The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

สารเสพติด พิษร้ายใกล้ตัวคุณ

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Nalintorn, 2022-07-28 09:28:01

สารเสพติด พิษร้ายใกล้ตัวคุณ

สารเสพติด พิษร้ายใกล้ตัวคุณ

ควคาวมราู้ดม้ารนู้ทสุขาภงาสพุขจิภตแาลพะจจิิตตเวช

สารเสพติด

พิษร้ายใกล้ตัวคุณ

หอ
ผู้ป่วย
ชาย 2



คำนำ

ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาสำคัญประการหนึ่งของประเทศ ซึ่งบ่อนทำลายทรัพยากรและความ
มั่นคงของประเทศชาติและสังคมเป็นอย่างมาก ได้มีการดำเนินงานในทุกวิถีทางที่จะป้องกันและ
ปราบปรามมิให้มีการเสพ การซื้อขาย และการผลิตยาเสพติด แต่เนื่องจากปัญหายาเสพติดเป็น
ปัญหาใหม่ที่มีความยุ่งยากและสลับซับซ้อต่อการดำเนินการ และไม่ได้มีแต่ประเทศไทยแห่งเดียว
เท่านั้น ประเทศอื่นๆก็มีการเสพ การซื้อขาย และการผลิตยาเสพติดอยู่ตลอดเวลาปัจจุบันนี้ ยาเสพ
ติดได้เข้ามาแพร่หลายในสังคมเราเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นกัญชา กระท่อม แอมเฟตามีน เฮโรอีน
มอร์ฟีน และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งนอกจากผู้ใหญ่จะติดยาเสพติดแล้ว ก็ยังมีเยาวชนไทยอายุน้อยลง

ไปติดยาเ
สพติดเหล่านี้อีกด้วย ซึ่งนับว่าเป็นการสูญเสียทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สุขภาพ เศรษฐกิจ

สังคม และการปกครอง เพราะนอกจากผู้เสพยาเสพติดทั้งหลายนี้ จะได้สามารถประกอบอาชีพ
ทำการงานต่างๆไม่ได้แล้ว ยังก่ออาชญากรรม ทำให้เกิดปัญหาต่อสังคม กระทบต่อประชาชนผู้ไม่ได้


เสพยาเสพติดอีกด้วย ดังนั้นผู้จัดทำจึงได้จัดทำเอกสารความรู้ด้านสุขภาพจิตและจิตเวช เรื่องสาร

เสพติดพิษร้ายใกล้ตัวคุณ เล่มนี้ขึ้นเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับเรื่องสารเสพติดและสุขภาพจิต


หอผู้ป่วยชาย 2

สารบัญ ข

คำนำ ก

สารบัญ 1
3
บทที่ 1 สถานการณ์ยาเสพติดในปัจจ
ุบัน 5
10
บทที่ 2 ความหมายของสารเสพติด 13
15
บทที่ 3 ประเภทของสารเสพติด 17
24
บทที่ 4
สาเหตุของการใช้สารเสพติด 39
บทที่ 5 โรคสมองติดยา ค

บทที่ 6 สคาวราเมสผพิดตปิดกชตนิิทีด่เตก่ิาดงจๆากสารเ
สพติด
บทที่ 7

บทที่ 8 วิธีการบำบัดผู้ติดสารเสพติด

สรุป

บรรณานุกรม

1


บทที่ 1 สถานการณ์ยาเสพติดในปัจจุบัน

2

สถานการณ์ยาเสพติดในปัจจุบัน

ปัญหายาเสพติดนับวันจะเพิ่มความรุนแรงมากขึ้น ปัญหานี้ก่อให้เกิดความเสียหายต่าง
ท้ั้งผู้เสพ ครอบครัว สังคม ประเทศชาติและโลก โดยส่วนรวมมากมายมหาศาลและมีแนวโน้ม


ว่าจะขยายตัว ต่อเนื่องตามสภาพความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคม แล้วยังพบอีกว่า

ด้านกลุ่มผู้เสพมีการแพร่ ระบาดขยายฐานจากกลุ่มผู้ใช้แรงงาน ผู้ขับรถยนต์และเกษตรกร
ไปสู่กลุ่มผู้ว่างงานและกลุ่มนักเรียน นักศึกษา ซึ่งมีแนวโน้มสูงข้ึน ทำให้ประเทศต้องสูญเสีย
พลเมืองและเยาวชนไปเป็นจานวนมากเพราะ ยาเสพติดทาลายท้ังสุขภาพและอนาคต ตลอด


จนถึงขั้นการสูญเสียชีวิตของตนอย่างน่าเสียดาย อนึ่ง ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาท่ีบ่ันทอน

เสถียรภาพของประเทศท้ังทางด้านเศรษฐกิจและความมั่นคงของ ชาติ อันเป็นผลให้ประเทศ
ต้องสูญเสียปัจจัยการผลิตในส่วนท่ีเป็นกาลังทางด้านบุคคลและกาลังทรัพย์ เป็นจานวนมาก
รวมทั้งก่อให้เกิดอาชญากรรม ตลอดจนทำลายวัฒนธรรมอันดีงามของสังคมและ ประเทศชาติ

3


บทที่ 2 ความหมายของสารเสพติด

4

ความหมายของสารเสพติด

ยาเสพติด หมายถึง สารเคมีหรือวัตถุใดๆ ซึ่งเมื่อ
เสพเข้าสู่ร่างกาย ไม่ว่าจะโดยการกิน ดม สูบ ฉีด หรือ
ด้วยวิธีการใด ๆ แล้วจะทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจ

รวมตลอดถึงพืชที่เป็นหรือให้
ผลผลิตเป็นหรืออาจใช้ผลิต

เป็นยาเสพติด และสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษด้วย

5


บทที่ 3 ประเภทของสารเสพติด

6

ประเภทของสารเสพติด

พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522
ได้แบ่งยาเสพติดให้โทษออกเป็น 5 ประเภท ดังนี้

ประเภท ประเภท

ยาเสพติดให้โทษทั่วไป มี 102 รายการ ยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรงมี 38 รายการ
เช่น ใบโคคา โคคาอีน โคเดอีน ยาสกัดเข้มข้นของต้ม เช่น เฮโรอีน แอมเฟตามีน แมทแอมเฟตามีน

