั นี้
๑) เปนการศึกษาตลอดชีวติ สาํ หรับประชาชน
๒) ใหสงั คมมสี วนรวม ในการจัดการศกึ ษา
๓) การพัฒนาสาระ และกระบวนการเรยี นรู ใหเปนไปอยางตอ เนือ่ ง
หมวดท่ี ๒ สทิ ธิ และหนา ที่ทางการศกึ ษา (มาตรา ๑๐ – ๑๔)
มาตรา ๑๐ การจัดการศึกษา ตองจดั ใหบุคคลมีสิทธิ และโอกาสเสมอกัน ในการรับ
การศึกษาข้ันพ้ืนฐานไมนอยกวา ๑๒ ป ที่รัฐตองจัดใหอยางท่ัวถึงมีคุณภาพ และไมเก็บ
คาใชจ าย
การศึกษาสําหรับคนพิการ รัฐตองจัดใหตั้งแตแรกเกิด หรือพบความพิการ โดยไม
เสียคา ใชจา ย มสี ทิ ธิไดรับสงิ่ อํานวยความสะดวก ส่ือ บรกิ าร และความชว ยเหลอื
บุคคลที่มีความสามารถพิเศษ รัฐตองจัดดวยรูปแบบท่ีเหมาะสม โดยคํานึงถึง
ความสามารถของบุคคล (ความแตกตา งระหวา งบุคคล)

คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ ๒๐๙
พระครูปลัดบุญชวย โชติวํโส, ดร. (อุยวงค)

มาตรา ๑๓ บิดามารดา หรือผูปกครอง มสี ิทธิไดรับสิทธิประโยชน (การศึกษาตาม
อัธยาศัย)

๑) การสนับสนุนจากรัฐ ใหมีความรู ความสามารถในการอบรมเลี้ยงดู และ
การศึกษาบุตร

๒) เงินอดุ หนุนการจัดการศกึ ษาขนั้ พื้นฐาน
๓) การลดหยอ น หรือยกเวนภาษี สําหรบั คา ใชจายการศึกษา
มาตรา ๑๔ บุคคล ครอบครัว ชุมชน องคกรชุมชน องคกรเอกชน องคกรวิชาชีพ
สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และอ่ืน ๆ มีสิทธิไดรับสิทธิประโยชน ( การศึกษาตาม
อธั ยาศัย)
๑) การสนับสนุนจากรัฐ ใหมีความรู ความสามารถในการอบรมเล้ียงดู และ
การศึกษาบตุ ร
๒) เงินอดุ หนนุ การจัดการศกึ ษาขน้ั พน้ื ฐาน
๓) การลดหยอน หรอื ยกเวน ภาษี สําหรับคาใชจ ายการศกึ ษา
หมวดที่ ๓ ระบบการศกึ ษา (มาตรา ๑๕ – ๒๑)
มาตรา ๑๕ ระบบการศึกษา มี ๓ ระบบ
๑) การศึกษาในระบบ เปนการศึกษาที่กําหนดจุดมุงหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร
ระยะเวลาของการศึกษา การวัดผล และประเมินผล ซ่ึงเปนเง่ือนไขของการสาํ เร็จการศึกษาที่
แนนอน
๒) การศึกษานอกระบบ เปนการศึกษาที่มีความยืดหยุนในการกําหนดจุดมุงหมาย
วิธีการศึกษา หลักสูตรระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซ่ึงเปนเง่ือนไขการ
สําเรจ็ การศกึ ษา
๓) การศึกษาตามอธั ยาศัย เปน การศกึ ษาที่ใหผูเ รยี นไดเรียนรูดวยตนเอง ตามความ
สนใจ
มาตราที่ ๑๖ การศกึ ษาในระบบ มี ๒ ระดบั คือ
๑) การศึกษาขัน้ พ้นื ฐาน จัดใหไมน อ ยกวา ๑๒ ป กอนอุดมศกึ ษา
๒) การศึกษาระดับอุดมศึกษา ระดับตํา่ กวา ปริญญา และระดับปริญญา

๒๑๐ พระครูปลัดบุญชวย โชติวํโส, ดร. (อุยวงค)

บทท่ี ๙ กฎหมายเกี่ยวกับจรรยาบรรณวิชาชีพสําหรับผูบริหารสถานศึกษา

มาตรา ๑๗ การศึกษาข้ันบงั คบั จํานวน ๙ ป โดยเด็กอายุยางเขา ปท ่ี ๗ เขา เรยี นใน
สถานศึกษาข้ันพ้ืนฐาน จนอายุยางเขาปที่ ๑๖ เวนแตสอบไดช้ันปที่ ๙ ของการศึกษาภาค
บงั คบั

มาตรา ๑๘ การจดั การศึกษาปฐมวัย และการศึกษาขนั้ พน้ื ฐาน ใหจ ัดในสถานศึกษา
ดังน้ี

๑) สถานพัฒนาเดก็ ปฐมวัย เชน ศนู ยเ ดก็ เล็ก ศนู ยพัฒนาเด็กเลก็
๒) โรงเรียน เชน โรงเรยี นรฐั / เอกชน
๓) ศนู ยการเรยี น
หมวด ๔ แนวการจัดการศึกษา (มาตรา ๒๒ – ๓๐) เปนหัวใจของ พ.ร.บ.
การศกึ ษาแหง ชาติ
มาตรา ๒๒ การจัดการศึกษายึดหลักวา ผูเรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู และ
พัฒนาตนเองได และถือวาผูเรียนสําคัญที่สุดกระบวนการจัดการศึกษาตองสงเสริมใหผูเรียน
สามารถพฒั นาตามธรรมชาติ และเต็มตามศักยภาพ
มาตราที่ ๒๓ จุดเนน ในการจดั การศึกษา (ทั้ง ๓ ระบบ)
๑) ความรู
๒) คุณธรรม
๓) กระบวนการเรียนรู
๔) บรู ณาการ ตามความเหมาะสม ดังนี้
ความรูเก่ียวกับตนเอง และความสัมพันธของตนเองกับสังคม รวมถึงประวัติความ
เปนมาของ
๑. สงั คมไทย และระบอบการปกครอง
๒. ความรู และทกั ษะดา นวทิ ยาศาสตร และเทคโนโลยี
๓. ความรูเก่ียวกับศาสนา ศิลปวัฒนธรรม การกีฬา ภูมิปญญาไทยและการ
ประยกุ ตใชภมู ปิ ญญา
๔. ความรู และทักษะดานคณิตศาสตร และดานภาษา เนนการใชภาษาไทยอยาง
ถกู ตอ ง
๕. ความรู และทักษะในการประกอบอาชีพ และการดํารงชีวติ อยา งมีความสขุ

คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ ๒๑๑
พระครูปลัดบุญชวย โชติวํโส, ดร. (อุยวงค)

มาตรา ๒๕ รฐั สง เสรมิ การจัดตงั้ แหลงเรยี นรูตลอดชวี ิต
มาตรา ๒๖ ใหสถานศึกษาจัดประเมินผเู รยี น ควบคูกบั กระบวนการเรยี นการสอน
(โดยถือวาการประเมนิ ผล เปน สว นหนงึ่ ของการจัดการศึกษา และเปนหนา ท่ขี องสถานศกึ ษา)
มาตรา ๒๗ คณะกรรมการการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน กําหนด หลักสูตรแกนกลาง
การศึกษาขน้ั พืน้ ฐาน
มาตรา ๓๐ สถานศกึ ษาพฒั นากระบวนการเรียนการสอนทม่ี ีประสิทธิภาพ สง เสรมิ
ผูสอนใหส ามารถวิจยั เพ่อื พฒั นาผเู รียน
หมวด ๕ การบริหาร และการจัดการศึกษา (มาตรา ๓๑ – ๔๖)
สว นท่ี ๑ การบรหิ าร และการจดั การศึกษาของรฐั
มาตรา ๓๒ การจัดระเบียบบริหารราชการในกระทรวง ที่เปนองคกรหลักท่ีเปน
คณะบุคคลในรูปสภา จํานวน ๔ องคก ร คอื
๑) สภาการศกึ ษา มีหนา ท่ี

- พจิ ารณาเสนอแผนการศกึ ษาแหงชาติ กับการศกึ ษาทุกระดับ
- พิจารณาเสนอนโยบาย แผน และมาตรฐานการศกึ ษา
- พิจารณาเสนอนโยบาย และแผนในการสนบั สนนุ ทรพั ยากร เพอ่ื การศึกษา
- ดําเนินการประเมินผลการจัดการศึกษา
- ใหค วามเหน็ และคาํ แนะนาํ เกย่ี วกับกฎหมาย และกฎกระทรวง
- คณะกรรมการสภาการศกึ ษา (จาํ นวน ๕๙ คน) ประกอบดว ย

๑. ประธานกรรมการ รฐั มนตรีกระทรวงศกึ ษาธกิ าร
๒. กรรมการโดยตาํ แหนง
๓. ผแู ทนองคก รเอกชน
๔. ผแู ทนองคกรปกครองสวนทอ งถ่ิน
๕. ผแู ทนองคกรวิชาชพี
๖. ผูแทนคณะสงฆ
๗. ผแู ทนศาสนาอิสลาม
๘. ผแู ทนศาสนาอ่นื
๙. ผทู รงคุณวฒุ ิ ไมน อ ยกวา กรรมการประเภทอื่นรวมกัน (๓๐ คน)

๒๑๒ พระครูปลัดบุญชวย โชติวํโส, ดร. (อุยวงค)

บทที่ ๙ กฎหมายเก่ียวกับจรรยาบรรณวิชาชีพสาํ หรับผูบริหารสถานศึกษา

๑๐. เลขาธิการสภาการศึกษา เปนกรรมการ และเลขานุการ (เปนนิติ
บุคคล)

๒) คณะกรรมการการศกึ ษาขนั้ พนื้ ฐาน มีหนาท่ี พิจารณา เสนอแผนพัฒนามาตรฐาน
และหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน สอดคลองกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคม
แหงชาติ และแผนการศึกษาแหงชาติ การสนับสนุนทรัพยากร การติดตาม ตรวจสอบ และ
ประเมินผลการจัดการศึกษาข้ันพืน้ ฐาน

คณะกรรมการการศึกษาขนั้ พืน้ ฐาน ประกอบดว ย
๑. กรรมการโดยตําแหนง (ปลัดกระทรวง/เลขาฯ สภา/เลขาฯ อุดมศึกษา/เลขาฯ
อาชวี ศึกษา/เลขาฯ คุรุสภา/ผอ.สํานักงบประมาณ/ผอ.สํานักสอนวทิ ย และเทคโนฯ/ผอ.สาํ นัก
รับรองมาตรฐาน และประกันคณุ ภาพ)
๒. ผูแทนองคก รเอกชน
๓. ผูแ ทนองคก รปกครองสวนทองถิน่
๔. ผแู ทนองคกรวชิ าชพี (ไมม ผี ูแ ทนศาสนา)
๕. ผูทรงคุณวุฒิ ไมนอยกวากรรมการประเภทอื่นรวมกัน (๑๒ คน และผูแทนพระ
๑ รูป)
๖. เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน เปนกรรมการ และเลขานุการ
(เปน นิติบุคคล)
๗. คณะกรรมการการอาชวี ศึกษา (ลักษณะคลายกนั กบั คณะกรรมการการศึกษาขั้น
พ้นื ฐาน)
๘. คณะกรรมการการอุดมศึกษา (ลักษณะคลา ยกันกับคณะกรรมการการศึกษาขั้น
พืน้ ฐาน)
มาตรา ๓๗ การบริหาร และการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ใหยึดเขตพื้นที่การศึกษา
โดยคาํ นงึ ถงึ
๑) ปรมิ าณสถานศกึ ษา
๒) จาํ นวนประชากร
๓) วฒั นธรรม
๔) ความเหมาะสมดานอืน่ ๆ

คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ ๒๑๓
พระครูปลัดบุญชวย โชติวํโส, ดร. (อุยวงค)

๕) รัฐมนตรีกระทรวง โดยคําแนะนะของ สภาการศึกษา มีอํานาจประกาศในราช
กิจจานุเบกษา กาํ หนดเขตพ้ืนทกี่ ารศกึ ษา

