The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

วิวัฒนาการละครไทย

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by sweetskt1958, 2021-12-01 22:18:41

วิวัฒนาการละครไทย

วิวัฒนาการละครไทย

วิวัฒนาการ
การละครไทย

ละคร หมายถึง

การแสดงประเภทหนึ่งที่ดำเนินเป็น
เรื่องราว โดยนำเนื้อเรื่องเหตุการณ์ต่าง
ๆ มาเชื่อโยงกันสามารภแยกประเภทตาม
ลักษณะการแสดง เช่น การรำ การร้อง

สมัยน่านเจ้า

ไม่มีหลักฐานเกี่ยวกับ
การละครมากนัก แต่มีการ
ค้นพบว่าประเทศไทยมี
นิยายเรื่อง นามาโนราห์
ส่ วนของไทยน่านเจ้านั้นจะ
มีระบำ เช่น ระบำนกยูง

สมัยสุโขทัย

ไม่มีหลักฐานเกี่ยวกับการละครมากนัก แต่จะ
เป็นการแสดงทางศิลปะการแสดงพื้นเมืองประเภทรำ
และระบำ มีการกำหนดแบบแผนของโขน ละคร และ
ฟ้อนรำขึ้น
การแสดงที่สันนิษฐานว่ามีในสมัยนี้คือ มโราห์
และละครแก้บน

สมัยสุโขทัย

ละครแก้บน มโนราห์

สมัยอยุธยา

ในสมัยนี้พระเจ้าอู่ทองได้สั่ งให้สมเด็จพระราเมศวรไป
ปราบปรามกษัตริย์เขมร จึงมีการนำคณะละครหลวง
ของเขมรและนำตำนานนาฏศิลป์ของเขมรเข้ามา
จนทำให้เกิดละครที่คล้ายกับละครอินเดีย คือ มีตัว
นายโรง ตัวนาง และตัวชาดก

สมัยอยุธยา

จึงเกิดละครในที่มี ผู้แสดงเป็นผู้หญิงล้วนและละครนอก
ที่มีผู้ชายเป็นผู้แสดงล้วน

ในสมัยอยุธยาจึงเกิดละครชาตรีละครนอก และละคร
ในขึ้น นอกจากนี้ในสมัยอยุธยา ยังเริ่มมีการเล่นโขนเกิด
ขึ้นด้วย

สมัยอยุธยา

ละครชาตรี ละครนอก

สมัยธนบุรี

ในสมัยนี้มีการหัดละครหลวงขึ้นใหม่ โดยถือแบบอย่าง
จากสมัยอยุธยา มีละครที่ผู้หญิง เป็นผู้แสดงล้วนซึ่ง
เฉพาะละครหลวง อีกทั้งสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
ยังให้ความสนพระทัยในการแสดงนาฏศิลป์และละคร
จึงทรงพระราชนิพนธ์บทละครในเรื่องรามเกียรติ์ขึ้น

สมัยธนบุรี

โดยแบ่งเป็นตอน หนุมานเกี้ยวนางวานริน ท้าวมาลีวราช
ว่าความ ทศกัณฐ์ตั้งพิธีทรายกลด พระลักษมณ์ถูกหอกก
บิลพัท และปล่อยม้าอุปการและยังมีเรื่องอิเหนาและอุณ
รุ ทที่นิ ยมแสดงกันอีกด้วย

สมัยธนบุรี

รามเกียรติ์

สมัยรัตนโกสิ นทร์

ในสมัยรัตนโกสิ นทร์มีการนำละครชาตรีที่นิยมมากใน
จังหวัดภาคใต้มาเล่นในเขตหลวง ละครชาตรีในยุคนี้เกิด
จากการปราบปรามระงับเหตุไม่สงบทางหัวเมืองภาคใต้
จึงมีประชาชนส่วนหนึ่ง ติดตามมาด้วย

สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

พระองค์มีพระบรมราชโองการให้
รื้อฟื้ นการหัดเล่นหุ่นและโขนของ
หลวง ส่วนละครผู้หญิง ให้มีแต ่ใน
เขตพระราชวังแห่งเดียวเท่านั้น และ
ทรงพระราชนิพนธ์บทที่ขาดหายไป
ในเรื่องรามเกียรติ์ อุณรุท ดาหลัง
อิเหนาโดยบันทึกลงในสมุดข่อย
ละครนอกสมัยรัชกาลที่ ๑ ยังคงใช้
ผู้ชายล้วนในการแสดง

สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์บท
ละครไว้มากมาย ซึ่งปัจจุบันนำไป
เป็นบทละครที่ใช้ในการ แสดงละคร
นอก โดยให้ละครผู้หญิงของหลวง
มาฝึกเล น่ ละครนอก บทละครนอก
ในรัชกาลที่ ๒ ที่นิยมมากมี ๕ เรื่อง
ได้แก่ สังข์ทอง มณีพิชัย ไชยเชษฐ์
คาวีและไกรทอง

สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระองค์ทรงยกเลิกละครหลวงและโขนตลอด
รัชกาลที่ ๓ แต่กลับเป็นผลดีแก่เจ้านายและ
ข้าราชการที่นิยมละครหลวงในรัชกาลที่ ๒ ซึ่ง
ไม่กล้านำไปแสดงในขณะนั้นด้วยเกรงว่าจะ
เป็นการแข่งขัน กับละครหลวง ส่งผลให้บรรดา
เจ้านายและข้าราชการพากันหัดละครหลวง
แบบรัชกาลที่ ๒ จนเกิดละคร เอกชน

สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้มีการรื้อฟื้ นละครหลวงขึ้น
และไม่ได้สั่งห้ามให้ละครเอกชนหยุดแสดง เนื่องจาก
ทรงเห็นว่าการมีคณะละครมากๆเป็นเรื่องดีจึงทำให้
เกิดละครออกภาษา รัชกาลที่ ๔ ทรงพระราชนิพนธ์
บทละครเรื่อง รามเกียรติ์ตอน พระรามเดินดง บท
เบิกโรง รามเกียรติ์ตอน นารายณ์ปราบนนทก เป็น
สมัยที่ละครมีชื่อเสี ยง

สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

การละครมีการปรับปรุ งเป็นละครสมัยใหม่มากขึ้น
เนื่องจากได้รับอิทธิพลมาจากยุโรปและ อเมริกาละครรำ
จึงปรับปรุ งเป็นละครอื่นๆเช่นละครดึกดำบรรพ์ละคร
พันทางละครร้องละครเสภาลิเก ปลายรัชกาลที่๕มีเพลง
ทำนองของชาวตะวันตกเข้ามาแพร่หลายสู่ ประชาชนมาก
และมีกำเนิด ละครร้องที่นำเอาเรื่องของชาวตะวันตกมา
แสดง แต่งตัวแบบชาวตะวันตกแต่พากย์เป็นภาษาไทย
และมี ภาพยนตร์มาฉายในประเทศไทยเวลาฉายมีการ
เป่าแตรประกอบภาพยนตร

สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

การละครในรัชกาลที่ ๖ เป็นยุคทองของการละคร
วรรณคดีอีกทั้งทรงพระราชนิพนธ์ บทละครทุกชนิด ทั้ง
ละครร้อง ละครรำละครดึกดำบรรพ์ เช่น พระร่วง ศกุน
ตลา ท้าวแสนปม และหัวใจนักรบในสมัยนี้ประชาชนให้
ความสำคัญกับละครแบบตะวันตกมากกว่าเนื่องจากมีนัก
แสดงจาก ต ่างประเทศหลายคนมาแสดงให้ชม ในสมัยนี้
มีการตั้งกรมมหรสพขึ้นมาใหม่ เพื่อปรับปรุงศิลปะ ด้าน
โขนและดนตรีปี่ พาทย์

สมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

ในสมัยรัชกาลที่ ๗ ละครร้องได้
หมดความนิยมไป มีการยกเลิกกรม
มหรสพและตั้งเป็น กองมหรสพ
จากนั้นได้ย้ายไปขึ้นอยู่กับกรม
ศิลปากร ระยะนี้ได้เกิดรูปแบบละคร
พูดที่มีเพลงสอดแทรก เรียกว่าละคร
เพลงหรือละครจันทโรภาส

สมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล

ในสมัยรัชกาลที่๘ การแสดงต่างๆ
นั้นจะถูกจัดขึ้นโดยกรมศิลปากร
และเกิดละครหลวงวิจิตรวาทการขึ้น
เป็นละครปลุกใจให้รักชาติ เช่นเรื่อง
เลือดสุพรรณ

สมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ

ในสมัยรัชกาลที่ ๙ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีการ
บันทึกภาพยนตร์ส่ วนพระองค์และมีการจัด
พิธีไหว้ครูโขน ละคร พิธีครอบ และพิธีต่อท่ารำ
เพลงหน้าพาทย์องค์พระพิราพ พระราชทาน
ครอบโดย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้ที่ได้
รับครอบต้องเป็นศิลปินที่ได้เลือกสรรแล้วเพื่อ
ให้ทำพิธีครอบ สืบต่อไปซึ่งถือเป็นพิธีที่มีความ
สำคัญสูงสุดของวงการนาฏศิลป์และละครไทย

สมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ

ในสมัยนี้การละครไทยมีการจัดแสดงขึ้นตาม
สถานที่ต า่ ง ๆ ประชาชนให้ความสนใจ แต่จะ
สามารถชมได้จากโรงละคร หรืองานพระราช
พิธีต่าง ๆ เพราะในสมัยนี้ได้มีละครไทยสมัย
ใหม่ ที่จัดแสดงตามสถานีโทรทัศน์ต่างๆทำให้
ประชาชนให้ความสนใจละครไทยสมัยใหม่มาก
ขึ้นกว่าละครไทย ที่มีมาแต่โบราณ


Click to View FlipBook Version