(ยาบ้า) เอ็กซ์ตาซี และแอลเอสดี

ฝืนแห้ง เมทาโดน มอร์ฟิน ฝีนยา




ประเภท

ยาเสพติดให้โทษที่มีลักษณะเป็นต้นตำรับยาและมียาเสพติดให้


โทษประเภท 2 ผสมอยู่ คือ ยารักษาโรคที่มียาเสพติด

ประเภท 2 เป็นส่วนประกอบอยู่ในสูตร เช่น ยาแก้ไอ

ยาแก้ท้องเสีอเล็กน้อย

ประเภท


สารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษ ประเภท
ประเภท 1 หรือ 2 มี 32 ราย เช่น อาเซตี
ยาเสพติดให้โทษที่ไม่เข้าอยู่ในประเภท 1
แอนไฮไดรด์ อาเซติล คลอไรด์ ถึง 4 มี 4 รามคารค่อ,กัญชาขีชาระท่อม
พืชฝืน ทุกส่วนของพืชกัญชา ทุกส่วนของพืช

กระท่อม และพืชเห็ดขี้ควาย

7

ประเภทของสารเสพติด

แบ่งตามการออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ประเภท

ประเภทกดประสาท
ได้แก่ ฝืน มอร์ฟิน เฮโรอีน สารระเหย

และยากล่อมประสาท



ประเภทกระตุ้นประสาท

ได้แก่ แอมเฟตามีน กระท่อม และ โคคาอื่น


ประเภทหลอนประสาท


ได้แก่ แอลเอสดี ดีเอ็มพี และ เห็ดขี้ควาย

ประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน
กล่าวคือ อาจกดกระตุ้น หรือ หลอนประสาท

ได้พร้อมๆ กันได้แก่ กัญชา

8

ประเภทของสารเสพติด

แบ่งตามที่มาของสาร ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท

ประเภทที่ได้จากธรรมชาติ


ฝิ่น มอร์ฟีน กระท่อม
กัญชา เป็นต้น




ประเภทที่ได้จากการสังเคราะห์

เฮโรอีน แอมเฟตามีน

สารระเหย เป็นต้น

9

ประเภทของสารเสพติด

แบ่งตามการบังคับใช้กฏหมาย ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท

ประเภทถูกกฏหมาย
legal drug

บุหรี่ สุรา ไวน์ เบียร์ คาเฟอีน
ในเครื่องดื่มชูกำลังและกาแฟ


กระป๋องไม่เกิน 50 mg

ประเภทผิดกฏหมาย

illegal drug


มอร์ฟีน ฝิ่น เฮโรอีน กัญชา ยาอี
ยาเลิฟ ยาเค แอมเฟตามีน

10


บทที่ 4 สาเหตุของการใช้สารเสพติด

11

สาเหตุของการใช้สารเสพติด

1.ปัจจัยภายในตัวบุคคล

ช่วงวัยรุ่น การเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน สภาพจิตใจ ผู้ใช้สารเสพติกสภาพจิตใจ
การให้ความสำคัยกับกลุ่มเItพืe่อmน4
อ่อนแอ รับรู้คุณค่าในตนเองต่ำ
25%



25% อารมณ์แปรปรวน




ทักษะส่วนบุคคล การสื่อIสteาmร 3
Iกt2eล5mไ%ก2ลการป้องกันตนเองเมื่อเกิดปัญหา
การปฏิเสธ ความเครียด25% defense mechanisms
ไม่สามารถปรับตัว

12

สาเหตุของการใช้สารเสพติด

2.ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม

ภายในครอบครัว ครอบครัวแตกแยก ภายนอกครอบครัว ชุมชนสังคมใช้
Item 3


การใช้ความรุนแรง ไม่มีเวล3า3เ.ล3ี้ย%งดู สาร3เ3ส.พ3%ติด สามารถเข้าถึงแหล่ง
ฐานะทางเศรษฐกิจ ความใกล้ชิด สารเสพติดได้ง่าย





สังคมยุคไร้พรหItมeแmด2น เข้าถึงสื่ออนไลน์
อินเตอร์เน3็3ต.3ส%ะดวก รวดเร็ว
การเลียนแบบทำตามผิดวิธี

13


บทที่ 5 โรคสมองติดยา

14

โรคสมองติดยา

การใช้ยาเสพติดจะมีผลต่อสมอง 2 ส่วน คือ สมองส่วนนอกหรือเรียกว่าสมองส่วนคิด และสมองส่วนที่อยู่ชั้นใน
หรือสมองส่วนอยาก สมองส่วนคิดจะทำหน้าที่ควบคุมสติปัญญาใช้ความคิดแบบมีเหตุผล ขณะที่สมองส่วนอยากจะ
เป็นศูนย์ควบคุมมณ์ ความรู้สึก เวลาคนเราเสพยาเสพติด ตัวยาจะไปกระตุ้นทำให้สมองสร้างสารเคมี ชื่อโดปามีน
ซึ่งเป็นสาเกิดความรู้สึกมีความสุข แต่ยาเสพคิดทำให้สมองสร้างโดปามีนมากว่าที่ธรรมชาติกำหนด จนทำให้รู้สึก

เป็นสุขมากขึ้นกว่าปกติแบบผิดธรรมชาติ สมองจึงมีการปรับตัวด้วยการลดการหลั่งสารเคมีนั้นลงเมื่อหมดฤทธิ์
ของยาเสพติดจึงเสมือบว่าร่างกายมีอาการ ขาดสารโดปามีนทำให้มีอาการหงุดหงิดหรือซึมเศร้า ส่งผลให้ผู้เสพยา
พยายามแสวงหายามาใช้ซ้ำในขณะเดียวกันเมื่อใช้ยาเสพติดบ่อยๆ จะทำให้สมองส่วนคิดถูกทำลายการใช้ ความคิดที่

เป็นเหตุเป็นผลจะเส
ียไป แล้วสมองส่วนอยากจะอยู่เหนือสมองส่วนคิด จนทำอะไรตามใจ ตามอารมณ์มากกว่าเหตุผล