มาตรา ๓๘ คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา มีอํานาจในการ กํากับ ดูแล จัดต้ัง
ยุบ รวม หรอื เลิกสถานศึกษา

คณะกรรมการเขตพน้ื ที่การศึกษา (จํานวน ๑๕ คน) ประกอบดว ย
๑. ผแู ทนองคกรชุมชน
๒. ผูแทนองคกรเอกชน
๓. ผูแทนองคก รสวนทอ งถนิ่
๔. ผูแทนสมาคมผปู ระกอบวชิ าชพี ครู
๕. ผูแทนสมาคมผปู ระกอบวชิ าชีพบริหารการศกึ ษา
๖. ผแู ทนสมาคมผปู กครอง และครู
๗. ผทู รงคุณวุฒิ
๘. ผอู าํ นวยการเขตพืน้ ทกี่ ารศึกษา เปนกรรมการ และเลขานกุ าร
๙. คณะกรรมการสถานศกึ ษาขน้ั พื้นฐาน ประกอบดวย
๑๐. ผแู ทนผปู กครอง
๑๑. ผูแทนครู
๑๒. ผูแทนองคกรชุมชน
๑๓. ผแู ทนองคก รปกครองสว นทองถ่ิน
๑๔. ผแู ทนศิษยเ กา
๑๕. ผูแทนพระภกิ ษุ/องคก รศาสนาอ่นื
๑๖. ผูทรงคณุ วฒุ ิ
๑๗. ผูบริหารสถานศึกษา เปนกรรมการ และเลขานกุ าร
สว นที่ ๒ การบรหิ าร และการจดั การศกึ ษาขององคก รปกครองสวนทอ งถ่นิ
มาตรา ๔๑ องคก รปกครองสว นทองถิ่น มสี ทิ ธิจัดการศึกษาไดทกุ ระดบั
สวนท่ี ๓ การบริหาร และการจัดการศกึ ษาของเอกชน
มาตรา ๔๔ สถานศกึ ษาเอกชน เปน นติ บิ คุ คล
๑. คณะกรรมการสถานศึกษาเอกชน ประกอบดว ย

๒๑๔ พระครูปลัดบุญชวย โชติวํโส, ดร. (อุยวงค)

บทที่ ๙ กฎหมายเก่ียวกับจรรยาบรรณวิชาชีพสําหรับผูบริหารสถานศึกษา

๒. ผบู ริหารสถานศกึ ษาเอกชน
๓. ผรู บั ใบอนุญาต
๔. ผูแ ทนผปู กครอง
๕. ผแู ทนองคก รชุมชน
๖. ผูแทนครู
๗. ผแู ทนศิษยเ กา (ไมม ีผแู ทน องคกรสวนทองถน่ิ และ ศาสนา)
๘. ผทู รงคณุ วฒุ ิ
มาตรา ๔๕ สถานศึกษาเอกชน มสี ทิ ธิจัดการศกึ ษาไดท กุ ระดับ
หมวดท่ี ๖ มาตรฐาน และการประกันคณุ ภาพทางการศกึ ษา (มาตรา ๔๗ – ๕๑)
มาตรา ๔๗ ใหมีระบบประกันคุณภาพทางการศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพ และ
มาตรฐานการศกึ ษา
ทุกระดับ ประกอบดวย ระบบการประกันคุณภาพภายใน และระบบการประกัน
คณุ ภาพภายนอก
มาตรา ๔๘ ใหหนวยงานตนสังกัด และสถานศึกษา จัดใหมีระบบการประกัน
คณุ ภาพภายใน โดยใหถ อื วา การประกนั คุณภาพภายใน
๑) เปนสวนหน่งึ ของกระบวนการบรหิ ารการศึกษา
๒) ดําเนินการอยางตอ เน่อื ง
๓) จดั ทาํ รายงานประจําปเ สนอหนวยงานตน สังกดั / หนว ยงานท่เี กย่ี วของ
๔) เปด เผยตอสาธารณชน
มาตรา ๔๙ ใหม ี สาํ นักงานรับรองมาตรฐาน และประเมินคณุ ภาพทางการศึกษา มี
ฐานะเปน
องคกรมหาชน มีหนาที่พัฒนาเกณฑ วิธีการ และทําการประเมินคุณภาพภายนอก
เพ่ือตรวจสอบ คุณภาพ ของสถานศึกษา อยางนอย ๑ ครั้ง ในทุก ๕ ป นับแตประเมินคร้ัง
สดุ ทาย และเสนอผลตอหนว ยงานที่เกี่ยวขอ ง และสาธารณชน
มาตรา ๕๑ กรณีผลการประเมินภายนอกของสถานศึกษา ไมไดมาตรฐานให สมศ.
จัดทําขอเสนอแนะ การปรับปรุงแกไขตอหนวยงานตนสังกัด เพื่อใหสถานศกึ ษาปรับปรุงแกไข
ภายในเวลาที่กาํ หนด หากไมดาํ เนินการใหร ายงานตอคณะกรรมการการศกึ ษาขั้นพน้ื ฐาน

คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ ๒๑๕
พระครูปลัดบุญชวย โชติวํโส, ดร. (อุยวงค)

หมวดที่ ๗ ครู คณาจารย และบุคลากรทางการศึกษา (มาตรา ๕๒ – ๕๗)
มาตรา ๕๓ ใหมีองคกรวิชาชีพครู ผูบริหารสถานศึกษา และผูบริหารการศึกษา มี
ฐานะเปน องคกรอสิ ระ ภายใตก ารบริหารของสภาวิชาชีพ มอี ํานาจ (ทําใหเกดิ พ.ร.บ.สภาครูฯ)
กาํ หนดมาตรฐานวิชาชีพ/ออก และเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ กํากับดูแล
การปฏบิ ตั ิตามมาตรฐาน และจรรยาบรรณของวชิ าชีพ/พฒั นาวิชาชพี
ครู ผูบริหารสถานศกึ ษา ผูบรหิ ารการศกึ ษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ท้ังของ
รัฐ และเอกชนตองมีใบประกอบวชิ าชพี ยกเวน
๑. บคุ ลากรท่จี ัดการศึกษา ตามอัธยาศัย
๒. ผบู รหิ ารการศกึ ษาระดับเหนอื เขตการศกึ ษา
๓. วิทยากรพเิ ศษทางการศกึ ษา
๔. คณาจารย ผูบริหารสถานศึกษา ผูบริหารการศึกษา ในระดับอุดมศึกษา ระดับ
ปริญญา
หมวดที่ ๘ ทรัพยากร และการลงทนุ เพ่ือการศึกษา (มาตรา ๕๘ – ๖๒)
มาตรา ๕๙ บรรดาอสังหาริมทรัพยของสถานศึกษาของรัฐ ที่เปนนิติบุคคลไดมา
โดยมีผูอุทิศใหหรือซ้ือ แลกเปลี่ยนจากรายไดของสถานศึกษาไมถือเปนท่ีราชพัสดุ ใหเปน
กรรมสิทธขิ์ องสถานศกึ ษา
๑) บรรดารายได และผลประโยชนตาง ๆ ไมเปนรายไดท่ีตองนําสงกระทรวงการคลัง
ใหจัดสรรเปน คา ใชจายในการจดั การศึกษาได
หมวดท่ี ๙ เทคโนโลยี เพอ่ื การศึกษา (มาตรา ๖๓ – ๖๙)
มาตรา ๖๓ รฐั ตองจัดคล่นื ความถี่ สื่อตวั นํา โครงสรา งพนื้ ฐานอื่น ท่ีจําเปน ตอการ
สง วทิ ยกุ ระจายเสยี ง โทรทัศน เพอื่ ใชป ระโยชนสาํ หรบั การศึกษา
มาตรา ๖๔ รัฐสงเสริม และสนับสนุนการผลิต และพัฒนาแบบเรียน โดนเปดใหมี
การแขง ขนั โดยเสรีอยางเปน ธรรม
บทเฉพาะกาล (มาตรา ๗๐ – ๗๘)
มาตรา ๗๐ บรรดา กฎหมาย กฎ ระเบียบ ขอ บังคบั ท่ีใชบ ังคับอยู ใหใชตอไป แตไม
เกิน ๕ ป นับแตว นั ท่ี พ.ร.บ. บี้ บังคบั ใช (ขอ สอบ)

๒๑๖ พระครูปลัดบุญชวย โชติวํโส, ดร. (อุยวงค)

บทที่ ๙ กฎหมายเก่ียวกับจรรยาบรรณวิชาชีพสําหรับผูบริหารสถานศึกษา

มาตรา ๗๑ กระทรวง ทบวง กรม หนวยงานทางการศึกษา และสถานศึกษา ที่มี
อยใู นวันท่ี พ.ร.บ.บงั คบั ใช ใหใ ชต อไป แตไมเกิน ๓ ป นับแตว ันท่ี พ.ร.บ. บี้ บังคบั ใช

มาตรา ๗๒ หามมิใหใช มาตรา ๑๐ (การศกึ ษาพ้ืนฐานไมนอยกวา ๑๒ ป) มาบังคับ
ใช จนกวา จะมีการดําเนินการใหเ ปน ไปตาม พ.ร.บ. แตต องไมเกนิ ๕ ป นบั แตว นั ท่ีรฐั ธรรมนูญ
บังคบั ใช

ภายใน ๖ ป นับแตวันที่ พ.ร.บ.นี้บังคับใช ใหมีการประเมินภายนอกทุกแหง
(๒๕๔๘)

มาตรา ๗๕ ใหจ ดั ตัง้ สาํ นักงานปฏริ ปู ทางการศึกษา เปน องคก รมหาชนเฉพาะกจิ
มาตรา ๗๖ คณะกรรมการบริหารสาํ นกั งานปฏิรปู การศึกษา จาํ นวน ๙ คน
มวี าระดาํ รงตําแหนง วาระเดยี ว ๓ ป เมื่อครบแลว ยุบตําแหนง และสาํ นกั งาน274๑

๙.๒ สรปุ สาระสําคญั :พระราชบญั ญัตริ ะเบยี บขาราชการครแู ละบคุ ลากร
ทางการศกึ ษา พ.ศ.๒๕๔๗

ประกาศในราชกิจจานุเบกษาฉบบั กฤษฎกี าเลม ๑๒๑ ตอนพเิ ศษ ๗๙ ก

วันที่ ๒๓ ธนั วาคม ๒๕๔๗โดยมีผลบงั คับใชว ันท่ี ๒๔ ธนั วาคม ๒๕๔๗ ๑
275

มาตรา ๑ การเรียกชื่อ พรบ.น้ี มาตรา ๒ ใหใชบังคับวันถัดจากประกาศ มาตรา ๓
การยกเลกิ พรบ. ๒๕๒๓ พ.ศ. ๒๕๔๗

มาตรา ๔ ในพระราชบัญญตั ิน้ี

“ขาราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา" หมายความวา บุคคลซึ่งไดรับการ
บรรจุและแตงต้ังตามพระราชบัญญัติน้ีใหรับราชการโดยไดรับเงินเดือนจากเงินงบประมาณ
หมวดเงินเดือนในกระทรวงศึกษาธิการกระทรวงการทองเท่ียวและกีฬา กระทรวงวัฒนธรรม
หรอื กระทรวงอ่ืน

๑ พระราชบัญญัติการศึกษาแหงชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒, สรุปยอ, [ออนไลน], แหลงที่มา:
http://www.kruchiangrai.net [๗ กุมภาพันธ ๒๕๖๑].

๑ ชาญชยั แสวงศักด,์ิ กฎหมายการปกครองเกีย่ วกบั การศกึ ษา, (กรงุ เทพมหานคร: สํานักพิมพ
วญิ ูชน, ๒๕๖๐), หนา ๓๐๘-๓๕๐.

คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ ๒๑๗
พระครูปลัดบุญชวย โชติวํโส, ดร. (อุยวงค)

“ขาราชการครู” หมายความวา ผูท่ีประกอบวิชาชีพซึ่งทําหนาท่ีหลักทางดานการ
เรียนการสอนและสงเสริมการเรียนรขู องผูเรียนดวยวธิ กี ารตา ง ๆ ในสถานศกึ ษาของรฐั

“คณาจารย” หมายความวา บุคลากรซ่ึงทําหนาที่หลักทางดานการสอนและการ
วจิ ยั ในสถานศึกษาระดบั อดุ มศึกษาระดับปริญญาของรัฐ

“บุคลากรทางการศึกษา” หมายความวา ผูบริหารสถานศึกษา ผูบรหิ ารการศกึ ษา
รวมท้ังผูสนับสนุนการศึกษาซ่งึ เปน ผูทาํ หนาท่ีใหบ ริการ หรือปฏิบัติงานเก่ยี วเน่อื งกับการจดั ระ
บวนการเรียนการสอน การนิเทศการบริหารการศึกษา และปฏิบัติงานอื่นในหนวยงาน
การศึกษา

“วิชาชีพ” หมายความวา วิชาชพี ครู วชิ าชีพบรหิ ารการศึกษา และวิชาชพี บคุ ลากร
ทางการศกึ ษาอื่น

“เขตพื้นทกี่ ารศึกษา” หมายความวา เขตพืน้ ท่ีการศึกษาตามประกาศกระทรวง
“หนว ยงานการศึกษา” หมายความวา
(๑) สถานศกึ ษา
(๒) สํานกั งานเขตพ้นื ท่ีการศึกษา
(๓) สํานักงานการศึกษานอกโรงเรยี น
(๔) สาํ นักงานการศึกษานอกโรงเรียน
(๕) แหลงการเรียนรูตามประกาศของสาํ นักงานเขตพื้นทก่ี ารศกึ ษา
(๖) หนวยงานตามกฎหมายวาดวยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
หรอื ตามประกาศกระทรวง หรือหนว ยงานที่ ก.ค.ศ. กําหนด
“สถานศึกษา” หมายความวา สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย โรงเรียน ศูนยการศึกษา
พิเศษ ศูนยการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย ศูนยการเรียน วิทยาลัย วิทยาลัยชุมชน
สถาบันหรือสถานศึกษาท่เี รยี กชือ่ อยางอ่ืนของรฐั ทม่ี ีอาํ นาจหนาท่ีหรือมีวตั ถุประสงคในการจัด
การศกึ ษาตามกฎหมายวาดว ยการศึกษาแหงชาติและตามประกาศกระทรวง
“หัวหนาสวนราชการ” หมายความวา ปลัดกระทรวง เลขาธิการ อธิบดี หรือ
ตาํ แหนงท่เี รยี กชอื่ อยางอื่นทม่ี ีฐานะเทียบเทา
มาตรา ๕ บรรดาคําวา "ขาราชการพลเรือน" ที่มีอยูในกฎหมาย ประกาศ ระเบียบ
และขอบังคับอื่นใดใหหมายความรวมถึงขาราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาดวย เวนแต

๒๑๘ พระครูปลัดบุญชวย โชติวํโส, ดร. (อุยวงค)

บทท่ี ๙ กฎหมายเก่ียวกับจรรยาบรรณวิชาชีพสาํ หรับผูบริหารสถานศึกษา

จะไดมีกฎหมาย ประกาศ ระเบียบหรือขอบังคับอ่ืนใดที่บัญญัติไวสําหรับขาราชการครูและ
บุคลากรทางการศกึ ษาโดยเฉพาะ

หมวด ๑
คณะกรรมการบริหารงานบคุ คลของขาราชการครูและบคุ ลากรทางการศึกษา
มาตรา ๗ "คณะกรรมการขาราชการครแู ละบคุ ลากรทางการศึกษา" เรียกโดยยอวา
"ก.ค.ศ."
มีจํานวน ๒๑ คน เปน คณะกรรมการระดบั นโยบาย ประกอบดว ย
(๑) รฐั มนตรีวาการกระทรวงศึกษาธิการ เปนประธานกรรมการ
(๒) ปลดั กระทรวงศึกษาธกิ าร เปน รองประธานกรรมการ
(๓) กรรมการโดยตําแหนงจํานวนหาคน ไดแก เลขาธกิ ารคณะกรรมการการศึกษา
ขั้นพ้ืนฐาน เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา
เลขาธิการครุ สุ ภา และเลขาธิการ ก.พ. (หมายเหตุ................ไมมเี ลขาธิการสภาการศึกษา)
(๔) กรรมการผูทรงคุณวุฒิจํานวนเจ็ดคน ซึ่งคณะรัฐมนตรีแตงต้ังจากบุคคลที่มี
ความรู ความเชี่ยวชาญและประสบการณส ูงทางดา นการศึกษา ดา นการบรหิ ารงานบคุ คล ดา น
กฎหมาย ดานการบริหารการจัดการภาครัฐดานการบริหารองคกร ดานการศึกษาพิเศษ และ
ดานการบริหารธรุ กจิ หรือดานเศรษฐศาสตร ดา นละหนงึ่ คน
(๕) กรรมการผูแทนขา ราชการครแู ละบุคลากรทางการศึกษาซึง่ มาจากการเลือกตั้ง
จาํ นวนเจด็ คน
ประกอบดวย ผูแทนผูอํานวยการสํานักงานเขตพื้นท่ีการศึกษา จํานวนหนึ่งคน
ผูแทนผบู ริหารสถานศกึ ษา หรือผบู ริหารสถานศึกษาทเี่ รียกช่อื อยา งอื่นในหนวยงานการศกึ ษา
ตามที่ ก.ค.ศ. กําหนดจาํ นวนหน่งึ คน ผูแทนขา ราชการครู จํานวนสี่คน และผแู ทนบคุ ลากรทาง
การศึกษาอน่ื จาํ นวนหนึ่งคน
เลขาธิการ ก.ค.ศ. เปนเลขานุการ และใหเลขาธิการ ก.ค.ศ. แตงตั้งขาราชการใน
สาํ นักงาน ก.ค.ศ.
เปนผูชวยเลขานุการไมเกินสองคน (เลขา ก.ค.ศ. เปนเพียงเลขานุการที่ประชุม
เทาน้นั ไมมสี ิทธิออกเสยี ง
มาตรา ๘ กรรมการผูทรงคุณวฒุ ติ อ งมคี ุณสมบัตแิ ละไมมลี กั ษณะตอ งหา ม ดังตอไปนี้

คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ ๒๑๙
พระครูปลัดบุญชวย โชติวํโส, ดร. (อุยวงค)

(๑) มีสญั ชาตไิ ทย
(๒) มอี ายไุ มต ํ่ากวา สามสบิ หา ปบ ริบูรณ และไมเกนิ เจ็ดสิบปบ ริบรู ณ
(๓) ไมเ ปนผดู าํ รงตําแหนง ทางการเมือง
(๔) ไมเปน สมาชกิ สภาทอ งถน่ิ หรอื ผูบริหารทองถ่ิน
(๕) ไมเ ปน เจาหนาที่ ทป่ี รกึ ษา หรอื ผมู ตี าํ แหนงบรหิ ารในพรรคการเมือง
(๖) เปนผูท่ีไดรับการยอมรับในเร่ืองความซื่อสัตย ความยุติธรรม และไมเคยมี
ประวัติเสอื่ มเสยี
มาตรา ๙ กรรมการผูแทนผูอํานวยการสํานักงานเขตพ้ืนท่ีการศึกษา ตองมี
คุณสมบตั ิ ดังตอไปน้ี
(๑) มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพและไมเคยถูกพักใชหรือเพิกถอนใบอนุญาต
ประกอบวชิ าชีพมากอ น
(๒) เปนผูที่ไดรับการยอมรับในเรื่องความซ่ือสัตย ความยุติธรรม และไมเคยมี
ประวตั ิเส่ือมเสีย
มาตรา ๑๐ กรรมการผูแทนผูบริหารสถานศกึ ษาหรอื ผบู รหิ ารสถานศึกษาท่เี รยี กชื่อ
อยา งอืน่ ในหนว ยงานทางการศึกษา ตามท่ี ก.ค.ศ. กําหนด ตองมีคณุ สมบตั ิ ดังตอ ไปน้ี
(๑) มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพและไมเคยถูกพักใชหรือเพิกถอนใบอนุญาต
ประกอบวิชาชีพมากอน
(๒) มีประสบการณดานการบริหารในตําแหนงผูบริหารสถานศึกษาหรือผูบริหาร
สถานศกึ ษาท่เี รยี กช่ืออยางอื่นในหนวยงานการศึกษาเปนเวลาไมนอยกวา หา ป
(๓) เปนผูท่ีไดรับการยอมรับในเร่ืองความซื่อสัตย ความยุติธรรม และไมเคยมี
ประวตั เิ สื่อมเสีย
มาตรา ๑๑ กรรมการผูแทนขา ราชการครูตอ งมีคณุ สมบตั ิ ดงั ตอ ไปนี้
(๑) มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ และไมเคยถูกพักใชหรือเพิกถอนใบอนุญาต
ประกอบวชิ าชีพมากอ น
(๒) มีประสบการณดานปฏิบัติการสอนในวิทยฐานะไมตํ่ากวาครูชํานาญการหรือ
เทยี บเทา หรอื มีประสบการณการสอนเปนเวลาไมนอ ยกวาสิบหา ป
(๓) เปนผูที่ไดรับการยอมรับในเรื่องความซื่อสัตย ความยุติธรรม และไมเคยมี
ประวัติเส่ือมเสีย

๒๒๐ พระครูปลัดบุญชวย โชติวํโส, ดร. (อุยวงค)

บทท่ี ๙ กฎหมายเก่ียวกับจรรยาบรรณวิชาชีพสาํ หรับผูบริหารสถานศึกษา

มาตรา ๑๒ กรรมการผแู ทนบคุ ลากรทางการศึกษาอ่ืนตอ งมคี ุณสมบตั ิ ดังตอไปนี้
(๑) มวี ฒุ กิ ารศกึ ษาไมต่ํากวาระดับปริญญาตรี
(๒) มีประสบการณดานสนับสนุนการศึกษา ซึ่งเปนผูทําหนาที่ใหบริการ หรือ
ปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียนการสอน การนิเทศ การบริหารการศึกษา
และปฏบิ ตั ิงานอน่ื ในหนวยงานการศึกษาเปน เวลาไมนอยกวาสบิ หา ป
(๓) เปนผูท่ีไดรับการยอมรับในเร่ืองความซื่อสัตย ความยุติธรรม และไมเคยมี
ประวัตเิ สอ่ื มเสีย
มาตรา ๑๓ กรรมการผูทรงคุณวุฒิ และกรรมการผแู ทนขาราชการครูและบุคลากร
ทางการศกึ ษา
มีวาระอยูในตําแหนงคราวละส่ปี  และเลือกใหมไดอกี แตจะดํารงตําแหนงติดตอกัน
เกนิ กวา สองวาระมิได
ถากรรมการผูทรงคุณวุฒิหรือกรรมการผูแทนขาราชการครูและบุคลากรทางการ
ศกึ ษาวางลงใหดาํ เนนิ การแตงตั้งหรอื สรรหากรรมการแทนตําแหนงที่วา งภายในหกสิบวัน เวน
แตวาระการดํารงตําแหนงของกรรมการผูน้ันเหลือไมถึงเกา สิบวัน จะไมดําเนินการแตงตง้ั หรือ
สรรหากรรมการแทนก็ได และใหกรรมการซ่ึงแทนกรรมการในตําแหนงท่ีวางลง มีวาระอยูใน
ตาํ แหนง เทา กบั ระยะเวลาท่ีเหลอื อยูข องผูซง่ึ ตนแทน
เมื่อครบกําหนดตามวาระ หากยังไมมีการแตงต้ังกรรมการผูทรงคุณวุฒิ และเลือก
กรรมการผูแทนขาราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาขึ้นใหม ใหกรรมการซึ่งพนจาก
ตําแหนงตามวาระนั้น อยูในตําแหนงเพ่ือดําเนินงานตอไปจนกวากรรมการผูทรงคุณวุฒิและ
กรรมการผูแทนขา ราชการครแู ละบุคลากรทางการศึกษาซ่งึ ไดร บั แตง ต้งั ใหมเ ขา รับหนา ท่ี
มาตรา ๑๔ นอกจากการพนจากตําแหนงตามวาระ กรรมการผูทรงคุณวุฒิพนจาก
ตําแหนงเมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออกโดยย่ืนหนังสอื ลาออกตอ ประธานกรรมการ
(๓) เปน บคุ คลลม ละลาย
(๔) เปน คนไรค วามสามารถ หรือคนเสมือนไรความสามารถ
(๕) ขาดคณุ สมบตั ิ หรอื มลี กั ษณะตองหา มตามมาตรา ๘

คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ ๒๒๑
พระครูปลัดบุญชวย โชติวํโส, ดร. (อุยวงค)

(๖) ไดร บั โทษจําคุกโดยคาํ พิพากษาถึงท่สี ุดใหจําคุก เวนแตเปน โทษสาํ หรับความผิด
ทไ่ี ดก ระทําโดยประมาทหรอื ความผิดลหุโทษ

(๗) คณะรัฐมนตรีมีมติใหออก
มาตรา ๑๕ นอกจากการพนจากตําแหนงตามวาระ กรรมการผูแทนขาราชการครู
และบุคลากรทางการศกึ ษาพนจากตําแหนง เมอื่
(๑) ตาย
(๒) ลาออกโดยย่ืนหนงั สอื ลาออกตอ ประธานกรรมการ
(๓) พนจากการเปนขา ราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
(๔) ขาดคณุ สมบัติตามมาตรา ๙ มาตรา ๑๐ มาตรา ๑๑ หรือมาตรา ๑๒
(๕) ถูกถอดถอนโดยรัฐมนตรีตามมติของ ก.ค.ศ. ดวยคะแนนเสียงไมนอยกวาสอง
ในสามของจาํ นวนกรรมการทง้ั หมด276๒

๙.๓ สรปุ

พระราชบัญญัติ การศึกษาแหงชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ มีมาตราท่ีมีความนาสนใจ
หลากหลายมาตรา เชน มาตรา ๔ การศึกษา หมายความวา กระบวนการเรียนรู เพื่อความ
เจริญงอกงามของบุคคล และสังคม โดยการถายทอดความรู การฝก การอบรม การสืบสาน
ทางวัฒนธรรม การสรรคสรา ง จรรโลงความกา วหนาทางวิชาการ การสรา งองคความรู อันเกิด
จากการจัดสภาพแวดลอม สังคม การเรียนรู และปจจัยเก้ือหนุนใหบุคคลเรียนรูอยา งตอเน่ือง
ตลอดชีวิต และผูบริหารสถานศึกษา หมายความวา บุคลากรวิชาชีพ ที่รับผิดชอบการบริหาร
สถานศกึ ษา ท้ังรัฐ และเอกชน

พระราชบัญญัติการศึกษาแหงชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ มี ๙ หมวด ๗๘ มาตรา ๑ บท
เฉพาะกาล หมวดท่ี ๑ บทท่ัวไป ความมุงหมาย และหลักการ (มาตรา ๑ – ๙) มาตรา ๖ การ
จดั การศึกษาตอ งเปนไปเพ่ือพฒั นาคนไทย ใหเ ปนมนุษยทีส่ มบรู ณ ท้ังรางกาย จิตใจ สติปญ ญา
ความรู และคุณธรรม มีจริยธรรม และวัฒนธรรมในการดํารงชีวิต สามารถอยูรวมกับผูอื่นได
อยางมีความสุข สรุปสาระสําคัญ:พระราชบัญญัติระเบียบขาราชการครูและบุคลากรทางการ

๒ Gotoknow, สรปุ สาระสําคัญ: พระราชบญั ญัติระเบียบขาราชการครแู ละบคุ ลากรทางการ
ศึกษา พ.ศ. -๒๕๔๗, [ออนไลน] , แหลง ทีม่ า: https://www.gotoknow.org [๘ กมุ ภาพนั ธ ๒๕๖๑].

๒๒๒ พระครูปลัดบุญชวย โชติวํโส, ดร. (อุยวงค)

บทที่ ๙ กฎหมายเกี่ยวกับจรรยาบรรณวิชาชีพสําหรับผูบริหารสถานศึกษา

ศึกษา พ.ศ.๒๕๔๗ ไดใหความหมายของ ขาราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา"
หมายความวา บุคคลซ่ึงไดรับการบรรจุและแตงต้ังตามพระราชบัญญัตินี้ใหรับราชการโดย
ไดรับเงินเดือนจากเงินงบประมาณหมวดเงินเดือนในกระทรวงศึกษาธิการกระทรวงการ
ทองเท่ียวและกีฬา กระทรวงวัฒนธรรม หรือกระทรวงอ่ืน กฎหมายที่มีความเก่ียวของกับ
ผูบริหารสถานศึกษามีอยูมากมาย ผูบริหารที่ดีควรศึกษากฎหมายทางการศึกษาไวเพื่อนํามา
ประยกุ ตใชใ นการพัฒนาสถานศกึ ษาใหม ีประสิทธภิ าพตอ ไป

บทที่ ๑๐
เกณฑม าตรฐานวชิ าชพี ผูบริหารสถานศกึ ษา

มาตรฐานวิชาชีพผูบริหารสถานศึกษาประกอบดว ยมาตรฐาน ๓ ดา น คอื มาตรฐาน
ความรูและประสบการณวิชาชีพ มาตรฐานการปฏิบัติงาน และมาตรฐานการปฏิบัติตน
(จรรยาบรรณของวชิ าชพี )

โดยจรรยาบรรณของวิชาชีพไดมีการกําหนดแบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณ
ของวิชาชีพ เพื่อประมวลพฤติกรรมที่เปนตัวอยางของการประพฤติปฏิบัติ ประกอบดวย
พฤตกิ รรมทีพ่ งึ ประสงค และพฤติกรรมทไ่ี มพ ึงประสงค277๑

ภาพที่ ๑๐.๑ มาตรฐานวิชาชพี ผูบรหิ ารสถานศึกษา

๑ คุรุสภา สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา, มาตรฐานวิชาชีพผูบริหารสถานศึกษา,
[ออนไลน] , แหลงท่มี า: http://www.ksp.or.th [๘ กุมภาพันธ ๒๕๖๑].

๒๒๔ พระครูปลัดบุญชวย โชติวํโส, ดร. (อุยวงค)

บทท่ี ๑๐ เกณฑมาตรฐานวิชาชีพผูบริหารสถานศึกษา

๑๐.๑ มาตรฐานความรูและประสบการณว ชิ าชพี

มาตรฐานความรู มาตรฐานประสบการณวชิ าชีพ
๑. มีคณุ วุฒไิ มต่ํากวาปรญิ ญาตรที างการ ๑. มปี ระสบการณด านปฏิบัติการสอน
บรหิ ารการศกึ ษา หรอื เทยี บเทา หรอื คุณวุฒิ มาแลวไมนอยกวา ๕ ป หรือ
อืน่ ทีค่ ุรสุ ภารบั รองโดยมีความรูดังตอไปน้ี ๒. มปี ระสบการณด านปฏบิ ัติการสอนและ
๑.๑ หลกั และกระบวนการบริหาร ตอ งมปี ระสบการณในตาํ แหนง หวั หนาหมวด
การศกึ ษา หรอื หัวหนา สาย หรือหวั หนางาน หรือ
๑.๒ นโยบายและการวางแผนการศกึ ษา ตําแหนงบริหารอื่น ๆ ในสถานศกึ ษามาแลว
๑.๓ การบริหารดา นวิชาการ ไมน อยกวา ๒ ป
๑.๔ การบริหารดา นธุรการการเงนิ พสั ดุ
และอาคารสถานท่ี
๑.๕ การบรหิ ารงานบุคคล
๑.๖ การบรหิ ารกจิ การนักเรยี น
๑.๗ การประกันคุณภาพการศึกษา
๑.๘ การบรหิ ารจดั การเทคโนโลยี
สารสนเทศ
๑.๙ การบริหารการประชาสัมพันธแ ละ
ความสัมพันธช ุมชน
๑.๑๐ คุณธรรมและจรยิ ธรรมสําหรบั
ผูบ ริหารสถานศึกษา
๒. ผานการฝก อบรมหลกั สูตรการบรหิ าร
สถานศึกษาท่คี ณะกรรมการคุรุสภารบั รอง

คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ ๒๒๕
พระครูปลัดบุญชวย โชติวํโส, ดร. (อุยวงค)

มาตรฐานความรู สาระความรู สมรรถนะ
๑. หลักและกระบวนการ ๑. หลกั และทฤษฎีทางการ ๑. สามารถนาํ ความรู ความ
บรหิ ารการศึกษา บริหาร และการบริหาร เขา ใจ ในหลักการและทฤษฎี
การศกึ ษา ทางการบริหารการศึกษาไป
๒. ระบบและกระบวนการ ประยุกตใ ชในการบรหิ าร
บริหารและการจดั การ การศกึ ษา
การศึกษายุคใหม ๒. สามารถวเิ คราะห
๓. การสรางวสิ ยั ทศั นใ นการ สงั เคราะห และสรางองค
บรหิ ารและจดั การการศึกษา ความรใู นการบรหิ ารจดั การ
๔. กฎหมายทีเ่ กย่ี วขอ งกับ การศึกษา
การศกึ ษา ๓. สามารถกาํ หนดวสิ ยั ทัศน
๕. บริบทและแนวโนมการ และเปาหมายของการศกึ ษา
จัดการการศึกษา ๔. สามารถจัดองคกร
โครงสรา งการบรหิ ารและ
กาํ หนดภารกิจของครู
และบุคลากรทางการศึกษา
ไดเ หมาะสม

๒. นโยบายและการวางแผน ๑. พ้นื ฐานทางเศรษฐกจิ ๑. สามารถวเิ คราะหขอมูล
การศึกษา สงั คม การเมือง และ เพือ่ จัดทาํ นโยบายการศกึ ษา
เทคโนโลยี ท่ีมผี ลตอ การจัด ๒. สามารถกาํ หนด
การศกึ ษา นโยบาย วางแผนการ
๒. ระบบและทฤษฎีการ ดาํ เนนิ งานและประเมนิ
วางแผน คณุ ภาพการจัดการศึกษา
๓. การวิเคราะหและการ ๓. สามารถจัดทําแผนพัฒนา
กาํ หนด นโยบายการศึกษา คณุ ภาพการศึกษา ท่ีมงุ ให
เกิดผลดี คุม คาตอการศึกษา
๔. การวางแผนพัฒนา สงั คม และสงิ่ แวดลอม
คุณภาพการศึกษา ๔. สามารถนาํ แผนพฒั นา
คุณภาพการศึกษาไปปฏบิ ตั ิ

๒๒๖ พระครูปลัดบุญชวย โชติวํโส, ดร. (อุยวงค)

บทท่ี ๑๐ เกณฑมาตรฐานวิชาชีพผูบริหารสถานศึกษา

มาตรฐานความรู สาระความรู สมรรถนะ
๓. การบรหิ ารดานวิชาการ ๕. การพัฒนานโยบาย ๕. สามารถตดิ ตาม ประเมนิ
การศกึ ษา และรายงานผลการ
๔. การบริหาร ดา นธุรการ ๖. การประเมนิ นโยบาย ดําเนนิ งาน
การเงนิ พสั ดุ และอาคาร การศกึ ษา
สถานท่ี
๑. การบรหิ ารจดั การเรยี นรู ๑. สามารถบริหารจดั การ
ท่ยี ดึ ผเู รยี นเปนสําคัญ การเรียนรู
๒. หลกั การและรปู แบบการ ๒. สามารถพฒั นาหลักสตู ร
พัฒนาหลกั สูตร สถานศกึ ษา
๓. การพัฒนาหลักสตู ร ๓. สามารถนเิ ทศการจัดการ
ทองถ่นิ เรียนรูใ นสถานศึกษา
๔. หลกั และแนวคิดเกี่ยวกบั ๔. สามารถสงเสริมใหมกี าร
การนิเทศ วจิ ัยเพ่ือพฒั นาคุณภาพการ
๕. กลยทุ ธการนิเทศ จดั การเรียนรู
การศกึ ษา
๖. การวางแผนและการ
ประเมินผลการนิเทศ
การศกึ ษา
๗. ระเบียบวิธวี ิจยั ทางการ
ศึกษา
๘. หลกั การและเทคนคิ การ
วัดและประเมินผลทางการ
ศกึ ษา
๙. สถิตแิ ละคอมพิวเตอรเ พื่อ
การวจิ ยั