Prefrontal Cortex Brain Reward Patihway

สมองส่วนความคิด
สมองส่วนความยาก

คิดด้วยสติปัญญา ความมีเหตุผล การคิด ควบคุมอารมณ์ ความยาก ดื้อต่อสิ่ง
ตัดสินใจแย่ลงขาดความยับยั้งชั่งใจ กระตุ้น เร้าตามธรรมชาติ ไวต่อยาเสพติด

15


ทที่ 6 ความผิดปกติที่เกิดจากสารเสพติด

16

ความผิดปกติที่เกิดจากสารเสพติด

ภาวะเป็นพิษ

iNTOXICATION

ตามเกณฑ์การวินิจฉัย DSM-5 ประกอบด้วย
1) มีอาการและอาการแสดงอย่างเฉพาะเจาะจงของสาร จากการที่เพิ่งใช้สารนั้น
2)มีพฤติกรรมหรือจิตใจเปลี่ยนแปลงผิดปกติอย่างมีนัยสำคัญทางคลินิกที่เกี่ยว
กับภาวะเป็นพิษของสารนั้นความผิดปกติที่เกิดขึ้นจะมีลักษณะเฉพาะเกิดขึ้นไม่
นาน ขณะหรือหลังเสพสารนั้น
3)อาการไม่ได้เกิดจากภาวการณ์เจ็บป่วยทางกายอื่น และไม่สามารถอธิบายด้วย
ความผิดปกติทางจิตอื่นได้ดีกว่า

ภาวะถอนสารเสพติด

substance withdrawal

ตามเกณฑ์การวินิจฉั
ย DSM-5 ประกอบด้วย

1) มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมร่วมกับและความคิดอย่างเฉพาะเจาะจงจาก

การหยุดหรือลดใช้สารนั้นหลังจากการเสพสารนั้นอย่างมากเป็นเวลานาน


2) อาการและอาการแสดงอย่างเฉพาะเจาะจงของสารก่อให้เกิดความทุกข์ทรมาน

อย่างมีนัยสำคัญทางคลินิก หรือมีความบกพร่องทางสังคม การงาน การทำหน้าที่

ด้านอื่นที่สำคัญ และ

3) อาการไม่ได้เกิดจากภาวการณ์เจ็บป่วยทางกายอื่น และไม่สามารถอธิบายด้วย

ความผิดปกติทางจิตอื่นได้ดีกว่า
ความผิดปกติทางจิต
mental disorder

โรคจิต เช่น อาการหลงผิด ประสาทหลอน การย้ำคิดย้ำทำ
อารมณ์สองขั้วความผิดปกติของการนอนหลับ โรคซึมเศร้า
ปัญหาการตอบสนองทางเพศผิดปกติความวิตกกังลผิดปกติ

ความผิดปกติของการรู้คิด (neurocognitive disorder)
อาการเพ้อ (delirium)

17


บทที่ 7 สารเสพติดชนิดต่างๆ

18

แอลกอฮอล์ (alcohol)

สารเคมีของแอลกอฮอล์ คือ เอทานอล (cthanol) โมเลกุลขนาดเล็กและละลายในน้ำจึงสามารถ
ดูดซึมได้ดีและรวดเร็ว แอลกอฮอล์ออกฤทธิ์ที่ตัวรับของสารสื่อประสาทหลายตัว เช่น GABA
receptor, serotonin-3 receptor, glutamate N-methyl-D-aspartate receptorเป็นต้น
ตัวรับเหล่านี้มีผลให้โดปามีนเพิ่มขึ้นที่นิวเคลียส เอคคัมเบน (nucleus accumben) ซึ่งอยู่ในลิมบิก

หรือสมองส่วนอยาก ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามระดับแอลกอฮอล์ในเลือด


อาการภาวะเป็นพิษ แบ่งตามระดับแอลกอฮอล์ในกระแสเลือด ดังนี้

50 - 150 มก ทำให้การตัดสินใจช้ลง สมองส่วนควบคุมการคิดถูกกดการทำงาน การ


มองเห็น และการทำงานร่วมกันของกล้ามเนื้อเสียเล็กน้อย

151 - 300 มก ประสาทรับความรู้สึกเสีย กล้ามเนื้อทำงานไม่สัมพันธ์กัน เดินเซ พูดอ้อแอ้
มองเห็นภาพไม่ชัด ระยะการตัดสินใจช้ลงค่อนข้างมาก
มากกว่า 300 มก% กล้ามเนื้อทำงานไม่สัมพันธ์กัน ตาพร่า มองเห็นภาพซ้อน แขนขาเกร็ง




อาการทางจิต
ประสาทหลอนทางหู (auditory hallucination) บางครั้งหูแว่ว ได้ยินเสียงคนพูด

ลักษณะข่มขู่ มีท่าทางหวาดกลัว มีความคิดสับสนบางครั้งร้องตะโกน
หรือหลบซ่อนตัว

19

แอมเฟตามีน (amphetamine)

แอมเฟตามีนกลุ่มดั้งเดิมมีฤทธิ์ต่อสมองส่วนอยาก ทำให้มีการหลั่งโดปามีนมากขึ้น
และมีซีโรโทนิน นอร์เอพิเนฟริน มากขึ้น ผู้ที่ใช้แอมเฟตามีนเป็นช่วงแรกที่
สารออกฤทธิ์จะทำให้รู้สึกดี เคลิบเคลิ้ม มีความสุข อารมณ์ดี เป็นมิตรกับผู้อื่น

ความตั้งใจดีขึ้นพูดดีขึ้น ไม่ง่วงนอน และเกิดความพึงพอใจ ส่งผลให้มีความต้อง
การใช้สารอย่างต่อเนื่อง




อาการภาวะเป็นพิษ ดังนี้

หงุดหงิด กระสับกระส่าย นอนไม่หลับ เคลื่อนไหวเพิ่มขึ้น ไม่นิ่ง ก้าวร้าวรุนแรง คอและ


ปากแห้ง หัวใจเต้นแรงเร็ว ความดันโลหิตสูงขึ้น ทำให้เกิดอาการของโรควิตกกังวล รวมถึง
โรคแพนิค เกิดอาการหลงผิด ประสาทหลอน หูแว่ว หวาดระแวง กลัวคนทำร้าย
ทำร้ายตนเอง หรือทำร้ายผู้อื่นได้

อาการทางจิต


ลักษณะคล้ายกับโรคจิตชนิดหวาดระแวง (paranoid schizophrenia) มีอาการ

กลัวคนมาทำร้าย หูแว่ว พฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง อาจมีการทำร้ายตนเองหรือ

บุคคลอื่น แต่ไม่มีอาการด้านลบ (negative symptom) เหมือนที่พบในโรคจิตเภท

มักเกิดอาการทางจิตขณะเสพ

20

กัญชา (cannabis)

กระตุ้นให้สมองหลั่งโดปามีนและนอร์เอพิเนฟรินมากขึ้น ทำให้อารมณ์ดีเคลิ้มสุข
ผ่อนคลาย เจริญอาหาร และพบว่ากัญชามีความสัมพันธ์กับกลุ่มอาการขาดความสนใจ
คือ ไม่อยากทำอะไรอยากอยู่เฉยๆ ไม่มีแรงจูงใจที่จะคิดหรือทำสิ่งใดอาการภาวะเป็นพิษ
มีอารมณ์เป็นสุข หรือหงุดหงิดระแวง หัวเราะไม่เหมาะสม แยกตัว คอและปากแห้ง เจริญ

อาหารเพิ่มขึ้น เยื่อบุตาแดง หัวใจเต้นเร็ว มีอาการประสาทหลอน เห็นภาพหลอน




อาการภาวะเป็นพิษ ดังนี้


มีอารมณ์เศร้า โกรธ ก้าวร้าว วิตกกังวล นอน ไม่หลับ ความอยากอาหาร
ลดลง น้ำหนักลด ปวดท้อง เหงื่อออกมาก มีไข้ ปวดศีรษะ




อาการทางจิต
อาการหวาดระแวง บางรายมีหูแว่วร่วมด้วย อาการ

จะเป็นอยู่ไม่เกิน 1 สัปดาห์ พฤติกรรมก้าวร้าว สับสน ภาพหลอน

21

นิโคติน (nicotine)

กระตุ้นการทำงานของตัวรับนิโคติน (nicotine receptor) ทำให้มีการเพิ่มการทำงาน
ของระบบประสาทโคลิเนอร์จิก (cholinergic) ที่บริเวณวนทรัล เทกเมนต้ม (ventral
tegmentum area)มีผลทำให้เพิ่มการปล่อยโดปามีนบริเวณนิวเคลียส เอคกัมเบน

ทำให้รู้สึกผ่อนคลายควันของบุหรี่ 1 มวน มีนิโคติน 0.8-1.8 มก.




อาการภาวะเป็นพิษ ดังนี้


ทำให้ความรู้สึกต่าง ๆ ช้าลง นอนไม่หลับ

ความดันโลหิตสูงขึ้น หัวใจเต้นเร็วผิดปกติและไม่เป็นจังหวะ
ปวดศรีษระ ปวดท้อง

อาการทางจิต


ความไม่สุขสบายในภาวะความวิตกกังวลไม่มีสมาธิ

ซึมเศร้านอนไม่หลับ หงุดหงิด

กระวนกระวาย โมโหง่าย

22

กระท่อม (kratom)

มีสารไมทราไจนึน (mitragynine)เป็นสารอัลคาลอยด์ ออกฤทธิ์กระตุ้นที่ตัวรับฝืน
(opioidreceptor) ขนาดต่ำ ๆ มีฤทธิ์กระตุ้นประสาทคล้ายยาบ้าอ่อน ๆ ในขนาดสูงมีฤทธิ์

เคลิบเคลิ้ม กดประสาท หลังเคี้ยวใบกระท่อม 5-10นาที จะกระปรี้กระเปร่า เป็นสุข
ไม่อยากอาหาร กคความรู้สึกเมื่อยล้าขณะทำงาน ลดความเจ็บปวด
ผิวหนังแคงจากเลือดไปเลี้ยงผิวหนังมากขึ้น




อาการภาวะเป็นพิษ ดังนี้


มือสั่น ตัวสั่น อุณหภูมิร่างกายลดลงเล็กน้อยทำให้รู้สึกตัวเย็น หนาว

แขนขาอ่อนแรง การประสานงานของกล้ามเนื้อลคลง ทำให้เดินเซ
ปวดเวียนศีรษะ กระดุก กล้ามเนื้อ คลื่นไส้ อาจมีความดันโลหิตลดลง

หายใจเร็วหัวใจเต้นเร็ว




อาการทางจิต
ภาวะความวิตกกังวล รู้สึกเครียดหงุดหงิด
โมโห ก้าวร้าว นอนไม่หลับ

23

เฮโรอีน (heroin)

เฮโรอีนเป็นสารอนุพันธ์ฝืนมีสามารถละลายในไขมันได้สูงจึงผ่านตัวกั้นระหว่างเลือดและสมอง (blood
brain barrier) ได้เร็วและออกฤทธิ์ได้เร็ว สู่สมองเอนไซม์ในสมองจะเปลี่ยนเฮโรอีนเป็นมอร์ฟิน มอร์ฟินจะ
จับกับโปรตีนบนผิวเซลล์ประสาทของสมองส่วนควบคุมความพอใจหรือสมองส่วนอยากที่เรียกว่าตัวรับฝืน
(opioid receptor มีสารสื่อประสาทเอนดอร์ฟิน (endorphines) เพิ่มขึ้น ทำให้เซลล์ประสาทหลั่งโดปามีน
มากขึ้นจากระบบสร้างโดป่ามีน(dopaminergic system)บริเวณเวนทรัล เทกเมนตัม (ventral tegmentum
area) และนิวเคลียส เอคกัมเบน ผู้เสพจะรู้สึกสบายใจ มีอารมณ์เคลิบเคลิ้ม จึงรู้สึกพอใจและมีความสุข








อาการภาวะเป็นพิษ ดังนี้
มีอาการเคลิบเคลิ้มเป็นสุข ง่วงซึมสมาธิและความจำแย่ลง ไม่รู้สึก
เจ็บปวดรูม่านตาหดเล็ก ชีพจรเต้นช้า ความดันโลหิตต่ำ กรณีเสพเกิน
กระวนกระวาย ม่านตาขยายขนาดจะไม่รู้สติ ทำร้ายตัวเอง หยุดหายใจ