๑. กฎหมายท่เี กีย่ วขอ งกับ ๑. สามารถจัดระบบงานสาร
งานธุรการการเงิน พสั ดุ และ บรรณ ไดอยางมี
อาคารสถานที่ ประสทิ ธภิ าพ

คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ ๒๒๗
พระครูปลัดบุญชวย โชติวํโส, ดร. (อุยวงค)

มาตรฐานความรู สาระความรู สมรรถนะ
๕. การบรหิ ารงานบุคคล ๒. การจัดวางระบบควบคุม ๒. สามารถบรหิ ารจดั การ
ภายใน งบประมาณอยางถูกตอ งและ
๓. เทคนคิ การบรหิ ารจัดการ เปนระบบ
สภาพแวดลอ มภายใน ๓. สามารถวางระบบการ
สถานศกึ ษา บรหิ ารและจดั การทรพั ยากร
ภายในสถานศกึ ษาไดอ ยางมี
ประสทิ ธิภาพ
๔. สามารถพฒั นา
ส่ิงแวดลอมทางกายภาพเพื่อ
สงเสริมการจัดการเรียนรู

- หลักการบริหารงานบุคคล ๑. สามารถสรรหาบุคลากรที่
มีประสทิ ธิภาพเขามา
ปฏิบตั ิงาน
๒. สามารถจดั บุคลากรให
เหมาะสมกบั หนาท่ีท่ี
รับผดิ ชอบ
๓. สามารถพฒั นาครแู ละ
บุคลากร ในสถานศกึ ษาให
สามารถปฏบิ ัตหิ นาท่ีไดอ ยาง
มปี ระสิทธิภาพ
๔. สามารถเสรมิ สรางขวญั
และกาํ ลังใจสาํ หรับครแู ละ
บคุ ลากรในสถานศึกษา
๕. สามารถใหค าํ ปรกึ ษาและ
แกไขปญ หาการทํางานใหแ ก
ครแู ละบคุ ลากรใน
สถานศกึ ษา

๒๒๘ พระครูปลัดบุญชวย โชติวํโส, ดร. (อุยวงค)
มาตรฐานความรู บทท่ี ๑๐ เกณฑมาตรฐานวิชาชีพผูบริหารสถานศึกษา

๖. การบริหารกจิ การ สาระความรู สมรรถนะ
นักเรียน ๑. คณุ ธรรม จริยธรรม ๑. สามารถบรหิ ารจัดการให
คานยิ ม และคณุ ลักษณะท่ีพงึ เกิดกจิ กรรมการพัฒนา
๗. การประกนั คุณภาพ ประสงค ผูเรียน
การศกึ ษา ๒. ระบบการดูแลชวยเหลอื ๒. สามารถบริหารจัดการให
ผูเรยี น เกิดงานบรกิ ารผูเรียน
๘. การบรหิ ารจัดการ ๓. การจดั กิจกรรมสงเสรมิ ๓. สามารถสง เสรมิ การจัด
เทคโนโลยสี ารสนเทศ และพฒั นาผเู รยี น กจิ กรรมพเิ ศษเพ่ือพฒั นา
ศกั ยภาพผเู รียนในดา นตา ง ๆ
๔. สามารถสง เสริมวินัย
คณุ ธรรมจรยิ ธรรมและความ
สามคั คใี นหมคู ณะ

๑. หลกั การและ ๑. สามารถจัดทําแผนพัฒนา
กระบวนการในการประกัน คณุ ภาพ ของสถานศึกษา
คุณภาพการศึกษา ๒. สามารถประเมินผลและ
๒. องคประกอบของการ ตดิ ตามตรวจสอบคุณภาพ
ประกัน คณุ ภาพการศึกษา และมาตรฐานการศึกษาของ
๓. มาตรฐานการศึกษา สถานศกึ ษา
๔. การประกนั คุณภาพ ๓. สามารถจดั ทาํ รายงานผล
ภายในและภายนอก การประเมนิ ตนเองของ
๕. บทบาทของผบู ริหารใน สถานศึกษาเพื่อรองรบั การ
การประกนั คณุ ภาพ ประเมินภายนอก
การศึกษา

๑. เทคโนโลยีสารสนเทศเพ่ือ ๑. สามารถใชและบรหิ าร
การศกึ ษา เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อ
๒. เทคโนโลยสี ารสนเทศเพอ่ื การศกึ ษาและ การ
การบรหิ ารจัดการ ปฏิบตั ิงานไดอยา งเหมาะสม
๓. เทคโนโลยสี ารสนเทศเพอื่ ๒. สามารถประเมินการใช
การจดั การเรยี นรู เทคโนโลยีสารสนเทศเพ่ือ

คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ ๒๒๙
พระครูปลัดบุญชวย โชติวํโส, ดร. (อุยวงค)

มาตรฐานความรู สาระความรู สมรรถนะ
๙. การบรหิ ารการ ๑. หลักการประชาสมั พันธ นาํ มาปรบั ปรงุ การบริหาร
ประชาสัมพนั ธแ ละ ๒. กลยุทธก ารสราง จัดการ
ความสมั พันธช มุ ชน ความสมั พนั ธก ับชมุ ชน ๓. สามารถสงเสริมสนบั สนนุ
การใชเทคโนโลยสี ารสนเทศ
๑๐. คุณธรรมและจริยธรรม ๑. คุณธรรมและจริยธรรม เพ่ือการศึกษา
สาํ หรบั ผบู ริหาร สาํ หรับผบู ริหาร ๑. สามารถบริหารจัดการ
สถานศกึ ษา ๒. จรรยาบรรณของวชิ าชพี ขอมลู ขาวสารไปสูผเู รียน
ผูบริหารสถานศึกษา ครู และบคุ ลากรใน
สถานศกึ ษา
๒. สามารถเผยแพรขอมลู
ขาวสารและกิจกรรมของ
สถานศึกษาไปสูชุมชน
๓. สามารถใชย ุทธศาสตรท ี่
เหมาะสมในการ
ประชาสัมพันธ
๔. สามารถสรางกิจกรรมเพือ่
พฒั นาความสมั พนั ธอ ันดีกบั
ชุมชน โดยมีเปาหมายในการ
เขา ไปชว ยเหลอื ชุมชน และ
เปด โอกาส ใหช ุมชนเขา มามี
สว นรว ม
๕. สามารถระดมทรัพยากร
และภมู ิปญญาทอ งถน่ิ เพ่ือ
สงเสริมการจัดการศึกษา

๑. เปน ผูน าํ เชงิ คุณธรรม
จริยธรรมและปฏบิ ตั ิตนเปน
แบบอยา งทด่ี ี

๒๓๐ พระครูปลัดบุญชวย โชติวํโส, ดร. (อุยวงค)

บทที่ ๑๐ เกณฑมาตรฐานวิชาชีพผูบริหารสถานศึกษา

มาตรฐานความรู สาระความรู สมรรถนะ
๓. การพฒั นาจรยิ ธรรม ๒. ปฏบิ ัติตนตาม
ผบู รหิ ารใหปฏบิ ัติตนใน จรรยาบรรณของวชิ าชพี
กรอบคุณธรรม ผบู รหิ ารสถานศึกษา
๔. การบริหารกจิ การ ๓. สงเสรมิ และพฒั นาให
บา นเมืองทีด่ ี ผูรวมงานมีคณุ ธรรมและ
จริยธรรมทเ่ี หมาะสม

๑๐.๒ มาตรฐานการปฏบิ ตั งิ าน

มาตรฐานที่ ๑ ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเก่ียวกับการพัฒนาวิชาชีพการบริหาร
การศึกษา

คณุ สมบัติเบื้องตนที่สําคัญประการหน่ึงของผูบรหิ ารมืออาชีพ คือ การเขา รวมเปน
สมาชิกท่ีดีขององคกรวิชาชีพดวยการมีสวนรวมในกิจกรรมตาง ๆ ที่เก่ียวของกับการพัฒนา
วิชาชีพ ไดแก การเปนผูริเร่ิม ผูรวมงาน ผูรวมจัดงานหรือกิจกรรม รวมท้ังการเปนผูเสนอ
ผลงานและเผยแพรผ ลงานขององคกรเพอื่ ใหสมาชิกยอมรับและเหน็ คณุ ประโยชนของผบู ริหาร
ทีม่ ตี อ การพัฒนาองคกร ตลอดจนการนาํ องคก รใหเปนที่ยอมรับของสงั คมโดยสว นรวม

มาตรฐานที่ ๒ ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมตาง ๆ โดยคํานึงถึงผลที่จะเกิดขึ้นกับ
การพัฒนาของบคุ ลากร ผเู รียน และชมุ ชน

ผูบริหารมืออาชีพแสดงความรัก ความเมตตา และความปรารถนาดีตอองคกร
ผูร ว มงาน ผูเรียน และชมุ ชน ดวยการตัดสินใจในการทํางานตา ง ๆ เพื่อผลการพัฒนาท่ีจะเกิด
ข้ึนกับทุกฝาย การตัดสินใจของผูบริหารตองผานกระบวนการวิเคราะหความสัมพันธระหวาง
การกระทํากับผลของการกระทํา เนื่องจากการตัดสินใจของผูบริหารมีผลตอองคกรโดย
สวนรวม ผูบริหารจึงตองเลือกแตกิจกรรมท่ีจะนําไปสูผลดี ผลทางบวก ผลตอการพัฒนาของ
ทุกฝายที่เก่ียวของ และระมัดระวังไมใหเกิดผลทางลบโดยมิไดตั้งใจ ทั้งนี้เพื่อนําไปสูความ
ไวว างใจ ความศรัทธา และความรูส กึ เปน ทพ่ี ึง่ ไดข องบคุ คลท้ังปวง

คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ ๒๓๑
พระครูปลัดบุญชวย โชติวํโส, ดร. (อุยวงค)

มาตรฐานที่ ๓ มงุ มั่นพฒั นาผรู วมงานใหสามารถปฏิบตั ิงานไดเต็มศักยภาพ
ความสําเร็จของการบริหาร อยูท่ีการดําเนินการเพื่อใหบุคลากรในองคกรหรือ
ผรู วมงานไดมกี ารพัฒนาตนเองอยา งเตม็ ศกั ยภาพ ผูบรหิ ารมอื อาชพี ตองหาวธิ ีพัฒนาผรู วมงาน
โดยการศกึ ษาจดุ เดน จดุ ดอยของผูรว มงาน กําหนดจดุ พฒั นาของแตละคน และเลอื กใชว ิธกี าร
ท่ีเหมาะสมกับการพัฒนาดานนั้น ๆ แลวใชเทคนิคการบริหารและการนิเทศภายในให
ผูรวมงานไดลงมือปฏิบัติจริง ประเมิน ปรับปรุง ใหผูรวมงานรูศักยภาพ เลือกแนวทางที่
เหมาะสมกับตน และลงมือปฏิบัติจนเปนผลใหศักยภาพของผูรวมงานเพ่ิมพูนพัฒนากาวหนา
อยา งไมหยดุ ย้งั นําไปสกู ารเปน บุคคลแหงการเรียนรู
มาตรฐานที่ ๔ พัฒนาแผนงานขององคก ารใหสามารถปฏิบตั ไิ ดเ กดิ ผลจรงิ
ผูบริหารมืออาชีพวางแผนงานขององคกรไดอยางมียุทธศาสตร เหมาะสมกับ
เงื่อนไขขอจํากัดของผูเรียน ครู ผูรวมงาน ชุมชน ทรัพยากรและส่ิงแวดลอม สอดคลองกับ
นโยบาย แนวทาง เปาหมายของการพัฒนา เพื่อนําไปปฏิบัติจนเกิดผลตอการพัฒนาอยาง
แทจริง แผนงานตองมกี ิจกรรมสําคัญท่ีนาํ ไปสูผ ลของการพัฒนา ความสอดคลอ งของเปาหมาย
กจิ กรรม และผลงาน ถอื เปนคุณภาพสําคัญทนี่ ําไปสูการปฏบิ ตั ิงานท่ีมีประสทิ ธิภาพสงู มีความ
คมุ คา และเกิดผลอยา งแทจรงิ
มาตรฐานที่ ๕ พัฒนาและใชนวัตกรรมการบริหารจนเกิดผลงานทม่ี ีคุณภาพสูง
ขึน้ เปน ลาํ ดบั
นวัตกรรมการบริหารเปนเครื่องมือสําคัญของผูบริหารในการนําไปสูผลงานท่ีมี
คุณภาพและประสิทธิภาพสูงขึ้นเปนลําดับ ผูบริหารมืออาชีพตองมีความรูในการบริหารแนว
ใหม ๆ เลือกและปรับปรุง ใชนวัตกรรมไดหลากหลาย ตรงกับสภาพการณ เง่ือนไขขอจํากัด
ของงานและองคกร จนนําไปสูผลไดจริง เพื่อใหองคกรกาวหนาพัฒนาอยางไมหยุดยั้ง
ผรู ว มงานทุกคนไดใชศ ักยภาพของตนอยา งเตม็ ที่ มคี วามภาคภมู ิใจในผลงานรวมกัน
มาตรฐานท่ี ๖ ปฏบิ ตั งิ านขององคก ารโดยเนน ผลถาวร
ผบู ริหารมอื อาชีพเลือกและใชกิจกรรมการบริหารท่ีจะนําไปสูการเปล่ียนแปลงท่ีดี
ขึ้นของบุคลากรและองคกร จนบุคลากรมีนิสัยในการพัฒนาตนเองอยูเสมอผูบริหารตองมี
ความเพียรพยายาม กระตุน ย่ัวยุ ทาทายใหบุคลากรมีความรูสึกเปนเจาของ และชื่นชม
ผลสําเร็จเปนระยะ ๆ จึงควรเร่ิมจากการริเริ่ม การรวมพัฒนา การสนับสนุนขอมูล และให