อาการทางจิต
ความผิดปกติทางอารมณ์ มีอาการซึมเศร้า บางรายมี
ความกระวนกระวาย วิตกกังวล มีปัญหาการนอนหลับ

24


บทที่ 8 วิธีการบำบัดผู้ติดสารเสพติด

25

วิธีการบำบัดผู้ติดสารเสพติด

การบำบัดด้วยยา

1.ยาที่ออกฤทธิ์เหมือนหรือใกล้เคียงสารเสพติค (agonist therapy) ออกฤทธิ์จับกับสารสื่อ
ประสาทระบบเดียวกับสารเสพติด นำมาใช้เพื่อชดเชยแทนสารเสพติด
2.ยาที่ออกฤทธิ์ตรงข้ามกับสารเสพติด (antagonist therapy) ออกฤทธิ์ยับยั้งที่

ตัว
รับสารสื่อประสาทระบบเดียวกับสารเสพติด ทำให้ผู้เสพไม่ได้รับความสุขจากการเสพสาร

3.ยาที่ช่วยลดอาการอยากยา (anti-craving drugs) ออกฤทธิ์ยับยั้งสารสื่อประสาทที่


ทำให้เกิดความรู้สึกเป็นสุขเมื่อได้เสพสารเพื่อป้องกันการกลับมาเสพช้ำ

4.ยาที่เปลี่ยนแปลงการเผาผลาญสารเสพติดในร่างกาย (alteration drug metabolism)
5.ยาลดอาการถอนของสารเสพติด เนื่องจากภาวะถอนสารบางชนิด อาการจะ
มาก ทำให้ผู้รับการบำบัดต้องการสานั้นอย่างต่อเนื่อง การบำบัดจึงต้องให้ยาเพื่อลดความถอน

26

วิธีการบำบัดผู้ติดสารเสพติด

การบำบัดรายบุคคล

การเสริมสร้างแรงจูงใจ

การเสริมสร้างแรงจูงใจ (Motivational Interviewing: MI) พัฒนาโดยมิลเลอร์และ
โรลนิค (Miller & Rolnick) ในปี ค.ศ. 1991 ภายใต้แนวคิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
(The Transtheoretical Modelof Intentional Human Behavior Change: TIM) ของ


พรคาสคาและไดคลีเมนเต (Prochaska & DiClemente)แนวคิดนี้ระบุขั้นตอนของการ

เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม (stages of change) ไว้อย่างชัดเจนความเข้าใจขั้นตอนการ


เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมช่วยให้ผู้บำบัดสามารถวิเคราะห์ได้ว่าผู้รับการบำบัดกำลังอยู่ในขั้น

ตอนใด ควรมีการตอบสนองอย่างไร เพื่อทำให้ผู้รับการบำบัดเข้าสู่ขั้นตอนที่พึ่งประสงค์จน
ไปสู่การมีพฤติกรรมตามเข้าหมายได้อย่างถาวร อย่างไรก็ตาม ผู้รับการบำบัดอาจมีการ
เปลี่ยนแปลงไปมาตามขั้นตอนต่าง ๆ และอาจเข้าสู่ขั้นตอนกลับไปมีปัญหาช้ำได้อีก

27

วิธีการบำบัดผู้ติดสารเสพติด

การบำบัดรายบุคคล

1.ขั้นไม่สนใจปัญหา
pre-contemplation stage

6. ขั้นกลับไปเสพติดช้ำ 2.ขั้นลังเลใจ
relapse stage contemplation stage


3.ขั้นตัดสินใจหยุดใช้ยาเสพติด

5. ขั้นกระทำต่อเนื่อง
determination
maintenance stage

4. ขั้นลงมือปฏิบัติ
Action stage

28

วิธีการบำบัดผู้ติดสารเสพติด

การบำบัดรายบุคคล
การเสริมสร้างแรงจูงใจ

1.ขั้นไม่สนใจปัญหา (pre-contemplation stage)

ขั้นตอน
นี้ผู้ป่วยไม่คิดจะเปลี่ยนแปลงตนเองไม่คิดว่าตนเองมือปัญหาจากการเสพติด มักคิดว่า

ตนเองสามารถควบคุมการใช้ยาเสพติดได้ มองไม่เห็นผลเสียที่เกิดจากการใช้ยาเสพติด มักโทษ


บุคคลรอบข้างหรือโทษสิ่งแวดล้อมว่าทำให้ตนเองเครียดจึงต้องใช้ยาเสพติด ผู้บำบัดควรให้
ข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ของผู้ป่วย (feed back) และความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง
(information) โดยพูดถึงความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงและปัญหาที่เกิดจากการใช้ยาเสพติด
ยอมรับความเห็นที่แตกต่างนัดหมายให้สมาชิกครอบครัวหรือญาติเข้ามามีส่วนร่วมในการบำบัด
สำรวจการรับรู้ปัญหาของผู้ป่วยเกี่ยวกับการเสพติดกระตุ้นให้ผู้ป่วยประเมินแนวโน้มในการ


เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม สร้างความตระหนักในปัญหาที่เกิดจากการเสพติด

29

วิธีการบำบัดผู้ติดสารเสพติด

การบำบัดรายบุคคล
การเสริมสร้างแรงจูงใจ

2.ขั้นลังเลใจ contemplation stage

ขั้น
นี้ผู้ป่วยจะรู้สึกไม่แน่ใจในพฤติกรรมการเสพติดของตนเองว่าดีหรือไม่ดี รู้สึกขัดแย้งใน

ตนเองและเริ่มประสบกับผลกระทบจากการเสพติดบ้างแล้ว ขณะเดียวกันยังเห็นว่าการเสพ
ติดมีคุณมากกว่าโทษ พยายามควบคุมการเสพติดมากขึ้น แต่ก็ยังเสพติดอยู่ ผู้บำบัดควรพูด


คุยถึงความสมดุลแห่งการตัดสินใจ (decisional balancing) ข้อดี ข้อเสียของการเสพติดและ

การไม่เสพติด (pros and cons) เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้ทบทวนอย่างอิสระพร้อมทั้งให้ข้อมูลที่
ถูกต้องด้วยการสรุปความคิดเห็นของผู้ป่วยเกี่ยวกับข้อดี - ข้อเสียของการเสพติดและการไม่
เสพติด ทำให้ผู้ป่วยเห็นประโยชน์ของการเปลี่ยนแปลงและลงมือปฏิบัติ โดยกระตุ้นให้เห็น
ถึงเหตุผลของการเปลี่ยนแปลง เน้นให้ผู้ป่วยรับผิดชอบตนเองและยอมรับผลที่จะเกิดขึ้น


หลังการตัดสินใจ

30

วิธีการบำบัดผู้ติดสารเสพติด

การบำบัดรายบุคคล
การเสริมสร้างแรงจูงใจ

3.ขั้นตัดสินใจหยุดใช้ยาเสพติดอย่างจริงจัง determination

ขั้นต
อนนี้ผู้ป่วยมักรับรู้ถึงโทษของการเสพติดที่รุนแรง ตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้น และ

ต้องการเลิกใช้ยาเสพติดผู้บำบัดควรให้ทางเลือก (menu ในจำนวนที่ไม่มากเกินไปจนเกิด
ความสับสน หรือน้อยเกินไปเหมือนถูกบังคับ ควรเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยเลือกได้อย่างอิสระ


เน้นความรับผิดชอบในการเลือกของผู้ป่วยเอง (responsibility) และส่งเสริมศักยภาพใน

การเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วย (self-efficacy) โดยการให้ความรู้ที่จำเป็นต่อการตัดสินใจ
การแสวงหาการรักษา ให้ความมั่นใจว่าจะประสบความสำเร็จ บอกถึงสิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อ

31

วิธีการบำบัดผู้ติดสารเสพติด

การบำบัดรายบุคคล
การเสริมสร้างแรงจูงใจ

4. ขั้นลงมือปฏิบัติ Action stage




เป
็นขั้นตอนที่ผู้ป่วยสนใจชักถามวิธีการแก้ปัญหาพยายามทำตามวิถีทางที่ตนเองเลือก

เพื่อการเลิกยาเสพติด แต่อาจจะทำได้ไม่สม่ำเสมอในช่วง - เดือนแรก ผู้บำบัดควรส่งเสริมให้ผู้


ป่วยกระทำตามวิธีการที่ตนเองเลือกอย่างต่อเนื่อง (compliance)ช่วยขจัดอุปสรรคที่อาจทำให้

ดำเนินการไม่ต่อเนื่อง ตรวจสอบความเข้าใจในวิธีการ และให้ความมั่นใจว่าผู้ป่วยสามารถทำได้
โดยแสดงความเห็นใจ (empathy) ให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะถอนพิษยาเสพติด ให้แรงเสริมโดย
เน้นให้ผู้ป่วยมีเป้าหมายและเชื่อมั่นในการตัดสินใจ ควรมีการวางแผนเพื่อการเปลี่ยนแปลง

และเลือกวิธีการรักษา

32

วิธีการบำบัดผู้ติดสารเสพติด

การบำบัดรายบุคคล
การเสริมสร้างแรงจูงใจ

5. ขั้นกระทำต่อเนื่อง maintenance stage


นขั้นตอนนี้ผู้ป่วยมักเลิกใช้ยาเสพติดได้ประมาณ ๖ เดือน อารมณ์ความคิดค่อนข้างมั่นคง

และทำตามวิธีที่ตนเองเลือกอย่างต่อเนื่อง มีความมั่นใจว่าตนเองสามารถเลิกใช้ยาเสพติด


ได้ผู้บำบัดควรให้คำแนะนำ (advice) เรื่องการป้องกันการเสพติดซ้ำแนวทางการปฏิบัติตน

การใช้ชีวิตอย่างสมดุลและมีคุณค่าขัดแย้งในตนเองและเริ่มประสบกับผลกระทบจากการ
เสพติดเช่น การหางานอดิเรกทำ การออกกำลังกาย การผ่อนคลายบ้างแล้ว ขณะเดียวกัน
ความเครียด การดูแลสุขภาพตนเอง การควบคุมความเสี่ยงในการกลับไปเสพติดช้ำและ

เน้นย้ำว่า หากกลับไปเสพติดซ้ำต้องกลับเข้ารับการบำบัด ควรเสริมทักษะต่างๆ


เพื่อป้องกันการเสพติดซ้ำ

33

วิธีการบำบัดผู้ติดสารเสพติด

การบำบัดรายบุคคล
การเสริมสร้างแรงจูงใจ

6. ขั้นกลับไปเสพติดช้ำ relapse stage


นขั้นนี้ผู้ป่วยเริ่มนำตนเองไปสู่สถานการณ์เสี่ยงปล่อยให้ตนเองมีความเปราะบางทาง

อารมณ์ไม่จัดการกับอาการอยากใช้ยาเสพติด ประมาท และเผลอใจกลับไปใช้ยาเสพติดอีก


ครั้งผลทางจิตใจที่ตามมา คือความรู้สึกผิด ซ้ำเติมตนเอง และปฏิเสธความจริง ผู้บำบัดควร

เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยบอกเล่าถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการกลับไปเสพติดซ้ำ กระตุ้นให้ผู้ป่วยพูดถึง
ความกังวลและความผิดหวังเสียใจในการกลับไปเสพติดซ้ำ ให้กำลังใจ ให้การยอมรับในสิ่ง

ที่เกิดขึ้น เน้นความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ สนับสนุนให้เกิดความเชื่อมั่นในตนเอง
(self-efficacy) ชื่นชมส่วนดีที่คันพบ (affimation) ให้ข้อมูลว่าหากมีความตั้งใจมีความ


พยายามจะสามารเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมให้ดีขึ้นได้

34

วิธีการบำบัดผู้ติดสารเสพติด

การบำบัดรายบุคคล

การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม



การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavioral Therapy: CBT)
พัฒนาโดยเบค (Beck) แนวทางการบำบัดด้วย CBT มีความเชื่อว่าปัญหาทางจิตใจและ
พฤติกรรมเป็นผลมาจากกระบวนการคิดที่บิดเบือนในด้านลบ โดยมีความสัมพันธ์ของความคิด