๒๓๒ พระครูปลัดบุญชวย โชติวํโส, ดร. (อุยวงค)

บทท่ี ๑๐ เกณฑมาตรฐานวิชาชีพผูบริหารสถานศึกษา

กําลังใจ ใหบุคลากรศึกษา คนควา ปฏิบัติ และปรับปรุงงานตาง ๆ ไดดวยตนเอง จนเกิดเปน
คานิยม ในการพัฒนางานตามภาวะปกติ อันเปนบุคลิกภาพ ที่พึงปรารถนาของบุคลากรและ
องคก ร รวมทัง้ บุคลากรทุกคนชื่นชมและศรทั ธาในความสามารถของตน

มาตรฐานท่ี ๗ รายงานผลการพฒั นาคุณภาพการศกึ ษาไดอยางเปนระบบ
ผูบริหารมืออาชีพสามารถนําเสนอผลงานท่ีไดทําสําเร็จแลวดวยการรายงานผลท่ี
แสดงถึงการวิเคราะหงานอยางรอบคอบ ครอบคลุมการกําหนดงานทจี่ ะนาํ ไปสูผลแหงการพัฒนา
การลงมือปฏิบัติจริง และผลท่ีปรากฏมีหลักฐานยืนยันชัดเจน การนําเสนอรายงานเปนโอกาสท่ี
ผูบริหารจะไดคิดทบทวนถึงงานที่ไดทําไปแลววามีขอจํากัด ผลดี ผลเสีย และผลกระทบท่ีมิได
ระวังไวอยางไร ถาผลงานเปนผลดี จะชื่นชม ภาคภูมิใจไดในสวนใด นําเสนอใหเปนประโยชนตอ
ผูอื่นไดอยางไร ถาผลงานยังไมสมบูรณจะปรับปรุงเพ่ิมเติมไดอยางไร และจะนําประสบการณที่
ไดพ บไปใชประโยชนใ นการทํางานตอไปอยา งไร คุณประโยชนอีกประการหนึ่งของรายงานทดี่ ี คือ
การนําผลการประเมินไปใชในการประเมินตนเอง รวมทั้งการทําใหเกิดความรูสึกช่ืนชมของผูรวม
ปฏิบัติงานทุกคน การที่ผูปฏิบัติงานไดเรียนรูเก่ียวกับความสามารถและศักยภาพของตน เปน
ขัน้ ตอนสาํ คัญอยางหนึ่งทจ่ี ะนาํ ไปสูการรูคุณคาแหงตน
มาตรฐานที่ ๘ ปฏบิ ตั ติ นเปน แบบอยา งทด่ี ี
ผูบริหารมีหนาที่แนะนํา ตักเตือน ควบคุม กํากับดูแลบุคลากรในองคกร การที่จะ
ปฏิบัติหนาท่ีดังกลาวใหไดผลดี ผูบริหารตองประพฤติปฏิบัติเปนแบบอยางที่ดี มิฉะนั้น
คําแนะนําตักเตือน หรือ การกํากับดูแลของผูบริหารจะขาดความสําคัญ ไมเปนท่ียอมรับของ
บุคลากรในองคกร ผูบริหารท่ีปฏิบัติตนเปนแบบอยางที่ดีในทุก ๆ ดาน เชน ดานคุณธรรม
จริยธรรม ความยตุ ิธรรม และบุคลกิ ภาพจะมีผลสูงตอการยอมรับของบุคลากร ทาํ ใหเ กิดความ
เช่อื ถือศรัทธาตอ การบริหารงาน จนสามารถปฏบิ ัติตามไดดวยความพงึ พอใจ
มาตรฐานที่ ๙ รว มมือกับชมุ ชนและหนวยงานอนื่ อยา งสรา งสรรค
หนวยงานการศึกษาเปนองคกรหน่ึงท่ีอยูในชุมชน และเปนสวนหน่ึงของระบบ
สังคม ซ่ึงมีองคกรอื่น ๆ เปนองคประกอบ ทุกหนวยงานมีหนาท่ีรวมมือกันพัฒนาสังคมตาม
บทบาทหนาท่ี ผูบริหารสถานศึกษา / ผูบริหารการศึกษาเปนบุคลากรสําคัญของสังคมหรือ
ชมุ ชนท่ีจะชน้ี ําแนวทางการพัฒนาสังคม ใหเจริญกาวหนาตามทิศทางท่ตี องการ ผูบริหารมือ
อาชีพตองรวมมือกับชุมชนและหนวยงานอื่นในการเสนอแนวทางปฏบิ ัติ แนะนํา ปรับปรุงการ

คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ ๒๓๓
พระครูปลัดบุญชวย โชติวํโส, ดร. (อุยวงค)

ปฏิบัติ และแกปญหาของชุมชนหรือหนวยงานอ่ืน เพื่อใหเกิดผลดีตอสังคมสวนรวม ใน
ลักษณะรวมคิด รวมวางแผนและรวมปฏิบัติ ดวยความเต็มใจ เต็มความสามารถ พรอมทั้ง
ยอมรับความสามารถ รับฟงความคิดเห็นและเปดโอกาสใหผูอ่ืนไดใชความสามารถของตน
อยา งเต็มศักยภาพ เพ่ือเสริมสรา งบรรยากาศประชาธิปไตยและการรวมมือกันในสังคม นําไปสู
การยอมรบั และศรทั ธาอยางภาคภูมใิ จ

มาตรฐานท่ี ๑๐ แสวงหาและใชขอ มูลขาวสารในการพัฒนา
ความประทับใจของผรู วมงานที่มีตอ ผบู ริหารองคก รอยางหนึ่ง คือ ความเปนผูรอบ
รู ทันสมัย ทันโลก รูอยางกวางขวางและมองไกล ผูบริหารมืออาชีพจึงตองติดตามการ
เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในโลกทุก ๆ ดาน จนสามารถสนทนากับผูอ่ืนดวยขอมูลขาวสารที่
ทนั สมัย และนําขอมูลขาวสารตาง ๆ ที่ไดรับ มาใชในการพัฒนางานและผูรวมงาน การตื่นตัว
การรบั รู และการมีขอ มลู ขาวสาร สารสนเทศเหลานี้ นอกจากเปนประโยชนตองานพัฒนาแลว
ยังนํามาซ่ึงการยอมรับและความรูสึกเช่ือถือของผูรวมงาน อันเปนเง่ือนไขเบ้ืองตนที่จะนําไปสู
การพฒั นาท่ีลึกซึ่งตอ เนื่องตอไป
มาตรฐานที่ ๑๑ เปน ผูนาํ และสรา งผนู ํา
ผูบริหารมืออาชีพสรางวัฒนธรรมขององคกรดวยการพูดนํา ปฏิบัตินํา และจัด
ระบบงาน ใหสอดคลองกับวัฒนธรรม โดยการใหรางวัลแกผูที่ทํางานไดสําเร็จแลว จนนําไปสู
การพัฒนาตนเอง คิดไดเอง ตัดสินใจไดเอง พัฒนาไดเอง ของผูรวมงานทุกคน ผูบริหารมือ
อาชีพจึงตองแสดงออกอยางชัดเจน และสมํ่าเสมอเก่ียวกับวัฒนธรรมขององคกร เพ่ือให
ผูรวมงานมีความม่ันใจในการปฏิบัติ จนสามารถเลือกการกระทําที่สอดคลองกับวัฒนธรรม
แสดงออกและชื่นชมไดดวยคนเอง ผูบริหารจึงตองสรางความรูสึกประสบความสําเร็จใหแก
บุคลากรแตละคนและทุกคน จนเกิดภาพความเปนผูนําในทุกระดับ นําไปสูองคกรแหงการ
เรียนรูอยา งแทจ ริง
มาตรฐานที่ ๑๒ สรางโอกาสในการพฒั นาไดท กุ สถานการณ
การพัฒนาองคกรใหกาวหนาอยางยั่งยืนสอดคลองกับความกาวหนาของโลกที่
เปล่ียนแปลงไปอยางไมหยุดย้ัง ผูบริหารจําเปนตองรูเทาทันการเปล่ียนแปลง สามารถปรับงาน
ใหทันตอการเปล่ียนแปลงและสามารถจัดการกับการเปลี่ยนแปลงตาง ๆ ไดสอดคลอง สมดุล
และเสริมสรางซ่ึงกันและกัน ผูบริหารมืออาชีพจึงตองต่ืนตัวอยูเสมอ มองเห็นการเปล่ียนแปลง

๒๓๔ พระครูปลัดบุญชวย โชติวํโส, ดร. (อุยวงค)

บทท่ี ๑๐ เกณฑมาตรฐานวิชาชีพผูบริหารสถานศึกษา

อยางรอบดานรวมท้ังการเปลี่ยนแปลงในอนาคต และกลาท่ีจะตัดสินใจดําเนินการเพ่ือผลใน
อนาคต อยางไรก็ตามการรูเทาทันการเปล่ียนแปลงนี้ ยอมเปนส่ิงประกันไดวา การเสี่ยงใน
อนาคตจะมีโอกาสผิดพลาดนอยลง การที่องคก รปรับไดทันตอการเปลีย่ นแปลงน้ี ยอมเปนผลให
องคก รพัฒนาอยางยงั่ ยนื สอดคลอ งกับความกาวหนา ของโลกตลอดไป

๑๐.๓ มาตรฐานการปฏบิ ตั ติ น (จรรยาบรรณวชิ าชีพ)

๑) จรรยาบรรณตอตนเอง
๑. ผูประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ตองมีวินัยในตนเอง พัฒนาตนเองดาน

วิชาชีพ บุคลิกภาพ และวิสัยทัศน ใหทันตอการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และ
การเมอื งอยเู สมอ

๒) จรรยาบรรณตอ วชิ าชีพ
๒. ผูประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ตองรัก ศรัทธา ซ่ือสัตยสุจริต รับผิดชอบ

ตอ วิชาชีพ และเปน สมาชกิ ทด่ี ขี ององคก รวิชาชีพ
๓) จรรยาบรรณตอ ผรู ับบริการ
๓. ผูประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ตองรัก เมตตา เอาใจใส ชวยเหลือ

สงเสรมิ ใหกาํ ลงั ใจแกศ ิษยแ ละผรู ับบรกิ าร ตามบทบาทหนา ท่ีโดยเสมอหนา
๔. ผูประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ตอ งสงเสริมใหเ กิดการเรยี นรู ทักษะ และ

นิสัยที่ถูกตองดีงามแกศิษยและผูรับบริการ ตามบทบาทหนาที่อยางเต็มความสามารถดวย
ความบรสิ ุทธ์ิใจ

๕. ผูป ระกอบวิชาชพี ทางการศึกษา ตอ งประพฤตติ นเปนแบบอยางท่ดี ี ทง้ั ทาง
กาย วาจา และจิตใจ

๖. ผูประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ตองไมกระทําตนเปนปฏิปกษตอความ
เจรญิ ทางกาย สติปญญา จติ ใจ อารมณ และสังคมของศษิ ยและผูร บั บริการ

๗. ผูประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ตองใหบริการดวยความจริงใจและเสมอ
ภาค โดยไมเรยี กรบั หรอื ยอมรบั ผลประโยชนจ ากการใชต าํ แหนง หนาท่โี ดยมชิ อบ

๔) จรรยาบรรณตอผูรว มประกอบวิชาชพี
๘. ผูประกอบวิชาชีพทางการศึกษา พึงชวยเหลือเก้ือกูลซึ่งกันและกันอยาง

สรางสรรค โดยยึดมั่นในระบบคณุ ธรรม สรา งความสามคั คใี นหมคู ณะ

คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ ๒๓๕
พระครูปลัดบุญชวย โชติวํโส, ดร. (อุยวงค)

๕) จรรยาบรรณตอสังคม
๙. ผูประกอบวิชาชีพทางการศึกษา พึงประพฤติปฏิบัติตนเปนผูนําในการ

อนุรักษและพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปญญา สิ่งแวดลอม รักษา
ผลประโยชนข องสวนรวมและยึดมน่ั ในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมพี ระมหากษัตริย
ทรงเปนประมุข

แบบแผนพฤตกิ รรมตามจรรยาบรรณของวชิ าชพี “ผบู ริหารสถานศึกษา”
๑) จรรยาบรรณตอตนเอง

๑. ผูบริหารสถานศึกษา ตองมีวินัยในตนเอง พัฒนาตนเองดานวิชาชีพ
บุคลิกภาพ และวิสัยทัศน ใหทนั ตอ การพฒั นาทางวิทยาการ เศรษฐกจิ สังคม และการเมืองอยู
เสมอ โดยตองประพฤตแิ ละละเวนการประพฤตติ ามแบบแผนพฤติกรรม ดงั ตัวอยา งตอไปนี้

พฤติกรรมท่ีพึงประสงค พฤติกรรมท่ีไมพ ึงประสงค
(๑) ประพฤติตนเหมาะสมกับสถานภาพและ (๑) เก่ียวของกับอบายมุขหรือเสพสิ่งเสพติด
เปน แบบอยางทดี่ ี จนขาดสติหรือแสดงกิริยาไมสุภาพเปนที่นา
(๒) ศึกษา คนควา ริเร่ิมสรางสรรคความรู รังเกยี จในสังคม
ใหมใ นการพฒั นาวชิ าชพี อยเู สมอ (๒) ประพฤติผิดทางชูสาวหรือมีพฤติกรรม
(๓) สงเสริมและพัฒนาครูในการใชนวัตกรรม ลวงละเมดิ ทางเพศ
และเทคโนโลยใี นการจัดการเรียนรู (๓) ไมพัฒนาความรูในวิชาชีพเพื่อพัฒนา
(๔) สรางผลงานที่แสดงถึงการพัฒนาความรู ตนเองและองคการ
และความคดิ ในวชิ าชพี จนเปนที่ยอมรับ (๔) ไมสงเสริมการนําเทคโนโลยีสารสนเทศ
(๕) สงเสริมการปฏบิ ตั ิงานโดยมแี ผนปฏิบตั ิ เพื่อไปปรับปรุงพัฒนาการจัดการศึกษาอยาง
การแบบมสี วนรว ม และใชน วัตกรรม ตอเนอื่ ง
เทคโนโลยที ี่เหมาะสมกบั สภาพปจ จบุ ันและ (๕) ไมมีแผนหรือไมปฏิบัติงานตามแผนไมมี
กาวทันการเปลยี่ นแปลงในอนาคต การประเมินผลหรือไมนําผลการประเมินมา
จัดทําแผนปฏิบัตกิ ารอยางตอเนอ่ื ง

๒๓๖ พระครูปลัดบุญชวย โชติวํโส, ดร. (อุยวงค)

บทที่ ๑๐ เกณฑมาตรฐานวิชาชีพผูบริหารสถานศึกษา

๒) จรรยาบรรณตอวิชาชีพ
๒. ผูบริหารสถานศึกษา ตองรัก ศรัทธา ซื่อสัตยสุจริต รับผิดชอบตอวิชาชีพ

และเปนสมาชิกที่ดีขององคกรวิชาชีพ โดยตองประพฤติและละเวนการประพฤติตามแบบแผน
พฤตกิ รรม ดังตวั อยา งตอ ไปน้ี

พฤตกิ รรมท่ีพึงประสงค พฤตกิ รรมท่ไี มพึงประสงค
(๑) แสดงความชื่นชมและศรัทธาในคุณคา (๑) วิพากษห รือวิจารณองคการหรอื วชิ าชพี
ของวชิ าชีพ จนทาํ ใหเกิดความเสยี หาย
(๒) รกั ษาชื่อเสยี งและปกปองศกั ดิ์ศรีแหง (๒) ดหู ม่นิ เหยียดหยาม ใหรายผรู ว ม
วชิ าชพี ประกอบวิชาชีพ ศาสตรใ นวชิ าชีพหรอื
(๓) ยกยอ งและเชดิ ชูเกยี รตผิ ูมผี ลงานใน องคกรวชิ าชพี
วชิ าชีพ ใหสาธารณชนรบั รู (๓) ประกอบการงานอน่ื ทไ่ี มเ หมาะสมกบั
(๔) ปฏิบตั หิ นา ท่ดี วยความรับผิดชอบ การเปน ผูป ระกอบวิชาชีพทางการศกึ ษา
ซอื่ สัตยสุจริต ตามกฎ ระเบียบ และแบบ (๔) ไมซ่ือสัตยส จุ รติ ไมร ับผดิ ชอบหรือไม
แผนของทางราชการ ปฏิบัตติ ามกฎ ระเบียบ หรือแบบแผนของ
(๕) ปฏิบัตหิ นาทด่ี วยความมุงมั่น ตง้ั ใจ ทางราชการจนกอนใหเกดิ ความเสยี หาย
และใชค วามรคู วามสามารถในการพฒั นาครู (๕) ละเลยเพิกเฉยหรือไมดําเนินการตอ ผู
และบคุ ลากร รวมประกอบวชิ าชพี ทป่ี ระพฤตผิ ดิ
(๖) สนบั สนนุ การจัดกจิ กรรมเกีย่ วกับการ จรรยาบรรณ
พฒั นาครู การเรยี นการสอน และการ (๖) คดั ลอกหรือนําผลงานของผอู น่ื มาเปน
บรหิ ารสถานศึกษา ของตน
(๗) สง เสริมใหค รูและบคุ ลากรไดศ กึ ษา (๗) บดิ เบอื นหลกั วิชาการในการปฏิบัตงิ าน
คน ควา วิเคราะห วจิ ัย และนําเสนอผลงาน จนกอ ใหเกิดความเสยี หาย
ที่เก่ยี วของกบั วชิ าชพี (๘) ใชค วามรูทางวิชาการวขิ าชีพหรืออาศยั
(๘) เขา รว ม สงเสริม และประชาสมั พนั ธ องคกรวิชาชีพแสวงหาประโยชนเพอื่ ตนเอง
กจิ กรรมของวชิ าชีพ อยางสรางสรรค หรือผูอ่นื โดยมิชอบ

๓) จรรยาบรรณตอผรู บั บรกิ าร
๓. ผูบริหารสถานศึกษา ตอ งรกั เมตตา เอาใจใส ชวยเหลือ สงเสริม ใหกาํ ลังใจ

แกศิษยและผูรับบริการตามบทบาทหนา ทโี่ ดยเสมอหนา

คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ ๒๓๗
พระครูปลัดบุญชวย โชติวํโส, ดร. (อุยวงค)

๔. ผูบรหิ ารสถานศึกษา ตอ งสง เสรมิ ใหเกิดการเรยี นรู ทกั ษะ และนิสยั ทถ่ี ูกตอ ง
ดงี ามแกศ ิษยและผรู ับบริการตามบทบาทหนาท่ีอยา งเต็มความสามารถดว ยความบริสุทธิใ์ จ

๕. ผูบริหารสถานศึกษา ตองประพฤติตนเปนแบบอยางที่ดี ท้ังทางกาย วาจา
และจติ ใจ

๖. ผูบริหารสถานศึกษา ตองไมกระทําตนเปนปฏิปกษตอความเจริญทางกาย
สตปิ ญ ญา จิตใจ อารมณ และสงั คมของศษิ ยแ ละผรู บั บริการ

๗. ผูบริหารสถานศึกษา ตองใหบริการดวยความจริงใจและเสมอภาค โดยไม
เรียกรบั หรือยอมรบั ผลประโยชนจ ากการใชตําแหนง หนา ทีโ่ ดยมิชอบ

โดยตองประพฤติและละเวนการประพฤติตามแบบแผนพฤติกรรม ดังตัวอยาง
ตอไปน้ี

พฤติกรรมที่พึงประสงค พฤติกรรมที่ไมพงึ ประสงค
(๑) ปฏบิ ตั งิ านหรอื ใหบ ริการอยางมีคณุ ภาพ (๑) ปฏบิ ตั งิ านมุงประโยชนสวนตนหรอื พวก
โดยคาํ นงึ ถึงสิทธิขัน้ พืน้ ฐานของผรู ับบรกิ าร พอ งไมเ ปนธรรมหรือมีลกั ษณะเลอื กปฏิบตั ิ
(๒) สง เสริมใหมีการดาํ เนนิ งานเพ่อื ปกปอง (๒) เรยี กรอ งผลประโยชนต อบแทนจาก
สทิ ธิเดก็ เยาวชน และผดู อ ยโอกาส ผรู บั บริการในงานตามบทบาทหนา ท่ี
(๓) บริหารงานโดยยดึ หลักบริหารกิจการ
บา นเมอื งทดี่ ี
(๔) รับฟง ความคดิ เห็นทีม่ ีเหตุผลของศิษย
และผูรบั บริการ
(๕) ใหครูและบุคลากร มีสวนรวมวาง
แผนการปฏบิ ตั งิ านและเลือกวธิ ีการปฏิบตั ิท่ี
เหมาะสมกับตนเอง
(๖) เสรมิ สรางความภาคภมู ิใจใหแกศิษยและ
ผรู บั บริการดวยการรับฟงความฟงความ
คดิ เหน็ ยกยอง ชมเชย และใหกาํ ลังใจอยาง
กัลยาณมิตร

๒๓๘ พระครูปลัดบุญชวย โชติวํโส, ดร. (อุยวงค)

บทท่ี ๑๐ เกณฑมาตรฐานวิชาชีพผูบริหารสถานศึกษา

(๗) ใหศ ษิ ยและผูรับบรกิ ารไดมสี ว นรว มใน
การเสนอแนวคิด หรือวิธีการทเ่ี ปนประโยชน
ตอการพัฒนาวิชาชีพ

๔) จรรยาบรรณตอผูรวมประกอบวิชาชพี
๘. ผูบริหารสถานศึกษา พึงชวยเหลือเกอ้ื กลู ซึ่งกันและกันอยา งสรางสรรค โดย

ยึดม่ันในระบบคุณธรรม สรางความสามัคคีในหมูคณะ โดยพึงประพฤติและละเวนการ
ประพฤตติ ามแบบแผนพฤติกรรม ดังตัวอยางตอ ไปนี้