อารม
ณ์ และพฤติกรรมในลักษณะที่มีผลต่อกันและกัน เป้าหมายของการบำบัคือการช่วยให้ผู้

รับการบำบัคสามารถระหนักถึงความคิดด้านลบความคิดและมองโลกอย่างสอดกล้องกับความ
เป็นจริงผู้บำบัคมีหน้าที่ช่วยให้ผู้รับการบำบัดมองเห็นปัญหาปัจจุบัน จัดลำดับควาสำคัญของ


ปัญหา เริ่มต้นจากการค้นหาความคิดด้านลบหรือความคิดอัตโนมัติที่ก่อให้เกิดปัญหาช่วยให้

ลองเปลี่ยนมุมมองต่อเหตุการณ์เดียวกัน ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่จะเปลี่ยนแปลงความคิด มีการ
ฝึกทักษะที่สำคัญให้การบ้านเพื่อให้ได้ทดสอบสิ่งที่ได้เรียนรู้ในแต่ละครั้งของการบำบัด ระยะ
เวลาในการบำบัดประมาณ 15-20ครั้งในช่วง 12 สัปดาห์ สำหรับการให้การบำบัดต่อเนื่องเพื่อ
ป้องกันการกลับเป็นช้ำจะให้ประมาณ 12 ครั้งต่อเดือน ในช่วง 6-12 เดือนเป็นการบำบัดแบบ


กระตุ้น ปัจจุบันมีการประยุกต์ใช้แนวคิดข้างต้นจากการบำบัดรายบุคคลมาเป็นการบำบัดแบบ
กลุ่มซึ่งได้ผลดีเช่นกัน

35

วิธีการบำบัดผู้ติดสารเสพติด

การบำบัดรายบุคคล

กลุ่มบำบัดสำหรับผู้ติดสารเสพติด

กลุ่มบำบัดสำหรับผู้ติดสารเสพติด มีเป้าหมายเพื่อช่วยให้ผู้ติคสารเสพติดที่มีปัญหา
เกี่ยวกับพฤติกรรม อารมณ์ และความคิด เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในแนวทางที่เหมาะสม ช่วยให้มี

การสำรวจทำความเข้าใจ และแก้ไขปัญหาของตนเอง ช่วยเหลือให้หยุดเสพได้อย่างต่อเนื่องใน

ระยะ
เวลาที่ยาวขึ้น มีแนวทางการปรับเปลี่ยนการดำเนินชีวิตให้เอื้อต่อการเลิกสารเสพติด และ

ได้พัฒนาทักษะทางสังคม โคยช่วยสร้างสิ่งแวดล้อมให้สมาชิกกลุ่มมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันทำให้
เกิดการเรียนรู้การแก้ปัญหา การให้และรับการสนับสนุนทางจิตใจระหว่างกัน ข้อคีของการทำ


กลุ่มบำบัดพบว่าสามารถบรรเทาความรู้สึกผิด เกิดการเสริมแรงทางบวก ซึ่งได้จากการได้รับฟัง

แลกเปลี่ยนข้อมูล เรียนรู้ทักษะวิธีการแก้ปัญหารูปแบบต่าง ๆ ได้รับกำลังใจจากสมาชิกกลุ่ม
และมีข้อดีต่อผู้บำบัด คือ เป็นการบำบัดผู้ป่วยหลายคนได้ในเวลาเดียวกัน ประหยัด

36

วิธีการบำบัดผู้ติดสารเสพติด

การบำบัดรายบุคคล

การบำบัดแบบผสมผสาน

การบำบัดแบบผสมผสาน (combine therapy) การบำบัดด้วยวิธีการต่าง ๆมีเป้าหมายหมือนกัน
คือ ต้องการให้ผู้ป่วยเลิกใช้สารเสพติดให้ได้นานที่สุด กลับไปเสพช้ำน้อยที่สุด มีคุณภาพชีวิตที่ดี
สามารถคำนินชีวิตในชุมชนและสังคมได้อย่างเหมาะสมตามบริบทของตนเอง จึงมีการพัฒนาวิธี

การ
บำวิธีการบำบัดต่าง ๆ มาปรับใช้ร่วมกัน เช่น การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมมาใช้ยา

บำบัดอาการทางจิด ซึ่งทำให้อาการของผู้ป่วยทุเลาลงอย่างรวคเร็ว การบัดทางความคิดและ
พฤติกรรม (CBT) ร่วมกับการเสริมสร้างแรงจูงใจ (MI) หรือการนำหลักกจูงใจ (MI) และหลักการ


ของกลุ่มบำบัคมาใช้ร่วมกันเป็นการเสริมแรงจูงใจแบบกลุ่ม (Group Mwing: GMI) ต่อมามีการใช้
การเสริมแรงกูงใจแบบกลุ่ม (GMI) ร่วมกับการบำบัดทางความคิด

37

วิธีการบำบัดผู้ติดสารเสพติด

การบำบัดรายบุคคล

การนำครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วมในการบำบัด

การนำครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วมในการบำบัด ครอบครัวเป็นแหล่งประโยชน์ที่สำคัญอย่าง
ยิ่งต่อการบำขัดรักษา การฟื้นหาย การป้องกันการกลับไปเสพซ้ำ รูปแบบการนำครอบครัวมา
มีส่วยร่วม ในการบำบัด แบ่งเป็น 3 ลักษณะ ดังนี้ 1) การให้สุขภาพจิตศึกษาแก่ครอบครัว (family
psychoeducation) มุ่งให้สมาชิกในครอบครัวได้รับความรู้เรื่องสารเสพติด กลไกการเสพติด

วิธีการ
บำบัด และคำเนะนำเกี่ยวกับวิธีการต่าง ๆ ที่ช่วยให้ผู้ป่วยเลิกสารเสพติดได้อย่างต่อเนื่อง

2) การให้คำปรึกษาครอบครัว (family counseling) เป็นการสร้างสัมพันธภาพกับสมาชิกใครอบ
ครัวเพื่อเพิ่มความสามารถในการแก้ปัญหา มุ่งให้เกิดความเข้าใจตนเอง เข้าใจปัญหาอย่างชัดเจน