พฤตกิ รรมท่ีพงึ ประสงค พฤตกิ รรมทไ่ี มพงึ ประสงค
(๑) ริเร่ิมสรา งสรรคใ นการบริหารเพ่อื ใหเกดิ (๑) นําเสนอแงมุมทางลบตอ วิชาชีพขอ เสนอ
การพัฒนาทกุ ดานตอผรู วมประกอบวชิ าชีพ ไมไ ดเปนประโยชนต อการพัฒนา
(๒) สง เสรมิ และพทิ กั ษสิทธิของผรู ว ม (๒) ปกปด ความรู ไมชว ยเหลอื ผรู ว มประกอบ
ประกอบวิชาชีพ วิชาชพี
(๓) เปน ผนู ําในการเปลี่ยนแปลงและพฒั นา (๓) แนะนําในทางไมถกู ตองตอผูรวมประกอบ
(๔) ใชระบบคุณธรรมในการพจิ ารณาผลงาน วิชาชีพจนทําใหเกิดผลเสียตอ ผูร ว มประกอบ
ของผรู วมประกอบวิชาชีพ วชิ าชพี
(๕) มีความรกั ความสามัคคี และรว มใจกัน (๔) ไมใ หความชว ยเหลือหรือรว มมอื กบั ผรู ว ม
ผนกึ กําลังในการพฒั นาการศึกษา ประกอบวิชาชพี ในเร่ืองที่ตนมีความถนัดแม
(๖) ยอมรับฟง ความคดิ เหน็ และขอ เสนอแนะ ไดรบั การรองขอ
ของผรู วมประกอบวชิ าชีพ (๕) ปฏบิ ตั ิหนา ทโี่ ดยคํานึงถงึ ความพึงพอใจ
ของตนเองเปนหลัก ไมต ระหนักถงึ ความ
แตกตา งระหวางบคุ คลของผูรว มประกอบ
วิชาชพี
(๖) ใชอ ํานาจหนา ที่ปกปองพวกพองของตนท่ี
กระทําผิด โดยไมคํานึงถึงความเสยี หายทเี่ กดิ
ข้นึ กบั ผูร วมประกอบวชิ าชีพหรอื องคก าร
(๗) ยอมรับและชมเชยการกระทาํ ของผูรวม
ประกอบวิชาชพี ทบี่ กพรองตอหนาท่หี รอื
ศีลธรรมอันดี

คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ ๒๓๙
พระครูปลัดบุญชวย โชติวํโส, ดร. (อุยวงค)

(๘) วิพากษ วจิ ารณผรู ว มประกอบวิชาชพี ใน
เรอื่ งที่กอใหเ กดิ ความเสยี หายหรือแตกความ
สามัคคี
๕) จรรยาบรรณตอ สงั คม
๙. ผูบริหารสถานศึกษา พึงประพฤติปฏิบัติตนเปนผูนําในการอนุรักษและ
พัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปญญา ส่ิงแวดลอม รักษาผลประโยชน
ของสวนรวมและยึดม่ันในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริยทรงเปน
ประมุข โดยพงึ ประพฤติและละเวน การประพฤติตามแบบแผนพฤติกรรม278๒ ดงั ตวั อยางตอ ไปน้ี

พฤตกิ รรมท่ีพึงประสงค พฤตกิ รรมทีไ่ มพึงประสงค
(๑) ยดึ ม่ัน สนับสนนุ และสงเสรมิ การ (๑) ไมใหความรว มมือหรือสนับสนนุ กิจกรรม
ปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมี ของชุมชนทีจ่ ัดเพื่อประโยชนตอการศึกษาท้ัง
พระมหากษัตริย ทรงเปนประมขุ ทางตรงหรือทางออม
(๒) ใหความรว มมือและชวยเหลือในทาง (๒) ไมแสดงความเปน ผนู ําในการอนรุ ักษหรือ
วชิ าการ หรือวชิ าชีพแกช ุมชน พัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม
(๓) สง เสรมิ และสนบั สนนุ การจดั กิจกรรม ภูมิปญ ญาหรือสิ่งแวดลอม
เพื่อใหศ ิษยแ ละผูร บั บริการเกิดการเรียนรูและ (๓) ไมประพฤติตนเปนแบบอยางท่ดี ีในการ
สามารถดาํ เนินชีวติ ตามหลักเศรษฐกิจพอเพยี ง อนุรักษหรือพัฒนาสงิ่ แวดลอม
(๔) เปนผูน าํ ในการวางแผนและดําเนนิ การ (๔) ปฏิบตั ติ นเปนปฏิปกษต อวัฒนธรรมอันดี
เพ่ืออนรุ ักษส ่งิ แวดลอม พฒั นาเศรษฐกจิ ภูมิ งามของชมุ ชนหรือสงั คม
ปญ ญาทองถ่นิ และศิลปวัฒนธรรม

๒ ฝายวิชาการ สํานักพิมพเดอะบุคส, กฎหมายครู, (กรุงเทพมหานคร: บริษัทสํานักพิมพเดอะ
บคุ ส จํากดั , ๒๕๕๖), หนา ๑๙๔-๒๐๒.

๒๔๐ พระครูปลัดบุญชวย โชติวํโส, ดร. (อุยวงค)

บทท่ี ๑๐ เกณฑมาตรฐานวิชาชีพผูบริหารสถานศึกษา

๑๐.๔ องคกรวชิ าชพี ทางการศึกษา มาตรฐานวิชาชพี ทางการศกึ ษา
พระราชบัญญตั แิ ละกฎกระทรวงทเี่ ก่ยี วกับการศึกษา

องคก รวชิ าชพี ทางการศกึ ษา
ครุ ุสภา
คุรสุ ภา (องั กฤษ: Khurusapha) มีชื่อทางการวา สภาครแู ละบคุ ลากรทางการศกึ ษา
(อังกฤษ: The Teachers’ Council of Thailand) เปนสภาในกระทรวงศึกษาธิการ จัดต้ังข้ึน
พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ มีบทบาทในการกําหนด
มาตรฐานวิชาชีพ ออกและเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ กํากับ ดูแล การปฏิบัติตาม
มาตรฐานวชิ าชพี และจรรยาบรรณของวชิ าชีพ รวมทั้งการพัฒนาวชิ าชีพทางการศึกษา ซ่ึงเปน
การยกระดับวิชาชีพทางการศึกษาใหเปนวิชาชีพช้ันสูง โดยมีสํานักเลขานุการคือ สํานักงาน
เลขาธกิ ารคุรสุ ภา279๓
ปจ จุบัน คุรุสภา มีฐานะเปนหนวยงานของรัฐ ประเภทองคการมหาชนที่จัดตั้งตาม
พระราชบญั ญตั เิ ฉพาะ
ประวตั ิ
การควบคุมและรักษามาตรฐานการประกอบวิชาชีพครูของไทย มีมานานกอน
วิชาชีพชั้นสูงหลายวิชาชีพในปจจุบัน ในป พ.ศ. ๒๔๓๘ มีการอบรมครูเปนครั้งแรกที่
“วิทยาทานสถาน” ซ่ึงเจาพระยาภาสกรวงศ (พร บุนนาค) เสนาบดีคนแรกเปนคนจัดตั้งขึ้นท่ี
ส่ีก๊ัก พระยาศรี ใกลหางแอลยีริกันดี ผูอบรมครูคนแรก คือ เจาพระยาธรรมศักด์ิมนตรี (นาย
สน่ัน เทพหัสดนิ ณ อยธุ ยา)280๔
ตอมาในป พ.ศ.๒๔๔๓ มีการจัดต้งั สภาสาํ หรับอบรมและประชุมครขู ึ้นที่วัดใหมวนิ ัย
ชํานาญ แขวงบางกอกนอ ย จงั หวัดธนบุรี ใชชอ่ื วา “สภาไทยาจารย” เปดทาํ การสอนครทู กุ วัน

๓ ครุ ุสภา, คุรุสภา, [ออนไลน], แหลงท่ีมา: https://th.wikipedia.org/wiki/คุรุสภา, [๓ ตลุ าคม
๒๕๖๓].

๔ คุรุสภา, ประวัติคุรุสภา, [ออนไลน], แหลงที่มา: https://www.ksp.or.th/ksp๒๐๑๘/
ksp_history, [๓ ตุลาคม ๒๕๖๓].

คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ ๒๔๑
พระครูปลัดบุญชวย โชติวํโส, ดร. (อุยวงค)

พระ อันเปนวันหยุดราชการ (กอเกิดหนังสือพิมพวิทยาจารยเลมแรก ซ่ึงเปนหนังสือพิมพของ
ครูออกในเดือนพฤศจกิ ายน)

พ.ศ.๒๔๔๕ กรมศึกษาธิการจัดตั้ง “สามัคยาจารยสโมสรสถาน” เพื่อใชเปนท่ี
ประชุมอบรมและสอนครูข้ึนที่โรงเรียนทวีธาภิเษก โดยมีเจาพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี
(ม.ร.ว.เปย มาลากุล) เปนนายกสภาคนแรก ซึ่งตอมาไดยายไปต้ังอยูในโรงเรียนมัธยมวัดราช
บูรณะ (โรงเรียนสวนกุหลาบ) ป ๒๔๔๗ สามัคยาจารยสโมสรสถานยกฐานะเปนสมาคม ใชช่ือ
วา “สามคั ยาจารยสมาคม” กจิ การของสามคั ยาจารยสมาคมไดส รางความเจริญเพ่ิมพนู ความรู
และความสามคั คีใหแ กครูดวยดมี าเปนเวลา ๔๐ ปเ ศษ

ตอมาเม่อื มีการประกาศใชพระราชบญั ญัติครู พทุ ธศักราช ๒๔๘๘ จดั ตงั้ “คุรุสภา”
ข้ึนเปนสภาในกระทรวงศึกษาธิการ โดยท่ีคุรุสภามีวัตถุประสงคและความมุงหมายกวางขวาง
ครอบคลุมกิจการของสามัคยาจารยสมาคม จึงมีการรวมงานและทรัพยสินของสามัคยาจารย
สมาคมมาเปน ของคุรุสภา และใหจ ัดต้ังสโมสรสามัคยาจารยข ึ้นใหมเปนแผนกหนึง่ ของคุรสุ ภา

คุรุสภาตามพระราชบัญญัติครู พุทธศักราช ๒๔๘๘ มีหลักการสําคัญ ๓ ประการ
คือ เปนสภาท่ีปรึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ เพ่ือชวยฐานะครูและเพื่อใหครูปกครองครู ซ่ึง
คุรสุ ภาไดทําหนา ที่โดยสมบูรณตลอดมา ตอมาเมอื่ มีการตราพระราชบัญญตั ิการศกึ ษาแหงชาติ
พ.ศ.๒๕๔๒ เพื่อปฏิรูประบบการศึกษาคร้ังใหญ คุรุสภาไดปรับบทบาทใหม โดยมีการตรา
พระราชบัญญตั ิสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.๒๕๔๖ ขึน้ ใหเปน กฎหมายวา ดว ยสภา
ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีเหตุผลสําคัญเพ่ือสืบทอดเจตนารมณของการจัดตั้งคุรุสภาให
เปนสภาวิชาชีพครูตอไป พระราชบัญญัติสภาครูฯ มีผลบังคับใชต้ังแตวันท่ี ๑๒ มิถุนายน
๒๕๔๖ กําหนดใหองคกรวิชาชีพ ๒ องคกร คือ สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา เรียกวา
“คุรุสภา” มีฐานะเปนนิติบุคคลอยูในกํากับของกระทรวงศึกษาธิการ ทําหนาท่ีเกี่ยวกับการ
ควบคุมและรักษามาตรฐานวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา อีกองคกรหน่ึง คือ
สํานักงานคณะกรรมการสงเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
เรยี กวา “สกสค.” มฐี านะเปนนิตบิ ุคคล อยูในกํากับกระทรวงศึกษาธิการ มีหนาทเี่ กี่ยวกับการ
สง เสริมสวัสดกิ าร สวสั ดภิ าพ และสง เสรมิ สนับสนนุ การจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ

เมื่อวันที่ ๑๖ เมษายน ๒๕๕๘ ไดมีคาํ สงั่ หัวหนา คณะรกั ษาความสงบแหงชาติ ท่ี ๗/
๒๕๕๘ เรื่องการปฏิบัติหนาที่ของคณะกรรมการคุรุสภา คณะกรรมการสงเสรมิ สวัสดิการและ
สวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการบริหารองคการคาของสํานักงาน


Click to View FlipBook Version