ว่าปัญหาอาจเกิดจากผู้ติดสารเสพติด หรือจากสมาชิกในครอบครัว หรือจากทั้งสองฝ่าย มีทาง

เลือกและวิธีการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสม และ 3) ครอบครัวบำบัด (family therapy) โดยสมาชิก
ในครอบครัวและผู้บำบัดร่วมมือกันในการวางแผนและดำเนินการตามแผนเพื่อปรับเปลี่ยน

พฤติกรรมของผู้ติดสารเสพติดและสนับสนุนการเลิกใช้สารเสพติด โดยสรุปการนำครอบครัวเข้า
มามีส่วนร่วมในการบำบัด มุ่งเน้นให้ครอบครัวมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการติดสารเสพติด


วิธีการบำบัค มีความเข้าใจปัญหาและสามารถปรับตัวกับปัญหาที่เกิดขึ้นได้ มีความเชื่อมั่นในการ

ช่วยเหลือและส่งเสริมให้ผู้ป่วยเผชิญกับปัญหาและความจริงในการดำเนินชีวิตในฐานะสมาชิก
ของครอบครัว ยอมรับและให้กำลังใจผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ปวยมีจิตใจเข้มแข็ง เรียนรู้ และเข้าใจตนเอง

มากขึ้น สามารถทำในสิ่งที่ตั้งเป้าหมายไว้ได้สำเร็จ

38

วิธีการบำบัดผู้ติดสารเสพติด

การบำบัดรายบุคคล

การบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพเข้มข้นทางสายใหม่ (FAST Mode)

การบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพเข้มข้นทางสายใหม่ (FAST Mode) เป็นวิธีการบำบัดรักษาในขั้น
ฟื้นฟูสภาพ เน้นการใช้กระบวนการบำบัดฟื้นฟูให้ผู้ติดสารเสพติดสามารถกลับคืนสภาพ
ร่างกาย มีจิตใจที่เข้มแข็งและมั่นคง มีแนวคิดสำคัญคือการเลิกสารเสพติดเป็นบทบาทของผู้
ป่วยโดยครอบครัวมีส่วนร่วมตั้งแต่เริ่มดันการบำบัดจนกระทั่งสามารถเกิดการเรียนรู้ร่วมกัน

ใโนดยชีวมิี
ตผู้ปบรำะบัจดำเวปั็นนแผู้ลช่ะวทยำเหคลนือให้ชีเ้แป็นนะปรส่ะงโเยสชริมน์ใต่หอ้เคกิรดอกบรคะรบัววสนังกคามรเแรีลยะนชรุูม้ร่ชวนมกโันดยเพมื่ีออนงำค์ไปปรปะฏกิบอับติ

4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านกิจกรรมการมีส่วนร่วมของครอบครัว (Family)ตั้งแต่เริ่มต้นการบำบัด


และรับผิดชอบดูแลผู้ป่วยควบคู่กับการอยู่ในครอบครัว สังคม ชุมชนตามสภาพที่เป็นอยู่จริง

2) ด้านกิจกรรมทางเลือกในการบำบัครักษาและฟื้นฟูสภาพ (Alternative treatment activity)
ที่เหมาะสมกับบริบท ของผู้ป่วย 3) ด้านกระบวนการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน (Self help) ใช้
กระบวนการให้ผู้ป่วยมีการเรียนรู้และบำบัดทางกาย จิต สังคม สามารถมีพลังใจที่เข้มแข็งโดย
ปรับสภาพทั้งพฤติกรรม เจตคติ ความรู้สึกและการสร้างสัมพันธภาพ จนสามารถอยู่ได้อย่าง


ปกติสุขและ ไม่กลับไปเสพช้ำและ 4) ด้านกระบวนการชุมชนบำบัด (Therapeutic community)

ให้แนวทางในการดำเนินชีวิตที่มีคุณค่าทางสังคม การรับรู้กฎ ระเบียบกติกาของสังคม โดยใช้
กระบวนการชุมชนบำบัดที่สำคัญ ได้แก่ อิทธิพลจากคนรอบข้าง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
การเรียนรู้ทางสังคม จริยธรรม และกรอบอ้างอิงหรือแนวทางในการดำเนินชีวิตของบุคคล

39

สรุป

สารเสพติดส่งผลกระทบภาพกว้างทั้งต่อตัวผู้เสพ บุคคลในครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ
การใช้สารเสพติดทำให้ผู้เสพมีปัญหาสุขภาพกายและจิตใจ ปัญหาค่าใช้จ่าย ปัญหาการกระทำความ
ผิดทางกฎหมายขณะที่ผู้อื่น ได้รับผลกระทบจากผู้ใช้สารเสพติดอย่างมากเช่นกัน พยาบาลวิชาชีพมี
บทบาทให้การพยาบาลตามมาตรฐานวิชาชีพจึงต้องมีความรู้ ความข้าใจ และมีทักษะการปฏิบัติกิจกรรม
การพยาบาลเพื่อการเข้าใจธรรมชาติของผู้ใช้สารเสพติด การซักประวัติ การประเมินสภาพร่างกายและ
สภาพจิต การประเมินอาการและอาการแสดงที่สำคัญของภาวะเป็นพิษ ภาวะถอนสารเสพติด และอาการ
ทางจิต การวินิจฉัย กระบวนการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสภาพ เพื่อให้การช่วยเหลือดูแลผู้ติดสารเสพติด

และครอบครัวเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด



บรรณานุกรม

ฉวีวรรณ สัตยธรรม, แผ จันทร์สุข และศุกร์ใจ เจริญสุจ. (2556). การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต.
กรุงเทพฯ.ธนาเพรส.
สายฝน เอกวรางกูร.(2559).การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิตศาสตร์สู่การปฏิบัติ 2

(พิมพ์ครั้งที่ 3).นครศรีธรรมราช.โรงพิมพ์สามลดา.
สุวนีย์ เกี่ยวกิ่งแก้ว.(2554).การพยาบาลจิตเวช.กรุงเทพฯ.โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ความรู้ทางสุขภาพจิต


Click to View FlipBook Version